การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12617
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/12/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1912 รหัสสำเนา 27001
คำถามอย่างย่อ
เพราะอะไรปัญหาเรื่องการตกมุรตัด ระหว่างหญิงกับชายจึงมีกฎแตกต่างกัน?
คำถาม
เพราะเหตุใดเมื่อหญิงคนหนึ่งตกมุรตัด จึงไม่ถูกประหารชีวิต, แต่ถ้าชายคนหนึ่งตกมุรตัด เขาจึงถูกตัดสินประหารชีวิต?
คำตอบโดยสังเขป

อิสลามต้องการให้ผู้เข้ารับอิสลาม ได้ศึกษาข้อมูลและหาเหตุผลให้เพียงพอเสียก่อน แล้วจึงรับอิสลามศาสนาแห่งพระเจ้า ได้รับการชี้นำจากพระองค์ต่อไป แต่หลังจากยอมรับอิสลามแล้ว และได้ปล่อยอิสลามให้หลุดลอยมือไป จะเรียกคนนั้นว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา และจะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง เนื่องจากสิ่งที่เขาทำจะกลายเป็นเครื่องมือมาต่อต้านอิสลามในภายหลัง และจะส่งผลกระทบในทางลบกับบรรดามุสลิมคนอื่นด้วย

แต่เมื่อพิจารณาความพิเศษต่างๆ ของสตรีและบุรุษแล้ว จะพบว่าทั้งสองเพศมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา และร่างกายต่างกัน ซึ่งแต่คนจะมีความพิเศษอันเฉพาะแตกต่างกันออกไป เช่น สตรีถ้าพิจารณาในแง่ของจิต จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ ดังนั้น กฎที่ได้วางไว้สำหรับบุรุษและสตรี จึงไม่อาจเท่าเทียมกันได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องกฎ ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้จัดตั้งกฎขึ้นโดยพิจารณาที่ เงื่อนไขต่างๆ และความพิเศษของพวกเขา พระองค์ทรงรอบรู้ถึงคุณลักษณะของปวงบ่าวทั้งหมด โดยสมบูรณ์ และทรงออกคำสั่งห้ามและคำสั่งใช้ บนพื้นฐานเหล่านั้น

มนุษย์นั้นมีความรู้เพียงน้อยนิด จึงไม่อาจเข้าใจถึงปรัชญาของความแตกต่าง ระหว่างบทบัญญัติทั้งสองได้โดยสมบูรณ์ เว้นเสียแต่ว่าความแตกต่างเหล่านั้น ได้ถูกอธิบายไว้ในโองการหรือในรายงานฮะดีซ ด้วยเหตุนี้ ระหว่างหญิงกับชายถ้าจะวางกฎเกณฑ์ โดยมิได้พิจารณาถึงความพิเศษต่างๆ ของพวกเขาถือว่าไม่ถูกต้อง และสิ่งนี้ก็คือสิ่งที่มนุษย์ได้ปฏิเสธมาโดยตลอด

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า เอรติดาด มาจากคำว่า “ร็อด” ตามหลักภาษาแล้วหมายถึง การกลับ ส่วนในนิยามของศาสนาคือการกลับไปสู่สภาพผู้ปฏิเสธศรัทธา จึงได้เรียกว่า เอรติดาด หรือ ร็อด[1] นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่า เอรติดาด แม้ว่าจะหมายถึง การกลับ แต่ในความหมายของนักปราชญ์ คำนี้จะมีเงื่อนของการปฏิเสธแฝงอยู่ด้วย

ญาฮิด หมายถึงบุคคลที่ปฏิเสธความจริง ทั้งๆ ที่มีความรู้เกี่ยวกับความจริงนั้น หรืออย่างน้อยที่สุดมีความเคลือบแคลงใจต่อส่งนั้น ทั้งที่มีเหตุผลครบครันแต่ก็ยังปฏิเสธ[2]

ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามจึงไม่ต้องการการปฏิบัติตามเยี่ยงคนตาบอด ไร้เหตุผล ทว่าเชื่อมั่นว่าการยืนหยัดด้วยเหตุผล และตรรกะจะช่วยทำให้บุคคลนั้น ห่างไกลจากความเคลือบแคลง หรือความสลับซับซ้อน และเมื่อเผชิญกับสิ่งเหล่านั้น เขาก็สามารถยืนหยัดบนเหตุผลของศาสนาได้[3]

อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : »หากว่ามีมุชริกคนใดได้ขอให้เจ้าคุ้มครอง เจ้าจงคุ้มครองเขาเถิด เพื่อว่าเขาจะได้รับฟังดำรัสของอัลลอฮฺ แล้วจงส่งเขาไปยังที่ปลอดภัย .. «[4]

ได้มีชายคนหนึ่งนามว่า “ซ็อฟวาน” ไปหาท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และเขาต้องการให้ท่านเราะซูลอนุญาตให้เขาอยู่ในมักกะฮฺ เป็นเวลา 2 เดือน เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับอิสลาม เพื่อว่าบางที่เขาอาจได้รับความจริง และความถูกต้องเกี่ยวกับอิสลาม แล้วจะได้ศรัทธา, ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า ฉันจะอนุญาตให้เจ้า 4 เดือน แทน 2 เดือน แล้วจะให้ความปลอดภัยแก่เจ้าด้วย[5]

อีกด้านหนึ่ง บทบัญญัติของอิสลาม ได้ถูกวางขึ้นโดยพิจารณาจากความถูกต้องเหมาะสม และความเสียหายที่แท้จริง แน่นอนว่าบทบัญญัติของ การตกมุรตัด ก็จัดอยู่ในประเภทนี้

อัลกุรอาน บางโองการ เช่น โองการที่ 217, บทบะเกาะเราะฮฺ, โองการที่ 72, บทอาลิอิมรอน, บ่งบอกให้เห็นว่า การตกมุรตัด เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ การฟิตนะฮฺ (ความเลวร้าย) ทางความผิด เพื่อก่อให้เกิดความสั่นคลอนในด้านความเชื่อเรื่องศาสนาสำหรับมุสลิม ซึ่งได้ถูกโฆษณาชวนเชื่อโดยศัตรูทั้งจากภายในและภายนอก[6]

โองการที่ 72 บทอาลิอิมรอน กล่าวว่า “กลุ่มหนึ่งจากชาวคัมภีร์กล่าวว่า (แก่ผู้ปฏิบัติตามตนว่า) ท่านทั้งหลายจงศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ในตอนเริ่มแรก และจงปฏิเสธในตอนสุท้าย (กลับใจออกจากอิสลาม) เพื่อว่าพวกเขาจะได้กลับใจ (ไปสู่ศาสนาเดิม)[7]

ตามความเป็นจริงแล้ว การตกมุรตัด ในความหมายของตัวมันคือ สื่อในการปฏิเสธศาสนา และการโฆษณาชวนเชื่อ ที่เกิดจากความดื้อรั้น และความอคติ ซึ่งไม่ได้เกิดบนเหตุผลหรือการพิสูจน์แต่อย่างใด สิ่งนี้ได้ออกมาจากความสงสัย และความคลุมเครือต่างๆ ที่ผิดพลาด ด้วยเหตุนี้เอง สามารถกล่าวได้ว่าปรัชญาของการตกมุรตัด ประกอบด้วย การโฆษณาให้ร้ายต่อศาสนา ซึ่งสุดท้ายแล้วเป็นการขู่ท้าทายกฎเกณฑ์ และมารยาททางสังคมอิสลาม[8]

อิสลามได้เตรียมโปรแกรมไว้สำหรับการเกิดเหตุการณ์ไม่ดีดังกล่าว บางทีอาจเป็นไปได้จากการเปลี่ยนศาสนานั้น เป็นสาตุทำให้สังคมอิสลามต้องติดกับดัก จึงได้มีคำสั่งอย่างรีบด่วนว่า ถ้าหากชายมุสลิมคนหนึ่งถือกำเนิดขึ้นมา โดยที่บิดามารดาเป็นมุสลิม ต่อมาเขาได้ตก “มุรตัด” ซึ่งเรียกการตกมุรตัดลักษณะนี้ว่า การตกมุรตัดฟิฎรียฺ (ตกศาสนาโดยกำเนิด) ซึ่งโทษทัณฑ์คือ การประหารชีวิต, แต่ถ้าถือกำเนิดขึ้นมาโดยที่บิดามารดามิได้เป็นมุสลิม ต่อมาได้เข้ารับอิสลาม หลังจากนั้นได้กลับไปเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาอีก เรียกการตกมุรตัดลักษณะนี้ว่า การตกมุรตัดมิลลี (มิได้เป็นโดยกำเนิด) ตรงนี้จะปล่อยเวลาให้เขาได้มีโอกาสกลับโตกลับใจ (เตาบะฮฺ) แต่ถ้าเขาไม่ยอมรับ ก็จะถูกตัดสินประหารชีวิตเช่นกัน[9]

แต่ถ้าสตรีตกมุรตัด อิสลามได้กำหนดบทลงโทษแก่พวกนางในสถานเบากว่า[10] นั่นหมายความว่า ถ้าสตรีตกมุรตัด ไม่ว่าจะเป็นฟิฏรียฺหรือมิลลี จะไม่ถูกประหารชีวิต ทว่าจะให้นางกลับตัวกลับใจแทน (เตาบะฮฺ ถ้าหากได้วิงวอนขออภัยโทษ จะปล่อยให้นางเป็นอิสระ มิเช่นนั้นแล้วนางจะถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิต และเมื่อถึงเวลานะมาซนางจะถูกเฆี่ยนตี และจะให้ดำเนินชีวิตอย่างยากลำบาก[11]

ต้องพิจารณาว่า ในทัศนะอิสลามมนุษย์ทั้งหมด (บุรุษและสตรี) ถูกสร้างขึ้นมาเหมือนกัน : «خلقکم من نفس واحدة»[12] ข้าได้สร้างพวกเจ้าขึ้นมาจากอินทรียฺเดียวกัน ดังนั้น จึงไม่มีใครดีกว่าใคร แต่อิสลามได้ตั้งเกณฑ์วัดมาตรฐานความดีกว่ากันเอาไว้นั้นคือ ตักวาความสำรวมตนต่อพระเจ้า อัลกุรอานกล่าวว่า : «ان اکرمکم عندالله اتقاکم» ผู้ที่ประเสริฐกว่าในหมู่พวกเจ้าคือผู้มีตักวา[13]

แต่อย่างไรก็ตามทั้งบุรุษและสตรี แต่ละคนจะมีคุณลักษณะที่ต่างกันออกไป ทั้งสองจะมีความพิเศษด้านจิตวิญญาณ จิตวิทยา สรีระอันเฉพาะ ซึ่งจะทำให้เขาบางคนดีกว่าบางคน เช่น เราทุกตนต่างทราบกันดีว่า สตรี ในแง่ของจิตใจและทางจิตวิทยาแล้ว จะเห็นว่าเป็นผู้ที่มีจิตใจเปี่ยมไปด้วยความรักและความสงสาร มีความรู้สึกอ่อนไหวเมื่อเทียบกับบุรุษ บางทีอาจกล่าวได้ว่า ในรายงานของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่ว่า "المرأة ریحانة و لیست بقهرمانة" สตรีคือดอกไม้ ไม่ใช่วีรบุรุษ”[14] คำพูดได้กล่าวนี้ได้โอบอุ้มความจริงที่กำลังกล่าวถึง

ประเด็นดังกล่าวนี้ เป็นความจริงซึ่งบรรดานักค้นคว้าวิจัยทั้งหลาย ต่างได้ยืนยันถึงความจริงดังกล่าว

หนึ่ง นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกากล่าวว่า : “โลกของบุรุษและโลกของสตรีมีความแตกต่างกันโดยแท้ ...นอกจากนั้นแล้วความรู้สึกของทั้งสอง จะไม่มีวันเหมือนกันเด็ดขาด”

“คลีโอ เดลสัน” กล่าวว่า : ในฐานะของสตรีที่เป็นนักจิตวิทยาคนหนึ่ง สิ่งที่เป็นความหวังสูงสุดที่อยากจะทำคือ การศึกษาชีวิตจิตใจของบุรุษ ..ซึ่งฉันได้บทสรุปว่า สุภาพสตรีทั้งหลาย (ส่วนใหญ่) จะทำตามความรู้สึก ส่วนสุภาพบุรุษนั้นจะทำตาม การตัดสินใจของปัญญา ซึ่งเราได้เห็นอยู่อย่างดาษดื่นว่า สุภาพสตรีส่วนใหญ่ในแง่ของ สติปัญญาและความฉลาดแล้ว มิใช่ว่าจะไม่เท่าเทียมกับบุรุษเพียงอย่างเดียว ทว่าพวกเธอยังด้อยกว่าด้วยซ้ำ ภารกิจต่างๆ ที่ต้องอาศัยการคบคิดอยู่ตลอดเวลา จะทำให้สตรีรู้สึกเหนื่อยหน่ายและเกียจคร้านขึ้นทันที

“อ๊อตโตไคล” สุภาพสตรีทั้งหลาย โดยทั่วไปแล้วจะมีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่าสุภาพบุรุษ

“มุฮัมมัด กุฎบฺ” ถ้าหากสตรีต้องการเป็นมารดา ต้องมีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่านี้”[15]

ด้วยเหตุนี้เอง (บทบัญญัติ) ถ้าได้กำหนดขึ้นโดยไม่ได้พิจารณาถึงโครงสร้างของความแตกต่าง ก็จะได้เพียงกฎหมายที่ใช้ปกครองสังคมเพียงอย่างเดียว แต่จะไม่สามารถเติมเต็มความถูกต้องที่สังคมควรจะเป็นได้ จากจุดนี้เองบางที่หน้าที่และบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับบุรุษ และสตรี เช่น กฎการตกมุรตัด จึงต้องแตกต่างกัน

ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า “สตรีทั้งหลายในแง่ของการป้องกัน และการคิดนั้นจะแตกต่างกับบุรุษ และสตรีจะได้รับผลกระทบเร็วกว่า ดังเช่นเรื่อง การตกมุรตัด อิสลามจึงได้วางกฎเกณฑ์เบาและง่ายกว่าสำหรับสตรี [16]

ความรู้ของมนุษย์เป็นเพียงสิ่งน้อยนิด ดังคำกล่าวของ วิลเลี่ยม เจมส์ ที่ว่า ความรู้ของมนุษย์เมื่อเทียบกับสิ่งที่เขาไม่รู้ ประหนึ่งหยดน้ำเล็กๆ เมื่อเทียบกับมหาสมุทร[17] ไอน์สไต ตีความว่า ตราบจนถึงปัจจุบันนี้สิ่งที่มนุษย์ได้อ่านจากหน้าธรรมชาตินั้น เพิ่งจะรู้จักภาษาเท่านั้นเอง[18]

ดังนั้น สติปัญญาของมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ถึงเกณฑ์ (ดีและชั่ว) และไม่เข้าใจบทบัญญัติว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น สิ่งที่อยู่ในฐานะของปรัชญาของบทบัญญัติบางอย่างเช่น (บทบัญญัตมุรตัด) ดังอธิบายไปแล้วนั้น ถ้าหากไม่พึงโองการ หรือคำอธิบายของอิมามมะอฺซูม (อ.) แล้ว เราจะไม่มีวันเข้าใจถึง วิทยปัญญา ของบัญญัติข้อนั้นเด็ดขาด ซึ่งจะเข้าใจได้ก็แค่เพียง ระดับของการคาดเดาเอาเท่านั้นเอง ท่านอิมามอะลี ซัยนุลอาบิดีน (อ.) กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “

«انّ دین الله لا یصاب بالعقول الناقصة» ศาสนาของพรเจ้านั้น ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยสติปัญญาที่บกพร่อง”[19] ดังคำกล่าวของ

ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก

1.คำถามที่ 17843 (ไซต์ : th17492) หัวข้อ สตรีในอิสลาม

2.คำถามที่ 267 (ไซต์ : 1881) หัวข้อ อัลกุรอานและการยืนหยัดของบุรุษและสตรี

3.คำถามที่ 23221 (ไซต์ : fa1027) หัวข้อ การประหารชีวิตมุรตัดฟิฏรียฺ

4.คำถามที่ 53 (ไซต์ : 289) หัวข้อ เสรีภาพทางความเชื่อกับการประหารชีวิตมุรในอิสลาม

 


[1]ซีดีวิชาการโพรซิมอน

[2] เซรอมมี, ซัยฟุลลอฮฺ, อะฮฺกามมุรตัด อัชดีดเฆาะฮฺ อิสลาม วะ ฮุกูกบะชัด, หน้า 255.

[3] โกรบอนนี ซัยนุลอาบิดีน, อิสลาม วะ ฮุกูกบะชัร, หน้า 480.

[4] บทเตาบะฮฺ, 6

[5] อิบนุ อะซีร, อะซะดุลฆอบะฮฺ, เล่ม 3, หน้า 22, คัดลอกมาจาก อิลามวะฮุกูกบะชัร หน้า 481

[6] ซีดีวิชาการโพรซิมอน

[7] อาลิอิมรอน, 72.

[8] เซรอมมี, ซัยฟุลลอฮฺ, อะฮฺกามมุรตัด อัชดีดเฆาะฮฺ อิสลาม วะ ฮุกูกบะชัด, หน้า 281.

[9] โกรบอนนี ซัยนุลอาบิดีน, อิสลาม วะ ฮุกูกบะชัร, หน้า 484.

[10] อ้างแล้ว, หน้า 484.

[11] อิมามโคมัยนี้,ตะรีรุลวะซีละฮฺ, เล่ม 2, กิตาบฮุดูด, หน้า 445.

[12] บทนิซาอฺ,1.

[13] บทฮุจญฺรอต, 13.

[14] กุลัยนียฺ, กาฟียฺ, เล่ม 5, หน้า 510.

[15] อิสลาม ฮุกูก บะชัร

[16] อ้างแล้ว, หน้า 484.

[17] อิสลาม ฮุกูก บะชัร, หน้า 82-92.

[18] อ้างแล้ว

[19] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 2, หน้า 303.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • บุคคลย้ำคิดย้ำทำที่ได้รับการอนุโลม ถามว่าได้รับการอนุโลมข้อสงสัยทุกประเภทหรือไม่?
    10919 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/18
    ตามหลัก “لاشکّلکثیرالشک”แล้ว ผู้ที่ชอบย้ำคิดย้ำทำ(ช่างสงสัย) ไม่ควรให้ความสำคัญแก่การสงสัยของตน อุละมาส่วนใหญ่เชื่อว่าหลักการนี้มิได้จำกัดเฉพาะกรณีการนมาซเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอะมั้ลที่กระทำก่อนนมาซ อาทิเช่น การอาบน้ำนมาซ, ฆุสุลและตะยัมมุม, อีกทั้งรวมไปถึงชุดอิบาดะฮ์อย่างเช่นการทำฮัจย์ และครอบคลุมถึงการทำธุรกรรม และประเด็นความศรัทธาด้วย อุละมายกหลักฐานสนับสนุนทัศนะของตนอันได้แก่ หลักการ لا
  • ช่วงก่อนจะสิ้นลม การกล่าวว่า “อัชฮะดุอันนะ อาลียัน วะลียุลลอฮ์” ถือเป็นวาญิบหรือไม่?
    8217 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิตคนเราคือช่วงที่เขากำลังจะสิ้นใจ เรียกกันว่าช่วง“อิฮ์ติฎ้อร” โดยปกติแล้วคนที่กำลังอยู่ในช่วงเวลานี้จะไม่สามารถพูดคุยหรือกล่าวอะไรได้ บรรดามัรญะอ์กล่าวถึงช่วงเวลานี้ว่า “เป็นมุสตะฮับที่จะต้องช่วยให้ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจกล่าวชะฮาดะตัยน์และยอมรับสถานะของสิบสองอิมาม(อ.) ตลอดจนหลักความเชื่อที่ถูกต้องอื่นๆ”[1] ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า “การกล่าวชะฮาดะฮ์ตัยน์และการเปล่งคำยอมรับสถานะของสิบสองอิมามถือเป็นกิจที่เหมาะสำหรับผู้ที่ใกล้จะสิ้นใจ แต่ไม่ถือเป็นวาญิบ” [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมาม อัลโคมัยนี (พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1, หน้า 312 ...
  • ท่านนบีเคยกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งศาสนทูตของตน และตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีในอะซานหรือไม่?
    8053 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/06/22
    จากการที่คำถามข้างต้นมีคำถามปลีกย่อยอยู่สองประเด็นเราจึงขอแยกตอบเป็นสองส่วนดังนี้1. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งของตนในอะซานหรือไม่?จากการศึกษาฮะดีษต่างๆพบว่าท่านนบีกล่าวยืนยันถึงสถานภาพความเป็นศาสนทูตของตนอย่างแน่นอนทั้งนี้ก็เพราะท่านนบีก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามศาสนกิจเฉกเช่นคนอื่นๆนอกเสียจากว่าจะมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าท่านนบีได้รับการอนุโลมให้สามารถงดปฏิบัติตามบทบัญญัติใดบ้าง อย่างไรก็ดีไม่มีหลักฐานยืนยันว่าท่านได้รับการอนุโลมไม่ต้องเปล่งคำปฏิญาณดังกล่าวในอะซานในทางตรงกันข้ามมีหลักฐานยืนยันมากมายว่าท่านเปล่งคำปฏิญาณถึงเอกานุภาพของอัลลอฮ์และความเป็นศาสนทูตของตัวท่านเองอย่างชัดเจนและแน่นอน.2. ท่านนบีกล่าวปฏิญาณถึงตำแหน่งผู้นำของอิมามอลีหรือไม่?ต้องยอมรับว่าเราไม่พบหลักฐานที่บ่งชี้ชัดเจนว่าท่านเคยกล่าวปฏิญาณดังกล่าวนอกจากนี้ในสำนวนฮะดีษต่างๆจากบรรดาอิมามที่ระบุเกี่ยวกับบทอะซานก็ไม่ปรากฏคำปฏิญาณที่สาม(เกี่ยวกับวิลายะฮ์ของอิมามอลี)แต่อย่างใดอย่างไรก็ดีเรามีฮะดีษมากมายที่ระบุถึงผลบุญอันมหาศาลของการเอ่ยนามท่านอิมามอลี(อ)ต่อจากนามของท่านนบี(ซ.ล)(โดยทั่วไปไม่เจาะจงเรื่องอะซาน) ด้วยเหตุนี้เองที่อุละมาอ์ชีอะฮ์ล้วนฟัตวาพ้องกันว่าสามารถกล่าวปฏิญาณดังกล่าวด้วยเหนียต(เจตนา)เพื่อหวังผลบุญมิไช่กล่าวโดยเหนียตว่าเป็นส่วนหนึ่งของอะซานทั้งนี้ก็เนื่องจากมีข้อสันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวมิได้เป็นส่วนหนึ่งของอะซานอันถือเป็นศาสนกิจประเภทหนึ่ง. ...
  • ตามทัศนะของอัลกุรอาน, มนุษย์คือสิ่งมีอยู่ที่โง่เขลากดขี่,หรือว่าเป็นเคาะลีฟะตุลลอฮฺ?
    9518 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    1.ด้านหนึ่งอัลกุรอานได้ให้นิยามเกี่ยวกับตำแหน่งและฐานะภาพอันสูงส่งของมนุษย์เอาไว้, และอีกด้านหนึ่งโองการจำนวนมาก,ได้กล่าวประณามและดูหมิ่นมนุษย์เอาไว้เช่นกัน.2.การเคลื่อนไหวของมนุษย์มี 2 ลักษณะกล่าวคือ เคลื่อนไปสู่ความสูงส่งและความตกต่ำอย่างสุดโต่ง ชนิดที่ไม่มีขอบเขตจำกัดหรือมีพรมแดนแต่อย่างใด และสิ่งนี้สืบเนื่องมาจากศักยภาพอันสูงส่งในแง่ต่างๆ ของมนุษย์นั่นเอง3.มนุษย์คือสรรพสิ่งหนึ่งที่มี 2 องค์ประกอบสำคัญได้แก่, องค์ประกอบด้านจิตวิญญาณและกายภาพหรือสภาวะของความเป็นเดรัจฉาน4.มนุษย์แตกต่างไปจากสรรพสิ่งอื่น, เนื่องมนุษย์ใช้ประโยชน์จากความต้องการและเจตนารมณ์เสรี ขณะที่แนวทางการดำเนินชีวิตของเขาได้เลือกสรรไปตามพื้นฐานที่ได้ถูกวางและสะสมเอาไว้5.สำหรับบุคคลที่ได้เข้าถึงตำแหน่งเคาะลีฟะตุลลอฮฺ เขาก็จะได้รับการชี้นำจากอัลลอฮฺ และสามารถควบคุมอำนาจฝ่ายต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจแห่งความเป็นเดรัจฉานไว้ได้อย่างมั่นคง ...
  • ความตายจะเกิดขึ้นในสวรรค์หรือนรกหรือไม่?
    7320 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/15
    โองการกุรอานฮะดีษและเหตุผลเชิงสติปัญญาพิสูจน์แล้วว่าหลังจากที่มนุษย์ขึ้นสวรรค์และลงนรกแล้วความตายจะไม่มีความหมายอีกต่อไป กุรอานขนานนามวันกิยามะฮ์ว่า “เยามุ้ลคุลู้ด”(วันอันเป็นนิรันดร์) และยังกล่าวถึงคุณลักษณะของชาวสวรรค์ว่า “คอลิดีน”(คงกระพัน) ส่วนฮะดีษก็ระบุว่าจะมีสุรเสียงปรารภกับชาวสวรรค์และชาวนรกว่า “สูเจ้าเป็นอมตะและจะไม่มีความตายอีกต่อไป(یا اهل الجنه خلود فلاموت و یا اهل النار خلود فلا ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9315 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • การลงจากสวรรค์ของอาดัมหมายถึงอะไร?
    9381 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/22
    คำว่า “ฮุบูต” หมายถึงการลงมาด้านล่างจากที่สูง (นุซูล) ตรงกันข้ามกับคำว่า สุอูด (ขึ้นด้านบน), บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่าหมายถึงการปรากฏในที่หนึ่งการวิพากถึงการลงมาของศาสดาอาดัม และความหมายของการลงมานั้น อันดับแรกขึ้นอยู่กับว่า สวรรค์ที่ศาสดาอาดัมอยู่ในตอนนั้นเราจะตีความกันว่าอย่างไร? สวรรค์นั้นเป็นสวรรค์บนโลกหรือว่าสวรรค์ในปรโลก? สิ่งที่แน่ชัดคือมิใช่สวรรค์อมตะนิรันดร์, ดังนั้นการลงมาของศาสดาอาดัม, จึงเป็นการลงมาในฐานะของฐานันดร, กล่าวคือวัตถุประสงค์ของอาดัมที่ลงจากสวรรค์, หมายถึงการขับออกจากสวรรค์ การกีดกันจากการใช้ชีวิตในสวรรค์ (สวรรค์บนพื้นโลก) การใช้ชีวิตบนพื้นโลก การดำเนินชีวิตไปพร้อมกับการเผชิญกับความยากลำบาก ดังที่อัลกุรอานหลายโองการได้กล่าวถึงไว้ ...
  • มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(อ.)ระบุว่า “การก่อสงครามกับรัฐทุกครั้งที่เกิดขึ้นก่อนการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี จะเป็นเหตุให้บรรดาอิมามและชีอะฮ์ต้องเดือดร้อนและเศร้าใจ” เราจะชี้แจงการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านอย่างไร?
    7814 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ต้องเรียนชี้แจงดังต่อไปนี้:หนึ่ง: เป็นไปได้ว่าฮะดีษประเภทนี้อาจจะเกิดจากการตะกียะฮ์หรือเกิดจากสถานการณ์ล่อแหลมในยุคที่การจับดาบขึ้นสู้มิได้มีผลดีใดๆอนึ่งยังมีฮะดีษหลายบทที่อิมามให้การสนับสนุนการต่อสู้บางกรณีสอง: ฮะดีษที่คุณยกมานั้นกล่าวถึงกรณีการปฏิวัติโค่นอำนาจด้วยการนองเลือดแต่ไม่ได้ห้ามมิให้เคลื่อนไหวปรับปรุงสังคมเพราะหากศึกษาประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าบรรดาอิมามเองก็ปฏิบัติตามแนววิธีดังกล่าวเช่นกันหากพิจารณาถึงแนววิธีในการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านกอปรกับแนวคิดของผู้นำการปฏิวัติก็จะทราบทันทีว่าการปฏิวัติดังกล่าวมิไช่การปฏิวัติด้วยการนองเลือดและผู้นำปฏิวัติก็ไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว สรุปได้ว่าการปฏิวัติอิสลามมิได้ขัดต่อเนื้อหาของฮะดีษประเภทดังกล่าวแต่อย่างใด ...
  • ท่านอิมามฮุซัยนฺและเหล่าสหายในวันอาชูทั้งที่มีน้ำอยู่เพียงน้อยนิด และฆุซลฺได้อย่างไร?
    6085 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/11/21
    การพิจารณาและวิเคราะห์รายงานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความกระหายของเหล่าสหายและบรรดาอธฮฺลุลบัยตฺของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และรายงานที่กล่าวถึงการฆุซลฺ (อาบน้ำตามหลักการ
  • ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
    8846 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆแล้วจะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบันซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมาซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคนตามความเชื่อความประพฤติ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60416 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57983 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42514 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39810 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39166 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34274 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28324 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28248 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28185 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26124 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...