การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6943
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/07/19
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1084 รหัสสำเนา 15269
คำถามอย่างย่อ
สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
คำถาม
สามารถจะติดต่อกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้หรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

โดยทั่วไป สัมพันธภาพจะไม่เกิดขึ้นระหว่างคนแปลกหน้าสองคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน นอกจากจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรู้จักและมีไมตรีจิตต่อฝ่ายตรงข้าม จึงจะค่อยๆสานเป็นความสัมพันธ์อันดีต่อกันในอนาคต
กรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราอย่างอบอุ่น  แต่เราซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์ หากได้รู้จักฐานะภาพของท่านอย่างแท้จริง ก็จะทำให้สามารถสานสัมพันธ์และติดต่อกับท่านได้ ดังที่อุละมาอ์ระดับสูงหรือผู้ที่สำรวมตนขัดเกลาจิตใจบางท่านสามารถติดต่อกับท่านอิมาม(อ.)ได้ในอดีต
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การสานสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)นั้น แบ่งออกเป็นสองประเภท
1.เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตใจ 2.เชื่อมสัมพันธ์ในระดับการเข้าพบ อย่างไรก็ดี แม้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองประเภทนี้จะมิไช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม แต่หากต้องการจะมีความสัมพันธ์ในระดับเข้าพบ ก็จะต้องมีคุณสมบัติพิเศษ กล่าวคือ จะต้องมีสัมพันธภาพทางจิตใจพร้อมกับจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่จำเป็นด้วย จึงจะถือเป็นการตระเตรียมโอกาสที่จะได้เข้าพบท่าน(อ.)

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้ได้รับคำตอบที่ถูกต้อง จำเป็นต้องคำนึงถึงเนื้อหาดังต่อไปนี้
1. คำว่า“ความสัมพันธ์”ในเชิงคำศัพท์แล้ว หมายถึงความผูกพัน ความนิยมชมชอบ และการเชื่อมโยง[1]. คำดังกล่าวสื่อถึงภาวะเชื่อมโยงระหว่างสองฝ่าย อันประกอบด้วยบุคคลสองฝ่ายที่มีความสัมพันธ์กัน และทั้งสองฝ่ายต้องการจะคงความสัมพันธ์ดังกล่าวไว้ ฉะนั้น ความรู้สึกผูกพันฝ่ายเดียวจึงไม่นับเป็นความสัมพันธ์แต่อย่างใด
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์จะไม่เกิดขึ้นระหว่างสองฝ่ายที่ไม่เคยรู้จักมักจี่กันมาก่อน นอกจากว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะยื่นมือเข้าหาฝ่ายตรงข้ามเนื่องจากเคยรู้จัก หรือมีความผูกพันต่ออีกฝ่ายเป็นทุนเดิม อันจะสามารถต่อยอดให้กลายเป็นการปฏิสัมพันธ์บนพื้นฐานของไมตรีจิตได้
ในกรณีของท่านอิมามมะฮ์ดีก็เช่นกัน ท่านรู้จักเราและมีไมตรีจิตต่อเราเป็นอย่างดี ฮะดีษต่างๆก็บ่งบอกว่า ท่านห่วงหาอาทร และทราบดีถึงสารทุกข์สุขดิบของชีอะฮ์(กัลญาณมิตร)ของท่านทุกคน มีฮะดีษหนึ่งกล่าวถึงคำปรารภของท่านอิมามที่มีต่อท่านเชคมุฟี้ดว่า
انا غیر مهملین لمراعاتکم و لا ناسین لذکرکم [2]
“แท้จริงเราไม่เคยเมินเฉยต่อสารทุกข์สุขดิบของพวกท่าน และไม่เคยลืมที่จะรำลึกถึงพวกท่านเลย”
จะเห็นได้ว่าไมตรีจิตและความเอื้ออาทรดังกล่าวถือเป็นไมตรีจิตในระดับสูงสุด จะมีมิตรสหายคนใดบ้างที่จะแสดงความรักที่มีต่อเราด้วยการรำลึกถึงเราตลอดเวลา อีกทั้งถือว่าตนมีหน้าที่ๆจะต้องดูแลสารทุกข์สุขดิบเช่นนี้ สรุปคือ ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)คือด้านหนึ่งของสายสัมพันธ์  ซึ่งกำลังรอคอยให้เหล่ากัลญาณมิตรถักทอความผูกพันที่มีต่อท่าน(อ.) เพื่อก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์จากสองฝ่ายอย่างแท้จริง
อีกด้านหนึ่งก็คือตัวเราเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หากใครไม่เคยรู้จักอิมามมะฮ์ดี(อ.)หรือรู้จักอย่างผิวเผิน ย่อมไม่สามารถที่จะสานสัมพันธ์กับท่านได้ ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า คนเรามักจะพิจารณาบุคคลแปลกหน้าจากนิสัยใจคอ จรรยามารยาท และสภาวะทางจิตใจ(และร่างกาย) เสียก่อน จึงจะเริ่มมีความรู้สึกนิยมชมชอบ อันจะเป็นแรงบันดาลใจให้เชื่อมสัมพันธ์กับฝ่ายตรงข้าม จากนั้นก็จะเผยความรู้สึกดังกล่าวให้ฝ่ายตรงข้ามรับรู้ ซึ่งหากฝ่ายตรงข้ามเห็นว่าฝ่ายเราเหมาะแก่การเชื่อมสัมพันธ์ด้วย ปฏิสัมพันธ์อย่างครบวงจรก็จะเกิดขึ้น
แน่นอนว่าท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)รักและห่วงใยกัลญาณมิตรของท่านเป็นอย่างยิ่ง ถามว่าเรารักและถวิลหาท่านบ้างหรือไม่? หรืออ้างว่ารักแค่เพียงลมปาก? เคยรับรู้ว่าท่านรักและห่วงใยเราบ้างหรือไม่?

2 ดังที่เกริ่นแล้วข้างต้น ความสัมพันธ์จะเริ่มจากการทำความรู้จัก และถักทอเป็นความผูกพันในใจ อันจะสร้างเสริมโอกาสให้ได้เข้าพบอย่างใกล้ชิดสนิทสนม
หากผู้ใดสามารถสานสัมพันธ์ทางจิตใจกับท่านอิมาม(อ.)อย่างสนิทแน่นแฟ้นในลักษณะที่สมควรได้รับอนุญาตให้เข้าพบ เขาก็ย่อมมีโอกาสจะได้เข้าพบอิมาม(อ.)มากกว่าผู้อื่น ดังที่เราจะพบเห็นได้ในอัตชีวประวัติของอุละมาอ์และผู้บำเพ็ญความดีที่ไม่เคยอวดอ้าง หลายท่านสามารถบรรลุถึงความผูกพันระดับสูง ทำให้มีโอกาสได้เข้าพบท่านอิมาม(อ.) ทั้งนี้ การเข้าพบดังกล่าวเป็นไปในลักษณะที่ท่านอิมาม(อ.)ปรากฏกายในฐานะคนแปลกหน้าสำหรับอุละมาบางท่านในเบื้องแรก แต่ภายหลังอุละมาเหล่านี้จึงทราบว่าได้พบอิมามมะฮ์ดี(อ.)แล้ว ดังเช่นเรื่องราวของฮัจยี อลี บัฆดาดี หรือ ฮัจญี ซัยยิด อะห์มัด รัชตี และเรื่องราวของท่านอื่นๆ ที่บันทึกไว้ในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินาน[3]
,[4]

การเชื่อมสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)อาจเกิดขึ้นได้สองลักษณะ:
1. การได้เข้าพบโดยตรง    2. เชื่อมสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณ
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเชื่อมสัมพันธ์ในสองลักษณะดังกล่าว? เราจะขอแยกตอบทีละประเด็นดังต่อไปนี้
1. การได้เข้าพบโดยตรง ในลักษณะที่บุคคลสามารถเห็นท่านได้นั้น แบ่งออกได้ดังนี้
ก. เห็นอิมามมะฮ์ดี(อ.)แต่ไม่รู้จักท่าน
ตามคำบอกเล่าของฮะดีษ ลักษณะเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ดังที่ท่านเชคศ่อดู้กเล่าจากหนึ่งในตัวแทนพิเศษ(นาอิบุ้ลคอศ)ของอิมามว่า“ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)จะร่วมพิธีฮัจย์ทุกปี ท่านเห็นและรู้จักทุกคน ผู้คนก็สามารถเห็นท่านได้ ทว่าไม่รู้จักว่าท่านคืออิมามมะฮ์ดี[5]” ฉะนั้น การได้เห็นอิมามมะฮ์ดีนอกจากจะไม่ไช่ปาฏิหารย์แล้ว ยังเกิดขึ้นบ่อยครั้งดังที่กล่าวมา อย่างไรก็ดี ลักษณะการพบอิมามเช่นนี้คงไม่ถือว่าเป็น“ปฏิสัมพันธ์” และผู้ตั้งคำถามก็คงจะไม่ได้หมายถึงลักษณะการพบปะเช่นนี้
ข. ได้เห็นอิมามมะฮ์ดี และรู้จักท่าน
หากจะถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่บุคคลจะสามารถเข้าพบอิมามโดยรู้จักท่าน คำตอบก็คือ เป็นไปได้ ทั้งนี้ก็เพราะมีปัจจัยสนับสนุน แต่ไม่มีปัจจัยที่เป็นอุปสรรค กล่าวคือ เราไม่พบว่ามีเหตุผลใดที่จะหักห้ามมิให้อิมามมะฮ์ดี(อ.)เยี่ยมเยียนผู้ที่มีจิตใจผ่องแผ้วและมีคุณสมบัติเหมาะที่จะได้รับโอกาสดังกล่าว ฉะนั้น การพบปะในลักษณะนี้จึงมีความเป็นไปได้ เว้นแต่จะมีเหตุอันไม่สมควรเป็นการเฉพาะ
นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวของบรรดาอุละมาอ์และเอาลิยาอ์ของพระองค์ที่มีโอกาสเข้าพบท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) โดยที่บางคนรู้จักท่านตั้งแต่แรกเห็น แต่บางคนก็นึกขึ้นได้ในภายหลังว่าตนได้พบอิมามมะฮ์ดีแล้ว อย่างไรก็ดี การเชื่อมสัมพันธ์มิได้มีเพียงการเข้าพบเชิงกายภาพเท่านั้น เพราะแม้ว่าการเข้าพบลักษณะนี้จะยังความภาคภูมิใจแก่ผู้ที่ได้รับโอกาส แต่มิไช่ว่าใครๆก็สามารถได้รับโอกาสนี้ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ต้องเชื่อมสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณและเชื่อฟังคำสอนของท่านในยุคที่ท่านเร้นกาย

2. การเชื่อมสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณ: ในลักษณะที่แม้ไม่ได้เข้าพบเชิงกายภาพ แต่ถักทอความผูกพันที่มีต่ออิมามมะฮ์ดีไม่ว่าจะในรูปของการพรรณาถึงท่านอิมาม หรือดุอาให้ท่าน หรือรำลึกถึงท่านอยู่เสมอๆ คำถามคือ การเชื่อมสัมพันธ์ในลักษณะนี้เป็นไปได้หรือไม่อย่างไร?
ขอตอบว่าเป็นไปได้ เนื่องจากบรรดาอิมาม(อ.)สามารถได้ยินเสียงของเรา และรับรู้สารทุกข์สุขดิบของเราเสมอไม่ว่าเราจะอยู่แห่งหนใด ดังที่มีในบทขออนุญาตเข้าฮะร็อมสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)ว่า
اشهد أنک تسمع کلامی و تشهد مقامی[6] (ขอยืนยันว่าท่านได้ยินเสียงพูดของฉัน อีกทั้งแลเห็นสถานที่ๆฉันยืนอยู่) นอกจากนี้ยังมีฮะดีษมากมายชี้ชัดว่านบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)รับรู้ความเคลื่อนไหวของเราทุกคน ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวของอุวัยส์ ก่อรอนี่ ที่ทั้งรักและผูกพันกับท่านนบี(ซ.ล.)มาก แม้ไม่มีโอกาสได้เข้าพบท่านนบี(ซ.ล.)เลยสักครั้ง แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ก็รับรู้ได้ถึงความรักความผูกพันของอุวัยส์ โดยกล่าวว่า “ลมสวรรค์พัดเอื่อยมาจากทิศแห่งก่อร็อน(แคว้นที่อุวัยส์พำนัก) โอ้อุวัยส์เอ๋ย ฉันอยากพบเจ้าเสียจริง ผู้ใดที่ได้พบเห็นเขา จงกล่าวสลามแทนฉันด้วย” ท่านนบี(ซ.ล.)ยังกล่าวต่ออีกว่า“เขาจะไม่มีโอกาสได้เห็นฉัน และภายหลังจากฉัน เขาจะยืนหยัดเคียงข้างอลี(อ.)และเสียชีวิตในสงครามศิฟฟีน[7]

ฉะนั้น บรรดาเอาลิยาอ์(กัลญาณมิตร)ของอัลลอฮ์รับรู้ได้ถึงความเป็นไปรวมถึงความนึกคิดของเราไม่ว่าจะเผยออกมาเป็นคำพูดหรือไม่ก็ตาม ทำให้เราสามารถเชื่อมสัมพันธ์หรือสื่อสารกับพวกท่านได้อย่างง่ายดายทุกขณะจิต
ณ ที่นี้จะขอหยิบยกคำแนะนำจากท่านอายะตุ้ลลอฮ์ บะฮ์ญัต เพื่อได้รับโอกาสติดต่อหรือได้พบปะกับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ดังนี้
:
มีผู้ถามท่านว่าจะทำอย่างไรเพื่อได้รับโอกาสพบปะกับท่านอิมาม(อ.) ท่านตอบว่า“ให้กล่าวศอละวาตอุทิศแด่ท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) โดยให้พ่วงท้ายด้วยดุอารีบเร่งการปรากฏกายดังนี้
 
اللهم صل علی محمد وآل محمد و عجل فرجهم และให้ไปที่มัสญิดญัมกะรอนอย่างสม่ำเสมอและนมาซตามที่ระบุไว้[8]” ท่านกล่าวถึงวิธีเชื่อมสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ว่า“หนทางสู่การใกล้ชิดอัลลอฮ์ คือการเคารพเชื่อฟังพระองค์และอิมามมะฮ์ดี(อ.) ซึ่งกระทำได้ด้วยการปฏิบัติตามตำราบทบัญญัติศาสนาที่ได้รับการยืนยันความถูกต้อง[9]” ต่อคำถามที่ว่าจะกระชับสัมพันธ์กับอะฮ์ลุลบัยต์ โดยเฉพาะอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้อย่างไร? ท่านตอบว่า“การเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์ จะนำมาซึ่งความรักในพระองค์ ตลอดจนรักปูชณียบุคคลที่เป็นที่รักของพระองค์ ซึ่งก็หมายถึงบรรดานบีและเหล่าตัวแทน โดยในจำนวนนี้ อัลลอฮ์ทรงรักท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุ้ลบัยต์(อ.)มากที่สุด และท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ก็ถือเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเรามากที่สุด[10]

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นๆที่ช่วยกระชับสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)ดังต่อไปนี้:
ก. ดุอาเพื่อสวัสดิภาพของอิมามมะฮ์ดี(อ.) اللهم کن لولیک ...[11]
ข. ดุอาอะฮด์ : ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก(อ.) กล่าวว่า“ผู้ใดที่อ่านดุอาบทนี้ยามรุ่งอรุณเป็นเวลาสี่สิบวัน จะได้เป็นหนึ่งในสาวกของมะฮ์ดี(อ.)” [12]
ค. ซิยาเราะฮ์ อาลิ ยาซีน
: ซึ่งบันทึกไว้ในหนังสือมะฟาตีฮุ้ลญินาน โดยท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.)กล่าวว่า “ยามใดที่นึกถึงเรา ให้อ่านบทซิยาเราะฮ์นี้”[13]
ง. ซิยาเราะฮ์ ญามิอะฮ์ กะบีเราะฮ์
: บันทึกไว้ในหนังสือดังกล่าวเช่นกัน[14]

ฉะนั้น เป็นไปได้ที่จะเชื่อมสัมพันธ์กับท่านอิมามมะฮ์ดี(อ.) ด้วยการตั้งมั่นและเพียรพยายาม ซึ่งจะทำให้สัมฤทธิ์ผลในการเชื่อมสัมพันธ์ทางจิตวิญญาณ และหากหมั่นขัดเกลาจิตใจและละเว้นกิเลสได้ ก็จะทำให้สามารถเข้าพบท่านอิมาม(อ.)เชิงกายภาพ หรือสามารถบรรลุระดับขั้นที่ท่านอิมามมะฮ์ดีจะเป็นฝ่ายมาเยี่ยมเยียนด้วยตัวท่านเอง
อย่างไรก็ดี หากได้ขัดเกลาจิตใจและบำเพ็ญความดีแต่ยังไม่ได้รับโอกาสการเข้าพบอิมาม(อ.) ก็อย่าได้ท้อแท้ใจ ควรหมั่นขัดเกลาจิตใจต่อไปให้ได้รับโอกาสทองนั้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น บางครั้งแม้เราจะขัดเกลาจิตใจจนกระทั่งเหมาะแก่การได้รับโอกาสแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับโอกาส เนื่องจากอาจมีเหตุผลที่เชื่อได้ว่าการได้พบท่านอาจไม่เป็นผลดีต่อตัวเราเป็นการเฉพาะ
3. อาจเกิดข้อสงสัยได้ว่า แล้วจะชี้แจงอย่างไรเกี่ยวกับฮะดีษที่กล่าวว่า ผู้ใดอ้างว่าเห็นท่าน ให้ถือเป็นจอมโกหก?
ขอตอบว่าฮะดีษเหล่านี้มีอยู่จริง เนื้อหาโดยสรุปก็คือ “ใครก็ตามที่อ้างว่าเห็นอิมามมะฮ์ดี(อ.)ก่อนสุรเสียงจากฟากฟ้าและการมาของซุฟยานี[15] ให้ถือว่าเขาคือจอมโกหก”[16] อย่างไรก็ดี บรรดาอุละมาอ์เชื่อว่าการเห็นในที่นี่ หมายถึงการเห็นในฐานะที่แอบอ้างตนเป็นตัวแทนของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ในลักษณะเดียวกับตัวแทนทั้งสี่ท่านในอดีต[17] แต่อย่างไรก็ตาม ฮะดีษเหล่านี้มิได้ปฏิเสธความเป็นไปได้ที่จะติดต่อกับท่าน แต่ต้องการเพียงปฏิเสธผู้ที่โพทะนาว่าตนเองเห็นอิมามเท่านั้น ทั้งนี้ เราไม่เคยได้ยินว่าผู้รู้ท่านใดที่เคยติดต่อกับอิมาม(อ.) จะประกาศให้สาธารณชนรู้ว่าตนเองได้พบอิมามเพื่อฉวยประโยชน์ในทางมิชอบ ผู้รู้ที่ได้รับโอกาสส่วนใหญ่จะอนุญาตให้เล่าเรื่องราวเหล่านี้ภายหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้วเท่านั้น
สรุปคือ หากต้องการใกล้ชิดอิมามมะฮ์ดีในระดับที่สามารถเข้าพบท่านเชิงกายภาพ จำเป็นต้องขวนขวายและพยายามอย่างสูง

4. เกร็ดน่ารู้ส่งท้ายก็คือ พึงทราบเสมอว่า การเชื่อมสัมพันธ์กับอิมามมะฮ์ดี(อ.)มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเหล่าสาวกของท่านเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว บุคคลที่เชื่อมสัมพันธ์กับผู้ที่มีระดับจิตวิญญาณเหนือกว่า มักจะพยายามปรับปรุงตนเองให้เสมอเหมือนหรือใกล้เคียงกับผู้นั้น ในทางจิตวิทยาก็ยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องมี “แบบอย่าง”ในชีวิต จึงจะเห็นได้ว่าหากวัยรุ่นคนหนึ่งรักและผูกพันกับอิมามมะฮ์ดี(อ.) เขาก็จะประคองตนเองให้เป็นที่พอใจของอิมามเสมอ กระบวนการดังกล่าวส่งผลดีต่อการพัฒนาจิตวิญญาณเป็นอย่างยิ่ง ความผูกพันนี้จึงเปรียบเสมือนหัวรถจักรที่ขับเคลื่อนชีวิตของมนุษย์ และเมื่อวัยรุ่นได้รับรู้ถึงความเอื้ออาทรที่อิมามมะฮ์ดีมีต่อเขา เขาก็จะพยายามเชื่อมสัมพันธ์โดยการรำลึกถึงท่านเสมอ ทั้งนี้ แน่นอนว่าแรงขับเคลื่อนดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเกิดจากการเข้าพบเชิงกายภาพ แต่ทุกคนสามารถเจริญรอยตามและเชื่อมสัมพันธ์กับท่านได้ด้วยการศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะและแบบฉบับของท่าน แน่นอนว่าปริมาตรทางจิตวิญญาณของบรรดามะอ์ศูม(อ.)นั้น มีมากพอที่จะรับรู้และสนใจการสื่อสารทางจิตใจจากเราทุกเวลาและสถานที่ ดังที่เราอ่านในบทซิยาเราะฮ์ต่างๆว่า “ขอปฏิญาณว่าท่านได้ยินเสียงของฉัน อีกทั้งแลเห็นจุดที่ฉันยืนอยู่นี้”[18] และด้วยเหตุนี้เอง เราจึงไม่มีหน้าที่ๆจะต้องมองเห็นหรือเข้าพบอิมามมะฮ์ดีเชิงกายภาพ และแม้ว่าการได้เข้าพบเชิงกายภาพจะเป็นความภาคภูมิใจเกินบรรยายก็ตาม แต่หากผู้ใดไม่ได้รับโอกาสดังกล่าว ก็มิได้หมายความว่าอิมามมะฮ์ดีมองข้ามความดีงามของเขาแต่อย่างใด



[1] อัลมุนญิด,เล่ม1,หน้า 540.

[2] อิห์ติญาจ,เชคศ่อดู้ก,เล่ม 2, หน้า 497.

[3] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 52,หมวดที่18, บทการเร้นกาย

[4] มุนตะฮัลอาม้าล,เล่ม 2,หมวด14, ส่วนที่ 5

[5] ان صاحب هذا الامر یحضر الموسم کل سنة یری الناس و یعرفهم و یرونه و لا یعرفونه (มันลายะห์ฎุรุฮุ้ลฟะกีฮ์,เล่ม 2, หน้า 520,ท้ายฮะดีษที่ 3115)

[6] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 97,หน้า 375, หมวด 5, ฮะดีษที่ 9

[7] อ้างแล้ว,เล่ม 42, หน้า155, หมวด 124, ฮะดีษที่ 22

[8] สู่ผู้เป็นที่รัก,ซัยยิดมะฮ์ดี ซาอี,หน้า 59

[9] อ้างแล้ว,หน้า 61.

[10] อ้างแล้ว

[11] อัลกาฟีย์,เล่ม 4, หน้า 162, หมวดดุอาสิบคืนสุดท้าย,ฮะดีษที่ 4

[12] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 53, หน้า 95, หมวด 29 ,ฮะดีษที่11.

[13] อ้างแล้ว,เล่ม 99, หน้า 81, หมวด 7,ฮะดีษที่1

[14] มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกีฮ์,เล่ม 2,หน้า 609, ฮะดีษที่ 3213

[15] สองเหตุการณ์นี้คือสัญลักษณ์การปรากฏกายของอิมาม(อ.)

[16] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 52, หน้า151,หมวด 23, ฮะดีษแรก

[17] อัลลามะฮ์ มัญลิซี่เล่าถึงคำพูดดังกล่าวของผู้ประพันธ์หนังสืออิกมาลุดดีนเพื่ออธิบายฮะดีษนี้

[18] บิฮารุ้ลอันว้าร,เล่ม 97,หน้า 375,หมวด 5,ฮะดีษ 9 أشد أنک تسمع کلامی و تشهد مقامی

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5943 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • จะพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ได้อย่างไร?
    6764 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/20
    อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลังตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบจากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรงถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาลวิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไปทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติและไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39702 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5989 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • ฮะดีษว่าด้วยการต่อสู่ในยุคสุดท้ายที่เริ่มจากอิหร่านเชื่อถือได้เพียงใด?
    17259 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ตำราทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่รายงานพ้องกันว่าจะมีขบวนการต่อสู้ครั้งสำคัญเกิดขึ้นเพื่อเป็นการปูทางสู่การปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(อ.) โดยเหล่าผู้ถือธงดำในขบวนการนี้จะเป็นผู้เตรียมความพร้อมก่อนที่อิมามมะฮ์ดีจะขึ้นปกครองโลกทั้งผอง[1]รัฐบาลตระเตรียมการของชาวอิหร่านเพื่อปูทางสู่รัฐของอิมามมะฮ์ดีมีสองระยะด้วยกัน:หนึ่ง. เริ่มต่อสู้โดยการชี้นำของบุรุษชาวเมืองกุมซึ่งเป็นไปได้ว่าขบวนการของเขาเป็นจุดเริ่มต้นของการปรากฏกายของอิมามเนื่องจากมีฮะดีษระบุว่าขบวนการของอิมามจะเริ่มจากทางทิศตะวันออก.[2]สอง. การเรืองอำนาจโดยซัยยิดโครอซอนีโดยการสนับสนุนของผู้บัญชาการทัพชื่อชุอัยบ์บินศอลิห์[3]ดังที่กล่าวไปแล้วฮะดีษที่เกี่ยวกับการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดีบทหนึ่งระบุว่า:....عَنْ عَلِیِّ بْنِ عِیسَى عَنْ أَیُّوبَ بْنِ یَحْیَى الْجَنْدَلِ عَنْ أَبِی الْحَسَنِ الْأَوَّلِ ع قَالَ رَجُلٌ مِنْ أَهْلِ قُمَّ یَدْعُو النَّاسَ إِلَى الْحَقِّ یَجْتَمِعُ مَعَهُ ...
  • บรรพบุรุษและลูกหลานของมาลิก อัชตัรเป็นผู้ที่ศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้าและเชื่อในวิลายัตหรือไม่?
    9199 تاريخ بزرگان 2554/12/11
    ตำราประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมิได้กล่าวถึงประเด็นความศรัทธาของบรรพบุรุษของมาลิกอัชตัรซึ่งมาจากเผ่า “นะเคาะอ์” และ “มิซฮัจ” ในเยเมนแต่อย่างใดสิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกไว้คือเผ่านี้เป็นกลุ่มแรกๆในเยเมนที่เข้ารับอิสลามมาลิกอัชตัรมีบุตรชายสองคนคนหนึ่งมีนามว่าอิสฮากและอีกคนมีชื่อว่าอิบรอฮีมอิสฮากเป็นหนึ่งในทหารของอิมามฮุเซน (อ.) ในกัรบาลาและได้เป็นชะฮาดัตเคียงข้างกับซัยยิดุชชุฮาดาอ์ในที่สุดอิบรอฮีมได้เข้าร่วมในการปฏิวัติของมุคตารษะเกาะฟีและได้ทำหน้าในฐานะแม่ทัพอย่างเต็มความสามารถโดยได้ฆ่าบุคคลที่สังหารอิมามฮุเซน (อ.) เช่นอิบนุซิยาดประวัติศาสตร์ได้จารึกว่าอิบรอฮีมมีบุตร 5 คนนามว่านุอ์มาน, มาลิก, มุฮัมหมัด, กอซิม, คูลานในจำนวนบุตรทั้งหมดของอิบรอฮีมกอซิมและมุฮัมหมัดได้ผันตนมาเป็นนักรายงานฮาดีษในเวลาต่อมา ...
  • ในอายะฮ์ที่ได้กล่าวว่า "فَمَنِ اعْتَدَى بَعْدَ ذَلِکَ فَلَهُ عَذَابٌ أَلِیمٌ"، คำว่า “ฟะมะนิอ์ตะดา” หมายถึงอะไร และสาเหตุใดจึงมีการเตือนว่าจะลงโทษ?
    9026 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    ข้อบังคับประการหนึ่งในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ก็คือห้ามล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมซึ่งอายะฮ์ที่ 94-96 ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ก็ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้กล่าวคือห้ามมิให้ล่าสัตว์ทะเลทรายและสัตว์น้ำในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมก่อนที่จะกล่าวถึงความหมายของคำว่า “ตะอัดดี” (การรุกราน) จำเป็นที่จะต้องอธิบายว่าเหตุผลหนึ่งของการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็คือการที่พิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์เป็นอิบาดะฮ์ที่จะแยกมนุษย์ออกจากโลกิยะและจะนำพามนุษย์สู่โลกที่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณอันสูงส่งส่วนสิ่งที่เป็นวัตถุ, การรบราฆ่าฟัน, ความอาฆาต, ความต้องการทางเพศ, ความสุขทางด้านวัตถุล้วนเป็นสิ่งที่พึงละเว้นในพิธีฮัจญ์และอุมเราะฮ์ซึ่งถือเป็นวิธีฝึกฝนที่ได้รับการอนุมัติจากพระองค์ฉะนั้นการห้ามล่าสัตว์ในขณะครองอิฮ์รอมก็อาจจะเนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้[1]ศาสนบัญญัติข้อนี้ได้รับการกำหนดไว้อย่างละเอียดโดยมิได้เจาะจงห้ามล่าสัตว์เพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการช่วยชี้เป้าหรือการหาเหยื่อให้ผู้ล่าก็เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยเช่นกันดังที่ในฮะดีษได้กล่าวไว้ว่าอิมามศอดิก (อ.) กล่าวกับสหายของท่านว่า “จงอย่าถือว่าการล่าสัตว์ในขณะที่ยังครองอิฮ์รอมเป็นสิ่งอนุมัติไม่ว่าจะอยู่ในเขตฮะร็อมหรือนอกเขตฮะร็อมก็ตามและถึงแม้ว่าพวกท่านจะไม่ได้ครองอิฮ์รอมก็ไม่สามารถล่าสัตว์ได้และจงอย่าชี้เป้าแก่บุคคลที่กำลังครองอิฮ์รอมหรือผู้ที่มิได้ครองอิฮ์รอมเพื่อให้เขาล่าสัตว์และจงอย่าสนับสนุน (และสั่ง) แต่อย่างใดเพื่อที่จะได้ทำให้การล่าสัตว์นั้นๆเป็นฮะลาลเนื่องจากจะทำให้ผู้ละเมิดโดยตั้งใจต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์”[2]ดังนั้น “มะนิอ์ตะดา”ในที่นี้หมายถึงบุคลลใดก็ตามที่ได้ฝ่าฝืนกฏดังกล่าว (การห้ามล่าสัตว์) ซึ่งเป็นคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เขาจะต้องทนทุกข์ทรมานกับการลงโทษที่หนักหน่วงดังนั้นสาเหตุของการลงโทษคือการฝ่าฝืนกฏและคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) นั่นเองและการลงโทษดังกล่าวหมายถึงการลงโทษด้วยไฟนรกในโลกหน้า “หรืออาจจะหมายถึงการประสบอุปสรรคในโลกนี้ด้วยก็เป็นได้”[3] ดังนั้นการดื้อแพ่งกระทำบาปครั้งแล้วครั้งเล่าจะนำมาซึ่งภยันตรายและการลงทัณฑ์อันเจ็บปวดคำถามดังกล่าวไม่มีคำตอบเชิงอธิบาย
  • ในอายะฮ์ "وَمَنْ عَادَ فَینتَقِمُ اللّهُ مِنْهُ وَاللّهُ عَزِیزٌ ذُو انْتِقَامٍ"، สาเหตุของการชำระโทษคืออะไร
    7162 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/05
    อายะฮ์ที่ได้ยกมาในคำถามข้างต้นนั้นเป็นอายะฮ์ที่ถัดจากอายะฮ์ก่อนๆในซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ซึ่งมีเนื้อหาว่าการล่าสัตว์ขณะที่กำลังครองอิฮ์รอมถือเป็นสิ่งต้องห้ามในที่นี่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้กล่าวว่าผู้ใดที่ได้ละเมิดขอบเขตของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กล่าวคือไม่ยี่หระสนใจเกี่ยวกับข้อห้ามในการล่าสัตว์ในขณะที่ครองอิฮ์รอมอยู่โดยได้ล่าสัตว์ขณะที่กำลังทำฮัจญ์  อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็จะชำระโทษพวกเขาดังนั้นสาเหตุของการชำระโทษในที่นี้ก็คือการดื้อดึงที่จะทำบาปนั้นเอง[1]ใครก็ตามที่ได้กระทำสิ่งต้องห้าม (ล่าสัตว์ขณะครองอิฮ์รอม) พระองค์ย่อมจะสำเร็จโทษเขาอายะฮ์ดังกล่าวต้องการแสดงให้เห็นว่าบาปนี้เป็นบาปที่ใหญ่หลวงถึงขั้นที่ว่าผู้ที่ดื้อแพ่งจะกระทำซ้ำไม่อาจจะชดเชยบาปดังกล่าวได้ในอันดับแรกสามารถชดเชยบาปได้โดยการจ่ายกัฟฟาเราะฮ์และเตาบะฮ์แต่ถ้าหากได้กระทำบาปซ้ำอีกอัลลอฮ์จะชำระโทษผู้ที่ฝ่าฝืนเนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้มีชัยและเป็นจ้าวแห่งการชำระโทษและสำนวนอายะฮ์นี้แสดงให้เห็นว่าบาปดังกล่าวเป็นบาปที่ใหญ่หลวงสำหรับปวงบ่าวนั่นเอง[2]คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด[1]มัฆนียะฮ์, มุฮัมหมัดญะวาด
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    21405 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • เพราะเหตุอะไร เราจึงซัจญฺดะฮฺในซิยารัตอาชูรอ เพื่อขอบคุณพระเจ้า เนื่องจากโศกนาฏกรรมดังกล่าว?
    21734 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    การขอบคุณความโปรดปราน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงรายงานของเรา ซึ่งมีสถานภาพอันเฉพาะเจาะจงพิเศษ[1] มนุษย์ผู้ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อพระเจ้าก็เนื่องจากว่า เขามีการรู้จักที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระเจ้า และการสร้างสรรค์ของพระองค์, และทุกสิ่งจากพระเจ้าที่ได้ตกมาถึงพวกเขา, เขาจะขอบคุณ, เนื่องจากมนุษย์เหล่านี้, เขาจะปฏิบัติหน้าที่กำหนดจากพระเจ้าร่วมไปด้วย และเมื่อประสบอุปสรรคปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแรง เขาต่างแสดงความจำนนต่อพระเจ้า และถือว่าสิ่งเหล่านั้นอยู่ในหนทางนำไปสู่ความสมบูรณ์ ในหนทางของพระเจ้า ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในตอนบ่ายของวันอาชูรอ, ท่านได้อยู่ร่วมกับสหายคนอื่น ร่วมแซ่ซ้องสดุดีต่อพระเจ้า ทั้งที่ทั้งความดีงามและความเลวร้าย ได้ประสบแด่ท่าน : ประโยคที่กล่าวว่า "احمده على السرّاء والضرّاء" โอ้ อัลลอฮฺ ไม่ว่าฉันจะอยู่ในสภาพปกติ หรืออยู่ในสภาพเศร้าหมอง,ฉันก็จะขอขอบคุณพระองค์ เพื่อว่าฉันจะได้รับความสัมฤทธิผล ด้วยการช่วยเหลือของพระองค์ ได้ชะฮีดและอยู่ร่วมกับบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ "الحمد للّه الذی أکرمنا ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60341 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57888 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42443 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39702 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39104 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34197 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28230 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28171 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28106 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26049 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...