Please Wait
7376
ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภท รวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่ม
ฮะดีษแรก แม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้าง แต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลัง โดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์
เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้
“ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้ หนึ่ง. ความผิดพลาด สอง.การหลงลืม สาม. สิ่งที่ไม่รู้ สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือก หก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำ เจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดี แปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลก เก้า. ความริษยา ตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”[i]
ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ล และมุบัยยัน ในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่า مالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)
ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นสายรายงานของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์
[i] กุลัยนี, อัลกาฟี,เล่ม 2,หน้า 463 และ เชคเศาะดู้ก,เตาฮี้ด,หน้า 353, และ เชคเศาะดู้ก,คิศ้อล,เล่ม 2,หน้า 417, และ มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 280,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต, ฮ.ศ.1404
عن ابی عبدالله علیه السلام قال، قال رسول الله صلی الله علیه و آله: رفع عن امتی تسعة: الخطأ و النسیان، و ما اکرهوا علیه، و ما لا یطیقون، و ما لا یعلمون، و ما اضطروا الیه، و الحسد، و الطیرة و التفکر فی الوسوسة فی الخلق ما لم ینطق بشفة
ฮะดีษร็อฟอ์เป็นชื่อเรียกของฮะดีษสองบทจากท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งหนึ่งในสองบทกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับหรือสถานะนานาประเภท รวมทั้งผลต่อเนื่องต่างๆในอิสลามให้พ้นจากผู้บรรลุนิติภาวะในลักษณะบทเฉพาะกาล อีกบทหนึ่งกล่าวถึงการผ่อนผันข้อบังคับบางประการเฉพาะสำหรับบุคคลบางกลุ่ม
ฮะดีษแรก แม้จะมีข้อแตกต่างเกี่ยวกับรายละเอียดของภาระที่ผ่อนผันอยู่บ้าง แต่ก็ปรากฏอยู่ในตำราที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของชีอะฮ์ทั้งยุคแรกและยุคหลัง โดยอิมามศอดิก(อ.) และอิมามริฎอ(อ.)รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.) และถือว่ามีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์
เนื้อหาเบื้องต้นของฮะดีษที่คัดเฉพาะบทที่มีรายละเอียดสมบูรณ์ที่สุดมีดังนี้
“ประชาชาติมุสลิมได้รับการผ่อนผันเก้าสิ่งต่อไปนี้ หนึ่ง. ความผิดพลาด สอง.การหลงลืม สาม. สิ่งที่ไม่รู้ สี่. สิ่งที่ไม่สามารถกระทำได้ ห้า. สิ่งที่กระทำโดยไม่มีทางเลือก หก. สิ่งที่ถูกบังคับให้กระทำ เจ็ด. การกระทำที่ฤกษ์ไม่ดี แปด. ความคิดฟุ้งซ่านเกี่ยวกับการสร้างโลก เก้า. ความริษยา ตราบเท่าที่ยังไม่สำแดงออก”
อย่างไรก็ดี ยังมีฮะดีษบทอื่นๆที่ระบุว่ามีข้อผ่อนผันเพียงสามหรือสี่ประการ ซึ่งโดยรวมแล้วไม่แตกต่างกันเท่าใดนักในแง่เนื้อหา เนื่องจากฮะดีษที่ระบุข้อผ่อนผันน้อยกว่าอาจเจาะจงเพียงประการสำคัญที่สุดเท่านั้น
ฮะดีษชุดนี้นอกจากจะได้รับการอรรถาธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกห์แล้ว (เกี่ยวกับหลักมุจมั้ล และมุบัยยัน ในตำราของพี่น้องซุนนะฮ์ยุคแรก) ยังได้รับการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญวิชาอุศู้ลในสายอิมามียะฮ์อีกด้วย (ใช้ตัวบทที่ว่า مالایعلمون เพื่อพิสูจน์หลักบะรออะฮ์ในข้อสงสัยเชิงฮุก่มหักห้าม)[1]
ข้อคิดแรกเกี่ยวกับฮะดีษข้างต้นก็คือ สำนวนฮะดีษสื่อถึงความเมตตาพิเศษ (อิมตินาน) ของอัลลอฮ์ที่ทรงผ่อนผันให้ประชาชาติของท่านนบี(ซ.ล.)เป็นการพิเศษ
ส่วนประเด็นที่ว่าการผ่อนผันในที่นี้หมายความว่าอย่างไร มีข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้:
บางท่านเชื่อว่า เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษ ทำให้ทราบว่าสิ่งที่ได้รับการผ่อนผันจะต้องเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะแห่งนุบูวะฮ์ นั่นหมายความว่าจะต้องเป็นประเด็นนิติบัญญัติทางศาสนา ที่ผู้บัญญัติ (อัลลอฮ์) สามารถกำหนดหรือเพิกถอนได้เนื่องจากอยู่ในฐานะผู้บัญญัติ ฉะนั้น การเพิกถอนในที่นี้จึงมิไช่การเพิกถอน “การตำหนิ” เพราะการตำหนิเป็น “ลิขิตภาวะ” มิไช่ประเด็นนิติบัญญัติทางศาสนา จึงไม่น่าจะไช่จุดประสงค์ขององค์ผู้บัญญัติ นอกจากจะมองว่าพระองค์เพียงต้องการจะ “แจ้งให้ทราบ” ซึ่งก็ไม่สอดคล้องกับเนื้อหาทั่วไปของฮะดีษ เว้นแต่จะมองว่าการเพิกถอนการตำหนิหมายถึงการเพิกถอนเหตุที่ทำให้ตำหนิ ซึ่งก็คือฮุก่มทางศาสนาที่พระองค์กำหนดนั่นเอง สรุปคือ สิ่งที่ถูกเพิกถอนนั้นมิไช่“การตำหนิ” แต่เป็น “ฮุก่มชะรีอัต”[2]
อัลลามะฮ์ มัจลิซีกล่าวว่า “การเพิกถอนในที่นี้อาจหมายถึงการเพิกถอนการตำหนิหรือลงโทษ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าในบางประการหมายถึงการเพิกถอนสิ่งนั้นๆ หรือผลลัพธ์ หรือฮุก่มของมัน” เหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ทำการศึกษาเนื้อหาฮะดีษข้างต้นทีละข้อในหมวดว่าด้วยหลัก“บะรออะฮ์” แต่สิ่งที่เป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ก็คือนัยยะของ “การเพิกถอน” ทั้งนี้หากเราจะถือว่าประการเหล่านี้ถูกเพิกถอนจากประชาชาติอย่างสิ้นเชิง ในลักษณะที่จะไม่เกิดขึ้นในหมู่ประชาชาตินี้อีกต่อไป ย่อมไม่ถูกต้องนักเนื่องจากเป็นที่ทราบดีว่ายังมีสภาวะเหล่านี้อยู่ในสังคม
บางท่านเชื่อว่าการเพิกถอนในที่นี้ครอบคลุมผลลัพธ์ของฮุก่ม (ทั้งศาสนบัญญัติและสถานะทางศาสนา) อย่างไรก็ดี ในกรณีพิเศษเช่น การฆ่าโดยไม่เจตนา หรือการสุญูดซะฮ์วีซึ่งมีฮุก่มระบุไว้ก่อนแล้วนั้น อยู่นอกนัยยะของการเพิกถอนที่เรากำลังกล่าวถึง
อนึ่ง ประเด็นหลักที่มักจะศึกษากันในวิชาอุศูลุลฟิกฮ์ก็คือสำนวน ما لایعلمون ซึ่งได้บทสรุปว่า เราไม่มีหน้าที่ใดๆต่อฮุก่มที่เราคลางแคลง แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องเพียรพยายามศึกษาอย่างเต็มที่แล้วเสียก่อน อัลลามะฮ์มัจลิซีกล่าวว่า ข้อคิดอีกประการหนึ่งของฮะดีษนี้ก็คือ ความเป็นประชาชาติของท่านนบีอาจมิไช่เงื่อนไขสำหรับข้อเพิกถอนทุกประการในฮะดีษนี้ แต่หมายความว่าภาพรวมของสภาวะเหล่านี้เจาะจงเฉพาะประชาชาตินบีเท่านั้น แม้บางประการจะเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมระหว่างประชาชาติของนบี(ซ.ล.)กับประชาชาติอื่นๆก็ตาม...[3]
ฮะดีษอีกบทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในนาม (ร็อฟอุ้ลเกาะลัม) เป็นฮะดีษที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์รายงานจากท่านนบีผ่านท่านอิมามอลี(อ.) และอาอิชะฮ์ เนื้อหาฮะดีษนี้ระบุว่า เมื่อเคาะลีฟะฮ์ที่สองพิพากษาให้เฆี่ยนหญิงวิกลจริตเนื่องจากกระทำผิดบางประการ ท่านอิมามอลี(อ.)ได้อ้างฮะดีษของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า สามบุคคลได้รับการเพิกถอน 1.เด็กจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ 2.คนวิกลจริตจนกว่าจะคืนสติ 3.คนหลับจนกว่าจะตื่น[4]
[1] ดูในหมวด บะรออะฮ์
[2] มุนตะซะรี,ฮุเซนอลี,นิฮายะตุ้ลอุศู้ล, บันทึกวิชาอุศู้ลอายะตุลลอฮ์บุรูเญรดี,เล่ม 1,2,หน้า 583-584 ,สำนักพิมพ์ตะฟักกุร,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1415
[3] ดู: บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 280
[4] เชคเศาะดู้ก,อัลคิศ้อล,เล่ม 1,หน้า 93-94, อลีอักบัร ฆิฟารี,กุม,1362 และ ฮุร อามิลี,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 28,หน้า 24,สถาบันอาลุ้ลบัยต์,กุม,ฮ.ศ.1409 และ บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 30,หน้า 681,
و روینا عن علی ع أنه قال قال رسول الله ص رفع القلم عن ثلاثة عن النائم حتى یستیقظ و عن المجنون حتى یفیق و عن الطفل حتى یحتلم