การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
9434
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1535 รหัสสำเนา 18289
คำถามอย่างย่อ
มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร? ท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ทราบเรื่องนี้หรือไม่?
คำถาม
เชคกุลัยนีกล่าวไว้ในหนังสืออัลกาฟีย์,เล่ม1,หน้า239 ว่า "สหายของเราบางท่านรายงานจากอะห์มัด บิน มุฮัมมัด จากอับดุลลอฮ์ บิน ฮัจญ้าล จากอะห์มัด บิน อุมัร ฮะละบี จากอบูบะศี้ร รายงานว่า ตนได้เข้าพบท่านอิมามศอดิก(อ.)และกล่าวกับท่านว่า "ท่านขอรับ กระผมต้องการถามปัญหาสักข้อหนึ่ง ไม่ทราบว่าในที่นี้มีผู้ใดได้ยินเสียงกระผมหรือไม่?" ท่านอิมาม(อ.)เปิดม่านดูว่าไม่มีผู้ใดอยู่ จึงกล่าวว่า "เชิญถามมาเถิด" ฉันเอ่ยว่า "ท่านขอรับ ...ฯลฯ" ท่านหยุดนิ่งชั่วครู่ แล้วเอ่ยขึ้นว่า "มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์อยู่ ณ เรา คนทั่วไปจะรู้อะไรเกี่ยวกับมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์!" ฉันจึงถามว่า "แล้วมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไรหรือครับ?" ท่านตอบว่า "เป็นรูปเล่มที่หนาสามเท่าของกุรอานที่มีอยู่ทั่วไป ขอสาบานต่อพระองค์ ในเล่มนี้ไม่มีแม้คำเดียวที่เป็นกุรอาน" ฉันกล่าวว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ นี่แหล่ะคือวิชาการที่สมบูรณ์" ท่านตอบว่า "นี่ก็เป็นคลังวิชาการ แต่มิไช่ความรู้อันสมบูรณ์"
คำถามก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)และเศาะฮาบะฮ์ทราบหรือไม่ว่ามุศฮัฟฟาฏิมะฮ์มีอยู่จริง? หากท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ทราบเรื่องนี้ เหตุใดอะฮ์ลุลบัยต์ของท่านจึงทราบ แต่ท่านกลับไม่ทราบทั้งที่เป็นศาสดา? แต่ถ้าท่านทราบเรื่องนี้ เหตุใดจึงปกปิดอุมมัตของท่าน ทั้งที่อัลลอฮ์ตรัสว่า "โอ้ศาสนทูต จงเผยแพร่สิ่งที่ประทานแก่เจ้าจากพระผู้อภิบาลของเจ้า(อย่างสมบูรณ์) มาตรว่าเจ้าไม่ปฏิบัติ เท่ากับว่ามิได้ปฏิบัติภารกิจใดๆที่ได้รับจากพระองค์เลย"
คำตอบโดยสังเขป

มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ เป็นชื่อหนังสือที่บันทึกโดยท่านอิมามอลี(.)ภายหลังนบีวะฝาตไปแล้ว เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้เป็นข้อมูลที่ญิบรออีลหรือมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งถ่ายทอดแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ ซึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต ตลอดจนความเร้นลับของอาลิมุฮัมมัด(..) หนังสือเล่มนี้ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของตำแหน่งอิมาม และเป็นมรดกตกทอดระหว่างอิมาม ปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(.)
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นหลังท่านนบี(..) จึงไม่มีฮะดีษใดๆจากนบีเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่มิได้หมายความว่าท่านจะไม่ทราบเรื่องนี้ เพราะเราเชื่อว่าท่านสามารถหยั่งรู้อนาคตได้ด้วยอิทธิฤทธิ์แห่งอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นสัญลักษณ์ของผู้ดำรงตำแหน่งอิมามเท่านั้น บุคคลทั่วไปจึงไม่อาจจะล่วงรู้เนื้อหาภายในได้

คำตอบเชิงรายละเอียด

มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คืออะไร?
มุศฮัฟแปลว่าเอกสารชุดที่มีการรวมเล่มขนาบด้วยปกสองด้าน ฉะนั้นจึงสามารถเรียกหนังสือทั่วไปว่ามุศฮัฟได้ บรรพชนมุสลิมยุคแรกก็เรียกกุรอานว่ามุศฮัฟ[1]
ตำราอิสลามมีการกล่าวถึงหนังสือที่บรรดามะอ์ศูมีนครอบครองเป็นการเฉพาะ บุคคลเหล่านี้เป็นกลุ่มเดียวที่รู้ถึงเนื้อหาภายใน หนังสือเหล่านี้อาทิเช่น กิตาบอลี(.), มุศฮัฟอลี(.) และมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์(.)
แหล่งอ้างอิงบางเล่มเรียกหนังสือเล่มท้ายสุดว่ามุศฮัฟฟาฏิมะฮ์, เศาะฮีฟะฮ์ ฟาฏิมะฮ์, กิตาบฟาฏิมะฮ์[2] อย่างไรก็ดี มีรายงานไม่น้อยที่กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ บางรายงานไม่น่าเชื่อถือนัก แต่บางรายงานมีสายรายงานที่เศาะฮี้ห์ ทำให้พอจะมั่นใจได้ว่าหนังสือเล่มนี้มีจริง แม้แต่ละรายงานจะแตกต่างกันเกี่ยวกับรายละเอียดปลีกย่อยของหนังสือก็ตาม

มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์บันทึกอย่างไร?
ภายหลังการวะฝาตของท่านนบี(..) ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ บุตรีของท่านระทมทุกข์ด้วยความอาลัยอย่างยิ่ง การจากไปของบิดายังความทุกข์โศกอย่างหนักแก่เธอ
มีฮะดีษที่น่าเชื่อถือรายงานว่า มีมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งได้รับภารกิจให้ลงมาปลอบโยนเธอตั้งแต่หลังนบีวะฝาตจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตเธอ บางฮะดีษระบุว่ามะลาอิกะฮ์องค์นี้ก็คือญิบรออีล[3] ซึ่งได้แจ้งความเป็นอยู่ของท่านนบี(..)ในอาลัมบัรซัค ตลอดจนเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้มีฮะดีษจากท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า
"
หลังจากท่านนบี(..)วะฝาตไป ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์โศกสลดต่อการสูญเสียบิดาเป็นอย่างยิ่ง อัลลอฮ์เท่านั้นที่ทรงทราบขีดความทุกข์ระทมของเธอ พระองค์จึงส่งมะลาอิกะฮ์องค์หนึ่งมาเพื่อปลอบโยนเธอให้คลายความเศร้าตรม ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)ได้เล่าให้ท่านอิมามอลี(.)ทราบ และท่านอิมามอลี(.)ได้จดบันทึกไว้ นี่คือที่มาของการเรียบเรียงมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"[4]
จากฮะดีษข้างต้นทำให้ทราบว่า มุศฮัฟนี้เรียบเรียงขึ้นโดยท่านอิมามอลี(.)ภายหลังนบี(..)วะฝาต มีเนื้อหาเป็นถ้อยคำของมะลาอิกะฮ์ที่กล่าวแก่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.) อย่างไรก็ดี ฮะดีษอีกชุดหนึ่งซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าฮะดีษชุดข้างต้นระบุว่ามุศฮัฟนี้บันทึกในสมัยที่ท่านนบี(..)ยังมีชีวิตอยู่ โดยซัยยิด ญะฟัร มุรตะฎอ อามิลี ได้พยายามรวมสองทัศนะเข้าด้วยกันว่า อาจจะเริ่มบันทึกตั้งแต่สมัยท่านนบี(..)และดำเนินเรื่อยมาแม้หลังนบีวะฝาตก็เป็นได้[5]

ประเด็นการสนทนาระหว่างมะลาอิกะฮ์กับท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อ กุรอานก็กล่าวไว้ว่า "และเมื่อมวลมะลาอิกะฮ์กล่าวว่า โอ้มัรยัม อัลลอฮ์ทรงเลือกสรรเธอ และชำระเธอ และคัดเลือกเธอให้เหนือกว่าเหล่าอิสตรี"[6] ท่านหญิงมัรยัมได้รับเกียรติถึงเพียงนี้เพราะเป็นนายหญิงของอิสตรีในยุคของนาง ฉะนั้นจึงไม่ไช่เรื่องแปลกที่ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ผู้เป็นประมุขหญิงของเหล่าอิสตรีนับแต่คนแรกจนถึงคนสุดท้ายจะได้รับเกียรติเช่นนี้เช่นกัน

เนื้อหาของมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์(.)
เมื่อพิจารณาถึงฮะดีษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำให้สามารถจำแนกเนื้อหาของมุศฮัฟได้ดังนี้
1. เรื่องราวในอนาคต[7]
2. คำสั่งเสียของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[8]
3. รายนามของผู้ที่จะขึ้นครองอำนาจจวบจนถึงวันกิยามะฮ์[9]
4.
ข่าวคราวเกี่ยวกับบุตรหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์[10]
5. ข่าวคราวเกี่ยวกับท่านนบี(..)ภายหลังจากวะฝาต[11]
ตัวอย่างฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้:
ท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(.)มีชีวิตอยู่ภายหลังท่านนบี(..)เพียง 75 วัน ระหว่างนี้เธอโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อการจากไปของผู้เป็นบิดา ช่วงเวลานี้เองที่ญิบรออีล(.)หมั่นมาเยี่ยมเยียนเธอ และแสดงความเสียใจตลอดจนปลอบประโลมเธอให้คลายความเศร้าหมอง โดยได้เล่าความเป็นอยู่ของท่านนบี(..)และสถานะของท่านในอาลัมบัรซัค อีกทั้งเล่าความเป็นไปของบุตรหลานของนางในอนาคต โดยที่อิมามอลี(.)ได้จดบันทึกคำบอกเล่าดังกล่าวไว้ กระทั่งเรียบเรียงเป็นมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์"[12]

บรรดาอิมาม(.)เน้นย้ำถึงความแตกต่างระหว่างกุรอานและมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์
เมื่อพิจารณาฮะดีษบางบท ทำให้เข้าใจว่าพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์รู้จักมุศฮัฟนี้ตั้งแต่ยุคแรกๆ โดยคิดไปว่าชีอะฮ์เชื่อว่า โองการกุรอานที่ถูกบิดเบือนและตัดทอนออกไปได้รับการรวบรวมไว้ในมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ ด้วยเหตุนี้ บรรดาอิมาม(.)จึงปฏิเสธอย่างแข็งขันว่าไม่มีโองการกุรอานใดๆอยู่ในมุศฮัฟนี้[13] อัลลามะฮ์ อัสกะรี กล่าวว่า "นักเขียนชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านได้ใส่ใคล้ผู้เลื่อมใสในสายธารอะฮ์ลุลบัยต์ว่ามีกุรอานอีกเล่มหนึ่งนามว่า มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ ทั้งนี้ก็เนื่องจากตำราเล่มนี้ชื่อมุศฮัฟ ซึ่งไปพ้องกับที่มุสลิมในยุคแรกเรียกกุรอานว่ามุศฮัฟ"[14] มีฮะดีษจากอิมามศอดิก(.)ระบุว่า "ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์อยู่  เรา ซึ่งไม่มีโองการกุรอานในนี้เลยแม้แต่โองการเดียว"[15]

สัญลักษณ์แห่งอิมามัต
มีฮะดีษที่ค่อนข้างยาวจากอิมามริฎอ(.)กล่าวถึงสัญลักษณ์ของอิมามว่า "สัญลักษณ์หนึ่งของอิมามก็คือการมีมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์ไว้ในครอบครอง"[16] ท่านอิมามศอดิก(.)กล่าวว่า "ก่อนที่ท่านอิมามบากิร(.)จะเป็นชะฮีดนั้น ท่านได้มอบมุศฮัฟฟาฏิมะฮ์แก่ฉัน"[17]
มุศฮัฟนี้ส่งทอดกันมาระหว่างอิมามจากรุ่นสู่รุ่น และปัจจุบันอยู่ในครอบครองของท่านอิมามมะฮ์ดี(.)

ท่านนบี(..)ทราบเกี่ยวกับมุศฮัฟหรือไม่?
เนื่องจากฮะดีษมากมายระบุว่ามุศฮัฟฟาฏิมะฮ์(.)เรียบเรียงขึ้นในยุคอิมามอลี(.)ภายหลังนบี(..)วะฝาตไปแล้ว จึงไม่มีการเอ่ยถึงมุศฮัฟดังกล่าวในวจนะของท่านนบี(..) อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่าท่านไม่อาจจะล่วงรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ทั้งนี้ก็เพราะเราเชื่อว่าท่านนบี(..)มีความสามารถที่จะทราบเรื่องราวในอนาคตด้วยพลานุภาพจากอัลลอฮ์ กุรอานระบุว่าท่านเป็นประจักษ์พยานที่สามารถล่วงรู้การทุกกระทำและเหตุการณ์ได้ สรุปคือ มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์คือหนึ่งในสัญลักษณ์ของอิมาม และอิมามเท่านั้นที่มีสิทธิ์ครอบครอง
อย่างไรก็ดี หากเป็นไปตามเนื้อหาของฮะดีษบางบทที่ระบุว่ามุศฮัฟมีมาตั้งแต่สมัยท่านนบี(..)และเรียบเรียงขึ้นโดยคำบอกเล่าของท่าน แน่นอนว่าท่านย่อมทราบเรื่องนี้ดี

ประเด็นที่ควรพิจารณาก็คือ มุศฮัฟฟาฏิมะฮ์มิไช่โองการกุรอาน ที่ท่านนบี(..)จะมีหน้าที่ต้องเผยแพร่เนื้อหาให้สาธารณชนทราบ อีกทั้งท่านนบี(..)เองก็ไม่มีโอกาสจะสอนสั่งทุกสิ่งทุกอย่างในช่วงชีวิตของท่าน ทำให้ต้องส่งมอบภารกิจเหล่านี้แก่วงศ์วานของท่านแทน[18] ฉะนั้น การที่ท่านนบี(..)มิได้แจ้งเกี่ยวกับมุศฮัฟให้ประชาชาติของท่านทราบ ไม่ได้หมายความว่าท่านไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้



[1] ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 9,หน้า186

[2] อิบนิ บาบะวัยฮ์,อัลอิมามะฮ์วัลตั้บศิเราะฮ์,หน้า12

[3] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 241

[4] เพิ่งอ้าง,เล่ม 1,หน้า 238

[5] ซัยยิดญะฟัร มุรตะฎอ,ค็อลฟีย้าต กิตาบ มะอ์ซาตุซซะฮ์รออ์,เล่ม 6,หน้า 57-58

[6] ซูเราะฮ์อาลิอิมรอน, 42

[7] อัลอิห์ติญ้าจ,เล่ม 2,หน้า 134

[8] เพิ่งอ้าง,เล่ม 1,หน้า 241

[9] เพิ่งอ้าง,เล่ม 2,หน้า 134

[10] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 241

[11] เพิ่งอ้าง

[12] เพิ่งอ้าง

[13] มัฆนียะฮ์,มุฮัมมัด ญะว้าด,อัชชีอะฮ์ ฟิ้ลมีซาน,หน้า 61

[14] มะอาลิมุ้ลมัดเราะสะตัยน์,เล่ม 2,หน้า 32

[15] อัลกาฟีย์,เล่ม 1,หน้า 238

[16] มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 4,หน้า 419

[17] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 26,หน้า 47

[18] ดังที่ปรากฏในฮะดีษษะเกาะลัยน์อันน่าเชื่อถือ إِنِّی تَارِکٌ فِیکُمُ الثَّقَلَیْنِ مَا إِنْ تَمَسَّکْتُمْ بِهِمَا لَنْ تَضِلُّوا کِتَابَ اللَّهِ وَ عِتْرَتِی أَهْلَ بَیْتِی وَ إِنَّهُمَا لَنْ یَفْتَرِقَا حَتَّى یَرِدَا عَلَیَّ الْحَوْضَ วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 27,หน้า 33

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จะมีวิธีการสนับสนุนอย่างไรบ้าง เพื่อให้บุตรหลานรักการอิบาดะฮฺ?
    6521 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    สำหรับการส่งเสริมและการสนับสนุนให้ปฏิบัติข้อบังคับของศาสนา เบื้องต้นสิ่งแรกที่จะต้องทำคือการวิเคราะห์ความคิดของเขา หลังจากนั้นจึงจะหาวิธีแก้ไขและส่งเสริมต่อไป, ทัศนะของบุคคลและความเชื่อที่มีต่ออัลลอฮฺ, โลกทัศน์ของพระเจ้า,มนุษย์, วันฟื้นคืนชีพ และ... เหล่านี้มีผลโดยตรงต่อความเชื่อ เพราะจะช่วยทำให้เขามั่นคงต่อการอิบาดะฮฺ และการปฏิบัติข้อบังคับต่างๆ และความประพฤติ การโน้มน้าวทางความเชื่อ การมีวิสัยทัศน์ที่ดี และการมีความคิดดีกับฝ่ายตรงข้าม (โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน) ดังนั้น เพื่อก่อให้เกิดมรรคผลในทางที่ดี การอบรมสั่งสอนและการส่งเสริม จึงจำเป็นต้องเริ่มจากความคิดของเขาก่อน แน่นอน การที่บิดามารดาไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตร โปรแกรมการอบรมสั่งสอนย่อมไม่ได้ผล หรือล้มเหลวแน่นอน โดยการใช้วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมด้านการอบรม สามารถสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุตรหลานของตนได้ บางวิธีการเป็นวิธีที่มีความจำเป็นและเหมาะสม ดังเช่น : 1 ให้เกียรติบุตร: ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กล่าวว่า "จงให้เกียรติลูกๆ ของตนและจงอบรมสั่งสอนให้ดี" 2 รู้ถึงความต้องการของเด็กและเยาวชนในช่วงวัยรุ่น (เช่นความเป็นอิสระ, อารมณ์, ฯลฯ) เป็นการรู้จักทั่วไปถึงสภาพจิตใจอันเฉพาะของลูกแต่ละคน ...
  • ปวงข้าทาสเป็นอย่างไร ปวงบ่าวคือใคร? แล้วเราสามารถเคลื่อนไปในหนทางของการแสดงความเคารพภักดีได้อย่างไร ?
    7833 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     คำว่าอิบาดะฮฺนักอักษรศาสตร์ส่วนใหญ่ตีความว่าหมายถึงขั้นสูงสุดของการมีสมาธิหรือความต่ำต้อยด้อยค่าดังนั้นจึงไม่สมควรอย่างยิ่งเว้นเสียแต่ว่าสำหรับบุคคลที่ประกาศขั้นตอนของการมีอยู่ความสมบูรณ์และความยิ่งใหญ่ของความโปรดปรานและความดีงามออกมาฉะนั้นการแสดงความเคารพภักดีที่นอกเหนือไปจากพระเจ้าแล้วถือเป็นชิริกทั้งสิ้น
  • นมาซมีรหัสยะและปรัชญาอย่างไรในทัศนะของชีอะฮ์?
    5952 ปรัชญาของศาสนา 2555/06/11
    ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่าบทบัญญัติทุกข้อของพระองค์ย่อมมีปรัชญาและเหตุผลแฝงอยู่ แต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องเสาะหาเหตุผลของบทบัญญัติแต่ละข้อเสมอไป มุสลิมจะต้องสยบแด่สาส์นแห่งวิวรณ์โดยดุษณี จิตที่สยบเช่นนี้แหล่ะคือความสมบูรณ์ของมนุษย์ ซึ่งจริงๆแล้วบทบัญญัติบางข้อก็มีจุดประสงค์เพื่อทดสอบจิตประเภทดังกล่าว อย่างไรก็ดี กุรอานได้ระบุถึงเหตุผลของบทบัญญัติศาสนาในหลายวาระด้วยกัน บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็เคยกล่าวถึงประเด็นเหล่านี้ไว้ นอกจากนี้ นักวิชาการมุสลิมก็ได้ประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับรหัสยะและปรัชญาของบทบัญญัติศาสนา อาทิเช่นองค์ประกอบต่างๆของนมาซไม่ว่าจะเป็น การเหนียต ตะชะฮุด รุกู้อ์ สุญูด สลาม ฯลฯ ไว้หลายเล่มด้วยกัน ...
  • กรุณาอธิบายเกี่ยวกับสายรายงานและเนื้อหาของซิยารัตอาชูรอ
    7007 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/10
    แหล่งอ้างอิงหลักของซิยารัตบทนี้ก็คือหนังสือสองเล่มต่อไปนี้กามิลุซซิยารอตประพันธ์โดยญะฟัรบินมุฮัมมัดบินกุละวัยฮ์กุมี (เสียชีวิตฮ.ศ.348) และมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนของเชคฏูซี (ฮ.ศ.385-460) ตามหลักบางประการแล้วสายรายงานของอิบนิกูละวัยฮ์เชื่อถือได้แต่สำหรับสายรายงานที่ปรากฏในหนังสือมิศบาฮุ้ลมุตะฮัจญิดีนนั้นต้องเรียนว่าหนังสือเล่มนี้นำเสนอซิยารัตนี้ผ่านสองสายรายงานซึ่งสันนิษฐานได้สามประการเกี่ยวกับผู้รายงานฮะดีษหนึ่ง:น่าเชื่อถือ
  • กฎเกณฑ์ทางศาสนบัญญัติกล่าวว่าอย่างไร เกี่ยวกับการถอนคิ้วของสตรี?
    14385 สิทธิและกฎหมาย 2556/01/24
    การถอนคิ้วของสตรีโดยหลักการแล้วไม่เป็นไร ตามหลักการอิสลามภรรยาจะเสริมสวยและแต่งตัวเพื่ออวดสามี ถือว่าเป็นมุสตะฮับ ในทางตรงกันข้ามภรรยาที่ปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่เสริมสวยเพื่ออวดสามี ย่อมได้รับคำประณาม ด้วยเหตุนี้เอง บรรดานักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ ฟุเกาะฮา นอกจากจะแนะนำเหล่าสตรีในใส่ใจต่อปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังเตือนสำทับด้วยว่าการโอ้อวดสิ่งนั้นแก่ชายอื่นถือว่าฮะรอม ไม่อนุญาตให้กระทำ สตรีต่างมีหน้าที่ปกปิดสิ่งประดับและเรือนร่างของเธอให้พ้นจากสายตาของชายอื่น ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7673 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับท่านบิล้าล?
    7089 تاريخ بزرگان 2554/08/08
    หนังสืออ้างอิงทางประวัติศาสตร์ของชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวถึงท่านบิล้าลผู้เป็นอัครสาวกว่าท่านได้รับการไถ่ตัวโดยท่านอบูบักร์ท่านเป็นผู้ศรัทธาที่อดทนต่อการทรมานโดยกาเฟรมุชริกีนและเป็นนักอะซานประจำของท่านนบี(ซ.ล.) อีกทั้งยังเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสลามในสมรภูมิต่างๆเคียงข้างท่านนบี(ซ.ล.) ทว่าหลังจากที่นบีละสังขารท่านก็จากเมืองมะดีนะฮ์มุ่งสู่แคว้นชามและเสียชีวิตณที่นั่น ...
  • ควรนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักกับพระเจ้าแก่ชมรมเยาวชนในพื้นที่อย่างไร?
    6528 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/19
    หากพิจารณาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับหลักความเชื่อ ต้องถือว่าประเด็นการรู้จักพระเจ้าถือเป็นประเด็นหลักที่สำคัญที่สุด อีกทั้งครอบคลุมประเด็นปลีกย่อยมากมาย หากคุณต้องการอธิบายเกี่ยวกับประเด็นนี้จะต้องคำนึงถึง 2 หลักการเป็นสำคัญ หนึ่ง. ควรเลือกประเด็นที่จะหยิบยกมาพูดคุยให้เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตรรกะ สอง.จะต้องคำนึงถึงบุคลิกและพื้นฐานความรู้ของผู้ฟังอย่างเคร่งครัด เกี่ยวกับหลักการแรก ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้ คุณจะต้องเลือกประเด็นในการพูดคุยเกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่มีความครอบคลุมมากกว่า เพื่อที่จะได้อธิบายเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวได้ง่ายขึ้น จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นลึกๆ ของการรู้จักพระเจ้า นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ โดยคำนึงถึงลำดับการเรียงเนื้อหาที่เหมาะสม และจะต้องหลีกเลี่ยงการพูดเยิ่นเย้อ ให้ทยอยนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้า และควรใช้วิธีการที่สามารถเข้าใจง่ายและมีความหลากหลาย ควรใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกแสวงหาพระเจ้าที่มีในเยาวชนให้มากที่สุด ควรจะปล่อยให้เยาวชนได้มีโอกาสคิดและสรุปข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าใจประเด็นต่าง ๆได้ ควรใช้หนังสือต่างๆ ที่เสนอข้อมูลอย่างชัดแจนและมีการลำดับเนื้อเรื่องที่ดี เกี่ยวกับหลักการที่สองควรจะคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ ควรจะนำเสนอประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการรู้จักพระเจ้าที่สอดคล้องกับพื้นฐานความรู้ของเยาวชนกลุ่มนั้น ๆ และหากต้องการนำเสนอข้อมูลใหม่ๆ ...
  • อ่านกุรอานซูเราะฮ์ใดจึงจะได้ผลบุญมากที่สุด?
    25222 วิทยาการกุรอาน 2554/06/28
    อิสลามถือว่ากุรอานคือครรลองสำหรับการดำเนินชีวิตและเป็นชุดคำสอนที่จะเสริมสร้างจิตวิญญาณมนุษย์ให้สมบูรณ์หากจะอัญเชิญกุรอานโดยคำนึงเพียงว่าซูเราะฮ์ใดมีผลบุญมากกว่าก็ย่อมจะสูญเสียบะเราะกัต(ความศิริมงคล)ที่มีในซูเราะฮ์อื่นๆฉะนั้นจึงควรอัญเชิญกุรอานให้ครบทุกซูเราะฮ์และพยายามนำสู่การปฏิบัติ อย่างไรก็ดีแต่ละซูเราะฮ์มีคุณสมบัติพิเศษในแง่ของความศิริมงคลและผลบุญตามคำบอกเล่าของฮะดีษอาทิเช่นซูเราะฮ์ฟาติหะฮ์มีฐานะที่เทียบเท่าเศษสองส่วนสามของกุรอานหรืออายะฮ์กุรซีที่เป็นที่กล่าวขานกันถึงคุณประโยชน์อันมหาศาลหรือซูเราะฮ์กุ้ลฮุวัลลอฮ์ที่เทียบเท่าเศษหนึ่งส่วนสามของกุรอานส่วนซูเราะฮ์อื่นๆก็มีคุณลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันไป. ...
  • มีดุอาอฺขจัดความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชาบ้างไหม?
    11838 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    ภารกิจบางอย่างที่คำสอนศาสนาปฏิเสธไม่ยอมรับคือ ความเกลียดคร้านและความเฉื่อยชา, บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) กล่าวตำหนิคุณสมบัติทั้งสองนี้ และขอความคุ้มครองจากพระเจ้าให้พ้นไปจากทั้งสอง ดังจะเห็นว่าบทดุอาอฺบางบทจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ เช่น : 1. มุสอิดะฮฺ บุตรของ ซิดเกาะฮฺ กล่าวว่า : ฉันได้วอนขอให้ท่านอิมามซอดิก (อ.) ดุอาอฺต่ออัลลอฮฺเกี่ยวกับภารกิจการงานใหญ่ๆ ท่านอิมาม (อ.) กล่าวว่า ฉันจะสอนดุอาอฺของคุณปู่ของฉันท่านอิมามซัจญาด (อ.) แก่เธอ ซึ่งดุอาอฺของท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้วอนขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ เพื่อให้พ้นไปจากความความเกลียดคร้าน กล่าวว่า : : "...وَ أَعُوذُ بِكَ مِنَ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60414 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57976 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42505 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39803 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39163 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34271 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28316 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28244 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28181 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26120 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...