การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7195
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa317 รหัสสำเนา 10187
คำถามอย่างย่อ
ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
คำถาม
ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
คำตอบโดยสังเขป

เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ

สรุป : สิ่งที่ผู้หลงโลกทั้งหลายกำลังค้นหาคือ อิสรภาพจอมปลอมอันปราศจากเงื่อนไข แต่เสรีภาพที่ศาสนาต้องการคือ เสรีภาพที่แท้จริง ทั้งในมิติทางสังคมก็อยู่ในกรอบความคิดทางศาสนา ตลอดจนการคิดทางการเมืองและสังคมอิสลามก็อยู่ในกรอบเช่นกัน ไม่ใช่ความเสรีชนิดสุดโต่ง และไม่ใช่ทั้งการบีบบังคับให้ยอมจำนนในเงื่อนไขภายนอก และยอมรับการปกครองของทุกรัฐบาลที่อยุติธรรม ซึ่งได้ทำลายเกียรติยศของเขา ดังนั้น เราจึงสามารถกล่าวได้ว่า มีเสรีภาพส่วนบุคคลและของสังคมอยู่ในศาสนาอิสลาม แต่มีความแตกต่างกันระหว่างวิสัยทัศน์ในอิสลามและตะวันตก เสรีภาพทางศาสนาก็เหมือนดังเช่นความเชื่อที่มีพื้นฐานการพัฒนาของทุกสิ่งอยู่ที่พระเจ้า ด้วยเหตุนี้ ทุกภารกิจการงานของมนุษย์จึงควรมาจากพระเจ้า และอยู่ในทิศทางที่แสวงหาความโปรดปรานของพระองค์ ในแง่ของการพัฒนาคุณธรรมและวัฒนธรรม ซึ่งได้เชิญชวนสังคมมนุษย์ความยุติธรรม และละเว้นการฝ่าฝืนและการละเมิดสิทธิของผู้อื่น และอีกด้านหนึ่งได้เชิญชวนให้ศาสนิกไปสู่การศึกษาและการเรียนรู้วิชาการในศาสตร์ต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง และเหมาะสม

คำตอบเชิงรายละเอียด

จิตวิญญาณของเราเนื่องจากเป็น (นัฟซ์มุญัรร็อด) หมายถึงมีสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ สำหรับจิตวิญญาณของมนุษย์นั้นไม่มีความยาว ความกว้าง ความลึก คุณภาพ ความร้อน ความเย็น ไม่มีทิศทั้งเบื้องสูงและเบื้องต่ำ ข้างหน้าและข้างหลัง[1] เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน

มวลสรรพสิ่งมีชีวิตในจักรวาล บางครั้งเป็นสรรพสิ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยมีสรีระและเรือนร่างและกายภาพ หรืออยู่ใน โลกเร้นลับที่เป็นอรูปซึ่งมีอยู่ในอีกลักษณะหนึ่ง (ด้านบนของโลกแห่งกายภาพซึ่งประกอบด้วยระบบที่ค่อยเป็นค่อยไปแล้ว ยังมีอีกโลกหนึ่งซึ่งครอบคลุมทั้งสิ่งมีชีวิตที่นอกเหนือไปจากการเจริญเติบโตที่ละน้อย และนอกเหนือไปจากเวลา) ซึ่งเรียกโลกนั้นว่า "อาลัมอัมร์” ซึ่งสรรพสิ่งในโลกนั้นครอบคลุมเหนือโลกแห่งการสร้างสรรค์[2] ซึ่งทั้งอาลัมอัมร์และการสร้างสรรค์ทั้งหมดมาจากพระเจ้าทั้งสิ้น อัลกุรอานกล่าวว่า : พึงรู้ไว้เถิดว่า การสร้างและกิจการทั้งหลายนั้นเป็นสิทธิของพระองค์เท่านั้น มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮ์ผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก”[3] อีกด้านหนึ่งจะเห็นว่า จิตวิญญาณของเราต้องอาศัยสรีระและเรือนร่าง เพื่อการพัฒนาและการเจริญเติบโตในเงื่อนไขอันจำกัด

มนุษย์ไม่มีหนอื่นใดอีกแล้วนอกจากต้องผ่านโลกเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์สูงสุดของตน  ต้องผ่านความยากลำบาก ภยันตรายนานัปการและอุปสรรคอีกมากมาย เพื่อฝึกปรือตนให้กล้าแกร่งทั้งด้านคุณธรรมและศีลธรรม (โลกคือสถานเพราะปลูกสำหรับปรโลก.[4]) แต่เนื่องจากความเสรีจึงทำให้มีความหวังต่อโลกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ลืมการขัดเกลาจิตใจตนเอง และการโบยบินไปสู่อาณาจักรแห่งความจริง โลกได้ตบแต่งและประดับประดาภายนอกของตนอย่างสวยงาม เมื่อมนุษย์ได้พบเห็นต่างคิดว่าโลกเป็นสถานที่อมตะและนิรันดร ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : “ผู้ใดมองโลกด้วยตาใจโลกก็จะทำให้เขามองเห็น ส่วนผู้ที่จ้องมองโลกด้วยตาเนื้อ โลกจะทำให้เขาตาบอด”[5]

ชีวิตทางโลก : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงสาธยายถึงชีวิตทางโลกเอาไว้ว่า : แน่นอน การใช้ชีวิตบนโลกนี้เป็นเพียงการละเล่นและความสนุกร่าเริงเท่านั้น”[6] คำว่า ละอิบ คือการกระทำหนึ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุดยกเว้นการจินตนาการ ส่วนคำว่า ละฮ์วุน หมายถึง ทุกสิ่งที่ทำให้มนุษย์หมกมุ่นอยู่กับตนอันเป็นสาเหตุทำให้ลืมคนอื่น ดังนั้น จะเห็นว่าโองการกำลังชี้ให้เห็นความจริงที่ว่า การใช้ชีวิตบนโลกนี้ก็เหมือนกับ จิตวิญญาณมนุษย์ที่ขึ้นอยู่กับร่างกายและผ่านระบบทางร่างกายทำให้จิตวิญญาณมีความสมบูรณ์, โลกจะทำให้มนุษย์หมกมุ่นอยู่กับตนเองจนกระทั่งหลงลืมคนอื่น จุดเริ่มต้นของความหลงลืมคือ ชีวิตทางโลก โลกจะหลอกลวงจิตวิญญาณเพื่อให้รวมกับร่างกาย หลังจากนั้นจะแนะนำให้ท่านตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกที่มิใช่กายภาพ และทุกสิ่งที่เป็นความงาม ความสูงส่ง และความสุขร่างเริงซึ่งมีอยู่ในโลกก่อนหน้าโลกแห่งวัตถุ (อาลัมอัมร์) ถูกลืมเลือนไปจนหมดสิ้น ความภาคภูมิใจตำแหน่งแห่งความใกล้ชิด การได้อยู่ร่วมกับผู้สะอาดบริสุทธิ์ บรรยากาศและความคุ้นเคย และความศักดิ์สิทธิ์มิได้อยู่ในความทรงจำของเขาอีกต่อไป ดังนั้น ชีวิตของเขาจึงทุ่มเทให้แก่ความสนุกสนานและการละเล่น ทุกสรรพสิ่งที่พวกเขาหันหน้าไปสู่ จะไม่มีสิ่งใดเกินเลยไปจากการจินตนาการ และความหวังลมๆ แล้งๆ เมื่อเขาได้สัมพันธ์กับสิ่งเหล่านั้นเขาก็จะไม่พบความจริงอันใดทั้งสิ้น[7]

อัลลอฮฺ ตรัสว่า : “และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาการงานของพวกเขาเปรียบเสมือนภาพลวงตาในที่ราบโล่งเตียน คนกระหายน้ำคิดว่ามันเป็นแอ่งน้ำ เมื่อเขามาถึงมันเขาจะไม่พบสิ่งใดเลย” [8]

ความเป็นแก่นแท้ของภายนอกและภายใน : มนุษย์คือสรรพสิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งที่มี้เนื้อหนังมังสา มีร่างกายและจิตวิญญาณ ในความคิดของเขาสิ่งนั้นคือ ความจริง  เขาจึงได้ทุ่มเทความสนใจไปในเรื่องที่เป็นรูปธรรม และเรื่องทั่วไปของจิตสำนึก โดยได้ละเลยเรื่องราวด้านในและภารกิจอันเป็นความเร้นลับ (เรื่องจิตด้านใน) บุคคลจุพวกนี้จึงมีความสุขอยู่กับการรับประทานอาหาร การดื่ม การนอนหลับและการดำรงชีวิตไปวันๆ หนึ่งเท่านั้น ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า : “พวกเขารู้แต่เพียงผิวเผินในเรื่องการดำรงชีวิตในโลกนี้ แต่พวกเขาไม่คำนึงถึงการมีชีวิตในปรโลก”[9]

แต่สำหรับบุคคลที่ใส่ถวิลหาข้อเท็จจริง จะเข้าใจในความจริงและแก่แท้ของกิจการต่างๆ เขารู้ดีว่าภายนอกของสรรพสิ่งคือ ตัวแทนของสิงที่อยู่ข้างใน ด้วยเหตุนี้ ภาพภายนอกสำหรับพวกเขาเป็นเพียงเปลือก ส่วนภายในคือแก่นหรือสมองของสิ่งนั้น และเป็นธรรมดาว่าสมองนั้นจะไม่เสียสละตัวเองเพื่อผิวเน่นอน ท่นอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า : แท้จริงหมู่มวลมิตรของอัลลอฮฺคือ บุคคลที่มองดูภายในของโลก ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่จะมองดูภายนอก (ความสิวิไลซ์และความสวยงาม) พวกเขาหมกมุ่นอยู่กับภารกิจในอนาคตของโลก (ตระเตรียมเสบียงเพื่อรอวันตาย) ขณะที่ประชาชนกำลังสารวนอยู่กับกิจวัตรประจำวันของโลก (ทำมาหากินเพื่อปากท้อง)[10]

ความหวังที่แท้จริงกับจอมปลอม : บรรดาพวกที่ลุ่มหลงโลกต่างคิดว่าการได้รับความสนุกสนานทางโลก และการใช้ประโยชน์จากมันไม่มีข้อจำกัดแต่อย่างใด มีอิสระจากทุกเงื่อนไข ขณะที่เขาได้รับฟังคำสั่งราคะจากจิตใจทีฟุ้งซ่าน (ราคะของจิตวิญญาณฟุ้งซ่านของมนุษย์ เป็นลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องภายในและเรือนร่าง ประกอบกับภารกิจนั้นเกี่ยวข้องกับสรีระวัตถุที่ไม่มีค่าอันใด) ผู้ที่หลงโลกนั้นปรารถนาที่จะดำรงอยู่ในโลกตลอดไป จิตส่วนนี้มักนำพามนุษย์ไปสู่ความเสียหาย ไร้แก่นสารความจริง

ความเสรีภาพในความเป็นจริงคือ การปลดปล่อยตนเองจากบ่วงของโลกและอำนาจฝ่ายต่ำ ซึ่งความเสรีภาพดังกล่าวนี้คือความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนามนุษย์อาจจะเป็นพระมหากษัตริย์ของโลกมีอำนาจอยู่ในมือ แต่เป็นทาสของอำนาจฝ่ายต่ำ ฉะนั้น บุคคลเช่นนี้ถือว่าไม่มีอิสระถูกจองจำด้วยอำนาจฝ่ายต่ำ และจะไม่ได้รับประโยชน์จากเสรีภาพเลย ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นคนจนแต่มีความสมบูรณ์ย่อมดีกว่า ดัวยเหตุนี้ ถ้าสุละต่านสามารถควบคุมอำนาจใฝ่ต่ำของตนได้ ไม่เพียงแต่เขาจะไม่ก่อความเสียหาย ทว่าเขายังมีศักยภาพในการสร้างประโยชน์ได้อีกมากมาย ดังนั้น แก่นแท้ของเสรีคือ การควบคุมของสติปัญญาในการไม่ปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำและโมหะ

ในทัศนะของศาสนา ทาส หมายถึงบุคคลที่ตกเป็นทาสของอำนาจฝ่ายต่ำ โมหะ และราคะของตนเองสติปัญญาก็อยู่ภายใต้การควบคุมของสิ่งนั้นด้วย ท่นอิมามอเลี (อ.) กล่าวว่า : ตั้งเท่าไหร่แล้วที่ปัญญาตกเป็นทาสและอารมณ์เป็นเจ้านาย[11] ท่านอิมาม (อ.) กล่าวอีกว่า: เสรีไม่ได้หมายถึงชายคนหนึ่งได้ละทิ้งสิ่งไร้ค่า (โลก) ไปดอกหรือ พึงรู้ไว้เถิดว่า ชีวิตของเจ้าไม่อาจแลกเปลี่ยนกับสิ่งใดได้นอกจากสวรรค์ ดังนั้น จงอย่าขายชีวิตของเจ้ากับสิ่งใด นอกจากสวรรค์[12]

เสรีภาพทางจิตวิญญาณและสังคม : เมื่อมนุษย์ปล่อยวางอำนาจฝ่ายต่ำของตน และพบแก่นแท้ของตนเอง แน่นอน ชีวิตทางสังคม วัฒนธรรม กิจการทางการเมือง และสังคมของเขาก็จะมีความสุขตามไปด้วย ดังที่รายงานจำนวนมากมายได้กล่าวสำทับประเด็นนี้เอาไว้ว่า มนุษย์ต้องเผชิญกับศัตรูภายในและภายนอก 2 ประการ ซึ่งศัตรูเหล่านั้นต้องการให้เขาถูกจับเป็นเชลย แต่ถ้าเขาเอาชนะศัตรูทั้งภายในและภายนอกได้เขาก็จะได้พบกับความเสรีภาพแต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันกลุ่มสำนักคิด เช่น ซูฟี ได้พยายามต่อสู้กับศัตรูภายใน ปลดปล่อยตนเองจากอำนาจฝ่ายต่ำและคุณธรรมของซาตาน, แต่ไม่ได้ใส่ใจต่อเสรีภาพภายนอก และไม่ได้ปลดปล่อยตนจากเทพพระเจ้าทั้งหลาย (ในทางตรงกันข้ามมีบางกลุ่มต่อสู้เพื่อเสรีภาพภาพทางสังคม ไม่คิดว่าข้อจำกัดจะเป็นสาเหตุของความทุกข์ยากของมนุษย์ แต่อย่างใด

แต่บางกลุ่มเชื่อว่า การที่มนุษย์จะพบกับความสมบูรณ์และเสรีภาพที่แท้จริงได้ เขาต้องการเสรีภาพทั้งสองประเภทนั้น ซึ่งเสรีภาพทั้งสองมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน เสรีภาพทางสังคมจะไม่เกิดขึ้นถ้าปราศจากอิสรภาพทางจิตวิญญาณ และนี่เป็นความเจ็บปวดของสังคม มนุษย์ต้องการที่จะสร้างให้เสรีภาพทางสังคมเกิดขึ้น แต่เขาไม่ได้มองหาเสรีภาพทางจิตวิญญาณ ทุกวันนี้มนุษย์ต้องการสร้างสังคมในอุดมคติ และปลดปล่อยตนเองจากความสับสนวุ่นวายของปัญหาส่วนตัวและสังคม จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการมีอิสระและเสรีภาพชนิดสุดโต่งด้านใดด้านใหม่ ต้องหาแนวทางที่สร้างดุลภาพทางสังคม หลีกเลี่ยงความเสรีโดยศึกษาทั้งสองกรณี[13] ดังนั้น จะเห็นว่าในศาสนาอิสลามมีเสรีภาพทั้งส่วนตัวและสังคมอยู่ แต่มีความแตกต่างกันระหว่างแนวคิดของอิสลามกับตะวันตก[14]

ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับโลก : บรรดาศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายได้มาเพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองสำหรับโลก เพียงแต่ว่าท่านเหล่านั้นได้มองโลกด้วยสายตาแห่งปรโลก โลกเสมือนเป็นสถานที่เพราะปลูกสำหรับปรโลก การกระทำทุกอย่างบนโลกนี้, ทั้งคำพูดและความประพฤติล้วนมีความหมายต่อปรโลกทั้งสิ้น ท่านเหล่านั้นได้สร้างโลกในลักษณะนี้แก่พวกเรา พวกเขาได้บนโลกนี้เพื่อสั่งสอนประชาชาติว่า วันนี้ควรจะดำรงชีวิตอย่างไรเพื่อความสุขของวันพรุ่งนี้ ดังนั้น คำสั่งสอนของศาสดาก็เพื่อชีวิตในวันนี้ สำหรับชีวิตของโลก เพื่อเราจะได้รับความเจริญรุ่งเรืองอันนิรันดรสำหรับชีวิตในปรโลก

ศาสนาและการพัฒนา : ศาสนาและการพัฒนาในแนวคิดและประเภทต่างๆ เช่น นโยบายพัฒนาทางเศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม และวัฒนธรรม และไม่ได้ปล่อยปละละเลยสิ่งนั้น เพราะศาสนาได้ประกาศสั่งสอนครอบคลุมมนุษย์ทั้งโลก และถือว่ามนุษย์ทั้งหมดคือผู้ช่วยเหลือศาสนา ดังนั้น ในเรื่องการพัฒนาจำเป็นต้องมีนโยบายครอบคลุมทั่วถึงทั้งหมด ฉะนั้น การรู้จักศาสนาจึงถือเป็นพื้นฐานสำคัญ แม้ว่าการรู้จักศาสนานั้นจะเป็นเรื้องยุ่งยากก็ตาม เนื่องจากศาสนามีรากฐานสำคัญ 3 ประการ ประการหนึ่งอยู่ภายในของมนุษย์ ส่วนอีกสองประการขึ้นอยู่กับชีวิตภายนอกของเขา สองพื้นฐานสำคัญภายนอกได้แก่อัลกุรอานและอิตรัต (ลูกหลานนบี)  ส่วนฐานภายในได้แก่ศาสนา สติปัญญา และธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นเหตุผลตามชัรอีย์ หมายถึง สิ่งที่สติปัญญาได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ถือเป็นเหตุผลทางชัรอีย์ ด้วยเหตุนี้ ศาสนาจึงประกอบด้วยปัญญาและการอ้างอิง (กุรอานและฮะดีซ)

การพัฒนาความถูกต้องในวิสัยของความเชื่อ ศีลธรรม และวัฒนธรรม : เนื่องจากพื้นฐานของทุกภารกิจคือ พระ เจ้า พระองค์คือผู้ทรงสร้างทุกอย่าง ทรงประทาน กำไรหรือขาดทุนล้วนเป็นของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างโลก อนาคตและการชุมนุมของมนุษย์เพื่อการปฏิสัมพันธ์กับพระเจ้า ดังนั้น ทุกภารกิจของมนุษย์ทั้งในแง่เศรษฐกิจวัฒนธรรม และการศึกษา ...จำเป็นต้องมาจากคำสั่งของพระเจ้า และอยู่ในความพึงพอพระทัยของพระองค์ ศาสนาได้เชิญชวนมนุษย์ให้มีคุณธรรม ศีลธรรม และมีวัฒนธรรม และขยายความยุติธรรมทางสังคมให้กว้างออกไป อย่างฉ้อฉลและละเมิดสิทธิของผู้อื่น อีกด้านหนึ่งได้ส่งเสริมสนับสนุนให้มนุษย์ได้เรียนรู้วิชาการ และการใช้ประโยชน์ที่เหมาะสมจากความรู้ ในลักษณะที่ว่าไม่มีคุณธรรมหรือประโยชน์จากความรู้ใด เว้นเสียแต่ว่าศาสนาได้สั่งสอนและเชิญชวนไปสู่การปฏิบัติทั้งเป็นข้อบังคับ และการสมัครใจ[15]

เสรีภาพทางการเมืองและการพัฒนาสังคม : ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาสากลแห่งโลกกล่าวว่า สำหรับบรรดาผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับศาสนา และไม่ได้ต่อสู้กับศาสนาสามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข พระ เจ้าไม่ได้ห้ามว่าคุณ อัลกุรอานกล่าวว่า “อัลลอฮฺ มิได้ทรงห้ามสูเจ้าไม่ให้ทำดีหรือให้ความยุติธรรม แก่บรรดาผู้ที่ไม่ได้ต่อต้านสูเจ้าในการเผยแพร่ศาสนา และมิได้ขับไล่สูเจ้าออกจากบ้านเรือนของสูเจ้า เนื่องจาก อัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม”[16]

ประเภทของการพัฒนา : การพัฒนาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ การพัฒนาที่ได้รับคำชมกับการประณาม การพัฒนาที่ได้รับการตำหนิประณาม เช่น การฟุ่มเฟือย การจัดสวัสดิการ และการควบคุมดูแล เนื่องจากอัลกุรอานถือว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับการตำหนิติฉินทั้งสิ้น มีการลงโทษ และผู้ที่เพียงแต่คิดพัฒนาส่วนบุคคล อัลกุรอานกล่าวว่า : ชนกลุ่มหนึ่งคิดเห็นแก่ตัว"[17] "บรรดาผู้ปฏิเสธนั้นพวกเขาจะหลงระเริงและกินเยี่ยงปศุสัตว์กิน"[18] และบรรดาผู้ที่คิดเห็นแก่ตัวก็ได้รับการตำหนิเอาไว้เช่นกัน[19] บรรดาผู้ทีมีความโลภและตระหนี่ถี่เหนียวอย่างรุนแรงก็ได้รับการตำหนิไว้[20] และบุคคลที่มีภูมิคุ้มกันให้รอดพ้นจากความโลภเห็นแก่ตัวเขาคือผู้ประสบความสำเร็จ[21] ดังนั้น การพัฒนาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและสุขสบายในชีวิตการเป็นอยู่โดยลืมสัญชาติญาณความเป็นมนุษย์ ย่อมได้รับการตำหนิ แต่การพัฒนาที่ได้รับการสรรเสริญสิ่งที่เขาผลิตมีความพยายามเต็มรูปแบบ และประสบความสำเร็จ ในการใช้จ่ายของเขามีความพอเพียง มีความรู้สึกสะดวกสบาย ฉะนั้น จากมุมมองนี้หากมนุษย์ได้อุตสาหพยายาม เพื่อขจัดความต้องการของมนุษย์และของสังคม ความพยายามเช่นนี้เป็นที่ยอมรับและได้รับความชื่นชม ขณะที่การพัฒนาที่ได้รับการตำหนิคือการพัฒนาเพื่อการเพิ่มความมั่งคั่ง และความภาคภูมิใจ แน่นอนการพัฒนาเช่นนี้ย่อมได้รับการตำหนิ[22]



[1] Hassan Hassanzadeh Amoli, นุซูซุลฮิกัม อะลีกุซูซิลฮิกัม, มัรกัซ นัชร์ฟัรอังระญา,หน้า. 180

[2]  อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ซัยยิดฮุซัยน์ “มนุษย์ตั้งแต่แรกจนสิ้นสุด” แปลและเรียบเรียงโดย ร้ยฮานี ซอดิก สำนักพิมพ์ ซะฮฺรออ์ หน้า 13

[3]  อัลกุรอานบทอัลอะอ์รอฟ 54

[4] มุฮัมมัด เรย์ ชะฮฺรี, (Sayed Hamid Hosseini) มุนตะค็อบ มีซานุลฮิกมะฮฺ, รายงานที่ 2137, หน้า. 187 (รายงานจากท่านศาสดา)

[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนา 82

[6]  อัล-กุรอานบทมูฮัมมัด, 36

[7]  อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี ซัยยิดฮุซัยน์ “มนุษย์ตั้งแต่แรกจนสิ้นสุด” แปลโดอย Sadeq Larijani, p. 51

[8]  อัลกุรอานบทนูร 39

[9] อัล-กุรอาน บทโรม 7

[10] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, ฮิกมะฮฺ ที่ 432

[11] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, ฮิกมะฮฺ ที่ 211

[12] เรย์ ชะฮฺรี มุฮัมมัด มีซาน อัลฮิกมะฮฺ, เล่ม 2, รายงานลำดับที่ 3589

[13] Morteza Motahari ความรู้ทางศาสนา, การวิเคราะห์จากมุมมองของ มุเฏาะฮะรีย์ -- Dzhakam Ali, 56

[14] Morteza Motahari, เกี่ยวกับการปฏิวัติอิสลาม, หน้า 101 เป็นต้นไป

[15] Abdollah Javadi Amoli, มนุษย์กับศาสนา, หน้า 213-212 -- 210

[16] อัลกุรอาน บทมุมตะฮินะฮฺ 8

[17] อัลกุรอานบทอาลิอิมรอน 154

[18] อัลกุรอานบทมุฮัมมัด 12

[19]  อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ 34

[20] อัลกุรอาน บทนิซาอฺ, 128

[21] อัลกุรอานบท ฮัชร์, 9

[22] Abdollah Javadi Amoli, มนุษย์กับศาสนา, หน้า 222-220 -- 219

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เหตุใดอัลลอฮ์จึงกำชับให้ขอบคุณต่อเนียะอฺมัตที่ทรงประทานให้?
    17651 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    “ชุโกร”ในทางภาษาอรับหมายถึง การมโนภาพเนียะอฺมัต(ความโปรดปรานจากพระองค์)แล้วเผยความกตัญญูรู้คุณผ่านคำพูดหรือการกระทำ[i] ส่วนที่ว่าทำไมต้องชุโกรขอบคุณพระองค์ในฐานะที่ประทานเนียะอฺมัตต่างๆนั้น ขอให้ลองพิจารณาประเด็นต่อไปนี้:1.
  • ผู้ที่มาร่วมพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)มีใครบ้าง?
    11038 تاريخ بزرگان 2555/03/14
    ตำราประวัติศาสตร์และฮะดีษของฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่าเหตุการณ์ฝังศพท่านนบี(ซ.ล.)ว่า อลี บิน อบีฏอลิบ(อ.) และฟัฎล์ บิน อับบ้าส และอุซามะฮ์ บิน เซด ร่วมกันอาบน้ำมัยยิตแก่ท่านนบี บุคคลกลุ่มแรกที่ร่วมกันนมาซมัยยิตก็คือ อับบาส บิน อับดุลมุฏ็อลลิบและชาวบนีฮาชิม หลังจากนั้นเหล่ามุฮาญิรีน กลุ่มอันศ้อร และประชาชนทั่วไปก็ได้นมาซมัยยิตทีละกลุ่มตามลำดับ สามวันหลังจากนั้น ท่านอิมามอลี ฟัฎล์ และอุซามะฮ์ได้ลงไปในหลุมและช่วยกันฝังร่างของท่านนบี(ซ.ล.) หากเป็นไปตามรายงานดังกล่าวแล้ว อบูบักรและอุมัรมิได้อยู่ในพิธีฝังศพท่านนบี(ซ.ล.) แม้จะได้ร่วมนมาซมัยยิตเสมือนมุสลิมคนอื่นๆก็ตาม ...
  • สายรายงานของฮะดีษที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวแก่ชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า“พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เพื่อให้ยอมรับการประทานกุรอาน แต่ก่อนโลกนี้จะพินาศ พวกเขาจะรบกับพวกท่านเพื่อการตีความกุรอาน”เชื่อถือได้เพียงใด?
    7427 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/09/11
    ในตำราฮะดีษมีฮะดีษชุดหนึ่งที่มีนัยยะถึงการที่ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวกับชาวอรับเกี่ยวกับชาวเปอร์เซียว่า “พวกท่าน(อรับ)รบกับพวกเขา(เปอร์เซีย)เนื่องด้วยการประทานกุรอานแต่ก่อนโลกนี้จะพินาศพวกเขาก็จะรบกับพวกท่านเนื่องด้วยการตีความกุรอาน”สายรายงานของฮะดีษบทนี้เชื่อถือได้ ...
  • ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
    4185 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2561/11/05
    สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้ ๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์ พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป ๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก ๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ...
  • ถ้าหากพิจารณาบทดุอาอฺต่างๆ ในอัลกุรอาน จะเห็นว่าดุอาอฺเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญต่อตัวเองก่อน หลังจากนั้นเป็นคนอื่น เช่นโองการอัลกุรอาน ที่กล่าวว่า “อะลัยกุม อันฟุซะกุม” แต่เมื่อพิจารณาดุอาอฺของท่านหญิงฟาฏิมะฮฺจะพบว่าท่านหญิงดุอาอฺให้กับคนอื่นก่อนเป็นอันดับแรก, ดังนั้น ประเด็นนี้จะมีทางออกอย่างไร?
    8878 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/12/21
    ในตำแหน่งของการขัดเกลาจิตวิญญาณและยกระดับจิตใจตนเองนั้น, มนุษย์ต้องคำนึงถึงตัวเองก่อนบุคคลอื่นเพราะสิ่งนี้เป็นคำสั่งของอัลกุรอานและรายงานนั่นเอง, เนื่องจากถ้าปราศจากการขัดเกลาจิตวิญญาณแล้วการชี้แนะแนวทางแก่บุคคลอื่นจะบังเกิดผลน้อยมาก, แต่ส่วนในตำแหน่งของดุอาอฺหรือการวิงวอนขอสิ่งที่ต้องการจากพระเจ้า,ถือว่าเป็นความเหมาะสมอย่างยิ่งที่มนุษย์จะวอนขอให้แก่เพื่อนบ้านหรือบุคคลอื่นก่อนตัวเอง, ...
  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    6605 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • เป้าหมายและโปรแกรมต่างๆ ของชัยฏอนคืออะไร?
    9162 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    1.ลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหลายหลงทาง2.เชิญชวนมนุษย์ทั้งหลายไปสู่การกระทำที่บิดเบือนและการอุปโลกน์ต่างๆ3. หยุแหย่มนุษย์ในการเปลี่ยนแปลงการสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.) และโปรแกรมต่างๆซึ่งอัลกุรอานได้พาดพิงถึงชัยฏอน ...
  • บุคลิกของอุบัย บิน กะอฺบ์?
    9021 تاريخ بزرگان 2555/04/07
    อุบัย บิน กะอฺบ์ เป็นหนึ่งของสหายที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และเป็นผู้มีเกียรติยิ่งทั้งในหมู่อะฮฺลิซุนนะฮฺ และชีอะฮฺ แหล่งอ้างอิงของฝ่ายชีอะฮฺมีบันทึกรายงานฮะดีซจำนวหนึ่ของเขาไว้ด้วย นักปราชญ์ผู้อาวุโสฝ่ายฮะดีซ, ยอมรับว่าเขาเป็นสหายของท่านศาสดา และเป็นหนึ่งในผู้บันทึกวะฮฺยู เมื่อพิจารณารายงานที่มาจากเขา, สามารถเข้าใจได้ถึงความรักที่เขามีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามอะลี (อ.) ...
  • ทำอย่างไรจึงจะลดความรีบร้อน?
    7537 จริยธรรมทฤษฎี 2555/05/23
    ความรีบร้อนลนลานถือเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในทัศนะของศาสนา ซึ่งในที่นี้ก็หมายถึงการรีบกระทำสิ่งใดโดยพละการนั่นเอง การรีบร้อนแตกต่างจากการรีบเร่งทั่วไป เพราะการรีบเร่งหมายถึงการรีบกระทำการใดทันทีที่ทุกอย่างพร้อม สิ่งที่ตรงข้ามกับการรีบร้อนก็คือ “ตะอันนี” และ “ตะษับบุต”อันหมายถึงการตรึกตรองอย่างรอบคอบก่อนลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพิจารณาถึงข้อเสียของการรีบร้อน และข้อดีของการตรึกตรองอันเป็นคุณลักษณะของกัลยาณชนเฉกเช่นบรรดาศาสดา ทำให้ได้ข้อสรุปว่าก่อนกระทำการใดควรตรึกตรองอย่างมีสติเสมอ และหากหมั่นฝึกฝนระยะเวลาหนึ่ง แม้จะเป็นเรื่องยากก็ตาม แต่สุดท้ายก็จะติดเป็นนิสัย อันจะลบเลือนนิสัยรีบร้อนที่มีอยู่เดิม และจะสร้างเสริมให้เป็นผู้ที่มีความสุขุม ...
  • รายงานฮะดีซกล่าวว่า:การสร้างความสันติระหว่างบุคคลสองคน ดีกว่านมาซและศีลอด วัตถุประสงค์คืออะไร ?
    6118 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/17
    เหมือนกับว่าการแปลฮะดีซบทนี้ มีนักแปลบางคนได้แปลไว้แล้ว ซึ่งท่านได้อ้างถึง, ความอะลุ่มอล่วยนั้นเป็นที่ยอมรับ, เนื่องจากเมื่อพิจารณาใจความภาษาอรับของฮะดีซที่ว่า "صَلَاحُ ذَاتِ الْبَيْنِ أَفْضَلُ مِنْ عَامَّةِ الصَّلَاةِ وَ الصِّيَام‏" เป็นที่ชัดเจนว่า เจตนาคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ต้องการกล่าวว่า การสร้างความสันติระหว่างคนสองคน, ดีกว่าการนมาซและการถือศีลอดจำนวนมากมาย[1] แต่วัตถุประสงค์มิได้หมายถึง นมาซหรือศีลอดเป็นเวลาหนึ่งปี หรือนมาซและศีลอดทั้งหมด เนื่องจากคำว่า “อามะตุน” ในหลายที่ได้ถูกใช้ในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น ประโยคที่กล่าวว่า : "عَامَّةُ رِدَائِهِ مَطْرُوحٌ بِالْأَرْض‏" หมายถึงเสื้อผ้าส่วนใหญ่ของเขาลากพื้น[2] ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59467 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56926 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41728 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38484 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38467 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33504 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27576 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27307 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27194 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25270 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...