การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
20905
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa887 รหัสสำเนา 10190
คำถามอย่างย่อ
วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
คำถาม
วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
คำตอบโดยสังเขป

วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัส หรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ที่มีมายังมนุษย์ ถ้าพิจารณาในแง่ของรูปลักษณ์ลักษณะแล้วไม่แตกต่างกัน  แต่ในระดับชั้นนั้นมีความแตกต่างกัน ระดับชั้นที่ต่ำที่สุดเป็นระดับของสิ่งที่ไม่มีชีวิตและพืชทั้งหลาย ขณะที่ระดับสูงสุดนั้นเป็นของบรรดา ศาสดา อันดับที่สอง : กรณีที่วะฮฺยูถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างกัน เช่น ถูกใช้ในความหมายของการบ่งชี้ การอ้างอิง, การกระซิบกระซาบ, การดลในความเข้าใจจากทางสัญชาติญาณ หรือการดลชนิดมองเห็น ซึ่งระดับชั้นที่สูงที่สุดคือ การตรัสของพระเจ้าที่มีต่อศาสดาและเราะซูลของพรองค์

คุณลักษณะของวะฮฺยูมีดังนี้ : 1) บังเกิดภายใน 2) มีครูสอนสั่ง 3) ซ่อนในจิตใจ 4) การรับรู้ผ่านแรงบันดาลใจ ขณะเดียวกันวิธีการประทานวะฮฺยูแก่บรรดาศาสดามีอยู่ 3 แบบ (แม้ตามคำกล่าวของท่านอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอี ทั้งสามแบบนั้นจะย้อนกลับไปสู่วิธีการเดียว นั่นก็คือการดลใจโดยปราศจากสื่อกลางจากอัลลอฮฺ) ซึ่งประกอบไปด้วย :

(1) การสนทนาของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อ (2) การสนทนาหลังม่านปกคลุม (3) การสนทนาผ่านทูตสวรรค์หรือมลาอิกะฮฺที่ประทานลงมา ปรัชญาของการประทานวะฮฺยูและศักดิ์ศรีของมลาอิกะฮฺ สิ่งที่ย้ำเตือนให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า การที่มลาอิกะฮฺเป็นสื่อกลางนั้นไม่ได้หมายถึงว่า มลาอิกะฮฺได้รับสิทธิ์จากพระเจ้า หลังจากนั้นได้ถ่ายทอดให้ศาสดาด้วยภาษาอันเฉพาะ  ทว่ามลาอิกะฮฺคือภาพประจักษ์แห่งสารของพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ คำว่าสื่อกลางจึงไม่ได้หมายถึงภาษาอันเฉพาะ หรือมีข้อความศักดิ์สิทธิ์อยู่ระหว่างนั้น เพื่อว่าจะได้เกิดความผิดพลาดขณะพูด ในประการแรก จึงไม่มีสื่อกลางระว่างทั้งสอง, และประการที่สองและสาม ถ้าศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ใส่ใจผ่านสื่อหรือผ้าคลุม ก็เท่ากับว่าท่านได้รับวะฮฺยูโดยปราศจากสื่อ ประเด็นสุดท้าย วะฮฺยู เป็นชนิดหนึ่งของความรู้ประจักษ์ จึงมีความแตกต่างกับความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ ความรู้ประจักษ์ปราศจากความผิดพลาดและไม่เป็นเท็จ ดังนั้น มนุษย์สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นไปจนไปถึงขั้นที่ว่า มนุษย์สามารถได้รับความรู้จากพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านสื่อ ตรงนี้เอง ที่ส่วนใหญ่จะห่างไกลและอิสระต่อการย้อนไปหาสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และได้รับการคุ้มกันจากความผิดพลาด และนี่ก็คือตำแหน่งมะอฺซูมนั่นเอง

คำตอบเชิงรายละเอียด

วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัส หรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน[1]

คำๆ นี้ถูกใช้ในอัลกุรอานบ่อยครั้ง แบบฟอร์มการใช้คำ ๆ นี้ มีลักษณะแตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าอัลกุรอานนั้นไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับมนุษย์เท่านั้น ทวาควบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้ การสร้างรวงรังของผึ้งก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวะฮฺยู ซึ่งจะเห็นว่าวะฮฺยูได้ชี้นำทางสรรพสิ่งมีชีวิตที่ตัวตนและสัญชาติญาณ เพื่อให้สรรพสิ่งนั้นไปถึงยังจุดหมาย ประเด็นนี้ย่อมเป็นหนึ่งในเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า โลกนั้นมีจุดหมาย มวลสรรพสิ่งทั้งหลายไปถึงยังเป้าหมายของตนได้ไม่ใช่เพราะความบังเอิญ ทว่าด้วยการชี้นำที่เป็นตักวีนีของพระเจ้า ซึ่งสิ่งนั้นก็คือการวะฮีของพระองค์ที่มีมายังสรรพสิ่งเหล่านั้น อย่างไรก็ตามวะฮีย์ของพระเจ้ามีระดับชั้นที่แตกต่างกัน วะฮีย์ที่มีมายังพืช สรรพสัตว์ และฯลฯ นั้นไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน ทำนองเดียวกันการชี้นำที่มีต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ไม่เหมือนกับสิ่งไม่มีชีวิต[2]

ดังนั้น วะฮฺยูระดับสูงที่สุดก็คือวะฮฺยูที่ถูกประทานแก่ท่านศาสดา ซึ่งจุดประสงค์จากสิ่งนั้นคือ การดลความหมายบนจิตใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จากพระเจ้าและการสนทนาของพระเจ้ากับนบี[3] วะฮีย์นี้วางอยู่บนพื้นฐานความต้องการของมนุษย์ที่ต้องการคำชี้นำจากพระเจ้า เพื่อชี้นำไปถึงจุดหมายปลายทาซึ่งอยู่เบื้องหลังเส้นขอบฟ้าแห่งความรู้สึกและวัตถุ อีกด้านหนึ่งความต้องการในการดำรงอยู่ทางสังคม ที่ประกอบด้วยของการมีกฎหมายพระเจ้าอันเป็นที่ตอบรับ ดังนั้น วะฮฺยู ก็คือการได้รับการชี้นำจากพระเจ้านั่นเอง โดยการเชื่อมต่อของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กับอาณาจักรเร้นลับ ท่านศาสดาคือสื่อกลางระหว่างโลกมนุษย์กับโลกเร้นลับ (ซึ่งจะอธิบายต่อไปว่ามนุษย์ผู้มีความสมบูรณ์ ก็มีสิทธิ์ได้รับความวะฮีย์บางระดับเช่นกัน)[4]

จากคำพูดของท่านนบี (ซ็อล ฯ) ก็สามารถเข้าใจได้ว่าพื้นฐานของวะฮีย์ กับการดลอย่างอย่างอื่นที่มีแก่มนุษย์ในแง่ของแก่นสารไม่แตกต่างกัน แต่ในระดับชั้นนั้นแตกต่างกันไป ตัวอย่าง เช่น ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ขณะที่กล่าวฮะดีซได้กล่าวว่า: การมองเห็นสัจธรรมเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบ 70 ส่วนของสภาวะการเป็นนบี[5] ฮะดีซบทนี้บ่งบอกให้เห็นว่า วะฮฺยู ที่ประทานแก่ศาสดามีระดับชั้นที่สูงส่งทีสุดและเปี่ยมไปด้วยความรุ่งโรจน์ ซึ่งทั้งหมดได้รับประโยชน์จากรัศมีและปัจจัยยังชีพ ดังนั้นมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะพิจารณาความหมายของวะฮฺยู ตามทีอัลกุรอานได้ใช้ [6] ในดำรัสของพระเจ้า วะฮียฺ ถูกใช้ในความหมายเหล่านี้ :

ถูกใช้ในความหมาย การดล ในความเข้าใจของสัตว์จากวิธีของสัญชาติญาณ “และพระผู้อภิบาลของเจ้า ทรงดลใจแก่ผึ้ง”[7] (หมายถึงพระองค์ทรงสอนผึ้งว่าเจ้าควรจะสร้างรวงรังและดูดน้ำหวานอย่างไร)

วะฮฺยู หมายถึงการกดลด้วยการมองเห็น :"และเราได้ดลใจแก่มารดาของมูซา”[8]

วะฮฺยู หมายถึง การกระซิบกระซาบ :แท้จริง บรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบแก่บรรดาสหายของมัน”[9]

วะฮฺยู หมายถึง การดลในแง่ของการบ่งชี้ : และเขาได้ชี้ใบ้แก่พวกของเขาว่า พวกท่านจงกล่าวสดุดีในยามเช้าและยามเย็น”[10]

และชนิดที่ดีที่สุดของวะฮฺยูคือ ในความหมายของการสนทนาของพระเจ้ากับษศาสดาและเราะซูล :"และไม่เป็นการบังควรแก่มนุษย์คนใดที่จะให้อัลลอฮฺตรัสแก่เขาเว้นแต่โดยทางวะ ฮียฺ”[11]

ส่วนคุณสมบัติของวะฮฺที่ประทานแก่บรรดาศาสดามี 3 ประเภทกล่าวคือ : 1) บังเกิดภายใน 2) มีครูสอนสั่ง 3) ซ่อนในจิตใจ 4) การรับรู้ผ่านแรงบันดาลใจ

คำอธิบาย : วัตถุประสงค์ของการบังเกิดภายใน หมายถึงบรรดาศาสดา, ไม่ได้รับวะฮฺยูโดยผ่านความรู้สึกภายนอก ทว่าได้รับโดยผ่านจากด้านใน อัลกุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้โดยเรียกว่า จิตใจ ตรัสว่า

نزل به الروح الامین على قلبک[12]

จิตใจ ในที่นี้หมายถึง ภายใน กล่าวคือคือตัวตนและจิตวิญญาณ อีกด้านหนึ่งเนื่องจาก วะฮฺยู คือติดต่อกับโลกอื่นเรียกว่าวะฮฺยูด้านนอก ส่วนจุดประสงค์ของครู หมายถึงวะฮฺยูที่ลงแก่นบี เช่น ไม่เหมือนสัญชาตญาณของสัตว์ที่ไม่มีด้านการศึกษาและไม่ใช่ชนิดของแรงบันดาลใจชนิด (อิลฮามที่เกิดในมนุษย์หรือนักวิชาการบางคน) เพราะอิลฮาม (แรงบันดาลใจ) ของมนุษย์ก็เพียงแค่รู้สึกว่า เขาไม่รู้ทันใดนั้นมีสิ่งหนึ่งปรากฏบนจิตใจของเขา แต่ไม่มีความรู้สึกว่ากำลังได้รับสิ่งนั้นจากครู แต่บรรดาศาสดาจะมีความรู้สึกว่าพวกเขาได้พบกับครู อัลกุรอานกล่าวว่า :

علمه شدید القوى"[13] "علمّک مالم تکن تعلم"[14].

วัตถุประสงค์ ความรู้สึก กล่าวคือ เมื่อพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับวะฮฺยู ท่านตระหนักว่า นี่คือเนื้อหาที่ได้รับจากที่อื่น เหมือนกับเรา มีความรู้สึกว่าเรากำลังเรียนอยู่กับครูผู้สอน เรามีความรู้สึกว่า เรากำลังนั่งอยู่ต่อหน้าคุณครูและฟังครูสอน จะมีความแตกต่างกันตรงที่ว่า คุณครูของท่านนบีไม่ได้อยู่ในจักรวาลนี้ ส่วนจุดประสงค์ของ การรับรู้โดยผ่านสื่อของวะฮฺยูนั้น บางครั้งวะฮฺยู ได้ถูกดลแก่นบีโดยสิ่งอื่น ไม่ได้มาโดยตรงจากพระเจ้า สิ่งนั้นบางครั้งเรียกว่า "รูฮุลอามีน" บางครั้งเรียกว่า "รูฮุลกุดส์" บางครั้งก็เป็น "ญิบรออีล" ซึ่งท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) รับรู้และรู้สึกได้กับสิ่งนั้น ขณะที่ในสัญชาติญาณส่วนบุคคลมิได้เป็นเช่นนี้ และผู้นั้นก็ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเขามีครู ดังนั้น เมื่อวะฮฺยูเป็นที่ชัดเจนแล้ว จะขออธิบายในส่วนที่สองของคำถาม และจะขอจบด้วยการอธิบายประเด็นเหล่านี้

พระมหาคัมภีร์กุรอาน กล่าวถึงรูปลักษณ์สามแบบของการประทานวะฮฺยูลงมายังมนุษย์ :

(1) การสนทนาของพระเจ้าโดยปราศจากสื่อ หมายถึงระหว่างพระเจ้ากับพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่มีสิ่งใดเป็นสื่อกลาง หรือมีม่านกั้นแต่อย่างใด ซึ่งท่านศาสดาได้รับวะฮฺยูจากแหล่งอันงดงาม (2) การสนทนาหลังม่านปกคลุม (3) การสนทนาผ่านทูตสวรรค์หรือมลาอิกะฮฺ เป็นที่ชัดเจนว่าในสองส่วนหลังนี้ แตกต่างไปจากส่วนแรก เนื่องจากมีม่านหรือสื่อหรือระหว่างพระเจ้าและศาสดา (ซ็อล ฯ) แน่นอน ความหมายของม่านปกปิดนั้นไม่ได้หมายความว่า ผู้ได้รับวะฮฺยูนั้นไม่ได้สนทนาโดยตรงกับพระเจ้า ทว่าเป็นที่ชัดเจนว่าผู้พูดคือ พระเจ้า แต่เนื่องจากวิทยปัญญาและพระประสงค์ของพระเจ้า, ซึ่งท่านศาสดาได้หันไปสู่ม่านหรือสื่อกลางนั้น และได้รับสารของพระเจ้าจากเบื้องหลังม่านหรือจากภาษาของสื่อกลาง เป็นที่ชัดเจนว่าท่านศาสดก็ได้รับข้อความของพระเจ้าโดยตรงเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากท่านศาสดาหันหน้าไปสู่ม่าน, จึงได้กล่าวว่าท่านได้รับวะฮฺยูจากเบื้องหลังม่าน แต่ถ้าท่านไม่ได้หันหน้าไปยังม่านนั้น ก็เท่ากับว่าท่านได้รับวะฮฺยูโดยตรง เช่นเดียวกันการที่กล่าวว่า วะฮฺยูได้ผ่าน ญิบรออีล (อ.) นั้น ถ้าหากผู้รับไม่ใส่ใจต่อสื่อก็เท่ากับว่า ท่านได้รับวะฮฺยูโดยตรงจากพระเจ้าเชนกัน

ในความเป็นจริงแล้ว มลาอิกะฮฺวะฮฺยู ก็คือการสำแดงวะฮฺยูของพระเจ้า ไม่ได้หมายความว่าท่านได้รับรู้ข้อความหรือสารผ่านชั้นบรรยากาศ หลังจากนั้นท่านได้อธิบายโดยผ่านสื่อของท่าน ด้วยเหตุนี้ จึงกล่าวว่ามลาอิกะฮฺวะฮฺยูอะมีน หมายความว่า ท่านเป็นผู้รักษาอะมานะฮฺ ซึ่งไม่ได้เหมือนกับการรักษาอะมานะฮฺในหมู่มนุษย์ด้วยกัน กล่าวคือผู้ที่ถืออะมานะฮฺพยายามนำเอาอะมานะนั้นไปส่งคืนให้เจ้าของ ทว่าในที่นี้แม้ว่าผู้รักษาอะมานะฮฺจะบริสุทธิ์และไม่ได้ทรยศ หรืออาตมันนั้นไม่สามารถทรยศและหักหลังได้, ทว่าสิ่งนี้เมื่อกล่าวกับมลาอิกะฮฺแล้วจะมีความหมายเป็นอย่างอื่น โดยหลักการแล้วไม่ได้หมายถึงท่านเป็นผู้รับและเป็นผู้ส่งวะฮฺยู ท่านไม่ได้เป็นสื่อกลางระหว่างอัลลอฮฺกับนบี ทว่าท่านคือการสำแดงวะฮฺยูและเป็นแหล่งปรากฏวิชาการของพระเจ้า ประหนึ่งว่าลายลักษณ์อักษรของพระเจ้าได้ปรากฏบนท่าน ถ้าหากท่านศาสดาได้หันไปสู่การสำแดงนั้น ก็จะกล่าวว่า อัลลอฮฺได้สนทนากับเราะซูลโดยผ่านสือมลาอิกะฮฺ ถ้าท่านเราะซูล แม้ว่าจะมีความรู้ของพระเจ้าหรือความรู้โดยทั่วไปของพระเจ้าได้วิวัฒนาการในสิ่งนั้นก็ตาม โดยที่ท่านไม่ได้ใส่ใจในสิ่งนั้น แต่ท่านใส่ใจในแห่ล่งวะฮฺยูเท่านั้น ดังนั้น วะฮฺยูเมื่อสัมพันธ์ไปยังศาสดาถือว่าไม่มีสื่อกลาง ประหนึ่งบุคคลหนึ่งได้ดูภาพในกระจกเขามองแต่ภาพโดยที่ไม่ได้สนใจต่อกระจก[15]

จากประเด็นนี้ ท่านอัลลามะฮฺเฏาะบาเฏาะบาอีกล่าวว่า ทุกการประทานวะฮฺยูนั้นปราศจากสื่อกลางที่มาจากพระเจ้า[16] ด้วยเหตุนี้ ในโองการต่างๆ วะฮฺยูได้สัมพันธ์ทุกกรณีกับพระเจ้า ซึ่งการสัมพันธ์ทำนองนี้ถือว่าไม่อนุญาต เช่น อัลกุรอานกล่าวว่า:

انا اوحینا الیک کما اوحینا الى نوح والنبیین من بعده

“แท้จริงเราได้มีโองการแก่เจ้าเช่นเดียวกับที่เราได้มีโองการแก่นูฮ์ และบรรดานะบีหลังจากเขา”[17]

หมายเหตุ : วะฮฺยูไม่ได้เป็นวิชาการประเภทของการเรียนรู้ ทว่าเป็นหนึ่งในความรู้ประจักษ์ การค้นพบนี้ด้วยเหตุที่ความสัจจริงได้ปรากฏชัด ณ ผู้ทำการค้นพบ ซึ่งโดยเนื้อแท้แล้วไม่สามารถเป็นจริงหรือเท็จได้ และไม่สามารถคิดได้ว่าสิ่งนั้นจะผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย เพราะเท่ากับเป็นการปฏิเสธพื้นฐานของวะฮฺยู หรือขาดหลักการแห่งความจริง ดังนั้น ด้วยการ หลักฐานทางด้านปรัชญา และระดับของโลกทัศน์และวิชาการ ประกอบกับวิวัฒนาการของมนุษย์สามารถสรุปผลได้ว่า  มนุษย์สามารถพัฒนาตัวเองขึ้นไปจนไปถึงขั้นที่ว่า มนุษย์สามารถได้รับความรู้จากพระเจ้าโดยไม่ต้องผ่านสื่อ พระเจ้าทรงสนทนากับมนุษย์ โดยไม่ต้องการคำหรืออักษรหรือพระสุระเสียงแต่อย่างใด ในระดับชั้นนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ที่ยิ่งใหญ่ของจิตวิญญาณ ที่ส่วนใหญ่จะห่างไกลและอิสระต่อการย้อนไปหาสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และได้รับการคุ้มกันจากการกระซิบกระซาบ การหลงทาง และความผิดพลาด และนี่ก็คือตำแหน่งมะอฺซูมของบรรดาศาสดานั่นเอง ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้จะไปถึงยังประเด็นสำคัญกล่าวคือ :

1) พื่นฐานของวะฮฺยู อาจเป็นหนึ่งในระดับของความรู้

2) แก่นแท้ของวะฮฺยู คือการได้รับความรู้ประจักษ์ และในความเป็นจริงนี้ข้อผิดพลาดจึงไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น

3) มนุษย์นั้นในการวิวัฒนาการและความสมบูรณ์ของตน สามารถเข้าถึงขั้นที่ว่าวะฮฺยูได้ประทานมาที่เขา และเขาได้ไปสู่ตำแหน่งของการเป็นผู้บริสุทธิ์

สามารถศึกษาเพื่มเติมได้จาก,: Hadavi Tehrani, Mehdi, ตะอัมมุลาต ดัร อิลมุอุซูลฟิกฮฺ , เล่ม 4, บทความ  : วะฮฺคือการประจักษ์เร้นลับ



[1] รอฆิบ เอซฟะฮานี, มุฟรอดาต , หน้า 515, หมวดวะฮฺยู

[2] Morteza Motahari การเก็บรวบรวมผลงานเล่มที่ 4, หน้า 410

[3] ถึง แม้ว่าการรับรู้ที่แท้จริงถึงแก่นแท้ของวะฮฺยู และขั้นตอนการลงวะฮฺยูจะเป็นภารกิจที่ง่ายดาย  แต่ก็ไม่สามารถเป็นไปได้

[4] แม้ว่า Allameh Tabatabai (RA) ได้กล่าวไว้ : วรรณกรรมทางศาสนาว่า วะฮีย์ ไม่สามารถใช้ในคำพูดอื่นได้ยกเว้นว่าคำพูดที่ดลแด่ศาสดาและเราะซูล, ตัฟซีรมีซาน,เลม 12,หน้า 423

[5]  มุรตะฎอมุเฏาะฮะรีย, มัจญ์มุอ์อาซาร เล่ม 4,หน้า 411

[6] เฏาะบาเฏาะบาอี มุฮัมมัด ฮุซัยนฺ,ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 12, หน้า 423

[7] อัล-กุรอาน บทอันนะฮฺลุ 68

[8] อัล-กุรอาน บทเกาะซ็อซ 7

[9] อัล-กุรอาน บทอันอาม 121

[10] อัล-กุรอาน บทมัรยัม 11

[11] อัลกุรอาน บทชูรอ 51

[12] อัลกุรอาน บทชุอ์รอ 193 “อัรรูห์ ผู้ซื่อสัตย์ได้นำมันลงมา ยังหัวใจของเจ้า”

[13] อัลกุรอาน บทนัจญ์มุ 5 “ผู้ทรงพลังอำนาจอันมากมาย (ญิบรีล) ได้สอนเขา”

[14] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ 113 “และได้ทรงสอนเจ้าในสิ่งที่เจ้าไม่เคยรู้มาก่อน”

[15] Mahdi Hadavi Tehrani, มะบานีกะลามี อิจญ์ติฮาด, หน้า 76-77

[16]  อัลลามะฮฺ ฮุซัยน์เฏาะบาเฏาะบาอี, อัลมีซาน เล่ม 4 หน้า 149-150

[17] อัลกุรอาน บทนิซาอ์ 163

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ในทัศนะของอิสลาม ชาวฮินดูถือว่าเป็นนะญิสหรือไม่ และจะต้องออกห่างพวกเขาหรือไม่?
    7615 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/17
    บรรดามัรญะอ์ได้ฟัตวาว่ากาฟิรเป็นนะญิสและจะต้องหลีกเลี่ยงความเปียกชื้นจากพวกเขาท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวว่า “กาฟิรคือผู้ที่ไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือตั้งภาคีต่อพระเจ้าหรือไม่ยอมรับในการเป็นศาสนทูตของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) เขาผู้นั้นถือเป็นนะญิส
  • ชาวสวรรค์และชาวนรกมีอายุราวๆกี่ปี?
    15851 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    ความเปลี่ยนแปลงทางสรีระตามอายุขัยถือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโลกนี้ ทว่าในโลกหน้าโดยเฉพาะในสวรรค์ เราไม่อาจจะมโนภาพว่ามนุษย์จะมีรูปร่างหน้าตาที่แตกต่างกันในลักษณะที่บางกลุ่มเป็นเด็ก บางกลุ่มอยู่ในวัยกลางคน บางกลุ่มเป็นคนชราได้ แม้สมมุติว่าเราจะเชื่อว่าโลกหน้ายังเป็นโลกแห่งวัตถุ แต่ความแตกต่างในแง่อายุขัยอย่างที่เราเคยชินในโลกนี้ย่อมไม่เกิดขึ้นในโลกหน้าอย่างแน่นอน มีฮะดีษระบุว่าผู้ที่จะเข้าสรวงสวรรค์จะกลายเป็นวัยรุ่นที่มีรูปลักษณ์อันงดงาม یدخلون الجنة شبابا منورین و قال إن أهل الجنة جرد مرد مکحلون
  • การคบชู้หมายถึงอะไร?
    10389 สิทธิและกฎหมาย 2557/05/22
    การซินา หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยผิดประเวณีกับหญิงอื่น ที่มิใช่ภรรยาตามชัรอีย์ (ภรรยาที่สมรสถาวร หรือชั่วคราว) การซินาในทัศนะอัลกุรอาน, ถือเป็นบาปใหญ่ อัลลอฮฺ ตรัสถึงการซินาไว้ว่า “จงอย่าเข้าใกล้การลอบผิดประเวณี เนื่องจากเป็นการลามกและทางอันชั่วช้ายิ่ง”[1],[2] การกระทำดังกล่าว ถ้ากระทำโดยหญิงมีสามี หรือชายมีภรรยาอยู่แล้ว เรียกว่า การเป็นชู้[3] แต่ถ้ามิได้เป็นไปในลักษณะดังกล่าวมา จะไม่ถือว่าเป็นการทำชู้ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบัญญัติของการซินา และการลงโทษที่จะติดตามมา อันถือว่าเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจ และหน้าขยะแขยงยิ่งนี้ กรุณาศึกษาจากคำตอบต่อไปนี้ อย่างไรหรือที่เรียกว่า ซินา, 8243 (ไซต์ 8288) การลงโทษ และการลุแก่โทษ กรณีการทำชู้ 7159 (ไซต์ 7508) ฮุกุ่มของการซินากับหญิงมีสามี 2688 (ไซต์ ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7789 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7511 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • อิสลามและอิมามโคมัยนีมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับการหยอกล้อและการพักผ่อนหย่อนใจ?
    6995 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/20
    เป้าประสงค์ของการสร้างมนุษย์ตามทัศนะของอิสลามคือการอำนวยให้มนุษย์มีพัฒนาการเพราะทุกสรรพสิ่งบนโลกล้วนถูกสร้างมาเพื่อเป้าหมายดังกล่าวทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์คือสิ่งถูกสร้างที่ประเสริฐสุดดังที่กุรอานกล่าวว่า "ข้ามิได้สร้างมนุษย์และญินมาเพื่ออื่นใดเว้นแต่ให้สักการะภักดีต่อข้า"[i] นักอรรถาธิบาย(ตัฟซี้ร)ลงความเห็นว่าการสักการะภักดีในที่นี้หมายถึงภาวะแห่งการเป็นบ่าวซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับพัฒนาการที่แท้จริงของมนุษย์เพื่อการนี้อิสลามให้ความสำคัญต่อทั้งด้านร่างกายและจิตใจมนุษย์ดังที่อิมามอลี(อ.)กล่าวไว้ว่าผู้ที่มีอีหม่านจะต้องมีสามช่วงเวลาในแต่ละวันของเขา: ส่วนหนึ่งสำหรับการอิบาดะฮ์ส่วนหนึ่งสำหรับการทำมาหากินและกิจการทางโลกส่วนหนึ่งสำหรับความบันเทิงที่ฮะล้าลและใช้ประโยชน์จากความโปรดปรานของพระองค์โดยที่ส่วนสุดท้ายจะช่วยให้สองส่วนแรกเป็นไปอย่างราบรื่น[ii]อิสลามไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจหรือการหยอกล้อที่ถูกต้องไม่เคยห้ามว่ายน้ำในทะเลซ้ำบรรดาอิมาม(อ.)ได้สอนสาวกให้ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเชิงปฏิบัติท่านนบี(ซ.ล.)เองก็เคยหยอกล้อกับมิตรสหายเพื่อให้มีความสุขท่านอิมามโคมัยนีไม่เคยคัดค้านการพักผ่อนหย่อนใจและการหยอกล้อที่อยู่ในขอบเขตท่านกล่าวเสมอว่าการพักผ่อนหย่อนใจควรเป็นไปอย่างถูกต้องท่านไม่เคยคัดค้านรายการบันเทิงตามวิทยุโทรทัศน์บางครั้งท่านชื่นชมยกย่องทีมงานของรายการต่างๆเหล่านี้ด้วยแต่ท่านก็ให้คำแนะนำอันทรงคุณค่าเกี่ยวกับประเด็นนี้โดยถือว่าทุกรายการจะต้องมีจุดประสงค์เพื่อรับใช้อิสลามและแฝงไว้ซึ่งคำสอนทางจริยธรรมอย่างไรก็ดีการที่จะศึกษาทัศนะของอิมามโคมัยนีนั้นจำเป็นต้องอ้างอิงจากเว็บไซต์ของศูนย์เรียบเรียงและเผยแพร่ผลงานของอิมามโคมัยนีหรือหาอ่านจากหนังสือชุดเศาะฮีฟะฮ์นู้รตามลิ้งค์ด้านล่างนี้ (เปอร์เซีย)http://www.imam-khomeini.org/farsi/main/main.htm[i]ซูเราะฮ์
  • อัคล้ากกับเชาวน์ปัญญามีความเกี่ยวพันกันอย่างไร?
    6405 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/02/18
    อัคล้าก (จริยธรรม) แบ่งออกเป็นสองประเภทเสมือนศาสตร์แขนงอื่นๆดังนี้ก. จริยธรรมภาคทฤษฎีข. จริยธรรมภาคปฏิบัติการเรียนรู้หลักจริยธรรมภาคทฤษฎีมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเชาวน์ปัญญา กล่าวคือ ยิ่งมีความเฉลียวฉลาดเท่าใด ก็ยิ่งเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่านั้น แต่หากมีเชาวน์ปัญญาน้อย ก็จะทำให้เรียนรู้จริยศาสตร์ได้น้อยตามไปด้วยทว่าในส่วนของภาคปฏิบัติ (ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ถาม) จำเป็นต้องชี้แจงในรายละเอียดดังต่อไปนี้มีการนิยามคำว่าอัคล้ากว่า เป็นพหูพจน์ของ “คุ้ลก์” อันหมายถึง “ทักษะทางจิตใจของมนุษย์ที่ส่งผลให้กระทำการใดๆโดยอัตโนมัติ”ฉะนั้น อัคล้าก (จริยธรรม) ก็คือนิสัยและความเคยชินที่หยั่งรากลึกในจิตใจมนุษย์ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจกรรมโดยไม่ต้องข่มใจ นั่นหมายความว่า การทำดีในลักษณะที่เกิดจากการไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น แม้จะถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม แต่ไม่ถือเป็นความประเสริฐทางอัคล้าก ผู้ที่มีอัคล้ากดีก็คือผู้ที่กระทำความดีจนกลายเป็นอุปนิสัย ...
  • การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญในกรณีที่อาจจะมีอันตรายถึงชีวิตถึงว่าเป็นฮะรอมหรือไม่?
    6129 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/02
    การเดินทางไปยังสถานที่แสวงบุญเพื่อเยี่ยมเยียนวสุสานอันบริสุทธิ์ของบรรดาอาอิมมะฮ์ (อ.) ถือเป็นสิ่งที่ดีงามและได้รับการสนับสนุนจากบรรดาอิมาม(อ.) เนื่องจากจะช่วยเชิดชูเกียรติภูมิผลงานและความทรงจำเกี่ยวกับบรรดาอิมาม(
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9449 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยังชีพและปัจจัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ฉะนั้น ความพยายามของมนุษย์คืออะไร?
    21041 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
     เครื่องยังชีพกับปัจจัยเป็น 2 ประเด็นคำว่าเครื่องยังชีพที่มนุษย์ต่างขวนขวายไปสู่กับปัจจัยที่มาสู่มนุษย์เองในรายงานกล่าวถึงปัจจัยประเภทมาหาเราเองว่าริซกีฏอลิบ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60070 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57453 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42149 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39240 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38895 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33954 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27970 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27890 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27713 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25729 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...