Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
8164
8164
อัปเดตเกี่ยวกับ:
2552/06/01
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา
คำถาม
เพราะสาเหตุใดอัลกุรอานอ่านจึงมิได้ถูกรวบรวมตามการถูกประทานลงมา (เริ่มจากมักกะฮฺ และมะดีนะฮฺตามลำดับ)
คำตอบโดยสังเขป
ไม่มีคำสั่งหรือรายงานใดจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอาน ตามการประทานลงมามาถึงพวกเรา การรวบรวมอัลกุรอานได้ถูกกระทำลงไปหลายขั้นตอนด้วยกัน ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอัลกุรอานตามการประทานลงมา แต่ในที่สุดอัลกุรอานที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นการรวบรวมโดยเหล่าบรรดาสากวก โดยได้รับความเห็นชอบจากบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ว่าสมบูรณ์
คำตอบเชิงรายละเอียด
เกี่ยวกับการรวบรวมอัลกุรอานมี 3 ทัศนะดังนี้
1. โองการต่าง ๆ ของอัลกุรอาน ขณะที่ประทานลงมา ได้ถูกประทานลงมาอย่างสมบูรณ์ และตราบที่อัลกุรอาบทดังกล่าว ยังไม่สมบูรณ์ อัลกุรอานบทอื่นจะไม่ถูกประทานลงมาอย่างเด็ดขาด
2. อัลกุรอานแต่ละบท เมื่อถูกประทานลงมาสักสองสามโองการ อัลกุรอานบทนั้นจะค่อย ๆ สมบูรณ์ไปที่ละน้อย ดังนั้น คำถามที่ถูกถามขึ้นตรงนี้ก็คือ การจัดวางโองการต่าง ๆ ในอัลกุรอาน เป็นไปตามความเห็นชอบของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กระนั้นหรือ หรือว่าการกระทำเช่นนั้นเกิดขึ้นในสมัยของบรรดาสาวก ?
3. หรือการวางซูเราะฮฺ และวางโองการดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นฝีมือของบรรดาสาวกทั้งหลาย
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 1 :
ท่าน ซุยูฏีย์ บันทึกรายงานบทหนึ่งไว้ในหนังสือ อัลอิตติกอน ซึ่งรายงานบทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดามุสลิมต่างทราบเป็นอย่างดีว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺก่อนหน้กำหลังจะสิ้นสุดลง เพราะเมื่อ “บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม” ถูกประทานลงมา นั่นแสดงว่าอัลกุรอานบทใหม่กำลังจะถูกประทานตามมา[1] คำกล่าวอ้างนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อัลกุรอานแต่ละซูเราะฮฺ จะถูกประทานลงมาโดยสมบูรณ์ ซึ่งบรรดาผู้รู้ส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า นับตั้งแต่ช่วงแรกที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา อัลกุรอาน สองสามโองการในซูเราะฮฺ อัลอะลัก ก็ถูกประทานลงมา[2] ซึ่งบางครั้งบางโองการถูกประทานลงมา และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นำเอาโองการนั้นไปวางในซูเราะฮฺตามความเหมาะสม[3] ดังนั้น สมมุติฐานนี้ถือว่า เชื่อถือไม่ได้
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 2 :
ดังทัศนะแรกที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีโองการจำนวนมากที่กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีคำสั่งให้นำไปจัดวางไว้ในซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการรวบรวมครั้งแรกเกิดขึ้นโดยน้ำมือของ ท่านอบูบักร์เคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง การรวบรวมอัลกุรอานครั้งที่สองเกิดขึ้นในสมัยท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺคนที่สาม แต่ทั้งสองครั้งก็ไม่ได้มีการสลับที่โองการแต่อย่างใด หรือหลักในการจัดเรียงโองการก็มิได้มีบทบาทแต่อย่างใด แม้ว่าอัลกุรอานบางบทเช่น “บทฟาติฮะฮฺ” จะลงมาในคราวเดียวจบ[4]
แต่สำหรับอัลกุรอานบางบท เช่น บทที่มีเนื้อความยาว ๆ โองการจะประทานลงมาสองสามโองการในตอนแรก (หมายถึงแต่ละบทจะมีโองการประทานลงมาบางส่วน และหลังจากนั้นจะทยอยลงจนจบบท)
ในกรณีนี้ท่านมัรฮูม เฏาะบัรซียฺ กล่าวว่า “จุดประสงค์ของการประทาน อัลกุรอานตามขั้นตอนคือ การรักษาระเบียบในช่วงต้นของการประทานลงมากสักสองสามโองการ และก่อนที่จะจบสมบูรณ์ บทอื่นอาจจะประทานลงมาโดยสมบูรณ์ก่อน หรืออาจจะมีสองสามโองการของบทนอื่นถูกประทานลงมา หลังจากนั้นอัลกุรอานบทดังกล่าวจะประทานลงมาให้สมบูรณ์ก็ได้ ในกรณีนี้ทุกสิ่งจะย้อนกลับไปสู่ความเป็นระเบียบในเรื่องที่ประทานลงมา ทั้งที่มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ[5]
ฉะนั้น การคัดสรรโองการเพื่อนำไปวางในซูเราะฮฺต่าง ๆ เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพียงในสมัยของท่านอุสมาน ได้รวบรวมอัลกุรอานฉบับต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้เข้าด้วยกัน และแต่ละคนที่นำเอาต้นฉบับที่ตนมีอยู่มาเสนอ ซึ่งไม่มีอยู่ในต้นฉบับอื่น จะต้องนำพยานสองคนมายืนยันว่าเขาได้ยินอัลกุรอานจากท่านเราะซูลจริง[6]
วิเคราะห์ทัศนะที่ 3 :
เกี่ยวกับการประทานอัลกุรอานลงมาตามขั้นตอนนั้น[7] ส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การจัดระเบียบโองการเป็นไปตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นคำสั่งในลัษณะ เตาฟีกี[8] แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เครื่องหมายบางประการ กล่าวว่าอัลกุรอานบางส่วนประทานลงมาตามขั้นตอน ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยเคาะลิฟะฮฺ[9] แม้ว่ารายงานบางบท จะบ่งชี้ว่ากุรอานถูกรวบรวมแล้วในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[10] และสมมุติว่า การรวบรวมตามรายงานนี้จะเป็นทัศนะที่แข็งแรงก็ตาม แต่กระนั้นการรวบรวมอัลกุรอานก็ถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ในสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) สมัยเคาะลิฟะฮฺที่ 1 และ 2 และสุดท้ายคือ การรวบรวมในสมัยเคาะลิฟะฮฺที 3[11]
การรวบรวมอัลกุรอาน
อัลกุรอานถูกรวบรวมในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามคำสั่งของท่านศาสดา โดยการบันทึกของเซาะฮาบะฮฺบางท่าน ซึ่งการรวบรวมนี้ก็คือ การรวบรวมวะฮฺยู ในสมัยท่านอบูบักร์ มีการรวบรวมโองการต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายออกไป (เป้นเหมือนเล่มที่มีอยู่ในปัจจุบัน) ในยุคสุดท้ายคือยุคของท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺที่สาม ได้รวบรวมต้นฉบับจากที่ต่าง ๆ จากพวกอาหรับ ที่มีต้นฉบับที่แตกต่างกัน โดยรวบรวมไว้ด้วยกัน[12]
มุซฮับของท่านอิมามอะลี (อ.)
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เริ่มต้นรวบรวมอัลกุรอาน หลังจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นวะฟาตไปแล้ว ความพิเศษของต้นฉบับนี้คือ การรวมโองการ และซูเราะฮฺไปตามวาระของการประทานอัลกุรอานอย่างละเอียด[13] กล่าวคือ มักกียะฮฺ ถูกประทานมาก่อนมะดีนะฮฺ[14] แต่ว่าอัลกุรอานฉบับของท่านอิมามอะลี (อ.) มิได้ได้การยอมรับจากบรรดาเคาะลิฟะฮฺก่อนหน้านี้[15] ที่สุดแล้วอัลกุรอานที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ฉบับที่อุสมานเคาะลิฟะฮฺที่สาม เป็นผู้รวบรวมเอาไว้ และอิมามอะลี (อ.) ลงนามยอมรับด้วย[16]
คำพูดสุดท้ายและบทสรุป : เมือพิจารณาสิ่งที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ดังนี้คอ
1.การประทานโองการอัลกุรอาน แบบทยอยลงมานั้น บางครั้งลงมาในคราวเดียวทั้งซูเราะฮฺ หรือบางครั้งก็ประทานลงมาสองสามโองการก่อน
2. การประทานโองการอัลกุรอาน มีการประทานสลับซูเราะฮฺลงมา
๓. ซอฮาบะฮฺบางคนได้รวบรวมอัลกุรอาน แบบเลือกสรรโองการ แล้วนำไปวางไว้ตามซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) (มิได้บังคับให้ทำ)
๔. การเลือกสรรโองการกระทำลงไปตามคำสั่งของท่านศาสสดา
๕. การเลือกสรรซูเราะฮฺ ตามคำกล่าวอ้างนั้นได้ถูกกระทำในสมัยเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
๖. การรวบรวมอัลกุรอาน ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็คือการจดบันทึกวะฮฺยูตามคำบอกของท่านศาสดา ส่วนกุรอานในสมัยเคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง และสองคือ การรวบรวมเอาจากโองการที่กระจัดกระจายกันออกไป โดยการรวมเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนการรมในสมัยของท่านอุสมานนั้น มีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปี แล้วได้ยติลง
๗.ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอลกุรอานไปตามการประทานลงมา ขณะที่อุสมานเองก็ได้รวมอัลกุรอานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่านอิมามจึงยอมรับสิ่งทีอุสมานทำขึ้นมา เพื่อรักษาเอกภาพของสังคมมุสลิม และป้องการความแปลกแยก กับการฉวยโอกาสของศัตรู
1. โองการต่าง ๆ ของอัลกุรอาน ขณะที่ประทานลงมา ได้ถูกประทานลงมาอย่างสมบูรณ์ และตราบที่อัลกุรอาบทดังกล่าว ยังไม่สมบูรณ์ อัลกุรอานบทอื่นจะไม่ถูกประทานลงมาอย่างเด็ดขาด
2. อัลกุรอานแต่ละบท เมื่อถูกประทานลงมาสักสองสามโองการ อัลกุรอานบทนั้นจะค่อย ๆ สมบูรณ์ไปที่ละน้อย ดังนั้น คำถามที่ถูกถามขึ้นตรงนี้ก็คือ การจัดวางโองการต่าง ๆ ในอัลกุรอาน เป็นไปตามความเห็นชอบของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กระนั้นหรือ หรือว่าการกระทำเช่นนั้นเกิดขึ้นในสมัยของบรรดาสาวก ?
3. หรือการวางซูเราะฮฺ และวางโองการดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นฝีมือของบรรดาสาวกทั้งหลาย
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 1 :
ท่าน ซุยูฏีย์ บันทึกรายงานบทหนึ่งไว้ในหนังสือ อัลอิตติกอน ซึ่งรายงานบทดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) และบรรดามุสลิมต่างทราบเป็นอย่างดีว่า อัลกุรอาน ซูเราะฮฺก่อนหน้กำหลังจะสิ้นสุดลง เพราะเมื่อ “บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีม” ถูกประทานลงมา นั่นแสดงว่าอัลกุรอานบทใหม่กำลังจะถูกประทานตามมา[1] คำกล่าวอ้างนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อัลกุรอานแต่ละซูเราะฮฺ จะถูกประทานลงมาโดยสมบูรณ์ ซึ่งบรรดาผู้รู้ส่วนใหญ่ต่างมีความเห็นพร้องต้องกันว่า นับตั้งแต่ช่วงแรกที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา อัลกุรอาน สองสามโองการในซูเราะฮฺ อัลอะลัก ก็ถูกประทานลงมา[2] ซึ่งบางครั้งบางโองการถูกประทานลงมา และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) นำเอาโองการนั้นไปวางในซูเราะฮฺตามความเหมาะสม[3] ดังนั้น สมมุติฐานนี้ถือว่า เชื่อถือไม่ได้
วิเคราะห์ความคิดเห็นที่ 2 :
ดังทัศนะแรกที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีโองการจำนวนมากที่กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ และท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) มีคำสั่งให้นำไปจัดวางไว้ในซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งการรวบรวมครั้งแรกเกิดขึ้นโดยน้ำมือของ ท่านอบูบักร์เคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง การรวบรวมอัลกุรอานครั้งที่สองเกิดขึ้นในสมัยท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺคนที่สาม แต่ทั้งสองครั้งก็ไม่ได้มีการสลับที่โองการแต่อย่างใด หรือหลักในการจัดเรียงโองการก็มิได้มีบทบาทแต่อย่างใด แม้ว่าอัลกุรอานบางบทเช่น “บทฟาติฮะฮฺ” จะลงมาในคราวเดียวจบ[4]
แต่สำหรับอัลกุรอานบางบท เช่น บทที่มีเนื้อความยาว ๆ โองการจะประทานลงมาสองสามโองการในตอนแรก (หมายถึงแต่ละบทจะมีโองการประทานลงมาบางส่วน และหลังจากนั้นจะทยอยลงจนจบบท)
ในกรณีนี้ท่านมัรฮูม เฏาะบัรซียฺ กล่าวว่า “จุดประสงค์ของการประทาน อัลกุรอานตามขั้นตอนคือ การรักษาระเบียบในช่วงต้นของการประทานลงมากสักสองสามโองการ และก่อนที่จะจบสมบูรณ์ บทอื่นอาจจะประทานลงมาโดยสมบูรณ์ก่อน หรืออาจจะมีสองสามโองการของบทนอื่นถูกประทานลงมา หลังจากนั้นอัลกุรอานบทดังกล่าวจะประทานลงมาให้สมบูรณ์ก็ได้ ในกรณีนี้ทุกสิ่งจะย้อนกลับไปสู่ความเป็นระเบียบในเรื่องที่ประทานลงมา ทั้งที่มักกะฮฺและมะดีนะฮฺ[5]
ฉะนั้น การคัดสรรโองการเพื่อนำไปวางในซูเราะฮฺต่าง ๆ เป็นคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เพียงในสมัยของท่านอุสมาน ได้รวบรวมอัลกุรอานฉบับต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้เข้าด้วยกัน และแต่ละคนที่นำเอาต้นฉบับที่ตนมีอยู่มาเสนอ ซึ่งไม่มีอยู่ในต้นฉบับอื่น จะต้องนำพยานสองคนมายืนยันว่าเขาได้ยินอัลกุรอานจากท่านเราะซูลจริง[6]
วิเคราะห์ทัศนะที่ 3 :
เกี่ยวกับการประทานอัลกุรอานลงมาตามขั้นตอนนั้น[7] ส่วนใหญ่มีความเห็นพร้องต้องกันว่า การจัดระเบียบโองการเป็นไปตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เป็นคำสั่งในลัษณะ เตาฟีกี[8] แต่ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เครื่องหมายบางประการ กล่าวว่าอัลกุรอานบางส่วนประทานลงมาตามขั้นตอน ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยเคาะลิฟะฮฺ[9] แม้ว่ารายงานบางบท จะบ่งชี้ว่ากุรอานถูกรวบรวมแล้วในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)[10] และสมมุติว่า การรวบรวมตามรายงานนี้จะเป็นทัศนะที่แข็งแรงก็ตาม แต่กระนั้นการรวบรวมอัลกุรอานก็ถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน กล่าวคือ ในสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) สมัยเคาะลิฟะฮฺที่ 1 และ 2 และสุดท้ายคือ การรวบรวมในสมัยเคาะลิฟะฮฺที 3[11]
การรวบรวมอัลกุรอาน
อัลกุรอานถูกรวบรวมในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ตามคำสั่งของท่านศาสดา โดยการบันทึกของเซาะฮาบะฮฺบางท่าน ซึ่งการรวบรวมนี้ก็คือ การรวบรวมวะฮฺยู ในสมัยท่านอบูบักร์ มีการรวบรวมโองการต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายออกไป (เป้นเหมือนเล่มที่มีอยู่ในปัจจุบัน) ในยุคสุดท้ายคือยุคของท่านอุสมาน เคาะลิฟะฮฺที่สาม ได้รวบรวมต้นฉบับจากที่ต่าง ๆ จากพวกอาหรับ ที่มีต้นฉบับที่แตกต่างกัน โดยรวบรวมไว้ด้วยกัน[12]
มุซฮับของท่านอิมามอะลี (อ.)
ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เริ่มต้นรวบรวมอัลกุรอาน หลังจากท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) เป็นวะฟาตไปแล้ว ความพิเศษของต้นฉบับนี้คือ การรวมโองการ และซูเราะฮฺไปตามวาระของการประทานอัลกุรอานอย่างละเอียด[13] กล่าวคือ มักกียะฮฺ ถูกประทานมาก่อนมะดีนะฮฺ[14] แต่ว่าอัลกุรอานฉบับของท่านอิมามอะลี (อ.) มิได้ได้การยอมรับจากบรรดาเคาะลิฟะฮฺก่อนหน้านี้[15] ที่สุดแล้วอัลกุรอานที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ ฉบับที่อุสมานเคาะลิฟะฮฺที่สาม เป็นผู้รวบรวมเอาไว้ และอิมามอะลี (อ.) ลงนามยอมรับด้วย[16]
คำพูดสุดท้ายและบทสรุป : เมือพิจารณาสิ่งที่กล่าวมา สามารถสรุปได้ดังนี้คอ
1.การประทานโองการอัลกุรอาน แบบทยอยลงมานั้น บางครั้งลงมาในคราวเดียวทั้งซูเราะฮฺ หรือบางครั้งก็ประทานลงมาสองสามโองการก่อน
2. การประทานโองการอัลกุรอาน มีการประทานสลับซูเราะฮฺลงมา
๓. ซอฮาบะฮฺบางคนได้รวบรวมอัลกุรอาน แบบเลือกสรรโองการ แล้วนำไปวางไว้ตามซูเราะฮฺต่าง ๆ ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) (มิได้บังคับให้ทำ)
๔. การเลือกสรรโองการกระทำลงไปตามคำสั่งของท่านศาสสดา
๕. การเลือกสรรซูเราะฮฺ ตามคำกล่าวอ้างนั้นได้ถูกกระทำในสมัยเซาะฮาบะฮฺ โดยเฉพาะในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
๖. การรวบรวมอัลกุรอาน ในสมัยท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็คือการจดบันทึกวะฮฺยูตามคำบอกของท่านศาสดา ส่วนกุรอานในสมัยเคาะลิฟะฮฺที่หนึ่ง และสองคือ การรวบรวมเอาจากโองการที่กระจัดกระจายกันออกไป โดยการรวมเข้าไว้ด้วยกัน ส่วนการรมในสมัยของท่านอุสมานนั้น มีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปี แล้วได้ยติลง
๗.ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นผู้รวบรวมอลกุรอานไปตามการประทานลงมา ขณะที่อุสมานเองก็ได้รวมอัลกุรอานเสร็จสมบูรณ์แล้ว ท่านอิมามจึงยอมรับสิ่งทีอุสมานทำขึ้นมา เพื่อรักษาเอกภาพของสังคมมุสลิม และป้องการความแปลกแยก กับการฉวยโอกาสของศัตรู
[1] ท่านอิบนุอับบาส พูดว่า “ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ไม่ทราบดอกว่า อัลกุรอานบทนั้นจะสิ้นสุดลงเมื่อใด จนกระทั่งว่า “บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานิรเราะฮีมถูกประทานลงมา” มีคำกล่าวเสริมว่า “เมื่อบิซมิลลาฮฺ” ถูกประทานลงมา อัลกุรอานบทนั้นก็สิ้นสุดลง และอัลกุรอานบทใหม่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น อัลมีซาน เล่ม 12, หน้า 186.
[2] มะอฺริฟัต มุฮัมมัด ฮาดี, อุลูมกุรอานนี, หน้า 76 สถาบั้น อัตตัมฮีม กุม 1378
[3] อ้างแล้ว เล่มเดิม หน้า 77, อิบนิอาชูร, อัตตะฮฺรีร วันตันวีร, เล่ม 1, หน้า 90, รายงานโดย ติรมีซี จากท่านอิบนุอับบาส จากท่านอุสมาน บิน อัฟฟาน กล่าวว่า ...
«كان رسول اللّه صلّى اللّه عليه و سلّم مما يأتي عليه الزمان و هو تنزل عليه السور ذوات العدد- أي في أوقات متقاربة- فكان إذا نزل عليه الشيء دعا بعض من يكتب الوحي فيقول ضعوا هؤلاء الآيات في السورة كذا».
«كان رسول اللّه صلّى اللّه عليه و سلّم مما يأتي عليه الزمان و هو تنزل عليه السور ذوات العدد- أي في أوقات متقاربة- فكان إذا نزل عليه الشيء دعا بعض من يكتب الوحي فيقول ضعوا هؤلاء الآيات في السورة كذا».
[4] อุลูมกุรอาน หน้า 76
[5] เฏาะบัรซีรฺ ฟัฏลฺ อิบนุฮะซัน,มัจญฺมะอุลบะยาน ฟี ตัฟซีรอัลกุรอาน, ฉบับแปลเล่มที่ 26 หน้า 147, สำนักพิมพ์ ฟะรอฮันนี, เตหะราน 1360, ด้วยการย่อและสรุป อุลูมกุรอาน หน้า 89
[6] อัลมีซานฉบับแปล เล่ม 12, หน้า 174
[7] ทัศนะดังกล่าวนี้ นักตัฟซีรฝ่ายชีอะฮฺบางท่าน เช่น มุฮัมมัด บิน ฮะบีบุลลอฮฺ ซับซะวารียฺ นะญะฟี บันทึกอยู่ในหนังสือ อัลญะดีด ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน อัลมะญีด” เล่ม 2, หน้า 420, และนักตัฟซีรที่มิใช่ชีอะฮฺ เช่น ท่านเชากานียฺ บันทึกไว้ในหนังสือ ฟัตฮุลเกาะดีร เล่ม 1 หน้า 86 มีความเห็นที่แตกต่างออกไป
[8] ซุยูฎี “อัลอิตติกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน” เล่ม 1, หน้า 71, อุลูมกุรอานนี หน้า 119,
[9] อัลอิตกอน เล่ม 1, หน้า 69, บุคอรียฺ มุฮัมมัด เล่ม 4, หน้า 1907, ดารุล อิบนุกะซีร เบรุต 1407
[10] อะลี บินสุลัยมาน อัลอะบีด ญัมอุลกุรอาน ฮิซซอน วะกิตาบะตัน, หน้า 70,
المطلب الأول : الأدلة على كتابة القرآن الكريم في عهده صلى الله عليه وسلم ، ما رواه البخاري ومسلم عن ابن عمر « أن رسول الله صلى الله عليه وسلم نهى أن يُسَافر بالقرآن إلى أرض العدو »
وفي لفظ لمسلم أن رسول الله صلى الله عيه وسلم قال : « لا تسافروا بالقرآن ، فإني لا آمنُ أن يناله العدو »،بیجا،بیتا
المطلب الأول : الأدلة على كتابة القرآن الكريم في عهده صلى الله عليه وسلم ، ما رواه البخاري ومسلم عن ابن عمر « أن رسول الله صلى الله عليه وسلم نهى أن يُسَافر بالقرآن إلى أرض العدو »
وفي لفظ لمسلم أن رسول الله صلى الله عيه وسلم قال : « لا تسافروا بالقرآن ، فإني لا آمنُ أن يناله العدو »،بیجا،بیتا
[11] อะฮฺมัด บิน อะลี อิมตินาอฺ อัลอัสมาอฺ เล่ม 4 หน้า 239, ดารุลกุตุบ อัลอาละมียะฮฺ เบรุต 1420
[12] ญัมอุลกุรอาน ฮิซซอน วะกิตาบะตัน หน้า 70, (การรวมอัลกุรอานในสมัยท่านเราะซูล), อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 69, หน้ 67, (เกี่ยวกับการรวบรวมของท่านอบูบักร์ และอุสมาน)
[13] ดังที่กล่าวไปแล้วว่า บางโองการถูกนำไปวางไว้ในซูเราะฮฺต่าง ๆ อันเฉพาะเจาะจง ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ)
[14] อุลูมกุรอานนี หน้า 121, มุฮัมมัด บิน สะอีด, อัฏเฏาะบะกอต อัลกุบรอ, แปลโดย มะฮฺดี ดามะฆอนียฺ เล่ม 2, หน้า 324, พิมพ์ที่ ฟัรฮังวะอันดีเชะฮฺ เตหะราน ปี 1374
[15] อุลูมกุรอานนี หน้า 122
[16] เนื่องจากท่านอิมามอะลี (อ.) เมื่อเดินทางมาถึงกูฟะฮฺ (ขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเคาะลิฟะฮฺ) มีชายคนหนึ่งต้องการประณามท่านอุสลาม เนื่องจากท่านอุสมาน ปล่อยให้ประชาชนยุคนั้นมีอัลกุรอานเพียงฉบับเดียว ท่านอิมามอะลี (อ.) สั่งให้เขาหยุด และกล่าวต่อไปว่า ทุกสิ่งที่เขาได้กระทำลงไปอย่างน้อย เราเป้นผู้ให้คำปรึกษาแก่เขา และถ้าหากฉันอยู่ในสภาพเดียวกันกับเขา ฉันก็คงจะกระทำเช่นนั้นเหมือนกัน และคงดำเนินการไปตามนั้น “อะอฺซัม อิบนุ กูฟี” อัลฟุตูฮฺ แปลโดย มุสเตาฟี ฮะระวี หน้า 997, สำนักพิมพ์ อิงเตชารอต วะออมูเซซ อิงกะลอบอิสลามมี เหหะราน ปี 1372, อุลูมกุรอานนี หน้า 133-123
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น