การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10108
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/02/18
 
รหัสในเว็บไซต์ fa17772 รหัสสำเนา 21904
คำถามอย่างย่อ
บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
คำถาม
บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่? บรรดามัรญะอ์มีความเห็นพ้องกันหรือไม่? หรือว่ายังมีข้อถกเถียงกันอยู่?
คำตอบโดยสังเขป

ตามหลัก “لا شکّ لکثیر الشکแล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا شکّ لکثیر الشک ซึ่งมีลักษณะตะอ์ลี้ลและสื่อถึงความครอบคลุมวงกว้าง แต่มีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้นๆจะต้องมีคุณสมบัติเป็น “คนย้ำคิดย้ำทำ” และจะต้องเป็นการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ในลักษณะที่คนทั่วไปถือว่าเขาเป็นบุคคลย้ำคิดย้ำทำ ]

คำตอบเชิงรายละเอียด

ตามหลัก “لا شکّ لکثیر الشکแล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน แต่ในประเด็นที่ว่าหลักดังกล่าวจะครอบคลุมถึงการกระทำที่มิไช่อิบาดะฮ์ อันได้แก่ธุรกรรมประเภทต่างๆ, สิทธิบุคคล และประเด็นความศรัทธาด้วยหรือไม่? เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหลายทัศนะด้วยกัน ได้แก่:

หนึ่ง. ทัศนะของฟุเกาะฮาส่วนใหญ่: นักนิติศาสตร์อิสลามส่วนใหญ่เชื่อว่ากฏดังกล่าวมิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا شکّ لکثیر الشک ซึ่งมีลักษณะตะอ์ลี้ลและสื่อถึงความครอบคลุมวงกว้าง[1] แต่มีเงื่อนไขว่าบุคคลนั้นๆจะต้องมีคุณสมบัติเป็น “คนย้ำคิดย้ำทำ” และจะต้องเป็นการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ในลักษณะที่คนทั่วไปถือว่าเขาเป็นบุคคลย้ำคิดย้ำทำ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวกันว่า

1. ไม่ควรสนใจการสงสัยที่เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ[2]

2. หากไปร่วมรับประทานอาหารที่บ้านผู้อื่นแล้วเกิดสงสัยบ่อยครั้งว่าอาหารฮาล้าลหรือไม่ ไม่ควรสนใจและให้ถือว่าฮาล้าล[3]

3. เกี่ยวกับสิทธิบุคคล “ฮักกุนนาส” ผู้ย้ำคิดย้ำทำไม่ควรสนใจข้อเคลือบแคลงของตน และให้ถือว่าการกระทำของตนถูกต้องแล้ว[4]

4. หน้าที่ของผู้ที่สงสัยทุกเรื่องไม่ว่าในเรื่องอิบาดะฮ์หรือประเด็นอื่นๆก็คือ หากมีคุณสมบัติเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ ก็ไม่ควรสนใจการสงสัยของตน[5]

5. ผู้ที่ศรัทธาในอัลลอฮ์และท่านนบี(ซ.ล.) ทว่ามักจะมีข้อสงสัยเกิดขึ้นและเป็นเหตุให้ต้องศึกษาหาคำตอบนั้น ข้อสงสัยเหล่านี้มิได้ทำให้เขาตกเป็นกาเฟรและกลายเป็นนะญิสแต่อย่างใด[6]

สอง. ทัศนะของฟุเกาะฮาที่เหลือ: บางท่านเชื่อว่ากฏดังกล่าวมีไว้เฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น และไม่ครอบคลุมถึงประเด็นอื่นๆ โดยเชื่อว่าในประเด็นอื่นๆจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฏเฉพาะของแต่ละกรณี[7]

เราจะกล่าวถึงคุณลักษณะของการสงสัยดังต่อไปนี้

1. การสงสัย การกระซิบกระซาบ และความหวั่นไหวทางความคิด เกิดจากการยุแยงของชัยฏอน ในทางกลับกัน ความมั่นใจและยะกีนเกิดจากความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า ชัยฏอนมักจะใช้กลเม็ดเด็ดพรายหลากรูปแบบเพื่อชักนำให้บ่าวของพระองค์หลุดจากหนทางที่เที่ยงตรง และเนื่องจากชัยฏอนมีความเจ้าเล่ห์สูง จึงมักปรับใช้วิธีหลอกล่อให้ตรงกับจุดอ่อนของแต่ละคน วิธีต่อสู้กับการกระซิบกระซาบของชัยฏอนก็คือ การไม่ให้ราคาไดๆแก่พฤติกรรมของมัน ฉะนั้น เมื่อชัยฏอนชักนำให้มนุษย์คิดเรื่องอันเป็นโมฆะ ก็ควรหันไปสนใจเรื่องอื่นๆแทน

2. มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่มีศักยภาพทางความคิด จึงต้องไตร่ตรองค้นหาแนวทางสัจธรรมและยึดถืออย่างเคร่งครัด แน่นอนว่ากระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นมิได้หากปราศจากการพากเพียรทางปัญญาอย่างมีระบบ เพื่อให้สามารถค้นหาความหมายของโลก และบรรลุถึงฮะย้าต ฏ็อยยิบะฮ์ (ชีวิตอันเปี่ยมสุข)ได้ แต่ไม่ว่าจะพยายามเท่าใดก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งถือเป็นต้นทุนในการขวนขวายหาปัญญาธรรม และเพื่อการนี้ จำเป็นต้องเสริมสร้างพื้นฐานความศรัทธาให้แน่นหนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อมิให้โครงสร้างทางปัญญาต้องเผชิญกับแรงสั่นสะเทือนทางความคิดจนเสียหาย ในการเดินทางครั้งนี้ สถานีแรกก็คือการครุ่นคิดไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความหมายของโลกและมนุษย์ ระหว่างนี้ก็อาจจะมีข้อสงสัยเกิดขึ้นในใจบ้าง ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นเพียงแรงสั่นสะเทือนทางความคิด ซึ่งมิได้เป็นอันตรายเสมอไป ซ้ำบางครั้งยังสามารถจะเป็นช่องทางไปสู่ระดับขั้นที่สูงขึ้นไปก็เป็นได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องรีบผ่านขั้นตอนนี้ไปให้เร็วที่สุด เนื่องจากการหยุดอยู่ ณ สถานีแห่งการสงสัยเป็นอันตรายอย่างยิ่ง[8]

ท้ายนี้ขอนำเสนอคำตอบจากบรรดามัรญะตักลี้ดต่อข้อซักถามข้างต้นดังนี้[9]

อายะตุลลอฮ์ คอเมเนอี: ผู้ที่สงสัยบ่อย ถือเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ (กะษีรุชชักก์) ส่วนในกรณีนมาซ หากผู้ใดสงสัยถึงสามครั้งในนมาซครั้งเดียว หรือสงสัยในนมาซสามเวลาติดต่อกัน (อย่างเช่น นมาซศุบฮิ ซุฮ์ริ และอัศริ) ล้วนถือเป็นคนย้ำคิดย้ำทำทั้งสิ้น ตราบใดที่การสงสัยดังกล่าวมิได้เกิดจากความหวั่นวิตกใดๆ ก็จงอย่าให้ความสำคัญ และตราบใดที่คนย้ำคิดย้ำทำยังมิได้รู้สึกว่าตนเองกลับสู่สภาวะปกติแล้ว ก็ให้ปล่อยวางความสงสัยต่อไป

อายะตุลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี: ฟัตวาของเราก็คือ กะษีรุชชักก์ หมายถึงผู้ที่สงสัยบ่อยนั้น ไม่ควรให้ความสนใจการสงสัยของตน ไม่ว่าจะสงสัยในจำนวนเราะกะอัต หรือส่วนอื่นของนมาซ หรือเงื่อนไขของนมาซ
คนย้ำคิดย้ำทำคือบุคคลที่สงสัยบ่อยในทัศนะของคนทั่วไป และหากสงสัยถึงสามครั้งในนมาซครั้งเดียว หรือสงสัยในนมาซสามเวลาติดต่อกัน ถือว่าเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ

อายะตุลลอฮ์ ศอฟี โฆลพอยฆอนี: โดยทั่วไปแล้ว คนย้ำคิดย้ำทำไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตนในประเด็นการนมาซ ไม่ว่าจะในเรื่องซิเกร หรือจำนวนเราะกะอัต หรือส่วนอื่นๆอย่างเช่นรุกั้วอ์และสุญูด

อายะตุลลอฮ์ ซีสตานี: ไช่แล้ว (ไม่ควรให้ความสนใจ)

อายะตุลลอฮ์ ฮาดะวี เตหรานี: ผู้ที่ย้ำคิดย้ำทำ ไม่ควรสนใจข้อสงสัยของตนเฉพาะกรณีที่มีอาการย้ำคิดย้ำทำเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆที่มีอัตราการสงสัยในระดับปกติ ให้ปฏิบัติเสมือนบุคคลทั่วไปยามเกิดข้อสงสัย

ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
“ฮักกุนนาส”
9249, (ลำดับในเว็บไซต์ 9221)
“ฮักกุนนาสและการขออภัย”
7952, (ลำดับในเว็บไซต์ 8054)

“กฏการระวังในยามสงสัย” 3078, (ลำดับในเว็บไซต์ 3324)



[1] มูซะวี,บุจนูรดี,ซัยยิดฮะซัน, อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดย เมะฮ์รีซี,มะฮ์ดี และ ดิรอยะตี,มุฮัมมัด ฮะซัน,เล่ม 2,หน้า 353-356,สำนักพิมพ์อัลฮาดี,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1419 และ เฏาะบาเฏาะบาอี,กุมมี,ซัยยิดตะกี, อัลอันวารุ้ลบะฮียะฮ์ ฟีเกาะวาอิดิ้ลฟิกฮียะฮ์,หน้า 190-191, สำนักพิมพ์มะฮัลลอที,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1423 และ ตับรีซี,ญะว้าด,ถามตอบปัญหาศาสนาใหม่,เล่ม 2,หน้า 71,คำถามที่ 325,กุม,พิมพ์ครั้งแรก

[2] อิมามโคมัยนี,ซัยยิดรูฮุลลอฮ์,ถามตอบปัญหาศาสนา,เล่ม 1,หน้า 169,คำถามที่ 158,สำนึกพิมพ์อิสลามี,กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,..1422

[3] เพิ่งอ้าง,หน้า 110,คำถามที่ 295

[4] ตับรีซี,ญะว้าด,ถามตอบปัญหาศาสนาใหม่,เล่ม 2,หน้า 71,คำถามที่ 325

[5] บะฮ์ญัต,มุฮัมมัดตะกี,ถามตอบปัญหาศาสนา,เล่ม 2,หน้า 215,คำถามที่ 2302, สำนักพิมพ์อายะตุลลอฮ์บะฮ์ญัต,กุม,พิมพ์ครั้งแรก,..1428

[6] มะการิมชีรอซี,นาศิร,ประมวลปัญหาศาสนา,หน้า 36,ปัญหาที่ 114,สำนักพิมพ์โรงเรียนอิมามอลีบินอบีฏอลิบ(.),กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้าสิบสอง,..1429

[7] ดู: อัลเกาะวาอิดุ้ลฟิกฮียะฮ์,เล่ม 2,หน้า 355,356

[8] ดู: ระเบียนข้อสงสัยในหลักศรัทธาคำถามที่ 4895 (ลำดับในเว็บไซต์ 5356)

[9] สอบถามโดยเว็บไซต์อิสลามเควสท์

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6119 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7135 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • วันเวลาที่แน่ชัดของการเป็นชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ ซะฮ์รอ (ซ.) คืออะไร?
    6821 تاريخ بزرگان 2555/04/21
    ในตำราประวัติศาสตร์มีทัศนะหลายเกี่ยวกับวันคล้ายวันชะฮาดัตของท่านหญิงฟาติมะฮ์ (ซ.) นักประวัติศาสตร์บางคนเชื่อว่านางสเยชีวิตหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) 40 วัน บ้างก็เชื่อว่า 6 เดือน และอีกกลุ่มก็เชื่อว่า 8 เดือน ส่วนฮะดีษที่รายงานจากบรรดาอะอิมมะฮ์ระบุไว้สองทัศนะ โดยอุลามาอ์ชีอะฮ์ส่วนใหญ่เชื่อว่าฮะดีษที่ระบุว่าเธอเสียชีวิต 95 วันหลังจากการจากไปของท่านศาสดา (ซ.ล.) เป็นรายงานที่น่าเชื่อถือมากกว่า ...
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8383 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • เหตุใดศาสนาจึงขัดต่อหลักสติปัญญา?
    6484 เทววิทยาใหม่ 2554/09/04
    สติปัญญาถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในส่วนชะรีอัต(ศาสนา)ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายนอกทั้งสองมีหน้าที่นำพามนุษย์สู่ความผาสุกและความสมบูรณ์แบบซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องพิสูจน์สัจธรรมจากภายในและภายนอกจะขัดแย้งกันเองจากการที่สติปัญญานับเป็นปรากฏการณ์หนึ่งและการที่ทุกปรากฏการณ์มีข้อจำกัดศักยภาพของสติปัญญาก็มิอาจอยู่เหนือกฏเกณฑ์นี้ได้จึงมีศักยภาพประมวลผลในระดับของสรรพสิ่งถูกสร้างเท่านั้นโดยไม่อาจที่จะหยั่งรู้ถึงสถานภาพที่แท้จริงของพระเจ้าได้อย่างถี่ถ้วนเนื่องจากทรงปราศจากข้อจำกัด
  • ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์กฎการขวางด้วยหิน (ขวางให้ตาย) คืออะไร? การถือปฏิบัติกฎระเบียบดังกล่าว ตามหลักการอิสลามในยุคสมัยนี้ ไม่สร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามหรือ?
    8750 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    การลงโทษ โดยการขว้างด้วยก้อนหิน หรือเรียกว่า “รัจม์” เป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาชาติ หมู่ชน และศาสนาต่างๆ ก่อนหน้าอิสลาม ซึ่งในอิสลามถือว่า การลงโทษดังกล่าวเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่งตามหลักชัรอียฺ แน่นอนและตายตัว ซึ่งจะใช้ลงโทษสำหรับการกระทำผิดที่หนักมาก ซึ่งมีรายงานจำนวนมากจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวถึงประเด็นดังกล่าวไว้ เป้าหมายของอิสลามจากการลงโทษดังกล่าวคือ การปรับปรุงแก้ไขสังคม, อันเกิดจากความผิดปรกติด้านการก่ออาชญากรรม, เป็นการชำระผู้กระทำผิดอีกทั้งเป็นการลบล้างความผิดบาป ที่เกิดจากผลของความผิดนั้น, ดำเนินความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม,ป้องกันความหันเห ความหลงผิดต่างๆ อันเกิดจากการทำลายความบริสุทธิ์ของสังคม กลับคืนสู่สังคมอีกครั้ง ตามทัศนะของอิสลามการลงโทษ การทำชู้ (หญิงที่มีสามี หรือชายที่มีภรรยา) จะถูกลงโทษด้วยเงื่อนไขอันเฉพาะด้วยการขว้างด้วยก้อนหินจนกระทั่งเสียชีวิต ถ้าหากการดำเนินกฎเกณฑ์ดังกล่าว หรือกฎเกณฑ์ข้ออื่นๆ นำไปสู่การดูถูกเหยียดหยามอิสลามแล้วละก็ วะลียุลฟะกีฮฺ หรือฮากิมชัรอียฺ สามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการลงโทษได้ตามความเหมาะสม และต้องสอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม ...
  • เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
    6946 จริยธรรมทฤษฎี 2554/12/11
    ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือดแต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกันตามความหมายแรกอิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่านแต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:1. "ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่งเนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง2.มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้าชิวหาพระเจ้าและโลหิตพระเจ้าหมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใดมนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์หากทรงประสงค์จะตรัสเขาจะเป็นดั่งชิวหาและหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิตเขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์อิมามฮุเซน(อ.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่าแต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกันโดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า ...
  • เมื่อกล่าวว่าอัลกุรอานมาจากพระเจ้า จุดประสงค์หมายถึงอะไร ? เฉพาะความหมายรวมๆ เท่านั้นที่มาจากพระเจ้า หรือว่าคำก็ถูกประทานจากพระเจ้าด้วยเช่นกัน
    8371 วิทยาการกุรอาน 2553/10/21
    ตามความเป็นจริงแล้วการที่กล่าวว่า อัลกุรอานมาจากอัลลอฮฺ ได้รับความสนใจเป็นพิเศษในระดับต่างๆ  อีกทั้งยังมีความหมายที่ลึกซึ่งและหลากหลาย ซึ่งในแต่ละประเด็นนั้นยังมีความหมายลึกและระเอียดลงไปอีก และในแต่ละคำพูดก็ยังมีคำพูดที่ระเอียดลงไปอีก :ก. เนื้อหาของอัลกุรอานนั้นมาจากพระเจ้าข. นอกจากนี้คำแต่ละคำยังมาจากพระเจ้าค. การรวมคำต่างที่ปรากฏอยู่ในโองการก็มาจากอัลลอฮฺเช่นกันง. โองการต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ที่ปรากฏอยู่ในบทต่างๆ มาจากอัลลอฮฺ
  • เป็นไปได้หรือไม่ที่จะรู้จักบุคคลสำคัญในสวรรค์และนรก?
    6299 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/07
    มีหลายโองการในกุรอานที่กล่าวถึงบทสนทนาระหว่างชาวสวรรค์และชาวนรก ซึ่งทำให้พอจะทราบคร่าวๆได้ว่าชาวสวรรค์สามารถที่จะรับรู้สภาพและชะตากรรมของบุคคลต่างๆในนรกได้ นอกจากนี้ เหล่าบุรุษชาวอะอ์ร้อฟรู้จักสีหน้าของชาวสวรรค์และชาวนรกเป็นอย่างดี มีฮะดีษมากมายที่ระบุว่าเหล่าบุรุษแห่งอะอ์ร้อฟนั้น ตามนัยยะเชิงแคบก็คือบรรดาอิมามมะอ์ศูม(อ.) ส่วนนัยยะเชิงกว้างก็หมายถึงบรรดามนุษย์ที่ได้รับการเลือกสรร ซึ่งจะอยู่ในลำดับถัดจากบรรดาอิมาม โดยบุคคลเหล่านี้อยู่เหนือชาวสวรรค์และชาวนรกทั้งมวล เราขอนำเสนอความหมายของโองการเหล่านี้ดังต่อไปนี้ 1. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ อัศศ้อฟฟ้าต “ในสรวงสวรรค์ ผู้คนต่างหันหน้าเข้าหากันแล้วถามไถ่กันและกัน โดยหนึ่งในนั้นเอ่ยขึ้นว่า แท้จริงฉันมีสหายคนหนึ่งที่ถามฉันว่า เธอเชื่อได้อย่างไรที่ว่าหลังจากที่เราตายและกลายเป็นธุลีดินแล้ว จะถูกนำไปพิพากษา (ชาวสวรรค์กล่าวว่า) ท่านรับรู้สภาพปัจจุบันของเขาหรือไม่? เมื่อนั้นก็ได้ทราบว่าเขาอยู่ ณ ใจกลางไฟนรก (ชาวสวรรค์)กล่าวแก่เขาว่า ขอสาบานต่อพระองค์ เจ้าเกือบจะทำให้ฉันหลงทางแล้ว หากปราศจากซึ่งพระเมตตาของพระองค์ ฉันคงจะอยู่(ในไฟนรก)เช่นกัน”[1] 2. โองการที่ 50-57 ซูเราะฮ์ มุดดัษษิร “ทุกคนย่อมค้ำประกันความประพฤติของตนเอง นอกจากสหายแห่งทิศขวาซึ่งจะถามไถ่กันในสรวงสวรรค์ ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7196 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59469 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56926 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41730 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38486 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33506 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27577 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27310 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27196 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25272 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...