การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10778
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/02
คำถามอย่างย่อ
เหตุใดจึงห้ามกล่าวอามีนในนมาซ?
คำถาม
ผู้รู้ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์บางคนได้ชี้แจงการกล่าวอามีนในนมาซว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องเนื่องจากมีฮะดีษเศาะฮี้ห์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งไม่ขัดต่อฮะดีษอื่นๆที่มีเนื้อหาเชิงกว้างแต่อย่างใด ฉะนั้นจึงไม่อาจจะห้ามกล่าวอามีนได้ และถึงแม้ว่าฮะดีษสองกลุ่มจะขัดกันก็ตาม ฮะดีษที่อนุญาตให้กล่าวอามีนมีความน่าเชื่อถือกว่า (เราะชี้ด ริฎอ,มุฮัมมัด,ตัฟซี้ร อัลมะน้าร,เล่ม 1,หน้า 98) ชีอะฮ์มีทัศนะอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้?
คำตอบโดยสังเขป

มีฮะดีษจากอะฮ์ลุลบัยต์ระบุว่าการกล่าวอามีนในนมาซไม่เป็นที่อนุมัติ และจะทำให้นมาซบาฏิล
โดยหลักการแล้ว ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์ถึงการไม่เป็นที่อนุมัติ ทั้งนี้ก็เพราะการนมาซเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง ซึ่งย่อมไม่สามารถจะเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ ฉะนั้น หากไม่สามารถจะพิสูจน์การเป็นที่อนุมัติของส่วนใดในนมาซด้วยหลักฐานทางศาสนา ก็ย่อมแสดงว่าพฤติกรรมนั้นๆไม่เป็นที่อนุมัติ เพราะหลักเบื้องต้นในการนมาซก็คือ ไม่สามารถจะเพิ่มเติมใดๆได้ หลักการสงวนท่าที(อิห์ติยาฏ)ก็หนุนให้งดเว้นการเพิ่มเติมเช่นนี้ เนื่องจากเมื่อเอ่ยอามีนออกไป ผู้เอ่ยย่อมไม่แน่ใจว่านมาซจะยังถูกต้องอยู่หรือไม่ ต่างจากกรณีที่มิได้กล่าวอามีน

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นการกล่าวอามีนในนมาซถือเป็นประเด็นที่มีความเห็นต่างกันระหว่างชีอะฮ์และซุนหนี่ เริ่มแรกเราจะนำเสนอทัศนะของผู้เห็นด้วยในเรื่องนี้พร้อมกับข้อวิพากษ์ที่อ้างอิงฮะดีษการนมาซของท่านนบี(ซ.ล.) หลังจากนั้นจึงจะนำเสนอทัศนะของฝ่ายชีอะฮ์

เนื่องจากปัญหาขัดแย้งในที่นี้เป็นเรื่องที่“อยู่ในการนมาซ” และเนื่องจากนมาซถือเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่ง เราจึงขอเกริ่นเล็กน้อยดังต่อไปนี้
ก. ในอิสลาม อิบาดะฮ์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวาญิบ(ภาคบังคับ)และมุสตะฮับ(ภาคอาสา)ล้วนแล้วแต่เป็นบทบัญญัติที่ตายตัวทั้งสิ้น การปฏิบัติอิบาดะฮ์จะต้องปฏิบัติตามจำนวนและรูปแบบที่ศาสนากำหนดไว้เท่านั้น และไม่มีสิทธิจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดได้เลย ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่มีสิทธิจะปรับเปลี่ยนรูปแบบอิบาดะฮ์ตามที่ตนเองเห็นสมควร ทั้งนี้ สภาวะดังกล่าวมิได้เฉพาะเจาะจงแต่เพียงการนมาซ แต่ครอบคลุมถึงอิบาดะฮ์ทุกประเภทอาทิเช่น การถือศีลอด การอาบน้ำนมาซ การตะยัมมุม ดุอามะอ์ษูเราะฮ์[1] ฯลฯ ด้วย[2]

ข. มุสลิมล้วนเชื่อว่า คำว่า“อามีน”นั้น มิได้เป็นส่วนหนึ่งของการนมาซ[3] ฉะนั้น ผู้ใดเชื่อว่าสามารถกล่าวคำนี้ในนมาซได้ จำเป็นต้องแสดงเหตุผลหักล้างและต้องพิสูจน์ทัศนะของตนด้วยหลักฐาน มิเช่นนั้นก็จะต้องถือว่าการกล่าวอามีนในนมาซเป็นบิดอะฮ์ เป็นฮะรอม และทำให้นมาซบาฏิล(โมฆะ) เนื่องจากหลักเบื้องต้นในเรื่องนี้คือการไม่สามารถกล่าวอามีนในนมาซได้

ตามทัศนะของนักวิชาการฮะดีษแล้ว ฮะดีษที่อนุญาตให้กล่าวอามีนได้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยกัน
หนึ่ง. ฮะดีษที่มีชื่ออบูฮุร็อยเราะฮ์อยู่ในสายรายงาน ดังฮะดีษต่อไปนี้
รายงานจากท่านนบี(ซ.ล.)ว่า “เมื่ออิมามญะมาอัตกล่าว “วะลัฎฎอลลีน”แล้ว พวกเธอก็จงกล่าว “อามีน”เถิด เพราะมวลมลาอิกะฮ์ต่างกล่าวอามีน ฉะนั้น ผู้ใดที่กล่าวอามีนพร้อมกับมวลมลาอิกะฮ์ บาปทั้งหมดของเขาจะได้รับอภัยโทษ” [4]

ฮะดีษประเภทนี้ถือว่าไม่น่าเชื่อถือ เหตุเพราะมีอบูฮุร็อยเราะฮ์เป็นผู้รายงาน[5]
ท่านอิมามอลี(อ.)เคยกล่าวถึงเขาว่า ألا إنّ أکذب الناس أو قال: أکذب الأحیاء علی رسول الله أبوهریرة الدئسي  จงรู้เถิด คนที่โป้ปดที่สุด (อีกรายงานหนึ่งกล่าวว่า: สิ่งมีชีวิตที่โป้ปดที่สุด) ต่อท่านนบี ก็คืออบูฮุร็อยเราะฮ์[6]

สอง. กลุ่มฮะดีษที่มีสายรายงานบรรจบถึงบุคคลเหล่านี้: ฮะมี้ด บิน อับดุรเราะฮ์มาน บิน อบี ลัยลา, อิบนิ อุดัย, อับดุลญับบ้าร บิน วาอิล, สุฮัยล์ บิน อบีศอลิฮ์, อะลา บิน อับดิรเราะฮ์มาน และ ฏ็อลฮะฮ์ บิน อัมร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะจะเป็นนักรายงานฮะดีษ เนื่องจากฮะมี้ด บิน อับดุรเราะฮ์มาน บิน อบี ลัยลา มีความจำที่ไม่ดีพอและเฎาะอี้ฟ ส่วนอิบนิ อุดัยย์ก็ไม่เป็นที่รู้จัก อับดุลญับบ้าร บิน วาอิ้ลก็ไม่สามารถจะรายงานฮะดีษจากพ่อของตนได้ เนื่องจากถือกำเนิดหลังพ่อเสียชีวิตหกเดือน ซึ่งจะทำให้สายรายงานไม่ต่อเนื่อง ส่วนสุฮัยล์ บิน อบีศอลิฮ์ และ อะลา บิน อับดิรเราะฮ์มานนั้น อบูฮาตัมกล่าวว่า แม้ฮะดีษของพวกเขาจะถูกบันทึก ทว่าปราศจากความน่าเชื่อถือ ส่วนฏ็อลฮะฮ์ บิน อัมร์ ก็นับเป็นนักรายงานที่ถูกมองข้าม เนื่องจากมีฮะดีษที่ด้อยความน่าเชื่อถืออย่างยิ่ง[7]

จากการที่ฮะดีษนี้มีสายรายงานที่อ่อนแอและไม่น่าเชื่อถือพอ จึงไม่สามารถนำมาอ้างอิงใดๆได้ แต่ก็มีบางคนที่พยายามจะชี้แจงการกล่าวอามีนในนมาซว่า เป็นการกล่าวตอบ “อิฮ์ดินัศศิรอฏ็อลมุสตะกีม”ซึ่งเป็นประโยคดุอา

ขอตอบว่า ประโยคดังกล่าวสามารถจะเป็นดุอาได้ต่อเมื่อเจตนาอ่านให้เป็นดุอา แต่โดยทั่วไปแล้ว ผู้อ่านย่อมมีเจตนาอัญเชิญกุรอาน มิไช่อ่านดุอา มิเช่นนั้นแล้ว หากจะอ่านทุกโองการที่เป็นดุอา อาทิเช่น رَبَّنَا اغْفِرْ لَنا وَ قِنا عَذابَ النَّار โดยเจตนาอ่านเป็นดุอา ก็ย่อมจะสามารถกล่าวอามีนได้ทุกครั้งไช่หรือไม่ ซึ่งไม่มีผู้รู้ท่านใดมีทัศนะเช่นนี้[8]

ยิ่งไปกว่านั้น ต้องคำนึงเสมอว่าการนมาซถือเป็นอิบาดะฮ์ประเภทหนึ่งซึ่งย่อมเป็นบทบัญญัติที่ตายตัว สมมติว่าเราสามารถอ่านอิฮ์ดินัสฯโดยเหนียตเป็นดุอาได้ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถจะกล่าวอามีนได้ ทั้งนี้ก็เพราะการเพิ่มเติมหรือลดทอนส่วนหนึ่งส่วนใดของศาสนกิจ(อิบาดะฮ์)ถือเป็นบิดอะฮ์(อุตริกรรม) และเป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากคำว่าอามีนมิไช่โองการกุรอาน และไม่ไช่ดุอาหรือซิเกรแต่อย่างใด ฉะนั้นจึงควรปฏิบัติเสมือนคำอื่นๆที่มิไช่กุรอานและซิกรุลลอฮ์

วจนะของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า “มิบังควรที่จะเพิ่มเติมคำพูดของบุคคลทั่วไปในนมาซ”[9] ถือเป็นการระงับมิให้กล่าวอามีน เพราะอามีนคือคำพูดของมนุษย์ มิไช่อัลลอฮ์ และหากจะโต้แย้งว่า “อามีน”คือพระนามหนึ่งของอัลลอฮ์ คงต้องชี้แจงว่าหากเป็นเช่นนั้นจริง เราคงพบคำนี้ในหมู่พระนามของพระองค์ และสามารถวิงวอนได้ว่า “ยา อามีน” ในขณะที่ไม่มีผู้ใดเชื่อว่าคำนี้เป็นพระนามหนึ่งของพระองค์เลย[10]

การนมาซของท่านนบี(..)
ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่า ซุนนะฮ์ (วจนะ, พฤติกรรม, การวางเฉย)ของท่านนบี(ซ.ล.)ถือเป็นแหล่งอ้างอิงทางศาสนา ฉะนั้น หากพิสูจน์ได้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งว่าท่านนบีเคยมีซุนนะฮ์เช่นนี้ เราทุกคนย่อมจะต้องน้อมรับโดยดุษณี
ผู้รู้และนักรายงานฮะดีษฝ่ายซุนหนี่ได้รายงานวิธีนมาซของท่านนบี(ซ.ล.)ไว้ในตำราเศาะฮี้ห์และสุนันทั้งหลายว่า “มุฮัมมัด บิน อุมัร บิน อะฏอ เล่าว่า ฉันได้ยินอบูฮะมี้ด ซาอิดีกล่าวท่ามกลางเศาะฮาบะฮ์สิบคน ซึ่งในจำนวนนี้มี อบูกุตาดะฮ์อยู่ด้วยว่า อยากให้ฉันเล่าหรือไม่ว่าท่านนบี(ซ.ล.)นมาซอย่างไร? ... เขาเล่าว่า ขณะจะนมาซ ท่านนบีจะยกสองมือระดับเดียวกับใหล่แล้วกล่าวตักบี้ร และอ่านซูเราะฮ์ด้วยความสุขุม แล้วจึงยกสองมือระดับไหล่พร้อมกับกล่าวตักบี้ร แล้วโค้งรุกู้อ์โดยที่แนบสองมือกับหัวเข่า แล้วจึงยืนตรงพร้อมกับกล่าวว่า سَمِعَ اللَّهُ لِمَنْ حَمِدَهُ แล้วท่านก็ยกสองมือขึ้นระดับไหล่พร้อมกับกล่าวตักบี้ร แล้วจึงลงสุญูดโดยที่มือสองข้างแนบใกล้ลำตัว แล้วจึงเงยศีรษะขึ้นโดยนั่งบนขาซ้าย  ขณะลงสุญูดท่านจะกางนิ้วเท้า ท่านกล่าวตักบี้รแล้วจึงเงยศีรษะขึ้น แล้วนั่งบนขาข้างซ้ายอีกครั้งหนึ่งกระทั่งสงบนิ่ง จากนั้นท่านก็เริ่มเราะกะอัตใหม่โดยกระทำเหมือนกัน เมื่อจบสองเราะกะอัต ท่านจะกล่าวตักบี้รขณะที่มือของท่านอยู่ระดับไหล่เสมือนเมื่อเริ่มนมาซ และกระทำเช่นนี้ในส่วนอื่นๆของนมาซ ในเราะกะอัตสุดท้ายท่านเหยียดขาข้างซ้ายมากขึ้นและนั่งบนนั้น” เหล่าเศาะฮาบะฮ์ ณ ที่นั้นกล่าวขึ้นว่า ถูกแล้ว ท่านนบีนมาซเช่นนี้[11]

ข้อสังเกตุ:
ฮะดีษข้างต้นมีข้อสังเกตุดังต่อไปนี้
ก. เนื่องจากฮะมี้ดมิได้เหนือกว่าคนอื่นๆในวงสนทนาในแง่ความเป็นสหายของท่านนบี ทำให้เป็นที่จับตาเป็นพิเศษของคนในวงสนทนา
ข. เนื่องจากเขาอ้างว่าจะสาธยายถึงการนมาซของท่านนบี ทำให้ยิ่งเป็นจุดสนใจของเศาะฮาบะฮ์ที่อยู่ ณ ที่นั้นมากยิ่งขึ้น
ค. คำบอกเล่าของฮะมี้ดเป็นไปในรูปแบบของการสาธยายถึงรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดของการนมาซของท่านนบี

จากข้อสังเกตุเหล่านี้ กอปรกับการที่มีฮะดีษนบีในตำราของทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ระบุว่า “จงนมาซอย่างที่ฉันนมาซ”[12] หากอบูฮะมี้ดสาธยายอย่างไม่ครบถ้วนหรืออุตริเพิ่มเติม ย่อมจะถูกคนในวงสนทนาทักท้วงเป็นแน่ ฉะนั้น ในเมื่ออบูฮะมี้ดมิได้เอ่ยถึง “อามีน” ในนมาซของท่านนบี(ซ.ล.) และบรรดาเศาะฮาบะฮ์ในที่นั้นก็มิได้ทักท้วงใดๆ จึงได้ข้อสรุปค่อนข้างชัดเจนว่าท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกล่าวอามีนในนมาซเลย และเรามีหน้าที่ปฏิบัติตามท่านนบี(ซ.ล.)เท่านั้น

นอกจากนี้ มีฮะดีษจากท่านนบี(ซ.ล.)ระบุว่า “ไม่อนุญาตให้กล่าวอามีนภายหลังอ่านฟาติหะฮ์”[13] ท่านอิมามศอดิก(อ.)ก็เคยกล่าวว่า “ขณะที่อิมามญะมาอัตอ่านฟาติหะฮ์จบ จงอย่ากล่าวคำว่าอามีน”[14]
ยิ่งไปกว่านั้น เชคเศาะดู้กยังรายงานฮะดีษหนึ่งที่มีใจความว่า การกล่าวอามีนในนมาซหยิบยืมมาจากวัฒนธรรมของคริสเตียน[15]

ฉะนั้น เนื่องจากการนมาซถือเป็นอิบาดะฮ์และจะได้รับการกำหนดมาแล้วอย่างตายตัว และจากการที่อามีนมิไช่ส่วนหนึ่งของการนมาซ ทำให้ผู้รู้ฝ่ายชีอะฮ์มีความเห็นตรงกันว่าการกล่าวอามีนในนมาซถือว่าฮะรอมและจะทำให้นมาซบาฏิล(โมฆะ)[16]

 

 


[1] ยูนุส บิน อับดุรเราะฮ์มาน รายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน สะนานว่า ท่านอิมามศอดิก(อ.)เคยกล่าวว่า “ในไม่ช้าจะมีข้อเคลือบแคลงเกิดขึ้นกับพวกท่าน ซึ่งพวกท่านไม่ทราบวิธีแก้ อีกทั้งไม่มีผู้นำคนใดจะสามารถไขปัญหาได้ พวกท่านจะรู้สึกเคว้งคว้าง ผู้ใดที่ต้องการจะรอดพ้นจากข้อเคลือบแคลงเหล่านี้ก็จงอ่านดุอา “เฆาะรี้ก” ฉัน(ผู้รายงาน)เอ่ยถามว่า ดุอาเฆารี้กอ่านอย่างไรขอรับ? ท่านตอบว่า จงอ่านว่า يا اللَّه يا رحمان يا رحيم، يا مقلب القلوب ثبت قلبى على دينك  ฉันอ่านว่า يا مقلب القلوب و الابصار ثبت قلبى على دينك ท่านกล่าวว่า อัลลอฮ์ทรงเป็นมุก็อลลิบุลกุลู้บวัลอับศ้อรก็จริง แต่จงอ่านอย่างที่ฉันบอก นั่นคือ يا اللَّه يا رحمان يا رحيم، يا مقلب القلوب ثبت قلبى على دينك (อิบรอฮีม บิน อลี อามิลี กัฟอะมี, อัลบะละดุ้ลอะมีน, หน้า 24)

[2] สามารถอ่านได้ ณ เว็บไซต์แห่งนี้ที่ระเบียน “กล่าวอามีนหรืออัลฮัมดุลิลลาฮ์” คำถามที่ 5245 (ลำดับในเว็บไซต์ 5606)

[3] มุฮัมมัด เราะชี้ด ริฎอ, ตัฟซี้ร กุรอานิลอะซีม (อัลมะน้าร), เล่ม 1,หน้า 39, สำนักพิมพ์ดารุลมะอ์ริฟะฮ์,พิมพ์ครั้งที่สอง,เบรุต,เลบานอน

[4] บัยฎอวี,นาศิรุดดีน อบุลค็อยร์ อับดุลลอฮ์ บิน อุมัร, อันวารุตตันซี้ล วะอัสรอริตตะอ์วีล,เล่ม 1,หน้า 32,ดารุตตุรอษิ้ลอะเราะบี,เบรุต,ฮ.ศ. 1418

[5] อบูฮุร็อยเราะฮ์ อับดุรเราะฮ์มาน บิน ศ็อคร์ ดูซี (ฮ.ศ.22 - 59 ) เป็นครูบาฮะดีษของเศาะฮาบะฮ์และตาบิอีนกว่าแปดร้อยคน อุมัรได้แต่งตั้งให้เขาดำรงตำแหน่งผู้ครองแคว้นบาห์เรน ทว่าได้ถอดจากตำแหน่งเนื่องจากความอะลุ้มอล่วยเกินเหตุ ส่วนใหญ่เขาพำนักอยู่ที่มะดีนะฮ์ ตะกียุดดีน สุบกี ได้เขียนเอกสารชิ้นหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า “ฟะตาวา อบีฮุร็อยเราะฮ์” อับดุลฮุเซน ชะเราะฟุดดีนก็เคยเขียนหนังสือชื่อว่า อบูฮุร็อยเราะฮ์เช่นกัน (อัลอะอ์ลาม,เล่ม 4,หน้า 80 - 81) ฮุจญะตี,อัสบาบุนนุซู้ล,หน้า 216

[6] ดู: อิบนิ อบิลฮะดี้ด มุอ์ตะซิลี,อิซซุดดีน อบูฮามิด,ชัรฮ์นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์,เล่ม 4,หน้า 68, หอสมุดอายะตุลลอฮ์ มัรอะชี นะญะฟี,พิมพ์ครั้งแรก,ปี 1337

[7] ดู: ซุลฎอนี, อับดุลอะมี้ร,ฮุกมุตตะอ์มีน ฟิศเศาะลาฮ์,สมาพันธ์อะฮ์ลุลบัยต์โลก,พิมพ์ครั้งที่สอง

[8] ดู: ซับซะวอรี,อลี มุอ์มิน กุมี,ญามิอุ้ลคิลาฟ วัลวิฟ้าก บัยนัล อิมามียะอ์ วะบัยนะ อะอิมมะติลฮิญ้าซ วัลอะร้อก,สำนักพิมพ์ผู้เตรียมการมาของอิมามมะฮ์ดี(อ.),พิมพ์ครั้งแรก,กุม,ปี 1421

[9] อิสฟะรอยินี,อบุลมุซ็อฟฟัร ชาฮ์ฟู้ร บิน ฏอฮิร, ตาญุตตะรอญิม ฟีตัฟซีริลกุรอานิลอะอาญิม,อารัมภบท,หน้า 20,สำนักพิมพ์อิลมีฟัรฮังฆี,พิมพ์ครั้งแรก,เตหราน,ปี 1375 และ ชะฮีดษานี,ซัยนุดดีน บิน อลี บิน อะฮ์มัด อามิลี,ร็อวฏ็อลญินาน ฟีชัรฮิ อิรชาดิลอัซฮาน,หน้า 331,สถาบันอาลุลบัยต์(อ.),พิมพ์ครั้งแรก,กุม

[10] อิบนิ ชะฮ์รอชู้บ,มอซันดะรอนี,มุฮัมมัด บิน อลี, มุตะชาบิฮุลกุรอาน วะมุคตะละฟิฮ์,เล่ม 2,หน้า 170,สำนักพิมพ์บีด้อร,พิมพ์ครั้งแรก,กุม,ฮ.ศ.1410

[11] สุนัน อบีดาวู้ด, หมวดการเริ่มนมาซ,เล่ม 2,หน้า 391, ฮะดีษที่ 627, เว็บอัลอิสลาม http://www.al-islam.com (อัลมักตะบะตุชชามิละฮ์), สุนัน อิบนิมาญะฮ์,หมวดสิ้นสุดนมาซ,เล่ม 3,หน้า 355, เว็บอัลอิสลาม http://www.al-islam.com (อัลมักตะบะตุชชามิละฮ์) และ บัยฮะกี, สุนันกุบรอ,เล่ม 2,หน้า 72, เว็บอัลอิสลาม http://www.al-islam.com (อัลมักตะบะตุชชามิละฮ์) และ สุนันดาเราะมี,หมวดคุณลักษณะการนมาซของท่านนบี(ซ.ล.),เล่ม 4,หน้า 165, เว็บไซต์กระทรวงศาสนสมบัติอิยิปต์, http://www.islamic-council.com, (อัลมักตะบะตุชชามิละฮ์)

[12] บัยฮะกี, สุนันกุบรอ, เล่ม 2,หน้า 345, และ สุนัน ดารุกุฏนี,เล่ม 3,หน้า 172 เว็บไซต์กระทรวงศาสนสมบัติอิยิปต์, http://www.islamic-council.com, (อัลมักตะบะตุชชามิละฮ์) และ เศาะฮี้ห์ อิบนิฮับบาน,เล่ม 8,หน้า 243, และ มุสนัดชาฟิอี,เล่ม 1,หน้า 223, เว็บไซต์ญามิอุลฮะดีษ http://www.alsunnah.com (อัลมักตะบะตุชชามิละฮ์) และ มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 82,หน้า 279,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,เลบานอน,ฮ.ศ. 1404

[13] เศาะดู้ก,มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 1,หน้า 390,สำนักพิมพ์ญามิอะฮ์มุดัรริซีน,กุม,ฮ.ศ.1413

[14] กุลัยนี,อัลกาฟี,เล่ม 3,หน้า 313,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี 1365 และ ฏูซี,อัลอิสติบศ้อร,เล่ม 1,หน้า 318,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ฮ.ศ.1390 และ ฏูซี,ตะฮ์ซีบุลอะห์กาม,เล่ม 2,หน้า 74,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ฮ.ศ.1365

[15] เศาะดู้ก,มันลายะฮ์ฎุรุฮุ้ลฟะกี้ฮ์,เล่ม 1,หน้า 390

[16] ฮิลลี,ฮะซัน บิน ยูซุฟ บิน มุเฏาะฮ์ฮัร อะสะดี,ตัซกิเราะตุ้ลฟุเกาะฮาอ์(พิมพ์ใหม่),เล่ม 3,หน้า 162,สถาบันอาลุลบัยต์(อ.),พิมพ์ครั้งแรก,กุม,เพิ่มเติมและตรวจทานโดยฝ่ายค้นคว้าของสถาบัน, และ ฏูซี,มุฮัมมัด บิน ฮะซัน, อัลคิล้าฟ,เล่ม 1,หน้า 332,สำนักพิมพ์อิสลามี ภายใต้ญามิอะฮ์มุดัรริซีน,กุม,ฮ.ศ. เพิ่มเติมและตรวจทานโดย เชคอลี คุรอซอนี และซัยยิดญะว้าด ชะฮ์ริสตานี และเชคมะฮ์ดี ฏอฮา นะญัฟ และ เชคมุจตะบา อะรอกี

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17841 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5863 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11495 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6390 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14676 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9559 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6315 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10427 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11184 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60187 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57647 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42264 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28056 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27879 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25864 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...