Please Wait
10262
ปัจจุบันวิธีการศึกษาศาสนาในสถาบันสอนศาสนา ณ ประเทศอิหร่าน จะยกระดับสูงมาก ซึ่งแบ่งออกเป็นหลายระดับ เนื่องจากนักศึกษาทุกท่านก่อนเข้าศึกษาศาสนา ต้องจบการศึกษาระดับมัธยมปลายเป็นอย่างน้อย ระดับต้นของการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องศึกษาวิชา อิลมุล ซะรอฟ วิชาการเปลี่ยนแปลงคำ รูปแบบหรือโครงสร้างของลำดับคำในประโยคและวะล, อิลมุลนะฮฺวุ วิชาโครงสร้างของประโยคที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษา, อิลมุลมะอานี วิชาวาทศาสตร์ หรือบางครั้งก็เรียก วาทศิลป์ เหมือนกัน, อิลมุลลุเฆาะฮฺ การเข้าใจความหมายของคำอย่างถูกต้อง, อิลมุลมันติก วิชาที่สอนให้รู้จักคิดอย่างถูกต้อง(ตรรกศาสตร์) ระดับที่สอง ซึ่งมีทั้งสิ้นสิบระดับด้วยกัน วิชาที่ต้องเรียนในระดับนี้คือ อุซูล วิชาหลักการ หรือกฎที่ใช้เป็นมูลฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ หรือแนวคิด หรือกฎที่ใช้พิสูจน์บทบัญญัติ,ฟิกฮฺ หลักนิติศาสตร์อิสลาม และวิชาทั่วไปที่ต้องศึกร่วมประกอบด้วย เทววิทยา ตัฟซีร เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์,ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุรอาน, จริยศาสตร์, ภาษาต่างประเทศ,คอมพิวเตอร์ และ...ระดับสามเรียกว่า บะฮัษคอริจญฺ ต้องเรียนอุซูลและฟิกฮฺระดับของการอิจญฺติฮาดเพื่อก้าวไปเป็นมุจญฺตะฮิด และวิชาเฉพาะที่ต้องศึกษาร่วมคือ ตัฟซีรกุรอาน เทววิทยาระดับสูง การเผยแพร่ และ ...
ระบบการศึกษาในสถานสอนศาสนา ณ ประเทศอิหร่าน หลังจากการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่าน และการจัดตั้งรัฐอิสลามแล้ว ได้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก มีผู้สมัครเข้าเรียนในสถาบันและโรงเรียนสอนศาสนาเป็นจำนวนมาก ในลักษณะที่ว่านักศึกษาเมื่อจบชั้นมัธยมตอนปลายแล้ว พวกเขาได้เข้าสมัครเรียนศาสนาเป็นส่วนใหญ่
การเข้าศึกษาศาสนานั้นในช่วงของการศึกษา นักศึกษาทุกคนต้องศึกษาระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูงสุด พร้อมกับต้องศึกษาวิชาการทั่วไป และวิชาการเฉพาะทาง เบื้องแรกการศึกษาในระต้นมีรายละเอียดดังนี้
1) การศึกษาระดับต้น :
วิชาที่ต้องศึกษาประกอบด้วย อิลมุล ซะรอฟ,อิลมุลนะฮฺวุ,อิลมุลมะอานี ,อิลมุลลุเฆาะฮฺ ,อิลมุลมันติก ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิชาเหล่านี้คือ ต้องการให้นักศึกษามีความสามารถและสันทัด ภาษาอัลกุรอาน นั่นเอง ซึ่งในระดับนี้จะอยู่ในช่วงการจัดทำกุญแจเพื่อไขไปสู่วิชาการอิสลาม เนื่องจากฮะดีซ ซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ล้วนเป็นภาษาอาหรับทั้งสิ้น[1] การศึกษาในระดับนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-4 ปี
2) การศึกษาระดับที่สอง :
วิชาระดับนี้ประกอบด้วย อิลมุลอุซูล, ฟิกฮฺ, ซึ่งวิชาอุซูลตำราที่ใช้เรียนได้แก่หนังสือมะอาลิม,อุซูลลุลฟิกฮฺ, ระซาอิล, กิฟายะฮฺ, ส่วนฟิกฮฺจะศึกษาหนังสือ ลุมอะฮฺ, และมะกาซิบ,
แน่นอน สถานบันบางที่นอกจากตำราที่กล่าวมาแล้ว จะศึกษาตำราอื่นอีกด้วย ซึ่งเป้าหมายของการศึกษาในระดับนี้คือ ต้องการให้นักศึกษาเข้าใจและคุ้นเคยกับวิชาฟิกฮฺและอุซูล และตำราอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองวิชานี้ ดังนั้น จึงมีการเตรียมตัวโดยการศึกษาตำราฟิกฮฺของนักปราชญ์สมัยก่อน หนึ่ง เพื่อจะได้รับรู้ถึงความเห็น และความคิดริเริ่มต่างๆ ของพวกเขา วิธีการพิสูจน์ฟิกฮฺและอุซูล ในหมู่พวกเขาเพื่อเก็บเป็นข้อมูลสำหรับตนเอง สอง เพื่อเตรียมพร้อมตนเองในการค้นคว้าและวิจัยฮะดีซและโองการต่างๆ เมื่อเข้าสู่ระดับ บะฮัษคอริจญ์ ระดับนี้จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 5-7 ปี
3) บะฮัษคอริจญฺฟิกฮฺและอุซูล :
การศึกษาในระดับนี้ อาจารย์และลูกศิษย์จะตกลงกันเพื่อความเป็นระเบียบ และต่อเนื่องในบทเรียน โดยจำกำหนดเนื้อหาของฟิกฮฺกันเอง เช่น อาจใช้หนังสือ ชะรอญิอฺ หรือตะฮฺรีรุลวะซีละฮฺ อุรวะตุลวุซกอ หรือเนื้อหาของอุซูล เช่น กิฟายะฮฺ อัลอุซูล เป็นต้น ซึ่งอาจารย์จะทำการศึกษาและวิจัยบนพื้นฐานของตำราเล่มใดเล่มหนึ่งที่กำหนดขึ้นมา โดยจะนำเอาทัศนะของผู้เขียน คำพูดของนักปราชญ์ท่านอื่นในประเด็นเดียวกัน มาวิเคราะห์และวิภาษโดยละเอียด พร้อมกับหาข้อมูลมาหักล้างหรือเสริมทัศนะเหล่านั้น อาจารย์จะทำการตรวจสอบข้อมูลและเหตุผล พร้อมกับหลักฐาน อย่างละเอียด และสุดท้ายจะแสดงทัศนะของตนออกมา ซึ่งลูกศิษย์ทุกตนมีสิทธิ์ที่จะเลือก หรือไม่เลือกทัศนะของอาจารย์ หรือหาเหตุผลมาหักล้างก็ได้ ตรงนี้ความรู้จะเปิดกว้าง เพื่อเฟ้นหาสิ่งที่ดีที่สุดในวิชาการ
วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาในระดับนี้คือ การฝึกฝนและฟูมฟักพลังในการพิสูจน์ วิจัก ค้นหาความจริง และการวินิจฉัยของนักศึกษา เพื่อว่าเขาจะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ และสามารถวินิจฉัยปัญหาใหม่ๆ ของฟิกฮฺได้ โดยมีแหล่งอ้างอิงหลัก 4 ประการเป็นคู่มือ ได้แก่อัลกุรอาน ฮะดีซ สติปัญญา และความเห็นชอบของนักปราชญ์ทั้งหลาย ซึ่งในช่วงที่ศึกษานั้นเขาจะต้องฝึกฝนสอนฟิกฮฺและอุซูลในระดับสูงด้วย อีกด้านหนึ่งอาจารย์ขณะที่สอนในระดับนี้ จะไม่ใช่ตำราประกอบการสอนเพียงเล่มหรือสองเล่มเท่านั้น ในบางครั้งจะแสดงทัศนะของตน โดยใช้ประโยชน์จากหลักฐานและเหตุจำนวนมาก ซึ่งบางครั้งต้องมีตำราประกอบหลายสิบเล่มที่แตกต่างกัน จึงเรียกการศึกษาตรงนี้ด้วยนิยามว่า บะฮัษคอริจญฺฟิกฮฺและอุซูล หมายถึงสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากตำรา
บรรดาลูกศิษย์ในระดับนี้ ส่วนใหญ่ศึกษาเพื่อให้หลักสูตรของตนสูงและสมบูรณ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความคิดของตน ดังนั้น นอกจากวิชาฟิกฮฺและอุซูลแล้ว บางคนได้ศึกษาปรัชญา เอรฟาน และวิชาอื่นๆ พร้อมกับวิจัยค้นคว้า หรือเขียนตำราขึ้นมา ลูกศีษย์เอกในช่วงที่ศึกษาอยู่นั้นจะจดบันทึกคำสอนของอาจารย์ และนำไปค้นคว้าต่อจากที่อาจารย์ได้สอนในชั้นเรียก จากแหล่งอ้างอิงทางวิชาการอื่น หลังจากนั้นจะวิเคราะห์หาเหตุผลที่นอกเหนือไปจากที่อาจารย์ได้สอน แล้วนำกลับมาเสนออาจารย์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อขอความเห็นชอบจากอาจารย์เป็นเสมือนคำรับรองจากอาจารย์อีกทีหนึ่ง ซึ่งการศึกษาในระดับนี้จะใช้เวลาประมาณ 8-10 ปี ขึ้นอยู่ความสามารถและสติปัญญาของนักศึกษา ประกอบกับประสบการณ์ของอาจารย์ก็ถือว่าเป็นเกณฑ์ที่มีความสำคัญยิ่ง ซึ่งทุกคราบเรียนจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง นอกจากนั้นลูกศิษย์บางคนมิได้จำกัดการศึกษาอยู่แค่อาจารย์เพียงคนเดียว แต่จะศึกษาจากอาจารย์หลายๆ คน ในช่วงการศึกษานี้เอง นักศึกษาคนใดมีความสามารถและศักยภาพเพียงพอ เขาก็จะได้ก้าวไปสู่ขั้นของการอิจญฺติฮาด หรือเรียกว่ามุจญฺตะฮิด ซึ่งถือว่าเป็นขึ้นที่สมบูรณ์สูงสุดของการศึกษา วิชาการในสถาบันสอนศาสนา
นักศึกษาส่วนใหญ่จะศึกษาระดับ บะฮัษคอริจญฺ เกินหนึ่งคอร์ส ซึ่งขึ้นอยู่กับความพยายาม และสติปัญญาอันชาญฉลาดของเขา หลัวจากนั้นเขาจะก้าวไปสู่มุจญฺตะฮิดที่ปราดเปรื่อง
4) หลักสูตรเฉพาะ :
วัตถุประสงค์ของการศึกษาหลักสูตรนี้ ซึ่งจะอยู่ภายใต้หมวดวิชา ตัฟซีร เทววิทยา นิเทศศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และ .. การอบรมผู้เชี่ยวชาญการศึกษาในสาขาต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นความต้องการของสถาบัน และสังคม ซึ่งแน่นอนว่าการกระทำนี้เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากมายยิ่ง เพราะบุคคลนอกจากจะสมารถวินิจฉัยในฟิกฮฺ และอุซูลได้แล้ว ยังมีประสบการณ์และความสมารถพิเศษอีกสาขาหนึ่งของวิชาการอิสลาม สิ่งนี้ย่อมเป็นประโยชน์อันเอนกอนันต์ต่อสถาบัน และสังคม
5) หลักสูตรทั่วไป :
สถานบันสอนศาสนา ณ เมืองกุม หรือเมืองอื่นๆ นอกจากจะศึกษาวิชาการหลักของสถาบันแล้ว ขณะที่ศึกษระดับพื้นฐาน หรือระดับกลางนั้น เขาจะศึกษาวิชาการอื่นร่วมไปพร้อมกัน เช่น หลักศรัทธา ตัฟซีรกุอาน เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกุรอาน จริยศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ และอื่น ...ซึ่งวัตถุประสงค์ต้องการศึกและพัฒนาความคิดของนักศึกษา ให้ได้รับข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่กว้างออกไป แน่นอน ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์กับตัวเขาอย่างมาก หลักสูตรเหล่านี้แม้ว่ามีความจำเป็นแต่ก็จะไม่นับว่าเป็นบทเรียนหลัก ของสภาบันศาสนา โดยปรกติจะศึกษาเคียงคู่ไปกับบทเรียนหลักของสถาบันศาสนา
[1] คัดลอกมาจาก เวป hawzah.net จากหนังสือพิมพ์ ญุมฮูรี อิสลาม, ฉบับที่ 3645, หน้า 12, วิธีศึกษาในสถาบันศึกษาศาสนา หน้า 27,