การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7412
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/07
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1274 รหัสสำเนา 23222
หมวดหมู่ ริญาลุลฮะดีซ
คำถามอย่างย่อ
อุมัรได้ทำทานบนหรือลงโทษอบูฮุร็อยเราะฮฺหรือไม่ ในฐานะที่อุปโลกน์ฮะดีซขึ้นมา?
คำถาม
ฉันได้ยินว่าท่านอุมัรได้ลงโทษอบูฮุร็อยเราะฮฺ นักรายงานฮะดีซฝ่ายซุนนียฺ ในฐานะผู้ปลอมแปลงฮะดีซ โดยเฆี่ยนตีเขา เป็นความจริงหรือไม่? และกรณีที่เป็นความจริง กรุณาอ้างถึงแหล่งอ้างอิงด้วย
คำตอบโดยสังเขป

บุคอรียฺ,มุสลิม,ซะฮะบียฺ, อิมามอบูญะอฺฟัร อัสกาฟียฺ, มุตตะกียฺ ฮินดียฺ และคนอื่นๆ กล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺที่ 2 ได้ลงโทษเฆี่ยนตีอบูฮุร็อยเราะฮฺอย่างหนักจนสิ้นยุคการปกครองของเขา เนื่องจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ปลอมแปลงฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) จำนวนมากและกล่าวพาดพิงไปยังเราะซูล (ซ็อล ฯ)

สามารถกล่าวได้ว่า สาเหตุที่อุมัรคิดไม่ดีต่ออบูฮุร็อยเราะฮฺ อาจเป็นเพราะปัจจัยเหล่านี้

หนึ่ง เขาชอบนั่งประชุมเสวนากับ กะอฺบุลอะฮฺบาร ยะฮูดียฺคนหนึ่ง และรายงานฮะดีซจากเขา

สอง เขาได้รายงานฮะดีซโดยไม่มีรากที่มา ซึ่งโดยปกติแล้วจะตรงกับฮะดีซที่อุปโลกน์ขึ้นมา และในความเป็นจริงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดนอกจากการอุปโลกน์

สาม รายงานฮะดีซที่ขัดแย้งกับฮะดีซที่เล่าโดยเซาะฮาบะฮฺ

สี่ เซาะฮาบะฮฺ บางคนเช่นอบูบักร์ และอิมามอะลี (อ.) จะขัดแย้งกับเขาเสมอ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับชีวประวัติของอบูฮุร็อยเราะฮฺก่อนอิสลามไม่มีข้อมูลอยู่ในมือ เว้นเสียแต่สิ่งที่เขาได้เล่าเองว่า ในสมัยเด็กเขาชอบเล่นกับแมวตัวเล็กๆ เป็นเด็กกำพร้า ยากจน และเพื่อหนีความหิวโหยเขาได้ยอมทำงานรับใช้ผู้คน ดีนนูรี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมะอาริฟว่า เขามาจากเผ่าชนนามว่า ดูซ ซึ่งอยู่ในประเทศเยเมน เป็นเด็กกำพร้า ยากจน และได้อพยพหนีความยากจน, เขาได้เดินทางมายังมะดีนะฮฺขณะมีอายุ 30 ปี แต่เนื่องจากความยากจนเขาจึงเข้าไปรวมอยู่ในแถวเดียวกันกับผู้ยากจนคนอื่นๆ ได้รวมตัวกันอยู่[1]

ตัวอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้กล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงความศรัทธาในอิสลาม และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ของตนเองว่า เพื่อให้ท้องอิ่ม และหนีความยากจน มิใช่สิ่งอื่นใดทั้งสิ้น[2]

อบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าว่า ฉันเที่ยวสรรหาเพื่อต้องการให้ท้องอิ่ม จนกระทั่งว่าเซาะฮาบะฮฺบางคนต้องหลบหน้าฉัน เพราะฉันไปหาเขาทุกวันเพื่อหาอาหารให้ท้องอิ่ม, ญะอฺฟัร อบีฏอลิบเป็นผู้ที่ต้อนรับแขกอย่างยิ่ง ซึ่งฉันคิดว่าเขาเป็นผู้ที่ดีที่สุดหลังจากเราะซูล (ซ็อล ฯ) ในหมู่เซาะฮาบะฮฺทั้งหลาย และได้มีประโยคกล่าวสรรเสริญยกย่องเขา[3]

ษะอาละบียฺ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ ษะมารุลกุลูบว่า อบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้ฝากท้องไว้กับมุอาวิยะฮฺ แต่นมาซตามหลังท่านอิมามอะลี ซึ่งตัวเขาได้กล่าวถึงเหตุผลดังกล่าวว่า อาหารของมุอาวิยะฮฺรสชาติเด็ดขาดดึงดูดใจ แต่นมาซหลังอะลีมีความประเสริฐยิ่ง[4]

แต่การที่กล่าวว่า เคาะลิฟะฮฺที่สอง, ได้ลงโทษเขาด้วยการเฆี่ยนตี เนื่องจากเขาปลอมแปลงฮะดีซ หรือเนื่องจากเขารายงานฮะดีซ? จำเป็นต้องกล่าวว่า : ประเด็นดังกล่าวตรงกันที่ว่า อบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้มีโอกาสเห็นเราะซูล (ซ็อล ฯ) เพียง 1 ปี กับ 9 เดือนเท่านั้น แต่เขากับรายงานฮะดีซไว้มากกว่าเซาะฮาบะฮฺคนอื่น[5]

อิบนุ ฮิซัม, ได้กล่าวถึงจำนวนฮะดีซของเขาไว้ว่า “บุกัย บิน มุค็อลลิด ได้รายงานฮะดีซจากอบูฮุร็อยเราะฮฺเพียงคนเดียวถึง 5374 ฮะดีซ และบุคอรีย์ได้รายงานมาจากเขาถึง 446 ฮะดีซ[6]

อบูฮุร็อยเราะฮฺ เนื่องจากบุคอรียได้รายงานจากเขามากมาย โดยรายงานหนึ่งกล่าวว่า : ไม่มีเซาะฮาบะฮฺคนใดของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) จะรายงานฮะดีซได้เท่ากับฉัน ยกเว้นอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เพราะเขาเป็นคนจดฮะดีซ แต่ฉันไม่ได้จด[7]

จำนวนฮะดีซที่มากมายของอบูฮุร็อยเราะฮฺ ทำให้อุมัรเคาะลิฟะฮฺที่สองถึงกับวิตกกงวนเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งว่าได้ลงโทษเขาเนื่องจากเหตุผลดังกล่าว และได้กล่าวแก่เขาว่า โอ้ อบาฮุร็อยเราะฮฺเอ๋ย ท่านรายงานฮะดีซไว้มากมาย ฉันเกรงว่าจะเป็นการมุสาต่อเราะซูล หลังจากนั้นได้ขู่เขาว่า ถ้าท่านไม่ยอมละเว้นฮะดีซของท่านเราะซูลบ้าง ฉันจะเนรเทศท่านกลับไปยังบ้านเกิด[8] ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่ารายงานจำนวนมากของอบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้เกิดขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของท่านอุมัร เนื่องจากหลังจากอุมัรจากไปแล้ว อบูฮุร็อยเราะฮฺ ไม่เกรงกลัวผู้ใดอีกต่อไป[9] เขาได้กล่าวว่า : ฉันจะรายงานฮะดีซแก่พวกท่านทั้งหลาย เนื่องจากถ้าฉันรายงานในสมัยอุมัร เขาจะลงโทษฉัน[10]

ซะฮฺรียฺ ได้รายงานจาก อิบนุซัลมะฮฺว่า ฉันได้ยินอบูฮุร็อยเราะฮฺ พูดว่า : ฉันไม่สามารถพูดได้ว่า ท่านเราะซูลได้กล่าวเช่นนี้ จนกระทั่งว่าอุมัรได้อำลาจากโลกไป แล้วฉันสามารถรายงานฮะดีซเหล่านั้นแก่พวกท่านได้หรือไม่ขณะที่อุมัรยังมีชีวิตอยู่? ขอสาบานว่า ฉันยังกลัวการเฆี่ยนตีของอุมัรที่ฟาดมาบนหลังฉันไม่หาย[11]

อบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้วางรากหลักให้แก่ตัวเองเพื่อที่จะใช้อ้างว่า รายงานเหล่านั้นมาจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เขากล่าวว่า : “ตราบเท่าที่รายงานฮะดีซยังไม่ได้เปลี่ยนจากฮะลาลมาเป็นฮะรอม หรือเปลี่ยนจากฮะรอมเป็นฮะลาย ถ้าจะพาดพิงไปถึงเราะซูล (ซ็อล ฯ) ก็ไม่มีปัญหาอะไรทั้งสิ้น” และนี่คือข้อเตือนสำทับของเขาเกี่ยวกับรายงานฮะดีซ ที่พาดพิงถึงท่านเราะซูล ซึ่งพิจารณาในแง่หนึ่งก็มี กลิ่นไอทางชัรอียฺปะปนอยู่ เนื่องจากเป็นฮะดีซที่ฏ็อบรอนียฺ ได้รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ จากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ว่า “ตราบเท่าที่ฮะลาลยังมิได้กลายเป็นฮะรอม และฮะรอมยังมิได้กลายเป็นฮะลาล และได้ถึงความจริงแล้ว ไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดที่จะพาดพิงสิ่งนั้นมายังฉัน” ทำนองเดียวกันกล่าวว่า รายงานนี้ได้ยินมาจากนบี (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “บุคคลใดก็ตามได้รายงานฮะดีซ แล้วอัลลอฮฺทรงพึงพอใจในสิ่งนั้น พึงรู้ไว้ว่าฉันได้พูดสิ่งนั้นไว้ แม้ว่าจะไม่ได้พูดก็ตาม”[12]

ขณะที่เป็นที่แน่ชัดว่า สิ่งที่มาจากเราะซูล (ซ็อล ฯ) ก็คือสิ่งที่กล่าวว่า : “บุคคลใดก็ตามได้รายงานฮะดีซจากนฉัน โดยที่ฉันไม่ได้พูดสิ่งนั้น สถานพำนักของเขาคือไฟนรก”[13]

อุมัร เมื่อเห็นความเลยเถิดของอบูฮุร็อยเราะฮฺ ในการรายงานฮะดีซ, เน้นย้ำว่าฮะดีซเหล่านี้ฉันจะตรวจสอบและลงโทษเขา”[14]

อบูฮุร็อยเราะฮฺ และตัดลีซ

ตัดลีซ หมายถึงการที่ได้พบกับคนๆ หนึ่งและได้เล่าสิ่งหนึ่งจากเขาทั้งที่ไม่ได้ยินจากเขา หรือได้เคยอยู่ร่วมสมัยกันและได้เล่าบางเรื่องจากเขา ทั้งที่เขามิได้เคยกล่าวถึงสิ่งนั้นเลย แต่ขณะเล่าเรื่องได้เน้นย้ำว่า ได้ยินจากเขาหรือเขาเคยพูดเช่นนี้[15] เป็นที่ชัดเจนว่า ตัดลีซ ทุกประเภทล้วนได้รับการประณามทั้งสิ้นและเป็นฮะรอม ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นพี่น้องกับการมุสา[16]

นักฮะดีซวิทยากล่าวว่า ถ้าหากพิสูจน์แล้วว่า บุคคลหนึ่งได้รายงานฮะดีซในลักษณะ ตัดลีซ แม้เพียงฮะดีซ ดังนั้น ไม่สมควรยอมรับรายงานฮะดีซจากเขาอีกต่อไป แม้ว่าเราจะรู้ว่าเขารายงานฮะดีซตัดลีซไว้เพียงฮะดีซเดียวก็ตาม[17]ดีนนูรียฺ และอิบนุกะษีร ได้รายงานจากบุตรชายของ สะอีด ว่า : จงเกรงกลัวอัลลอฮฺเถิด และจงอย่ารายงานฮะดีซ ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันนั่งอยู่ข้างๆ อบูฮุร็อยเราะฮฺ ซึ่งเขารายงานฮะดีซจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และรายงานจากกะอฺบุล อะฮฺบาร, หลังจากนั้นเขาได้กล่าวแก่บางคนที่อยู่กับเราว่า ฉันได้นำฮะดีซของเราะซูลพาดพิงไปยังกะอฺบุลอะฮฺบาร และนำฮะดีซของกะอฺบุลอะฮฺบาร พาดพิงไปยังเราะซูล”[18]

ผู้เชี่ยวชาญฮะดีซต่างเห็นพร้องต้องกันว่า : อบูฮุร็อยเราะฮฺ, อิบาดะละฮฺ, มุอาวิยะฮฺ, และอนัส ต่างรายงานฮะดีซมาจาก กะอฺบุลอะฮฺบาร ยะฮูดีย์คนหนึ่งทั้งสิ้น ซึ่งกะอฺบุลอะฮฺบาร เขาต้องการหลอกมุสลิมจึงได้แสร้งแสดงว่ายอมรับอิสลามแล้ว แต่ภายในของเขายังเป็นยะฮูดียฺอยู่ และในหมู่พวกเขา อบูฮุร็อยเราะฮฺ ได้รายงานฮะดีซจำนวนมากมายมาจากเขา และเชื่อถือเขามาก[19] ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เล่ห์เหลี่ยมของกะอฺบุลอะฮฺบารได้ครอบงำอบูฮุร็อยเราะฮฺ จนกระทั่งว่าเขาต้องการนำเอาสิ่งบิดเบือนและจินตนาการต่างๆ สอดแทรกเข้ามาในอิสลาม จากคำพูดต่างๆ ที่กล่าวถึง กะอฺบุนอะฮฺบาร ทำให้รู้ว่า กะอฺบุลอะฮฺบาร มีวิธีการอันเฉพาะของเขา ซะฮะบียฺ ได้เขียนถึงอบูฮุร็อยเราะฮฺ ไว้ในหนังสือ เฏาะบะกอต อัลฮิฟาซว่า : กะอฺบ์ ได้กล่าวถึงอบูฮุร็อยเราะฮฺไว้ว่า ฉันไม่เคยเห็นใครเลย ที่ไม่เคยอ่านคัมภีร์เตารอต แต่จะมีความรู้ยิ่งไปกว่าอบูฮุร็อยเราะฮฺ”[20] จงพิจารณาเถิดว่า คนทรยศได้หลอกลวงอบู่ฮุร็อยเราะฮฺได้อย่างไร, และอบูฮุร็อยเราะฮฺจะเข้าใจได้อย่างไรว่าในคัมภีร์เตารอตเขียนอะไรไว้ ขณะเขาไม่รู้จักคัมภีร์เตารอตแม้แต่นิดเดียว และถ้ารู้จักเขาก็ไม่สามารถอ่านคัมภีร์เตารอตได้ เนื่องจากเตารอตได้บันทึกเป็นภาษา อิบรอนี ซึ่งอบูฮุร็อยเราะฮฺ ไม่เข้าใจภาษา อิบบรู แม้แต่นิดเดียวเนื่องจากไม่รู้และไม่ได้เรียน[21]

บุคอรีย์ รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า ชาวคัมภร์ได้อ่านเตารอตเป็นภาษา อิบรียฺ และได้อธิบายเป็นภาษาอาหรับแก่ชาวมุสลิม ถ้าหากฉันรู้ภาษาอิบรี ฉันก็จะเป็นนักตัฟซีรเตารอตด้วยเหมือนกัน[22]

ดีนนูรีย์ กล่าวถึงอบูฮุร็อยเราะฮฺว่า เนื่องจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ รายงานฮะดีซไว้ ซึ่งบุคคลร่วมสมัยกับเขาหรือเหล่าเซาะฮาบะฮฺผู้ยิ่งใหญ่ ไม่เคยมีใครรายงานไว้แม้แต่คนเดียว เสมือนว่าเขาเป็นผู้ต้องสงสัย ทั้งหมดปฏิเสธรายงานของเขาและกล่าวว่า เป็นไปได้อย่างไรที่ท่านได้ยินฮะดีซเหล่านี้ทั้งหมดจากนบี (ซ็อล ฯ) ทั้งที่ท่านไม่เคยอยู่กับนบีตามลำพังเลย[23]

ดีนนูรีย์ กล่าวว่า : อาอิชะฮฺได้ปฏิเสธเขาอย่างรุนแรง[24] ซึ่งบุคคลหนึ่งที่กล่าวว่า อบูรฮุร็อยเราะฮฺ โกหกคือ อุมัร อุสมาน อะลี (อ.) และบุคคลอื่น.

อบูรฮุร็อยเราะฮฺ รายงานจากเราะซูล (ซ็อล ฯ) ว่า “การดูดวงไม่ดีในสตรี,สัตว์และบ้าน” ครั้นเมื่อนำฮะดีซบทนี้ไปเล่าให้อาอชะฮฺฟัง นางกล่าวว่า “ขอสาบานต่อผู้ประทานอัลกุรอานแก่อบุลกอซิมว่า, บุคคลใดก็ตามได้พาดพิงฮะดีซบทนี้ไปยังนบี (ซ็อล ฯ) ถือว่าเขาโกหก, ทว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “อาหรับญาฮิลกล่าวว่า ดวงชะตาในสัตว์, สตรและบ้าน”

ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “อบูฮุร็อยเราะฮฺคือ ผู้โกหกที่สุดในหมู่ประชาชน” อีกที่หนึ่งท่านกล่าวว่า “คนที่โกหกที่สุดแก่เราะซูล (ซ็อล ฯ) คืออบูฮุร็อยเราะฮฺ” กล่าวกันว่าวันหนึ่งอบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า “ฮะดีซซึ่งมิตรของฉันได้กล่าวแก่ฉัน” ทันใดนั้นท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวตัดบทแก่เขาว่า “ท่านศาสดาเคยเป็นเพื่อนกับเจ้าตั้งแต่เมื่อไหร่”?[25]

อบูญะอฺฟัร อัสกาฟียฺ กล่าวว่า : มุอาวิยะฮฺได้สนับสนุนเซาะฮาบะฮฺและตาบิอีนกลุ่มหนึ่ง เพื่อให้พวกเขาปลอมฮะดีซว่าร้ายท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งเซาะฮาบะฮฺเหล่นั้นได้แก่ อบูฮุร็อยเราะฮฺ, อุมมะริบนิอาซ, มุฆีเราะฮฺ บิบ ชุอฺบะฮฺ ส่วนตาบิอีนได้แก่ อุรวะฮฺ บิน ซุเบร[26]

ตรงนี้ขอแนะนำหนังสือ 2 เล่ม ซึ่งเขียนเกี่ยวกับอบู่ฮุร็อยเราะฮฺ ได้แก่ :

หนึ่ง “อบูฮุร็อยเราะฮฺ” เขียนโดย ซัยยิดชรัฟ ฟุดดีน อามิลี, ซึ่งสามารถเป็นคำตอบสำหรับคำถามข้างต้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถดูได้จากหน้า 136, 160, 186

สอง “เชค อัลมุฎีเราะฮฺ อบูฮุร็อยเราะฮฺ” เขียนโดย มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ มิซรีย์

 


[1] เชคมะฮฺมูด อบูร็อยยา, เชคอัลมุฎีเราะฮฺ อบูฮุร็อยเราะฮฺ, หน้า 103, เชคมะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 195, ซัยยิด ชรัฟฟุดดีน มูซาวี อามิลี, อบูฮุร็อยเราะฮฺ, หน้า 136.

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม

[3] ฟัตฮุลบารียฺ, เล่ม 7, หน้า 62

[4] ษะอาละบียฺ, ษะมารุลกุลูบ ฟิล มุฎอฟ วัลมันซูบ, หน้า 76-87

[5] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 200

[6] อัชเชคมะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, เชค อัลมุฎีเราะฮฺ อบูฮุร็อยเราะฮฺ, หน้า 120.

[7] อิบนุ ฮะญัร, ฟัตฮุลบารียฺ, เล่ม 2, หน้า 167 (เขากล่าวว่าเป็นที่ชัดเจนว่า อบูฮุร็อยเราะฮฺ มิได้บันทึกฮะดีษ และมิได้ท่องจำอัลกุรอาน)

[8] เซาะฮียฺ บุคอรียฺ, เล่ม 2, หน้า 171, มุสลิม บิน ฮัจญาจญ์ นีชาบูรียฺ, เซาะฮียฺ มุสลิม, เล่ม 1, หน้า 34, อิบนุอบิล ฮะดีด มุอฺตะซิลียฺ, ชัรฮฺ นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, หน้า 360, ซะฮะบีย์ ซีรอิอ์ลามุลนุบลาอ์, เล่ม 2, หน้า 433, 434, มุฟตีย์ ฮินดี, กันซุลอุมาล, เล่ม 5, หน้า 239, ฮะดีซที่ 4857, อิมามอบูญะอฺฟัร อัสกาฟียฺ, คัดลอกมาจากชัรนะฮฺญุลฮะมีดี, เล่ม 1, หน้า 360

[9] อ้างแล้วเล่มเดิม

[10] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 201.

[11] อ้างแล้วเล่มเดิม

[12] ชาฏ็อบบียฺ, อัลมะวาฟิกอติฟ, เล่ม 2 หน้า 23.

[13] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 202.

[14] ซัยยิด ชรัฟฟุดดีน มูซาวี อามิลี, อบูฮุร็อยเราะฮฺ, หน้า 140.

[15] ชัยค์ อะฮฺมัด ชากิร, ชัรฮฺ อัลฟัยยะตุล ซุยูฏียฺ, หน้า 35.

[16] อ้างแล้วเล่มเดิม

[17] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 202, 203.

[18] อิบนุกะษีร, อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ, เล่ 8, หน้า 109. อิบนุกุตัยบะฮฺ ดีนนูรียฺ, ตะอฺวีลมุคตะลิฟฮะดีซ, หน้า 48, 50.

[19] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 207.

[20] ซะฮะบี,เฏาะบะกอต อัลฮิฟาซ, คัดลอกมาจาก มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 207.

[21] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 207.

[22] อ้างแล้วเล่มเดิม

[23] ดีนนูรียฺ, ตะอฺวีลมุคตะลิฟฮะดีซ, หน้า 50.

[24] อ้างแล้วเล่มเดิม, หน้า 48.

[25] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ, หน้า 204.

[26] มุฮัมมัด อับดุ, ชัรฮฺนะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 358.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อัลลอฮฺ ทรงอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ธรรมชาติด้วยหรือไม่?
    6026 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ อาตมันสากลของพระองค์มิได้อยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากความต้องการของพระองค์ หรือเว้นเสียแต่ว่าความประสงค์ของพระองค์ต้องการที่จะปฏิบัติภารกิจหนึ่ง ซึ่งทรงเป็นสาเหตุของการเกิดสิ่งนั้น ขณะเดียวกันการละเมิดกฎต่างๆในโลกที่ต่ำกว่า โดยพลังอำนาจที่ดีกว่าของพระองค์ถือเป็น กฎเกณฑ์อันเฉพาะ และเป็นประกาศิตที่มีความเป็นไปได้เสมอ ซึ่งเราเรียกสิ่งนั้นว่า ปาฏิหาริย์,แน่นอน ปาฏิหาริย์มิได้จำกัดอยู่ในสมัยของบรรดาศาสดาเท่านั้น ทว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสมัย เพียงแต่ว่าปาฏิหาริย์ได้ถูกมอบแก่บุคคลที่เฉพาะเท่านั้น เป็นความถูกต้องที่ว่าความรู้มีความจำกัดและขึ้นอยู่ยุคสมัยและสภาพแวดล้อม ไม่มีความรู้ใดยอมรับหรือสนับสนุนเรื่องมายากล และเวทมนต์ แต่คำพูดที่ถูกต้องยิ่งกว่าคือ เจ้าของความรู้เหล่านั้นบางครั้ง ได้แสดงสิ่งที่เลยเถิดไปจากนิยามของความรู้หรือที่เรียกว่า มายากล เวทมนต์เป็นต้น อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นคือการมุสาและการเบี่ยงเบนนั่นเอง ...
  • ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างระหว่างอิบลิซ กับชัยฏอน คืออะไร?
    17349 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    บนพื้นฐานของอัลกุรอาน,อิบลิซเป็นหนึ่งในหมู่ญิน เนื่องจากการอิบาดะฮฺอย่างมากมาย จึงทำให้อิบลิซได้ก้าวไปอยู่ในระดับเดียวกันกับมะลาอิกะฮฺ แต่หลังจากการสร้างอาดัม, อิบลิซได้ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ ไมยอมกราบอาดัม, จึงได้ถูกขับออกจากสวรรค์เนรมิตแห่งนั้น ส่วนชัยฏอนนั้นจะใช้เรียกทุกการมีอยู่ ที่แสดงความอหังการ ยโสโอหัง ละเมิด และฝ่าฝืน ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือสรรพสัตว์ก็ตาม ขณะเดียวกันอิบลิซนั้นได้ถูกเรียกว่าชัยฏอน ก็เนื่องจากโอหังและฝ่าฝืนคำสั่งของพระเจ้า ดังนั้น ถ้าจะกล่าวแล้ว “ชัยฏอน” เป็นนามโดยทั่วไป ซึ่งครอบคลุมเหนือทั้งอิบลิซ และไม่ใช่อิบลิซ ...
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6570 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7690 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7717 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ฐานะภาพของบรรดาอิมามสูงส่งกว่าบรรดานบีจริงหรือ?
    6916 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/20
    ฮะดีษมากมายระบุว่าบรรดาอิมามมีความสูงส่งเหนือบรรดานบีทั้งนี้ก็เนื่องจากรัศมีทางจิตใจของบรรดาอิมามหลอมรวมกับท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ฉะนั้นในเมื่อท่านนบีมีศักดิ์เหนือบรรดานบีท่านอื่นๆวุฒิภาวะที่บรรดาอิมามได้รับการถ่ายทอดจากนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) จึงเหนือกว่านบีทุกท่าน ประเด็นที่ว่ามนุษย์มีศักดิ์ที่สูงกว่ามลาอิกะฮ์นั้นถือเป็นสิ่งที่อิสลามยอมรับฉะนั้นการที่อิมามผู้ไร้บาปจะมีศักดิ์เหนือกว่ามลาอิกะฮ์จึงไม่ไช่เรื่องที่เหนือความคาดหมายแต่อย่างใด ...
  • มีฟัตวาเกี่ยวกับอาชีพที่สองไหม? หรือว่าการมีอาชีพที่สองเท่ากับเป็นคนหลงโลก?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    ในทัศนะอิสลามไม่มีความหมายอันใดเกี่ยวกับอาชีพหรืออาชีพที่สอง, สิ่งที่ศาสนาอิสลามหรืออัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ประณามเอาไว้คือ, ความลุ่มหลงและจิตผูกพันอยู่กับโลกทำให้ห่างไกลจากศีลธรรมและปรโลก
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8832 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • ในวันอีดกุรบาน สามารถจะเชือดสัตว์กุรบานที่เขาหักได้หรือไม่?
    7484 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    หากกุรบานในที่นี้หมายถึงการเชือดกุรบานในพิธีฮัจย์ที่ต้องกระทำในวันอีดกุรบาน ณ แผ่นดินมินา อุละมาส่วนใหญ่ให้ทัศนะไว้ว่า หากสัตว์ที่จะนำมาเชือดกุรบานมีเขาแต่เดิมอยู่ ทว่าปัจจุบันไม่มี หรือหักไป สามารถนำมาเชือดกุรบานได้[1] เว้นแต่ว่าเขาภายในหักหรือถูกตัดไป ในกรณีนี้จะทำให้กุรบานไม่ถูกต้อง แต่หากเขาภายนอกหักถือว่าไม่เป็นไร[2] ส่วนการเชือดกุรบานนอกพิธีฮัจย์ที่เหนียตกระทำเพื่อผลบุญในเชิงมุสตะฮับนั้น หากจะเชือดสัตว์ที่เขาหักก็ไม่มีปัญหาใดๆ อย่างไรก็ดี เราได้สอบถามปัญหานี้จากสำนักงานของมัรญะอ์ตักลี้ดท่านต่างๆได้ความดังนี้ อายะตุลลอฮ์คอเมเนอี,ซีสตานี, มะการิมชีรอซี : ไม่มีปัญหาใดๆ อายะตุลลอฮ์ศอฟี โฆลพอยฆอนี: สามารถกระทำได้ อินชาอัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงตอบรับ คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด [1] ผู้ที่มีทัศนะเช่นนี้ได้แก่ อายะตุลลอฮ์.. ...
  • การแสวงหาความต้องการอื่น ๆ นอกจากพระเจ้า เช่นขอจากบบี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นชิริกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงผู้ตอบสนองความต้องการคือพระเจ้า
    7713 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    การให้ความเคารพการย้อนกลับการขอความต้องการไปยังผู้ทรงเกียรติ (พระศาสดาและบรรดาอิมาม) ถ้าหากมีเจตนาว่าพวกเขามีบทบาทต่อการเกิดผลและสามารถปลดเปลื้องความต้องการของเราได้โดยเป็นอิสระจากพระเจ้าหรือปราศจากการพึ่งพิงไปยังอาตมันสากลของพระองค์การมีเจตนารมณ์เช่นนี้ถือว่าเป็นชิริกอีกทั้งขัดแย้งกับเตาฮีดอัฟอาล (ความเป็นเอกภาพในการกระทำ) เนื่องจากพระองค์ปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นขณะที่สิ่งอื่นต้องพึ่งพิงไปยังพระองค์ขัดแย้งกับเตาฮีดรุบูบียะฮฺ(อำนาจบริหารและบริบาลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียวส่วนบรรดาศาสดามะลักหรือปัจจัยทางธรรมชาติเป็นเพียงสื่อของพระองค์)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60050 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57423 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42134 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39208 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38875 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33941 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27959 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27874 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27689 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25709 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...