การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13000
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa14350 รหัสสำเนา 19932
คำถามอย่างย่อ
การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง?
คำถาม
การรักษาอาการพูดมาก มีแนวทางใดบ้าง? เพื่อว่าจะได้สามารถปกปิดความลับของตนเองและผู้อื่นได้
คำตอบโดยสังเขป

ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย, ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย, สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น ในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนทุกเช้า จงเตือนตัวเองว่า โปรดระวังรักษาลิ้นของตนให้ดี

ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา, แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที, บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน, กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์, ดังนั้น สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด, อัลลอฮฺ ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน, และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด, บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก, และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้ ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา, บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา, ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย,จิตใจของเขาจะตายด้าน และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก

คำตอบเชิงรายละเอียด

ลิ้น , คือผู้แปลภาษาใจ , ตัวแทนของความคิด , กุญแจแห่งบุคลิกภาพ   และระดับสำคัญสูงสุดของจิตวิญญาณ , สิ่งที่ปรากฏออกมาจากลิ้นหรือบนคำพูดของมนุษย์ , คือภาพลักษณ์อันแท้จริงที่ปรากฏบนจิตวิญญาณและมีบทบาทสำคัญยิ่ง , ลิ้นนอกจากจะเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺแล้ว   ยังเป็นสื่อในการพัฒนาการและเป็นเครื่องมือติดต่อกับคนอื่นอีกด้วย , ขณะเดียวกันลิ้นก็ยังมีความเสียหายรวมอยู่ด้วยอย่างมากมาย   และยังสามารถเป็นแหล่งเพาะพันธ์ความผิดบาปต่างๆ   ได้อีกเป็นจำนวนมหาศาลอีกด้วย , ด้วยเหตุนี้เอง   สำหรับการควบคุมลิ้นและการใช้ประโยชน์ในที่จำเป็นและมีความสำคัญนั้น   ขอนำเสนอ 2 วิธีดังต่อไปนี้   :

) การเยี่ยวยาด้วยการปฏิบัติ   :

เมื่อพิจารณาถึงอันตรายต่างๆ   จากลิ้นและการระมัดระวังลิ้น   จึงได้บทสรุปว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการเยียวยา   การพูดมาก , มนุษย์ต้องใช้ประโยชน์จากลิ้นในการพูดสนทนา   ในสถานที่ต่างๆ   ที่สำคัญและมีประโยชน์   ขณะเดียวกันอันตรายมากมายก็เกิดจากลิ้นเช่นเดียวกัน , ดังนั้น   ทุกๆ   เช้าหลังจากตื่นนอน , จำเป็นต้องแนะนำตักเตือนตนเองเสมอว่า   จงระวังลิ้นของเราให้ดี , เนื่องจากอวัยวะส่วนนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นมีความจำเริญ   หรือสูงส่งเทียมฟ้าก็ได้   หรือทำให้เขาไร้ค่าและตกต่ำเพียงดินก็ได้เช่นกัน , ท่านอิมามซัจญาด ( .) กล่าวว่า   : ทุกเช้า , ต้องทำให้ลิ้นสำรวมตนอยู่ภายใต้การควบคุมของอวัยวะทุกส่วนบนร่างกาย , มีคนถามว่า   : จะให้ทำอย่างไรหรือ ? และจะต้องตืนนอนตอนเช้าอย่างไร ? ท่านอิมาม ( .) ตอบว่า   : ตื่นด้วยความดีงามด้วยเงื่อนไขที่ว่า   ] เจ้าจงถอนมือไปจากเราและปล่อยเราให้เป็นตัวของตัวเองเถิด [ , ขอสาบานสิ่งนั้นด้วยพระนามของอัลลอฮฺว่า   ] เราจะไม่พูดจาไร้สาระ   เราจะไม่ทำให้ลิ้นต้องลำบาก [ หลังจากนั้นท่านอิมาม ( .) กล่าวว่า   ] ไม่ต้องสงสัยเลยว่า [ เนื่องจากเจ้านั่นเองที่ทำให้เราได้รับผลบุญ   และเนื่องจากเจ้านั่นเองที่เราได้รับการลงทัณฑ์ [1]

ดังนั้น   มนุษย์มีหน้าที่ระวังรักษาลิ้นและคำพูดของตนไว้ให้ดี , เนื่องจากทุกๆ   คำพูดที่ได้ออกมาจากปากของเขา   มันจะถูกบันทึกไว้ในบัญชีการกระทำ   อัลกุรอาน   กล่าวว่า   : ไม่มีคำพูดคำใดที่เขากล่าวออกมา   เว้นแต่ใกล้     เขานั้นมี ( มะลัก ) ผู้เฝ้าติดตาม   ผู้เตรียมพร้อม ( ที่จะบันทึก )” [2]

รายงานฮะดีซจากท่านอิมามอะลี ( .) :

1. ท่านอิมามอะลี ( .) ได้เดินผ่านไปใกล้ๆ   ชายคนหนึ่ง   เขาเป็นคนพูดมาก , ท่านอิมามได้หยุดใกล้ๆ   เขา   แล้วกล่าวว่า   : โอ้   เจ้าหนุ่มน้อยเอ๋ย   เธอได้ให้มะลักที่ประทับอยู่บนตัวเธอ   คอยบันทึกคำพูดจนบัญชีการงานเต็มไปหมดแล้ว , เธอจงพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์กับเธอเถิด   และจงออกห่างจากคำพูดไร้สาระและอันตราย [3]

2. คำพูดนั้นอยู่ในอำนาจของเธอตราบเท่าที่เธอยังไม่ได้พูดออกมา , แต่เมื่อใดก็ตามเธอได้พูดออกมา   เธอก็จะกลายเป็นทาสของคำพูดทันที , บัดนี้จงระวังรักษาคำพูดของเธอให้ดีเหมือนดังทองคำและเงิน , กี่มากน้อยเท่าใดแล้วที่คำพูดได้กลายเป็นสิ่งขจัดความโปรดปรานให้พ้นไปจากมนุษย์ , ดังนั้น   สิ่งใดที่เธอไม่รู้ไม่เข้าใจก็จงหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงมันเถิด , อัลลอฮฺ   ทรงกำหนดบางสิ่งให้เป็นวาญิบสำหรับอวัยวะบนร่างกาย   ซึ่งในวันฟื้นคืนชีพพระองค์จะสอบสวนถามไถ่จากมัน , และในวันนั้นบุคคลใดที่มีลิ้นเป็นนาย   เขาจะอับอายและอัปยศเป็นที่สุด , บุคคลใดก็ตามที่พูดมากความผิดพลาดของเขาก็ย่อมมีมาก , และบุคคลใดที่มีอุปนิสัยเยี่ยงนี้   ความละอายจะลดน้อยไปจากเขา , บุคคลใดที่ความละอายลดน้อยไปจากเขา , ความสำรวมตนจากบาปหรือสิ่งอันตรายก็จะลดน้อยตามไปด้วย , จิตใจของเขาจะตายด้าน   และบุคคลใดที่มีจิตใจตายด้าน   เขาก็จะถูกนำไปสู่นรก [4]

3.  » เมื่อสติปัญญาสมบูรณ์แล้ว , คำพูดก็จะน้อยลง [5] «

ด้วยเหตุนี้เอง , ในมุมมองของโองการอัลกุรอาน   และรายงานฮะดีซ , แนะนำว่าแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับการหลีกเลี่ยงการพูดจาไร้สาระอันตรายคือ   หลีกเลี่ยงการพูดมาก , ละเว้นการพูดจาไร้สาระไม่มีประโยชน์ , เนื่องจากถ้าเรารู้ว่าคำพูดก็คือส่วนหนึ่งของการกระทำ   และเราต้องรับผิดชอบ , ดังนั้น   จงหลีกเลี่ยงการพูดมากเสียเถิด   เพราะโดยปกติการพูดมากจะนำไปสู่   การโกหก , นินทาว่าร้าย , เสียเวลา , กลั่นบุคคลอื่น , ทำให้จิตใจแข็งกระด้าง , และอื่นๆ   อีกมากมาย

บางทีอาจกล่าวได้ว่ารากที่มาทางจิตวิทยาของการพูดมาก   อาจเกิดจากการที่ว่าเรามนุษย์นั้นชอบที่จะเรียกร้องความสนใจจากคนอื่น   และสำหรับการเรียกร้องความสนใจอันเพียงพอจากคนอื่น   เราก็จะเริ่มกระทำในสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเรียกร้องความสนใจ , แต่ต้องไม่ลืมว่า   ถ้าหากเราสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า   ความคิดของเขาก็จะเปลี่ยนเป็นว่า   เขาจะทำอย่างไรจึงจะสร้างความพึงพอพระทัยจากพระองค์ , และเขาก็จะทุ่มเทความพยายามให้แก่การนั้นเพื่อว่าจะได้เป็น   ที่รักยิ่งของพระองค์ , โดยไม่ต้องใส่ใจหรือต้องแสดงความโอ้อวด   หรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอีกต่อไป   ดังนั้น   การพูดมากหรือการกระทำทุกสิ่งอันไม่พึงปรารถนาไม่อาจเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นได้เสมอไป [6]

) การเยี่ยวยารักษาด้วยการปฏิบัติ :

สามารถใช้วิธีฝึกฝนหรือการบอกกล่าวด้วยการ   สาบถ   บนบาน   หรือการจ่ายค่าปรับ   ในกรณีที่เราได้พูดมาก , แน่นอน   ถ้าสามารถปฏิบัติได้และเป็นความเคยชินที่จะทำให้เราค่อยๆ   ห่างไกลจากพูดมากไร้สาระ   และในที่สุดเราจะได้พบกับอุปนิสัยใหม่อันแน่นอนและถูกต้องแก่ตัวเอง

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ , การห้ามปรามลิ้นมิให้พูดมาก , เป็นงานที่ต้องค่อยๆ   ทำค่อยๆ   ไป   และต้องใช้เวลาอันยาวนานพอสมควรจึงจะเป็นความเคยชิน   บุคคลที่พูดมากและไม่อาจควบคุมลิ้นของตนเองได้   ให้ความเคยชินแก่ลิ้นของตนจนเป็นความเคยชินไปเสียแล้ว , ระยะเวลาเพียงวันเดียวเขาไม่อาจปฏิบัติสิ่งที่ขัดแย้งกับความเคยชินของตนได้สำเร็จอย่างแน่นอน , ทว่าเขาต้องสัญญาและต้องให้เวลากับตัวเอง   และในแต่ละวันนั้นเขาต้องค่อยๆ   ลดคำพูดของตัวเองให้ลดน้อย   จนกระทั่งว่าเป็นความเคยชินและสามารถควบคุมลิ้นของตัวเองได้   สามารถตามความจำเป็นและที่มีความสำคัญ   และใช้ประโยชน์จากลิ้นได้อย่างถูกต้อง

สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม   โปรดค้นคว้าได้จาก   :

« แนวทางสำหรับการละทิ้งมารยาททราม », คำถามที่ 2604 ( ไซต์ : 2741)

« การเปรียบเทียบระหว่างการพูดกับการนิ่งเงียบ », คำถามที่ 9135 ( ไซต์ : 9608)

« แนวทางการละทิ้งบาปอันเกิดจากลิ้น », คำถามที่ 13686 ( ไซต์ : 13582)



[1] มัจญฺลิซซียฺ , มุฮัมมัดบากิร , บิฮารุลอันวาร   เล่ม 68, หน้า 302, สถาบันอัลวะฟาอฺ , เบรูต   ปี   . . 1404.

[2] อัลกุรอาน   บทก๊อฟ , 18, «ما یَلْفِظُ مِنْ قَوْلٍ إِلاَّ لَدَیْهِ رَقیبٌ عَتیدٌ»

[3] เชคซะดูก , มันลายะฮฺเฎาะเราะฮุลฟะกีฮฺ , เล่ม 4 หน้า 396, พิมพ์ที่ญามิอะฮฺ   มุดัรริซีน , กุม , พิมพ์ครั้งที่ 2, ปี   . .1404

[4] บิฮารุลอันวาร , เล่ม 68, หน้า 286.

[5] บิฮารุลอันวาร , เล่ม 1, หน้า 159.

[6] เพื่อศึกษาเพิ่มเติม   โปรดดูที่หัวข้อต่างๆ   เช่น   « แนวทางค้นหาความรักจากคนอื่น », คำถามที่ 10915 ( ไซต์ : 11664) และหัวข้อ   «แนวทางเป็นที่รักของอัลลอฮฺ», คำถามที่ 12547, ( ไซต์ : 12587)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • มีข้อแนะนำใดบ้างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนคลอดบุตร?
    13215 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/21
    มีข้อแนะนำบางอย่างที่คุณพ่อและคุณแม่ควรปฏิบัติก่อนจะมีบุตรอาทิเช่นปฏิบัติศาสนกิจอย่างครบถ้วนปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการร่วมหลับนอนบริโภคอาหารที่ฮะลาลและสะอาดโดยเฉพาะผลไม้นานาชนิดเข้ารับการตรวจโรคทางพันธุกรรมงดความเครียด  มองทิวทัศน์ที่สวยงามรักษาสุขอนามัยออกกำลังกายฯลฯหากปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ได้ครบถ้วนก็จะทำให้มีสมาชิกครอบครัวที่มีสุขภาพดีและประสบความสำเร็จในชีวิตส่งผลให้สังคมก้าวสู่ความผาสุกในอุดมคติ ...
  • สตรีในทัศนะอิสลามมีสถานภาพสูงส่งเพียงใด ?พวกเธอมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชายหรือ?
    12905 ปรัชญาของศาสนา 2554/10/22
    ในทัศนะอิสลาม, สตรีและบุรุษนั้นมีเป้าหมายร่วมกันนั่นคือ – การพัฒนาตนไปให้ถึงยังสถานอันสูงสุดของความเป็นมนุษย์ – และการไปถึงเป้าหมายดังกล่าว ทั้งสองจึงมีมาตรฐานอันเดียวกัน ซึ่งความต่างเรื่องเพศอันเป็นความจำเป็นของการสร้าง แทบจะไม่มีบทบาทอันใดทั้งสิ้นในการสร้าง หรือเพิ่มเติมศักยภาพและความสามารถดังกล่าวนั้น หรือคุณค่าในทางศาสนาเองก็มิได้มีบทบาทอันใดเช่นกัน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของสตรีจึงมิได้อยู่ในฐานะภาพเดียวกันกับความสมบูรณ์ของบุรุษ หรือใช่ว่าบุรุษจะใช้ความเป็นเพศชาย มาควบคุมความเป็นสตรีก็หาไม่ดังนั้น ในทัศนะของอิสลาม :1.สตรี, จึงเป็นสถานที่ปรากฏความสวยงาม ความประณีต และความเงียบสงบ2.สตรี, คือที่มาแห่งความสงบมั่นของบุรุษ, ส่วนบุรุษนั่นเป็นสถานพำนักพักพิง ให้ความรับผิดชอบ และการเป็นผู้นำของสตรี
  • สถานะและบุคลิกภาพของซุรอเราะฮฺ ณ บรรดาอิมามเป็นอย่างไร?
    6831 تاريخ بزرگان 2555/05/17
    ซุรอเราะฮฺ เป็นหนึ่งในสหายของอิมามมะอฺซูม (อ.) ที่มีฐานะภาพและเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ ณ อิมาม เขาถูกจัดว่าเป็นสหายอิจญฺมาอฺ หมายถึงความหน้าเชื่อถือ ความซื่อตรง และการพูดความจริงของเขา เป็นที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันดีในหมู่สหายของอิมาม (อ.) แม้ว่าจะมีรายงานกล่าววิจารณ์เขาอยู่บ้างก็ตาม, แต่เมื่อนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกันแล้ว สามารถสรุปให้เห็นถึงความถูกต้องของเขามากกว่า และจัดว่าเขาเป็นหนึ่งในสหายที่ยิ่งใหญ่ และมีเกียรติคนหนึ่งของอิมาม (อ.) ...
  • ประชาชนชาวเมืองกุมไม่ว่าจะกระทำผิดเพียงใดก็จะไม่ถูกลงโทษในไฟนรกกระนั้นหรือ?
    5848 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    1.รายงานฮะดีซที่เกี่ยวข้องกับเมืองกุม, ที่ว่าประชาชนชาวกุมจะไม่ตกนรกนั้นไม่ถูกต้อง.2.การรู้จักมักคุ้นกับลูกหลานของท่านศาสดา (ซ็อล
  • ปรัชญาของการมีทาสในอิสลามคืออะไร? อิสลามมีวิธีการจัดการกับสิ่งเหล่าอย่างไร?
    12310 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    ถูกต้องบทบัญญัติเกี่ยวกับ การแต่งงานกับทาส, การเป็นมะฮฺรัมกับทาส, สัญญาซื้อขาย (ข้อตกลงที่จะปล่อยทาสเป็นไท) และ ...ได้ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอาน, การมีทาสได้รับการยืนยันว่ามีจริงในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต้นยุคอิสลาม แต่จำเป็นต้องกล่าวว่าอิสลามมีโปรแกรมที่ละเอียดอ่อน และมีกำหนดเวลาในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท ซึ่งบั้นปลายสุดท้ายของทั้งหมดเหล่านั้นคือ การได้รับอิสรภาพเป็นไททั้งสิ้น ดังนั้นการเผชิญหน้าของอิสลามกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นต้องกล่าวถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้: 1-อิสลามมิเคยเริ่มต้นปัญหาเรื่องทาส 2-อิสลามถือว่าปัญหาชะตากรรม และความเจ็บปวดใจของทาสในอดีตที่ผ่านมาคือ ปัญหาความล้าหลังอันยิ่งใหญ่ของสังคม 3-อิสลามได้วางโครงการที่ละเอียดอ่อน เพื่อปลดปล่อยทาสให้เป็นไท, เนื่องจากครึ่งหนึ่งของพลเมืองในสมัยก่อนเป็นทาสทั้งสิ้น, พวกเขาไม่มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพการงาน, ไม่มีปัจจัยสำหรับการดำเนินชีวิตต่อไป.ถ้าหากอิสลามได้มีคำสั่งต่อสาธารณชนว่าให้ทั้งหมดปล่อยทาสให้เป็นไท, ซึ่งเป็นไปได้ว่าส่วนใหญ่ของพวกเขาจะต้องสูญเสียชีวิต หรือไม่ชนส่วนใหญ่ก็จะต้องว่างงานไร้อาชีพ หิวโหย ถูกกีดกัน และพวกเขาต้องได้รับแรงกดดันจนกระทั่งเข้าทำร้ายและโจมตีในทุกที่ การประจัญบาน การนองเลือด และการทำลายกฎระเบียบของสังคมก็จะทวีความรุนแรงขึ้น ด้วยเหตุนี้เอง อิสลามได้วางแผนการไว้อย่างละเอียด เพื่อดึงดูดสังคมให้ทาสเหล่านี้ได้รับอิสรภาพ และเป็นไทไปที่ละน้อย ซึ่งแผนการดังกล่าวมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน ...
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7581 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • ทั้งที่พจนารถของอิมามบากิรและอิมามศอดิกมีมากมาย เหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมไว้ในหนังสือสักชุดหนึ่ง?
    6799 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    หากจะพิจารณาถึงสังคมและยุคสมัยของท่านอิมามบากิร(อ.)และอิมามศอดิก(อ.)ก็จะเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงไม่มีการรวบรวมตำราดังกล่าวขึ้นอย่างไรก็ดีฮะดีษของทั้งสองท่านได้รับการรวบรวมไว้ในบันทึกที่เรียกว่า “อุศู้ลสี่ร้อยฉบับ” จากนั้นก็บันทึกในรูปของ”ตำราทั้งสี่” ต่อมาก็ได้รับการเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ฟิกเกาะฮ์ในหนังสือวะซาอิลุชชีอะฮ์กว่าสามสิบเล่มโดยท่านฮุรอามิลีแต่กระนั้นก็ต้องทราบว่าแม้ว่าฮะดีษของอิมามสองท่านดังกล่าวจะมีมากกว่าท่านอื่นๆก็ตามแต่หนังสือดังกล่าวก็มิได้รวบรวมเฉพาะฮะดีษของท่านทั้งสองแต่ยังรวมถึงฮะดีษของอิมามท่านอื่นๆอีกด้วย ทว่าปัจจุบันมีการเรียบเรียงหนังสือในลักษณะเจาะจงอยู่บ้างอาทิเช่นมุสนัดอิมามบากิร(อ.) และมุสนัดอิมามศอดิก(
  • ฮัมมาดะฮ์เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย และมีบุคลิกอย่างไร?
    7473 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    ตำราวิชาสายรายงานฮะดีษระบุว่ามีสตรีที่ชื่อ “ฮัมมาดะฮ์” สองคน คนหนึ่งชื่อ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ เราะญาอ์” ส่วนอีกคนคือ “ฮัมมาดะฮ์ บินติ ฮะซัน” แต่สันนิษฐานว่าสองรายนี้คือคนๆเดียวกัน สุภาพสตรีท่านนี้เป็นสาวิกาของท่านอิมามศอดิก(อ.) ซึ่งกุลัยนีและเชคเศาะดู้กได้รายงานฮะดีษของอิมามศอดิกจากนาง[1] ท่านนะญาชีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อซิยาด บิน อีซา อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ ส่วนเชคฏูซีระบุว่าพี่ชายของนางชื่อ เราะญาอ์ บิน ซิยาด จะเห็นได้ว่ามีทัศนะที่ขัดแย้งกันในเรื่องชื่อของพี่ชายและบิดาของนาง ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะมีสตรีสองคนที่ชื่อฮัมมาดะฮ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาถึงสำนวนของนะญาชีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าสองคนนี้แท้ที่จริงก็คือสตรีคนเดียวกัน เหตุผลที่นำมาชี้แจงก็คือ[2] อบูอุบัยดะฮ์ ฮิซาอ์ มีชื่อจริงว่า ซิยาด บิน อบีเราะญาอ์ (มิไช่แค่เราะญาอ์) ส่วนชื่อจริงของอบูเราะญาอ์คือ มุนซิร หรือซิยาด ผลที่ได้ก็คือ ...
  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7865 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7410 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60417 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42516 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39813 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39167 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34277 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28327 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28252 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28186 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26125 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...