การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7264
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7258 รหัสสำเนา 19623
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
คำถาม
เหตุใดจึงเรียกอิมามฮุเซนว่าษารุลลอฮ์?
คำตอบโดยสังเขป

ษารุลลอฮ์ให้ความหมายว่าการชำระหนี้เลือด แต่ก็สามารถแปลว่าเลือดได้เช่นกัน
ตามความหมายแรก อิมามฮุเซนได้รับฉายานามนี้เนื่องจากอัลลอฮ์จะเป็นผู้ทวงหนี้เลือดให้ท่าน
แต่หากษารุลลอฮ์แปลว่า"โลหิตพระเจ้า" การที่อิมามได้รับฉายานามดังกล่าวเป็นไปตามข้อชี้แจงต่อไปนี้:
1. "
ษ้าร"เชื่อมกับ"อัลลอฮ์"เพื่อให้ทราบว่าเป็นโลหิตอันสูงส่ง เนื่องจากเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง
2. มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับ ต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้า ชิวหาพระเจ้า และโลหิตพระเจ้า หมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใด มนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์ หากทรงประสงค์จะตรัส เขาจะเป็นดั่งชิวหา และหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิต เขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์ อิมามฮุเซน(.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์ เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์
เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่า แต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับประเด็นนี้ต้องเรียนว่า ฉายานามดังกล่าวมักใช้กับท่านอิมามอลี(.)และอิมามฮุเซน(.) ดังปรากฏในซิยารัตอิมามฮุเซน(.)ว่า السَّلَامُ عَلَیْکَ یَا ثَارَ اللَّهِ وَ ابْنَ ثَارِهِ [1](ศานติยังท่าน โอ้โลหิตแห่งพระองค์ บุตรของโลหิตแห่งพระองค์)

คำว่าษารุลลอฮ์แปลได้สองความหมายด้วยกัน:
1. 
แปลว่าการชำระหนี้เลือด:
คำว่า พจนานุกรมให้ความหมาย"อัษษะอร์" ว่า الطلب بالدم การชำระด้วยเลือด ตามความหมายนี้ ษารุลลอฮ์ จึงแปลว่าผู้ที่มีอัลลอฮ์เป็นผู้ทวงหนี้เลือด
สำนวนที่ใช้ทวงหนี้เลือดให้อิมามฮุเซนอย่างเช่น " یا لثارات الحسین" เคยเป็นคำขวัญของขบวนการเตาวาบีนและมุคต้ารมาก่อน[2]  อีกทั้งยังเป็นคำขวัญของมวลมะลาอิกะฮ์ที่สถิต  กุโบรอิมามฮุเซนจนถึงการปรากฏกายของอิมามมะฮ์ดี(.)[3] และจะเป็นคำขวัญของอิมามมะฮ์ดี(.)และสาวกผู้กล้าหาญ[4]ยามที่เริ่มการต่อสู้[5]ด้วย

ความหมายนี้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิชาการอิสลาม[6] ซึ่งอธิบายได้ว่า ษารุลลอฮ์ หมายถึงบุคคลที่พระองค์เป็นผู้ถือสิทธิเหนือโลหิตของเขา และจะทรงทวงคืนสิทธิของพระองค์จากผู้ทหลั่งเลือดเขา ทั้งนี้ก็เนื่องจากเขาดังกล่าวมิได้เกี่ยวดองกับครอบครัวหรือเผ่าพันธ์ใดๆเป็นพิเศษ ที่จะรอให้หัวหน้าครอบครัวหรือหัวหน้าเผ่าทวงหนี้เลือดให้  แต่บุคคลดังกล่าวมีความสำคัญต่อมนุษยธรรมและชาวโลก สำคัญต่อโลกและพระผู้สร้าง ฉะนั้น ผู้ที่จะทวงหนี้เลือดเขาก็คือพระเจ้าเท่านั้น นอกจากนี้ บุคคลผู้นี้ยังเป็นบุตรของอลี บิน อบีฏอลิบ ซึ่งเคยพลีชีพแด่พระองค์ อัลลอฮ์จึงจะทรงทวงหนี้เลือดของบุคคลทั้งสองอย่างแน่นอน
2.
แปลว่า โลหิตแห่งอัลลอฮ์:
จากคำกล่าวของอัลลามะฮ์ มัจลิซี เข้าใจได้ว่า ษะอร์ แปลว่าเลือดและการทวงหนี้เลือด[7] สิ่งที่ยืนยันความหมายดังกล่าวก็คือการแปลคำว่า ษะอร์ โดยหนังสือ "ลิซานุ้ลอรับ" ซึ่งระบุว่า الثَّأْرُ الطَّلَبُ بالدَّمِ، و قیل: الدم نفسه ษะอร์ หมายถึงการทวงหนี้เลือด และสามารถแปลได้ว่า เลือด[8] เมื่อรวมแล้วจึงหมายความว่า อิมามฮุเซน(.)เป็นโลหิตของพระองค์
แต่ถามว่าจะยอมรับความหมายดังกล่าวได้อย่างไร? พระองค์มีเนื้อหนังมังสาหรืออย่างไร ที่จะมีเลือด การมโนภาพอัลลอฮ์เช่นนี้ถูกต้องแล้วหรือ?

ต้องเรียนชี้แจงว่า คำบางประเภทอย่างเช่น หัตถาของอัลลอฮ์ ...ฯลฯ ในคติของอิสลามแล้ว มีความหมายเชิงอุปมาอุปไมยทั้งสิ้น[9] ตัวอย่างเช่น หากเรียกอิมามอลี(.)ว่าเป็นหัตถาของอัลลอฮ์ ก็ไม่ได้หมายความว่าพระองค์มีเนื้อหนังมังสา มีมือมีแขน โดยอิมามอลีเป็นมือของพระองค์ แต่หมายความว่าท่านอิมามอลี(.)คือภาพลักษณ์ของพลานุภาพของอัลลอฮ์ คำชี้แจงต่อไปนี้ทำให้สามารถเชื่อมโยงความหมายดังกล่าวของษารุลลอฮ์เข้ากับอิมามฮุเซน(.)ได้:
1. 
การเชื่อมคำว่า ษ้าร เข้ากับคำว่าอัลลอฮ์ เป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่อง กล่าวคือโลหิตนี้เกี่ยวเนื่องกับอัลลอฮ์ผู้ทรงประเสริฐสุด ทำให้ได้รับเกียรติในฐานะโลหิตที่ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากถูกหลั่งในหนทางของพระองค์จึงทำให้มีความเกี่ยวเนื่องกับพระองค์ ดังที่คำว่า
 
هذِهِ ناقَةُ اللَّه [10]ซึ่งเชื่อมระหว่างอูฐกับอัลลอฮ์ หรือคำว่า بیت الله หรือ  عِْندَ بَیْتِکَ الْمُحَرَّم [11] อันเป็นการเชื่อมบ้านกับอัลลอฮ์นั้น ก็ล้วนเป็นการเชื่อมคำในเชิงยกย่องทั้งสิ้น[12]
2.
มนุษย์ที่บรรลุสู่ความสมบูรณ์ในระดับใกล้ชิดทางภาคบังคับ[13] ต่างก็เป็นหัตถาพระเจ้า ชิวหาพระเจ้า และโลหิตพระเจ้า หมายถึงถ้าหากพระองค์ทรงประสงค์จะทำสิ่งใด มนุษย์ผู้นี้จะเป็นดั่งพระหัตถ์ หากทรงประสงค์จะตรัส เขาจะเป็นดั่งชิวหา และหากพระองค์ทรงประสงค์จะพิทักษ์ศาสนาของพระองค์ด้วยโลหิต เขาจะเป็นดั่งโลหิตพระองค์ อิมามอลีและอิมามฮุเซน(.)เป็นดั่งโลหิตพระองค์ เนื่องจากโลหิตของท่านช่วยชุบชีวิตแก่ศาสนาของพระองค์

อย่างไรก็ดี ในตำรับตำราทางศาสนาของเรา สำนวน "ษารุลลอฮ์" มักจะใช้กับอิมามฮุเซนเป็นหลัก เราเชื่อว่าความหมายแรกเป็นความหมายที่เหมาะสมกว่า แต่ความหมายที่สองก็เป็นคำธิบายที่น่าสนใจเช่นกัน โดยเฉพาะหากเป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงจาริกทางจิตอาจจะทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งกว่า
จากมุมมองนี้ อิมามฮุเซน(.)เปรียบดั่งโลหิตแห่งพระเจ้า เนื่องจากเลือดของท่านช่วยสูบฉีดให้ศาสนามีชีวิตชีวา ช่วยให้ผู้คนรำลึกถึงอัลลอฮ์ ในยุคที่นามของพระองค์เริ่มเลือนหายไปจากสังคม ในยุคที่ผู้คนทำอิบาดัตเพียงเพราะความเคยชิน

ด้วยเหตุนี้เองที่กล่าวกันว่า อิสลามจุติขึ้นโดยนบี และคงอยู่ต่อไปด้วยอิมามฮุเซน ตราบใดที่มนุษย์ต้องมีเลือดเพื่อมีชีวิตต่อไป และตราบใดที่ชีพจรยังถือเป็นสัญญาณชีวิตมนุษย์ การขาดเลือดย่อมเท่ากับความตาย เช่นเดียวกัน อิสลามก็จำเป็นต้องดำรงอยู่ด้วยการไหลเวียนของโลหิต และหากวันใดโลหิตนี้หมดลง ความหายนะย่อมมาเยือนอิสลาม จะเหลือก็เพียงแค่โครงสร้างศาสนกิจอันปราศจากจิตวิญญาณอิสลาม[14]



[1] กุลัยนี, มุฮัมมัด บิน ยะอ์กู้บ, อัลกาฟี,เล่ม 4,หน้า 576 ประโยคนี้ปรากฏในบทซิยารัตวันแรกของเราะญับ, กลางเดือนเราะญับและชะอ์บาน และวันอะเราะฟะฮ์

[2] มัจลิซี, มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 45,หน้า 333 และ กะเราะมี,อลี, อาลัยจอมทัพแห่งเสรีภาพ- ประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนที่สุดของกัรบะลา,หน้า 485

[3] มีมะลาอิกะฮ์สี่พันองค์ลงมาเพื่อช่วยเหลืออิมามฮุเซน(.) แต่ได้เห็นว่าท่านถูกสังหารแล้ว จึงยังไว้อาลัยอยู่  กุโบรของท่านและอยู่รอจนถึงวันที่อิมามมะฮ์ดี(.)จะปรากฏกายเพื่อช่วยเหลือ คำขวัญของมะลาอิกะฮ์เหล่านี้คือ "ยาละษารอติ้ลฮุเซน" เชคศ่อดู้ก, อัลอะมาลี,หน้า 130 หมวดมัจลิสที่ยี่สิบเจ็ด และ มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 286

[4] บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 52,หน้า 308

[5] กุมี,เชคอับบาส, มุนตะฮัลอาม้าล,เล่ม 1,หน้า 542 นอกจากนี้ อิมามบากิร(.)ยังเคยกล่าวว่า " وَ الْقَائِمُ مِنَّا إِذَا قَامَ طَلَبَ بِثَأْرِ الْحُسَیْنِ (ع‏)" บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 44,หน้า 218

[6] ผู้ประพันธ์ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์กล่าวว่า ษ้าร ในภาษาอรับมิได้แปลว่าเลือด แต่แปลว่า "หนี้เลือด" (ส่วนเลือดมักจะใช้คำว่า ดัม แทน) และ มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 4,หน้า 229

[7] ท่านได้อธิบายประโยคที่ว่า و أنک ثار الله فی الأرض ว่า الثأر بالهمز، الدم و طلب الدم أی أنک أهل ثار الله و الذی یطلب الله بدمه من أعدائه أو هو الطالب بدمه و دماء أهل بیته بأمر الله فی الرجعة บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 98,หน้า 151

[8] อิบนิ มันซู้ร, มุฮัมมัด บิน มุกัรร็อม,ลิซานุ้ลอรับ,เล่ม 4,หน้า 97

[9] ดู: มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม4,หน้า 229และ กะรออะตี,มุฮ์ซิน,ตัฟซี้ร นู้ร,เล่ม 2,หน้า 443

[10] ฮู้ด, 64

[11] อิบรอฮีม, 37

[12] «هذِهِ ناقَةُ اللَّهِ» الإضافة إلى الله تشریفیة، کإضافة مکة إلى الله یقال: «بیت الله»، و إضافة دم الحسین (ع) إلى الله، یقال: «ثار الله» ดู: ฮุซัยนี ชีรอซี,ซัยยิด มุฮัมมัด, ตักรีบุ้ลกุรอาน อิลัล อัซฮาน, เล่ม 2,หน้า 200

[13] ปัจจัยที่ช่วยให้มนุษย์ชิดใกล้พระองค์มากขึ้นนั้น ประกอบด้วย ภาคอาสา หมายถึงศาสนกิจที่พระองค์มิได้บังคับ แต่มนุษย์อาสาปฏิบัติเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดพระองค์ แลภาคบังคับ หมายถึงศาสนกิจที่พระองค์กำชับให้กระทำ ซึ่งมนุษย์ได้รับความใกล้ชิดจากการปฏิบัติตามคำบัญชา

[14] อ่านเพิ่มเติม ดู: ทัรคอน,กอซิม,บุคลิกภาพและการต่อสู้ของอิมามฮุเซน(.)จากปริทรรศน์อิรฟาน ปรัชญา และเทววิทยา,หน้า 91- 104 แหล่งอ้างอิงทั้งหมดอ้างอิงจากโปรแกรมคอมฯนู้ร

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9016 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • มุสลิมะฮ์ท่านใดที่พูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี?
    7062 تاريخ بزرگان 2554/06/11
    มุสลิมะฮ์ท่านนี้ก็คือฟิฎเฎาะฮ์ทาสีของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ซึ่งตำราชั้นนำต่างระบุว่านางพูดคุยด้วยโองการกุรอานนานหลายปี. ...
  • ขณะวุฎูอฺ แต่ไม่ได้อยู่ในสภาพที่จำเป็น, โดยมีบุคคลอื่นราดน้ำลงบนมือและแขนให้เรา ถือว่ามีปัญหาทางชัรอียฺหรือไม่?
    6222 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    วุฎูอฺ มีเงื่อนไขเฉพาะตัว ดังนั้น การไม่ใส่ใจต่อเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง เป็นสาเหตุให้วุฎูอฺบาฏิล หนึ่งในเงื่อนไขของวุฎูอฺคือ การล้างหน้า มือทั้งสองข้าง การเช็ดศีรษะ และหลังเท้าทั้งสองข้าง ผู้วุฎูอฺ ต้องทำด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่น วุฎูอฺ ให้แก่เขา, หรือช่วยเขาราดน้ำที่ใบหน้า มือทั้งสองข้างแก่เขา หรือช่วยเช็ดศีรษะและหลังเท้าทั้งสองแก่เขา วุฎูอฺ บาฏิล[1] มีคำกล่าวว่า บรรดานักปราชญ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ ต่างกัน : 1.บางท่านแสดงทัศนะว่า : บุคคลต้อง วุฏูอฺ ด้วยตัวเอง ถ้าหากมีบุคคลอื่นช่วยเขาวุฎูอฺ ในลักษณะที่ว่าถ้าคนอื่นเห็นจะไม่พูดว่า บุคคลดังกล่าวกำลังวุฎูอฺ ถือว่าวุฏูอฺ บาฏิล
  • เพราะเหตุใดจึงต้องคลุมฮิญาบ และทำไมอิสลามจำกัดสิทธิสตรี?
    14991 ปรัชญาของศาสนา 2554/06/21
    สุภาพบุรุษและสุภาพสตรีมีความคล้ายคลึงกันในแง่ของการที่มีต้นกำเนิดเดียวกันและการที่ควรได้รับความเสมอภาคทางสังคมอาทิเช่นการศึกษา, การแสดงความเห็น...ฯลฯอย่างไรก็ดีในแง่สรีระและอารมณ์กลับมีข้อแตกต่างหลายประการข้อแตกต่างเหล่านี้เองที่ส่งผลให้เกิดบทบัญญัติพิเศษอย่างเช่นการสวมฮิญาบในสังคมทั้งนี้ก็เนื่องจากสุภาพสตรีมีความโดดเด่นในแง่ความวิจิตรสวยงามแต่สุภาพบุรุษมีความโดดเด่นในแง่ผู้แสวงหาด้วยเหตุนี้จึงมีการเน้นย้ำให้สุภาพสตรีสงวนตนในที่สาธารณะมากกว่าสุภาพบุรุษทั้งนี้และทั้งนั้นหาได้หมายความว่าจะมีข้อจำกัดด้านการแต่งกายเพียงสุภาพสตรีโดยที่สุภาพบุรุษไม่ต้องระมัดระวังใดๆไม่. ...
  • เนื่องจากชาวสวรรค์ล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาว เหตุใดท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.)จึงได้เป็นประมุขทั้งที่ยังมีบรรดานบีและบรรดาอิมามท่านอื่นๆอยู่?
    8715 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/12/01
    ท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นหลานรักของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นมีสถานะภาพสูงกว่าชาวสวรรค์ทั่วไปอย่างไรก็ดีเนื่องจากชาวสวรรค์ทุกท่านล้วนอยู่ในวัยหนุ่มสาวบารมีดังกล่าวจึงเจาะจงชาวสวรรค์ที่เป็นชะฮีดหรือเสียชีวิตในวัยหนุ่มสาวเป็นพิเศษซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ขัดกับบารมีของบรรดานบีและบรรดาเอาลิยาอ์ของอัลลอฮ์ท่านอื่นๆอย่างแน่นอนอนึ่งเมื่อพิจารณาเบาะแสต่างๆจะพบว่าฮะดีษดังกล่าวสื่อถึงความเป็นประมุขที่มีต่อชาวสวรรค์ทั่วไปมิได้เป็นประมุขของอิมามท่านอื่นๆหรือบรรดานบี ...
  • การส่งยิ้มเมื่อเวลาพูดกับนามะฮฺรัม มีกฎเป็นอย่างไร?
    5874 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    การส่งยิ้มและล้อเล่นกับนามะฮฺรัมถ้าหากมีเจตนาเพื่อเพลิดเพลินไปสู่การมีเพศสัมพันธ์หรือเกรงว่าจะเกิดข้อครหานินทาหรือเกรงว่าจะนำไปสู่ความผิดแล้วละก็ถือว่าไม่อนุญาต
  • การทำหมันแมวเพื่อป้องกันมิให้จรจัด แต่ก็มีผลกระทบไม่ดีด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ฮุกุ่มเป็นอย่างไรบ้าง?
    8377 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน):
  • การที่ฝ่ายชีอะฮฺกล่าวว่า เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นมุรตัด หรือพวกเขาได้กลับสภาพเดิมหลังจากศาสดาได้จากไปหมายความว่าอะไร? คำกล่าวอ้างเช่นนี้ยอมรับได้หรือไม่?
    9327 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/09/08
    เหตุการณ์การบิดเบือน, โดยหลักการถือว่าเป็น บิดอะฮฺหรือเอรติดอด ซึ่งในหมู่สหายของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป หนึ่ง, จากแหล่งอ้างอิงแน่นอนของอิสลาม ซึ่งจัดอยู่ในลำดับต้นๆ ของอิสลามนั้นเป็นเหตุผลที่ยืนยันว่า เหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้ ซึ่งมิได้มีกล่าวไว้แค่ตำราของฝ่ายชีอะฮฺเท่านั้น รายงานประเภท มุตะวาติร จำนวนมากมายที่กล่าวว่า พวกเขาได้ละทิ้งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีกล่าวไว้มากมายในหนังสือ ซิฮะฮฺ ทั้ง 6 เล่มของฝ่ายซุนนียฺ และตำราที่เชื่อถือได้เล่มอื่นของพวกเขา โดยมีการกล่าวอ้างสายรายงานที่แตกต่างกัน อีกนัยหนึ่ง มีคำกล่าวยืนยันที่สมควรพิจารณาเป็นอย่างยิ่งที่ว่า หลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้จากไป มีเหล่าสหายจำนวนไม่น้อยได้ละเลยต่อแบบอย่าง และซุนนะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยหันไปสู่ศาสนาดั้งเดิมของต้นเอง และเนื่องด้วยการบิดเบือนดังกล่าวของพวกเขานั้นเอง ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้พวกเขาถูกกีดกันมิให้ดื่มน้ำจากสระน้ำเกาษัร และอีกถูกขับไล่ออกจากสระน้ำดังกล่าวอีกด้วย บรรดามะลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษจะลากพวกเขาไปยังขุมนรกของการลงโทษ สอง, เอรติดาด ได้ถูกกล่าวถึงในรายงานลักษณะอย่างนี้ ...
  • เข้ากันได้อย่างไร ระหว่างความดีและชั่ว กับความเป็นเอกะและความเมตตาของพระเจ้า?
    7073 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/04/07
    1. โลกใบนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะที่ว่า สรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ไม่อาจอยู่เป็นเอกเทศหรืออยู่ตามลำพังได้, องค์ประกอบและสัดส่วนต่างๆ บนโลกนี้ ถ้าหากพิจารณาให้รอบคอบจะพบว่าทุกสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนโซ่ที่ร้อยเรียงติดเป็นเส้นเดียวกัน ซึ่งทั้งหมดเหล่านั้นรวมเรียกว่า ระบบการสร้างสรรค์อันสวยงาม, ด้วยเหตุนี้ ไม่สามารถกล่าวได้ว่าในโลกนี้มีพระเจ้า 2 องค์ เช่น พูดว่าน้ำและน้ำฝนมีพระเจ้าองค์หนึ่ง น้ำท่วมและแผ่นดินไหวมีพระเจ้าอีกองค์หนึ่ง, แน่นอน ถ้าหากน้ำท่วมและแผ่นดินไหวมาจากระบบหนึ่ง และน้ำฝน แสงแดด การโคจร และ ...ได้ตามอีกระบบหนึ่ง เท่ากับว่าโลกใบนี้มี 2 ระบบ เวลานั้นเราจึงสามารถกล่าวได้เช่นนี้ว่า โลกมีพระเจ้า 2 องค์ ด้วยเหตุนี้ เนื่องจากความจำกัดของโลกมีเพียงแค่ระบบเดียวที่เข้ากันและมีความสวยงาม ซึ่งทั้งหมดสามารถเจริญเติบโตไปสู่ความสมบูรณ์ของตนได้อย่างเสรี สรุปแล้วโลกใบนี้ต้องมีพระเจ้าองค์เดียว ผู้ทรงเมตตาปรานียิ่ง 2.ความเมตตาปรานีของพระเจ้า วางอยู่บนพื้นฐานแห่งวิทยปัญญาของพระองค์ ซึ่งสิ่งนี้ได้กำหนดว่ามนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลายต่างได้รับการชี้นำทางไปสู่การพัฒนา และความสมบูรณ์แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นไปได้ทุกหนทางในการบริการ หรือทุกหนทางที่จะก้าวเดินไป ทว่าการไปถึงยังความสมบูรณ์นั้นได้เป็นตัวกำหนดว่า มนุษย์ต้องผ่านหนทางที่ยากลำบากไปให้ได้ เขาต้องเผชิญกับความยากลำบาก และการต่อสู้ในชีวิตเพื่อก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ อีกนัยหนึ่งศักยภาพต่างๆ ...
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6273 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60080 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57470 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42162 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39260 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38906 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33967 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27980 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27902 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27728 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25741 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...