การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9767
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa2974 รหัสสำเนา 17838
คำถามอย่างย่อ
อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
คำถาม
อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
คำตอบโดยสังเขป

อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วย

สรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกัน

อัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง หนึ่ง : บุคคลผู้นั้นต้องมีศักยภาพของผู้รับชะฟาอะฮฺเสียก่อน สอง : อัลลอฮฺคือ ผู้ทรงอนุญาตให้พวกเขาให้ชะฟาอะฮฺ อีกนัยหนึ่ง บุคคลที่มีสิทธิได้รับชะฟาอะฮฺในวันนั้น ความศรัทธาของพวกเขาต้องได้รับความพึงพอพระทัยและเป็นที่ยอมรับของอัลลอฮฺเสียก่อน, ทว่าการกระทำของบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญทำให้พวกเขาตกต่ำ และกลายเป็นผู้ถวิลหาชะฟาอะฮฺ, ขณะที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธามิใช่ผู้ศรัทธา และมิใช่ผู้ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ พวกเขาจึงไม่มีสิทธิ์ได้ชะฟาอะฮฺ

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลกุรอานกะรีมกล่าวว่า อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลผู้ซึ่งมีความพิเศษดังต่อไปนี้ :

1. เป็นผู้มีศรัทธาและปฏิบัติคุณงามความดี

2. เป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซบ.) เราะซูล (ซ็อล ฯ) และอูลิลอัมริมินกุม (อ.) โดยปราศจากคำถามและข้อเคลือบแคลงใจ

3. ออกห่างจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาอย่างแท้จริง เกลียดชังผู้ตั้งภาคีต่อพระเจ้า และบรรดาผู้กลับกลอกทั้งหลาย

4. รักษาคำมั่นสัญญา ที่ได้สัญญาต่อพระเจ้า หรือเราะซูล (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) หรือสัญญาที่ให้ไว้แก่ประชาชน

5. มีความซื่อสัตย์สุจริต

6. เป็นพลีชีพในหนทางของอัลลอฮฺ

7. มีความเสียสละทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และเกียรติยศในหนทางของศาสนาแห่งพระเจ้า

8. มอบหมายความไว้วางใจในภารกิจการงานต่างๆ ต่ออัลลอฮฺ

9. มีความอดทนอดกลั้นในการเชื่อฟังปฏิบัติตาม และการละเว้นการทำความผิดบาป อีกทั้งอดทนต่อความทุกข์และอุปสรรคปัญหาต่างๆ ที่ได้ประสบ

10. ไม่หวาดกลัวศัตรูของศาสนาแห่งพระเจ้า[1]

แต่ว่าทุกคนที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพอพระทัยเขาจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์กระนั้นหรือ? ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อบุคคลนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงและความอ่อนแอของความศรัทธาของแต่ละคน รวมทั้งคุณภาพ และปริมาณของการประกอบความดีงาม อีกทั้งรวมไปถึงความมั่นคงและความหวั่นไหวของพวกเขาที่ดำเนินไปบนหนทางดังกล่าว, บุคคลที่ใช้ประโยชน์จากพลังความศรัทธาของตนได้ดีที่สุด โดยไม่เกิดความสั่นคอนในความศรัทธาตลอดอายุขัยตน, เช่น บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและหมู่มิตรของพระองค์, ในโลกนี้พวกเขาได้รับตำแหน่งอันเป็นตำแหน่งสูงสุดของความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺแล้ว ในปรโลกยังจะได้เข้าสรวงสวรรค์ชั้นริฎวานอีกต่างหาก, สำหรับกลุ่มชนที่มีความสั่นคอนในความเชื่อศรัทธาตลอดการดำรงชีพของตน พวกเขาเพียงแค่รักษาระดับความใกล้ชิดของตนในระดับชั้นต่อไปเท่านั้น แต่จะไม่ได้รับสวรรค์ชั้นริฏวาน

คำอธิบาย เนื่องจากความโปรดปรานแห่งสวรรค์ ที่ปรากฏเป็นรูปร่างทางความคิด สภาพ และการกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย ขณะที่มนุษย์นั้นมีระดับความศรัทธาและการปฏิบัติคุณงามความดีแตกต่างกัน สวรรค์ก็มีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไปด้วย

โองการอัลกุรอาน ได้กล่าวถึงความแตกต่างเหล่านั้นไว้เป็นประเด็นต่างๆ เช่น กล่าวว่า : ญันนะตุลลิกอ[2] ญันนะตุลริฎวาน[3]ญันนะตุลนะอีม[4] ดารุลสลาม[5] ญันนาตุนอัดนิน[6] ญันนาตุนฟิรเดาซ์[7] ญันนะตุลคุลด์[8] ญันนะตุลมะอฺวา[9] มักอะดิซิดกิน[10] ซึ่งชั้นสวรรค์เหล่านี้ได้รับการแนะนำไว้[11]รายงานบางบทกล่าวว่า สวรรค์ นั้นแบ่งออกเป็น 100 ระดับด้วยกัน[12] ซึ่งระดับชั้นเหล่านั้นขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งและความอ่อนแอของความศรัทธาของแต่ละคน ประกอบกับความประพฤติปฏิบัติของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ สวรรค์จึงได้ถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธาและความประพฤติของบุคคล. ดังนั้น ในหมู่พวกเขาจึงมีกลุ่มชนที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ อย่างแท้จริง แต่บางครั้งบุคคลนั้นก็เป็นกัลญาณชน บางครั้งก็เป็นคนบาป ด้วยเหตุนี้การเข้าสู่สวรรค์ของเขาไม่แน่นอน[13] และมีผู้คนไม่น้อยที่การเข้าสวรรค์ของเขาต้องอาศัย ชะฟาอะฮฺ, วัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า “มะนิรตะฎอ” ในโองการที่ 28 บทอันบิยาอฺ หมายถึงกลุ่มชนที่มิใช่เจ้าของสวรรค์ริฎวาน, เนื่องจากเจ้าของสวรรค์ชั้นริฎวาน พวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และเป็นพยานในวันสอบสวนและตอบแทนผลรางวัลหรือการลงโทษ พวกเขาไม่ต้องการชะฟาอะฮฺ, ด้วยเหตุนี้ จึงมีช่องให้ถามว่า : สาเหตุของการลงโองการนี้คืออะไร?

บรรดาผู้ตั้งภาคีชาวมักกะฮฺได้สักการบูชารูปปั้นและยกย่องให้เกียรติ, ซึ่งพวกเขาก็คิดถึงการให้ชะฟาอะฮฺ เหมือนกันโดยกล่าวว่า “พวกเราทั้งหมดเคารพรูปปั้นบูชา เพื่อว่าฐานันนดรของพวกเราจะได้ใกล้ชิดต่อพระเจ้า”[14] เนื่องจากเทวรูปเหล่านี้คือผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเราทำให้พวกเราใกล้ชิดพระเจ้า[15] ทว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงทำลายความคิดของพวกเขา โดยปฏิเสธความเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ของรูปปั้นและอันตรายที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น เนื่องจากเทวรูปเหล่านั้นมิได้มีบทบาทหน้าที่อันใด อีกทั้งไม่สามารถให้คุณหรือให้โทษอันใดแก่ตัวเอง และแก่ผู้อื่นได้อีกต่างหาก แล้วจะนับประสาอันใดกับการก่อประโยชน์ให้แก่มนุษย์ หรือในวันฟื้นคืนชีพจะเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแด่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่โง่เขลาทั้งหลาย

อีกด้านหนึ่งบรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหลายต่างคิดว่า, มวลมลาอิกะฮฺคือบุตรีของพระเจ้าพวกเขาจึงเคารพและให้เกียรติ และคิดว่าในวันฟื้นคืนชีพมลาอิกะฮฺเหล่านี้จะเป็นผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา. ความคิดผิดพลาดอย่างรุนแรงของพวกเขา ได้ถูกปฏิเสธด้วยการลงโองการที่ 28 บทอันบิยาอฺ อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสในโองการนี้ว่า : และพวกเขากล่าวว่า พระผู้ทรงกรุณาปรานีทรงยึดมลาอิกะฮฺเป็นบุตรี พระพิสุทธิคุณแห่งพระองค์ ทว่าพวกเขาเป็นบ่าวผู้มีเกียรติต่างหาก พวกเขาจะมิชิงกล่าวคําพูดก่อนพระองค์ และพวกเขาปฏิบัติตามพระบัญชาของพระองค์ พระองค์ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่เบื้องหน้าพวกเขา และสิ่งที่อยู่เบื้องหลังพวกเขา และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย และพวกเขาสั่นสะท้านด้วยความหวาดกลัวต่อพระองค์”[16] ด้วยเหตุนี้เอง พวกเขาจึงไม่กระทำสิ่งใดที่นอกเหนือไปจากพระบัญชาของพระองค์ หรือจะไม่กระทำสิ่งที่ขัดแย้งกับความพึงพอพระทัยของพระองค์ ดังนั้น มลาอิกะฮฺจึงมิใช่ผู้ให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขาอย่างแน่นอน

คำอธิบาย เกี่ยวกับชะฟาอะฮฺ และผู้ให้ชะฟาอะฮฺมี 3 กลุ่มด้วยกัน : 1. เป็นการเพิ่มฐานันดรของชาวสวรรค์ในสวรรค์. 2.เป็นการช่วยเหลือชาวนรกก่อนที่จะถูกนำตัวไปนรก. 3. เป็นการช่วยเหลือเบาบางการลงโทษในนรกให้ลดน้อยลง, ดังนั้น หลังจากได้เข้าไปสู่นรกแล้ว เป็นที่ประจักษ์ว่าผลที่จะเกิดขึ้นและความแตกต่างของพวกเขา ขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความศรัทธา และความประพฤติซึ่งล้วนมีผลเกี่ยวข้องกับชะฟาอะฮฺ[17] ดังนั้น สำหรับการรอดพ้นการลงโทษโดยขบวนการชะฟาอะฮฺ จะครอบคลุมบุคคลที่มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

1. ไม่มีบุคคลใดมีสิทธิให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลอื่น โดยปราศจากการอนุญาตของอัลลอฮฺ, เนื่องจากในวันสอบสวนผู้พิพากษาและเป็นเจ้าแห่งการตัดสินแต่เพียงผู้เดียวคือ อัลลอฮฺ เท่านั้น และชะฟาอะฮฺเป็นเพียงภาพแห่งความกรุณาที่มีเหนือความกริ้วโกรธของพระองค์

2. บรรดาผู้ให้ชะฟาอะฮฺได้แก่ผู้ซึ่ง :

ก. ตนจะต้องไม่ใช่ผู้มีความต้องการในชะฟาอะฮฺ และต้องเป็นผู้มีอีมานและความประพฤติดีงามขั้นสูงสุด

ข. มีความรอบรู้ถึงสิทธิของการชะฟาอะฮฺ ว่าผู้ใดมีสิทธิได้รับ

ค. ต้องได้รับอนุญาตจากอัลลอฮฺ

3. การครอบคลุมของชะฟาอะฮฺมีสำหรับบุคคลที่ :

ก. ต้องเป็นผู้มีความต้องการในชะฟาอะฮฺ

ข. มีสิทธิรับชะฟาอะฮฺและมีศักยภาพเพียงพอในการรับ แน่นอน ต้องเป็นผู้ได้รับความเมตตาที่แท้จริงจากพระองค์ และจากการให้ชะฟาอะฮฺของผู้ให้นั้นเอง ทำให้เขารอดพ้นการลงโทษ

ค. ต้องไม่มีอุปสรรคสำหรับการรับชะฟาอะฮฺ เช่น การปฏิเสธศรัทธา การฝ่าฝืน การกลับกลอก การตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า หรือปฏิเสธชะฟาอะฮฺ และรวมไปถึงความไม่ใสใจต่อนมาซ

ด้วยเงื่อนไขข้างต้น, เมื่อพิจารณาโองการอัลกุรอานเกี่ยวกับเรื่อง ชะฟาอะฮฺ, จะได้บทสรุปว่าบรรดามุอฺมินและมลาอิกะฮฺ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้ชะฟาอะฮฺแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ผู้กลับกลอก และผู้ตั้งภาตีเทียบเคียงทั้งหลายแล้ว, ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ดุอาอฺขออภัยในความผิดบาปแก่พวกเขาอีกต่างหาก, อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า :“จงอย่าวิงวอนขออภัยให้แก่บรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเคียงและผู้กลับกลอก แม้ว่าสูเจ้าจะวิงวอนขออภัยให้แก่พวกเขาถึง 70 ครั้ง แต่อัลลอฮฺ ก็จะไม่อภัยแก่พวกเขาเด็ดขาด”[18] เพราะว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ จะไม่ทรงอภัยต่อการตั้งภาคีขึ้นแก่พระองค์ และพระองค์ทรงอภัยให้แก่สิ่งอื่นจากนั้นสำหรับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์”[19] ในทางกลับกันเป็นที่ประจักษ์ว่าบรรดาศาสดาและมลาอิกะฮฺจะไม่กระทำสิ่งใดที่ขัดแย้งกับพระบัญชาของพระองค์เด็ดขาด[20] ซึ่งสำหรับบรรดามุชริกแล้วย่อมไม่ชะฟาอะฮฺให้อย่างแน่นอน. สมมุติว่ามุอฺมินได้ชะฟาอะฮฺให้แก่พวกเขา ซึ่งชะฟาอะฮฺของพวกเขาที่มีต่อมุชริก มุนาฟิก และผู้ปฏิเสธศรัทธาย่อมไม่เป็นที่ยอมรับ ณ พระองค์อัลลอฮฺ เนื่องจากผู้ตัดสินคนสุดท้ายคือพระองค์ และที่สำคัญคือกลุ่มชนทั้งสามได้รับการละเว้นไว้เรื่องชะฟาอะฮฺ เนื่องจากพวกเขาไม่มีศักยภาพเพียงพอและได้ปฏิเสธการชะฟาอะฮฺและความเมตตาไปจากพวกเขา พวกเขาไม่มีแม้แต่ความศรัทธา และการสั่งสมความดีงามบันทึกอยู่ในบัญชีการงานของตน เพื่อว่าพวกเขาจะได้กลายเป็นที่พึงพอพระทัยสำหรับอัลลอฮฺ และพระองค์จะได้อนุญาตให้บรรดาผู้ให้ชะฟาอะฮฺมอบชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, หรือสมมุติว่าการชะฟาอะฮฺได้ออกจากมวลผู้ศรัทธา โดยได้แผ่เมตตาไปยังพวกเขา และยอมรับพวกเขาว่าเป็นหนึ่งในหมู่ผู้มีสิทธิ์รับชะฟาอะฮฺ ด้วยเหตุนี้ ความคิดของบรรดาผู้ตั้งภาคีจึงวางอยู่บนพื้นฐานของชะฟาอะฮฺที่จะได้รับจากบรรดารูปปั้นต่างๆ หรือมลาอิกะฮฺ, แน่นอนสิ่งนี้มิมีอะไรเกินเลยไปจากการจินตนาการเท่านั้นเอง และมันจะไม่เกิดขึ้นในวันฟื้นคืนชีพด้วย

ดังนั้น ความพึงพอพระทัยคือความสัมพันธ์หนึ่ง ซึ่งมีระดับชั้นต่างๆ มากมาย และถูกต้องถ้าจะกล่าวว่าอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยกับความศรัทธาและความเชื่ออันถูกต้องของปวงบ่าว แต่มิทรงพึงพอพระทัยการกระทำของพวกเขา, หรืออาจกล่าวว่าการกระทำบางอย่างของปวงบ่าวได้รับความพึงพอพระทัย ส่วนการกระทำอีกบางอย่างของเขาไม่ได้รับความพึงพอพระทัย, ด้วยเหตุนี้เอง ไม่มีความแตกต่างกันถ้าหากอัลลอฮฺ จะทรงพึงพอพระทัยในการงานบางอย่างของเขา ขณะที่บ่าวคนนั้นมิได้เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวานแต่อย่างใด, ทว่าสูงไปกว่านั้นบ่าวคนดังกล่าวนั่นเอง (การกระทำบางอย่างของเขาไม่เป็นที่ยอมรับ) และต้องได้รับการลงโทษ

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม :

1.ญะวาดี ออมูลี,อัลดุลลอฮฺ, ซีเระฮฺพียอมบะรอน ดัรกุรอาน (ตัฟซีรเมาฎูอียฺ), เล่ม 6, หน้า 99 – 113, สำนักพิมพ์อัสรอ 2, ปี 1397, กุม

2.ฮะบีบัยยอน, อะฮฺมัด, เบเฮชวะญฮันนัม, หน้า 249 – 151, สำนักพิมพ์ ซอเซมอนตับลีฆอต อีสลามี, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี 1379 เตหะราน

3.ชีระวอนียฺ, อะลี, มะอาริฟ อิสลามมี ดัรออซอร ชะฮีดมุเฏาะฮะรียฺ, หน้า 227 – 254 สำนักพิมพ์ นัชร์มะอาริฟ, พิมพ์ครั้งที่ 1, ปี 1376 กุม.

4.เฏาะบาเฏาะบาอี,มุฮัมมัด ฮุเซน, วิเคราะห์อิสลามี, หน้า 355 – 367, ฮิจรัต,กุม.

5.เฏาะบาเฏาะบาอี,มุฮัมมัด ฮุเซน, อัลมีซาน, เล่ม 14, หน้า 277, ตอนอธิบาย โองการที่ 28, บทอัมบิยาอ์, ตัฟตัรอินติชอรออรรอต อิสลามี,กุม

6.มิซบาฮฺ ยัซดี,มุฮัมมัด ตะกีย์, ออมูเซซอะกออิด, เล่ม 3, บทเรียนที่ 58 – 60, ซอเซมอนตับลีฆอต อิสลามี, พิมพ์ครั้งที่ 14, ปี 1375,กุม.

7.มิซบาฮฺ ยัซดี,มุฮัมมัด ตะกีย์, มะอาริฟกุรอาน, เล่ม 1 -3, หน้า 66 – 68, อินติชารอต ดัรเราะเฮฮัก, พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี 1368, กุม

8.มะการิม ชีรอซียฺ, นาซิร, แนวคิดการเกิดสำนักคิด, หน้า 151 – 177 พิมพ์ครั้งที่ 2, กุม.



[1] อัลกุรอาน บทบัยยินะฮฺ, 8, บทฮัชร์, 8, บทฏอฮา, 130, บทมุญาดะฮฺ, 22, บทเตาบะฮฺ, 100, บทมาอิดะฮฺ, 119, บทอาลิอิมรอน, 16, 169-174, บทฟัตฮฺ, 18, 29, บทนิซาอฺ, 64, บทฆอฟิร, 7

[2] อัลกุรอาน บทฟัจรฺ, 30.

[3] อัลกุรอาน บทอาลิอิมรอน, 15.

[4] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ, 65

[5] อัลกุรอาน บทอันอาม, 127.

[6] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 72

[7] อัลกุรอาน บทกะฮฺฟิ, 107

[8] อัลกุรอาน บทฟุรกอน, 15

[9] อัลกุรอาน บทซัจญฺดะฮฺ, 19

[10] อัลกุรอาน บทเกาะมัร,55

[11] ฮะบีบัยยาน,อะฮฺมัด,เบเฮชวะญะฮันนัม, หน้า 25 - 249.

[12] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 8, หน้า 117 และ 196.

[13] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, 102, 106.

[14] อัลกุรอาน บทอัซซุมัร, 3.

[15] อัลกุรอาน บทยูนุส, 18.

[16] อัลกุรอาน บทอันบิยาอฺ, 26 – 28.

[17] ชีระวอนนี, อะลี, มะอาริฟอิสลามี ดัรออซอร ชะฮีดมุเฏาะฮะรี, หน้า 227 – 254, มะการิมชีรอซีย์, นาซิร, แนวคิดของการเกิดสำนักคิด, หน้า 151, 178. อับดุลลอฮฺ ญะวาดดี ออมูลี, ซีเระพัยยอมบะรอนดัรกุรอาน, เล่ม 6 หน้า 99 – 113, มุฮัมมัด ตะกีย์ มิซบาฮฺ ยัซดี, ออมูเซซอะกออิด, บทเรียนที่ 59, 60

[18] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ, โองการ 73, 85, 96, บทฮูด, 37, 46, 76, บทมุนาฟิกูน, 6, มุอฺมินูน, 74, ฮัจญ์, 31

[19] อัลกุรอาน บทนิซาอฺ, 48, 116.

[20] อัลกุรอาน บทตะฮฺรีม, 6, บทนะฮฺลุ, 50.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26076 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • การรับประทานล็อบสเตอร์ หอย และปลาหมึกผิดหลักศาสนาหรือไม่?
    17673 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
    การรับประทานล็อบสเตอร์หอยและปลาหมึกถือว่าผิดหลักศาสนาดังที่บทบัญญัติทางศาสนาได้กำหนดเงื่อนไขบางประการเพื่อจำแนกเนื้อสัตว์ที่ทานได้ออกจากเนื้อสัตว์ที่ไม่อนุมัติให้ทานเห็นได้จากการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับสัตว์บกสัตว์น้ำและสำหรับสัตว์ปีกฯลฯมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสัตว์น้ำที่ฮะลาลคือจะต้องมีเกล็ดเท่านั้นในฮะดีษหนึ่งได้กล่าวไว้ว่ามุฮัมหมัดบินมุสลิมได้ถามจากอิมามบากิร (อ.) ว่า “มีคนนำปลาที่ไม่มีเปลือกหุ้มมาให้กระผมอิมามได้กล่าวว่า “จงทานแต่ปลาที่มีเปลือกหุ้มและชนิดใหนไม่มีเปลือกหุ้มจงอย่าทาน”[1]เปลือกหุ้มในที่นี้หมายถึงเกล็ดดังที่ได้ปรากฏในฮะดีษต่างๆ[2]บรรดามัรญะอ์ตักลีดจึงได้ใช้ฮะดีษดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานสำหรับสัตว์น้ำ โดยได้ถือว่านัยยะของฮะดีษต่างๆระบุว่าห้ามรับประทานสัตว์น้ำ(เนื่องจากผิดหลักศาสนา) เว้นแต่ปลาประเภทที่มีเกล็ดเท่านั้นแต่กุ้งมิได้อยู่ในบรรทัดฐานทั่วไปดังกล่าวมีฮะดีษที่อนุมัติให้รับประทานกุ้งเป็นการเฉพาะที่กล่าวว่า “การรับประทานกุ้งไม่ถือว่าฮะรอมและกุ้งถือเป็นปลาประเภทหนึ่ง”[3]ถึงแม้ว่าโดยลักษณะทั่วไปกุ้งอาจไม่ถือว่ามีเกล็ดแต่ในแง่บทบัญญัติแล้วกุ้งรวมอยู่ในจำพวกปลาที่มีเกล็ดและสามารถรับประทานได้กล่าวคือแม้ว่ากุ้งไม่มีเกล็ดแต่ก็ถูกยกเว้นให้สามารถกินได้ทั้งนี้ก็เนื่องจากมีฮะดีษต่างๆอนุมัติไว้เป็นการเฉพาะแม้เราไม่อาจจะทราบเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องนี้[4]ส่วนกรณีที่เนื้อปูถือว่าฮะรอมก็เนื่องจากมีฮะดีษที่ระบุไว้โดยเฉพาะที่ว่า “การทานญัรรี(ปลาชนิดหนึ่ง), เต่าและปูถือเป็นฮะรอม[5]ดังนั้นล็อบสเตอร์, ปลาหมึกฯลฯยังคงอยู่ในเกณฑ์ของสัตว์ที่ไม่สามารถรับประทานได้อนึ่งแม้ว่าสัตว์บางประเภทไม่สามารถรับประทานได้แต่ก็มิได้หมายความว่าห้ามเพาะเลี้ยงหรือซื้อขายสัตว์ชนิดนั้นเสมอไปเนื่องจากการรับประทานและการค้าขายเป็นสองกรณีที่จำแนกจากกันบางสิ่งอาจจะเป็นฮะรอมในการดื่มหรือรับประทานแต่สามารถซื้อขายได้อย่างเช่นเลือดซึ่งห้ามรับประทานเนื่องจากฮะรอมแต่ด้วยการที่เลือดมีคุณประโยชน์ในทางอื่นๆด้วยจึงสามารถซื้อขายได้ดังนั้นการซื้อขายล็อบสเตอร์, หอยฯลฯในตลาดหากไม่ได้ซื้อขายเพื่อรับประทานแต่ซื้อขายเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นๆที่คนทั่วไปยอมรับกันก็สามารถกระทำได้เพราะล็อบสเตอร์และหอยอาจจะมีประโยชน์อื่นๆอีกมากมายก็เป็นได้
  • ชาวสวรรค์ทุกคนจะได้ครองรักกับฮูรุลอัยน์หรือไม่? ฮูรุลอัยน์แต่ละนางมีสามีได้เพียงคนเดียวไช่หรือไม่? และจะมีฮูรุลอัยน์เพศชายสำหรับสตรีชาวสวรรค์หรือไม่?
    11000 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    สรวงสวรรค์นับเป็นความโปรดปรานที่พระองค์ทรงมอบเป็นรางวัลสำหรับผู้ศรัทธาและประพฤติดีโดยไม่มีข้อจำกัดทางเพศจากการยืนยันโดยกุรอานและฮะดีษพบว่า “ฮูรุลอัยน์”คือหนึ่งในผลรางวัลที่อัลลอฮ์ทรงมอบให้ชาวสวรรค์น่าสังเกตุว่านักอรรถาธิบายกุรอานส่วนใหญ่ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าในสวรรค์ไม่มีพิธีแต่งงานส่วนคำว่าแต่งงานกับฮูรุลอัยน์ที่ปรากฏในกุรอานนั้นตีความกันว่าหมายถึงการมอบฮูรุลอัยน์ให้เคียงคู่ชาวสวรรค์โดยไม่ต้องแต่งงาน.ส่วนคำถามที่ว่าสตรีในสวรรค์สามารถมีสามีหลายคนหรือไม่นั้นจากการศึกษาโองการกุรอานและฮะดีษทำให้ได้คำตอบคร่าวๆว่าหากนางปรารถนาจะมีคู่ครองหลายคนในสวรรค์ก็จะได้ตามที่ประสงค์ทว่านางกลับไม่ปรารถนาเช่นนั้น ...
  • เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
    10991 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/02
    มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน ...
  • กฏเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสกับชาวคริสเตียนเป็นอย่างไร?
    6777 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    อิสลามถือว่าชาวคริสเตียนเป็นหนึ่งใน“อะฮ์ลุ้ลกิตาบ”(กลุ่มผู้รับมอบคัมภีร์จากพระองค์) ซึ่งโดยทัศนะของมัรญะอ์ตักลี้ดของฝ่ายชีอะฮ์แล้วไม่อนุมัติให้สตรีมุสลิมสมรสกับพวกเขาไม่ว่าจะเป็นการสมรสถาวรหรือชั่วคราวก็ตามส่วนชายมุสลิมก็ไม่สามารถจะสมรสกับหญิงกาฟิรที่ไม่ไช่อะฮ์ลุ้ลกิตาบได้ไม่ว่าจะถาวรหรือชั่วคราวอย่างไรก็ดีทัศนะที่ว่าชายมุสลิมสามารถสมรสชั่วคราวกับหญิงอะฮ์ลุ้ลกิตาบได้นั้นค่อนข้างจะน่าเชื่อถือแต่ในส่วนการสมรสถาวรกับพวกนางนั้นสมควรงดเว้น.ท่านอิมามโคมัยนีแสดงทัศนะไว้ว่า: ไม่อนุญาตให้สตรีมุสลิมสมรสกับชายต่างศาสนิก
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11603 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7783 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • โองการ اخْلُفْنِی فِی قَوْمِی وَأَصْلِحْ وَلَا تَتَّبِعْ سَبِیلَ الْمُفْسِدِینَ กล่าวโดยผู้ใด และปรารภกับผู้ใด?
    6655 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/19
    โองการที่ถามมานั้น กล่าวถึงคำสั่งของท่านนบีมูซา(อ.)ที่มีแด่ท่านนบีฮารูน(อ.)ขณะกำลังจะเดินทางจากชนเผ่าของท่านไป ทั้งนี้เนื่องจากการแต่งตั้งตัวแทนจะกระทำในยามที่บุคคลกำลังจะลาจากกัน เมื่อท่านนบีมูซาได้รับบัญชาให้จาริกสู่สถานที่นัดหมายจึงแต่งตั้งท่านนบีฮารูน (ซึ่งดำรงตำแหน่งนบีอยู่แล้ว) ให้เป็นตัวแทนของท่านในหมู่ประชาชน และได้กำชับให้ฟื้นฟูดูแลประชาชน และให้หลีกห่างกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย[1]อนึ่ง ท่านนบีฮารูน(อ.)เองก็มีฐานะเป็นนบีและปราศจากความผิดบาป อีกทั้งไม่คล้อยตามผู้นิยมความเสื่อมเสียอยู่แล้ว ท่านนบีมูซาเองก็ย่อมทราบถึงฐานันดรภาพของพี่น้องตนเองเป็นอย่างดี ฉะนั้น คำสั่งนี้จึงมิได้เป็นการห้ามมิให้นบีฮารูนทำบาป แต่ต้องการจะกำชับมิให้รับฟังทัศนะของกลุ่มผู้นิยมความเสื่อมเสีย และอย่าคล้อยตามพวกเขาจนกว่าท่านนบีมูซาจะกลับมา
  • เหตุใดนบีและบรรดาอิมามจึงไม่ประพันธ์ตำราฮะดีษเสียเอง?
    6251 ริญาลุลฮะดีซ 2555/01/19
    อัลลอฮ์ลิขิตให้ท่านนบีมิได้เล่าเรียนจากครูบาอาจารย์คนใดจึงไม่อาจจะเขียนหนังสือได้เหตุผลก็ค่อนข้างชัดเจนเนื่องจากอภินิหารของท่านคือคัมภีร์อัลกุรอานและเนื่องจากไม่ไช่เรื่องแปลกหากผู้มีการศึกษาจะเขียนหนังสือสักเล่มอาจจะทำให้เกิดข้อครหาว่าคัมภีร์กุรอานเป็นความคิดของท่านนบีเองหรือครูบาอาจารย์ของท่านส่วนกรณีของบรรดาอิมามนั้นนอกจากท่านอิมามอลี(อ.)และอิมามซัยนุลอาบิดีน(อ.)แล้วอิมามท่านอื่นๆมิได้มีตำราที่ตกทอดถึงเราทั้งนี้ก็เพราะภาระหน้าที่ทางสังคมหรืออยู่ในสถานการณ์ล่อแหลมหรือการที่มีลูกศิษย์คอยบันทึกอยู่แล้ว ...
  • ในพิธีขว้างหินที่ญะมารอตหากต้องการเป็นตัวแทนให้ผู้ที่ไม่สามารถขว้างหินเองได้ อันดับแรกจะต้องขว้างหินของเราเองก่อนแล้วค่อยขว้างหินของผู้ที่เราเป็นตัวแทนให้เขาใช่หรือไม่?
    7662 สิทธิและกฎหมาย 2555/02/05
    ดังทัศนะของมัรญะอ์ตักลีดทุกท่านรวมไปถึงท่านอิมามโคมัยนี (ร.) อนุญาตให้ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์สามารถขว้างหินของตัวแทนของตนก่อนก่อนที่จะขว้างหินของตนเอง[i][i]มะฮ์มูดี, มูฮัมหมัดริฏอ, พิธีฮัจญ์ (ภาคผนวก),หน้าที่

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60370 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57923 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39745 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39122 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34230 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28270 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28198 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28138 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26076 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...