Please Wait
6986
ตาราฮะดีซที่เชื่อถือได้ของฝ่ายชีอะฮฺ, ไม่มีรายงานฮะดีซทำนองนี้ปรากฏให้เห็นทีว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า, การถือศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ, แต่มีรายงานฮะดีซเกี่ยวกับอัตรชีวประวัติของท่านว่า ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้ถือศีลอดในวันอาชูรอ, เช่น ฮะดีซบทหนึ่งท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวว่า : "صَامَ رَسُولُ اللَّهِ (ص) یَوْمَ عَاشُورَاء". ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้ถือศีลอดในวันอาชูรอ” ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่าบนพื้นฐานของฮะดีซเหล่านี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่า, การที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือศีลอดในวันอาชูรอนั้นจะเป็นมุสตะฮับ, เนื่องจากนอกจากสายรายงานฮะดีซจะอ่อนแอแล้ว ยังมีรายงานงานทำนองนี้อีกซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึง การกระทำของท่านศาสดา แต่กระนั้นก็ยังมิได้มีการระบุแน่ชัดว่า เป็นมุสตะฮับให้ถือศีลอด. ทว่าบางรายงานได้กล่าวไว้ซึ่งมีอยู่ในตำราฮะดีซ ทั้งฝ่ายชีอะฮฺ และซุนนียฺว่า, อาชูรอนับตั้งแต่สมัยของท่านศาสดามูซา (อ.) เป็นต้นมาจวบจนถึงยุคสมัยการแต่งตั้งท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) และจนถึงช่วงที่การถือศีลอดในเดือนรอมฏอนเป็นวาญิบ, วันอาชูรอได้รับเกียรติอย่างยิ่งใหญ่ และถือว่าเป็นหนึ่งในวันของอัลลอฮฺ (อัยยามุลลอฮฺ) ด้วย, แต่หลังจากท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้ถูกทำชะฮีดแล้ว ราชวงศ์บนีอุมัยยะฮฺได้เปลี่ยนแปลงแล้วนำรายงานที่เกี่ยวกับการถือศีลอด และวันอาชูรอไปใช้ในทางที่ผิด โดยมีรายงานจำนวนมากมายกล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้, เช่น บางรายงานบ่งบอกว่าศีลอดในวันอาชูรอเป็นมุสตะฮับ,บางรายงานกล่าวว่าเป็นมักรูฮฺ, และบางรายงานกล่าวว่าเป็นฮะรอมเสียด้วยซ้ำไป
ดังนั้น ด้วยสภาพดังกล่าวที่เป็นอยู่นี้เราไม่อาจทำสิ่งใดได้ดีไปกว่าการนำเอารายงานเหล่านั้นมารวมกัน แล้วค่อยๆ พิจารณาถึงรายงานเหล่านั้น ซึ่งเราจะพบว่า การถือศีลอดในวันอาชูรออยู่ระหว่าง มักรูฮฺกับฮะรอม ซึ่งแถบจะมองไม่เห็นเลยว่า ศีลอดในวันนั้นเป็นมุสตะฮับ, กล่าวคือ ถ้าหากได้ถือศีลอดในวันดังกล่าวในฐานะที่มีคุณสมบัติตามกล่าวนี้ถือว่าเป็น บิดอะฮฺ และ ฮะรอม ด้วยซ้ำไป แต่ถ้าถือศีลอดเนื่องจากยึดถือว่า เป็นบะเราะกัต ก็ถือเป็นการปฏิเสธการศรัทธาและออกนอกศาสนา, แต่ถ้าถือศีลอดโดยยึดถือว่า เป็นความประเสริฐอย่างหนึ่งของศีลอด, ด้วยเหตุผลที่ราชวงศ์อุมัยยะฮฺได้สร้างภาพที่คล้ายเหมือนขึ้นมา ถือว่าศีลอดนั้นเป็นมักรูฮฺ และไม่มีผลบุญอันใดทั้งสิ้น
คำถามที่ถามมานี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน