Please Wait
13839
ก่อนที่จะเข้าเรื่องสิ่งจำเป็นที่ต้องกล่าวถึงคือ พื้นฐานของคำตอบที่จะนำเสนอนั้นวางอยู่บนพื้นฐานของ ฮิกมัต มุตะอาลียะฮฺ (ฟัลซะฟะฮฺ ซ็อดรออีย์) ดังนั้น ในทัศนะดังกล่าวเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่เราจะกล่าวถึงนั้น จึงแบ่งเรื่องหลักออกเป็น 2 ส่วน และรายละเอียดเรื่องรองอีกสองสามเรื่องด้วยกัน
ในส่วนแรก เริ่มต้นด้วยหัวข้อว่า “การมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์” ซึ่งจะกล่าวอธิบายถึงประเด็นต่อไปนี้
1. ในแงปรัชญาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ชีวิตของสรพสัตว์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบแน่นอนที่ได้กล่าวนามถึง แม้ว่าองค์ประกอบแต่ละประเภทจะมีความพิเศษในตัวเองก็ตาม และจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้สิ่งนั้นมีความพิเศษกว่าสิ่งอื่น
2. บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลาย เนื่องจากมีชีวิตของความเป็นสัตว์อยู่ในตัว ถ้าสมมุติว่าเราจะตั้งสมมุติฐานว่าสัตว์ไม่มีชีวิต มันก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากสภาพก่อนหน้าที่จะเป็นสัตว์ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สัตว์ไม่ได้เกิดขึ้นมาบนโลกเลย
3. จำนวนของสรรพสัตว์ เช่น ผึ้ง แมงมุม และฯลฯ บางครั้งจะเห็นร่องรอยการมีชีวิตของพวกมันได้อย่างชัดเจน
4. นักวิชาการได้กล่าวถึงการมีชีวิตในสรรพสัตว์ในแง่ของวิชาการ จากสิ่งที่ได้ค้นคว้าและวิจัยออกมา เช่น ความรู้ประจักษ์ของสัตว์ถึงการมีอยู่ของตัวเอง หรือการแทรกแซงความต้องการในกริยาของสรรพสัตว์ หรือการรวมรวบชีวิตสรรพสัตว์ในโลกอื่น ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นถึงชีวิตที่มีอยู่ในบรรดาสรรพสัตว์
5. เหตุผลที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์ หรือการสัมพันธ์ไปยังการรับรู้และความรู้สึกในรูปลักษณ์ของตัวอย่าง โดยสรรพสัตว์เหล่านั้น ตลอดจนการแสดงออกและร่องรอยต่างๆ ที่ไม่เหมือนกันของสัตว์เหล่านั้น
ประเด็นที่สอง ภายใต้หัวข้อที่ว่า ชีวิตที่แตกต่างระหว่างสรรพสัตว์กับมนุษย์ ประกอบด้วย
ชีวิตมนุษย์และสัตว์ถ้าหากจะพิจารณาด้านกายภาพแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกัน องค์ประกอบด้านกายภาพของมนุษย์นั้นมีความสมบูรณ์มากกว่าสัตว์ และทำนองเดียวกันในแง่ของชีวิตทั้งสองก็มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ พื้นฐานความแตกต่างของมนุษย์กับสรรพสัตว์ เช่น มนุษย์มีศักยภาพในการสนทนา โดยใช้ประโยชน์จากพยัญชนะ คำ อักษร ความคิด และ ...เขาได้ถ่ายถอดสิ่งนั้นไปสู่คนอื่น หรือผลต่างๆ ด้านจิตวิทยาของเขาที่เผชิญอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน เช่น หัวเราะ ร้องไห้ และ ฯลฯ
หรือการมีเทคโนโลยี ศิลปะ สถานภาพ และความสามารถของมนุษย์ ซึ่งไม่มีอยู่ในโลกของสรรพสัตว์ ทำนองเดียวกันความแตกต่างที่ว่า อะไรคือชีวิตของมนุษย์และสรรพสัตว์ ในแง่นี้จะเห็นว่าชีวิตมนุษย์นั้นเป็น ภูมิปัญญา ส่วนชีวิตของสรรพสัตว์นั้นเป็นจินตนาการ นอกจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วความอดทนและความสามารถของบรรดาสรรพสัตว์ ยังเป็นสิ่งช่วยขจัดความต้องการต่างๆ ในแง่กายภาพและการขยายชีวิตมนุษย์ในยาวออกไป ในแง่ของวิชาการความรู้ จนกระทั่งถึงขั้นสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
คำถามข้างต้น ได้รับการวิเคราะห์บนพื้นฐานของปรัชญา ซ็อดรอ และฮิกมัต มุตะอาลียะฮฺ ซึ่งจะเห็นว่าผลงานต่างๆ ของมัรฮูมมุลลาซ็อดรอ และบรรดาสานุศิษย์ของท่านเกี่ยวกับเรื่องชีวิต มะอาด ความรู้และการับรู้ หรือที่รู้จักกันในนามของ การรู้จักนั้น ได้ถูกถ่ายทอดสู่สังคมทั้งโดยการอ้างอิงถึง หรือโดยละเอียดมีจำนวนมากมาย ประเด็นที่สามารถอธิบายได้เกี่ยวกับ การมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์ ได้ถูกแบ่งเป็นหัวข้อหลักไว้ 2 ประการ และหัวข้อย่อยอีก 5 ประการ หลังจากนั้นได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างชีวิตของสรรพสัตว์กับชีวิตของมนุษย์:
ก. หลักของการมีชีวิตอยู่ในสรรพสัตว์
1. ชีวิตของสรรพสัตว์เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของชีวิตบนโลกนี้
ปกติทั่วไป การวิพากษ์ในประเด็นของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ทุกที่เมื่อได้มีการนำเสนอการตีความ ชีวิตของสรรพสัตว์ มนุษย์ และวัตถุทั้งหลายจะถูกนับว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่กล่าวถึง แม้ว่าองค์ประกอบแต่ส่วนเหล่านั้น จะมีคุณลักษณะพิเศษอันเฉพาะสำหรับตน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างพวกเขากับสิ่งอื่น แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดมีแก่นแห่งความจริงแท้ และองค์รูปที่ร่วมเป็นหนึ่งเดียวกัน นั่นคือชีวิตที่เป็นนามธรรมมิใช้กายภาพ ซี่งอวัยวะทุกส่วนของมันก็เป็นนามธรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นชีวิตที่เป็นภูมปัญญาและอวัยวะก็เป็นภูมิปัญญา หรือชีวิตที่เป็นสัตว์เดรัจฉานซึ่งอวัยวะทั้งหมดนั้นเป็นตัวอย่าง (บางครั้งอาจเป็นพืชซึ่งองค์ประกอบของมันก็ต้องมาจากสิ่งเดียว)
2. การให้ชีวิตสรรพสัตว์ ขั้นหนึ่งจากขั้นตอนที่เป็นการสร้างจากโลกของวัตถุ
มุลลาซ็อดรอ คือบุคคลที่เชื่อว่าการสร้างสิ่งที่เป็นวัตถุขึ้นอยู่กับขั้นตอน ซึ่งนับจากขั้นตอนที่เล็กและง่ายที่สุดของสรรพสิ่ง จนกระทั่งถึงขั้นตอนของการผสมเข้ากันอย่างสมบูรณ์
บางครั้งขั้นตอนเหล่านี้เพียงแค่ผสมเข้ากันเพียงอย่างเดียว ถือว่าไม่เข้ากันแต่อย่างใด ซึ่งความสมบูรณ์ของขั้นตอนนั้นและการกำเนิดของสรรพสิ่งอันเป็นความเฉพาะที่ส่งเสริมระบบการสร้าง มีความต้องการในแหล่งพลังที่มิใช่วัตถุแต่เป็นพลังผสม[1] เช่น ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการกำเนิดสรรพสัตว์ พลังที่เข้าร่วมในขั้นตอนนี้และทำให้มีสรรพสัตว์เกิดขึ้นมาคือ ชีวิตของสัตว์ ดังนั้น มิใช่สัตว์เพียงอย่างเดียวที่มีชีวิต ทว่าถ้าปราศจากชีวิตของสัตว์ สัตว์จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้อย่างเด็ดขาด การที่ชีวิตได้เข้าร่วมกับสารประกอบของวัตถุเป็นหนึ่งในความเฉพาะของโลกแห่งวัตถุ[2]
และกฎเกณฑ์นั้นเองที่ได้ใช้กับมนุษย์และพืช พลังที่นอกเหนือจากวัตถุ หรือพลังจิต มีจุดที่แตกต่างกันของสิ่งที่มีอยู่ในแง่ของวัตถุ ซึ่งบางส่วนจากสิ่งเหล่านั้น เช่น หิน เป็นต้น แต่บางครั้งการมีอยู่ของบางสิ่งก็มีความแตกต่างกัน ในขั้นของจิตวิญญาณของสรรพสิ่งที่มีจิตวิญญาณเหล่านั้น ชีวิตของพืชเป็นสิ่งที่มีอยู่ชนิดต่ำสุด ส่วนชีวิตของมนุษย์นั้นสูงส่งที่สุด ส่วนชีวิตของสรรพสัตว์อยู่ในระดับกลาง
3. ตัวอย่างต่างๆ ภายนอกของชีวิตในบรรดาสรรพสัตว์
การปรากฏร่องรอยของสรรพสัตว์บางชนิด เหมือนกับการสร้างรวงรังหกเหลี่ยมของผึ้ง หรือการทักทอใยแมงมุมโดยแมงมุมทั้งหลาย การลอกเรียนแบบจากมนุษย์ทั้งนกแก้ว และลิง หรือคุณลักษณะพิเศษบางประการ เช่น ความสง่างามของม้า หรือการเป็นเจ้าป่าของสิงโต ความซื่อสัตย์ของสุนัข เล่ห์เหลี่ยมของสุนัขจิ้งจอก และ ฯลฯ ในมุมมองของมุลลาซ็อดรอ สิ่งที่บ่งบอกให้เห็นถึงความรู้สึกในสัตว์ หรือแม้แต่ระดับของสรรพสัตว์เหล่านั้น บางครั้งก็มีความใกล้เคียงกับความเป็นมนุษย์[3]
4. หลักฐานด้านวิชาการที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตในสรรพสัตว์
บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายมีชีวิตที่เป็นจินตนาการ ซึ่งคล้ายกับชีวิตของมนุษย์อยู่ในสภาพของนามธรรม[4] ชีวิตของสรรพสัตว์อยู่ในสภาพนามธรรมบัรซัคคีและมิซอลลีเท่านั้น กล่าวคืออยู่ในระดับของโลกแห่งความรู้สึกและสติปัญญาเท่านั้น ระดับสุดท้ายของสัตว์คือ การจินตนาการเท่านั้น ดังนั้น ในความเป็นจริงชีวิตของสรรพสัตว์จึงเป็นได้แค่การจินตนาการ และเนื่องจากเป็นนามธรรมรวมกับพลังที่อยู่ด้านในของตน ทำให้เกิดศักยภาพพอที่จะมีความรู้ประจักษ์เมื่อสัมพันธ์ไปยังตนเอง[5] ขณะที่ไม่สิ่งใดที่เป็นวัตถุมีความสามารถพอที่จะมีศักยภาพเช่นนี้ได้
ในทัศนะของมัรฮูม มุลลาซ็อดรอ เชื่อว่าภารกิจทั้งหมดบนโลกนี้ได้ทุกกระทำขึ้นตามความประสงค์ แม้กระทั่งพืช และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพียงแต่ว่าความประสงค์นี้อยู่ในระดับที่สูงกว่าสติปัญญาและชีวิต ส่วนพืชและหินเป็นไปโดยการกำหนด ภายใต้ความประสงค์ แต่ในสรรพสัตว์และมนุษย์วางอยู่บนพื้นฐานของงาน จนกระทั่งไปถึงระดับของความประสงค์ หลังจากนั้น จึงได้กระทำโดยผ่านจิตวิญญาณของสิ่งเหล่านั้น และเนื่องจากการกระทำของสรรพสัตว์และมนุษย์มีความหลากหลาย ขณะที่ในพืชและหินนั้นมีบริบทอันเดียวกัน[6] ปฏิกิริยาของสรรพสัตว์คือ การจินตนาการส่วนในมนุษย์คือสติปัญญาและการกระทำ[7] ดังนั้นทั้งการจินตนาการ การคิด สติปัญญา และความประสงค์ ทั้งหมดเล่านี้ถือว่าเป็นตัวอย่างชีวิต และเป็นหนึ่งในการมีอยู่ที่แตกต่างกันของสรรพสิ่งมีชีวิต กับสรรพสิ่งที่ไร้ชีวิต
นอกจากนั้นแล้ว บนพื้นฐานของโลกแห่งชีวิตสามารถย้อนกลับไปสู่มะอาด การรวมตัวของร่างกายและจิตวิญญาณของสรรพสิ่งที่มีชีวิต ด้วยเหตุนี้เอง บุคคลที่กล่าวถึงเรื่องมะอาดจึงได้มีบทเฉพาะการ ที่กล่าวถึงเรื่องมะอาดของชีวิตสรรพสัตว์ เงื่อนไข และรายละเอียดของการย้อนกลับ
5. เหตุผลที่บ่งบอกถึงมีการมีอยู่ของชีวิตในบรรดาสรรพสัตว์
บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นมีชีวิต ซึ่งเป็นหนึ่งนามธรรม เนื่องจากสัตว์นั้นมีพลังแห่งการจินตนาการในตัว มันจึงสามารถรับรู้ถึงความคล้ายเหมือนและรูปร่างบางอย่างได้ ซึ่งรูปลักษณ์เหล่านั้นไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก ดังนั้น สิ่งดังกล่าวจึงไม่ได้อยู่ในโลก (หมายถึงไม่ได้จัดอยู่ในสิ่งที่เป็นวัตถุ) ฉะนั้น ประเด็นของรูปลักษณ์เหล่านี้ความเข้าใจและการมีอยู่ของมันก็ไม่สามารถบ่งชี้ได้