การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7762
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/01
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4308 รหัสสำเนา 20355
หมวดหมู่ ริญาลุลฮะดีซ
คำถามอย่างย่อ
จริงหรือไม่ที่กล่าวกันว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เพียงไม่กี่บท?
คำถาม
จริงหรือไม่ที่หากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ของท่านกุลัยนีเกี่ยวกับฮะดีษเศาะฮี้ห์ จะพบว่าในหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษประเภทนี้ไม่กี่บท? เหตุผลก็คือการที่มีการประพันธ์ตำราหลายเล่มหลังยุคกุลัยนี ดังที่วะฮี้ด เบะฮ์บะฮอนีกล่าวไว้ว่า “เราได้ประจักษ์ว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษหลายบทที่มิได้รายงานจากอิมามมะอ์ศูม” ทัศนะนี้ถูกต้องหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้น มีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกัน เพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้อันได้แก่ จะต้องสอดคล้องกับกุรอาน ตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้ร
ส่วนการประพันธ์ตำราหลังยุคท่านกุลัยนีก็มิได้หมายความว่าหนังสืออัลกาฟีไม่น่าเชื่อถือ เพราะผู้ประพันธ์ตำราเหล่านั้นก็ล้วนยอมรับความนิยมในหนังสืออัลกาฟี

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อตอบข้อซักถามดังกล่าว ควรคำนึงถึงประเด็นต่อไปนี้:
1. มัรฮูมษิเกาะตุ้ลอิสลามกุลัยนีถือเป็นผู้รู้ระดับสูงท่านหนึ่งของชีอะฮ์ในยุคเร้นกายระยะแรก(ศุฆรอ) ซึ่งได้รับการยกย่องจากผู้รู้จำนวนมาก[1] มัรฮูมมุฮัมมัดตะกี มัจลิซี กล่าวถึงท่านว่ากล่าวได้ว่าในหมู่ผู้รู้ของชีอะฮ์ไม่มีใครเสมอเหมือนกุลัยนีอีกแล้ว หากพิจารณาฮะดีษที่ปรากฏในตำราของท่านก็จะเข้าใจได้ว่าท่านได้รับการสนับสนุนจากอัลลอฮ์[2]

2. หลักเกณฑ์การเลือกฮะดีษที่ท่านกุลัยนีระบุไว้นั้น มีไว้เฉพาะกรณีฮะดีษที่ขัดแย้งกัน เพราะหลักเกณฑ์พิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษมีมากกว่าสามวิธีที่ท่านระบุไว้ อันได้แก่ จะต้องสอดคล้องกับกุรอาน ตรงข้ามกับอามมะฮ์และแนวตัคยี้ร ซึ่งจะอธิบายเพิ่มเติมในประเด็นถัดไป

3. ทัศนะที่กลุ่มผู้รู้ที่จำแนกฮะดีษในหนังสืออัลกาฟีเคยกล่าวไว้นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานนิยามที่แพร่หลายหลังยุคผู้ประพันธ์ตำราทั้งสี่ (กุตุ้บอัรบะอะฮ์) ทว่านักวิชาการปัจจุบันเน้นความน่าเชื่อถือของตัวฮะดีษเป็นมาตรฐานหลัก มิไช่พิจารณาเพียงนักรายงานฮะดีษอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้เองที่ผู้รู้ยุคแรกถือว่าฮะดีษที่ตนมั่นใจว่าเป็นวจนะของอิมาม ถือว่าเศาะฮี้ห์[3] กล่าวคือ ความมั่นใจดังกล่าวเป็นข้อสรุปจากการตรวจสอบสายรายงานพร้อมกับเนื้อหาฮะดีษ ทำให้ผู้รู้เหล่านั้นมั่นใจว่าเศาะฮี้ห์

4. หากไม่นับกลุ่มนักวิจารณ์แล้ว จะพบว่ามีอีกกลุ่มหนึ่งที่ให้การยอมรับอัลกาฟีอย่างสมบูรณ์ อาทิเช่น:
เชคมุฟี้ดเชื่อว่าอัลกาฟีคือหนังสือที่ดีและมีประโยชน์มากที่สุดของชีอะฮ์[4]
ซัยยิดมุรตะฎอกล่าวว่าแม้ฮะดีษหลายบทที่ปรากฏในตำราทั้งสี่จะมีสายรายงานไม่มากพอ แต่เราก็เชื่อว่าได้รับรายงานจากบรรดาอิมาม(.)ด้วยเหตุผลดังนี้ หนึ่ง. ความน่าเชื่อถือสืบเนื่องจากเป็นที่นิยมแพร่หลาย สอง. มีเบาะแสพิสูจน์ความเศาะฮี้ห์ของฮะดีษ[5]
มุฮักกิก กะเราะกี และมุฮัมมัด อมีน อัสตัรออบอดี เชื่อว่าไม่มีหนังสือเล่มใดในโลกชีอะฮ์ที่จะเทียบเคียงอัลกาฟีได้[6]
นะญาชีกล่าวว่ามุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ กุลัยนี คือสหายผู้ยิ่งใหญ่ของเราในเมื่องเรย์ และมีความสัจจะที่สุดในการรายงานฮะดีษ โดยใช้เวลาประพันธ์อัลกาฟีถึงสามสิบปี[7]

ผู้ประพันธ์หนังสืออัลมะอาลิม และมุนตะก้อล ญิมาน กล่าวว่า
ان احادیث الکتب الاربعة و امثالها محفوفة بالقرائن و انها منقولة من الاصول والکتب المجمع علیها بغیر تغییر[8]
และกล่าวถึงการอนุญาตรายงานฮะดีษว่า
ان اثر الاجازة بالنسبة الی العمل انما یظهر حیث لایکون متعلقها معلوما بالتواتر و نحوه ککتب اخبارنا الاربعة فانها متواتره اجمالا والعلم بصحة مضامینها تفصیلاً یستفاد من قرائن الاحوال و لامدخل للاجازة فیه غالباً[9]
หมายถึง เรามีเบาะแสที่ทำให้เชื่อมั่นในความถูกต้องของตำราทั้งสี่ ฉะนั้น การอนุญาตรายงานจึงไม่มีผลใดๆต่อเรื่องดังกล่าว

ฟัยฎ์ กาชานี กล่าวว่ากาฟีเป็นหนังสือที่ทรงคุณค่า สมบูรณ์ และครบครันมากที่สุด เนื่องจากรายงานจากตำรายุคเก่า(อุศู้ล) และปราศจากสิ่งเจือปน[10]
มัรฮูม คูอี้ กล่าวไว้ในอารัมภบทของตำราริญ้าลว่ามัรฮูม เชค มุฮัมมัดฮุเซน นออีนี เคยกล่าวในชั้นเรียนว่า การตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสายรายงานของอัลกาฟีเป็นเรื่องของพวกด้อยความสามารถ และไม่มีใครสงสัยความถูกต้องของฮะดีษอัลกาฟีนอกจากพวกนี้เท่านั้น[11]

อย่างไรก็ดี ทัศนะที่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือทัศนะที่ปราศจากอคติหรือการยกย่องเกินเหตุ เพราะแม้ว่าหนังสืออัลกาฟีจะมีฮะดีษเศาะฮี้ห์จำนวนมาก แต่ก็ยังมีฮะดีษที่ไม่อาจยอมรับได้รวมอยู่ด้วย

5. การประพันธ์หนังสือหลังจากตำราเล่มใด มิได้หมายความว่าตำราเล่มก่อนไม่ดีเสมอไป เนื่องจากผู้ประพันธ์เล่มก่อนอาจต้องการจะเขียนลักษณะสังเขปหรืออาจมีมุมมองเฉพาะ แต่ผู้ประพันธ์เล่มต่อมาอาจต้องการเพิ่มรายละเอียดหรืออาจมีมุมมองที่แตกต่างออกไปก็เป็นได้ ดังที่มัรฮูม ฟัยฎ์ กาชานีเคยชมเชยอัลกาฟีในอารัมภบทหนังสืออัลวาฟี แต่ก็ระบุว่าเหตุที่ต้องเขียนอัลวาฟีก็เพราะอัลกาฟีมีลักษณะสังเขป[12]

6. ทัศนะของท่านวะฮี้ด เบะฮ์บะฮอนีคือ การที่ปลายสายรายงานไม่เชื่อมถึงอิมามมะอ์ศูม แต่ถึงเพียงศิษย์ของท่านเหล่านั้น[13] ฉะนั้นคำพูดที่ว่าเราได้ประจักษ์ว่าหนังสืออัลกาฟีมีฮะดีษหลายบทที่มิได้รายงานจากอิมามมะอ์ศูมนั้น มิไช่คำพูดของท่านวะฮี้ด แต่เป็นการนำคำพูดของท่านไปตีความอย่างผิดเพี้ยน ทั้งนี้เนื่องจากว่า แม้ปลายสายรายงานอาจจะไม่เชื่อมถึงอิมามมะอ์ศูมก็ตาม แต่มิได้หมายความว่าฮะดีษดังกล่าวไม่น่าเชื่อถือ หรือกุขึ้นมาแต่อย่างใด เนื่องจากบุคคลอย่างอลี บิน อิบรอฮีม หรือ อบีอัยยู้บ[14]จะไม่มีวันรายงานฮะดีษจากผู้อื่นที่มิไช่อิมามอย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้ท่านกุลัยนีจึงรายงานจากบุคคลเหล่านี้เพราะไว้วางใจในความน่าเชื่อถือของพวกเขา

 



[1] มุฮัดดิษ กุมี กล่าวถึงท่านกุลัยนีว่าผู้ประพันธ์ตำราอัลกาฟีอันทรงคุณค่าถือเป็นผู้รู้และนักรายงานระดับสูง และเป็นที่ภาคภูมิใจของชีอะฮ์ฮะดียะตุ้ลอะห์บ้าบ,เชคอับบาส กุมี, สำนักพิมพ์อมี้ร กะบี้ร,เตหราน 1364, หน้า 247

[2] อุศูลกาฟี, ษิเกาะตุลอิสลามกุลัยนี,แปลโดยซัยยิดญะว้าด มุศเฏาะฟะวี,สำนักพิมพ์วะฟา,เล่ม 1,บทนำผู้แปล,หน้า 8. เพื่อทราบข้อมูลเพิ่มเติมโปรดอ่านคำตอบที่ 1527 ระเบียน ฮะดีษในตำราอัลกาฟี

[3] ซัยฟี มอซันดะรอนี,อลีอักบัร, มิกยาสุรริวายะฮ์ ฟี อิลมิดดิรอยะฮ์,หน้า 44 อ่านเพิ่มเติมที่คำตอบที่ 1937

[4] อลี ฆอซี ชอฮ์รูดี,อัลอะอ์ลามุลฮาดิยะฮ์ อัรเราะฟีอะฮ์ ฟี อิอ์ติบาริล กุตุบิล อัรบะติลมะนีอะฮ์,หน้า 123

[5] เชคฮุร อามิลี,วะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 2,หน้า 76, อ้างใน มะอาลิมุ้ลอุศู้ล,หน้า 171 และ มัษก็อลญะมาล ฟิลอะฮาดีษิศศิฮ้าฮิวัลฮาล,เล่ม 1,หน้า 8

[6] ซุบฮานี,ญะอ์ฟัร, กุลลียาต ฟี อิลมิรริญาล,หน้า 360

[7] อัลอะอ์ลามุลฮาดิยะฮ์,หน้า 133 อ้างในริญาลนะญาชี

[8] อบูมันศู้ร ฮะซัน บินซัยนิลอาบิดีน, มะอาลิมุลอุศู้ล,หน้า 185

[9] อัลอะอ์ลามุลฮาดิยะฮ์,หน้า 152 อ้างในมะอาลิมุลอุศู้ล หมวดฮะดีษ

[10] อุศูลกาฟี,บทนำผู้แปล,หน้า 9

[11] มุอ์ญะมุรริญาลิลฮะดีษ,ซัยยิด อบุลกอซิม อัลมูซะวี อัลคูอี, ค้นคว้าเพิ่มเติมโดยมุรตะฎอ อัลฮะกะมี,สำนักพิมพ์อัลอาด้าบ,นะญัฟ,หน้า 99 บทนำที่ห้า

[12] ฟัยฎ์ คอชอนี,อัลวาฟี,สำนักพิมพ์อิสลามียะฮ์,หน้า 7

[13] เช่นในหมวดดิย้าต ได้รายงานฮะดีษชุดหนึ่งที่สิ้นสุด  อลี บิน อิบรอฮีม และอบี อัยยู้บ มิไช่อิมามมะอ์ศูม. อัรเราะซาอิลุลอุศูลียะฮ์,วะฮีด เบะฮ์บะฮอนี,หน้า 93, 213

[14] นะมอซี ชอฮ์รูดี,อลี, มุสตัฏเราะฟาตุ้ลมะอาลี,สำนักพิมพ์บะนา,พิมพ์ครั้งแรก,หน้า

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • คำว่า อัซเซาะมัด ในอัลลอฮฺ อัซเซาะมัดหมายถึงอะไร?
    11130 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    สำหรับคำว่า “เซาะมัด” ในอภิธานศัพท์, ริวายะฮฺ และตัฟซีร ได้กล่าวถึงความหมายไว้มากมาย, ด้วยเหตุนี้ สามารถสรุปอธิบายโดยย่อเพื่อเป็นตัวอย่างไว้ใน 3 กลุ่มความหมายด้วยกัน (อภิธานศัพท์ รายงานฮะดีซ และตัซรีร) ก) รอฆิบเอซฟาฮานียฺ กล่าวไว้ในสารานุกรมว่า : เซาะมัด หมายถึง นาย จอมราชันย์ ความยิ่งใหญ่ สำหรับการปฏิบัติภารกิจหนึ่งต้องไปหาเขา, บางคนกล่าวว่า : “เซาะมัด” หมายถึงสิ่งๆ หนึ่งซึ่งภายในไม่ว่าง, ทว่าเต็มล้น[1] ข) อิมามฮุซัยนฺ (อ.) อธิบายความหมาย “เซาะมัด” ไว้ 5 ความหมายด้วยกัน กล่าวคือ
  • เราสามารถปฏิบัติตามอัลกุรอานเฉพาะโองการที่เข้าใจได้หรือไม่?
    8073 فضایل اخلاقی 2557/01/21
    มนุษย์เราจำเป็นจะต้องขวนขวายหาความรู้อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าหากเลือกปฏิบัติตามที่ตนรู้ตามกระบวนการดังกล่าวอย่างบริสุทธิ์ใจ อัลลอฮ์จะทรงชี้นำเขาสู่ความถูกต้องอย่างแน่นอน กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า «وَ الَّذینَ جاهَدُوا فینا لَنَهْدِیَنَّهُمْ سُبُلَنا وَ إِنَّ اللَّهَ لَمَعَ الْمُحْسِنین»[1] “และเหล่าผู้ที่ต่อสู้ในแนวทางของเรา(อย่างบริสุทธิ์ใจ) แน่แท้ เราจะชี้นำพวกเขา และพระองค์ทรงอยู่เคียงข้างผู้บำเพ็ญความดี” ท่านนบีกล่าวว่า “مَنْ عَمِلَ بِمَا یَعْلَمُ وَرَّثَهُ اللَّهُ عِلْمَ مَا لَمْ یَعْلَمْ”[2] ผู้ที่ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนรู้ พระองค์จะทรงสอนสั่งในสิ่งที่เขาไม่รู้” จำเป็นต้องทราบว่า กุรอานมีทั้งโองการที่มีสำนวนเข้าใจง่ายและมีความหมายไม่ซับซ้อน อย่างเช่นโองการที่บัญชาให้นมาซ ห้ามมิให้พูดปด ห้ามนินทา ฯลฯ ...
  • ศาสนามีความเหมาะสมกับความเสรีของเราหรือว่าไม่เข้ากัน
    7630 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    เสรีภาพในการศาสนานั้นสามารถตรวจสอบได้จาก เสรีภาพทางจิตวิญญาณ และเสรีภาพทางสังคมการเมือง ในมุมมองจิตวิญญาณ, แก่นแท้ของมนุษย์คือ นัฟซ์มุญัรร็อด (หมายถึงสภาพที่เป็น อรูป ไม่ต้องอาศัยร่างกายและวัตถุหรืออาการทางกายภาพ) เพราะเป็นอาณาจักรแห่งความเร้นลับมีแนวโน้มของความคิดเห็นที่มีต่อแหล่งกำเนิดของตน และนั่นเป็นเพราะว่าชีวิตของเราขึ้นอยู่กับร่างกาย ซึ่งมีพันธผูกพันอยู่กับกิจการทางโลก มนุษย์ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่ต้องสร้างความสมบูรณ์แบบของตน โดยการปฏิบัติภารกิจบนโลกนี้ซึ่งโลกนั้นเป็นเพียงเรือกสวนไร่นาสำหรับปรโลก แต่บางคนเนื่องจากใส่ใจต่อความเป็นอิสรเสรี เขาจึงตกหลุมพรางการละเล่นและความสวยงามภายนอกของโลก และสิ่งนี้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่เขาไม่สามารถพัฒนาจิตใจให้สูงส่งได้ และแทนที่จะคิดถึงแก่นแท้ความจริงของภารกิจ หรือของสรรพสิ่งที่มีอยู่ แต่คิดถึงเฉพาะเปลือกนอกเหล่านั้นและคิดว่านั้นเป็นแก่นความจริง เขาจึงหลงลืมแก่นแท้ความจริงโดยสิ้นเชิง มีความเพลิดเพลินต่อโลกหรือหลงโลกนั่นเอง พวกเขาตั้งความหวังกับโลกไว้อย่างสวยหรู และไม่มีข้อจำกัดในการใช้ประโยคทางโลก พวกเขาได้ให้ความอิสระชนิดปราศจากเงื่อนไขแก่ตัวเอง ขณะที่เสรีภาพคือการปลดปล่อยตนเองให้รอดพ้นจากราชประสงค์ของความเป็นสัตว์ โลก และอำนาจฝ่ายต่ำ และนี่คือเสรีภาพที่เป็นความต้องการของศาสนา จากมุมมองของศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลกที่บุคคลหนึ่งอาจเป็นมหาจักรพรรดิที่มีอำนาจ แต่เขาขัดเกลาจิตวิญญาณเพื่อความสมบูรณ์แบบ ประหนึ่งผู้ยากจนไร้ซึ่งสมบัติ ขณะที่เขาเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ
  • สาเหตุของการปฏิเสธอัลลอฮฺ เนื่องจากเหตุผลในการพิสูจน์พระองค์ไม่เพียงพอ?
    8358 ปรัชญาอิสลาม 2555/04/07
    ความจริงที่เหล่าบรรดาศาสดาแห่งพระเจ้าได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลแน่นอน, แต่กระนั้นก็ยังได้รับการปฏิเสธจากผู้คนในสมัยของตน,แสดงให้เห็นถึงความดื้อรั้นของผู้ปฏิเสธ, เนื่องจากไม่ต้องการที่จะยอมรับความจริง, มิใช่ว่าเหตุผลในการพิสูจน์พระเจ้าไม่เพียงพอ, หรือเหตุผลในการปฏิเสธพระเจ้าเหนือกว่า ...
  • มลาอิกะฮ์สร้างมาจากรัศมีของบรรดาอิมาม และมีหน้าที่ร่ำไห้แด่อิมามฮุเซน(อ.)กระนั้นหรือ?
    9029 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/19
    1. ความเชื่อที่ว่ามลาอิกะฮ์สร้างขึ้นจากรัศมีนั้นได้รับการยืนยันจากฮะดีษหลายบทที่รายงานไว้ในตำราฝ่ายชีอะฮ์และซุนหนี่ตำราชีอะฮ์บางเล่มระบุถึงการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆรวมถึงมลาอิกะฮ์จากรัศมีของปูชนียบุคคลอย่างท่านนบี(ซ.ล.) หรือบรรดาอิมามหรือบุคคลอื่นๆดังที่ตำราของซุนหนี่เองก็เล่าว่าเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกและคนอื่นๆถือกำเนิดจากรัศมีของท่านนบี(ซ.ล) การที่มีฮะดีษเหล่านี้ปรากฏอยู่ในตำรับตำราของแต่ละฝ่ายมิได้หมายความว่าทุกคนจะต้องคล้อยตามฮะดีษเหล่านี้เสมอไป อย่างไรก็ดีตำราฮะดีษชีอะฮ์ได้รายงานฮะดีษชุด "ฏีนัต" ไว้ซึ่งไม่อาจจะมองข้ามได้กล่าวโดยสรุปคือหากพบว่ามุสลิมแต่ละฝ่ายอาจมีทัศนะแตกต่างกันบ้างในเรื่องการสรรสร้างของพระองค์
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    6159 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • วิธีตอบรับสลามขณะนมาซควรทำอย่างไร?
    11771 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ขณะนมาซ, จะต้องไม่ให้สลามบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลอื่นได้กล่าวสลามแก่เขา, เขาจะต้องตอบในลักษณะที่ว่ามีคำว่า สลาม ขึ้นหน้า, เช่น กล่าวว่า »อัสลามุอะลัยกุม« หรือ »สลามุน อะลัยกุม« ซึ่งจะต้องไม่ตอบว่า »วะอะลัยกุมสลาม«[1] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ, คนเราต้องตอบรับสลามอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะอยู่ในนมาซหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าลืมหรือตั้งใจไม่ตอบรับสลามโดยทิ้งช่วงให้ล่าช้านานออกไป, และไม่นับว่าเป็นการตอบรับสลามอีกต่อไป, ขณะนมาซไม่จำเป็นต้องตอบ และถ้านอกเวลานมาซไม่วาญิบต้องตอบรับสลามอีก[2] [1] ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่? รายงานจากอิมามญะฟัร(อ.)ว่า "ก่อนท่านนบี(ซ.ล.)จะนอน ท่านจะแนบใบหน้าที่หว่างอกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เสมอ" (บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 43,หน้า 78)
    8084 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/24
    ฮะดีษแบ่งออกเป็นสองประเภท ก.กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่เชื่อถือได้แข็งแรงและเศาะฮี้ห์ ขกลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่น่าเชื่อถืออ่อนแอและไม่เป็นที่รู้จัก.ฮะดีษที่ยกมานั้นหนังสือบิฮารุลอันว้ารอ้างอิงจากหนังสือมะนากิ้บของอิบนิชะฮ์รอชู้บแต่เนื่องจากไม่มีสายรายงานที่ชัดเจนจึงจัดอยู่ในกลุ่มฮะดีษที่ไม่น่าเชื่อถือแต่สมมติว่าฮะดีษดังกล่าวเศาะฮี้ห์
  • ฮะดีษต่อไปนี้น่าเชื่อถือเพียงใด “อสุจิที่ปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานจะเติบโตเป็นทารกที่มี 6 นิ้ว”?
    6957 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในบทฮะดีษที่ท่านนบี(ซ.ล.)สอนท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับข้อพึงปฏิบัติและข้อพึงหลีกเลี่ยงของการร่วมหลับนอนท่านนบีกล่าวว่า “จงงดการร่วมหลับนอนกับภรรยาในคืนอีดกุรบานเนื่องจากอสุจิที่ปฏิสนธิในค่ำคืนนี้จะกำเนิดเป็นทารกที่มี 4 หรือ6นิ้ว”[1]ฮะดีษนี้นอกจากจะปรากฏในหนังสือฮิลยะตุลมุตตะกีนแล้วยังปรากฏในหนังสือญามิอุ้ลอัคบ้ารประพันธ์โดยตาญุดดีนอัชชะอีรีและหนังสือมะการิมุ้ลอัคล้ากประพันธ์โดยเราะฎียุดดีนฮะซันบินฟัฎล์เฏาะบัรซีอีกด้วยอย่างไรก็ตามในแง่สายรายงานจัดอยู่ในฮะดีษที่มีสายรายงานไม่ต่อเนื่องเมื่อพิจารณาเนื้อหาฮะดีษก็พอจะกล่าวได้ว่าการร่วมหลับนอนและการปฏิสนธิที่เกิดขึ้นในค่ำคืนอีดกุรบ้านนั้นถือเป็นหนึ่งในเหตุที่ทำให้ทารกพิการมีสี่หรือหกนิ้วแต่มิได้เป็นเหตุอันสมบูรณ์ของปรากฏการณ์ดังกล่าวจึงยังเห็นได้ว่าเด็กบางคนที่ปฏิสนธิในค่ำคืนดังกล่าวมิได้พิการเสมอไปในทางกลับกันผู้ที่พิการมีสี่หรือหกนิ้วก็มิได้หมายความว่าปฏิสนธิในคืนอีดกุรบานทุกคนสรุปคือถึงแม้ว่าฮะดีษข้างต้นจะไม่มีความต่อเนื่องในแง่สายรายงานอีกทั้งไม่อาจจะฟันธงว่าการร่วมหลับนอนในคืนอีดกุรบานคือเหตุอันสมบูรณ์ของการพิการดังกล่าวแต่อย่างไรก็ดีสามารถถือเป็นข้อพึงระวังที่สำคัญได้เพื่อมิให้ประสบกับเหตุไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับทารก[1] قال رسول الله ص :".... یا علی لا تجامع مع أهلک فی لیلة الأضحى فإنه إن قضی بینکما ...
  • นามอันเป็นมักนูนและมุสตะอ์ษิ้รของอัลลอฮ์หมายความว่าอย่างไร?
    6860 รหัสยทฤษฎี 2554/10/23
    จากฮะดีษและบทดุอาทำให้ทราบว่าอัลลอฮ์มีพระนามที่ทรงคัดสรรด้วยพระองค์เองโดยที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้พระนามเหล่านี้เรียกว่า"อัสมาอ์มุสตะอ์ษิเราะฮ์" ซึ่งตามคำบอกเล่าของฮะดีษพระนามเหล่านี้คือมิติเร้นลับของอิสมุลอะอ์ซ็อมอันเป็นพระนามแรกของพระองค์พระนามประเภทนี้ยังเรียกขานกันว่าอิสมุ้ลมักนูนหรืออิสมุ้ลมัคซูนอีกด้วย ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60183 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57644 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42262 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39469 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38986 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28054 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28039 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27877 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25861 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...