Please Wait
8751
ตามหลักการคำสอนของอิสลามศาสนาบริสุทธิ์, การติดต่อสัมพันธ์ในทุกรูปแบบระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว,ถ้าการติดต่อสัมพันธ์กันนั้นเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหา หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปแล้วละก็ ถือว่ไม่อนุญาต และมีปัญหาด้านกฏเกณฑ์แน่นอน
แต่ถ้าติดต่อกันเนื่องจากเป็นอาชีพ เช่น, เพื่อนร่วมงาน วิชาการการ และการศึกษา, ถ้าหากการติดต่อกันนั้นมิได้เป็นสาเหตุนำไปสู่ความเสียหาย หรือข้อครหาในทางไม่ดี ประกอบกับได้ใส่ใจในเรื่องกฏเกณฑ์อยู่แล้ว ถือว่าไม่เป็นไร
ตามทัศนะของหลักการอิสลามการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างชายหนุ่ม และหญิงสาวก่อนการสมรส, ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกันโดยตรง หรือผ่านสื่อทางอ้อมอื่นๆ, ถ้าหากมีเจตนาเพื่อตัณหาราคะ (เพศสัมพันธ์) หรือกลัวว่าจะเกิดข้อครหานินทา หรือกลัวว่าการติดต่อกันนั้นจะนำไปสู่การทำความผิดอื่น, ถือว่าไม่อนุญาและผิดหลักการแน่นอน. ดังนั้น ลองพิจารณาคำวินิจฉัยของมัรญิอฺตักลีดต่อไปนี้ ซึ่งคำวินิจฉัยบางบทจะทำให้ประเด็นดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้น :
คำถามที่ 1 : ในการพูดคุยกันระหว่างชายหนุ่ม กับหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม,มีความแตกต่างกันหรือไม่ ระหว่างพูดคุยโดยตรงกับผ่านสื่อทางอ้อมอื่น?
มัรญิอฺทั้งหมด : ไม่, ไม่มีความแตกต่างกันเลยในแง่ของกฏเกณฑ์ และทั้งสองกรณี, ถ้าหากมีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ และเกรงว่าจะเป็นฮะรอม ถือว่าขัดกับชัรอียฺ[1]
คำถามที่ 2 : แชดกับเพศตรงข้าม หรือพูดคุยกันทั่วๆ ไป มีกฏเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือนำไปสู่ความบาป ถือว่าไม่อนุญาต[2]
คำถามที่ 3 : การให้สลามระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวที่เป็นนามะฮฺรัม ถือว่าอนุญาตหรือไม่?
มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากมิได้มีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ หรือมิได้เกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรม, ไม่เป็นไร[3]
คำถามที่ 4 : การล้อเล่นกับเพศตรงข้ามที่เป็นนามะฮฺรัมมีกฏเกณฑ์เป็นอย่างไร?
มัรญิอฺทั้งหมด : ถ้าหากมมีเจตนาเพื่อสนองตัณหาราคะ หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรม, ไม่อนุญาต[4]
คำถามที่ 5 : การติดต่อกันอย่างใกล้ชิดระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาวขณะร่วมงานกัน หรือขณะเป็นแขกผิดหลักการหรือไม่?
มัรญิอฺทั้งหมด : การเป็นเพื่อนหรือกิ๊กระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว ถือว่าไม่อนุญาต, เนื่องเกรงว่าจะนำไปสู่การกระทำผิดในระหว่างติดต่อกัน, แต่ถ้าเป็นการติดต่อกันเพราะเป็นอาชีพ หรือหน้าที่, ถ้าหากไม่ได้เป็นสาเหตุก่อให้เกิดความเสียหาย, หรือใส่ใจต่อหลักการเป็นพิเศษอยู่แล้ว, ถือว่าไม่เป็นไร.[5]
คำถามที่ 6: การเขียนจดหมายติดต่อกับนามะฮฺรัม หรือการติดต่อในเชิงชู้สาวผ่านทางอีเมล์ มีกฎเกณฑ์อย่างไรบ้าง?
มัรญิอฺทั้งหมด : การติดต่ออันเป็นสาเหตุนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือเป็นสาเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหายอย่างอื่น ถือว่าขัดต่อหลักชัรอียฺ ไม่อนุญาต[6]
จากสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดและปัญหาที่กำลังกล่าวถึงอยู่นี้ ได้บทสรุปว่า : การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างชายหนุ่มและหญิงสาว ก่อนการแต่งงาน ไม่ว่าจะติดกันโดยตรงหรือผ่านสื่อ, ถ้ามีเจตนาเพื่อสนองตอบตัณหาราคะ (เพศสัมพันธ์) หรือเกรงว่าจะนำไปสู่ข้อครหานินทา หรือเกรงว่าจะนำไปสู่บาปกรรมแล้วละก็ ถือว่าไม่อนุญาตและขัดต่อหลักชัรอียฺ.
แต่การติดต่อระหว่างเพื่อนร่วมงาน ติดต่อด้านวิชาการ หรือเพื่อการศึกษา, ถ้าหากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือรักษาหลักการชัรอียฺระหว่างการติดต่อ ถือว่าไม่เป็นไร[7]
[1] อิมาม,อิสติฟตาอาต,เล่ม 3, คำถามที่ 52, บะฮฺญัติ,เตาฎีฮุลมะซาอิล, ข้อที่ 1936, มะการิมชีรอซียฺ, อิฟติฟตาอาต, เล่ม 1, คำถามที่ 819, ตับรีซีย์, อิสติฟตาอาต, 1622, ซอฟีย์, ญามิอุลอะฮฺกาม, เล่ม 2, หน้า 1673, นูรีย์, อิสติฟตาอาต, เล่ม 2, คำถามที่ 565, ฟาฏิล, ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1,หน้า 1718, คอเมเนอีย์, อัจญฺวะบะตุลอิสติฟตาอาต, คำถามที่ 1145, อัลอุรวะตุลวุฟกอ, เล่ม 2, อันนิกาฮฺ, ข้อที่ 3, ซิตตานีย์, sistani.org, อินเทอร์เน็ต, ตับรีซีย์, tabrizi.org,อินเทอร์เน็ต, ดัฟตัร ทั้งหมด
[2]ซิตตานีย์, sistani.org, อินเทอร์เน็ต, ตับรีซีย์, tabrizi.org,อินเทอร์เน็ต, ดัฟตัร ทั้งหมด
[3] อัลอุรวะตุลวุฟกอ, เล่ม 2,อันนิกาฮฺ, ข้อที่ 39 และ 41.
[4] อ้างแล้ว, ข้อที่ 31, 39, ฟาฏิล ญามิอุลมะซาอิล, เล่ม 1, คำถามที่ 1720, คอเมเนอีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 782.
[5] คอเมเนอีย์, อิสติฟตาอาต, คำถามที่ 779, 651, และตัฟตัรทั้งหมด.
[6] อิมาม,อิสติฟตาอาต, เล่ม 3, คำถามต่างๆ, คำถามที่ 127, และตัฟตัรทั้งหมด.
[7] สรุปย่อมาจากหนังสือ ริซาละฮฺ ดอเนชญู, ดัฟตัร 16, หน้า 191, 195, สรุปมาจากคำถามที่ 1222 (แชดระหว่างชายหนุ่มกับหญิงสาว)