Please Wait
6288
คำตอบที่ครอบคลุมสำหรับคำถามนี้ขึ้นอยู่กับการตอบคำถาม 2 ข้ออันเป็นพื้นฐานสำคัญ
1) ความรุ่งเรืองคืออะไร ความรุ่งเรืองแยกออกจากความสมบูรณ์หรือไม่
2) มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตแบบไหน? มนุษย์เป็นวัตถุบริสุทธิ์ หรือ ... ?
ดูเหมือนว่าความเจริญรุ่งเรืองจะไม่แยกออกจากความสมบูรณ์แบบ มนุษย์ไม่ว่าเขาจะได้รับประโยชน์จากความสมบูรณ์มากเท่าใดเขาก็จะได้รับความรุ่งเรืองไปด้วย มนุษย์คือสรรพสิ่งที่ประกอบด้วยจิตวิญญาณและร่างกาย ซึ่งจิตวิญญาณนั้นเปรียบเสมือนหัวใจของมนุษย์ ความรุ่งเรื่องของจิตวิญญาณและร่างกาย ทั้งสองเป็นความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ ความรุ่งเรืองของจิตวิญญาณคือบันไดที่โน้มนำไปสู่ความใกล้ชิดกับพระเจ้า ในกรณีนี้เองที่บ่งบอกว่ามนุษย์ได้บรรลุถึงความสมบูรณ์ขั้นสุดท้ายของตน แน่นอน การได้รับประโยชน์จากความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย และภารกิจทางโลกในรายงานของอิสลามถือว่า เป็นความรุ่งเรืองของมนุษย์ด้วยเช่นกัน
ในประเด็นนี้มีบางทัศนะมีความคิดเห็นว่า ความรุ่งเรืองนั้นแยกออกต่างหากจากความสมบูรณ์ หรือในเรื่องมนุษย์วิทยานั้นเขามีทัศนะอย่างอื่น ซึ่งแต่ละประเด็นนั้นได้รับการวิพากษ์วิเคราะห์ในที่ของมัน เช่น บางคนถือว่ามนุษย์คือการมีอยู่ในสภาพของวัตถุ แน่นอน ความรุ่งเรื่องของเขาคือการได้รับประโยชน์จากความสุขทางวัตถุ บางกลุ่มชนของนักปรัชญามีความเชื่อมั่นว่า สติปัญญาคือแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ ส่วนนักปราชญ์ฝ่ายเอรฟาน เชื่อว่าความรักคือ หลักเกณฑ์ของความเป็นมนุษย์ และทั้งหมดเป็นเพราะไม่เคยเห็น ความจริง, พวกเขาจึงสร้างตำนานขึ้นมา
คำตอบที่ถูกต้องและครอบคลุมสำหรับคำถามในแง่ของคำอธิบายที่ชัดเจน และความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับความรุ่งเรือง และการรู้จักที่ถูกต้องของมนุษย์และป้าหมายจึงจะประสบความสำเร็จ ขณะที่บางคน เช่น Kant เชื่อในเรื่องการแยกของความสมบูรณ์และความเจริญรุ่งเรือง และเขาได้กล่าวเช่นนี้ว่า โลกทั้งโลกมีความสมบูรณ์แบบและสิ่งที่ดีเพียงเหนึ่งเดียวเท่านั้น และสิ่งนั้นคือความประสงค์ดี ซึ่งความประสงค์ดีนั้นหมายถึงการเชื่อฟังปฏิบัติตาม เมื่อเปรียบเทียบกับคำสั่งที่เป็นมโนธรรม ซึ่งไม่ว่าการติดตามสิ่งนั้นจะมีความสุขหรือไม่ก็ตาม แต่ความรุ่งเรืองคือความสุขและความปิติ ที่ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ แอบแฝงอยู่เลย ขณะที่จริยธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ไม่ใช่ความรุ่งเรือง[1] แต่นักวิชาการ นักปรัชญา และจริยศาสตร์อิสลามต่างกล่าวว่า ไม่ว่ามนุษย์จะได้รับประโยชน์จากความสมบูรณ์แบบมากน้อยเพียงใด และมีบั้นปลายสุดท้ายทีดีเท่ากับเขาได้ไปถึงความสุขและความรุ่งเรืองแล้ว[2] บุคคลเหล่านี้มีความคิดเหมือนกับ Kant ในแง่ที่ว่าความเจริญรุ่งเรืองนั้นไม่แยกออกจากความสมบูรณ์แบบ แน่นอน พวกเขายอมรับว่าถ้าจุดประสงค์ของความรุ่งเรื่องหมายถึงความรุ่งเรืองทางประสาทสัมผัส (ความสุขทางโลกและวัตถุ) แน่นอน ความรุ่งเรืองเหล่านี้จะแยกออกจากความสมบูรณ์แบบตามธรรมชาติ[3] ในทางกลับกันทัศนคติของสำนักคิดต่างๆ เกี่ยวกับมนุษย์นั้นแตกต่างกัน จึงเป็นสาเหตุทำให้การพัฒนาด้านความรุ่งเรืองของพวกเขาแตกต่างกัน
สำนักคิดที่เชื่อว่า มนุษย์คือการมีอยู่ในแง่ของวัตถุ ดังนั้น ความรุ่งเรืองของเขาจัดอยู่ในกลุ่มอันเป็นความต้องการด้านวัตถุ ในกลุ่มเหล่านี้มีบางคนเชื่อว่า ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการเผชิญกับความสุขแห่งโลกวัตถุ (ไม่ว่าจะเป็นการเผชิญแบบปัจเจกบุคคลคือสังคมส่วนรวมก็ตาม) ในที่นั้นสติปัญญาคือมาตรฐานของความเป็นมนุษย์ ฉะนั้น ความรุ่งเรืองของเขาจึงขึ้นอยู่กับกับการเติบโตของสติปัญญา โดยผ่านวิชาการและสัจพจน์แห่งพระเจ้า พวกเขาเช่นพวกที่ล่วงรู้การเดินจิตด้านใน พวกเขาเชื่อว่ามนุษย์คือ สรรพสิ่งมีชีวิตหนึ่งที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญญา และอยู่ในบริเวณจำกัดห่างไกลจากหลักของความสมดุลและบ้านเกิด ความรุ่งเรืองของเขาขึ้นอยู่กับการได้รับประโยชน์จากความรักมากน้อยเพียงใด และบางกลุ่มที่เป็นกลุ่ม Nietzsche ถือว่าฐานของอำนาจขึ้นกับการทำงาน, ดังนั้น มนุษย์ผู้มีความเจริญรุ่งเรืองคือ มนุษย์ผู้มีความสามารถมีอำนาจ แต่ถ้าพิจารณาตามทฤษฎีของศาสนาอิสลาม (โดยการยอมรับภูมิปัญญาและความรัก) ได้แนะนำมนุษย์ว่าเป็น สรรพสิ่งมีอยู่ที่มีศักยภาพและความสามารถที่แตกต่างกัน จากชีวิตและร่างกาย (จิตวิญญาณและร่างกาย) ถูกประกอบเข้าด้วยกัน ไม่ใช่วัตถุเพียงประการเดียว[4] ชีวิตที่แท้จริงนั้นอยู่ในอีกโลกหนึ่งซึ่งชีวิตได้ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับโลกนั้น ความคิด การกระทำ และพฤติกรรมต่างๆของเขา คือปัจจัยสำคัญที่สร้างเนื้อและร่างกายใหม่สำหรับเขา
ด้วยความคิดทำนองนี้กับความรุ่งเรืองของมนุษย์ พร้อมกับการเปล่งบาน การร่วมมือและศักยภาพของมนุษย์ จะให้คำตอบที่เหมาะสมเป็นจริงกับความต้องการของจิตวิญญาณและร่างกาย ท่านอัลลามะฮฺเฎาะบาเฎาะบาอี กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : ความรุ่งเรืองของทุกสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับ การไปถึงยังความดีงามของการมีอยู่ของเขา ความรุ่งเรืองของมนุษย์ในฐานะที่เป็นสรรพสิ่งที่มีอยู่ ซึ่งประกอบด้วยร่างกายและจิตวิญญาณคือการไปถึงยังความดีงามทั้งทางร่างกายและจิตวิญญาณ และการได้ครอบคลุมสิ่งเหล่านั้น[5]
จิตวิญญาณนั้นเป็นของพระเจ้า "และข้าได้เป่าจิตวิญญาณจากข้าไปบนเขา”[6] ความรุ่งเรืองของเขาอยู่ในความใกล้ชิดกับพระเจ้า หมายถึงการกลับไปสู่แหล่งเริ่มต้นเดิมที่ตนได้รับมาจากสิ่งนั้น อีกนัยหนึ่งคือ จิตวิญญาณคือแก่นแท้ของมนุษย์และมาจากพระเจ้าว่า "แท้จริงเราเป็นของอัลลอฮฺ" ด้วยการพัฒนาไปตามระดับขั้นในโลกแห่งธรรมชาติ ซึ่งได้อาศัยอยู่ในนั้น และความรุ่งเรืองของเขาผสมผสานอยู่ในความรักและความตายตามเจตนารมณ์เสรี[7] เขาได้อพยพจากไปจากโลกแห่งธรรมชาติ จนไปถึงยังสถานที่ซึ่งเขาต้องพำนักอยู่ในนั้น (แท้จริงเราต้องย้อนกลับไปหาพระองค์) มนุษย์เช่นนี้แม้จะมีร่างกายอยู่บนโลกนี้ แต่จิตใจของเขาผูกพันอยู่กับอีกโลกหนึ่ง[8] แน่นอนว่า สิ่งนี้มิได้หมายความว่า เป็นการปล่อยว่างภารกิจทางโลกทั้งหมด เพราะอะไร ก็เพราะว่าการมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ถือเป็นหนึ่งในความรุ่งเรืองของมนุษย์ ซึ่งได้รับการแนะนำเอาไว้ว่า ถ้าหากมนุษย์เอาใจใส่เรื่องความสะอาด และมั่นรักษาร่างกายให้สะอาดเสมอ เนื่องจากร่างกายที่สะอาดและแข็งแรงนั้น เท่ากับเป็นการเตรียมพร้อมไว้สำหรับจิตวิญญาณที่สมบูรณ์[9] ทว่าจุดประสงค์หมายถึง จิตวิญญาณคือแก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ ซึ่งได้ก่อให้เกิดชีวิต ประกอบกับจุดประสงค์ของการสร้างมนุษย์ก็เพื่อความใกล้ชิดกับพระองค์ อัลกุรอานกล่าวว่า “โอ้ ดวงชีวิตที่สงบมั่นเอ๋ย จงกลับมายังพระผู้อภิบาลของเจ้า ขณะที่เจ้ามีความยินดี (ในพระองค์) และเป็นที่ปิติ (ของพระองค์) ฉะนั้น จงเข้ามาอยู่ในหมู่ปวงบ่าวของข้าเถิด และจงเข้ามาอยู่ในสรวงสวรรค์ของข้าเถิด[10] บางโองการกล่าวว่า “โอ้ มนุษย์เอ๋ย แท้จริงเจ้าต้องพากเพียรไปสู่พระผู้อภิบาลของเจ้าอย่างทรหดอดทน แล้วเจ้าจะได้พบพระองค์”[11] บางโองการกล่าวว่า “ในสถานที่อันทรงเกียรติ ณ พระเจ้าผู้ทรงอานุภาพ”[12] บางโองการกล่าวว่า “ข้ามิได้สร้างญินและ มนุษย์เพื่อการใด นอกเสียจากเพื่อแสดงความเคารพภักดีต่อข้า”[13] ดังนั้น การอิบาดะฮฺคือหนึ่งในสื่อที่จะทำให้เราเข้าใกล้ชิดกับพระเจ้า อัลกุรอานกล่าวว่า “จงแสวงความช่วยเหลือด้วยการนมาซและความอดทน”[14] ด้วยเหตุนี้ สามารถกล่าวได้ว่า สิ่งที่สามารถช่วยเหลือมนุษย์ให้ใกล้ชิดกับพระเจ้าได้ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เขาพบกับความรุ่งเรืองได้เช่นกัน ตรงนี้เองที่จะเห็นว่า ไม่เพียงนมาซเท่านั้นที่จะเป็นสื่อสร้างให้มนุษย์ใกล้ชิดพระเจ้า ทว่าการรับใช้ปวงบ่าวของพระเจ้าก็ถือเป็นอิบาดะฮฺและเป็นสือหนึ่งที่จำนำมนุษย์เข้าใกล้ชิดกับพระเจ้า
อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวว่า และนี่คือสิ่งที่นำพาความโปรดปรานมายังสูเจ้า แน่นอนว่าสรรพสิ่งเหล่านั้นได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว และเป็นความช่วยเหลือจากพระเจ้าที่มีมายังมนุษย์ เพื่อให้เขาได้ไปถึงยังความรุ่งเรืองอันแท้จริง อันได้แก่ความใกล้ชิดต่อพระเจ้า ที่เกิดจากการอิบาดะฮฺ และความอ่อนน้อมถ่อมตน ณ เบื้องพระพักต์ของพระเจ้า ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า “เราไม่ได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื้อการใดยกเว้น เพื่ออิบาดะฮฺต่อข้า”
[1] มุเฏาะฮะรี มุรตะฎอ, ฟัลสะฟะฮฺ อัคลาก หน้า 70-71
[2] ความเข้าใจคำว่า คำรุ่งเรือง ในหนังสือจริยธรรมทั้งหลาย ซึ่งถือว่าเป็นหลักการของจริยธรรม ศึกษาเพิมเติมได้จากหนังสือ “มอ์รอจญ์สะอาดะฮฺ” หน้า 18 และ 23
[3] มุเฏาะฮะรี มุรตะฎอ, ฟัลสะฟะฮฺ อัคลาก หน้า 72
[4] อัล-กุรอาน บทฮิจญร์ 29,มุอ์มินูน 12-14
[5] เฎาะบาเฎาะบาอี มุฮัมมัด ฮุเซน, ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 11 หน้า 28
[6] อัลกุรอานบทฮิจญร์ 29
[7] ความตายตามเจตนารมณ์เสรีคือ การต่อสู้กับอำนาจฝ่ายต่ำ ดังคำเรียกของท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า แน่นอนเขาได้ฟื้นฟูสติปัญญาของเขา และคร่าอำนาจฝ่ายต่ำของเขา” (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ คำเทศนาที่ 220)
[8] ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวแก่โกเมลบุตรของซิยาดว่า โลกคือสถานที่อยู่อาศัยของร่างกาย ส่วนจิตวิญญาณนั้นขึ้นอยู่กับสถานที่สูงส่งกว่า (นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ จดหมายที่ 147)
[9] อุซูลกาฟี เล่ม 2 หน้า 550
[10] อัลกุรอาน บทอัลฟัจญฺร์ 27
[11] อัลกุรอาน อิลชิก๊อก 6
[12] อัลกุรอาน บทอัลเกาะมัร 55
[13] อัลกุรอาน บทอัซซาริยาต 56
[14] อัลกุรอาน บทอัลบะเกาะเราะฮฺ 45