การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
12208
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa7889 รหัสสำเนา 19924
คำถามอย่างย่อ
ทัศนะอิสลามเกี่ยวกับการทำสงครามในเดือนต้องห้ามคืออะไร?
คำถาม
อัลกุรอาน โองการ 217 บทบะเกาะเราะฮฺ กล่าวว่า : โอ้ ศาสดา ถ้าพวกเขาถามเธอเกี่ยวกับการสู้รบในเดือนต้องห้าม จงกล่าวเถิดว่า "การสู้รบ ในเดือนนั้นเป็นบาปใหญ่หลวง แต่การขัดขวางให้ออกจากทางของอัลลอฮฺ การปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์ และการกีดกันอัลมัสญิดอัลฮะรอม ตลอดจนการขับไล่ชาว อัลมัสญิด อัลฮะรอม ออกไปนั้น เป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่า ณ ที่อัลลอฮฺ และการก่อกวนนั้นเป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าสังหาร และพวกเขาจะยังคงต่อสู้สูเจ้าต่อไป จนกว่าพวกเขาจะทำให้สูเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของสูเจ้า...ความหมายของโองการดังกล่าวนี้คือ ภายใน 4 เดือนต้องห้ามนี้ จะครอบคลุมพวกอาหรับที่ชอบสู้รบกัน หรือชอบล่าล้างผลาญกันด้วยหรือไม่?
คำตอบโดยสังเขป

บนพื้นฐานของโองการและรายงานต่างๆ ของเรา, จะพบว่าอิสลามมิได้เพียงแค่ห้าม การทำสงครามกันเฉพาะในเดือนต้องห้าม (ซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม, และเราะญับ) เท่านั้น ทว่ายังได้มีบทลงโทษอันแสนสาหัสได้อีกด้วย เพื่อป้องกันมิให้คนใดคนหนึ่งคิดถึงเรื่องการทำสงครามกันเดือนนี้ จนทั่งถึงขั้นที่ว่าอัลกุรอานโองการที่ถูกถามถึงนั้น, ได้ระบุชัดเจนว่าการทำสงครามกันในเดือนต้องห้าม ถือว่าเป็นบาปใหญ่ด้วยซ้ำไป นอกจากนั้นการสังหารผู้อื่นโดยไม่เจตนายังต้องจ่ายสินไหมชดเชยเป็นสองเท่าด้วย, ทั้งหมดเหล่านี้คือเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า อิสลามได้ให้ความสำคัญและให้ความเคารพต่อเดือนต้องห้ามทั้งสี่, การห้ามทำสงครามในเดือนต้องห้ามทั้งสี่นั้น ก็เพื่อให้ทั้งหมดให้เกียรติและแสดงความเคารพต่อเดือนเหล่านี้, แต่ในที่ซึ่งบางคนได้ใช้ประโยชน์จากการที่ชาวมุสลิมให้เกียรติต่อเดือนเหล่านี้ และทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนโดยจับอาวุธยุทโธปกรณ์ เข้าห้ำหั่นมุสลิม, อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้ชาวมุสลิมยืนหยัดต่อสู้กับศัตรู, ป้องกันการรุกรานและการกดขี่ข่มเหงของพวกเขา

คำตอบเชิงรายละเอียด

วัตถุประสงค์ของเดือนต้องห้ามต่างๆ ซึ่งอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงกำหนดเป็นวาญิบสำหรับผู้ศรัทธาทุกคนต้องใส่ใจในความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้ นับตั้งแต่ยุคสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล (.) เป็นต้นมา การต่อสู้และการสงครามในเดือนต่างๆ เหล่านี้ ได้รับการต้องห้ามเอาไว้, ซึ่งแบบฉบับดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติติดต่อกันเรื่อยมาจนถึงยุคสมัยการมาของอิสลาม กระนั้นในหมู่ชนอาหรับก็ยังให้เกียรติเดือนเหล่านี้ ทุกคนยังยึดถือปฏิบัติตามและให้ความเคารพด้วยดีตลอดมา, อัลกุรอานเองได้เน้นย้ำประหนึ่งลงนามกำกับความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้เอาไว้ด้วยเช่นกัน, ดังที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสว่า : แท้จริงจํานวนเดือน  อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือนซึ่งเป็นที่ต้องห้าม นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง ดังนั้น สูเจ้าจงอย่าฉ้อฉลตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น และจงต่อสู้บรรดาผู้ตั้งภาคีทั้งหมด เช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้กับพวกเจ้าทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นร่วมกับบรรดาผู้มีความสำรวมตนเสมอ[1]

เดือนต้องห้าม (ฮะรอม) ทั้งสี่ได้แก่ เดือนซุลเกาะดะฮฺ, ซุลฮิจญะฮฺ, มุฮัรรอม, และเราะญับ. ซึ่งความต้องห้ามของเดือนเหล่านี้วางอยู่บนพื้นฐานของปรัชญาและคุณประโยชน์มากมาย ซึ่งในประเด็นนี้อาจเป็นเพราะว่าเป็นไปได้ที่การสงครามจะสิ้นสุดลงด้วยตัวของมัน เนื่องจากนักสงครามทั้งหลายมีเวลาพอที่จะคิดใคร่ครวญ, และเชิญชวนประชาชนไปสู่ความสันติและความสงบมั่น, นอกจากนั้นยังมีความเป็นไปได้ที่จะประกอบพิธีฮัจญฺ, ทำการค้าขาย และอื่นๆ ... อีกมากมาย

อิสลามนั้นไม่เพียงแต่ไม่อนุญาตให้ทำสงครามกันในเดือนต้องห้ามทั้งสี่เท่านั้น ทว่ายังได้ระบุการลงโทษอย่างหนักไว้ด้วย เพื่อให้บุคคลได้คิดใคร่ครวญในปัญหาอื่นในเดือนเหล่านี้ สมองของพวกเขาจะได้ไม่หมกมุ่นอยู่กับการสงครามและการสู้รบเพียงอย่างเดียว จนกระทั่งว่าโองการที่ถูกถามถึงกล่าวว่าการทำสงครามในเดือนนี้ถือเป็นบาปใหญ่[2] หรือแม้แต่การสังหารผู้อื่นโดยมิได้เจตนา ก็ต้องจ่ายสินไหมทดแทนมากเป็นสองเท่า[3]

แต่เนื่องจาก มุชริกชาวมักกะฮฺ มีความคิดที่จะใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ กล่าวคือในเดือนต้องห้ามมุสิลมต่างให้เกียรติและเคารพในความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้ พวกเขาจึงคิดที่จะบุกโจมตีมุสลิม (เนื่องจากพวกเขาคิดว่า,ในเดือนต่างๆ เหล่านี้ชาวมุสลิมคงจะไม่ลุกขึ้นมาต่อสู้ด้วยอย่างแน่นอน) อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงมีบัญชาว่า : เดือนที่ต้องห้ามนั้น ก็ด้วยเดือนที่ต้องห้าม[4] กล่าวคือถ้าหากศัตรูได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนนี้ หรือไม่ให้เกียรติโดยบุกโจมตีพวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงลุกขึ้นต่อสู้กับพวกเขาเถิดเนื่องจากในความศักดิ์สิทธิ์นั้นย่อมมีการลงโทษ[5]

ด้วยเหตุนี้เอง แม้ว่าอิสลาม,ได้ยึดถือแบบฉบับการห้ามทำสงครามกันในเดือนต่างๆ ที่ต้องห้าม (ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยท่านศาสดาอิบรอฮีมในหมู่ชนอาหรับสมัยนั้น) ก็ตาม, “แต่เนื่องจากว่าบรรดามุชริกพยายามใช้ประโยชน์ในทางไม่ดีเกี่ยวกับเดือนเหล่านี้ ทั้งที่กฎเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการยกเว้นเอาไว้ตั้งแต่แรกแล้ว อัลกุรอานกล่าวว่าจริงอยู่แม้ว่าการทำสงครามต้องห้ามจะเป็นความสำคัญและจำเป็นยิ่ง แต่การขัดขวางให้ออกจากทางของอัลลอฮฺ การปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์ และการกีดกันอัลมัสญิดอัลฮะรอม ตลอดจนการขับไล่ชาว อัลมัสญิด อัลฮะรอม ออกไปนั้น เป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่า  ที่อัลลอฮฺ[6]

หลังจากนั้น ทรงตรัสเพิ่มเติมว่า : และการก่อกวนนั้นเป็นบาปใหญ่โตยิ่งกว่าการฆ่าสังหาร

เนื่องจากว่า การก่อกวนนั้นถือเป็นอาชญากรรมอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย และอาชญากรรมนี้ยังมีผลกระทบกับจิตวิญญาณและความศรัทธาของมนุษย์ และหลังจากนั้นยังดำเนินต่อไปอีก ซึ่งเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ชาวมุสลิมจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลอของการโฆษณาชวนเชื่อผิดๆ ของบรรดามุชริก เนื่องจากและพวกเขาจะยังคงต่อสู้สูเจ้าต่อไป จนกว่าพวกเขาจะทำให้สูเจ้ากลับออกไปจากศาสนาของสูเจ้าดังนั้น จงยืนหยัดต่อสู้อย่างมั่นคงกับพวกเขา, และจงอย่าใส่ใจคำหยุแย่ของพวกเขาเกี่ยวกับเดือนฮะรอม[7]

การให้เกียรติและให้ความเคารพต่อเดือนต่างๆ ที่ฮะรอมสำหรับบุคคลที่ให้เกียรติและรับรู้ถึงความสำคัญของเดือนเหล่านี้ แต่ส่วนบุคคลที่ไม่ให้เกียรติ หรือทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของมัสญิดฮะรอม หรือไม่ให้ความสนใจต่อสิ่งเหล่านี้ ก็ไม่มีความจำเป็นอันใดที่ต้องให้เกียรติและให้ความเคารพพวกเขาอีกต่อไป หรือแม้แต่ต้องทำสงครามกับพวกเขาก็จำเป็นต้องทำ เพื่อว่าพวกเขาจะได้ไม่คิดทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเดือนเหล่านี้อีกต่อไป[8]

 



[1] อัลกุรอาน บทเตาบะฮฺ 36 กล่าวว่า :

إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُورِ عِندَ اللَّهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْرًا فِى کِتَـبِ اللَّهِ یَوْمَ خَلَقَ السَّمَـوَ تِ وَالأَرْضَ مِنْهَآ أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ ذَ لِکَ الدِّینُ الْقَیِّمُ فَلاَ تَظْـلِمُوا فِیهِنَّ أَنفُسَکُمْ وَقَـتِلُوا الْمُشْرِکِینَ کَآفَّةً کَمَا یُقَـتِلُونَکُمْ کَآفَّةً وَاعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ مَعَ الْمُتَّقِینَ "

[2] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 217.

[3] ฏูซีย์, ตะฮฺซีบบุลอะฮฺกาม, เล่ม 10, หน้า 215, เตหะราน : ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, ปี .. 1365, ฮะดีซลำดับที่ 16 หมวดการสังหารชีวิตในเดือนต้องห้าม 

الْحُسَیْنُ بْنُ سَعِیدٍ عَنْ فَضَالَةَ بْنِ أَیُّوبَ عَنْ کُلَیْبِ بْنِ مُعَاوِیَةَ قَالَ سَمِعْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ (ع) یَقُولُ مَنْ قَتَلَ فِی شَهْرٍ حَرَامٍ فَعَلَیْهِ دِیَةٌ وَ ثُلُثٌ ...

[4] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 194.

[5] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ 31, 32.

[6] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 217.

[7] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 2 หน้า 111, 112, 113.

[8] อันวารุลเอรฟาน ฟี ตัฟซีร อัลกุรอาน, เล่ม 3, หน้า 557.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • สำนวน طبیب دوار بطبه ที่ท่านอิมามอลี(อ.)ใช้กล่าวยกย่องท่านนบี หมายความว่าอย่างไร?
    7087 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/02/13
    ท่านอิมามอลี(อ.)เปรียบเปรยการรักษาโรคร้ายทางจิตวิญญาณมนุษย์โดยท่านนบี(ซ.ล.)ว่าطبیب دوّار بطبّه (แพทย์ที่สัญจรตามรักษาผู้ป่วยทางจิตวิญญาณ) ท่านเป็นแพทย์ที่รักษาโรคแห่งอวิชชาและมารยาทอันต่ำทรามโดยสัญจรไปพร้อมกับโอสถทิพย์ของตน
  • ดิฉันเป็นวัยรุ่นคนหนึ่ง อยากจะทราบว่าอะไรคือเป้าหมายของชีวิต?
    8348 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/07
    อิสลามมีคำสอนที่เกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตมากมายกุรอานได้ชี้แนะว่า “อิบาดัต” คือเป้าหมายของมนุษย์อันจะนำมาซึ่งการบรรลุธรรมตลอดจนความผาสุกในโลกนี้และโลกหน้าอีกนัยหนึ่งจุดประสงค์ของชีวิตก็คือการแข่งขันกันทำความดีซึ่งฮะดีษหลายบทก็ได้แจกแจงถึงรายละเอียดของเป้าหมายชีวิตอย่างชัดเจน ส่วนการศึกษาฮะดีษของบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)นั้นจำเป็นต้องคำนึงว่าแม้ฮะดีษเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับทุกคนแต่การที่จะอ้างฮะดีษบทใดบทหนึ่งถึงพวกท่านเหล่านั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงเงื่อนไขบางประการซึ่งจะนำเสนอในหน้าคำตอบแบบสมบูรณ์ ...
  • บทบัญญัติเกี่ยวกับปลาสเตอร์เจียน คืออะไร?
    10046 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ปลาสเตอร์เจียน เป็นปลาที่มนุษย์ใช้เป็นอาหารมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไข่ปลา ที่เรียกว่า คาเวียร์ ซึ่งนับเป็นอาหารราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งของโลก แต่ทั่วไปมักเรียกว่า ปลาคาเวียร์ บุคคลที่ตักลีดกับมัรญิอฺ เช่น ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ถ้าสงสัยว่าปลาคาเวียร์มีเกล็ดหรือไม่,เขาสามารถรับประทานได้ แต่ถ้าตักลีดกับมัรญิอฺ บางท่าน ซึ่งในกรณีนี้ไม่อนุญาตให้รับประทาน, แต่ถ้าใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากรับประทาน เช่น ซื้อขายถือว่าไม่เป็นไร, ด้วยเหตุนี้, ในกรณีนี้แต่ละคนต้องปฏิบัติตามทัศนะของมัรญิอฺที่ตนตักลีด ...
  • มนุษย์จะเป็นที่รักยิ่งของอัลลอฮฺได้อย่างไร ?
    9048 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/03/08
     การมิตรกับพระเจ้าสามารถจินตนาการได้ 2 ลักษณะดังต่อไปนี้ (1) ความรักของปวงบ่าวที่ต่อพระเจ้าและการที่พระองค์เป็นที่รักยิ่งของปวงบ่าว (2) ความรักของพระเจ้าที่มีต่อปวงบ่าวและการที่บ่าวเป็นที่รักยิ่งของพระองค์แน่นอนคำถามมักเกิดขึ้นกับประเด็นที่สองเสมอแน่นอนสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์ทั้งสิ้นหรือเป็นผลที่เกิดจากงานสร้างของพระองค์ทุกสิ่งล้วนเป็นที่รักสำหรับพระองค์
  • จงอธิบายเหตุผลที่บ่งบอกว่าดนตรีฮะรอม
    9814 สิทธิและกฎหมาย 2554/10/22
    ดนตรีและเครื่องเล่นดนตรีตามความหมายของ ฟิกฮฺ มีความแตกต่างกัน. คำว่า ฆินา หมายถึง การส่งเสียงร้องจากลำคอออกมาข้างนอก โดยมีการเล่นลูกคอไปตามจังหวะ, ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดประเทืองอารมณ์และมีความสุข ซึ่งมีความเหมาะสมกับงานประชุมที่ไร้สาระ หรืองานประชุมที่คร่าเวลาให้หมดไปโดยเปล่าประโยชน์ส่วนเสียงดนตรี หมายถึงเสียงที่เกิดจากการเล่นเครื่องตรี หรือการดีดสีตีเป่าต่างๆเมื่อพิจารณาอัลกุรอานบางโองการและรายงานฮะดีซ ประกอบกับคำพูดของนักจิตวิทยาบางคน, กล่าวว่าการที่บางคนนิยมกระทำความผิดอนาจาร, หลงลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, ล้วนเป็นผลในทางไม่ดีที่เกิดจากเสียงดนตรีและการขับร้อง ซึ่งเสียงเหล่านี้จะครอบงำประสาทของมนุษย์ ประกอบกับพวกทุนนิยมได้ใช้เสียงดนตรีไปในทางไม่ดี ดังนั้น สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเหตุผลหนึ่งในเชิงปรัชญาที่ทำให้เสียงดนตรีฮะรอมเหตุผลหลักที่ชี้ว่าดนตรีฮะรอม (หรือเสียงดนตรีบางอย่างฮะลาล) คือโองการอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซจากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ...
  • ปัจจุบันสวรรค์และนรกมีอยู่หรือไม่ ?
    8788 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    พิจารณาจากโองการและรายงานต่างๆแล้วจะเห็นว่าสวรรค์และนรกที่ถูกสัญญาไว้มีอยู่แล้วในปัจจุบันซึ่งในปรโลกจะได้รับการเสนอขึ้นมาซึ่งมนุษย์ทุกคนจะถูกจัดส่งไปยังสถานที่อันเหมาะสมของแต่ละคนตามความเชื่อความประพฤติ
  • วิธีตอบรับสลามขณะนมาซควรทำอย่างไร?
    11920 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ขณะนมาซ, จะต้องไม่ให้สลามบุคคลอื่น แต่ถ้าบุคคลอื่นได้กล่าวสลามแก่เขา, เขาจะต้องตอบในลักษณะที่ว่ามีคำว่า สลาม ขึ้นหน้า, เช่น กล่าวว่า »อัสลามุอะลัยกุม« หรือ »สลามุน อะลัยกุม« ซึ่งจะต้องไม่ตอบว่า »วะอะลัยกุมสลาม«[1] สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงคือ, คนเราต้องตอบรับสลามอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะอยู่ในนมาซหรือไม่ก็ตาม ซึ่งถ้าลืมหรือตั้งใจไม่ตอบรับสลามโดยทิ้งช่วงให้ล่าช้านานออกไป, และไม่นับว่าเป็นการตอบรับสลามอีกต่อไป, ขณะนมาซไม่จำเป็นต้องตอบ และถ้านอกเวลานมาซไม่วาญิบต้องตอบรับสลามอีก[2] [1] ...
  • จงอธิบายทฤษฎีของพหุนิยมทางศาสนาและการตีความที่แตกต่างกันของศาสนา และระบุความแตกต่างของพวกเขา?
    18486 เทววิทยาใหม่ 2555/04/07
    1.พหุนิยมหมายถึง ความมากมายในหลายชนิด ทั้งในทางปรัชญาของศาสนา, ปรัชญาจริยธรรม, กฎหมาย และการเมืองและว่า ... ซึ่งทั้งหมดมีการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งการรับรู้ทั้งหมดเหล่านี้อย่างเป็นทางการในนามของการรู้จักในความหลากหลาย ในทางตรงกันข้ามกับความเป็นหนึ่งเดียว หรือความจำกัดในความเป็นหนึ่งเดียว พหุนิยมทางศาสนา หมายถึงการไม่ผูกขาดความถูกต้องไว้ในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเฉพาะพิเศษ การได้รับผลประโยชน์ของทุกศาสนาจากความจริงและการช่วยเหลือให้รอด 2. พหุนิยม อาจได้รับการพิจารณาในหมู่ศาสนาต่างๆ หรือระหว่างนิกายต่างๆ ในศาสนาที่มีอยู่ก็ได้ 3. ในความคิดของเราชาวมุสลิมทั้งหลาย พหุนิยมถูกปฏิเสธก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า ในศาสนาอิสลามมีเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุความถูกต้องของศาสนาอิสลาม ในลักษณะที่ว่าในศาสนาอื่น ๆ ไม่มีเหตุผลที่ถูกต้องพอเหมือนกับศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ คัมภีร์แห่งฟากฟ้า (อัลกุรอาน) ยังไม่มีการบิดเบือนหรือสังคายนาใดๆ ทั้งสิ้น และความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามก็เท่ากับว่าได้ยกเลิกคำสอนของศาสนาอื่นไปโดยปริยาย 4. การตีความที่แตกต่างกันของศาสนา ซึ่งหนึ่งในหลักการพื้นฐานของสิ่งนั้นคือ อรรถปริวรรตศาสตร์ และอีกประการหนึ่งคือการรู้จักต่างๆ ในศาสนาและการวิจัย ...
  • ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยมีอาจารย์ชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บ้างหรือไม่?
    7192 تاريخ کلام 2555/02/18
    หนึ่ง. ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากบรรดามะอ์ศูมีน(อ.)ล้วนมีความรู้ครอบคลุมทุกแขนงวิชาการอยู่แล้ว[1] ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาวิชาการอย่างวิชาฮะดีษจากผู้อื่น ในทางกลับกัน ผู้นำฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางท่านเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งทางตรงหรือทางอ้อม อาทิเช่น อบูฮะนีฟะฮ์ และมาลิก บิน อนัส[2]
  • ความเสียหายของศาสนาคือสิ่งไหน?
    9506 دین و فرهنگ 2555/09/29
    ศาสนา,เป็นพระบัญชาศักดิ์สิทธิ์,มาจากพระเจ้า ซึ่งในนั้นจะไม่มีทางผิดพลาด และไม่มีผลกระทบอันเสียหายอย่างแน่นอน, การยอมรับความผิดพลาดและการกระทำผิด เกี่ยวข้องกับภารกิจของมนุษย์ แน่นอนการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการรู้จักผลกระทบของศาสนา และการตื่นตัวของผู้มีศาสนา สิ่งเหล่านี้จะไม่ย้อนกลับไปสู่แก่นแท้ความจริงของศาสนา, ทว่าจะย้อนกลับไปสู่ประชาชาติที่นับถือศาสนา ความใจและการพัฒนาของมนุษย์ที่มีต่อศาสนา ประเภทของการรู้จักในศาสนา และรูปแบบของการตื่นตัวในศาสนา ความเสียหายและผลกระทบต่อศาสนา มีรายละเอียดแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา เป็นความเสียหายที่มีผลกระทบ ต่อความศรัทธาของบุคคลที่นับถือศาสนา หรือผู้มีความสำรวมตน ซึ่งความเสียหายดังกล่าวนี้เองจะอยู่ในระดับของการรู้จักทางศาสนา (ความเสียหายทางศาสนาและการศึกษา) บางครั้งก็อยู่ในระดับของการปฏิบัติบทบัญญัติและคำสั่งของศาสนา การรักษาบทบัญญัติ บทลงโทษ และสิทธิ ซึ่งศาสนาได้กำหนดเป็นข้อบังคับให้รักพึงระมัดระวังต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น ความอิจฉาริษยา ความอคติ และเกียรติยศ อีกกลุ่มหนึ่งของความเสียหายทางศาสนา จะอยู่ในปัญหาด้านสังคมทางศาสนา เช่น ความบิดเบือน การอุปโลกน์ และการกระทำตามความนิยมต่างๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอันตราย และเป็นความกดดันต่อการระวังรักษาความศักดิ์สิทธิ์ และการขยายศาสนาให้กว้างขวางออกไป ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60336 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57884 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42437 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39699 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39099 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34192 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28225 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28165 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28095 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26044 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...