การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7297
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1478 รหัสสำเนา 18213
คำถามอย่างย่อ
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
คำถาม
ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
คำตอบโดยสังเขป

ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้อง เนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์ กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าว อย่างไรก็ดี การปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลาม แต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริง แน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯ
ต้องเข้าใจว่า ที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้น เป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนด ฉะนั้น ผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ และนี่คือสารัตถะแห่งฐานะภาพอิมามัตอันสูงส่ง

คำตอบเชิงรายละเอียด

ท่านอิมามศอดิก(.)รายงานจากท่านนบี(..)ว่า "การจงรักภักดีต่ออลี(.)คือจิตคารวะและความนอบน้อม ส่วนการไม่จงรักภักดีต่อเขาเทียบเท่าการปฏิเสธอัลลอฮ์" ฮะดีษนี้รายงานไว้ในตำราหลายเล่ม แต่เชื่อว่าแหล่งอ้างอิงชั้นต้นก็คือหนังสืออัลกาฟีย์ ของเชคกุลัยนี.[1]
ไม่ทราบว่าผู้ถามต้องการจะทราบสถานะเศาะฮี้ห์ในแง่สายรายงานหรือเนื้อหากันแน่ ฉะนั้น เราจะวิเคราะห์จากทั้งสองมุมมอง

วิเคราะห์สายรายงาน
อัลลามะฮ์มัจลิซีให้ทัศนะไว้ว่า สายรายงานของฮะดีษนี้อ่อน[2] แม้บางท่านจะถือว่าเชื่อถือได้ก็ตาม[3] สายรายงานของฮะดีษนี้มีชายที่ชื่อ สะฮล์ บิน ซิยาด อัลอาดะมีปรากฏอยู่ ซึ่งผู้รู้บางท่านให้ทัศนะว่าเขาไม่น่าเชื่อถือ แต่บางท่านจัดว่าเขาเชื่อถือได้ เชคฏูซีเองก็กล่าวไว้ในหนังสือริญาลว่าเขาเชื่อถือได้[4] แต่ได้วิจารณ์ในหนังสือฟิฮ์ร็อสต์ว่าเขาด้อยความน่าเชื่อถือ[5] ส่วนท่านอื่นๆอย่างเช่น นะญาชี[6] กัชชี[7] และอิบนุ เฆาะฎออิรี[8]ล้วนมีความเห็นว่าเขาไม่น่าเชื่อถือ
อีกคนหนึ่งที่ปรากฏในสายรายงานคือ ยะห์ยา บิน มุบาร็อก ซึ่งไม่มีตำราเล่มใดเอ่ยถึงเขาเลยนอกจากตัฟซี้รกุมี[9] โดยกุมีได้กล่าวไว้ในอารัมภบทตัฟซี้รว่า ฉันรายงานฮะดีษจากครูบาฮาดีษที่น่าเชื่อถือ[10] อย่างไรก็ดี นักวิชาการยังถกเถียงกันเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของนักรายงานบางคนที่ปรากฏในตำราเล่มนี้
สรุปคือ เนื่องจากฮะดีษนี้มีนักรายงานฮะดีษที่มีข้อกังขาปรากฏอยู่ จึงไม่น่าเชื่อถือนักในแง่สายรายงาน

วิเคราะห์เนื้อหาฮะดีษ
ประเด็นหลักของเราคือ ในกรณีที่สายรายงานอ่อน สามารถเชื่อถือเนื้อหาของฮะดีษนี้ได้หรือไม่? ขอเรียนว่า เนื้อหาของฮะดีษนี้เป็นที่ยอมรับโดยเอกฉันท์ เนื่องจากมีฮะดีษที่ถ่ายทอดเนื้อหาดังกล่าวมากมาย[11]
อัลลามะฮ์ ฮิลลี กล่าวไว้ในหนังสือ"มุนตะฮา"ว่า
"
สารัตถะของหลักอิมามัตอันประกอบด้วยการรู้จักและจงรักภักดีต่ออิมามนั้น ถือเป็นแกนหนึ่งของศาสนา และการปฏิเสธสถานะอิมามของท่านอิมามอลี(.)ย่อมถือเป็นกุฟร์"[12]

อย่างไรก็ดี ควรทราบว่ากุฟร์(การปฏิเสธ)ในที่นี้คือการปฏิเสธอีหม่าน หาไช่ปฏิเสธอิสลามไม่ สองสิ่งนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยยะ
ฮะดีษและคำสอนของผู้รู้ทำให้ทราบว่าอิสลามมีขอบเขตที่กว้างกว่าอีหม่าน ฉะนั้นการปฏิเสธอีหม่านจึงครอบคลุมกลุ่มบุคคลได้กว้างกว่าการปฏิเสธอิสลาม กล่าวคือ บุคคลอาจเป็นมุสลิม แต่ไม่ยอมรับหลักวิลายัตและอิมามัต อย่างไรก็ดี ฮุก่มของกาฟิรอาทิเช่นสภาวะความเป็นนะญิส ฯลฯ นั้น ไม่รวมถึงผู้ปฏิเสธอีหม่านแต่อย่างใด[13]

ด้วยเหตุนี้เอง เชคกุลัยนีจึงได้แบ่งหมวดไว้สำหรับข้อแตกต่างระหว่างอิสลามกับอีหม่านเป็นการเฉพาะ[14] ฮะดีษแรกในหมวดนี้มีใจความว่า "ผลประโยชน์ทั่วไป อาทิเช่นการได้รับการพิทักษ์ความปลอดภัยในชีวิต การอนุมัติให้สมรส ฯลฯ นั้น ได้มาด้วยการรับอิสลาม แต่การรับผลบุญนั้น ขึ้นอยู่กับอีหม่าน"[15]
อิมามบากิร(.)กล่าวไว้ว่า "ผู้ที่ไม่ภักดีต่อท่านอิมามอลี(.)โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ถือเป็นกาฟิร และมิได้ตกศาสนา"[16]
ส่วนที่ว่าเพราะเหตุใดท่านนบีจึงกล่าวว่า "การไม่จงรักภักดีต่ออลี(.)เท่ากับปฏิเสธอัลลอฮ์" และเพราะเหตุใดผู้รู้จึงถือกันว่าเป็นการปฏิเสธอีหม่านนั้น ต้องพิจารณาว่า ท่านนบี(..)ได้กล่าวต่อไปดังนี้ "อลีเชิญชวนพวกท่านสู่สัจธรรม"

การปฏิเสธพระเจ้าจะพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นหลัก หาไช่ท่านอิมามอลีในฐานะที่เป็นปัจเจกบุคคล แต่ในเมื่อทุกอากัปกิริยาและถ้อยคำของท่านตั้งอยู่บนพื้นฐานของสัจธรรมดุจเนื้อเดียว ดังที่ท่านนบีระบุว่า "สัจธรรมจะอยู่กับอลีไม่ว่าเขาจะผินหน้าไปทางใด"[17] ฉะนั้น การไม่เชื่อฟังท่านจึงถือเป็นการปฏิเสธสัจธรรม และการปฏิเสธสัจธรรมก็เท่ากับปฏิเสธพระเจ้า ข้อเท็จจริงนี้เป็นไปตามสถานะภาพอันสูงส่งของอิมามัต อันเป็นฐานะภาพที่พระองค์กำหนดไว้ และเทียบเท่าท่านนบี(..)ในแง่ความจำเป็นที่จะต้องเคารพเชื่อฟัง ดังที่ท่านนบี(..)ได้ประกาศก้องในฮะดีษเฆาะดี้รว่า "ผู้ใดที่ฉันเป็นนายของเขา อลีก็เป็นนายของเขาเช่นกัน"



[1] อัลกาฟีย์,เล่ม 8,หน้า 116,
سَهْلٌ عَنْ یَحْیَى بْنِ الْمُبَارَکِ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ جَبَلَةَ عَنْ إِسْحَاقَ بْنِ عَمَّارٍ وَ ابْنِ سِنَانٍ وَ سَمَاعَةَ عَنْ أَبِی بَصِیرٍ عَنْ أَبِی عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ ص طَاعَةُ عَلِیٍّ ذُلٌّ وَ مَعْصِیَتُهُ کُفْرٌ بِاللَّهِ قِیلَ یَا رَسُولَ اللَّهِ کَیْفَ تَکُونُ طَاعَةُ عَلِیٍّ ذُلًّا وَ مَعْصِیَتُهُ کُفْراً بِاللَّهِ فَقَالَ إِنَّ عَلِیّاً یَحْمِلُکُمْ عَلَى الْحَقِّ فَإِنْ أَطَعْتُمُوهُ ذَلَلْتُمْ وَ إِنْ عَصَیْتُمُوهُ کَفَرْتُمْ بِاللَّه

[2] อัลลามะฮ์มัจลิซี,มิรอาตุลอุกู้ล,เล่ม 11, หน้า 122.

[3] โปรแกรมดิรอยะตุ้นนู้ร

[4] เชคฏูซี, อัรริญ้าล,หน้า 387

[5] เชคฏูซี, อัลฟิฮ์ร็อสต์,หน้า 228

[6] นะญาชี, ริญ้าลุนนะญาชี, หน้า 185

[7] กัชชี, ริญ้าลุลกัชชี, หน้า 566

[8] อิบนุ เฆาะฎออิรี, ริญ้าล อิบนิล เฆาะฎออิรี, เล่ม 1,หน้า 59,67

[9] อัลกุมี, ตัฟซี้รุลกุมี, เล่ม 2,หน้า 50

[10] เพิ่งอ้าง,เล่ม 1,หน้า 4

[11] ดู: เชคมุรตะฎอ อันศอรี, กิตาบ อัฏเฏาะฮาเราะฮ์, เล่ม 5,หน้า 120-123

[12] الإمامة من أرکان الدین و قد علم ثبوتها من الدین ضرورةً، و الجاحد لها لا یکون مصدِّقاً للرسول فی جمیع ما جاء به، فیکون کافرا อัลมุนตะฮา(พิมพ์โบราณ)เล่ม 1,หน้า 522

[13] เชคมุรตะฎอ อันศอรี, กิตาบ อัฏเฏาะฮาเราะฮ์, เล่ม 5,หน้า 123-124

[14] อัลกาฟีย์,เล่ม 2,หน้า 24-28

[15] الإسلام یُحقن به الدم و تؤدّى به الأمانة و تستحلّ به الفروج، و الثواب على الإیمان (จากฮะดีษแรก)

[16]  و أمّا من لم یصنع ذلک و دخل فی ما دخل فیه الناس على غیر علمٍ و لا عداوةٍ لأمیر المؤمنین علیه السلام فإنّ ذلک لا یکفّره و لا یخرجه عن الإسلام إلى الکفر อัลกาฟีย์,เล่ม 8,หน้า 297, ในฮะดีษที่ 454

[17] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 293

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    7391 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...
  • สามารถอธิบาย ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชน ระหว่างแพทย์กับคนไข้ตามบทบัญญัติของอิสลามได้หรือไม่?
    6599 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    ด้านหนึ่ง บทบัญญัติของพระเจ้านั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้, ก) บทบัญญัติอิมฎออีย์, ข) บทบัญญัติตะอฺซีซียฺ อะฮฺกามอิมฎออียฺ หมายถึง บทบัญญัติซึ่งมีมาก่อนอิสลาม, แต่อิสลามได้ปรับปรุงและรับรองกฎนั้น เช่น การค้าขายประเภทต่างๆ มากมาย, อะฮฺกามตะอฺซีซียฺ หมายถึง บทบัญญัติที่ไม่เคยมีมาก่อน ทว่าอิสลามได้กำหนดกฎเกณฑ์เหล่านั้นขึ้นมา เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับการอิบาดะฮฺทั้งหลาย สิทธิซึ่งกันและกัน ระหว่างมนุษย์ด้วยกันมิได้มีเฉพาะแต่ในอิสลามเท่านั้น, ทว่าระหว่างศาสนาต่างๆ ของพระเจ้า, หรือแม้แต่ศาสนาที่มิได้นับถือพระเจ้าก็กล่าวถึงสิ่งนี้ไว้เช่นเดียวกัน ด้วยทัศนะที่ว่า มนุษย์มีภาคประชาสังคม และการตามโดยธรรมชาติ, ดังนั้น เพื่อรักษาระเบียบของสังคม จำเป็นต้องวางกฎเกณฑ์ และกำหนดสิทธิขึ้นสำหรับประชาคมทั้งหลาย ซึ่งพลเมืองทั้งหมดต่างมีหน้าที่รับผิดชอบและต้องรักษากฎระเบียบเหล่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เรียกอีกอย่างว่า สิทธิของบุคคล เกี่ยวกับสิทธิซึ่งกันและกัน ...
  • การบริหารแอโรบิกมีฮุกุมอย่างไร?
    7783 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/19
    สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา คอเมเนอี โดยรวมแล้ว หากกระทำไปโดยเคล้าเสียงดนตรีประเภทที่เหมาะแก่การสังสรรค์อันเป็นบาป หรือมีส่วนกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือนำมาด้วยการกระทำที่ฮะรอมและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าไม่อนุญาต สำนักงานท่านอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ซิซตานี หากดนตรีดังกล่าวเหมาะแก่การทำบาป ต้องงดการฟังอย่างตั้งอกตั้งใจ สำนักงานท่าอายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา ศอฟี กุลพัยกานี หากกีฬาประเภทนี้มีการเต้นหรือบรรเลงดนตรี ถือว่าเป็นสิ่งต้องห้าม คำตอบของท่านอายาตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากกีฬานี้มิได้กระทำพร้อมกับดนตรีที่เป็นฮะรอม และไม่ก่อให้เกิดสิ่งที่ชั่วร้ายและการอันไม่ควรนั้น ถือว่าอนุญาต แต่ในกรณีที่กีฬานี้กระทำไปพร้อมกับการกระทำที่เป็นฮะรอม เช่นไม่คลุมฮิญาบ (ต่อหน้าผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์รอม) หรือมีการบรรเลงดนตรีที่จะกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือกรณีที่กีฬาชนิดดังกล่าวและการเคลื่อนไหวของร่างกายนั้น จะก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ...
  • เมืองมะดีนะถูกสร้างขึ้นเมื่อใด?
    10914 ประวัติสถานที่ 2557/02/16
    นครมะดีนะฮ์ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรอรับ และตั้งอยู่ทางทิศเหนือของนครมักกะฮ์อันทรงเกียรติ โอบล้อมด้วยหินกรวดทางทิศตะวันออกและตะวันตก เมืองนี้มีภูเขาหลายลูก อาทิเช่น ภูเขาอุฮุดทางด้านเหนือ ภูเขาอัยร์ทางใต้ ภูเขาญะมะรอตทางทิศตะวันตก มะดีนะฮ์มีหุบเขาในเมืองสามแห่งด้วยกัน คือ 1. อะกี้ก 2. บัฏฮาต 3. เกาะน้าต[1] เกี่ยวกับการสถาปนานครมะดีนะฮ์นั้น สามาถวิเคราะห์ได้สองช่วง 1. ก่อนยุคอิสลาม 2. หลังยุคอิสลาม 1. ก่อนยุคอิสลาม กล่าวกันว่าภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลกในยุคของท่านนบีนู้ห์ (อ.) มีผู้อยู่อาศัยในนครยัษริบ (ชื่อเดิมของมะดีนะฮ์) สี่กลุ่มด้วยกัน 1.1. ลูกหลานของอะบีล ซึ่งเป็นผู้รอดชีวิตจากสำเภาของท่านนบีนูห์ที่เทียบจอด ณ ภูเขาอารารัต ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ เมืองยัษริบ ซึ่งเมืองยัษริบเองก็มาจากชื่อของบรรพชนรุ่นแรกที่ตั้งรกราก นามว่า ยัษริบ บิน อะบีล บิน เอาศ์ ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11677 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • สรรพสัตว์นั้นมีจิตวิญญาณหรือไม่ ถ้าหากมีชีวิตของสัตว์กับมนุษย์แตกต่างกันอย่างไร
    14000 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ก่อนที่จะเข้าเรื่องสิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือพื้นฐานของคำตอบที่จะนำเสนอนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของฮิกมัตมุตะอาลียะฮฺ (ฟัลซะฟะฮฺ
  • ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
    7119 تاريخ بزرگان 2554/08/08
    หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวถึงท่านบิล้าลผู้เป็นอัครสาวกว่าท่านได้รับการไถ่ตัวโดยท่านอบูบักร์ท่านเป็นผู้ศรัทธาที่อดทนต่อการทรมานโดยกาเฟรมุชริกีนและเป็นนักอะซานประจำของท่านนบี(ซ.ล.) อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสลามในสมรภูมิต่างๆเคียงข้างท่านนบี(ซ.ล.) ทว่าหลังจากที่นบีละสังขารท่านก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชามและเสียชีวิตณที่นั่น ...
  • เพราะเหตุใดฉันต้องเป็นมุสลิมด้วย? โปรดตอบคำถามของฉันด้วยเหตุผลของวิทยปัญญา
    7541 เทววิทยาใหม่ 2554/10/22
    แม้ว่าความสัตย์จริงของศาสนาต่างๆในปัจจุบันบนโลกนี้ยังคงปรากฏให้เห็นอยู่บ้างก็ตาม, แต่รูปธรรมโดยสมบูรณ์และความจริงแท้แห่งความเป็นเอกะของพระเจ้ามีเฉพาะในศาสนาอิสลามเท่านั้นหรืออีกนัยหนึ่งท่านสามารถพบสิ่งนี้เฉพาะในคำสอนของอิสลาม, เหตุผลหลักสำหรับการพิสูจน์คำกล่าวอ้างข้างต้น,คือการไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้, ประกอบกับการสังคายนาและภาพความขัดแย้งกันทางสติปัญญาที่ปรากฏในคำสอนของศาสนาอื่น
  • ทำอย่างไรมนุษย์จึงจะกลายเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺ?
    5823 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    คำว่า “มุฮิบบัต” มาจากรากศัพท์คำว่า “ฮุบ” หมายถึงมิตรภาพความรัก. ความรักของอัลลอฮฺ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวข้าทาสบริพารมิได้มีความเข้าใจเหมือนกับความรักสามัญทั่วไป, เนื่องจากความสิ่งจำเป็นของความรักในความหมายของสามัญคือปฏิกิริยาแสดงออกของจิตใจและอารมณ์ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้, ทว่าความรักที่อัลลอฮฺทรงมีต่อปวงบ่าว,
  • ขณะลงซัจญฺดะฮฺ จะต้องเอาอวัยวะส่วนใดลงพื้นก่อนซัจญฺดะฮฺ?
    6285 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    การซัจญฺดะฮฺเป็นหนึ่งในวาญิบของนมาซ, ซึ่งมีองค์ประกอบและเงื่อนไขวาญิบและมุสตะฮับหลายประการ, เช่น หนึ่งในบางประการที่ถือว่าเป็นมุสตะฮับของซัจญฺดะฮฺ, กล่าวคือ ชาย ขณะลงซัจญฺดะฮฺให้เอาฝ่ามือลงก่อน, ส่วนหญิงให้เอาเข่าลงก่อน[1] [1] อิมามโคมัยนี, เตาฎีฮุลมะซาอิล (มะฮัชชี), ผู้ตรวจทานและค้นคว้า : บนีฮาชิมมี โคมัยนี, ซัยยิดมุฮัมมัด ฮุซัยน, เล่ม 1, หน้า 591, ดัฟตัรอินเตะชารอต อิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้ง 8, ปี ฮ.ศ. 1424

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60439 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58014 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42548 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39875 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39197 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34304 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28356 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28281 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28213 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26153 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...