Please Wait
8512
ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวไว้ในฮะดีษที่เรียกกันว่า “อัรบะอีน” ซึ่งรายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์[1]และซุนหนี่[2]บางเล่ม เนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นการรณรงค์ให้ท่องจำฮะดีษสี่สิบบท อาทิเช่นสำนวนต่อไปนี้: “ผู้ใดในหมู่ประชาชาติของฉันที่ได้ท่องจำฮะดีษที่จำเป็นต่อการดำรงศาสนาของผู้คนถึงสี่สิบบท อัลลอฮ์จะทรงปกป้องเขาในวันกิยามะฮ์ และจะฟื้นคืนชีพในฐานะปราชญ์ศาสนาที่มีเกียรติ”[3] ฮะดีษนี้มีความเป็นเอกฉันท์ (ตะวาตุร) ในเชิงความหมาย[4] และเป็นฮะดีษเศาะฮี้ห์
ฮะดีษข้างต้นมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดแรงจูงใจในหมู่นักวิชาการในการประพันธ์ตำรารวบรวมฮะดีษสี่สิบบท โดยตำราเหล่านี้รวบรวมฮะดีษจากบรรดามะอ์ศูมีนสี่สิบบทเกี่ยวกับประเด็นความศรัทธาและหลักจริยธรรม ในบางเล่มมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วย ทั้งนี้ ฮะดีษข้างต้นมิได้ระบุประเภทฮะดีษเอาไว้เป็นการเฉพาะ แต่หมายรวมถึงฮะดีษทุกบทที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งโลกนี้และโลกหน้า
อัลลามะฮ์ มัจลิซี เชื่อว่า “การท่องจำฮะดีษ” ที่ระบุไว้ในฮะดีษข้างต้น มีระดับขั้นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะกล่าวโดยสังเขปดังนี้:
หนึ่ง. “การท่องจำฮะดีษ”ในลักษณะการรักษาถ้อยคำของฮะดีษ อย่างเช่นการปกปักษ์รักษาไว้ในความจำ หรือสมุด หรือการตรวจทานตัวบทฮะดีษ ฯลฯ
สอง. การปกปักษ์รักษาฮะดีษ ในลักษณะการครุ่นคิดถึงความหมายของฮะดีษอย่างลึกซึ้ง หรือการวินิจฉันบัญญัติศาสนาจากฮะดีษ
สาม. การปกปักษ์รักษาฮะดีษ ในลักษณะปฏิบัติตามเนื้อหาของฮะดีษ[5]
[1] อาทิเช่น: เชคเศาะดู้ก,ษะวาบุลอะอ์ม้าล วะ อิกอบุลอะอ์ม้าล,หน้า 134,สำนักพิมพ์ดารุชชะรีฟ อัรเราะฎี,กุม,พิมพ์ครั้งที่สอง,ฮ.ศ. 1406, และ เชคฮุร อามิลี,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 27,หน้า 94,สถาบันอาลุลบัยต์(อ.),กุม,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1409
[2] ตัวอย่างเช่น: สุยูฏี,ญะลาลุดดีน,อัดดุรรุ้ลมันษู้ร ฟีตัฟซีริ้ลมะอ์ษู้ร,เล่ม 5,หน้า 343,หอสมุดอายะตุลลอฮ์มัรอะชี นะญะฟี,กุม,ฮ.ศ. 1404, และ อัสเกาะลานี,อิบนิฮะญัร,อัลอิศอบะฮ์ ฟีตัมยีซิศเศาะฮาบะฮ์,เล่ม 6,หน้า 381,ดารุลกุตุบิลอิลมียะฮ์,เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,ฮ.ศ.1415
[3] مَنْ حَفِظَ مِنْ أُمَّتِی أَرْبَعِینَ حَدِیثاً مِمَّا یَحْتَاجُونَ إِلَیْهِ مِنْ أَمْرِ دِینِهِمْ بَعَثَهُ اللَّهُ عَزَّ وَ جَلَّ یَوْمَ الْقِیَامَةِ فَقِیهاً عَالِما ษะวาบุลอะอ์ม้าล วะ อิกอบุลอะอ์ม้าล,หน้า 134, และ มุฮัมมัด บินฮะซัน,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 27,หน้า 94
[4] ดู: ระเบียน “หลักเกณฑ์ฮะดีษมุตะวาติรเชิงวจนะภาษา เชิงความหมาย และเชิงองค์รวม” คำถามที่ 2412 (ลำดับในเว็บไซต์ 2529 )
[5] ดู: มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 2,หน้า 158,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,ฮ.ศ.1404