การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
14390
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/01/24
คำถามอย่างย่อ
กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
คำถาม
อัสลามุอะลัยกุม เพราะเหตุใดฝ่ายซุนนียฺจึงกล่าวว่า การถอนคิ้วของสตรีเป็นฮะรอม แม้ว่าจะถอนเพื่ออวดสามีก็ตาม การออกคำวินิจฉัยทำนองนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่? ดังนั้น ดิฉันขอคำตอบที่แข็งแรง เพื่อเป็นข้อหักล้าง ที่สำคัญถูกต้องตรงหลักการของชีอะฮฺ
คำตอบโดยสังเขป
การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น
คำตอบเชิงรายละเอียด
สตรีได้เสริมสวยเพื่ออวดสามีถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ทว่าในหลัการอิสลามถือว่เป็น มุสตะฮับด้วยซ้ำไป ในทางกลับกันสตรีที่ปล่อยปละละเลย หรือเฉยเมยเรื่องการแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าได้รับการตำหนิอย่างยิ่ง[1]คำสั่งลักษณะนี้เป็นสาเหตุทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่น แน่นอน อาจมีนักปราชญ์บางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยในเรื่องการเสริมสวยของสตรี (ตัวอย่างการถอนขนคิ้ว) นักปราชญ์กลุ่มนี้สั่งห้ามโดยเด็ดขาด (แม้แต่การเสริมสวยเพื่ออวดสามี) ซึ่งถือว่าเป็นฮะรอมด้วยเช่นกัน ซึ่งท่านเหล่านั้นได้นำหลักฐานฮะดีซบางบท มาเป็นหลักฐานในการออกทัศนะ เช่น รายงานบางบทจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) ซึ่งกล่าวว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งสตรี 8 จำพวก อันประกอบด้วย :
«نامصه، منتمصه، واشره، مستوشره، واصله، مستوصله، واشمه و مستوشمه».
ผู้รายงานกล่าวว่า:  «نامصه»หมายถึง หญิงที่ผูกขนที่หน้าเป็นปม, «منتمصه»   หมายถึง หญิงที่ถอนขนบนใบหน้าจนเกลี้ยงเกลา, «واشره»  หมายถึง หญิงนำฟันของหญิงคนอื่นไปแบ่งครึ่งแล้วเหลาจนแหลม, «مستوشره หมายถึง หญิงที่ปล่อยให้กระทำสิ่งเหล่านี้บนเธอ, «واصله»  หมายถึง หญิงที่พูดเพื่อให้นำผมของหญิงคนหนึ่ง ไปต่อกับผมของหญิงอีกคนหนึ่ง, «مستوصله»  หมายถึง หญิงที่นำผมของหญิงอื่นมาต่อกับผมของตน, «واشمه»  หมายถึง หญิ่งที่ทำใฝบนมือหรือบนใบหน้าของหญิงอื่น วิธีการทำคือจะใช้เข็มเจาะที่ฝ่ามือ หรือหลังมือของหญิงให้เป็นรูหลังจากนั้นจะนำผงเขียนตา กึ่งสีฟ้าในสมัยโบราณใส่เข้าไป จำทำให้แลดูเป็นสีฟ้าเข้มๆ, ส่วนคำว่า «مستوشمه»  หมายถึง หญิงที่สักบนร่างกาย[2]
โดยทั่วไปแล้วรายงานบทนี้ที่กล่าวถึงนั้น มิได้หมายความว่าผู้หญิงไม่มีสิทธิ์เสริมสวยเลยแม้แต่เล็กน้อย แต่เมื่อเราพิจารณาคำพูดอันทรงค่ายิ่งของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺแห่งเราะซูล (อ.) จะทำให้เข้าใจรายงานบทนี้ได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น รายงานจากท่านอิมามมุฮัมมัด บากิร (อ.) โดยเกาะรอมุลได้ถามท่านอิมามถึงเรื่องผมเทียมหรือวิค ซึ่งทำมาจากผม ขน หรือไหม แล้วสตรีได้นำไปใส่ครอบไว้บนผมของตน[3] ท่านอิมาม (อ.) ตอบว่า “ไม่เป็นไร ถ้าสตรีจะแต่งตัวเพื่ออวดสามีของตน”
ผู้รายงานกล่าวว่า ฉันกล่าวกับท่านอิมามว่า มีรายงานจากท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) มาถึงเราว่า ท่านเราะซูลได้สาปแช่งเหล่าสตรีที่เป็นทั้ง «واصله و موصوله» ผู้เชื่อมต่อ และผู้ถูกต่อเชื่อม ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า มิได้เป็นดั่งที่ท่านเข้าใจ สตรีที่ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวสาปแช่งในฐานะที่เธอเป็นสื่อ นั่นหมายถึงในช่วงวัยรุ่นเธอได้ชอบทซินา ส่วนในวัยชราเธอก็ยังเป็นแม่สื่อแม่ชัก ให้ชายหนุ่มและหญิงสาวประกอบการชั่ว[4]
อีกรายงานหนึ่ง อบี บะซีร กล่าวว่า ฉันถามท่านอิมามบากิร (อ.) เกี่ยวกับการเสริมสวยของสตรี (เช่นการถอนขนคิ้วหรือบนหน้า) เพื่ออวดสามี, ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า “ไม่มีการกระทำอันใดจากสิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งสิ้น”[5]
ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าทุกการเสริมสวยจะเป็นฮะรอมสำหรับสตรีเสมอไป ซึ่งเฉพาะการเสริมสวยที่โอ้อวดชายอื่นนอกจากสามีของตน อันเป็นสาเหตุนำเธอไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นความชั่วร้ายและเป็นบาปกรรมสำหรับสังคม ด้วยเหตุนี้ เอง บรรดานักปราชญ์อิสลาม จึงเตือนสำทับเหล่าสตรีเสมอว่า พวกเธอสามารถเสริมสวยได้แต่สำหรับสามีของเธอเท่านั้น แน่นอนว่าถ้าเธอเสริมสวยเพื่อโอ้อวดชายอื่น ถือว่าฮะรอมไม่อนุญาตให้กระทำเด็ดขาด สตรีต่างมีหน้าที่เหมือนกันคือ ต้องปิดปิดสิ่งสวยงามและเครื่องประดับ ให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[6]
มีคำพูดว่าการถอนคิ้วสำหรับสตรีทั้งหลาย โดยหลักการแล้วไม่เป็นไร[7] แต่การกระทำนี้จะถือว่าเป็นการเสริมสวยหรือไม่ และวาญิบต้องปกปิดให้พ้นจากสายตาชายอื่นหรือไม่ บรรดานักปราชญ์มีทัศนะแตกต่างกัน
1.บางท่าน[8] กล่าวว่า ถ้าเผยบางส่วนตามที่เป็นที่ยอมรับกันถือว่าอนุญาต และการปกปิดคิ้วที่ถอนให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่นถือว่า ไม่จำเป็น[9]
2.บางท่าน[10] ถือว่าการถอนคิ้วเป็นหนึ่งในการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาชายอื่น[11]
3.บางท่าน[12] ท่านเหล่านั้นถือว่าปัญหาดังกล่าวขึ้นอยู่กับสาธารณชนด้วย โดยกล่าวว่า ถ้าหากสังคมนับว่านั่นเป็นการเสริมสวย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[13]
หมายเหตุ ถ้าหากการเสริมสวยใบหน้า ทำให้เป็นที่สนใจของชายอื่น อันเป็นเหตุนำไปสู่การก่อความเสียหาย วาญิบต้องปกปิดให้รอดพ้นจากสายตาของชายอื่น[14]
 

[1] ญะอฺฟะรียาน เราะซูล,
[2]  อิบนุ บาบูวีเยะฮฺ มุฮัมมัด บิน อะลี, มะอานิลอัคบาร, หน้า 249, แก้ไขและตรวจทานโดย, ฆอฟฟารียฺ อะลีอักบัร, พิมพ์ที่ อินเตะชารอตอิสลามี, กุม, พิมพ์ครั้งแรก, ปี ฮ.ศ. 1403
[3] ญุซรียฺ อิบนุ อะษีร มุบาร็อก บิน มุฮัมมัด, อันนิฮายะฮฺ ฟี เฆาะรีบิลฮะดีซ วัลอะษะเราะ, เล่ม 4 หน้า 51, สำนักพิมพ์ อิสมาอีลลียาน, กุม, พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[4] กุลัยนียฺ มุฮัมมัด ยะอฺกูบ, อัลกาฟียฺ, ตรวจทานและแก้ไขโดย เฆาะฟารียฺ อะลี อักบัร และอาคูนวันดียฺ, มุฮัมมัด เล่ม 5, หน้า 118, หมวดที่ 119, ฮะดีซที่ 3 สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ พิมพ์ครั้งที่ 4, เตหะราน ฮ.ศ. 1407
[5] เชรโฮร อามีลียฺ มุฮัมมัด บิน ฮะซัน,วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 20, หน้า 189, ฮะดีซที่ 25390, สำนักพิมพ์ อาลัลบัยตฺ พิมพ์ครั้งแรก กุม ปี ฮ.ศ. 1409
[6] บะฮฺญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ, อิสติฟตาอาต (บะฮฺญัต) เล่ม 4, หน้า 175, คำถามที่ 5201, สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต, กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ 1428
[7] ศึกษาจากหัวข้อที่ 18717 (การเสริมสวยของเด็กสาว)
[8] มัรญิอฺตักลีด เช่น อิมาโคมัยนี ซิสตานี มะการิมชีรอซียฺ นูรีฮัมเมดานี และตับรีซียฺ
[9] อิสติฟตาอาต อายะตุลลอฮฺ ซิสตานียฺ )sistani.org (ส่วนหนึ่งของอิสติฟตาอาต คำว่า เสริมสวย หน้า 17, มะการิมชีรอซียฺ นาซิร อิสติฟตาอาตฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 351, และ 1034, สำนักพิมพ์ มัดเราะซะฮฺ อิมามอะลี บนิ อะบีฏอลิบ (อ.) กุ่ม พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี ฮ.ศ. 1427, อายะตุลลอฮฺ นูรียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 1 คำถามที่ 491, 542, อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3, หน้า 257 คำถามที่ 33, 34, สำนักพิมพ์ อินเตะชารอตอิสลามี ขึ้นกับญามิอฺมุดัรริซน กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ.1422, ตับรีซียฺ ญะวาด อิสติฟตาอาต ฉบับใหม่ เล่ม 2, หน้า 360, คำถามที่ 1490 กุม พิมพ์ครั้งแรก บีทอ
[10] อายะตุลลอฮฺ ซอฟียฺ ฆุลภัยกานียฺ
[11] อายะตุลลอฮฺ ซอฟยฺ ฆุลภัยกานียฺ
[12] อายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี ฟาฎิลลันกะรอนียฺ บะฮฺญัต และวาฮีดโครอซานียฺ
[13] ฟัตวาอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอียฺ คัดลอกมาจากหัวข้อ 598, ฟาฏิลลันกะรอนียฺ มุฮัมมัด ญามิอุลมะซาอิล เล่ม 1, หน้า 451, คำถามที่ 1708, อินเตะชารอต อะมีร กะลัม กุม พิมพ์ครั้งที่ 11, บีทอ, บะญัต มุฮัมมัด ตะกียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 4, หน้า 208 คำถามที่ 534 สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ บะฮฺญัต กุม พิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1428, อิสติฟตาอาต สำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ วะฮีด โคราซานนียฺ
[14] อิมามโคมัยนี ซัยยิดรูฮุลลอฮฺ อัลมูซาวียฺ อิสติฟตาอาต เล่ม 3 หน้า 256 สำนักพิมพ์ อินเตะชารอต อิสลามี กุม พิมพ์ครั้งที่ 5 ปี ฮ.ศ. 1422

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    6004 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    11034 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7745 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7794 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ดังนี้หรือไม่? “หากผู้คนล่วงรู้ถึงอภินิหารของอลี(อ.) จะทำให้พวกเขาปฏิเสธพระเจ้าเพราะจะโจษขานว่าอลีก็คือพระเจ้านั่นเอง(นะอูซุบิลลาฮ์)”
    9449 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    เราไม่พบฮะดีษที่คุณยกมาในหนังสือเล่มใดแต่มีฮะดีษชุดที่มีความหมายคล้ายคลึงกันปรากฏอยู่ในตำราหลายเล่มซึ่งขอหยิบยกฮะดีษบทหนึ่งจากหนังสืออัลกาฟีมานำเสนอพอสังเขปดังนี้อบูบะศี้รเล่าว่าวันหนึ่งขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)นั่งพักอยู่ท่านอิมามอลี(อ.)ก็เดินมาหาท่านท่านนบีกล่าวแก่อิมามอลี(อ.)ว่า “เธอคล้ายคลึงอีซาบุตรของมัรยัมและหากไม่เกรงว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มยกย่องเธอเสมือนอีซาแล้วฉันจะสาธยายคุณลักษณะของเธอกระทั่งผู้คนจะเก็บดินใต้เท้าของเธอไว้เพื่อเป็นสิริมงคล ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6591 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    6258 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์
  • สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
    7905 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลามหลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลามปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้วได้แบ่งออกเป็น
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    17728 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8881 จริยธรรมทฤษฎี 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60416 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57980 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42513 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39810 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39165 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34273 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28322 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28247 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28184 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26124 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...