การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6696
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/09/04
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1196 รหัสสำเนา 16377
หมวดหมู่ เทววิทยาใหม่
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดศาสนาจึงขัดต่อหลักสติปัญญา?
คำถาม
เหตุใดเรายังต้องเคารพในศาสนา ทั้งๆที่ถูกสติปัญญาหักล้างอย่างหมดเปลือกแล้ว?
คำตอบโดยสังเขป

สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายใน ส่วนชะรีอัต(ศาสนา)ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ทั้งสองมีหน้าที่นำพามนุษย์สู่ความผาสุกและความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในและภายนอกจะขัดแย้งกันเอง

จากการที่สติปัญญานับเป็นปรากฏการณ์หนึ่ง และการที่ทุกปรากฏการณ์มีข้อจำกัด ศักยภาพของสติปัญญาก็มิอาจอยู่เหนือกฏเกณฑ์นี้ได้ จึงมีศักยภาพประมวลผลในระดับของสรรพสิ่งถูกสร้างเท่านั้น โดยไม่อาจที่จะหยั่งรู้ถึงสถานภาพที่แท้จริงของพระเจ้าได้อย่างถี่ถ้วนเนื่องจากทรงปราศจากข้อจำกัด

สติปัญญาสามารถเข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมของระบบระเบียบหรือบทบัญญัติต่างๆได้ แต่กระนั้นก็ยังต้องพึ่งพาศาสนาอยู่บ้าง แต่ในส่วนของรายละเอียดปลีกย่อยของวันปรโลก หรือหลักเกณฑ์ของศาสนบัญญัติต่างๆนั้น สติปัญญาไม่สามารถจะเข้าถึงได้เลยหากปราศจากคำบอกเล่าของศาสนา สภาวะเช่นนี้จึงไม่ก่อให้เกิดความผิดฝาผิดตัวระหว่างแนวคิดอิสลามและวิถีแห่งปัญญา
อย่างไรก็ดี บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างสติปัญญาและศาสนาในกรณีที่เราสอดแทรกสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปริมณฑลของสติปัญญา หรือกระบวนการทางความคิดของเราไม่เข้ารูปเข้ารอย หรือกรณีที่เราจำกัดความหมายของสติปัญญาให้แคบลง
อนึ่ง คงเป็นการดีหากคุณจะกรุณายกตัวอย่างสักประเด็นตามที่คุณกล่าวไว้

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักวิชาการนิยามสติปัญญาว่าเป็นเป็นอมฤตภาพเชิงเดียวที่ทำให้มนุษย์สามารถรับรู้ข้อเท็จจริง สติปัญญาคือการรับรู้สัจธรรมและเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมศักยภาพของจิตตรึกตรอง[1]
ส่วนในแง่ปรัชญา เราสามารถแบ่งสติปัญญาออกเป็น ปัญญาภาคทฤษฎี และปัญญาภาคปฏิบัติ ปัญญาภาคทฤษฎีมีหน้าที่รับรู้และจำแนกปรากฏการณ์ต่างๆ[2] ส่วนปัญญาภาคปฏิบัติก็คือปัจจัยที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์[3] จำแนกสิ่งที่ควรกระทำออกจากสิ่งที่มิชอบ กล่าวได้ว่าปัญญาประเภทนี้เป็นฐานรากสำหรับการดำเนินชีวิตของผู้คนเนื่องจากเป็นตัวตัดสินใจกระทำหรืองดเว้นพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง[4] ปัญญาภาคปฏิบัติตรงกับสิ่งที่ท่านอิมามศอดิก(.)อธิบายไว้ว่า العقل ما عبد به الرحمن و اکتسب به الجنان (ปัญญาคือสิ่งที่นำพาสู่การภักดีพระเจ้าและใช้ในการไขว่คว้าสรวงสวรรค์)[5]
สรุปเบื้องต้นว่า สติปัญญาที่กล่าวถึงในประเด็นนี้หมายถึงศักยภาพในการเข้าใจ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เข้าใจเชิงองค์รวม

สติปัญญามีสถานภาพสูงส่งในทัศนะอิสลาม ท่านอัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี กล่าวไว้ในตัฟซี้รอัลมีซานว่าสติปัญญาคือพลังที่ประเสริฐสุด[6] อัลลอฮ์จึงทรงตรัสไว้ในอัลกุรอานถึงสามร้อยโองการเพื่อรณรงค์ให้มนุษย์หมั่นใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากสติปัญญา[7] ท่านอัลลามะฮ์ฯเชื่อว่าอิสลามให้ความสำคัญต่อสติปัญญาเป็นพิเศษ ดังที่ไม่สามารถพบเห็นโองการใดในกุรอานเลยที่จะชักชวนให้มนุษย์คล้อยตามอย่างไม่ลืมหูลืมตา
[8]
ด้วยเหตุนี้เองที่ไม่อาจจะเชื่อได้ว่าอิสลามและวิถีแห่งปัญญาจะขัดแย้งกันเอง อย่างไรก็ดี บางครั้งเราอาจจะรู้สึกว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างสติปัญญาและศาสนาในกรณีที่เราเพิ่มปัจจัยภายนอกเข้าไปในปริมณฑลของสติปัญญา หรือกระบวนการทางความคิดของเราไม่เข้ารูปเข้ารอย หรือกรณีที่เราจำกัดความหมายของสติปัญญาให้แคบลงกว่าที่ควร

เมื่อพิจารณาถ้อยธรรมของท่านอิมามอลี(.)ในหนังสือนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์ว่าด้วยเรื่องของภารกิจของบรรดานบี ท่านกล่าวว่า:
 
و یثیروا لهم دفائن العقول [9](บรรดานบีได้กระตุ้นศักยภาพที่ซ่อนเร้นของสติปัญญา) ทำให้ทราบได้ว่าสติปัญญาและศาสนกิจไม่เพียงแต่จะไม่ขัดกัน แต่ยังทำงานสอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวคือ ท่านอิมามอลี(.)ถือว่าการปลุกจิตสำนึกและปัญญาของมนุษยชาติเป็นภารกิจสำคัญของบรรดานบี
สติปัญญาและจิตสำนึกมีลักษณะคล้ายหีบสมบัติที่บรรจุสัจธรรมและข้อเท็จจริงไว้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้บรรดานบีจึงพร่ำสอนในสิ่งที่สอดรับกับตรรกะและปัญญาธรรม ในวิชาอุศูลุ้ลฟิกฮ์มีหลักการหนึ่งทีว่า
 
کل ما حکم به العقل حکم به الشرع ทุกมติที่สติปัญญาบังคับใช้ ศาสนาก็บังคับใช้เช่นกัน[10] ในทางตรงกันข้ามก็ถูกต้อง นั่นก็คือ ทุกมติที่ศาสนาบังคับใช้ สติปัญญาก็บังคับใช้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ปัญญาจึงกลายเป็นหนึ่งในรากฐานของศาสนบัญญัติ

สรุปคือศาสนบัญญัติทั้งหมดไม่ขัดต่อสติปัญญา อันที่จริงคำสอนของบรรดานบีก็คือปัญญาธรรมที่มนุษย์หลงลืมเนื่องจากการลวงล่อของชัยฏอน บรรดานบีมีหน้าที่เผยปัญญาธรรมของมนุษยชาติให้เป็นที่ประจักษ์
จะว่าไปแล้ว วิธีที่บรรดานบีเชิญชวนผู้คนสู่สัจธรรมก็มิได้แตกต่างไปจากวิธีที่มนุษย์เข้าถึงสัจธรรมด้วยกระบวนการที่ถูกต้องทางปัญญาเท่าใดนัก จะต่างกันก็ตรงที่บรรดานบีได้รับสัจธรรมจากต้นกำเนิดอันบริสุทธิ์แห่งวะฮีย์ แต่ถึงแม้บุคคลเหล่านี้จะมีความเชื่อมโยงกับโลกุตรธรรม แต่ก็ถ่อมตนแสดงเทศนาตามระดับความคิดของผู้คนทั่วไป บรรดานบีรณรงค์ให้มนุษยชาติกระตุ้นศักยภาพของสามัญสำนึกที่มีอยู่ เพื่อการไตร่ตรองด้วยเหตุผลอันแข็งแกร่ง ฉะนั้น จึงสรุปได้ว่าบรรดานบีย่อมไม่ไช่บุคคลที่จะบีบบังคับให้ประชาชนคล้อยตามอย่างหูหนวกตาบอดและปราศจากวิจารณญาณ กุรอานกล่าวว่าจงกล่าวเถิด(โอ้มุฮัมมัด) นี่คือแนวทางของฉัน ฉันและผู้เจริญรอยตามฉันเชิญชวนสู่อัลลอฮ์ด้วยวิจารณญาณ(บะศีเราะฮ์)”[11]

ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างศาสนาและสติปัญญา เนื่องจากทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในแง่ต้นกำเนิด จุดประสงค์ และวิธีการ ศาสนาที่แท้จริงจะเชิญชวนมนุษย์ให้ใช้สติปัญญาเป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศรัทธาต่อโลกุตรธรรม สติปัญญาและฮะดีษเชื่อมโยงกันในลักษณะลูกโซ่ สติปัญญาคือเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในมนุษย์ ส่วนชะรีอัตศาสนาก็เป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ซึ่งทั้งสองทำงานสอดประสานกัน นำพาให้มนุษย์พ้นจากวังวนแห่งกิเลศตัณหาเพื่อทะยานสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ ดังที่ท่านอิมามกาซิม(.)กล่าวไว้ว่าอัลลอฮ์ได้ประทานเครื่องพิสูจน์สัจธรรมแก่มนุษย์ทั้งจากภายในและภายนอก เครื่องพิสูจน์จากภายนอกก็คือบรรดานบีและอิมาม ส่วนเครื่องพิสูจน์จากภายในก็คือสติปัญญา[12]
ฉะนั้นจึงไม่เกิดความขัดแย้งระหว่างเครื่องพิสูจน์สัจธรรมภายในและภายนอกเด็ดขาด ฮุจญะฮ์(เครื่องพิสูจน์)ในที่นี้หมายถึงการนำทาง และโดยทั่วไป ผู้นำทางคือผู้ที่เชี่ยวชาญเส้นทางที่ทอดสู่จุดหมายปลายทาง ท่านอิมามกาซิม(.)ต้องการสื่อว่าการจาริกสู่อัลลอฮ์ต้องมีผู้นำทางสองแบบ ผู้นำทางภายในและผู้นำทางภายนอก อย่างไรก็ดี สองผู้นำทางนี้ยังต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันอยู่ และมนุษย์จะถึงจุดหมายได้ด้วยการนำทางที่สอดประสานกันเท่านั้น
ซึ่งก็เป็นไปตามวจนะของท่านอิมามฮุเซน(.)ที่ว่าจุดสูงสุดของสติปัญญาอยู่ที่การปฏิบัติตามสัจธรรม[13] และดังที่กุรอานกล่าวว่าอัลลอฮ์คือสัจธรรม[14] และสัจธรรมมาจากพระองค์[15] ในเมื่อการปฏิบัติตามสัจธรรมคือจุดอิ่มตัวของปัญญา อัลลอฮ์ผู้เป็นสัจธรรมได้บัญชาให้เราปฏิบัติตามเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอก ดังที่ทรงตรัสว่า จงภักดีต่ออัลลอฮ์และจงภักดีต่อศาสนทูตและผู้ครองสิทธิ(ผู้เป็นตัวแทนศาสนทูต)ในหมู่สูเจ้า [16]

พึงสังเกตุว่าประเด็นทางศาสนาขั้นสูงบางข้ออาจไม่สอดคล้องกับแนวคิดสหชาตปัญญาตามนิยามของเดการ์ต หรืออาจไม่ตรงกับปัญญาตามนิยามของสำนักคิดปฏิบัตินิยม(Pragmatism) หรืออาจขัดกับปัญญาเชิงทฤษฎีในนิยามของค้านท์ (เดการ์ตไม่เชื่อเกี่ยวกับปัญญาเชิงองค์รวม และพูดถึงสหชาตปัญญาหรือความคิดเชิงย่อยที่มีมาตั้งแต่เกิดเท่านั้น ส่วนพวกปฏิบัตินิยมเชื่อว่าปัญญาที่มีประโยชน์คือปัญญาที่ไขปัญหาเชิงประสบการณ์เชิงผัสสะนิยมได้เท่านั้น และค้านท์เชื่อว่าปัญญาภาคทฤษฎีไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และมติของสติปัญญาไม่มีคุณค่าใดๆในเชิงวิชาการ)

แน่นอนว่าคุณธรรมอิสลามอย่างเช่นการเสียสละ การพลีชีพ การบริจาค การศรัทธาต่อสิ่งที่เหนือญาณวิสัย และอื่นๆอีกมากมาย ย่อมไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ภายใต้แนวคิดสหชาตปัญญาเชิงย่อยของเดการ์ต นอกจากนี้ เรายังจะต้องจำแนกปัญญาออกจากการคาดเดาที่อาจเข้าแทนที่ปัญญา ซึ่งจะทำให้หลงคิดไปว่าสิ่งนั้นเป็นสัจธรรม ดังที่กุรอานกล่าวว่า و هم یحسبون اَنهم یحسنون صنعاً؛ (และพวกเขาคิดว่าตนเองกำลังประกอบคุณความดีอยู่)[17] ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงความคิดเพ้อฝันที่เป็นโมฆะ

ดังที่ได้พิสูจน์แล้วว่าศาสนาและสติปัญญาทำงานสอดประสานกัน และได้ปฏิเสธว่าอิสลามมิได้ขัดแย้งกับกระบวนการทางปัญญาเนื่องจากมีจุดเริ่มต้น จุดประสงค์ และเป้าหมายเดียวกัน ฉะนั้น หากพบกรณีความขัดแย้งระหว่างศาสนาและสติปัญญา จะต้องตรวจสอบว่ามติของปัญญานั้นๆตรงกับมาตรฐานที่ถูกต้องในกระบวนความคิดแล้วหรือไม่ หรือเป็นไปได้ว่าเราอาจนึกว่าทัศนะของตนคือคำสอนของศาสนาที่ขัดกับสติปัญญา
อย่างไรก็ดี ต้องคำนึงเสมอว่าความเชื่อทางศาสนาและศาสนกิจบางประการอาจจะพ้นญาณวิสัย ซึ่งแม้สติปัญญาจะไม่ปฏิเสธ แต่ก็ไม่สามารถบรรลุถึงแก่นความเข้าใจต่อสิ่งเหล่านี้ได้ อาทิเช่น ความเชื่อปลีกย่อยเกี่ยวกับปรโลก และหลักเกณฑ์ของศาสนกิจบางประการ 

ขอย้ำอีกครั้งว่า มีสองปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างสติปัญญากับศาสนกิจบางประการ
1. การที่ศีลธรรมพื้นฐานของอิสลามมากมายอยู่พ้นญาณวิสัยของสหชาตปัญญาที่เข้าใจเพียงประเด็นปลีกย่อย
2. การที่ทฤษฎีหรือข้อสันนิษฐานบางประการถูกแอบอ้างว่าเป็นการชี้ขาดของสติปัญญา จึงต้องแยกให้ชัดเจน
และด้วยการที่สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมที่พระเจ้าทรงประทานแก่มนุษย์ ฉะนั้น ผู้ใดที่ศึกษาคัมภีร์ศาสนาด้วยต้นทุนทางสติปัญญา เขาจะได้รับชุดความรู้อันบริสุทธิ์ไม่ว่าจากตัวบทศาสนาหรือหลักคิดทางปัญญา แต่หากผู้ใดศึกษาคัมภีร์บนพื้นฐานของกระบวนการทางความคิดที่อ่อนเปลี้ย ก็เปรียบเสมือนฝุ่นผงที่กลบความเข้าใจในคัมภีร์เสียหมด

หากถามว่าสามารถปกป้องคำสอนหลักและปลีกย่อยของศาสนาด้วยกระบวนการทางสติปัญญาได้ทั้งหมดหรือไม่? ตอบว่าสติปัญญาเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าใจศาสนา แต่ไม่ไช่ปัจจัยที่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถจะใช้กระบวนการทางสติปัญญาพิสูจน์ศาสนกิจปลีกย่อยได้ เพราะสิ่งปลีกย่อยอยู่นอกญาณวิสัยของสติปัญญา ไม่ว่าจะเป็นข้อปลีกย่อยทางธรรมชาติหรือศาสนบัญญัติก็ตาม กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการก็ดี ประสบการณ์ก็ดี สิ่งจริงแท้หรือสมมติขึ้นก็ดี หากเป็นข้อปลีกย่อย ก็อยู่นอกเขตการพิสูจน์โดยสติปัญญาทั้งสิ้น  และสิ่งที่อยู่นอกเขตของสติปัญญาย่อมไม่อาจพิสูจน์ด้วยสติปัญญาได้  แต่สามารถพิสูจน์หรือตีความเชิงองค์รวมได้ ไม่ว่าจะทางธรรมชาติหรือศาสนบัญญัติ

สรุปคือ จากการที่สติปัญญาไม่สามารถเข้าถึงประเด็นบางประเด็นได้ ทำให้ต้องพึ่งพาการชี้นำจากศาสนา ฉะนั้น ตรรกะของสติปัญญาก็คือ ฉันเข้าใจว่ายังมีอีกหลายสิ่งที่ฉันไม่เข้าใจและยังต้องพึ่งพาศาสนา[18]

อ่านเพิ่มเติมได้ที่
1. การครุ่นคิดในกุรอาน,อัลลามะฮ์ ฏอบาฏอบาอี
2. ฮิกมะฮ์ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในนะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,.ญะวาดี ออโมลี
3. ชะรีอัตจากมุมแห่งสารธรรม,. ญะวาดี ออโมลี,หน้า 199-224
4.
ศาสนศึกษา, .ญะวาดี ออโมลี,หน้า 170-174
5.
ความเชื่อและคำถามต่างๆ,มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี,หน้า 51-58
6.
พื้นฐานทางเทววิทยาของอิจติฮ้าด,มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานี,หน้า 280-284
7.
นิตยสารโพ้รเซมอน,ฉบับพิเศษที่ ,เดือนโมรด้อด, ปี (..สุริยุคติ) บทความ: อิสลามและปัญญา สอดคล้องหรือขัดแย้ง,ฮะมี้ดริฎอ ริฎอนิยอ



[1] ศัพท์แวดวงปรัชญา,อลี คะระญี,หน้า 171,172

[2] สิบมุขปาฐะ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี,หน้า 30,31

[3] ร่อฮี้กิมมัคตูม,.ญะวาดี ออโมลี,เล่ม,หน้า 153

[4] สิบมุขปาฐะ,ชะฮีดมุเฏาะฮะรี,หน้า 30,31

[5] อุศูลุลกาฟี,กุลัยนี,เล่ม 1,หน้า 11,ฮะดีษที่ 3

[6] อัลมีซาน,มุฮัมมัดฮุเซน ฏอบาฏอบาอี,เล่ม 3,หน้า 57

[7] อ้างแล้ว,เล่ม 5,หน้า 255

[8] ปัญญานิยมในตัฟซี้รศตวรรษที่สิบสี่,ชอดี นะฟีซี,หน้า 194,195

[9] นะฮ์ญุ้ลบะลาเฆาะฮ์,คุฏบะฮ์ที่ 1

[10] ตะฮ์ซีบุ้ลอุศู้ล,ซัยยิดอับดุลอะอ์ลา ซับซะวอรี,เล่ม 1,หน้า 145และ อุศูลุลฟิกฮ์,มุฮัมมัดริฎอ มุซ็อฟฟัร,เล่ม 1,หน้า 217

[11] ซูเราะฮ์ยูซุฟ, 108

[12] ดู: มีซานุ้ลฮิกมะฮ์ฉบับย่อ,มุอัมมัด เรย์ชะฮ์รี,หน้า 358,ฮะดีษที่ 4387

[13] อ้างแล้ว,หน้า 395,ฮะดีษที่ 4407

[14] ซูเราะฮ์ลุกมาน, 30

[15] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน, 60

[16] ซูเราะฮ์นิซาอ์, 59

[17] อัลกะฮ์ฟิ, 104

[18] ศาสนศึกษา(บทเรียนปรัชญาศาสนา),.ญะวาดี ออโมลี,หน้า 127-174

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7360 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7508 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    10155 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5350 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5365 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9265 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4701 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6811 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60074 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42157 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39251 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33960 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27896 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27720 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25733 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...