Please Wait
11940
ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง
ประเด็นของคำถามสามารถพิจารณาได้หลายกรณีดังนี้
1.การสาปแช่ง,การปฏิเสธ,การประณาม, อย่างไม่ถูกต้องเหมาะแก่คนอื่น ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่สมควรได้รับความสาปแช่งแม้แต่น้อย แน่นอน เป็นเรื่องธรรมดาที่การกระทำเหล่านี้ ตามคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า และตามหลักการของศาสนาอิสลาม ย่อมได้รับการห้ามปราม และมีบทลงโทษสำหรับปรโลกไว้ด้วย ปัญหาดังกล่าวนี้มิใช่เพียงแค่คำสอน และหลักการของศาสนาจะห้ามไว้เท่านั้น ทว่ายังไม่เป็นที่ยอมรับของวิทยปัญญา ซึ่งกฎทั่วไปของสังคมมนุษย์ ที่มิได้มาจากพระเจ้าก็ไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้น โดยไม่อนุญาตให้มนุษย์ล่วงละเมิดสิทธิของปัจเจกชน หรือล่วงละเมิดสิทธิทางสังคม แน่นอน ผู้ฝ่าฝืนกระทำเช่นนั้น จะต้องได้รับการลงโทษด้านกฎหมาย
2. หลักคำสอนของศาสนาอิสลามสอนเราว่า มนุษย์ที่มีศรัทธาทั้งหลาย, เขาจะไม่พูดจากไร้สาระ หรือพูดตามใจปากอันก่อให้เกิดความผิด และบาปกรรม และเขาจะไม่ทำลายสิทธิของผู้อื่น หรือแม้แต่คำพูด หรือคำปราศรัยที่นอกจากจะไม่เป็นบาป หรือไม่มีผลเสียในเชิงลบ หรือที่กล่าวด้วยสำนวนว่าคำพูดไร้สาระ เขาก็จะไม่พูด อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : แน่นอน ผู้ศรัทธาที่แท้จริง เขาจะไม่กระทำสิ่งไร้สาระเด็ดขาด[1]โองการนี้สาธยายว่า, ตามความเป็นจริงแล้วมุอฺมิน ได้ถูกฟูมฟักขึ้นมาในลักษณะที่ว่า นอกจากจะไม่คิดสิ่งที่เป็นโมฆะ ไม่พูดสิ่งไร้สาระ ไม่กระทำงานที่ไม่มีประโยชน์แล้ว, ทว่าตามนิยามของอัลกุรอาน เขาจะออกห่างจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด, แล้วจะนับประสาอะไรกับการที่เขาจะสาปแช่งคนอื่นอย่างไม่ถูกต้อง หรือปฏิเสธ หรือประณามคนอื่น
3. ตามคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามการกระทำต่างๆ เหล่านี้แล้ว, ยังมีรายงานจากบรรดาอิมามผู้นำอีกด้วย โดยกล่าวว่า : ถ้าหากผู้ใดได้สาปแช่งคนอื่น ทั้งที่ผู้นั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่ง คำสาปแช่งนั้นจะกลับไปหาตนเอง :
"وَ عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ لَعَنَ رَجُلٌ الرِّيحَ عِنْدَ رَسُولِ اللَّهِ (ص) فَقَالَ لَا تَلْعَنِ الرِّيحَ فَإِنَّهَا مَأْمُورَةٌ وَ إِنَّهُ مَنْ لَعَنَ شَيْئاً لَيْسَ لَهُ بِأَهْلٍ رَجَعَتِ اللَّعْنَةُ عَلَيْهِ"؛
“ชายคนหนึ่งอยู่กับเราะซูล (ซ็อล ฯ) เขาได้สาปแช่งลม, ท่านเราะซูลกล่าวว่า จงอย่าสาปแช่งลม, เนื่องจากลมนั้นได้รับมอบหมายหน้าที่มาจากอัลลอฮฺ เหมือนกับบุคคลที่ได้สาปแช่งคนอื่น ทั้งที่เขาไม่สมควรได้รับคำสาปแช่ง คำสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง”[2]
รายงานดังกล่าวพบว่า, ลมได้รับการสาปแช่งทั้งที่ไม่สมควรถูกสาปแช่ง, มิใช่ว่ามนุษย์นั้นจะมีเกียรติและได้รับการเคารพ เหมือนเกียรติยศของกะอฺบะฮฺ สิ่งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า มนุษย์ต้องระมัดระวังความประพฤติและคำพูดของตน จงอย่ากระทำสิ่งใดโดยปราศจากเหตุผลทางชัรอียฺ หรือตัดสินผู้โดยปราศจากเหตุผลเช่นกัน
4. ประเด็นที่จำเป็นต้องกล่าวตรงนี้คือ การสาปแช่งบุคคลที่กลั่นแกล้งบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ, ถือว่าอนุญาตและเป็นความดีงามด้วยซ้ำไป, แต่สิ่งที่กล่าวมานั้น, กับคำถามที่ได้ถามมาเกี่ยวกับบุคคลที่ได้สาปแช่งคนอื่น อย่างไม่ถูกต้อง หรือปฏิเสธคนอื่น หรือนำเอาบุคลิกภาพ หรือสิทธิส่วนตัวของบุคคลมาทำลาย, มิใช่บุคคลที่กลั่นแกล้งเราะซูล หรือหมู่มิตรของพระเจ้า ซึ่งบุคคลเหล่านั้นย่อมได้รับการสาปแช่งจากอัลลอฮฺ และผู้สาปแช่งทั้งหลาย : “แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังหลักฐานอันชัดเจน และการชี้นำอันถูกต้องที่เราได้ให้ลงมา หลังจากที่เราได้ชี้แจงไว้แล้วในคัมภีร์สำหรับปวงมนุษย์ ชนเหล่านี้แหละ อัลลอฮฺ จะทรงสาปแช่งพวกเขาและผู้สาปแช่งทั้งหลายก็จะสาปแช่งพวกเขาด้วย”[3]
[1] มุอฺมิน, 3. “ตามความเป็นจริงแล้ว คำว่าไร้สาระ ดังที่นักตัฟซีรบางท่านได้อธิบายว่า : ทุกคำพูด และทุกการกระทำ ที่ไม่มีประโยชน์, มะการิม,นาซิร,ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 14, หน้า 195, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 1372 (ค.ศ.1993)
[2] กุลัยนี, กาฟียฺ, เล่ม 8, หน้า 69, ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 18420 (ค.ศ.th18021)
[3] บะเกาะเราะฮฺ, 159.