Please Wait
6280
สำหรับการส่งเสริมและการสนับสนุนให้ปฏิบัติข้อบังคับของศาสนา เบื้องต้นสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการวิเคราะห์ความคิดของเขา หลังจากนั้นจึงจะหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมต่อไป, ทัศนะของบุคคลและความเชื่อที่มีต่ออัลลอฮฺ, โลกทัศน์ของพระเจ้า,มนุษย์, วันฟื้นคืนชีพ และ... เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความเชื่อ เพราะจะช่วยทำให้เขามั่นคงต่อการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติข้อบังคับต่างๆ และความประพฤติ การโน้มน้าวทางความเชื่อ การมีวิสัยทัศน์ที่ดี และการมีความคิดดีกับฝ่ายตรงข้าม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน) ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดมรรคผลในทางที่ดี การอบรมสั่งสอนและการส่งเสริม จึงจำเป็นต้องเริ่มจากความคิดของเขาก่อน แน่นอน การที่บิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตร โปรแกรมการอบรมสั่งสอนย่อมไม่ได้ผล หรือล้มเหลวแน่นอน
โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมด้านการอบรม สามารถสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตรหลานของตนได้ บางวิธีการเป็นวิธีที่มีความจำเป็นและเหมาะสม ดังเช่น :
1 ให้เกียรติบุตร: ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า "จงให้เกียรติลูกๆ ของตนและจงอบรมสั่งสอนให้ดี"
2 รู้ถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนในช่วงวัยรุ่น (เช่นความเป็นอิสระ, อารมณ์, ฯลฯ) เป็นการรู้จักทั่วไปถึงสภาพจิตใจอันเฉพาะของลูกแต่ละคน และพยายามจัดหาสิ่งพวกเขารอคอย และความต้องการอันเป็นที่ยอมรับทางชัรอียฺ ในช่วงวัยรุ่นของพวกเขา
3 เป็นจุดสำคัญของสภาพแวดล้อมทางครอบครัว ให้เป็นวัฒนธรรมความรัก ความสงบ ความมั่นคงทางความรู้สึก
4 เห็นคุณค่าของความสำเร็จ และให้ความชื่นชมตามความเหมาะสม
5 ประกาศความไม่พอใจ เมื่อเขาได้กระทำการที่น่ารังเกียจ (แม้จะฝืนใจทำในบางครั้งก็ตาม)
6 เสนอความต้องการของตน ในลักษณะของการเรียกร้องของพวกเขา ให้คำแนะนำ หรือผ่านคนที่มีอิทธิพลต่อพวกเขา เช่น คู่หมั้น
7 หลีกเลี่ยงการสั่งหรือห้ามมากเกินไปและซ้ำๆ กัน
การอบรมสั่งสอนบุตรถือเป็นภาระหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาร และมีวิธีการต่างๆ ที่ละเอียดอ่อนมากมาย ซึ่งจำเป็นต้องเอาใจใส่ต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างดี และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาให้ดีและเร็วขึ้น ในกรณีที่เป็นไปได้ให้ปรึกษาศูนย์ให้คำแนะนำที่เชื่อถือได้ (เช่น ศูนย์ให้คำแนะนำทางวัฒนธรรมและศาสนา) เพื่ออย่างน้อยให้เราได้คุ้นเคยกับคำแนะนำต่างๆ ของผู้ให้คำปรึกษาด้านศาสนา ขณะเดียวกันจะได้เรียนรู้ทีจะใช้ประโยชน์ด้านจิตวิทยา และการอบรมสั่งสอน
แต่ก่อนอื่นใดสิ่งจำเป็นต้องเอาใจใส่ก่อนคือ แนวความคิดของลูกๆ แนวคิดด้านความศรัทธาของบุคคลเกี่ยวกับพระเจ้า โลกแห่งการมีอยู่ มนุษย์ วันฟื้นคืนชีพ และ ...เหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรงกับความศรัทธา และเป็นรากฐานสำคัญในการยืนหยัดของเขา ต่อปฏิบัติหน้าที่อันเป็นข้อบังคับ การปฏิบัติ และความประพฤติ[1]
ตรงนี้จะขอนำเสนอวิธีการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้อง บางวิธีกล่าวคือ มนุษย์ทุกคนนั้นมีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกัน ดังนั้น จำเป็นที่เราต้องรู้จักคุณลักษณะพิเศษเหล่านั้น และพยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับคุณลักษณะพิเศษของเขา ในทุกด้านและทุกขั้นตอนการดำเนินชีวิตของเขา เพราะกี่มากน้อยแล้วที่บางคนได้นำวิธีการอบรมสั่งสอนสมัยเด็ก มาใช้ช่วงที่เขาเติบโตเป็นวัยรุ่น ซึ่งนอกจากจะไม่เหมาะสมและไม่เข้ากันแล้ว ยังสร้างปัญหาอีกต่างหาก
คุณสมบัติบางประการช่วงวัยรุ่นและช่วงเป็นเยาวชน ประกอบด้วย[2]
ก) การลดความสำคัญของรูปแบบ และพฤติกรรมในครอบครัว แต่จะยอมรับมากกว่าจากเพื่อน หรือผู้ที่อยู่ในวัยเดียวกัน ในเรื่องเสื้อผ้า การแสดงออก ทรงผม และ ...หรือแม้แต่แนวโน้มด้านวัฒนธรรมและศาสนา ซึ่งบางครั้งพวกเขาก็ยอมรับเรื่องศาสนา ซึ่งในหมู่เพื่อนด้วยกันแล้วถือว่าเป็นสิ่งมีค่ายิ่ง[3]
ข) การสื่อสารทางสังคมนอกบ้านบ่อยครั้ง กับเพื่อน และกิจกรรมต่างๆ ทางสังคม กีฬา การเมือง วัฒนธรรม ศาสนา และ ...ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้เวลาของเขาเหลือน้อย ที่จะอยู่พร้อมหน้ากับครอบครัว และในบางครั้งบิดามารดาก็มีความรู้สึกว่า บุตรกลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับตน[4]
ค) รักความเป็นอิสระส่วนตัว และปล่อยวางข้อจำกัดของบุคลิกภาพในวัยเด็ก และเข้าร่วมกับกลุ่มเด็กโต ซึ่งในกรณีที่ไม่ประสบความสำเร็จ ในทิศทางนี้โดยปรกติจะประท้วงด้วยการแสดงความดื้อรั้น และแสดงความอวดดีออกมา นอกจากนั้นจะกระทำในภารกิจที่ไม่ปรกติธรรม จะแสดงพฤติกรรมไม่ดีใจร้อน และในความเป็นจริงจะพูดด้วยภาษาของตนว่า จงให้เกียรติฉันบ้าง เคารพในความเป็นส่วนตัว และความอิสระของฉัน[5]
จ) ไม่ให้เกียรติ ความประพฤติไม่เหมาะสม การตำหนิ และการดูถูก สิ่งเหล่านี้จะนำเขาไปสู่การมีความประพฤติไม่ดี การคิดแก้แค้น และบางครั้งจะนำไปสู่อาชญากรรมอย่างอื่นด้วยซ้ำไป[6] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “ความสุดโต่งในการตำหนิและการต่อต้านและความดื้อรั้น (บุคลที่สอง) จะเป็นชนวนไปสู่หนทางไม่ดี”[7]ท่านอิมามได้กล่าวในอีกที่หนึ่งว่า “จงเหลีกเลี่ยงจากการตำหนิซ้ำซาก เพราว่าสิ่งที่พวกเขาตำหนิ ผู้กระทำผิดก็จะทำการงานที่ไม่ดีซ้ำซากอยู่เช่นนั้น (อีกด้านหนึ่ง) การตำหนิจะทำลายชื่อเสียงและลดคุณค่าตัวเอง”[8]
ฉ) การอบรมเด็กและโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหน้าคนอื่น เท่ากับทำให้เขาอับอายขายหน้า และเป็นการทำลายบุคลิกภาพ ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “การอบรมต่อหน้าคนอื่นคือ ทำลายและบทขยี้บุคลิกของเขา”[9]
สำหรับการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับบุตรของตน สิ่งสมควรคือ
1) ในการอบรมสั่งสอนควรเอาใจใส่ในแบบฉบับ และรายงานของบรรดามะอฺซูม (อ.) ทีสำคัญควรสนใจเป็นพิเศษด้วย ด้วยเหตุนี้ เราจะต้องพิจารณาอย่างถูกต้องว่า บรรดามะอฺซูม (อ.) มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรกับเยาวชน
ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวเกี่ยวกับช่วงวัยรุ่นว่า “เนื่องจากความไม่รู้ของคนหนุ่มสาว ดังนั้น ความรู้น้อยและการไม่รู้ของเขาจึงถูกยกเว้น”[10]
เมื่อพิจารณาคำกล่าวของท่านอิมาม และคำสั่งอื่นๆ ของท่าน อันเป็นสาเหตุนำไปสู่ความอดทนมากขึ้น และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ของหนุ่มสาวขณะที่พวกเขาทำความผิดพลาด
2) ในการอบรม จะต้องหลีกเลี่ยงการอธิบาย เรื่องการหมดหวังในด้านความเชื่อทางศาสนา แต่จำเป็นต้องกล่าวถึงความเมตตา ความปรานี และความเอ็นดูของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว นักจิตวิทยาจำนวนมาก เช่น โรเจอร์ส และคนอื่นๆ เชื่อว่าพฤติกรรมได้รับอิทธิพลมาจากอารมณ์ความรู้สึก ทัศนะคติ การรับรู้ และความอารมณ์ความรู้สึกคือ ตัวกำหนดพฤติกรรม ด้วยเหตุนี้ ถ้าหากผู้สอนศาสนา นำเสนอเฉพาะในรูปแบบที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว สิ้นหวัง และการปฏิเสธ ดังนั้น เป้าหมายอันสูงส่งและมีความจำเริญยิ่งของศาสนา จะไม่มีวันบรรลุเด็ดขาด[11] ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ความชอบนั้นดีกว่าความกลัวมากมายนัก”[12]
3) ด้วยความรัก ความสนใจ และการให้ของขวัญในโอกาสต่างๆ ที่เหมาะสม เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำให้หัวใจของเด็กมีแนวโน้มมายังให้มากที่สุด เพื่อชดเชยการขาดหายไปของความรักของตน ซึ่งพวกเขาจะแทนที่ด้วยเพื่อนนอกบ้านที่ไม่ดี ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงการให้เกียรติต่อบุตรว่า “จงให้เกียรติบุตรของตน และจงอบรมสั่งสอนให้ดีที่สุด”[13]
4)จงหลีกเลี่ยงการมีนิสัยที่ไม่ดีและความรุนแรง ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “การมีนิสัยไม่ดีจะทำให้ทั้งญาติและมิตรหนีออกห่าง คนแปลกหน้าก็จะไม่สนใจต่อเขา”[14]
5) พยายามลืมเลือนการกระทำบางอย่าง อันเป็นความผิดพลาดของพวกเขา และแสร้งทำเป็นไม่มีข้อมูลในบางเรื่องของความผิดพลาดของเขา เนื่องจากถ้าไม่กระทำเช่นนี้แล้ว ความละอาย และความยับยั้งชั่งใจของเขา ที่มีมายังท่านจะลดน้อยลงไป ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า “บุคคลที่ชาญฉลาดครึ่งหนึ่งของเขาคือ ความอดทนและขันติ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งคือ การละลืมไม่ใส่ใจ”[15]
6) หลีกเลี่ยงการแนะนำโดยตรงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และพยายามเสนอความต้องการของตนในทางอ้อม ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า “ฉันได้ยินจากบิดาของฉันว่า การอบรมอย่างหยาบคาย ยากที่คนอื่นจะยอมรับ”[16]
7.การยึดมั่นและความจริงใจที่จะเข้าร่วมกับครอบครัว (โดยเฉพาะบิดาผู้เป็นหัวหน้าครอบครัว) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวทุกคนอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพราะจะทำให้เกิดความรัก ความเมตตา และความใกล้ชิดกันในครอบครัว
8) การเข้ากันโดยสมบูรณ์ ระหว่างคำและการกระทำของผู้เป็นพ่อแม่และครูผู้ให้การอบรม เนื่องจากจำเป็นอย่างยิ่งสิ่งที่เราต้องการจากคนอื่น ตัวเราเองต้องมั่นคงต่อสิ่งนั้น ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “จงชวนเชิญประชาชนไปสู่การทำความดี ที่นอกเหนือจากคำพูด (ด้วยการกระทำ)”[17]
9) หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาเชิงของการบังคับ ข่มขู่ แต่จงใช้ภาษในเชิงการวิเคราะห์ สร้างความเข้าใจ และอธิบายบทบัญญัติด้วยวิทยปัญญา เนื่องจากถ้าหากไม่ได้อธิบายอิสลามด้วยเหตุผล ย่อมมีผลกระทบในทางเสียหายแน่นอน และในที่สุดจะเป้นสาเหตุทำให้เยาวชนหลีกหนีออกจากศาสนา ดังเช่นที่ชาวคริสเตียนได้หนีห่างออกจากอีซามะซีฮฺ ดังนั้น ถ้าไม่มีเหตุผลในการเชิญชวน พวกเขาก็จะมีแนวโน้มหนีออกจากอิสลามศาสนาของพวกเขา[18]
10) ความพยายามที่สมเหตุสมผล ที่จะสร้างบรรยากาศให้เขาเข้าร่วมในสถานที่อันมีพิธีกรรมทางศาสนา (โดยปราศจากความบิดเบือน หรือการกระทำที่ไม่มีเหตุผล) การได้พบกับบุคคลที่ประสบความสำเร็จทางศาสนา สิ่งเหล่านี้จะทำให้ความมุ่งมั่นทางศาสนาของเขาแข็งแกร่งขึ้น หรือท่านจัดพิธีการทางศาสนาลักษณะนี้ในบ้านของท่านเอง และมอบหมายให้เขารับผิดชอบบางหน้าที่ แน่นอน สิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลต่อตัวเขา
11) สุดท้ายของการบำบัดคือ การสร้างความเร้าร้อน[19] ถ้าหากวิธีการต่างๆ ได้ปฏิบัติไประยะหนึ่งแล้ว ไม่บังเกิดผล หรือไม่ได้รับความสนใจ เวลานั้นสามารถใช้วิธีบังคับ หรือแสดงความไม่พอใจตอบโต้ แต่ต้องเข้าใจว่าวิธีการนี้ก็เหมือนกับวิธีการอื่น กล่าวคือต้องไม่สุดโต่งหรือเลยเถิดในการปฏิบัติ เนื่องจากจะได้รับผลในทางตรงกันข้าม อีกด้านหนึ่งตราบที่ไม่มั่นใจว่าวิธีการนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์จริง ไม่ขอแนะนำให้ใช้วิธีนี้เด็ดขาด ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าการขับไล่บุตรออกจากบ้าน มิใช่การกระทำที่ดีแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้ให้การอบรมสั่งสอน โดยเฉพาะบิดามารดา ถ้าหากท่านไม่เคยเพิกเฉย ไม่เคยละเลย ไม่เคยที่จะไม่เอาใจใส่ดูแล กระนั้นสิ่งที่ท่านกระทำก็ยังไม่บังเกิดผลเท่าที่ควร ก็จงอย่าตำหนิตนเอง เนื่องจากมนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาให้มีอิสระ การตัดสินใจของเขาก็มีอิสระ[20] และแต่ละคนต้องตอบการกระทำของตนเอง
[1] ซีดีวิชาการ โพรเซมอน
[2] ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหนังสือ การเจริญเติบโตด้านจิตวิทยา
[3] สถาบันอิมามโคมัยนี, ตักวียัต เนซอม คอนนะวอเดะฮฺ วะออซีบ เชนอซี, เล่ม 1, หน้า 40
[4] ฟัลซะเฟะ มุฮัมมัด ตะกี โกฟตอร ฟัลซะเฟะ, โบโซรกซอน วะ ญะวอน อัซ นะซัร อัฟฆอร วะตะมอยุลลอต, เล่ม 1, หน้า 38
[5] ฟัลซะเฟะ มุฮัมมัด ตะกี โกฟตอร ฟัลซะเฟะ, โบโซรกซอน วะ ญะวอน อัซ นะซัร อัฟฆอร วะตะมอยุลลอต, เล่ม 1, หน้า 55
[6] ฟัลซะเฟะ มุฮัมมัด ตะกี โกฟตอร ฟัลซะเฟะ, โบโซรกซอน วะ ญะวอน อัซ นะซัร อัฟฆอร วะตะมอยุลลอต, เล่ม 1, หน้า 55
[7] ตะฮฺฟุลอุกูล, หน้า 84
[8] ฆอรรอรุลฮิกัม,หน้า 278
[9] อิบนุอบิลฮะดีด, ชัรฮฺนุญุลบะลาเฆาะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 341, «النصح فی الملاء تقریع»
[10] ฆอรรอรุลฮิกัม,หน้า 76 «جهل الشباب معذور و علمه محصور»
[11] ตักวียัตเนซอมคอนนะวอเดะ, เล่ม 1, หน้า 266.
[12] เชคกุลัยนียฺ อัลกาฟียฺ เล่ม 8, หน้า 128.
[13] มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 15, หน้า 168 «اکرموا اولادکم واحسنوا آدابهم»
[14] ฆอรรอรุลฮิกัม,หน้า 435.
[15] มุฮัมมัดดี เรย์ ชะฮฺรี, มีซานอัลฮิกมะฮฺ ฮะดีซ 14915.
[16] กัชฟุลฆอมมะฮฺ, เล่ม 3, หน้า 84.
[17] มุฮัซดิซนูรียฺ, มุสตัดร็อกวะซาอิล เล่ม 8, หน้า 456.
[18] ดร.ซายิดี, ดีนกุรีซียฺ เฌะรอ ดีน กะรอียฺ เฌะซอน, หน้า 226.
[19] อัลลามะฮฺ มัจญฺลิซซี, บิฮารุลอันวาร เล่ม 31, หน้า 503.
[20] อินซาน, 3, แท้จริง เราได้ชี้แนะแนวทางแก่เขาแล้ว บางคนก็กตัญญู และบางคนก็เนรคุณ