การค้นหาขั้นสูง

อิสลามเป็นสถาบันศาสนาที่จำเป็นต้องได้รับการขับเคลื่อนและดูแลรักษาโดยผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางจิตวิญญาณและละเว้นจากกิเลศทุกประการ ทั้งนี้ก็เพื่อถ่ายทอดสารธรรมคำสอนของอิสลามแก่ชนรุ่นหลัง ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิมอย่างรอบคอบ จากการที่การชี้นำมนุษย์สู่หนทางที่เที่ยงตรง ถือเป็นจุดประสงค์หลักที่อัลลอฮ์ทรงสร้างสากลจักรวาล  วิทยปัญญาแห่งพระองค์ย่อมกำหนดว่าภายหลังการจากไปของท่านนบี(ซ.ล.) ควรจะต้องมีผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนาและทางนำสำหรับมนุษยชาติ และไม่ทอดทิ้งมนุษย์ให้อยู่กับสติปัญญา(ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกิเลสครอบงำ)โดยลำพัง  จนถึงตรงนี้เราสามารถจะพิสูจน์ได้ด้วยสติปัญญาว่า จะต้องมีอิมาม(ผู้นำ)ผู้รู้แจ้งเห็นจริง สืบทอดต่อจากท่านนบี(ซ.ล.)ในทุกยุคสมัย เพื่อชี้นำประชาชาติและธำรงค์ไว้ซึ่งศาสนา ตลอดจนบังคับใช้บทบัญญัติในสังคมมุสลิม


ทว่าการพิสูจน์ตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)ถือเป็นหัวข้อสำคัญในหลักอิมามัตเชิงเจาะจงบุคคล ซึ่งไม่อาจจะพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางสติปัญญา เพราะสติปัญญาพิสูจน์ได้เฉพาะความจำเป็นต้องมีผู้นำทุกยุคสมัย[1] แต่หากต้องการพิสูจน์ว่า ท่านอิมามอลี(อ.)คือผู้นำและเคาะลีฟะฮ์ภายหลังนบี(ซ.ล.) จะต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐานทางกุรอานและฮะดีษ ตลอดจนหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่านั้น
เราจะขอหยิบยกหลักฐานที่อ้างอิงกุรอานและฮะดีษ เพื่อพิสูจน์ตำแหน่งอิมามและเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(ซ.ล.)ดังต่อไปนี้
ก. หลักฐานจากกุรอาน:
มีโองการกุรอานมากมายที่พิสูจน์ถึงตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์(อ.) อย่างไรก็ดี นัยยะของโองการเหล่านี้[2]ต้องได้รับการพิจารณาควบคู่กับฮะดีษที่อธิบายเหตุที่ประทานโองการเหล่านี้ลงมา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นฮะดีษที่มีสายรายงานน่าเชื่อถือสำหรับทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ ดังจะนำเสนอบางโองการดังต่อไปนี้[3]
1. โองการตับลี้ฆ: “โอ้ศาสนทูตเอ๋ย จงเผยแผ่สิ่งที่ประทานมายังเจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า หากแม้นเจ้าไม่เผยแผ่ ประหนึ่งว่าเจ้ามิได้ปฏิบัติภารกิจใดของพระองค์เลย พระองค์จะทรงปกปักษ์เจ้าจากผู้คน และพระองค์จะไม่ทรงนำทางฝูงชนผู้ปฏิเสธ”[4]
พระองค์ทรงกำชับอย่างหนักแน่นให้ท่านนบี(ซ.ล.)เผยแผ่สาส์นของพระองค์ให้จงได้  และจากรายงานทางประวัติศาสตร์ หลังจากโองการนี้ประทานลงมา ท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งท่านอิมามอลี(อ.)เป็นผู้สืบทอดภายหลังจากท่าน ด้วยวาทะประวัติศาสตร์ที่ว่า “ใครก็ตามที่ฉันเป็นผู้นำของเขา อลีก็เป็นผู้นำของเขาเช่นกัน”[5]

  1. โองการวิลายะฮ์: “ผู้นำของสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ และร่อซูล(ซ.ล.) และผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และจ่ายทานขณะโค้งรุกู้อ์” [6]
    นักฮะดีษและนักอรรถาธิบายกุรอานหลายท่านเชื่อว่าโองการดังกล่าวประทานลงมาในเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับท่านอลี(อ.)[7]
    สุยูฏี ปราชญ์ฝ่ายซุนหนี่ที่มีชื่อเสียง กล่าวไว้ในหนังสือ อัดดุรรุ้ลมันษู้ร โดยรายงานจากอิบนิ อับบาสว่า “ขณะที่อลี(อ.)อยู่ในท่าโค้งรุกู้อ์นมาซ มีผู้ขัดสนคนหนึ่งเดินเข้ามาเพื่อขอบริจาค ท่านได้มอบแหวนให้ขณะนมาซ เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ถามผู้ขัดสนว่า ใครให้แหวนวงนี้แก่เธอ? เขาชี้ไปที่อลี(อ.)พร้อมกับกล่าวว่า ชายคนที่กำลังโค้งรุกู้อ์นั่นขอรับ” หลังจากนั้น โองการดังกล่าวก็ประทานลงมา[8]
    นอกจากนี้ ผู้รู้สายซุนหนี่ท่านอื่นๆ อาทิเช่น วาฮิดี[9] และซะมัคชะรี[10] ก็ได้รายงานเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับยืนยันว่าโองการนี้เกี่ยวข้องกับท่านอลี(อ.)
    ฟัครุร รอซี รายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน สะลามว่า“เมื่อโองการนี้ประทานลงมา ฉันกล่าวกับท่านนบี(ซ.ล.)ว่า กระผมเห็นกับตาว่าอลี(อ.)ได้บริจาคแหวนแก่ยาจกในขณะกำลังโค้งรุกู้อ์ และด้วยเนื้อหาของโองการนี้ เราจึงยอมรับภาวะผู้นำของเขา!” นอกจากนี้ ฟัครุร รอซี ยังรายงานฮะดีษจากท่านอบูซัรเกี่ยวกับโองการนี้ไว้เช่นกัน.[11]
    ฏอบะรีก็ได้รายงานฮะดีษที่เกี่ยวกับโองการนี้ไว้หลายบทด้วยกัน ซึ่งฮะดีษส่วนใหญ่ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า “โองการนี้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอลี(อ.)”[12]
    อัลลามะฮ์ อะมีนี ได้นำเสนอฮะดีษที่ยืนยันว่าโองการดังกล่าวประทานลงมาเกี่ยวกับท่านอิมามอลี(อ.)โดยอ้างอิงจากตำราฮะดีษที่มีชื่อเสียงของฝ่ายซุนหนี่กว่ายี่สิบเล่ม โดยระบุรายละเอียดที่มาของแต่ละฮะดีษ[13]
    อนึ่ง เนื้อหาของโองการนี้ระบุชัดเจนว่าภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.)นั้น สืบทอดมาจากภาวะผู้นำของอัลลอฮ์และท่านนบี(ซ.ล.)
  2. โองการอุลิ้ลอัมร์: “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา จงภักดีต่ออัลลอฮ์ และจงภักดีต่อร่อซู้ล และอุลิ้ลอัมร์(ผู้นำ)ในหมู่สูเจ้า”[14]
    นักวิชาการหลายท่าน[15]ให้ความเห็นว่าโองการนี้เกี่ยวข้องกับท่านอลี(อ.)
    อาทิเช่น ฮากิม ฮัสกานี (นักตัฟซี้ร(อรรถาธิบายกุรอาน)ฝ่ายซุนหนี่ที่มีชื่อเสียง) ได้รายงานฮะดีษห้าบทเกี่ยวกับโองการนี้ โดยทั้งหมดได้ระบุว่า อุลิ้ลอัมร์ ในที่นี้ก็คือ ท่านอลี(อ.)[16]
    ส่วนตัฟซี้ร อัลบะห์รุ้ลมุฮี้ฏ ประพันธ์โดย อบู ฮัยยาน อันดาลูซี มัฆริบี ได้แจกแจงความเห็นต่างๆเกี่ยวกับคำว่าอุลิ้ลอัมร์ โดยได้นำเสนอความเห็นของมุกอติล มัยมูน และกัลบี (นักตัฟซี้ร) ที่ระบุไว้ว่าอุลิ้ลอัมร์หมายถึงบรรดาอิมามจากเชื้อสายนบี(ซ.ล.)[17]
    อบูบักร์ บิน มุอ์มิน ชีรอซี (ผู้รู้ฝ่ายซุนหนี่)ได้กล่าวไว้ในข้อเขียน“อัลเอี้ยะติก้อด”โดยรายงานจากอิบนิ อับบาสว่า โองการข้างต้นประทานลงมาในกรณีของท่านอลี(อ.)[18]
    เกร็ดความรู้ในจุดนี้ก็คือ โองการดังกล่าวมีเนื้อหาที่ประสานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมิได้กล่าวคำว่า “จงภักดี...”ซ้ำระหว่างกรณีของร่อซู้ลและอุลิ้ลอัมร์ นั่นแสดงให้เห็นว่า อุลิ้ลอัมร์จะต้องเป็นผู้ที่ปราศจากบาปกรรมทั้งปวง (มิเช่นนั้นก็คงไม่สั่งให้ภักดีโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ) ดังที่อัลลอฮ์และร่อซู้ล(ซ.ล.)ก็ปราศจากมลทินทั้งปวงเช่นกัน ซึ่งหากพิจารณาฮะดีษอื่นๆประกอบไปด้วยก็จะทราบว่า ผู้นำที่ไร้บาปก็คือบรรดาอิมามจากวงศ์วานนบีเท่านั้น
    สิ่งที่นำเสนอไปทั้งหมดนั้น เปรียบเสมือนเศษเสี้ยวหนึ่งของฮะดีษทั้งหมดที่กล่าวถึงโองการที่ยืนยันความเป็นผู้นำของท่านอิมามอลี(อ.) ทั้งนี้ ฮะดีษทั้งหมดอ้างอิงจากตำราและสายรายงานที่เป็นที่ยอมรับของฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ ซึ่งหากต้องการทราบข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้เพิ่มเติม สามารถศึกษาค้นคว้าได้จากหนังสือที่เป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย
    นอกจากสามโองการที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้น ยังมีโองการอื่นๆอีก อาทิเช่น
    โองการศอดิกีน یا ایها الذین امنوا اتقوا الله و کونوا مع الصادقین [19]
    โองการกุรบา قل لا اسئلکم علیه اجراً الا المودة فی القربی [20]
    โองการเหล่านี้บ่งบอกถึงตำแหน่งผู้นำของท่านอิมามอลี และอิมามท่านอื่นๆ(อ.) ซึ่งได้รับการขยายความโดยฮะดีษท่านนบี(ซ.ล.)และได้รับการบันทึกไว้ในตำราของทั้งชีอะฮ์และซุนหนี่อย่างครบถ้วน

และยังมีอีกหลายโองการที่แสดงถึงความดีความชอบของท่านอิมามอลี(อ.) ตลอดจนสถานภาพของท่านที่เหนือกว่าเศาะฮาบะฮ์ท่านอื่นๆ ซึ่งหากจะพิจารณากันตามบรรทัดฐานของสติปัญญาแล้ว การยกย่องผู้ที่มีฐานะภาพด้อยกว่า ให้มีบทบาทเหนือผู้ที่มีฐานะภาพเหนือกว่านั้น ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ฉะนั้น ผลลัพท์สุดท้ายจะเป็นสิ่งใดมิได้นอกจากต้องยอมรับว่า ตำแหน่งผู้นำภายหลังท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นสิทธิของท่านอิมามอลี(อ.)เพียงผู้เดียว

ข. หลักฐานทางฮะดีษ
มีหลักฐานมากมายจากตำราอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ที่ระบุว่า ท่านนบี(ซ.ล.)เคยกล่าวไว้ว่า“อลีคือตัวแทนของฉันภายหลังจากฉัน  หลังจากเขาก็สืบต่อโดยหลานรักของฉัน ฮะซันและฮุเซน โดยอิมาม(ผู้นำ)อีกเก้าท่านล้วนสืบเชื้อสายจากฮุเซน”[21] นอกจากนี้ยังมีฮะดีษอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ฮะดีษเยามุดด้าร ฮะดีษมันซิละฮ์ ฮะดีษเฆาะดีรคุม และฮะดีษษะเกาะลัยน์ รวมทั้งฮะดีษที่นบี(ซ.ล.)กล่าวว่า“จะมีเคาะลีฟะฮ์สิบสองคนภายหลังจากฉัน และอิสลามจะได้รับการเทิดเกียรติโดยพวกเขา”
เพื่อได้รับความกระจ่างเกี่ยวกับฮะดีษเหล่านี้ เราขอหยิบยกสามฮะดีษเป็นกรณีตัวอย่าง
1. ฮะดีษมันซิละฮ์:
ความเป็นมาของฮะดีษนี้ก็คือ เมื่อครั้งที่ท่านนบี(ซ.ล.)พร้อมเหล่าสาวกเคลื่อนทัพจากมะดีนะฮ์เพื่อทำสงครามกับกองทัพโรมัน ณ ตะบู้ก ท่านนบี(ซ.ล.)ได้แต่งตั้งให้ท่านอิมามอลี(อ.)เป็นผู้ดูแลมะดีนะฮ์ แต่เศาะฮาบะฮ์บางกลุ่มกล่าวเสียดสีว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)วางตัวอลีไว้เพื่อดูแลผู้หญิงและเด็กๆ” เมื่อได้ยินดังนี้ ท่านอิมามอลี(อ.)จึงนำเรียนท่านนบี(ซ.ล.)  ท่านนบี(ซ.ล.)จึงได้เอ่ยประโยคประวัติศาสตร์ไว้ว่า“ฐานะภาพของเธอที่มีต่อฉัน เปรียบดั่งฐานะภาพของฮารูน(อ.)ที่มีต่อมูซา(อ.) เว้นแต่ภายหลังจากฉันจะไม่มีศาสดาท่านใดอีก”[22]
2. ฮะดีษษะเกาะลัยน์:
ฮะดีษนี้ได้รับการบันทึกไว้ในตำราชั้นนำของฝ่ายซุนหนี่เช่นกัน[23]  ในช่วงปลายอายุขัยของท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวแก่บรรดาเศาะฮาบะฮ์ว่า“โอ้ ชาวประชา อีกไม่นานฉันก็จะตอบรับคำเชิญจากอัลลอฮ์แล้ว ฉันขอฝากฝังสิ่งมีค่าสองประการไว้ในหมู่พวกท่าน นั่นคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ และอิตเราะฮ์ของฉัน คัมภีร์ของอัลลอฮ์เปรียบเสมือนสายเชือกที่ทอดยาวจากฟากฟ้าสู่ผืนดิน และอิตเราะฮ์ก็คือวงศ์วานของฉัน  สองสิ่งนี่จะไม่พรากจากกันกระทั่งสมทบกับฉัน ณ บ่อน้ำเกาษัร พวกท่านพึงระวังว่าจะปฏิบัติต่อสองสิ่งนี้อย่างไรภายหลังจากฉัน”[24]
3. ฮะดีษเฆาะดีร:
เหตุการณ์“เฆาะดีรคุม”เกิดขึ้นช่วงปลายอายุขัยของท่านนบี(ซ.ล.) ตรงกับพิธีฮัจย์ครั้งอำลา ซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวแก่เศาะฮาบะฮ์จำนวนมหาศาลว่า ... من کنت مولاه فهذا علی مولاه... ความว่า ...ผู้ใดที่ฉันเป็นผู้นำของเขา อลีก็เป็นผู้นำของเขา...ฯลฯ ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กำหนดให้อิมามอลี(อ.)เป็นผู้นำภายหลังจากท่านด้วยประการฉะนี้
เหตุการณ์ดังกล่าว รายงานโดยเศาะฮาบะฮ์จำนวนมาก(110 ท่าน)[25] และตาบิอีนจำนวน 84 ท่าน ตลอดจนรายงานโดยปราชญ์ฝ่ายซุนหนี่ 36 ท่าน ซึ่งอัลลามะฮ์ อะมีนี ได้รวบรวมหลักฐานอ้างอิงที่เป็นที่ยอมรับทั้งในขุมตำราชีอะฮ์และซุนหนี่ไว้ในหนังสือ “อัลเฆาะดีร”อย่างครบครัน
สิ่งที่นำเสนอทั้งหมดข้างต้นนั้น ถือเป็นเศษเสี้ยวหนึ่งของหลักฐานอันมากมายที่ใช้ในการพิสูจน์ความเป็นเคาะลีฟะฮ์ของท่านอิมามอลี(อ.)ที่สืบทอดจากท่านนบี(ซ.ล.)ในลักษณะที่ไม่เว้นวรรค[26]

หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาศึกษาจาก:
ตัฟซี้รสาส์นแห่งกุรอาน, อายะตุ้ลลอฮ์ มะการิม ชีรอซี, เล่มที่ 9 (ตำแหน่งผู้นำในอัลกุรอาน,หน้า 177 เป็นต้นไป)
และดัชนี: พิสูจน์ตำแหน่งผู้นำของอิมามอลี(อ.)ในกุรอาน, คำถามที่ 324

 

 


[1] ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี:
เหตุผลเชิงสติปัญญาของอิมามัต,คำถามที่ 671
เหตุผลเชิงสติปัญญาของอิมามมะฮ์ดี(อ.),คำถามที่ 582

[2] เพื่อทราบว่าเหตุใดนามของบรรดาอิมามจึงไม่ปรากฏในกุรอาน ดู: ดัชนี: นามของบรรดาอิมาม(อ.)ในกุรอาน.

[3] ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี: เหตุผลของหลักความเชื่อเกี่ยวกับอิมามัต

[4] یا ایها الرسول بلغ ما انزل الیک من ربک...  ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์,67. ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี: อะฮ์ลิสซุนนะฮ์กับโองการตับลี้ฆ.

[5] ตัฟซี้รสาส์นแห่งกุรอาน,อ.มะการิม ชีรอซี,เล่ม 9 ตำแหน่งผู้นำในกุรอาน,หน้า 182เป็นต้นไป

[6] انما ولیکم الله و رسوله و الذین امنوا الذین یقیمون الصلاة... มาอิดะฮ์,55.

[7] เพราะรายงานที่เชื่อถือได้ล้วนระบุว่าผู้ที่บริจาคแหวนขณะรุกู้อ์ คือท่านอิมามอลี(อ.)

[8] อัดดุรรุ้ลมันษู้ร,เล่ม 2,หน้า 293.

[9] อัสบาบุ้นนุซู้ล,หน้า 148.

[10] ตัฟซี้ร กัชช้าฟ,เล่ม 1,หน้า 649.

[11] ตัฟซี้ร ฟัครุร รอซี,เล่ม 12,หน้า 26

[12] ตัฟซี้ร ฏอบะรี,เล่ม 6,หน้า 186.

[13] อัลเฆาะดี้ร,เล่ม 2,หน้า 52-53.

[14] یا ایها الذین امنوا اطیعوا الله و اطیعوا الرسول و اولی الامر منکم...  อันนิซาอ์,59

[15] ในตัฟซี้รบุรฮานมีฮะดีษที่รายงานจากอะฮ์ลุลบัยต์เกี่ยวกับโองการดังกล่าวนับสิบฮะดีษ ซึ่งระบุว่าโองการดังกล่าวประทานมาในกรณีของอิมามอลี(อ.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ที่เหลือ บางฮะดีษถึงขั้นระบุนามของอิมามแต่ละท่านจนครบสิบสอง, ตัฟซีรบุรฮาน,เล่ม 1,หน้า 381-387.

[16] ชะวาฮิดุตตันซี้ล,เล่ม1,หน้า 148-151.

[17] บะฮ์รุ้ลมุฮี้ฏ,เล่ม 3,หน้า 278.

[18] อิห์กอกุ้ลฮักก์,เล่ม 3,หน้า 425.

[19] یا ایها الذین امنوا اتقوا الله و کونوا مع الصادقین...  อัตเตาบะฮ์, 119. ฮะดีษระบุว่า ศอดิกีนในที่นี้คือ ท่านอลี(อ.)และอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(ซ.ล.) ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮ์,หน้า 115 และ ชะวาฮิดุตตันซี้ล,เล่ม 1,หน้า 262.

[20] อัชชูรอ, 33 ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ดู: ดัชนี: อะฮ์ลุลบัยต์(อ.)กับโองการมะวัดดะฮ์

[21] ตัซกิเราะตุ้ล เคาะวาศ,ซิบฏ์ บิน เญาซี,หน้า 327. และ ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮ์,สุลัยมาน กุนดูซี,หมวด 77,หน้า 444. และ ฟะรออิดุสซิมฏ็อยน์,ญุวัยนี,เล่ม 2,หน้า 134.

[22] انت منی بمنزلة هارون من موسی الا أنه لا نبی بعدی  ฟะฎออิลุล ค็อมซะฮ์,เล่ม 1,หน้า 299-316.

[23] เศาะฮี้ห์ มุสลิม,เศาะฮี้ห์ ติรมิซี,เล่ม 2,หน้า 308, และ ค่อศออิศ นะซาอี,หน้า 21. และ มุสตั้ดร็อก ฮากิม,เล่ม 3,หน้า 109. และ มุสนัด อะห์มัด บิน ฮัมบัล,เล่ม 3,หน้า 17.

[24] انی اوشک ان ادعی فاجیب و انی تارک فیکم الثقلین کتاب الله عز و جل و عترتی. کتاب الله حبل ممدود من السماء الی الارض و عترتی اهل بیتی، انهما لن یفترقا حتی یردا علی الحوض فانظرونی بم تخلفونی فیهما   ฟะฎออิลุล ค็อมซะฮ์,เล่ม 2,หน้า 44-53.

[25] ในจำนวนนี้มีเศาะฮาบะฮ์อย่าง: อบูสะอี้ดคุดรีย์, เซด บินอัรก็อม, ญาบิร บินอับดุลลอฮ์ อันศอรี, อิบนิอับบาส, บุรออ์ บินอาซิบ, ฮุซัยฟะฮ์, อบูฮุร็อยเราะฮ์, อิบนิมัสอู้ด, อามิร บินลัยลา

[26] เพื่อข้อมูลเพิ่มเติม โปรดอ่านหนังสือ อัลเฆาะดี้ร ของอัลลามะฮ์ อะมีนี,เล่ม 1, และหนังสือภาวะผู้นำในทัศนะอิสลาม,อ.ญะฟัร ซุบฮานี ซึ่งหน้า 274 และ 317  กล่าวเฉพาะเอกสาร เนื้อหา และบทวิเคราะห์เกี่ยวกับฮะดีษเฆาะดีร.

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6458 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • เหตุใดบรรดาอิมาม(อ.)จึงไม่สามารถปกป้องฮะร็อมของตนเองให้พ้นจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้?
    5937 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/13
    นอกจากอัลลอฮ์จะทรงมอบอำนาจแห่งตัชรี้อ์(อำนาจบังคับใช้กฎชะรีอัต)แก่นบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)แล้วพระองค์ยังได้มอบอำนาจแห่งตั้กวีนีอีกด้วยเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้สามารถจะแสดงอิทธิฤทธิ์ต่อสรรพสิ่งในโลกได้อำนาจดังกล่าวยังมีอยู่แม้บุคคลเหล่านี้สิ้นลมไปแล้วทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวแม้อยู่ในอาลัมบัรซัค(มิติหลังมรณะ) อย่างไรก็ดีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้อำนาจดังกล่าวอย่างพร่ำเพรื่อแต่จะใช้อำนาจนี้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของศาสนาของอัลลอฮ์หรือกรณีที่จำเป็นต่อการนำทางมนุษย์เท่านั้นซึ่งต้องไม่ขัดต่อจารีตวิถี(ซุนนะฮ์)ของพระองค์ด้วยอีกด้านหนึ่งการให้เกียรติสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)นับเป็นหนทางที่เที่ยงตรงส่วนการประทุษร้ายต่อสถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นหนทางที่หลงผิดแน่นอนว่าจารีตวิถีหนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ในอันที่จะเลือกระหว่างหนทางที่เที่ยงตรงและหลงผิดด้วยเหตุนี้เองที่บรรดาอิมาม(อ.)ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจพิเศษโดยไม่คำนึงความเหมาะสมยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์เองซึ่งแม้จะทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งแต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจทุกกรณีเห็นได้จากการที่มีผู้สร้างความเสียหายแก่อาคารกะอ์บะฮ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์แต่พระองค์ทรงใช้พลังพิเศษกับกองทัพของอับเราะฮะฮ์เท่านั้นเนื่องจากเขายาตราทัพเพื่อหวังจะบดขยี้กะอ์บะฮ์โดยเฉพาะ ...
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8712 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7545 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    8357 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9049 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5780 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7755 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    7351 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60122 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57558 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42211 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39359 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38942 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33998 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28013 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27959 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27790 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25791 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...