การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7124
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
คำถามอย่างย่อ
เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
คำถาม
สามารถพิสูจน์ความเมตตาของพระเจ้าได้อย่างไร? ในโลกนี้มีความสวยงาม ความดี และสิ่งดีๆ เท่าใด ความชั่วร้าย ความหน้าเกลียดก็มีเท่านั้น หรือบางทีอาจมีพระเจ้า 2 องค์ ได้แก่พระเจ้าแห่งความดี และพระเจ้าแห่งความชั่ว? จะตอบข้อสงสัยเหล่านี้ได้อย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง

2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ของมนุษย์ในเงื่อนไขเหล่านี้จะมีการพัฒนาและเจริญเติบโต

3.ในโลกแห่งการมีอยู่นั้นจะไม่มีความชั่วร้ายที่สุด (กล่าวคือสรรพสิ่งซึ่งไม่มีความสวยงามในทุกด้าน และไม่มีความดีเหลืออยู่เลย) หรือมีความชั่วร้ายอย่างมากมาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

สำหรับความชัดเจนในคำตอบ จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นดังต่อไปนี้

  1. โลกนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม,ต้นไม้ดอกที่ปลูกอยู่ในกระถางที่มีความสวยงาม ต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในสวนมีความสวยสดและเขียวขจี ทารกน้อยที่นอนอยู่ในเปล และรวมไปถึงทุกสรรพสิ่งที่อยู่รายลอบตัวเรา สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? เช่น ต้นไม้ในกระถางถ้าหากเราไม่ดูแลรักษา ไม่ลดน้ำ ต้นไม้นั้นจะเติบโตขึ้นมาได้ไหม? ดังนั้น การที่ต้นไม้ในกระถางจะยังคงอยู่ต่อไปได้ก็ขึ้นอยู่กับเรา ซึ่งได้ลดน้ำอยู่เสมอ แน่นอน ถ้าไม่มีเมล็ดพันธ์ที่เจริญงอกเงย หรือเครื่องหมายที่เหมาะสมเพียงพอแล้ว ดอกไม้นั้นจะไม่เปล่งบานออกมาอย่างแน่นอน ดอกไม้ได้ใช้ออกซิเจน และแก๊สต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ แน่นอน ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ มวลไม้เหล่านั้นจะไม่มีวันชูช่อออกดอก และไม่สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ และในความเป็นจริงแล้วไม้ดอกเหล่านั้นโดยตัวของมันแล้วก็จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ กล่าวคือ เมื่อแก๊สต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมันก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย ถ้าหากได้รับออกซิเจน ออกซิเจนก็จะลดน้อยลงไป แต่ถ้ารับเอาคาร์บอนได้ออกไซเข้าไป ออกซิเจนก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น จะเห็นว่าไม้ดอกมีความสัมพันธ์กับอากาศที่อยู่รายลอบตัวเอง มิใช่อากาศมีความเป็นเอกเทศไปจากกระถางใบ และมิใช่ไม้ดอกจะเป็นอิสระไปจากอากาศ ความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นเองเราก็จะพบในหมู่บรรดาสรรพสัตว์ด้วยเหมือนกัน หรือแม้แต่สรรพสิ่งที่ไม่มีชีวิต ถ้าพิจารณาสิ่งเหล่านั้น ก็จะพบว่าทุกปรากฏการณ์ได้เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ก่อนหน้านั้น, ดวงอาทิตย์ได้ฉายแสงเหนือผิวน้ำ น้ำก็จะเหยกลายเป็นไอ, และไอน้ำก็จะกลายเป็นกลุ่มเมฆ, แล้วกลุ่มเมฆจะรวมตัวกันแล้วกลายเป็นฝนหรือหิมะตกลงมา, ชุบชีวิตพื้นดินที่แห้งแล้งให้มีชีวิตขึ้นมาใหม่,มวลไม้พันธ์และความโปรดปรานอีกหลายพันชนิดได้งอกเงยขึ้นจากพื้นดินนั้น แต่ถ้าพื้นดินที่สูญเสียสภาวะการดูดซับน้ำ น้ำฝนนั้นก็จะกลับกลายเป็นอุทกภัยน้ำท่วมนำความเสียหายมาสู่ และนี่คือระบบที่ปกครองโลกนี้อยู่ ระบบที่มีความเหมาะสม สอดคล้อง มีผลและบังเกิดผลแก่กันและกัน ซึ่งสิ่งนี้ไม่จำเป็นต้องการเหตุผลในเชิงปรัชญามาอธิบายแต่อย่างใด เพราะทุกคนก็สามารถทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์ และความเป็นเอกภาพของระบบได้ตามศักยภาพ และความรู้ของตน แน่นอนว่าถ้าความรู้ของเรามีความแม่นยำ และมีความกว้างขึ้นมากเท่าใด เราก็จะตระหนักถึงความลึกของความสัมพันธ์ และความดีของการสร้างมากกว่า ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่า โลกนี้มีพระเจ้าหลายองค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถยอมรับคำกล่าวทำนองนี้ได้[1]
  2. ความเมตตาและความปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานของวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์และบรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำไปสู่ความสมบูรณ์[2] และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และได้สัมผัสสิ่งเหล่านั้น เพื่อจะได้ไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งอีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ของมนุษย์ในเงื่อนไขเหล่านี้จะมีการพัฒนาและเจริญเติบโต
  3. ในโลกแห่งการมีอยู่นั้นจะไม่มีความชั่วร้ายที่สุด (กล่าวคือสรรพสิ่งซึ่งไม่มีความสวยงามในทุกด้าน และไม่มีความดีเหลืออยู่เลย) หรือมีความชั่วร้ายอย่างมากมาย ทว่าถ้ามีบางสิ่งบางอย่างในด้านหนึ่งไม่ดี และอีกด้านหนึ่งดี, ด้วยเหตุนี้เองเราจึงไม่สามารถกล่าวได้ว่าสิ่งนั้นไม่ดี, การผ่าตัดด้านหนึ่งสร้างความเจ็บปวดและทรมาน แต่โดยรวมแล้วปวงผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย ต่างมองว่านั้นคือการกระทำที่ถูกต้องและดี
  4. การสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่ดี ซึ่งดูจากภายนอกแล้วน่าเกลียด ขึ้นมาบนโลกนี้ย่อมมีปรัชญาอันเฉพาะแอบแฝงอยู่ ซึ่งจะของชี้แจงบางประเด็นเหล่านั้น

ก) ถ้าหากความเมตตา, มีความต่อเนื่องและเป็นไปในลักษณะเดียวกัน ก็จะสูญเสียคุณค่าของตนไป ถ้าหากตลอดอายุขัยของตนไม่เคยไม่สบาย เขาก็จะไม่มีวันรู้จักว่าพลานามัยที่สมบูรณ์คืออะไร, แน่นอน การใช้ชีวิตโดยทั่วไปในรูปแบบที่เหมือนกัน ย่อมนำพามาซึ่งความเบื่อหน่าย บางครั้งก็หน้าผิดหวังและบางครั้งร้ายแรง, เพราะเหตุใดโลกธรรมชาติจึงมีความสวยงานขนาดนั้น? เพราะเหตุใดภูมิทัศน์ที่เป็นป่าไม้เขียวขจี ขึ้นอยู่ตามภูเขาต่างๆ มีลำธารไหลผ่านต้นไม้ใหญ่น้อยและภูเขาเหล่านั้น เสียงมวลวิหคระคนเคล้ากับเสียงลมและเสียงน้ำตำ มันช่างดึงดูดใจและให้ความหรรษาแก่จิตใจเป็นอย่างยิ่ง เพราอะไร? เหตุผลอันชัดแจ้งประการหนึ่งคือ สิ่งเหล่านั้นมีความหลายหลาย มิได้เป็นไปในลักษณะเดียวกัน ระบบของแสงสว่าง ความมืด การมาและจากไปของทิวาและราตรี ซึ่งอัลกุรอาน ได้กล่าวถึงสิ่งเหล่านี้เอาไว้ ก็เพื่อต้องการจะบอกว่า สิ้นสุดแล้วสำหรับการดำรงชีวิตไปในลักษณะเดียวกันของมนุษย์ บางครั้งเราจะเห็นว่าปัญหาบางประการ และเหตุการณ์บางเหตุการณ์ ที่ผลกระทบที่หลายหลากซึ่งให้จิตวิญญาณแก่ชีวิตเป็นที่สุด สร้างความชื่นมื่น และทำให้เราสามารถอดทนต่อสิ่งเหล่านั้นได้ ตรงนี้จะเห็นว่าคุณค่าของความโปรดปรานจะปรากฏชัดเจนขึ้นมาทันที

ฉะนั้น ไม่ว่าภายนอกของโลกนี้จะดูว่ามีความน่าเกลียด ไม่มีความเหมาะสม แต่ภายในของมันไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากความสวยงามและความเมตตาปรานีของพระเจ้า

ข) ถ้าสมมติว่าไม่มีความน่าเกลียด หรือไม่มีความชั่วร้ายภายนอกอยู่เลย ก็จะทำให้มนุษย์ไม่มีความกระตือรือร้นในการรู้จักธรรมชาติ รู้จักกลไกลต่างๆ ของโลก และจะไม่ให้ความสำคัญต่อสิ่งเหล่านั้น การรู้จักธรรมชาติผลของมันคือ การรู้จักมนุษย์และพระเจ้าให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งมนุษย์และพระเจ้าคือสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุด ซึ่งถ้าจะนำเอาโลกธรรมชาติทั้งหมดมาเปรียบเทียบแล้วละก็ จะไม่สามารถเทียบเท่าคุณค่าของทั้งสองได้เลย เฉกเช่น อัญมลีอันล้ำค่าแม้ว่าจะเอาก้อนกรวด ก้อนทราย หรือดินไปเทรอบๆ นั้น ก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงเพชรให้เป็นอย่างอื่นได้ เพชรยังคงเป็นเพชรอยู่เหมือนเดิม สิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด เป็นเพียงปฐมบทสำหรับการสร้างมนุษย์ให้เกิดมาบนโลกนี้ ดังนั้น มนุษย์คือปวงผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มีเจตนารมณ์เสรี เขาจำเป็นต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตของเขา และความน่าเกลียดของสรรพสิ่งทั้งหลายก็ต้องมีอยู่ เพื่อเป็นเงื่อนไขต่อการสร้างความสมบูรณ์แก่มนุษย์

ฉะนั้น โลกใบนี้มีพระเจ้าเพียงองค์เดียว พระเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงปรานี และทุกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและมีอยู่นั้น ในการมีอยู่ของตัวมันสวยงามและดีสำหรับตัวมัน

 


[1]การรู้จักอิสลาม,ชะฮีดเบเฮชตียฺ และคนอื่น, เตหะราน, สำนักพิมพ์เผยแผ่วัฒนธรรม อิลาม, พิมพ์คั้งที่ 7, 1370, หน้า 55-86, มะอาริฟกุรอาน, ศาสดาจารย์มุฮัมมัดตะกียฺ มิซบาฮ์, กุม,ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 84, 85, 92, 93-217, มะฮาเฎาะรอต ฟิลอิลาฮียาต, ศาสดาจารย์ญะอฺฟัร ซุบฮานี (ย่อสรุปโดยอะลี ร็อบบานียฺ ฆุลภัยฆอนียฺ กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 6, ปี 1418, หน้า 21, บิดายะตุลมะอาริฟ อัลอิลาอียะฮฺ ฟีชัรฮิ อะกออิด อัลอิมามียะฮฺ, ซัยยิด มุฮฺซิน คัรรอซีย์, กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 1, หน้า 37

[2] กัชฟุล มะรอด ฟีชัรฮิ ตัจญฺรีด อัลอิอฺติกอด, อัลลามะฮฺ ฮิลลียฺ,ค้นคว้าโดยอัลลามะฮฺ ฮะซัน ซอเดะฮฺ, กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ 8, ปี ฮศ. 1419, หน้า 444-449, ตักรีบุลมะอาริฟ ฟิลกะลาม,เชคตะกียุดดีน อบิล ซิลาฮฺ ฮะละบียฺ, ค้นคว้าโดย ริฏอ อุสตาดี กุม, ญามิอ์มุดัรริซีน, ปี 1363 หน้า 42, 65, 82, อัซซะคีเราะฮฺ ฟิลกะลาม, ชรีฟ มุรตะฎอ อะลัมมุลฮุดา, ค้นคว้าโดยซัยยิด อะฮฺมัด ฮุซัยนี, กุม ญามิอ์มุดัรริซีน, พิมพ์ครั้งที่ไม่ทราบ ปี 1411, หน้า 186,

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6794 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6713 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10571 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10600 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    7478 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5881 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10167 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    6541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10689 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60173 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57630 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42249 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39453 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38979 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34037 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28046 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28032 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27866 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25854 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...