การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12708
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/31
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1061 รหัสสำเนา 15273
คำถามอย่างย่อ
จะชี้แจงความแตกต่างระหว่างคริสเตียนและอิสลามกรณีพระเจ้ามีบุตรอย่างไร?
คำถาม
เหตุใดมุสลิมเราจึงเชื่อว่าพระเจ้าไม่ให้กำเนิดและไม่ถือกำเนิด ในขณะที่คริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูเป็นบุตรของพระเจ้า ความขัดแย้งระหว่างสองศาสนานี้จะชี้แจงอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ จะเข้าใจว่ามุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์มิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดและมิได้ให้กำเนิดผู้ใด ศาสนาเอกเทวนิยมล้วนเชื่อเช่นนี้ ซึ่งแนวทางของพระเยซูก็อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน เหตุเพราะศาสนาเทวนิยมล้วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและธรรมชาติอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ สติปัญญาก็สามารถพิสูจน์ได้ว่าพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด แน่นอนว่าผู้มีคุณลักษณะเช่นนี้ย่อมไม่ต้องมีบิดาหรือบุตร เพราะการมีบิดาหรือบุตรบ่งบอกถึงการมีสรีระเชิงวัตถุ ซึ่งย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอวัยวะ และแน่นอนว่าพระเจ้าปราศจากข้อบกพร่องเหล่านี้
ส่วนความเชื่อที่แพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนในปัจจุบันนั้น ชี้ให้เห็นว่ามีการบิดเบือนคำสอนอันทำให้ผิดเพี้ยนไปจากศาสนาคริสต์ดั้งเดิม

คำตอบเชิงรายละเอียด

หนึ่งในโองการของซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ฯกล่าวว่า อัลลอฮ์คือเศาะมัด”(ผู้เป็นที่พึ่งของสรรพสิ่งทั้งปวง[1]) นักอธิบายกุรอานบางท่านเชื่อว่า لم یلد و لم یولد  (มิได้ให้กำเนิดและมิได้ถือกำเนิด) เป็นการขยายความคำว่าเศาะมัด[2] ซึ่งสื่อว่า พระองค์เป็นที่พึ่งสูงสุดเนื่องจากมิได้ถือกำเนิดและมิได้ให้กำเนิด.

ในเชิงสติปัญญาแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่อัลลอฮ์ผู้เป็นที่พึ่งสูงสุด จะมีบิดาหรือบุตร เนื่องจากการที่สิ่งๆหนึ่งจะให้กำเนิดอีกสิ่ง ย่อมแสดงว่าสิ่งนั้นสามารถแบ่งส่วนได้ และทุกสิ่งที่แบ่งส่วนได้ย่อมมีองค์ประกอบเชิงวัตถุ กล่าวคือ เมื่อมีสัดส่วน ก็ไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากสัดส่วนของตน เพราะหากสัดส่วนต่างๆไม่ครบถ้วน สิ่งนั้นย่อมไม่บังเกิดขึ้น สรุปคือ ความเชื่อที่ว่าพระเจ้าให้กำเนิดนั้น ถือเป็นโมฆะในแง่ของสติปัญญา เนื่องจากความเชื่อเช่นนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าพระเจ้ายังต้องพึ่งพาสิ่งอื่น ซึ่งขัดกับสถานะความเป็นพระเจ้า อันแสดงว่าผู้ที่เชื่อเช่นนี้ยังไม่รู้จักพระเจ้าอย่างแท้จริง

ส่วนที่ว่าพระเจ้ามิได้ถือกำเนิดจากผู้ใดนั้น ก็เนื่องจากผู้ที่ถือกำเนิดย่อมต้องพึ่งพาผู้ให้กำเนิด นั่นหมายความว่า หากเราเชื่อว่าอัลลอฮ์ถือกำเนิดจากผู้อื่น แสดงว่าต้องพึ่งพาผู้นั้น ซึ่งเราได้อธิบายไปแล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่พระผู้เป็นปฐมเหตุที่ทุกสรรพสิ่งต้องพึ่งพา กลับต้องพึ่งพาผู้อื่นเสียเอง ด้วยเหตุผลเหล่านี้ จึงไม่อาจจะยอมรับได้ว่าพระเจ้าถือกำเนิด หรือให้กำเนิดผู้อื่น

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากพบคำสอนในศาสนาใดที่ขัดต่อหลักสติปัญญาที่ว่าพระเจ้าย่อมไม่ต้องพึ่งพาสิ่งใด และทุกสิ่งต้องพึ่งพาพระองค์ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องถือว่าศาสนาที่มีคำสอนดังกล่าวถูกบิดเบือนจากแนวทางดั้งเดิม(แห่งเตาฮีด)เสียแล้ว
เราเชื่อว่าท่านนบีอีซา(.)และศาสนทูตทุกท่านเชื่อในเตาฮีด และเชิญชวนประชาชาติสู่หลักการแห่งลัมยะลิด วะลัมยูลัดทั้งสิ้น  กุรอานเล่าว่า ในวัยแบเบาะ ท่านนบีอีซา(.)ได้เอ่ยถ้อยคำปาฏิหารย์ที่ว่าฉันคือบ่าวของอัลลอฮ์ พระองค์ทรงประทานคัมภีร์แก่ฉัน และแต่งตั้งให้ฉันเป็นนบี[3] ฉะนั้น การที่คนกลุ่มหนึ่งมองข้ามเหตุผลทางสติปัญญาและถือว่าท่านเป็นบุตรของพระเจ้านั้น เกิดจากสาเหตุที่มีการเบี่ยงเบนแนวทางของศาสนาดังกล่าว ซึ่งนักวิชาการเชื่อว่าการเบี่ยงเบนเริ่มโดยนักบุญเปาโล
ในอดีต นักบุญเปาโลเคยเป็นยิวกลุ่มฟารีสี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ตั้งตนเป็นศัตรูกับชาวคริสเตียนอย่างชัดเจนด้วยการทรมานและสังหารกลุ่มชาวคริสต์ ในช่วงเวลานี้เองที่นักบุญเปาโลเข้ารีตเป็นคริสเตียน และได้กลายเป็นนักเผยแพร่มือฉมัง เขาเผยแพร่คำสอนของพระเยซูในลักษณะที่สอดคล้องกับรสนิยมของบุคคลทั่วไปในยุคนั้น และพยายามอธิบายเหตุผลที่ตนเองเข้ารีตเป็นคริสเตียนด้วยเหตุผลจากคัมภีร์โตร่าห์(เตารอต) เขาเผยแพร่คริสตศาสนาเป็นเวลายี่สิบปี และใช้เวลาหลายปีในการเรียบเรียงมุขปาฐะและคำสอนต่างๆจากพระเยซูคริสต์
หลักคำสอนสำคัญของนักบุญเปาโลได้แก่
1. คริสตศาสนาเป็นศาสนาแห่งโลก
2. ตรีเอกานุภาพ อันส่งผลให้ต้องเชื่อว่าพระเยซูและพระจิตก็คือพระเจ้า
3. พระเยซูในฐานะพระบุตร อาสาลงมาไถ่บาปแทนมนุษย์
4. พระเยซูฟื้นคืนชีพจากสุสาน และขึ้นสู่ฟากฟ้าเคียงข้างพระบิดา
นักบุญเปาโลคือผู้วางรากฐานความเชื่อที่ว่าพระเยซูคือพระเจ้าคนแรก เขากล่าวว่าพระเยซูผู้ปลดปล่อย ได้สถาปนาอาณาจักรแห่งพระเจ้าบนพื้นพิภพ และหลังจากฟื้นคืนชีพแล้ว พระองค์จะกลับมาอีกครั้ง ฉะนั้น พระเยซูจึงเป็นผู้ปลดปล่อยโลกนี้และโลกหน้า พระองค์คือพระเจ้า ผู้มีอยู่ก่อนทุกสรรพสิ่ง และทุกสรรพสิ่งล้วนมาจากพระองค์[4]
ชาวคริสต์บางคนไม่สามารถยอมรับความเชื่อที่เบี่ยงเบนของนักบุญเปาโลได้ อัครสาวกของพระเยซูบางท่านแสดงท่าทีคัดค้านนักบุญเปาโลอย่างชัดเจน ความเชื่อที่นักบุญเปาโลพยายามเผยแพร่ว่าพระเยซูคือพระบุตรและเป็นพระเจ้านั้น อ่อนแอถึงขั้นที่คัมภีร์ไบเบิ้ลเองก็ไม่สามารถพิสูจน์ความเชื่อดังกล่าวได้เลย[5] ซ้ำร้ายยังสามารถที่จะใช้คัมภีร์ไบเบิ้ลหักล้างความเชื่อดังกล่าวได้ด้วย[6]

คัมภีร์ไบเบิ้ลประกอบด้วยพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมก็คือคัมภีร์ของชาวยิวที่เรียกว่าโตร่าห์(เตารอต)ซึ่งประกอบด้วย 39 บท ส่วนพันธสัญญาใหม่ก็คือคัมภีร์ ไบเบิ้ลอันเป็นที่รู้จักกันดี ทั้งสองส่วนนี้ประกอบเป็นพระคัมภีร์ อันเป็นที่ยอมรับของชาวคริสเตียน
ในพันธสัญญาเดิมไม่มีเนื้อหาที่บ่งบอกว่าพระเยซูคือบุตรของพระเจ้าเลย ส่วนพันธสัญญาใหม่(ที่ชาวคริสเตียนอ้างว่ามีระบุไว้ว่าพระเยซูเป็นพระเจ้า)นั้น บางที่ก็มีนัยยะว่าพระเยซูคือมนุษย์ธรรมดา(และมิได้เป็นพระเจ้าหรือบุตรของพระเจ้า) และบางที่ก็มีนัยยะว่าพระเยซูคือพระเจ้าหรือพระบุตรของพระองค์
เราขอนำเสนอและวิพากษ์วิจารณ์ดังนี้
. พระเยซูในฐานะมนุษย์ปุถุชน
1. นี่คือบ่าวของข้า ซึ่งข้าได้คัดเลือกเขา และเป็นผู้ที่ข้ารักและพึงพอใจ[7]
2. ในหนังสือภารกิจ(ส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิ้ล)มีอยู่ว่าพระเจ้าของอับราม และอิสอัคและยาค็อบ พระเจ้าแห่งบรรพบุรุษของเรา ได้เทิดเกียรติแก่เยซูผู้เป็นบ่าวของพระองค์[8]
เนื้อหาเหล่านี้ระบุชัดเจนว่าพระเยซูคือบ่าวที่ได้รับการคัดสรรโดยพระเจ้า

. พระเยซูในฐานะพระเจ้า
1. ในพระวรสารของนักบุญมาระโก 16:37-39 มีอยู่ว่าแท้ที่จริงแล้ว ชายผู้นี้(พระเยซู)คือบุตรของพระเจ้า[9]
สามารถวิเคราะห์ได้ว่า แม้ข้อความนี้จะระบุว่าเป็นพระบุตร แต่ต้องถือว่าบุตรในที่นี้เป็นความหมายเชิงอุปมาอุปไมย มิไช่ความหมายตรงตัว เนื่องจากในไบเบิ้ลยังมีระบุไว้ว่าแต่ส่วนบรรดาผู้ที่ต้อนรับพระองค์ พระองค์ทรงประทานอำนาจให้เป็นบุตรของพระเจ้า คือคนทั้งหลายที่เชื่อในพระนามของพระองค์

ซึ่งมิได้เกิดจากเลือด หรือความประสงค์ของเนื้อหนัง หรือความประสงค์ของมนุษย์ แต่เกิดจากพระเจ้า[10]
และอีกแห่งได้กล่าวว่าท่านที่รักทั้งหลาย ขอให้เรารักซึ่งกันและกัน เพราะว่าความรักมาจากพระเจ้า และทุกคนที่รักก็บังเกิดจากพระเจ้า และรู้จักพระเจ้า[11]

ฉะนั้น หากคุ้นเคยกับสำนวนของไบเบิ้ลจะทราบว่า ผู้ศรัทธาและผู้บำเพ็ญความดีทุกคนล้วนได้รับฐานะบุตรของพระเจ้าทั้งสิ้น แต่ถึงตอนนี้ก็ยังไม่เคยมีใครประกาศว่าเหล่าผู้ศรัทธาก็เป็นคณะพระบุตรเสียที บุตรที่ระบุในโองการต่างๆเหล่านี้หาได้แตกต่างจากโองการที่ระบุว่าพระเยซูเป็นพระบุตรไม่  นอกจากผู้ศรัทธาแล้ว บุคคลบางคนยังได้รับการระบุว่าเป็นพระบุตรเช่นกัน อาทิเช่น โองการที่พระเจ้ากล่าวเกี่ยวกับศาสดาโซโลมอน(สุลัยมาน)ว่าเราจะเป็นบิดาของเขา และเขาจะเป็นบุตรของเรา[12] แต่ก็ไม่มีใครกล่าวอ้างว่าท่านศาสดาโซโลมอนเป็นพระบุตรแต่อย่างใด
ฉะนั้น แม้สมมติว่าไบเบิ้ลปัจจุบันเป็นคัมภีร์อินญีลของพระเยซู  แต่ก็ไม่สามารถจะใช้ยืนยันได้ว่าพระเยซูคือพระบุตรและพระเจ้าเป็นพระบิดา  ชี้ให้เห็นว่าการบิดเบือนดังกล่าวเกิดขึ้นในภายหลัง

. คัมภีร์ไบเบิ้ลมีเนื้อหาที่ขัดแย้งกันเอง ทำให้ไม่อาจจะยอมรับได้ว่าเป็นคัมภีร์จากฟากฟ้าทั้งหมด ดังตัวอย่างที่นำเสนอไปแล้วว่า บางโองการระบุว่าพระเยซูเป็นบ่าว แต่บางโองการระบุว่าท่านเป็นบุตรของพระเจ้า(ในกรณีที่ยังยืนกรานจะตีความคำว่าบุตรในลักษณะการให้กำเนิด)
ความไม่ชอบมาพากลเหล่านี้เองที่ทำให้บาทหลวงคริสต์บางคนวิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อดังกล่าว ดังที่บาทหลวงเอเรียสแห่งอเล็กซานเดรียได้แย้งความเชื่อนี้ในปีคศ. 325 ว่าพระเจ้าย่อมจำแนกจากสิ่งถูกสร้างทั้งปวง จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระเยซูที่ถือกำเนิดเหมือนมนุษย์ปุถุชนทั่วไป และอาศัยบนโลก จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระเจ้าที่ท่านเพิ่งจะรู้จัก[13]
ข้อท้วงติงดังกล่าวส่งผลให้มีการประชุมสังคายนาใหญ่ที่นครนีเซีย ในที่สุดก็มีมติให้ความเชื่อเรื่องบุตรของพระเจ้ากลายเป็นหลักศรัทธาที่คริสตศาสนิกชนทุกคนต้องยึดถือ จึงกล่าวได้ว่า แม้ความเชื่อนี้จะนำเสนอโดยนักบุญเปาโลก็จริง แต่การประชุมดังกล่าวได้ตราให้ทัศนะของนักบุญเปาโลกลายเป็นหลักศรัทธาที่มิอาจปฏิเสธได้ อันส่งผลให้ทัศนคติดังกล่าวยังคงแพร่หลายในหมู่ชาวคริสเตียนถึงทุกวันนี้
สรุปว่าไม่มีข้อขัดแย้งใดๆระหว่างศาสนาเทวนิยม แต่ศาสนาคริสต์ปัจจุบันได้ออกห่างจากคำสอนของนบีอีซา(.) เพราะมิเช่นนั้น เราจะได้เห็นว่าคำสอนของนบีอีซา(.)หาได้ผิดแผกไปจากอิสลามไม่ และจะประจักษ์ว่าอิสลามคือศาสนาที่สมบูรณ์ ที่จะเติมเต็มแก่ศาสนาทุกศาสนาในอดีต



[1] อัลอิคลาศ,2 แปลโดยอ.มะการิม ชีรอซี

[2] อัลมีซานฉบับแปล,เล่ม 20,หน้า 27, และ ตัฟซีรเนมูเนะฮ์,เล่ม 27,หน้า 439.

[3] มัรยัม,30 قالَ إِنِّی عَبْدُ اللَّهِ آتانِیَ الْکِتابَ وَ جَعَلَنی‏ نَبِیًّا

[4] ประวัติศาสนาและนิกาย,อับดุลลอฮ์ มุบัลลิฆี,เล่ม 2,บทชีวประวัตินักบุญเปาโล. และ ดู เว็บไซต์อิมามญะว้าด(.)

[5] แม้เราจะไม่สามารถยอมรับได้ว่าไบเบิ้ลปัจจุบันคือคัมภีร์อินญีลที่ประทานแก่นบีอีซา(.)

[6] รู้จักและศึกษาคริสตศาสนา,ฝ่ายเผยแพร่ของเฮาซะฮ์,หน้า 25.

[7] พระวรสาร นักบุญมัทธิว 12:18

[8] หนังสือกิจการอัครสาวก 3:13

[9] พระวรสาร นักบุญมาระโก 16:37-39

[10] พระวรสาร นักบุญยอห์น, 1:12,13

[11] จดหมายนักบุญยอห์น ฉบับที่หนึ่ง 4:7

[12] หนังสือพงศาวดาร 17:13

[13] http://en.wikipedia.org/wiki/First_Council_of_Nicaea

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6794 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6713 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10571 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10600 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    7478 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5881 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10167 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    6541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10689 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60173 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57630 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42249 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39453 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38979 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34037 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28046 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28032 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27866 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25854 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...