Please Wait
ผู้เยี่ยมชม
4505
4505
อัปเดตเกี่ยวกับ:
2561/11/05
คำถามอย่างย่อ
ริวายะฮ์(คำรายงาน)ที่มีความขัดแย้งกัน ยกตัวอย่างเช่น ริวายะฮ์ที่กล่าวถึงการจดบาปของมนุษย์ กับริวายะฮ์ทีกล่าวว่า การจดบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าครบ ๗ วัน เราสามารถจะแก้ไขริวายะฮ์ทั้งสองได้อย่างไร?
คำถาม
บางที่เราได้ยินมาว่าอัลลอฮ์จะทรงอนุญาติให้มลาอิกะฮ์จดบาปของมนุษย์ตั้งแต่ตอนที่มนุษย์เริ่มเนียตว่าเขาจะทำการงานที่ไม่ดีสักอย่างหนึ่ง เช่นคิดในใจว่าจะขโมยของใครสักคนในตอนนั้นๆ แต่อีกคำพูดหนึ่งคือพระองค์จะไม่ให้มลาอิกะฮ์จดบาปขอลมนุษย์ก่อนจนกว่าจะครบ ๗ ชั่วโมง เพื่อที่จะดูว่าเขาจะทำการเตาบะฮ์หรือไม่ ทั้งสองอย่างนี้มีความขดแย้งกัน รบกวนช่วยอธิบายและส่งคำตอบมาด้วยค่ะ
คำตอบโดยสังเขป
สำหรับคำตอบของคำถามนี้ จะต้องตรวจสอบในหลายประเด็นดังต่อไปนี้
๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์
พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก
ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป
๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย
โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก
๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ถ้าหากเขาไม่ทำการเตาบะฮ์หรือขออภัยโทษ ความบาปของเขาจะถูกจดบันทึกทันที
๔. ในประเด็นที่มีความขัดแย้งกันระหว่างริวายะฮ์ (คำรายงาน)ทั้งหลายที่กล่าวถึง รายงานที่กล่าวว่า ไม่มีการจดบาป และอีกรายงานกล่าวว่า มีการจดบันทึกบาปทันที สามารถกล่าวได้ว่า ทั้งสองริวายะฮ์ไม่มีความขัดแย้งกัน เพราะว่า ความหมายของรายงานที่กล่าวว่า การจดบันทึกความบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบ ๗ วัน ก็คือ ไม่มีการจดบันทึกจนกว่าจะครบ ๗ วันในระยะสุดท้าย แม้ว่ามีการจดบันทึกครั้งแรกในการทำบาปแล้วก็ตาม ดั่งที่อัลกุรอานกล่าวไว้ว่า ในบัญชีการกระทำของมนุษย์ไม่ว่าจะเล็ก จะใหญ่ได้บันทึกไว้หมดแล้วทั้งสิ้น หมายถึง การจดบันทึกระยะสุดท้าย นั่นก็คือ บาปทั้งหลายที่ยังไม่มีการเตาบะฮ์หรือการขออภัยโทษ และมีหลักฐานยืนยันจากอัลกุรอาน บทอัลกะฮ์ฟ์ โองการที่ ๔๙ ที่กล่าวว่า
เฉพาะกับกลุ่มชนที่เป็นผู้กระทำความผิดบาปที่มีความหวาดกลัว มิใช่บรรดากลุ่มชนที่ทำความผิด หลังจากนั้นได้ปฏิบัติคุณงามความดีและทำการเตาบะฮ์ตัวของเขา ความผิดบาปนั้น จะหมดสิ้นไปจากเขาอย่างแน่นอน
1.บทก็อฟ โองการที่ 16
2.บทอัลกะฮ์ฟฺ โองการที่ 49
3.รายงานจากอับดุซซอมัด บิน บะชีร จาก อะบูอับดิลลาฮ์ อัซซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า บ่าวผู้ศรัทธาคนหนึ่งเมื่อเขาได้กระทำบาปครั้งหนึ่ง อัลลอฮ์(ซ.บ) จะทรงประวิงเวลาจนกว่า จะครบ ๗ วัน ดังนั้น ถ้าหากว่า เขาทำการขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ จะไม่มีการจดบันทึกแต่อย่างใด และถ้าหากเวลาได้ผ่านไปและเขาก็ยังไม่ทำการขออภัยโทษต่อพระองค์ ความบาปนั้นของเขาจะถูกบันทึกในทันที และแท้จริงผู้ศรัทธาย่อมระลึกในบาปของเขาหลังจากเวลาผ่านไปจนถึง 20 พระองค์อัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษให้กับเขา และเขาจะเป็นผู้ได้รับการอภัย และส่วนผู้ปฏิเสธ พระองค์จะทรงลืมเขาแม้เพียงชั่วโมงเดียวก็ตาม
กุลัยนี، มุฮัมมัด บิน ยะอ์กูบ، อัลกาฟีย์، เรียบเรียงและค้นคว้าโดย ฆ็อฟฟารี อะลี อักบัร ،อาคูนดี، มุฮัมมัด، เล่มที่ ๒، หน้าที่๔๓๗ ،ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์، เตหะราน، พิมพ์ครั้งที่ ๔ ،ปี ๑๔0๗ ฮ.ศ.
รายงานจากอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ทำบาป จะประวิงเวลาจนกว่าจะครบ ๗ ชั่วโมง ดังนั้นถ้าหากเขากล่าวว่า
أستغفر الله الذی لا إله إلا هو الحی القیوم
(ความว่า ข้าฯพระเจ้า ขออภัยโทษต่อัลลอฮ์ พระผู้ทรงไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์ ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย)
ด้วยกันสามครั้ง เขาจะไม่ถูกบันทึกแต่อย่างใดเลย
๑.การจดบันทึกเนียต(เจตนา)ในการทำบาป กล่าวได้ว่า จากการตรวจสอบจากแหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับการจดบันทึกเนียตในการทำบาปปรากฏว่าไม่มีริวายะฮ์รายงานเรื่องนี้แต่อย่างใด และโองการอัลกุรอานก็ไม่สามารถวินิจฉัยถึงเรื่องนี้ได้ เพราะว่า โองการอัลกุรอานกล่าวถึงความรอบรู้ของพระเจ้าในเนียตของมนุษย์
พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ)ทรงตรัสว่า เราได้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และเรารู้ดียิ่งในสิ่งที่จิตใจของเขากระซิบกระซาบแก่เขา และเราอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก
ดังนั้น การที่พระองค์ทรงมีความรู้ในเจตนาทั้งหลาย มิได้หมายถึง การจดบันทึกว่าเป็นการทำบาปหรือเป็นบทเบื้องต้นในการทำบาป
๒.การจดบันทึกความบาปโดยทันทีทันใด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ก็ไม่ปรากฏริวายะฮ์ที่กล่าวถึง แต่ทว่า บางโองการอัลกุรอาน กล่าวถึง การจดบันทึกโดยทันทีทันใดในบาป ดั่งเช่น โองการที่กล่าวว่า (ในวันแห่งการตัดสิน บัญชีอะมั้ลการกระทำของมนุษย์)บันทึกจะถูกวางไว้ ดังนั้นเจ้าจะเห็นผู้กระทำความผิดบาปทั้งหลายหวั่นกลัวสิ่งที่มีอยู่ในบันทึก และพวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความวิบัติของเรา บันทึกอะไรกันนี่ มันมิได้ละเว้นสิ่งเล็กน้อย และสิ่งใหญ่โตเลย เว้นแต่ได้บันทึกไว้ครบถ้วน และพวกเขาได้พบสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติไว้ปรากฏอยู่ต่อหน้า และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้ามิทรงอธรรมต่อผู้ใดเลย
โองการนี้แสดงให้เห็นว่า ความผิดบาปทั้งหมดจะถูกจดบันทึกอย่างแน่นอนก
๓.การจดบันทึกความบาปจนกว่าจะครบ ๗ วัน มีรายงานต่างๆมากมายที่กล่าวถึง การไม่จดบาปในทันที แต่ทว่า มีรายงานหนึ่งกล่าวว่า ให้โอกาสจนกว่าจะครบ ๗ วัน ถ้าหากเขาไม่ทำการเตาบะฮ์หรือขออภัยโทษ ความบาปของเขาจะถูกจดบันทึกทันที
๔. ในประเด็นที่มีความขัดแย้งกันระหว่างริวายะฮ์ (คำรายงาน)ทั้งหลายที่กล่าวถึง รายงานที่กล่าวว่า ไม่มีการจดบาป และอีกรายงานกล่าวว่า มีการจดบันทึกบาปทันที สามารถกล่าวได้ว่า ทั้งสองริวายะฮ์ไม่มีความขัดแย้งกัน เพราะว่า ความหมายของรายงานที่กล่าวว่า การจดบันทึกความบาปจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะครบ ๗ วัน ก็คือ ไม่มีการจดบันทึกจนกว่าจะครบ ๗ วันในระยะสุดท้าย แม้ว่ามีการจดบันทึกครั้งแรกในการทำบาปแล้วก็ตาม ดั่งที่อัลกุรอานกล่าวไว้ว่า ในบัญชีการกระทำของมนุษย์ไม่ว่าจะเล็ก จะใหญ่ได้บันทึกไว้หมดแล้วทั้งสิ้น หมายถึง การจดบันทึกระยะสุดท้าย นั่นก็คือ บาปทั้งหลายที่ยังไม่มีการเตาบะฮ์หรือการขออภัยโทษ และมีหลักฐานยืนยันจากอัลกุรอาน บทอัลกะฮ์ฟ์ โองการที่ ๔๙ ที่กล่าวว่า
เฉพาะกับกลุ่มชนที่เป็นผู้กระทำความผิดบาปที่มีความหวาดกลัว มิใช่บรรดากลุ่มชนที่ทำความผิด หลังจากนั้นได้ปฏิบัติคุณงามความดีและทำการเตาบะฮ์ตัวของเขา ความผิดบาปนั้น จะหมดสิ้นไปจากเขาอย่างแน่นอน
1.บทก็อฟ โองการที่ 16
2.บทอัลกะฮ์ฟฺ โองการที่ 49
3.รายงานจากอับดุซซอมัด บิน บะชีร จาก อะบูอับดิลลาฮ์ อัซซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า บ่าวผู้ศรัทธาคนหนึ่งเมื่อเขาได้กระทำบาปครั้งหนึ่ง อัลลอฮ์(ซ.บ) จะทรงประวิงเวลาจนกว่า จะครบ ๗ วัน ดังนั้น ถ้าหากว่า เขาทำการขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ จะไม่มีการจดบันทึกแต่อย่างใด และถ้าหากเวลาได้ผ่านไปและเขาก็ยังไม่ทำการขออภัยโทษต่อพระองค์ ความบาปนั้นของเขาจะถูกบันทึกในทันที และแท้จริงผู้ศรัทธาย่อมระลึกในบาปของเขาหลังจากเวลาผ่านไปจนถึง 20 พระองค์อัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษให้กับเขา และเขาจะเป็นผู้ได้รับการอภัย และส่วนผู้ปฏิเสธ พระองค์จะทรงลืมเขาแม้เพียงชั่วโมงเดียวก็ตาม
กุลัยนี، มุฮัมมัด บิน ยะอ์กูบ، อัลกาฟีย์، เรียบเรียงและค้นคว้าโดย ฆ็อฟฟารี อะลี อักบัร ،อาคูนดี، มุฮัมมัด، เล่มที่ ๒، หน้าที่๔๓๗ ،ดารุลกุตุบอัลอิสลามียะฮ์، เตหะราน، พิมพ์ครั้งที่ ๔ ،ปี ๑๔0๗ ฮ.ศ.
รายงานจากอิมามซอดิก (อ) ได้กล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่ทำบาป จะประวิงเวลาจนกว่าจะครบ ๗ ชั่วโมง ดังนั้นถ้าหากเขากล่าวว่า
أستغفر الله الذی لا إله إلا هو الحی القیوم
(ความว่า ข้าฯพระเจ้า ขออภัยโทษต่อัลลอฮ์ พระผู้ทรงไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์ ผู้ทรงมีชีวิต ผู้ทรงบริหารกิจการทั้งหลาย)
ด้วยกันสามครั้ง เขาจะไม่ถูกบันทึกแต่อย่างใดเลย
แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น