การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7710
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/15
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
คำถาม
มนุษย์สามารถเป็นบ่าวได้เฉพาะแต่อัลลอฮฺเท่านั้น พระองค์ตรัสว่า : »จงนมัสการเฉพาะอัลลอฮฺเท่านั้น« แล้วเป็นเพราะสาเหตุใด ชีอะฮฺจึงตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) อับดุซซะฮฺรอ อับดุลอิมาม และ...? ทำไมบรรดาอิมามจึงตั้งชื่อบุตรว่า อับดุลอะลี อับดุซซะฮฺรอ? ถูกต้องแล้วหรือหลังจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ชะฮีดไปแล้ว และเราได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า อับดุลฮุซัยนฺ หมายถึงคนรับใช้ของฮุซัยนฺ ซึ่งคำว่า คอดิม หมายถึงคนจัดเตรียมนำน้ำและอาหาร และรับใช้ และสิ่งนี้เข้ากับสติปัญญาหรือที่ว่า บุคคลหนึ่งได้นำเอาน้ำและอาหารไปให้ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) แล้วน้ำทำวุฏูอฺได้ถูกเตรียมไว้สำหรับเขาในหลุมฝังศพ เพื่อจะได้กล่าวว่า เขาคือคนรับใช้ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)?
คำตอบโดยสังเขป

1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ

2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ

3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ

4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, เนื่องจากการตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ ในความหมายว่า ภักดีคือเป็นบ่าวทาสรับใช้ ส่อไปในทางของการตั้งภาคีย่อมได้รับความโกรธกริ้วจากอัลลอฮฺ แน่นอน

5.ชื่อเหล่านี้มิได้มีกล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์แต่อย่างใด นอกจากนั้นคำแนะนำของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ ได้แนะนำให้ตั้งชือว่า อะลี ฮะซัน และฮุซัยนฺ มุฮัมมัด หรืออับดุรเราะฮฺมานมากกว่า

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ[1] (ในอีกที่หนึ่งคำว่า อาบิด หมายถึงผู้รับใช้) ตามหลักภาษาอาหรับแล้ว ความหมายทั้งสองนี้ ถือเป็นความหมายที่ดีและได้รับการยอมรับ เช่น อัลกุรอาน ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับการใช้ภาษาอาหรับ ซึ่งได้ใช้ทั้งสองความหมาย

ก. ความหมายแรก: «یا ایها الناس اعبدوا ربکم الذی خلقکم...»[2]

หรือโองการกล่าวว่า [3]«قال انی عبدالله آتانی الکتاب...»

ทั้งสองโองการนี้จะสังเกตเห็นว่า อัลลอฮฺทรงถือว่าการแสดงความเคารพภักดี คู่ควรและเหมาะสมเฉพาะพระองค์เท่านั้น

ข. ความหมายที่สอง : « ضرب الله مثلاً عبداً مملوکاً لایقدر علی شیء...»[4]

โองการนี้กล่าวถึงความอ่อนแอของเทวรูปเมื่ออยู่ต่ออำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระผู้อภิบาล โดยเปรียบเทียบว่า บ่าวของข้าที่ไร้ความสามารถและอ่อนแอเมื่ออยู่ต่อหน้าบุรุษที่มีอิสระ ซึ่งมากด้วยทรัพย์สิน และเขาได้บริจาคแก่คนยากจน

ความสูงส่งและความมีเกียรติยิ่งของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) เป็นสาเหตุสำคัญทำให้บรรดามุสลิม (ชีอะฮฺ) มีความปิติและยกย่องในความสูงศักดิ์ของท่านเหล่านั้น พวกเขาจึงแสดงออกด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความรัก และความผูกพันของพวกเขาที่มีต่อบรรดาอิมาม ดังนั้น การตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ และ ...หรือตั้งตามภาษาฟาร์ซียฺว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามริฎอ และ... ก็เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความรักและความผูกพันที่มีต่อครอบครัวของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้สะอาดบริสุทธิ์ทั้งหลาย

แต่สำหรับคำตอบที่ว่า ภายหลังจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ชะฮีดแล้ว มีวัตถุประสงค์อะไรในการตั้งชื่อว่า อับดุลฮุซัยนฺ ขอตอบว่า : หนึ่งเนื่องจากการับใช้และการบริการหรือการยอมตนเป็นบ่าวของบรรดาอิมามมะอฺซูม มิได้เป็นความจำเป็นสำหรับโลกนี้, ทว่าการรำลึกถึงท่านเหล่านั้น การให้เกียรติ การยึดมั่นอยู่กับแนวทางหรือแบบอย่างของท่าน, กี่มากน้อยแล้วที่มีผู้รับใช้อิมามต่างกาลเวลา มีเกียรติและมีความประเสริฐยิ่งกว่าบ่าว ที่รับใช้ชีวิตทางโลกในยุคสมัยที่ท่านอิมามมีชีวิตอยู่เสียด้วยซ้ำไป. สอง การเป็นชะฮีดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) เฉพาะร่างกายเท่านั้นที่สูญสิ้นไป, แต่จิตวิญญาณอันสูงส่งของท่านยังมีชีวิตอยู่เสมอ ดังที่เราได้อ่านในบทซิยาเราะฮฺบรรดาอะอิมมะฮฺผู้บริสุทธิ์ว่า

«و اشهد انک تسمع کلامی و ترد سلامی» หมายถึงท่านได้ยินเสียงอ่านของเรา และตอบรับสลามของเรา[5] ดังนั้น ผู้เป็นนายของพวกเขายังมีชีวิตอยู่เสมอ แม้จะไม่มีกายแต่มิได้ตายจากไปไหน เพื่อว่าบ่าวเหล่านี้จะได้ถอดถอนมือออกจากพวกเขา, ทว่าพวกเขายังมีชีวิตอยู่ ท่านเหล่านั้นมองเห็นและล่วงรู้ถึงการกระทำของเราตลอดเวลา. สาม การรับใช้ของบุคคลหนึ่งที่มีต่อแขกผู้มาเยี่ยมเยือนสถานฝังศพของบรรดาอิมาม ไม่มีความแตกต่างกันไม่ว่าอิมามจะจากไปแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม ฉะนั้น บุคคลที่ได้รับใช้บรรดาผู้มาเยี่ยมเยือนสถานฝังศพบรรดาอิมามในทุกรูปแบบ ผู้รับใช้นั้นก็จะเป็นบ่าวหรือคนรับใช้ของท่านอิมามเสมอไป

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ คำว่า อุบูดียะฮฺ หมายถึงการแสดงความเคารพภักดี, การแสดงความนอบน้อมถ่อมตน และการเชือ่ฟังปฏิบัติตาม ต่อผู้เป็นนายหรือผู้มีกรรมสิทธิ์เหนือเรา, นั่นคือ อัลลอฮฺพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย และแผ่นดิน ดั่งที่กล่าวไว้ในโองการแรกว่า (โอ้ บรรดาปวงมนุษย์เอ๋ย) ด้วยเหตุนี้ จะพบว่าปรัชญาของการแสดงความเคารพภักดีคือ บุคคลนั้น ต้องมีความคู่ควร เหมาะสม เพราะอิบาดะฮฺนั้นเป็นอมัลเฉพาะเจาะจงสำหรับบุคคลผู้ซึ่ง หนึ่ง ได้สร้างเรามา, สอง อบรมสั่งสอนและให้การเลี้ยงดูเรา, ดังนั้น ถ้าหากวัตถุประสงค์ของบุคคลในการตั้งชื่อตามที่กล่าวมาในความหมายแรกของ อับดฺ (การแสดงความภักดี) ถือว่าออกนอกอิสลามและความศรัทธา และเป็นชิริก

ด้วยเหตุนี้เอง ในสังคมที่คาดว่าจะมีการใส่ร้ายหรือคิดไปในแง่ไม่ดี บรรดาอิมาม (อ.) จึงได้แนะนำชื่อที่ดีกว่าไว้เป็นจำนวนมาก เช่น รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : »กล่าวกับผู้รายงานว่า เธอจงตั้งชื่อบุตรหลานของเธอเมื่อฟังแล้วบ่งบอกให้เห็นว่าเขาเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ เช่น อับดุรเราะฮฺมาน«[6] ทำนองเดียวกันรายงานกล่าวว่า ท่านได้แนะนำให้ตั้งชื่อบุตรว่า “มุฮัมมัด”[7] หรือเป็นที่ทราบกันดีท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ตั้งชื่อบุตรชายทั้งสามคนของท่านว่า “อะลี”[8]

เมื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์ และหนังสือริญาลเข้าใจได้กว่า นามชื่อเช่น อับดุลอะอฺลา อับดุลมะญีด อัลดุสสลาม และ..ได้รับการแนะนำไว้อย่างมาก[9] ส่วนนามชื่อ เช่น อับดุลฮุซัยนฺ หรือนามที่คล้ายคลึงกันนี้ในสมัยก่อนมิได้รับความนิยมมากเท่าใดนัก, และมิเคยปรากฏในหนังสือริญาลแต่อย่างใด, แต่หลังจากทั้งหมดได้ทราบถึงเกียรติยศ และฐานันดรอันสูงศักดิ์ของบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) และเมื่อสังคมมีความเสรีในด้านการอภิปราย และบรรยายสาระของศาสนา ประชาชนจึงมีความประสงค์ที่เผยความรัก และความผูกพันของตนที่มีต่อบรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานของตนตามชื่อของบรรดาอิมามเหล่านั้น

สรุป :

สิ่งที่สามารถสรุปได้ตรงนี้คือ นามชื่อเช่น อับดุลริฎอ อับดุลอะลี และ ..เป็นการเผยให้เห็นถึงความรักและความเตรียมพร้อมการรับใช้บรรดาอิมาม, เป็นการประกาศว่าทุกย่างก้าวจะเจริญรอยตามบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แม้ว่าท่านเหล่านั้นจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม และถ้านามชื่อเหล่านั้นได้ถูกตั้งขึ้นในที่ๆ ซึ่งไม่เกรงว่าจะนำไปสู่ชิริกแล้ว ถือว่าไม่เป็นไร, แม้ว่าจะสามารถเลือกนามชื่อที่ดีกว่าซึ่งได้รับการแนะนำจากบรรดาอิมามไว้ก็ตาม แต่ถ้าไม่ต้องการตกเป็นเป้าโจมตีของผู้ที่ชอบหาข้ออ้าง หรือข้อตำหนิแล้วละก็ดีกว่าให้หลีกเลี่ยงนามชื่อเหล่านี้

 

 


[1] ความหมายแรก «ان العامة اجتمعوا علی تفرقه مابین عبادالله والعبید المملوکین» มะกอยีซ อัลลุเฆาะฮฺ, เล่ม 4, หน้า 205.

[2]»โอ้ มนุษย์เอ๋ย จงเคารพภักดีพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า ผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้า« บทบะเกาะเราะฮฺ, 21

[3]» กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ« บทมัรยัม, 30.

[4]»อัลลอฮฺทรงยกอุทาหรณ์ถึงบ่าวผู้เป็นทาสคนหนึ่ง ซึ่งไม่มีอำนาจในสิ่งใด« บทอันนะฮฺลุ, 75.

[5] ซิยาเราะฮฺอิมามริฎอ (อ.) มะฟาตีฮุลญินาน.

[6] วะซาอิล อัชชีอะฮฺ, เล่ม 7, หน้า 125.

[7] อ้างแล้วเล่มเดิม

[8] อะลีอักบัร, อะลีเอาซัต, และอะลีอัซฆัร.

[9] มุอฺญิมษะกอต, เล่ม 9, หน้า 255-356, เล่ม 10 และ 11

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7360 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7508 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    10155 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5350 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5365 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9265 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4701 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6811 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60074 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42157 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39251 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33960 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27896 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27720 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25733 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...