Please Wait
6636
รายงานต่างๆ จำนวนมากมาย เช่น ฮะดีซซะเกาะลัยนฺและอิตรัต, ได้ถูกแนะนำว่าเป็นสองสิ่งหนักที่มีความเสมอภาคกัน, ใช่แล้วบางรายงานฮะดีซ เฉกเช่นสิ่งที่กล่าวไว้ในฮะดีซซะเกาะลัยนฺ ตามการรายงานบางกระแสรายงานกล่าวแนะนำไว้ว่า, อัลกุรอานอยู่ในฐานะของสิ่งหนักอันยิ่งใหญ่ และส่วนอะฮฺลุลบัยตฺ อยู่ในฐานะของสิ่งหนักอันเล็กน้อยเท่านั้น.
เกี่ยวกับประเด็นนี้เพราะสาเหตุใด อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) จึงถูกแนะนำว่าเป็นสิ่งหนักอันเล็ก ส่วนอัลกุรอานเป็นสิ่งหนักอันใหญ่ยิ่ง, จำเป็นต้องกล่าวว่า: เนื่องจากอัลกุรอานคือ พระดำรัสของพระเจ้าซึ่งความเชื่อถือได้ของอัลกุรอาน เป็นไปโดยตัวตน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหรือได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากเหตุผลอื่นใดอีก แต่คำพูดของคนอื่นต้องพึ่งพาสิ่งที่เชื่อถือได้ด้วยตัวตน เช่น อัลกุรอานเป็นตัวสนับสนุน, กล่าวคือการพิสูจน์ตำแหน่ง, และการเชื่อถือได้ของอิตรัตนั้นขึ้นอยู่กับการเชื่อถือได้ของอัลกุรอาน, เนื่องจากเพราะอัลกุรอานนั่นเองที่ทำให้พระวจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการเชื่อถือ ดังกล่าวว่า : “ใดที่เราะซูลได้นำมาให้สูเจ้าก็จงรับว้า และสิ่งใดที่ท่านได้ห้ามสูเจ้าก็จงหลีกเลี่ยงเสีย”
อัลกุรอานได้กล่าวกำชับเช่นนี้เพื่อให้พระวจนะของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้รับความน่าเชื่อถือ ซึ่งท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวว่า : «انى تارک فیکم الثقلین کتاب الله و عترتى» แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกเจ้า อันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลฮฺ และอิตรัตของฉัน” ดังนั้น จะเห็นว่า อิตรัต มีความเชื่อถือได้อยู่ในระดับเดียวกันกับอัลกุรอาน, แม้ว่าวจนะของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากอัลกุรอานอีกทีหนึ่งก็ตาม ด้วยเหตุนี้เอง อัลกุรอาน จึงเป็นสิ่งหนักอันยิ่งใหญ่ ส่วนอิตรัตของเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นสิ่งหนักอันเล็กน้อย, แต่อย่างไรก็ตามคำอธิบายนี้ไม่เข้ากับแก่นแห่งความสัตย์จริงของอัลกุรอาน และแก่นแท้ของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)
สำหรับบทนำในประเด็นนี้ต้องกล่าวว่า มีรายงานจำนวนมากมายกล่าวแนะนำว่า อิตรัตนั้นอยู่ในฐานะภาพเดียวกัน และมีความเสมอภาคกับ อัลกุรอาน.
ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า :
«إنی قد ترکت فیکم الثقلین کتاب الله و أهل بیتی فنحن أهل بیته»؛
“แท้จริงฉันได้ละทิ้งสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่ของพวกเจ้า อันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ และอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน ดังนั้นพวกเราคือ อะฮฺลุลบัยตฺของท่าน”[1]
หนึ่งในบทซิยาเราะฮฺท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้กล่าวกับท่านอิมามว่า :
"السلام علیک یا امین الرحمن، السلام علیک یا شریک القرآن، السلام علیک یا عمود الدین،...".
ขอความศานติพึงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้ซื่อสัตย์แห่งเราะฮฺมาน, ขอความศานติพึงมีแดท่าน โอ้ ผู้เป็นหุ้นส่วนของอัลกุรอาน, ขอความศานติพึงมีแด่ท่าน โอ้ ผู้เป็นเสาหลักของศาสนา ...”[2]
ซึ่งถ้าพิจารณาความหมายภายนอกของฮะดีซเหล่านี้ จะเห็นว่าทั้งสองสิ่งนี้คือ แก่นแท้อันเดียวกัน ไม่มีสิ่งใดประเสริฐหรือดีไปกว่ากัน
ในขณะที่แหล่งอ้างอิงเชิงวิชาการเรื่องฮะดีซนั้น ได้ยกย่องอัลกุรอานให้อยู่ในฐานะของ สิ่งหนักอันยิ่งใหญ่ ส่วนอิตรัตของเราะซูลนั้นอยู่ในฐานะของสิ่งหนักอันเล็กน้อย เช่น รายงานบางบทที่กล่าวว่า :
«إِنِّی قَدْ تَرَکْتُ فِیکُمُ الثَّقَلَیْنِ مَا إِنْ تَمَسَّکْتُمْ بِهِمَا لَنْ تَضِلُّوا بَعْدِی وَ أَحَدُهُمَا أَکْبَرُ مِنَ الْآخَرِ کِتَابُ اللَّهِ حَبْلٌ مَمْدُودٌ مِنَ السَّمَاءِ إِلَى الْأَرْضِ وَ عِتْرَتِی أَهْلُ بَیْتِی أَلَا وَ إِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ»؛
“แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกเจ้า ถ้าหากพวกเจ้าได้ยึดมั่นกับทั้งสองแล้ว จะไม่หลงทางตลอดกาลภายหลังจากฉัน ซึ่งสิ่งหนึ่งนั้นหนักและยิ่งใหญ่กว่าอีกสิ่งหนึ่ง อันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลอฮฺ อันเป็นสายเชือกที่ถอดตรงลงมาจากฟากฟ้าสู่แดนดิน และอิตรัตของฉัน อะฮฺลุลบัยตฺของฉัน แน่นอน ทั้งสองจะไม่มีวันแยกทางออกจากกันอย่างเด็ดขาด จนกว่าทั้งสองจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำเกาษัรแห่งสวรรค์”[3]
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : ฉันปฏิบัติตามสิ่งหนักอันยิ่งใหญ่,คือ อัลกุรอาน และได้มอบสิ่งหนักอันเล็กไว้ในหมู่พวกเจ้า”[4] คำกล่าวเช่นนี้ยังมิได้เป็นเหตุผลที่บ่งบอกว่าอัลกุรอานนั้นดีกว่าอะฮฺลุลบัยตฺดอกหรือ?แล้วรายงานทำนองนี้ถือว่าอัลกุรอานและอะฮฺลุลบัยตฺมีความเท่าเทียมกันนั้น ขัดแย้งกันหรือ?
ดังนั้น สำหรับการเผชิญกับคำถามเหล่านี้ นักปราชญ์บางท่านกล่าวว่า : แม้ว่าอิมามจะเป็นอัลกุรอานพูดได้ (นาฏิก) และมีความดีกว่า แต่นั่นเป็นเพียงการพาดพิงถึงภายนอกของอัลกุรอานเท่านั้น, ซึ่งการดีกว่าเช่นนี้เฉพาะอัลกุรอานภายนอกเล่มที่อยู่ในมือของประชาชนขณะนี้เท่านั้น, แต่ถ้าเอาอิมามไปเทียบกันแก่นแท้ของอัลกุรอาน อันได้แก่พระดำรัสของพระเจ้าแล้วละก็,ท่านอิมามเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนต่ออัลกุรอาน ยกย่องและเทิดเกียรติของอัลกุรอานไว้สูงส่งเสมอ, กล่าวคือเนื่องจากอัลกุรอานคือ พระดำรัสและเป็นสาส์นของพระเจ้าจึงมาก่อนและประเสริฐกว่าอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)
อีกนัยหนึ่ง, อัลกุรอานสามารถใช้ได้กับ 2 คำสั่งต่อไปนี้ กล่าวคือ : ประการแรก, อัลกุรอานฉบับที่ตีพิมพ์แล้วหรือฉบับลายมือที่มีอยู่ในมือของประชานปัจจุบัน, อีกประการหนึ่งคือ สิ่งที่ญิบรออีลได้นำลงมามอบแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และต่อมาได้มีการจดบันทึกหรือจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม. ซึ่งสิ่งนี้ก็คือ สิ่งที่บรรดาอิมาม (อ.) ได้ทุมเทชีวิตและเลือดเนื้อปฏิบัติตามและพิทักษ์ปกป้องไว้, และสิ่งนั้นก็คือ สิ่งหนักอันยิ่งใหญ่นั่นเอง และด้วยการธำรงอยู่ของต้นฉบับบางต้นทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ได้ด้วยเช่นกัน, ส่วนอะฮฺลุลบัยตฺ คือ สิ่งหนักอันเล็กที่ได้รับการแนะนำเอาไว้, แต่อย่างไรก็ตามไม่สามารถนำเอาอัลกุรอานตามความหมายแรก ซึ่งครอบคลุมทุกฉบับที่ตีพิมพ์ ไปเปรียบเทียบกับอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ได้, เนื่องจากอิมาม คือ อัลกุรอานที่พูดได้ ส่วนอัลกุรอานที่ตีพิมพ์คือ กุรอานที่เงียบพูดไม่ได้ และถ้าเกิดความสงสัยคลางแคลงใจ ระหว่างการปกป้องอิมาม (อ.) หรือการปฏิบัติตามคำสั่งของอิมาม กับการปกป้องอัลกุรอานที่ตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือลายเขียนอัลกุรอานแล้วละก็, แน่นอน ตรงนี้ต้องปกป้องรักษาอิมามไว้ก่อน และต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามคำสั่งของท่านก่อนที่จะปกป้องกุรอานฉบับตีพิมพ์เป็นรูปเล่ม, ซึ่งเราจะต้องไม่มีข้ออ้างว่าเพื่อให้เกียรติและแสดงความเคารพต่ออัลกุรอาน, เราจึงละทิ้งคำสั่งของอิมาม, ซึ่งประเด็นนี้น่าเสียดายว่าได้เกิดขึ้นแล้วในสงครามซิฟฟีน[5]
บางคนกล่าวว่า : อัลกุรอานคือสิ่งหนักอันยิ่งใหญ่, อันเนื่องจากว่าเป็นพระดำรัสของพระเจ้า ซึ่งบรรดาศาสดาทั้งหลายต่างได้รับการแต่งตั้งลงมาเพื่อ นำเอาพระดำรัสของพระเจ้าไปเผยแพร่ในหมู่ประชาชาติ และนำเอาบทบัญญัติต่างๆ ของพระองค์มาดำเนินการปฏิบัติ, ดังนั้น อัลกุรอานจึงเป็นข้อพิสูจน์อันยิ่งใหญ่,แม้ว่าในรายงานบางบท, จะเปรียบเทียบสิ่งหนักสองสิ่งนี้คล้ายกับนิ้วชี้และนิ้วกลางก็ตาม,จุดประสงค์ก็คือ ต้องการบอกว่าสองสิ่งนี้จะไม่มีวันแยกออกจากกันอย่างแน่นอน[6]
บางท่านกล่าวว่า : ถ้าหากอัลกุรอานปราศจากอะฮฺลุลบัยตฺ และอะฮฺลุลบัยตฺปราศจากอัลกุรอานแล้วไซร์ มิสามารถชี้นำมนุษย์ไปสู่จุดหมายปลายทางได้, อัลกุรอานและอิตรัต, เป็น 2 คำนิยามที่อยู่ในฐานะเดียวกัน, ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วทั้งสองคือ แก่แท้อันเดียวกัน เพียงแต่ปรากฏในคนร่างกาย,อัลกุรอานและอิตรัต ทั้งสองคือวะฮฺยูและเป็นพระดำรัสของพระเจ้า ซึ่งทั้งสองได้สนทนาพูดคุยกับประชาชาติตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน, กล่าวคือ อิตรัตก็คือกายภาพของอัลกุรอานนั่นเอง, ด้วยเหตุนี้เองดังที่คำพูดของอัลกุรอาน เป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลสมบูรณ์ คำพูดของอะฮฺลุลบัยตฺก็เป็นข้อพิสูจน์ด้วยเช่นเดียวกัน[7] ทั้งสองคือ โซ่ตรวนเส้นเดียวกัน,เป็นแนวทางอันเที่ยงธรรมเหมือนกัน และทั้งสองคือความสัจธรรมอันเป็นจุดหมายปลายทาง[8]
อีกนัยหนึ่ง, กล่าวได้ว่าตามคำกล่าวของรายงานเหล่านี้ก็มิได้ต้องการที่จะบอกว่าอัลกุรอานนั้นดีกว่าอิตรัตแต่อย่างใด, เนื่องจากทั้งอัลกุรอานและอิตรัตนั้นต่างเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการของอัลลอฮฺทั้งสิ้น และทั้งสองเป็นความพิเศษเลอเลิศที่ให้ประโยชน์อยู่ในระดับเดียวกัน, ทว่าการตีความเหล่านี้ต้องการจะบอกว่าอัลกุรอานมีนามว่า สิ่งหนักอันยิ่งใหญ่ เป็นสายสืบที่เชื่อถือได้ที่สุด เป็นรายงานอันหนักแน่นจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.), อัลกุรอานคือ พระดำรัสของพระเจ้า ซึ่งความเชื่อถือได้ของอัลกุรอาน เป็นไปโดยตัวตน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหรือได้รับการสนับสนุนส่งเสริมจากเหตุผลอื่นใดอีก แต่คำพูดของคนอื่นต้องพึ่งพาสิ่งที่เชื่อถือได้ด้วยตัวตน เช่น อัลกุรอานเป็นตัวสนับสนุน, กล่าวคือการพิสูจน์ตำแหน่ง, และการเชื่อถือได้ของอิตรัตนั้นขึ้นอยู่กับการเชื่อถือได้ของอัลกุรอาน, เนื่องจากเพราะอัลกุรอานนั่นเองที่ทำให้พระวจนะของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการเชื่อถือ ดังกล่าวว่า : “ใดที่เราะซูลได้นำมาให้สูเจ้าก็จงรับว้า และสิ่งใดที่ท่านได้ห้ามสูเจ้าก็จงหลีกเลี่ยงเสีย”[9]
อัลกุรอานได้กล่าวกำชับเช่นนี้เพื่อให้พระวจนะของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้รับความน่าเชื่อถือ ซึ่งท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้กล่าวว่า : «انى تارک فیکم الثقلین کتاب الله و عترتى» แท้จริงฉันได้ฝากสิ่งหนักสองสิ่งไว้ในหมู่พวกเจ้า อันได้แก่คัมภีร์แห่งอัลลฮฺ และอิตรัตของฉัน” ดังนั้น จากสองปฐมบทที่กล่าวามานี้ได้บทสรุปว่า อิตรัต มีความเชื่อถือได้อยู่ในระดับเดียวกันกับอัลกุรอาน, แม้ว่าวจนะของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและเชื่อถือได้ด้วย พระดำรัสของ อัลกุรอานอีกทีหนึ่งก็ตาม ด้วยเหตุนี้เอง อัลกุรอาน จึงเป็นสิ่งหนักอันยิ่งใหญ่ ส่วนอิตรัตของเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นสิ่งหนักอันเล็ก, แต่อย่างไรก็ตามคำอธิบายนี้ไม่เข้ากับแก่นแห่งความสัตย์จริงของอัลกุรอาน และแก่นแท้ของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.)[10]
แต่สิ่งที่เข้าใจได้ตรงนี้คือ การสร้างความเข้าใจกับรายงานต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ จำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้ด้วย กล่าวคือ
1.ไม่ต้องสงสัยเลยว่า แก่นแท้ของอัลกุรอานและอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) นั้น อยู่ ณ อัลลอฮฺ (ซบ.) และเป็นสิ่งเดียวกัน, ซึ่งแก่นแท้ความจริงนี้ได้ถูกมอบหมายไว้ที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ในสองแม่พิมพ์ที่ปรากฏร่างภายนอกมีความแตกต่างกัน ประการหนึ่งเรียกว่า อัลกุรอาน ส่วนอีกประการหนึ่งเรียกว่า อะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) และทั้งสองอยู่ในฐานะของสิ่งหนักที่ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้ประกาศและฝากเอาไว้ในหมู่ประชาชาติ, รายงานบางบทกล่าวว่า ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) พยายามจะแนะนำสิ่งหนักทั้งสองแก่ประชาชาติ ท่านกล่าวว่า :
«أَنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ کَإِصْبَعَیَّ هَاتَیْنِ وَ جَمَعَ بَیْنَ سَبَّابَتَیْهِ وَ لَا أَقُولُ کَهَاتَیْنِ وَ جَمَعَ بَیْنَ سَبَّابَتِهِ وَ الْوُسْطَى فَتَفْضُلُ هَذِهِ عَلَى هَذِهِ»
“อัลลอฮฺ ทรงมีบัญชาแก่ฉันว่า ทั้งสองจะไม่มีวันแยกออกจากกัน จนกว่าทั้งสองจะย้อนกลับคืนสู่ฉัน ณ สระน้ำแห่งสรวงสวรรค์ และเนื่องจากว่าทั้งสองมีความคล้ายเหมือนนิ้วมือของฉัน (ท่านชูนิ้วชี้ทั้งสองมือประชิดติดกัน) ฉันไม่ต้องการบอกว่าทั้งสองนั้นเหมือนกับนิ้วชี้ทั้งสองของฉัน (ท่านชี้ไปที่นิ้วชี้และนิ้วกลาง) ซึ่งนิ้วหนึ่งดีกว่าและใหญ่กว่าอีกนิ้วหนึ่ง”[11]
2.อาจเป็นไปได้ว่ารายงานบางบทได้เน้นย้ำถึง <