การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
14797
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/25
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1671 รหัสสำเนา 28162
คำถามอย่างย่อ
ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
คำถาม
ทัศนะของอัลกุรอาน เกี่ยวกับความประพฤติสงบสันติของชาวมุสลิม กับศาสนิกอื่นเป็นอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

»การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา

อัลกุรอาน ได้แนะนำและสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิธี ด้วยแนวทางต่างๆ มากมาย แต่ ณ ที่นี้จะขอกล่าวถึงประเด็นสำคัญที่สุด อาทิเช่น :

1.ความเสรีทางความเชื่อและความคิด

2.ใส่ใจต่อหลักศรัทธาร่วม

3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ

4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี

5.สนับสนุนและยอมรับข้อเสนอในเชิงสันติ

6.ยอมรับและให้สิทธิแก่ชนส่วนน้อย

7.ยอมรับบรรดาศาสดาและคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับอื่นอย่างเป็นทางการ

8.ส่งเสริมความสันติวิธีนานาชาติ

9.ต่อสู้กับการจินตนาการและการคาดเดาในการดีกว่าของศาสนาอื่น

10.ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาระหว่างชาติ

คำตอบเชิงรายละเอียด

»การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติของศาสนาต่างๆ« คือแก่นแห่งแนวคิดของอิสลาม อัลกุรอานมากมายหลายโองการ ได้เน้นย้ำเกี่ยวกับประเด็นนี้เอาไว้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งกล่าวโดยตรงสมบูรณ์ หรือกล่าวเชิงเปรียบเปรย ทั้งที่กาลเวลาล่วงเลยผ่านไป 14 ศตวรรษแล้ว แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับ »การอยู่ร่วมกันด้วยความสงบสันติ« ระหว่างศาสนาต่างๆ ยังไม่เป็นที่เข้าใจโดยสมบูรณ์สำหรับมนุษย์

ทัศนะของอัลกุรอาน ถือว่าการทะเลาะวิวาท การสงคราม และความขัดแย้งกัน เนื่องจากแตกต่างทางความเชื่อ ซึ่งบางศาสนาได้กระปฏิบัติเช่นนั้น เช่น สงครามไม้กางเกงของชาวคริสต์ เป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ อิสลามห้ามการเป็นศัตรู และมีอคติกับผู้ปฏิบัติตามศาสนาอื่น และถือว่าวิธีการดูถูกเหยียดหยามต่างๆ ที่มีต่อศาสนาอื่น มิใช่วิธีการของศาสนา

อัลกุรอาน กล่าวถึงชาวคริสต์และยะฮูดียฺว่า พวกเขาชอบเย้ยหยันและปฏิเสธซึ่งกันและกัน, นอกจากนั้นยังดูถูกเหยียดหยาม, ยึดมั่นอยู่กับทรัพย์สิน และฉ้อฉลสิทธิของกันและกัน พวกเขาได้ร่วมกันก่อไฟสงคราม และสร้างความขัดแย้งในหมู่พวกเขา

ยะฮูดียฺ กล่าวว่า : พวกยะฮูดียฺกล่าวว่า พวกคริสต์มิได้มีสิทธิ์อันใด พวกคริสต์ก็กล่าวว่า พวกยะฮูดียฺมิได้มีสิทธิ์อันใด    ทั้งที่        พวกเขาอ่านคัมภีร์แห่งฟากฟ้าเหมือนกัน บรรดาพวกที่ไม่มีความรู้อันใด ได้กล่าวเยี่ยงคำกล่าวของพวก        เขา ดังนั้น ในวันฟื้นคืนชีพ อัลลอฮฺจะทรงตัดสินระหว่างพวกเขา  ในเรื่องที่พวกเขาขัดแย้งกัน[1]

อัลกุรอาน เน้นย้ำเรื่องการอยู่ร่วมกันโดยสันติ โดยแนะนำวิธีการต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งวิธีที่สำคัญที่สุดคือ

1.เสรีภาพทางความเชื่อและความคิด

อัลกุรอาน บางโองการกล่าวถึงแก่นของ »เสรีภาพทางความเชื่อ« กล่าวคือโดยหลักธรรมชาติแล้ว หลักความเชื่อเป็นเรื่องของจิตใจและสติปัญญา มิอาจบังคับให้เชื่อตามกันได้ »ไม่มีการบังคับให้นับถือศาสนา แน่นอน เป็นที่ชัดแจ้งแล้วจากแนวทางที่ผิด[2]«

»มาตรว่าพระผู้อภิบาลของเจ้าทรงประสงค์ แน่นอน ผู้ที่อยู่ในแผ่นดินทั้งมวลจะมีศรัทธา ดังนั้น เจ้าจะบังคับมวลชนจนพวกเขาจนกระทั่งพวกเขาเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ«[3]

ท่านศาสดามีหน้าที่ประกาศคำบัญชาของพระเจ้า ไม่ว่าจะผู้ปฏิเสธจะศรัทธาหรือไม่ก็ตาม : จงกล่าวเถิด นี่คือสัจธรรมมาจากพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ[4]

»มาตรว่าอัลลอฮฺทรงประสงค์ พวกเขาย่อมไม่ตั้งภาคีขึ้น แต่เราก็มิได้ให้เจ้าเป็นผู้พิทักษ์รักษาพวกเขา เจ้าก็มิใช่เป็นผู้รับมอบหมายให้คุ้มครองรักษาพวกเขาด้วย«[5]

อีมานต่ออัลลอฮฺ และรากฐานของอิสลาม ไม่อาจเป็นเกราะคุ้มกันให้รอดปลอดภัยได้ หนทางเดียวเท่านั้นคือ การมีอิทธิพลเหนือความคิดและจิตวิญญาณ การให้เหตุผลและข้อพิสูจน์ที่ถูกต้อง  สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องอธิบายพระบัญชาและความจริงของพระเจ้า เพื่อว่าประชาชนจะได้เข้าใจ และยอมรับสิ่งนั้นด้วยเจตนารมณ์เสรีของตนเอง

อีกมิติหนึ่งของเสรีภาพ »เสรีภาพทางความคิด« อัลกุรอาน มากมายหลายโองการได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่การคิดใคร่ครวญ ในโลกของการมีอยู่ และต้องการให้เขาใช้กำลังความสามารถทั้งหมดของสติปัญญา เรียนรู้จักผลประโยชน์และคุณค่าของตัวเอง และหลีกเลี่ยงการตกเป็นทาสในทุกรูปแบบ เพื่อความสมบูรณ์และเสรีภาพของตน และจงหลีกเลี่ยงความโสโครก และการหลงทางทั้งมวล

»เราจะให้พวกเขาได้เห็นสัญญาณทั้งหลายของเราในขอบเขตอันไกลโพ้น ในตัวของพวกเขาเอง เพื่อจะได้เป็นทีประจักษ์แก่พวกเขาว่า อัลกุรอาน เป็นความจริงแล้วยังไม่พอเพียงอีกหรือ ที่พระผู้อภิบาลของเจ้านั้นทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง[6]«

»ในแผ่นดินนี้มีสัญญาณต่างๆ สำหรับผู้เชื่อมั่นและมีอยู่ในตัวของพวกเจ้าเอง พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือ«[7]

2.การเอาใจใส่ต่อหลักศรัทธาร่วม

อิสลามนับตั้งแต่วันแรกของการประกาศคำสอน ได้นำเสนอและเชิญชวนมนุษย์และประชาโลก ไปสู่การอยู่ร่วมกันโดยสันติมาโดยตลอด อิสลามได้กล่าวแก่ »ชาวคัมภีร์« ว่า :

»จงกล่าวเถิด  โอ้ ชาวคัมภีร์  จงมายังถ้อยคำที่ร่วม [เสมอ] กันระหว่างพวกเรากับเจ้า  เราจะไม่เคารพภักดีผู้ใด นอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว  เราจะไม่ตั้งภาคีต่อพระองค์  พวกเราบางคนจะไม่ยึดเอาอีกบางคน เป็นผู้บริบาลอื่นจากอัลลอฮฺ ดังนั้น ถ้าพวกเขาหันหลังกลับ จงกล่าวเถิดว่า พวกเจ้าจงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริงพวกเราเป็นผู้สวามิภักดิ์«[8]

อัลกุรอาน โองการข้างต้นเป็นหนึ่งในโองการสำคัญ ที่เชิญชวนชาวคัมภีร์ไปสู่ความเป็นเอกภาพภารดรภาพ ข้อพิสูจน์ของโองการนี้ มีความแตกต่างกับข้อพิสูจน์ของโองการก่อนหน้านี้ โองการก่อนหน้าได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่อิสลาม แต่โองการนี้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่ ความศรัทธาร่วมระหว่าง อิสลาม กับชาวคัมภีร์

อัลกุรอานได้สอนมุสลิมว่า ถ้าหากบุคคลใดไม่พร้อมที่จอยอมรับอิสลาม หรือไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในเป้าหมายทั้งหมดของอิสลาม ดังนั้น เจ้าจงอย่านิ่งเฉย แต่จงพยายามร่วมมือกับพวกเขา อย่างน้อยเชิญชวนพวกเขาไปสู่จุดร่วมระหว่างพวกท่านกับพวกเขา ซึ่งสิ่งนี้เป็นรากฐานที่จะนำเขาไปสู่เป้าหมายอันศักดิ์สิทธิ์แห่งศาสนาของตน[9]

3.ปฏิเสธเรื่องความนิยมในเชื้อชาติ

อัลกุรอาน ประณามแนวคิดแบบชาตินิยม หรือการนิยมในเชื้อชาติ โดยกล่าวว่ามนุษย์ทั้งหลายล้วนเป็นบุตรของบิดามารดา ผู้ซึ่งรังเกียจความเป็นชาตินิยม เผ่าพันธุ์ และศาสนา.

»โอ้ มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างสูเจ้าทั้งจากเพศชายและเพศหญิง เราได้แยกสูเจ้าเป็นชนชาติและเผ่าพันธุ์เพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริง ผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่สูเจ้า ณ อัลลอฮฺคือผู้ที่มีความสำรวมตนยิ่งในหมู่สูเจ้า อัลลอฮฺคือพระผู้ทรงรอบรู้ พระสรรเพชญ«

หนึ่งในหลักการสำคัญของการอยู่ร่วมกันโดยสันติคือ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของมนุษย์ เนื่องจากความนิยมในเชื้อชาติ, การคิดว่าตนดีกว่าโดยดูถูกเหยียดหยามชนชาติและศาสนาอื่น คือสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาความร้าวฉานมากมาย สำหรับสังคมมนุษย์ สงครามโลกครั้งแรกและครั้งที่สองคือตัวอย่างสำคัญสำหรับปัญหาดังกล่าว

ความแตกต่างในสีผิว เชื้อชาติ ภาษา มิใช่สาเหตุที่บ่งบอกว่าคนหนึ่งจะประเสริฐและดีกว่าอีกคนหนึ่ง ในทัศนะของอัลกุรอาน ความแตกต่างด้านภาษา สีผิว และเชื้อชาติคือสัญญาณที่บ่งบอกให้เห็นถึงพระเจ้า และเป็นเครื่องมือสำหรับการรู้บุคคลและกลุ่มชน มาตรว่ามนุษย์ทั้งโลกเหมือนกัน มีสีผิวเดียวกัน มีขนาดรูปร่าง และภาษาเดียวกันทั้งหมด จะเกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิต และความไม่พัฒนาของสังคมอย่างแน่นอน

ในทัศนของอัลกุรอาน มนุษย์จะดีกว่ากันได้มีเพียงในแง่ของความสำรวมตนต่อความชั่วเท่านั้น ในแง่ของสังคมมนุษย์ทั้งหมดถูกจัดขึ้นเป็น »ครอบครัวมนุษย์เดียวกัน« หรือ »เป็นประชาชาติเดียวกัน« :

»มนุษย์ เป็นประชาชาติเดียวกัน อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งบรรดานะบีขึ้น เพื่อแจ้งข่าวดี และตักเตือนประชาชน และได้ประทานคัมภีร์ที่เชิญชวนไปสู่สัจธรรม ลงมาพร้อมกับพวกเขา  เพื่อจะได้ตัดสินระหว่างมนุษย์ในสิ่งที่พวกเขาขัดแย้ง«[10]

โองการอัลกุรอาน จำนวนมากมายที่กล่าวถึงปวงมนุษย์ทั้งหมด เช่น กล่าวว่า «یا بنی آدم»[11] บางครั้งก็กล่าวว่า

«یا ایها الانسان»[12] การกล่าวเช่นนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า ความเป็นมนุษย์นั้น เป็นความหมายร่วมระหว่างมนุษย์ ผู้อาศัยอยู่ในโลกใบเดียวกัน ความแตกต่างในแง่ของพื้นที่มิได้บ่งชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในความเป็นมนุษย์ มนุษย์ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ในแง่ของภาษา สีผิว เชื้อชาติ และอื่น.. มีความแตกต่างกัน แต่ในแง่ของอิสลามแล้วมนุษย์ทั้งหมดเป็นบุตรหลานของบิดามารดาเดียวกัน (อาดัมกับฮะวา) ซึ่งความแตกต่างในความเป็นมนุษย์ จะไม่อาจนำมนุษย์ไปสู่การทะเลาะวิวาทได้อย่างเด็ดขาด[13]

4.แลกเปลี่ยนความคิดด้วยสันติวิธี

อัลกุรอาน ได้มีคำสั่งสำทับแก่บรรดามุสลิมว่า »จงโต้เถียงด้วยหลักที่ดีกว่า« และ »จงสนทนาแลกเปลี่ยนด้วยสันติวิธี« จงสนทนากับชาวคัมภีร์ และจงสร้างความสัมพันธ์อันดีงาน บนหลักการร่วมกัน

»พวกเจ้าอย่าโต้เถียงกับชาวคัมภีร์เว้นแต่ด้วยหลักการที่ดีกว่า นอกจากบรรดาผู้อธรรมในหมู่พวกเขา และสูเจ้าจงกล่าว (แก่พวกเขา) ว่า เราศรัทธาในสิ่งที่ถูกประทานแก่เราและสิ่งที่ถูกประทานแก่ท่าน พระเจ้าของเราและของท่านเป็นหนึ่งเดียวกัน และเราเป็นผู้สวามิภักดิ์ต่อพระองค์«[14]

โองการก่อนหน้านี้จะกล่าวถึง การเผชิญหน้ากับบรรดาผู้ตั้งภาคีกับพระเจ้า ผู้ดื้อรั้น และบรรดาญาฮิลทั้งหลาย จงกล่าวสนทนากับพวกเขาไปตามความเหมาะสม แต่ในโองการนี้กล่าวถึง การโต้เถียงด้วยหลักการที่ดีกว่า หรือด้วยคำแนะนำที่ดีกับ “ชาวคัมภีร์” เนื่องจากอย่างน้อยพวกเขาเคยได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนของบรรดาศาสดา และคัมภีร์แห่งฟากฟ้ามาบ้างแล้ว มีความพร้อมมากกว่าสำหรับการรับฟังโองการของพระเจ้า

อัลกุรอาน ได้สำทับบรรดามุสลิมว่า จงหลีกเลี่ยงการตั้งตนเป็นศัตรู การด่าทอ และการต่อสู้กับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และบรรดาผู้ตั้งภาคีเทียบเทียมทั้งหลาย เนื่องจากพวกเขาจะเผชิญหน้ากับพวกท่าน โดยยึดมั่นวิธีการดังกล่าว :

»จงอย่าด่าว่า  บรรดาพวกที่เคารพสักการะอื่นจากอัลลอฮฺ  มิฉะนั้น  พวกเขาก็จะด่าว่าอัลลอฮฺอย่างมีอคติ  โดยปราศจากความรู้  ในทำนองนั้น เราได้ทำให้การงานของทุกหมู่ชน  บรรเจิดสำหรับพวกเขา ยังพระผู้อภิบาลของพวกเขา     คือการกลับคืนของพวกเขา    แล้วพระองค์จะแจ้ง   [ความจริง]   แก่พวกเขา  ในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำ«[15]

ในอีกด้านหนึ่งการอรรถาธิบายคำสั่งของพระเจ้าต้องกระทำด้วยเหตุผล ข้อพิสูจน์และใช้วิธีการอันเหมาะสม อัลกุรอานจึงแนะนำเชิงสำทับแก่ผู้ศรัทธาบางคนที่มีโมหะอย่างรุนแรง เกี่ยวกับปัญหาการตั้งภาคีเทียบเทียมพระเจ้า พวกเขาได้ด่าทอบรรดาผู้ตั้งภาคีเหล่านั้น อัลกุรอานจึงเตือนพวกเขาว่า จงอย่าพูดจาไม่ดีอันไม่มีความเหมาะสม จะเห็นว่าอิสลามได้รักษาหลักของจริยธรรมอันดีงาม การให้อภัยและการอโหสิกรรมต่อกัน แม้ว่าจะอยู่ต่อหน้าศาสนาที่อุปโลกน์และเลวร้ายที่สุดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องระวังรักษามารยาท เนื่องจาทุกประชาชาตินั้นจะมีความหลงใหลในหลักความเชื่อ และการกระทำของตนเอง ฉะนั้น การกล่าวคำพูดไม่ดี การประพฤติความรุนแรง จะกลายเป็นสาเหตุทำให้พวกเขามีความทระนงในความเชื่อของตนยิ่งขึ้น

5.สนับสนุนและยอมรับข้อเสนอในเชิงสันติ

»ดังนั้น ถ้าพวกเขาได้ล่าถอยไปจากพวกเจ้า    โดยไม่ต่อสู้กับพวกเจ้าอีก   พร้อมกับเสนอการประนีประนอมกับพวกเจ้า  ดังนั้น  อัลลอฮฺไม่ทรงเปิดทาง [สู้รบ]  ให้พวกเจ้าปราบปรามพวกเขา«[16]

ชนเผ่าต่างๆ ในหมู่อาหรับจะมีชนเผ่าหนึ่งนามว่า “บนีฎุมเราะฮฺ” และ “อัชญะอฺ” ชนเผ่าบนีฎุมเราะฮฺ ได้ทำสนธิสัญญากับมุสลิม ส่วนชนเผ่าอัชญะอฺ ได้ทำสัญญากับบนีฎุมเราะฮฺ

หลังจากเวลาผ่านไปได้ไม่นาน มุสลิมทราบข่าวว่าชนเผ่าอัชญะฮฺ ซึ่งมีประชากรประมาณ 700 คน โดยการชี้นำของผู้ดื้อรั้นคนหนึ่งนามว่า มัสอูด บิน เราะญีละฮฺ ได้เคลื่อนพลเข้ามาใกล้มะดีนะฮฺแล้ว ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ส่งตัวแทนไปยังพวกเขา เพื่อสืบหาเป้าหมายของการเคลื่อนพลมายังมะดีนะฮฺ พวกเขากล่าวว่า : พวกเราได้ยกพลมา “พวกเราได้มากันอย่างพร้อมหน้าก็เพื่อจะยุติความบาดหมางและเป็นศัตรูกับมุฮัมมัด” เมื่อท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ยินเช่นนั้นท่านได้สั่งให้มอบอินทผลัมจำมากเพื่อเป็นของกำนัลแก่พวกเขา หลังจากนั้นท่านได้ติดต่อกับพวกเขา และพวกเขาได้เปิดเผยว่า พวกเราไม่สามารถเป็นศัตรูกับท่านได้ เนื่องจากพวกเรามีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งพวกเราไม่มีกำลัง และไม่ปรารถนาที่จะทำสงครามกับท่าน เพราะสถานที่ของพวกเราอยู่ใกล้กับท่าน ด้วยเหตุนี้เอง พวกเราจึงได้มาทำ สนธิสัญญาหย่าศึก กับท่าน ในเวลานั้น โองการข้างต้นจึงได้ถูกประทานลงมาเพื่อให้คำสั่งที่จำเป็น แก่บรรดามุสลิม[17]

6.ยอมรับและให้สิทธิแก่ชนส่วนน้อย

ไม่มีศาสนาใดบนโลกนี้ ที่จะเหมือนกับอิสลามในการสนับสนุนเรื่องความเสรี ปกป้องเกียรติยศและสิทธิของประชาชาติ, อิสลามส่งเสริมความยุติธรรมแก่สังคมโดยสมบูรณ์ในประเทศอิสลาม ซึ่งมิได้จำกัดเฉพาะมุสลิมเท่านั้น ทว่าสำหรับพลเมืองทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในแผ่นดิน แม้ว่าจะมีความแตกต่างด้านศาสนา เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ ภาษา และสีผิวก็ตาม และนี่ถือว่าเป็นความพิเศษอันยิ่งใหญ่สำหรับมวลมนุษย์ ซึ่งนอกจากอิสลามแล้วไม่มีศาสนา หรือกฎหมายของประเทศใด จะสามารถสร้างให้สิ่งนี้เป็นจริงได้

ชนหมู่น้อยของศาสนาต่างๆ ถ้าได้ทำสนธิสัญญาในฐานะผู้อยู่อาศัย และจะเชื่อฟังปฏิบัติตาม พวกเขาก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ในประเทศนั้นได้อย่างเสรี เหมือนกับพลเมืองที่เป็นมุสลิมทั่วไป พวกเขาจะได้รับประโยชน์สิทธิทางสังคม ความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอก

อัลกุรอาน กล่าวอย่างตรงไปตรงมาถึงการเมืองทั่วไปของอิสลาม การปกปักรักษาสิทธินานาชาติ และศาสนาต่างๆ โดยกล่าวว่า »อัลลอฮฺ มิได้ทรงห้ามสูเจ้าไม่ให้ทำดีหรือให้ความยุติธรรม แก่บรรดาผู้ที่ไม่ได้ต่อต้านสูเจ้าในการเผยแพร่ศาสนา และมิได้ขับไล่สูเจ้าออกจากบ้านเรือนของสูเจ้า เนื่องจาก อัลลอฮฺทรงรักผู้มีความยุติธรรม«[18]

อิสลามอนุญาตชนหมู่น้อยที่นับถือศาสนาอื่น และต่อต้านอิสลามดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอิสลามได้ และพวกเขาจะได้รับสิทธิพิเศษในความเป็นมนุษย์เหมือนกับพลเมืองทั่วไป โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่รบกวน หรือสร้างความรำคาญแก่อิสลามและมุสลิม และจะต้องไม่ดำเนินการอันใดเพื่อการต่อต้าน

อัลกุรอาน บางโองการกล่าว่า :

»ทว่าอัลลอฮ ทรงห้ามสูเจ้าไม่ให้ข้องเกี่ยว หรือผูกมิตรกับบรรดาผู้ที่ต่อต้านสูเจ้าในการเผยแพร่ศาสนา ขับไล่สูเจ้าออกจากบ้านเรือนของสูเจ้า หรือช่วยเหลือผู้อื่นขับไล่สูเจ้า และผู้ใดผูกมิตรกับพวกเขา แน่นอน พวกเขาเป็นผู้อธรรม«[19]

เมื่อพิจารณาอัลกุรอาน 2 โองการนี้จะเห็นว่าการเมืองทั่วของอิสลาม ที่มีต่อชนส่วนน้อยที่นับถือศาสนาอื่น ที่ขัดแย้งกับอิสลามคือ ตราบที่ชนส่วนน้อยไม่ละเมิดสิทธิของมุสลิม ไม่วางแผนการเพื่อต่อต้านอิสลามและมุสลิม เขาสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอิสลามอย่างเสรี ในทางตรงกันข้ามบรรดามุสลิมก็มีหน้าที่แสดงความยุติธรรม และประพฤติดีกับพวกเขา แต่ถ้าพวกเขาต่อต้านอิสลามและมุสลิม หรือให้ความร่วมมือกับประเทศอื่น เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่จะต้องขัดขวางแผนการของพวกเขา และจะต้องไม่นำพวกเขามาเป็นมิตร

อิสลามถือว่าความเสรีภาพ การให้เกียรติ และความเคารพต่อชนส่วนน้อยไปตามความพอดี ซึ่งถ้าหากชนส่วนน้อยที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสลาม กระทำสิ่งที่อนุญาตให้ศาสนาของตน แต่เป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม เช่น ดื่มสุรา จะไม่มีใครท้วงติงพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะปฏิบัติอย่างโจ่งแจ้ง และถ้าพวกเขาปฏิบัติเช่นนั้นจริงจะมีความผิดในฐานะ ทำลายกฎหมาย ซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษต่อไป และถ้าพวกเขาปฏิบัติสิ่งฮะรอม ซึ่งในศาสนาของพวกเขาก็ถือว่าสิ่งนั้นฮะรอมด้วย เช่น การผิดประเวณี การรักร่วมเพศ ...ซึ่งในแง่ของสิทธิแล้วมิได้แตกต่างอะไรไปจากมุสลิม ดังนั้น ผู้พิพากษามีสิทธิที่จะตัดสินลงโทษเขา ถึงแม้ว่าสามารถส่งตัวเขาคืนกลับสู่ประเทศของเขา เพื่อให้ตัดสินไปตามคำสอนศาสนาของเขาได้ก็ตาม[20]

ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ถ้าหากผู้อาศัยอยู่ในประเทศอิสลาม ได้นำเอาข้อร้องเรียนของตนไปยังผู้พิพากษาที่เป็นมุสลิม ดังนั้น ผู้พิพากษาเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกว่าจะตัดสินเขาตามกฎหมายอิสลาม หรือเลือกไม่ตัดสินก็ได้ อัลกุรอาน กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า :

»ถ้าหากพวกเขามาหาเจ้า ก็จงตัดสินระหว่างพวกเขา หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงพวกเขาเสีย[21]«

แน่นอน วัตถุประสงค์มิได้หมายความว่า ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เลือกไปตามใจชอบของตนหนึ่งในสองแนวทางนั้น ทว่าวัตถุประสงค์คือ ให้พิจารณาที่ข้อกำหนดและเงื่อนไข ถ้าหากเป็นความเหมาะสมก็จงตัดสินไปตามกฎนั้น มิเช่นนั้นแล้วก็จงหลีกเลี่ยงไปเสีย[22] ในระหว่างสองแนวทางนั้น ท่านสามารถเลือกตามความเหมาะสม โดยให้ความสำคัญต่อปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ระหว่างชาวคัมภีร์กับมุสลิม จากโองการข้างต้นเข้าใจได้ว่า การอยู่ร่วมกันโดยสันติระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคัมภีร์ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปถึงขนาดที่พวกเขาได้มาหาท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพื่อให้ตัดสินคดีความ ดังนั้น ความยุติธรรมที่ยั่งยืนจึงเหมาะสมกับชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่มีค่ายิ่ง ฉะนั้น ถ้าผู้ปกครองหรือรัฐอิสลามจำเป็นต้องตัดสินคดีความแล้วละก็ สิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ ความยุติธรรม จะต้องไม่นำเรื่องชนชาติ สีผิว ความอคติของกลุ่มชน ความต้องการตามอารมณ์ การดูถูก และการข่มขู่เข้ามาเกี่ยวข้อง และมีอิทธิต่อการตัดสิน

7.ยอมรับบรรดาศาสดาและคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับอื่นอย่างเป็นทางการ

โดยพื้นฐานแล้วคัมภีร์แห่งฟากฟ้าทุกฉบับ ในเรื่องหลักความเชื่อจะมีความสอดคล้องกัน และจะมีเป้าหมายอันเดียวกัน (อบรมสั่งสอนและสร้างความสมบูรณ์ต่อมนุษย์) แม้ว่าในเรื่องรายละเอียดปลีกย่อย เกี่ยวกับการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ที่ละขั้นตอนนั้น จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างก็ตาม ซึ่งเป็นธรรมดาเมื่อมีแนวทางใหม่เกิดขึ้น ย่อมมีการพัฒนาสูงขึ้นไปในระดับหนึ่ง มีโปรแกรมที่ครอบคลุมเหนือกว่า อัลกุรอาน ขณะที่ให้เกียรติและแสดงความเคารพ ต่อบรรดาศาสดาก่อนหน้าแล้ว ยังให้การรับรองคัมภีร์ที่มีมาก่อนหน้าด้วย

»เราประทานคัมภีร์  [แห่งฟากฟ้า]   ลงมาแก่เจ้าด้วยความจริง    เป็นที่ยืนยันคัมภีร์แห่งฟากฟ้าที่มีมาก่อน เป็นที่ควบคุม  [พิทักษ์]  เหนือคัมภีร์นั้น ดังนั้น   เจ้าจงพิพากษาระหว่างพวกเขา  ตามที่อัลลอฮฺประทานลงมาเถิด    จงอย่าปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำของพวกเขา«[23]  

อัลกุรอาน ประมาณ 20 โองการได้ให้การรับรองคัมภีร์ที่มีมาก่อนหน้านั้น ทั้งคัมภีร์เตารอตและอินญิล[24] โดยหลักการแล้วแบบฉบับของอัลลอฮฺจะให้การรับรองศาสดาทุกท่าน และคัมภีร์ทุกเล่มก่อนหน้านั้น อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสถึงการรับรองฐานะภาพของศาสดามูซา (อ.) พร้อมกับคัมภีร์เตารอต และคัมภีร์แห่งฟากฟ้าเล่มอื่นหลังจากนั้น หมายถึงท่านศาสดาอีซา (อ.) และคัมภีร์อินญีล โดยตรัสว่า :

»เราให้อีซาบุตรของมัรยัม  ตามรอยพวกเขามา  เป็นผู้ยืนยันเตารอตที่อยู่เบื้องหน้าเขา  เราประทานอินญีลแก่เขา  ในนั้นมีทางนำแสงสว่าง   เป็นที่ยืนยันสิ่งที่มีก่อนในคัมภีร์เตารอต   เป็นทางนำ  เป็นข้อตักเตือนสำหรับผู้สำรวมตนจากความชั่ว«[25]

8.ส่งเสริมความสันติวิธีนานาชาติ

อิสลามนั้นนับตั้งแต่แรกแล้วได้ติดตามและสนับสนุนหลักของความสันติ และจากวิธีการดังกล่าวได้มีการวางแนวทาง เพื่อสร้างความสันติระหว่างชาติ และการอยู่ร่วมกันอย่างปรกติสุข ในประเด็นนี้เพียงพอแล้วที่เราจะรู้ว่า ความสงบสันติคือหัวใจของอิสลาม ดังที่กล่าวว่าคำว่า อิสลาม มาจากรากศัพท์คำว่า ซิลมุน ด้วยเหตุนี้ จึงครอบคลุมความหมายของความสันติ ปลอดภัย และความสงบไว้ด้วย ฉะนั้น อัลกุรอาน จึงมีคำสั่งว่าทั้งหมดจงเข้ามาสู่ “ความสงบสันติเถิด” :

»โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงเข้าไปสู่ความสงบสันติ [อิซลาม] โดยพร้อมเพียงกัน[26]«

“ความสันติ” นั้นสูงส่งกว่าและมั่นคงยิ่งกว่า “ความสงบ” เนื่องจากความหมายของ ความสันติและความปลอดภัยนั้น จะไม่มีภาพลักษณ์ของความสงบภายนอกชั่วคราว

อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ว่า ถ้าหากศัตรูของเจ้าได้เข้ามาสู่ประตูของความสันติ และกระหายในสิ่งนั้น ฉะนั้น เจ้าจงฉวยโอกาสและเห็นดีเห็นงามกับพวกเขาเถิด

»หากพวกเขาโอนอ่อนมาเพื่อการประนีประนอมแล้ว เจ้าก็จงโอนอ่อนตามเพื่อการนั้นด้วย«[27]

ความมุ่งมั่นปรารถนาของอิสลามที่มีต่อความสันติในหมู่มนุษย์ ถึงขั้นที่ว่าให้ความหวังต่อบุคคลที่มีศรัทธาว่า บางที่เนื่องจากผลที่เกิดจากความประพฤติในแง่ของการสร้างสรรค์ความสันติของชาวมุสลิม ในระหว่างพวกเขาและศัตรูอาจเกิดความเป็นมิตรระหว่างกันก็ได้ :

»บางทีอัลลอฮฺ อาจทรงทำให้เกิดความรักและสัมพันธ์ภาพอันดี ระหว่างพวกเจ้ากับบรรดาผู้ตั้งภาคีที่ตั้งตนเป็นศัตรูในหมู่พวกเขา อัลลอฮฺทรงเดชานุภาพ อัลลอฮฺทรงอภัยและทรงเมตตาเสมอ«[28]

บุคคลที่มิใช่มุสลิมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน กลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ต่อต้านมุสลิม กลุ่มที่จ้องจะทำลายล้างและทำสงครามกับพวกเขา ขับไล่พวกเขาออกจากเคหะสถาน ตั้งตนเป็นศัตรูกับอิสลามทั้งด้วยคำพูดและการกระทำ อย่างเปิดเผย ดังนั้น หน้าที่ของมุสลิมกับชนกลุ่มนี้คือ การหลีกเลี่ยงความเป็นมิตร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขา ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ มุชริกชาวมักกะฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาหัวหน้าชาวกุเรชพวกเขาได้ลงมือกระทำ

 และบางกลุ่มชนที่ให้การช่วยเหลือพวกเขาอย่างเปิดเผย

ส่วนชนกลุ่มที่สอง แม้ว่าเขาจะเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาและตั้งภาคีเทียบเทียม แต่ไม่เคยละเมิดชาวมุสลิม ไม่เคยตั้งตนเป็นศัตรู ไม่เคยทะเลาะวิวาทหรือทำสงคราม และไม่เคยขับไล่พวกเขาออกจากเคหะสถาน นอกจากนั้นพวกเขาบางกลุ่มยังทำสัญญาสงบศึกกับบรรดามุสลิมอีกต่างหาก ดังนั้น จำเป็นต้องซื่อสัตย์กับชนกลุ่มนี้ และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา ตัวอย่างทีชัดเจนของชนกลุ่มนี้คือ ชนเผ่าเคาะซาอะฮฺ ซึ่งพวกเขาได้ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับบรรดามุสลิม[29]

สรุปสิ่งที่กล่าวมา ผู้ที่ให้การสนับสนุนเรื่องความสันติภาพ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และให้สิ่งนี้เป็นนโยบายต่างประเทศ ถือว่าเป็นผู้มีความชาญฉลาดที่สุด และแผนการพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าที่สุด อิสลามเองให้การสนับสนุนโปรแกรมนี้ อีกทั้งได้สนับสนุนและให้ความสำคัญต่อความสงบสันติ แม้แต่ในสังคมเล็กๆ เช่น สังคมครอบครัวเมื่อเกิดความขัดแย้ง ได้มีคำสั่งให้ประนีประนอม »สันติคือความดีงาม«

9.ต่อสู้กับการจินตนาการและการคาดเดาในการดีกว่าของศาสนาอื่น

อัลกุรอาน บางโองการสนับสนุนให้ต่อสู้กับความศรัทธาที่สุดโต่ง และมีอคติของศาสนาต่างๆ ความศรัทธาที่ไม่เป็นจริงคือแหล่งที่มาของความอคติจำนวนมากมาย ก่อให้เกิดความเป็นศัตรูระหว่างศาสนิกต่างๆ คัมภีร์แห่งฟากฟ้าของเราต่างเชิญชวนไปสู่การอยู่ร่วมกับศาสนิกอื่น อย่างสันติวิธี นอกจากนั้นยังได้ประณามพื้นฐานความคิด และความเชื่อผิดๆ อีกด้วย

ยะฮูดียและคริสเตียน เชื่อว่าพวกเขาคือประชาชาติที่ดีที่สุด ที่ได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้า เฉพาะพวกเขาเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าโดยตรง สวรรค์ได้ถูกสร้างขึ้นสำหรับพวกเขา ไม่มีประชาชาติของศาสนาใดจะได้รับประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ นอกจากพวกยะฮูดียฺและนัซรอนีเท่านั้น ซึ่งไม่ว่าในแง่ใดก็ตามพวกเขาประเสริฐและสูงกว่า และคู่ควรแก่การเคารพสรรเสริญ เป็นหน้าที่ของประชาโลกทั้งหมดที่จะต้องให้ความเคารพ ซึ่งทั้งหมดต้องให้เกียรติต่อรัฐบาลที่ได้รับการเลือกสรร[30]

»บรรดายะฮูดียฺ  นัซรอนียฺ  [คริสเตียน]   กล่าวว่า   พวกเราเป็นบุตรของอัลลอฮฺ   เป็นที่รักของพระองค์   จงกล่าวเถิดแล้วไฉนเล่าพระองค์จึงทรงลงโทษ   ความผิดทั้งหลายของพวกเจ้า     ทว่าพวกเจ้าเป็นเพียงสามัญชน  ในหมู่ที่พระองค์ทรงบังเกิดมา  พระองค์ทรงอภัยโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์  พระองค์ทรงลงโทษแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์   อำนาจแห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย  แผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ในระหว่างทั้งสองนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺเท่านั้น ยังพระองค์คือการกลับคืน«[31]

อัลกุรอาน อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า  :

»พวกเขากล่าวว่า     จะไม่มีผู้ใดได้เข้าสวรรค์อย่างแน่นอน  นอกจากชาวยะฮูดียฺหรือคริสต์เท่านั้น   นี่เป็น[เพียง] ความเพ้อฝันของพวกเขา จงกล่าวเถิด ถ้าท่านเป็นผู้สัตย์จริง จงนำหลักฐานของพวกท่านออกมา แน่นอน ผู้ใดที่ยอมสวามิภักดิ์ต่ออัลลอฮฺ และเขาเป็นผู้ปฏิบัติความดี รางวัลของเขา [ถูกเก็บรักษา] อยู่ ณ พระผู้อภิบาลของเขา ไม่มีความหวาดกลัวแก่พวกเขา และพวกเขาจะไม่ระทม«[32] ด้วยเหตุนี้ จะเห็นว่าสวรรค์ของอัลลอฮฺ มิได้จำกัดให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

อัลกุรอาน จึงต่อสู้กับแนวคิดที่ผิดพลาด มีอคติ เป็นอันตราย และก่อให้เกิดสงครามของสองชนชาตินี้ พร้อมทั้งได้เปิดเผยข้อพิสูจน์และความไร้เหตุผลของพวกเขาให้ชัดเจนขึ้นมา

บรรดายะฮูดียฺ ได้พยายามนำเสนอความคิดผิดๆ และอันตรายของพวกเขาต่อสังคม และประชาชาติต่างๆ พวกเขาไม่พร้อมที่จะอยู่อย่างสันติกับประชาชาติ และศาสนาใดทั้งสิ้นบนโลกนี้ ดังนั้น การกำจัดเรื่องการแบ่งชั้นวรรณะ เชื้อชาตินิยม ความอคติ และแนวคิดที่ผิดให้หมดไป ถือเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างความสงบ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคม

ในทัศนะของอัลกุรอาน ไม่มีประชาชาติใดได้รับการเลือกสรรไว้เป็นพิเศษ และไม่มีประชาชาติใดทำสนธิสัญญาเป็นพี่น้องกับพระเจ้า ความประเสริฐ และความยิ่งใหญ่ ของคนๆ หนึ่งเป็นขอ

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทั้งที่ซะกาตไม่วาญิบสำหรับท่านอะลี (อ.) แล้วเพราะเหตุใดท่านต้องบริจาคซะกาตขณะนมาซด้วย ?
    6961 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/09/25
    ท่านอิมามอะลี (อ.) ไม่เคยเป็นคนจนหรือคนอนาถาจนไม่มีจะกินแต่อย่างใดแต่ท่านเป็นคนมีความพยายามสูงและไม่เคยหยุดนิ่ง, ท่านได้รับทรัพย์สินจำนวนมากมายแต่ทรัพย์ทั้งหมดเหล่านั้นท่านได้บริจาคไปในหนทางของอัลลอฮฺ (ซบ.), โดยไม่เหลือทรัพย์ส่วนใดไว้สำหรับตนเอง,ดังที่โองการต่างๆได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตของท่านไว้มากมายซึ่งหนึ่งในโองการเหล่านั้นก็คือโองการที่กำลังกล่าวถึงนอกจากนั้นแล้ววัฒนธรรมของอัลกุรอานยังได้กล่าวถึงการบริจาคที่เป็นมุสตะฮับ (สมัครใจ)
  • กรุณาไขเคล็ดลับวิธีบำรุงสมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมตามที่ปรากฏในฮะดีษ
    7360 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ปัจจัยที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองและเสริมความจำมีอยู่หลายประเภทอาทิเช่น1. ปัจจัยด้านจิตวิญญาณก. การรำลึกถึงอัลลอฮ์(ด้วยการปฏิบัติศาสนกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนมาซตรงเวลา)ข. อ่านบทดุอาที่มีผลต่อการเสริมความจำอย่างเช่นดุอาที่นบี(ซ.ล.)สอนแก่ท่านอิมามอลี(อ.)[i]سبحان من لایعتدى على اهل مملکته، سبحان من لایأخذ اهل الارض بالوان العذاب، سبحان الرؤوف الرحیم، اللهم اجعل لى فى قلبى نورا و بصرا و فهما و علما انک على کل ...
  • ทำไมอิมามฮุซัยน (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนในสมัยของมุอาวิยะฮ ?
    7508 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2554/03/08
    สำหรับคำตอบที่ว่าเพราะเหตุใดท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงไม่ลุกขึ้นยืนต่อสู้ในสมัยมุอาวิยะฮฺนั้นสามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะประเด็นเหล่านี้ :1. เป็นเพราะการให้เกียรติและเคารพในสนธิสัญญาของพี่ชายและอิมามของท่าน
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    8981 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้ให้บัยอัตแก่อบูบักรฺ อุมัร และอุสมานหรือไม่? เพราะอะไร?
    10155 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    ประการแรก: ท่านอิมามอะลี (อ.) และบรรดาสหายกลุ่มหนึ่งของท่าน พร้อมกับสหายของท่านศาสดา มิได้ให้บัยอัตกับท่านอบูบักรฺตั้งแต่แรก แต่ต่อมาคนกลุ่มนี้ได้ให้บัยอัต ก็เนื่องจากว่าต้องการปกปักรักษาอิสลาม และความสงบสันติในรัฐอิสลาม ประการที่สอง: ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นไม่อาจคลี่คลายให้เสร็จสิ้นได้ด้วยคมดาบ หรือความกล้าหาญเพียงอย่างเดียว และมิได้หมายความว่าทุกที่จะสามารถใช้กำลังได้ทั้งหมด เนื่องจากมนุษย์เป็นผู้มีสติปัญญา และฉลาดหลักแหลม สามารถใช้เครื่องมืออันเฉพาะแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สาม: ถ้าหากท่านอิมามยอมให้บัยอัตกับบางคน เพื่อปกป้องรักษาสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า เช่น ปกป้องศาสนาของพระเจ้า และความยากลำบากของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั่นมิได้หมายความว่า ท่านเกรงกลัวอำนาจของพวกเขา และต้องการรักษาชีวิตของตนให้รอดปลอดภัย หรือท่านมีอำนาจต่อรองในตำแหน่งอิมามะฮฺและการเป็นผู้นำน้อยกว่าพวกเขาแต่อย่างใด ประการที่สี่ : จากประวัติศาสตร์และคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) เข้าใจได้ว่า ท่านอิมาม ได้พยายามคัดค้านและท้วงติงพวกเขาหลายต่อหลายครั้ง เกี่ยวกับสถานภาพตามความจริง ในช่วงการปกครองของพวกเขา แต่ในที่สุดท่านได้พยายามปกปักรักษาอิสลามด้วยการนิ่งเงียบ และช่วยเหลืองานรัฐอิสลามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู ...
  • การนอนในศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นบริเวณฮะร็อมมีฮุกุมอย่างไร?
    5350 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/19
    ฮะร็อม(บริเวณสุสาน)ของบรรดาอิมามตลอดจนศาสนสถานถือเป็นสถานที่ที่มุสลิมให้เกียรติมาโดยตลอดเนื่องจากการแสดงความเคารพสถานที่เหล่านี้ถือเป็นการให้เกียรติบรรดาอิมามและบุคคลสำคัญต่างๆที่ฝังอยู่ณสุสานดังกล่าวฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ส่อไปในทางลบหลู่ดูหมิ่นสถานที่เหล่านี้เท่าที่จะทำได้แต่ทว่าในแง่ของฟิกฮ์การนอนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เช่นมัสยิด, ฮะร็อมฯลฯถือว่าไม่เป็นที่ต้องห้ามนอกจากคนทั่วไปจะมองว่าการนอนในสถานที่ดังกล่าวเป็นการไม่ให้เกียรติสถานที่ซึ่งในกรณีนี้เนื่องจากวิถีประชาเห็นว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่ไม่บังควรก็จะถึอว่าไม่ควรกระทำไม่ว่าสถานที่เหล่านั้นจะเป็นมัสยิดหรือฮะร็อมของบรรดาอาอิมมะฮ์ฯลฯก็ตาม
  • มีภัยคุกคามใดที่อาจจะเกิดขึ้นกับสาธารณรับอิสลาม?
    5365 ระบบต่างๆ 2554/11/21
    เพื่อที่จะทราบถึงภัยคุกคามของสิ่งๆหนึ่งก่อนอื่นเราจะต้องทำความรู้จักกับมูลเหตุต่างๆที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้น (ปัจจัยกำเนิด) และสิ่งที่จะทำให้สิ่งนั้นดำรงอยู่ (ปัจจัยพิทักษ์) เสียก่อนเนื่องจากภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็คือภัยที่จะคุกคามสองปัจจัยดังกล่าวนี่เองปัจจัยกำเนิดและพิทักษ์ของสาธารณรัฐอิสลามก็คือ 1. หลักคำสอนที่สูงส่งของอิสลาม (การปฏิบัติตามคำสั่งและหลักคำสอนของอิสลาม) 2. การมีผู้นำการปฏิวัติที่รอบรู้ 3. ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนและการเชื่อฟังผู้นำหากปัจจัยดังกล่าวถูกคุกคามสาธารณรัฐอิสลามก็จะตกอยู่ในอันตรายฉะนั้นประชาชนเจ้าหน้าที่รัฐ
  • เนื่องจากการเสริมสวยใบหน้า ดังนั้น กรณีนี้สามารถทำตะยัมมุมแทนวุฎูอฺได้หรือไม่?
    9265 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    ทัศนะบรรดามัรญิอฺ ตักลีดเห็นพร้องต้องกันว่า สิ่งที่กล่าวมาในคำถามนั้นไม่อาจนำมาเป็นข้ออ้าง เพื่อละทิ้งวุฎูอฺหรือฆุซลฺ และทำตะยัมมุมแทนได้เด็ดขาด[1] กรณีลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่มีความสำรวมตนส่วนใหญ่จะวางแผนไว้ก่อน เพื่อไม่ให้โปรแกรมเสริมสวยมามีผลกระทบกับการปฏิบัติสิ่งวาญิบของตน ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบเป็นอย่างดีว่าเวลาที่ใช้ในการเสริมสวยแต่ละครั้งจะไม่เกิน 6 ชม. ดังนั้น ช่วงเวลาซุฮฺรฺ เจ้าสาวสามารถทำวุฏูอฺและนะมาซในร้านเสริมสวย หลังจากนั้นค่อยเริ่มแต่งหน้าเสริมสวย จนกว่าจะถึงอะซานมัฆริบให้รักษาวุฏูอฺเอาไว้ และเมื่ออะซานมัฆริบดังขึ้น เธอสามารถทำนะมาซมัฆริบและอิชาอฺได้ทันที ดังนั้น ถ้าหากมีการจัดระเบียบเวลาให้เรียบร้อยก่อน เธอก็สามารถทำได้ตามกล่าวมาอย่างลงตัว อย่างไรก็ตามเจ้าสาวต้องรู้ว่าเครื่องสำอางที่เธอแต่งหน้าไว้นั้น ต้องสามารถล้างน้ำออกได้อย่างง่ายดาย และต้องไม่เป็นอุปสรรคกีดกั้นน้ำสำหรับการทำวุฎูอฺเพื่อนะมาซซุบฮฺในวันใหม่ [1] มะการิมชีรอซียฺ,นาซิร,อะฮฺกามบานูวอน, ...
  • การเข้าร่วมงานแต่งงานที่มีจำนวนแขกจำ ซึ่งกำหนดไว้ก่อนแล้วล่วงหนา แต่แขกที่มาไม่มีใครคุมผ้าเรียบร้อยสักคนเมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว กรณีนี้กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวไว้อย่างไร (และลักษณะงานเช่นนี้ โดยทั่วไปเจ้าบ่าวและมะฮาริมที่เข้าร่วมงานแต่ง ตลอดงานนิกาฮฺจะแยกระหว่างชายหญิง)
    4701 สิทธิและกฎหมาย 2562/06/15
    เริ่มแรกเกี่ยวกับคำถามข้างต้น ขอกล่าวถึงทัศนะของมัรญิอฺตักลีด 1.งานสมรสตามประเพณีอิสลาม คือการร่วมแสดงความสุข รื่นเริง โดยปราศจากการกระทำความผิดบาปต่าง ๆ หรือภารกิจต่าง ๆ ที่ฮะรอม และมารยาทอันไม่ดีไม่งาม ที่มิใช่วิสัยของมนุษย์[1] 2.เมื่ออยู่ต่อหน้าเจ้าบ่าว หรือนามะฮฺรัมคนอื่น จำเป็นต้องรักษาฮิญาบ อย่างเคร่งครัด ซึ่งตรงนี้ไม่แตกต่างกันระหว่างงานสมรส และงานชุมนุมอย่างอื่น[2] 3.การเข้าร่วมงานสมรส หรืองานสังสรรค์อื่นๆ ซึ่งภายในงานนั้นมิได้เอาใจใส่สิ่งเป็นวาญิบในอิสลาม (เช่น แขกที่มาอยู่รวมกันทั้งชายและหญิง มีการเต้นรำ หรือเปิดเพลงที่ฮะรอม อย่างเปิดเผย) ถือว่าฮะรอม[3] 4. ถ้างานสมรสมิได้เป็นไปในลักษณะที่ว่า เป็นงานสังสรรค์แบบไร้สาระ ฮะรอม เป็นบาป หรือการปรากฏตัวในงานเหล่านั้น มิได้เป็นการสนับสนุนการก่อความเสียหาย ซึ่งการเข้าร่วมในงานสังสรรค์เช่นนั้น โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นการสนับสนุน ถือว่าไม่เป็นไร
  • แถวนมาซญะมาอะฮฺควรตั้งอย่างไร? การเคลื่อนในนมาซทำให้บาฎิลหรือไม่?
    6811 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    เกี่ยวกับคำถามของท่านในเรื่องการจัดแถวนมาซญะมาอะฮฺมีกล่าวไว้แล้วในหนังสือฟิกฮต่างๆ :1. มะอฺมูมต้องไม่ยืนล้ำหน้าอิมามญะมาอะฮฺ[1]2. มุสตะฮับถ้าหากมะอฺมูม,เป็นชายเพียงคนเดียว, ให้ยืนด้านขวามือของอิมามญะมาอะฮฺ[2], และเป็นอิฮฺติยาฏวาญิบให้ยืนถอยไปด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺแต่ถ้ามีมะอฺมูมหลายคนให้ยืนด้านหลังของอิมามญะมาอะฮฺ[3]ดังนั้นโดยทั่วไปของเรื่องนี้ต้องการให้แต่ละคนจากมะอฺมูมคนที่ 1 และ 2 ปฏิบัติหน้าที่ของตนส่วนคำตอบสำหรับคำถามที่ว่ามะอฺมูมคนที่สองเป็นสาเหตุทำให้มะอฺมูมคนแรกต้องเคลื่อนที่ในนมาซญะมาอะฮฺอันเป็นสาเหตุทำให้นมาซของเขาบาฏิลหรือไม่นั้น, ต้องกล่าวว่า: การกระทำใดก็ตามที่ทำให้รูปแบบของมนาซต้องสูญเสียไปถือว่านมาซบาฏิล, เช่นการกอดอกหรือการกระโดดและฯลฯ[4]มัรฮูมซัยยิดกาซิมเฎาะบาเฏาะบาอียัซดีกล่าวว่า[5]ขณะนมาซ,ถ้าได้เคลื่อนเพื่อหันให้ตรงกับกิบละฮฺ[6]ถือว่าถูกต้อง,แม้ว่าจะถอยไปสองสามก้าวหรือมากกว่านั้น, เนื่องจากการเคลื่อนเพียงเท่านี้ไม่นับว่าเป็นอากับกริยาเพิ่มในนมาซทั้งที่มิได้มีการเคลื่อนมากมายและไม่ถือเป็นการทำลายรูปลักษณ์ของนมาซหรือเคลื่อนมากไปกว่านั้นก็ยังไม่ถือว่าทำลายรูปลักณ์ของนมาซอยู่ดีด้วยเหตุนี้มีรายงานอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นด้วย

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60074 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57461 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42157 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39251 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38900 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33960 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27975 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27896 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27720 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25733 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...