การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
18802
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2556/08/27
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1017 รหัสสำเนา 13584
คำถามอย่างย่อ
การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
คำถาม
การประทานอัลกุรอานลงมาคราวเดียวและการทยอยประทานลงมาผ่านพ้นไปตั้งแต่เมื่อใด?
คำตอบโดยสังเขป

การประทานอัลกุรอานในคราวเดียวกันบนจิตใจของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ) ได้เกิดขึ้นเมื่อค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) อันเป็นหนึ่งในค่ำคืนสำคัญยิ่งแห่งเดือนรอมฏอน และเมื่อได้ศึกษารายงานฮะดีซบางบทและอัลกุรอานบางโองการแล้ว จะเห็นว่ารายงานและโองการเหล่านั้นได้สนับสนุนความเป็นไปได้ดังกล่าวว่า ค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้นก็คือ ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฎอน และการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ได้เกิดขึ้นประมาณ 56 วัน หลังการแต่งตั้งท่านศาสดาอย่างเป็นทางการ

 

ความพิเศษของการประทานทยอยอัลกุรอานลงมา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันมากมาย แต่ในความแตกต่างเหล่านั้นมีอยู่ 2 ทัศนะที่มีความสำคัญมากกว่าทัศนะอื่น กล่าวคือ

 

1- - การประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ได้เริ่มต้นใกล้ๆ กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) จนกระทั่งสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา ซึ่งทัศนะนี้เป็นทัศนะที่ส่วนใหญ่ให้การยอมรับ ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับเดือน กุมภาพันธ์ .. 610 และได้อำลาจากโลกไปเมื่อวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี .. ที่ 11

 

2 - - ช่วงเวลาใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) นั้น ได้มีโองการสองสามโองการถูกประทานลงมา แต่การประทานแบบทยอยลงมาในรูปแบบของคัมภีร์แห่งฟากฟ้า ได้เริ่มต้นอย่างจริงจังหลังจากการแต่งตั้งศาสดาผ่านพ้นไปแล้ว 3 ปี โดยเริ่มต้นจำคำคืนแห่งอานุภาพไปจนสิ้นอายุขัยอันจำเริญของท่านศาสดา

 

ด้วยเหตุผลนี้เอง ถ้าหากพิจารณาถึงยุคสมัยปัจจุบันที่เรามีชีวิตอยู่ สามารถคำนวณได้เองนับตั้งแต่ปีแรกที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นระยะเวลานานเท่าใดแล้ว 

คำตอบเชิงรายละเอียด

ประเด็นเกี่ยวกับการประทานลงมาในคราวเดียวกันนั้น เรารู้ได้เพียงว่าถูกประทานลงมาในค่ำคืนอานุภาพ[1] และจากการที่อัลกุรอานกล่าวว่า[2] เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมา ขณะที่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ก็อยู่ในเดือนรอมฎอน

 

แต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพเป็นค่ำคืนใดในเดือนรอมฏอนนั้น ไม่มีผู้ใดรู้ชัดแจ้งแน่นอนว่าเป็นคืนใด ซึ่งจะเห็นว่มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้[3] แต่มีความเป็นไปได้จากทัศนะที่มีอยู่นี้จะเห็นว่า ค่ำคืนที่ 23 ของเดือนรอมฏอนเป็นค่ำคืนแห่งอานุภาพนั้น มีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากรายงานฮะดีซและอัลกุรอานหลายโองการได้สนับสนุนแนวคิดนี้[4]

 

แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีสิ่งใดระบุได้ชัดเจนว่า ปีใดหรือที่สิ่งนี้ได้เกิดขึ้น แต่สามารถกล่าวได้เพียงว่า แม้ว่าค่ำคืนแห่งอานุภาพนี้จะเป็นค่ำคืนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาแล้ว ยังเป็นค่ำคืนแห่งการขึ้นมิอฺรอจญ์ของท่านศาสดา (ซ็อล ) อีกด้วย เนื่องจากอัลกุรอานนั้นบันทึกอยู่ในเลาฮุนมะฟูซ  พระผู้อภิบาล[5] มนุษย์ตราบที่ยังไม่ได้ขึ้นมิอ์รอจญ์ เขาก็จะไม่ได้รับอัลกุรอานที่บันทึกอยู่ในแผ่นบันทึก  พระผู้อภิบาล[6] จากตรงนี้เข้าใจได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น อยู่ในช่วงเวลาที่ท่านศาสดาได้ไปถึงยังระดับดังกล่าวแล้ว ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่าการประทานอัลกุรอานลงมาในคราวเดียวกันนั้น ถูกประทานในปีแรกของการได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดา กล่าวคือประมาณ 56 วันหลังจากหลังการแต่งตั้ง

 

จำนวนดังกล่าวได้คำนวณจากวันแห่งการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งตรงกับวันที่ 27 เดือนเราะญับ และค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดฺร์) ตรงกับวันที่ 23 เดือนรอมฏอน และโดยประมาณแล้วเดือนหนึ่งมี 30 วัน ดังนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวจึงเกิดขึ้นหลังจาก 56 วันผ่านไปแล้ว

 

ความพิเศษของการประทานแบบทยอยลงมานั้น[7] ใกล้กับการแต่งตั้งท่านศาสดา แต่เนี่องจากมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับวันแต่งตั้งท่านศาสดา[8] ทำให้วันนี้แตกต่างกันไปด้วย

 

ทัศนะทั่วไปที่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสดาเมื่อวันจันทร์ ที่ 27 เดือนเราะญับ ตรงกับวันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี .. 610[9] ในเวลานั้นอัลกุรอาน 5 โองการแรกของบทอัลอะลัก ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อล ) [10] หลังจากนั้นอัลกุรอานโองการอื่นๆ ก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ตราบจนสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งรวมระยะเวลาได้ประมาณ 23 ปีเต็ม

 

บางกลุ่มมีความเชื่อว่า ช่วงเวลาของการแต่งตั้งท่านศาสดา (ซ็อล ) กับช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานแบบทยอยลงมา ในฐานะที่เป็นคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้นมีความแตกต่างกัน ตามทัศนะของพวกเขาแม้ว่าในช่วงแรกของการแต่งตั้งจะมีอัลกุรอานถูกประทานลงมา 5 โองการก็ตาม แต่ในช่วงนั้นท่านศาสดาไม่มีหน้าที่เผยแพร่ต่อหน้าสาธารณชน ท่านมีหน้าที่เชิญชวนแบบลับๆ แต่หลังจากเวลาผ่านพ้นไปประมาณ 3 ปี ได้มีบัญชาให้ท่านเชิญชวนแบบเปิดเผยต่อสาธารณชน[11] นับตั้งแต่ช่วงเวลานั้นเป็นต้นไปอัลกุรอาน ในฐานะคัมภีร์แห่งฟากฟ้าก็ได้ถูกทยอยประทานลงมา ดังนั้น แม้ว่าการแต่งตั้งท่านศาสดาให้เป็นศาสดาได้เกิดขึ้นในช่วงเดือนเราะญับก็ตาม แต่อัลกุรอานได้ทยอยประทานลงมาหลังจากนั้น 3 ปีไปแล้ว ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ค่ำคืนแห่งอานุภาพ ของเดือนรอมฏอนเป็นต้นไป[12]

 

ทัศนะที่สนับสนุนทัศนะดังกล่าวนี้คือ รายงานฮะดีซที่กล่าวว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานคือ 23 ปี[13] ด้วยเหตุผลนี้เองทัศนะและความเชื่อ[14] ที่ว่าช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอาน แบบทยอยลงมาในฐานะของคัมภีร์แห่งฟากฟ้านั้น ได้เริ่มต้นจริงในปีที่ 4 ของการได้รับการแต่งตั้ง กล่าวคือ ประมาณ 3 ปีกับ 56 วันหลังการแต่งตั้งและยาวนานไปจนถึงการสิ้นอายุขัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งตรงกับวันที่ 28 เดือนเซาะฟัร ปี .. ที่ 11

 

สรุป ตราบจนถึงปัจจุบันนี้ ตรงกับปี .. ที่ 1431 นับตั้งแต่การอพยพครั้งแรก และรวมกับอีก 13 ปีก่อนการอพยพ ถ้าสมมุติว่าถือตามทัศนะแรก โองการแรกที่ได้ประทานลงมาก็ประมาณ 1440 กว่าปีของปีฮิจญ์เราะศักราช แต่ถ้าถือตามทัศนะที่สอง โองการแรกที่ถูกประทานลงมาตราบจนถึงปัจจุบัน ก็ประมาณ 1437 กว่าปี

 

จากรายงานของนักประวัติศาสตร์บางคน ช่วงเวลาของการแต่งตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ปี .. ที่ 610 และนับตั้งแต่บัดนั้นจวบจนถึงปัจจุบันคือ .. 2012 เราสามารถคำนวณนับได้ด้วยตัวเองว่า ช่วงเวลาของการประทานอัลกุรอานโองการแรก จวบจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกี่ปีแล้ว 

 

 

[1] อัลกุรอาน บทดุคอน โองการ 3 บทก็อดร์ โองการ 1 สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จาก ตัฟซีรอัลมีซาน เล่ม 8 หน้า 130-134 เล่ม 2 หน้า 14 -23 เล่ม 13 หน้า 220-221

[2]  อัลกุรอาน บทบะเกาะฮฺ 185 กล่าวว่า เดือนรอมะฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นการชี้นำสำหรับ มนุษย์และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับการชี้นำนั้น

[3]  ตารีคฏ็อบรีย์ เล่ม 2 หน้า 300 ซีเราะฮฺอิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 236,239, 240 อายะตุลลอฮฺ มะอฺริฟัต อัตตัมฮีด ฟีอุลูมิลกุรอาน หน้า 100,129,อายะตุลลอฮฺ คูอีย์ อับบะยาน เล่ม 1 หน้า 244, มัจญฺมะอุลบะยาย เล่ม 9 หน้า 61, เล่ม 10 หน้า 518, 520, ตารีคอบิลฟิดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115, ตารีคยะอฺกูบบีย์ เล่ม 2 หน้า 17, เชคฏูซีย์ อัตติบยาน เล่ม 9 หน้า 224 มุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรีย์ ญามิอุลบะยาน เล่ม 25 หน้า 107 และ 108, ตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 29

[4]  วะซาอิลุชชีอะฮฺ หมวด 32 อะฮฺกามเดือนรอมฏอน เล่ม 7 หน้า 262 ฮะดีซที่ 16, คิซอลซะดูก เล่ม 2 หน้า 102 มุฮัมมัดบากิร ฮุจญฺตีย์ ประวัติอัลกุรอาน หน้า 38 - 62

[5]  อัลกุรอาน บทซุครุฟ โองการ 4 แท้จริงอัลกุรอานนั้นอยู่ในกระดานที่ถูกพิทักษ์  เรา คือสูงส่งพรั่งพร้อมด้วยปรัชญา

[6]  อายะตุลลอฮฺ ญะวาดีย์ ตัฟซีรเมาฎูอีย์ เล่ม 3 หน้า 153- 139

[7]  อัลกุรอาน บทอัสรอ โองการ 106, บทฟุรกอน โองการ 32, บท มุฮัมมัด โองการ 20, บทเตาบะฮฺ โองการ 127, สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมโปรดศึกษาได้จากตัฟซีร อัลมีซาน เล่ม 2 หน้า 14 - 23

[8]  ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 17 ตารีค อัลเคาะมีส เล่ม 1 หน้า 280, 281 ตารีคอบิลฟะดาอ์ เล่ม 1 หน้า 115

[9]  ประวัติอัลกุรอาน หน้า 36, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 189, ฮะดีซที่ 21 ฟุรูคกาฟีย์ เล่ม 4 หน้า 149 ฮะดีซที่ 1 และ 2 วะซาอิลุชชีอะฮฺ เล่ม 7 หน้า 329 หมวดที่ 15 บาบศีลอดมุสตะฮับ ซีเราะตุลฮะละบี เล่ม 1 หน้า 238 อัตตัมฮีด ฟี อุลูมมิลกุรอาน หน้า 100 - 107

[10] บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 206 ฮะดีซ 36

[11]  อัลกุรอาน บทอัลฮิจญฺร์ โองการ 94, ตัฟซีรกุมมี หน้า 533, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 53 ฮะดีซที่ 7 หน้า 179 ฮะดีซที่ 10 หน้า 177 ฮะดีซที่ 4 หน้า 193 ฮะดีซที่ 29 ตารีคยะอ์กูบีย์ เล่ม 1 หน้า 343, อัซซีเราะฮฺ อิบนุฮิชาม เล่ม 1 หน้า 280, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 40 เชคฏูซีย์ อัลฆัยบะฮฺ หน้า 217

[12]  มัจญฺมะอุลบะยาน เล่ม 2 หน้า 276 อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40 ตัฟซีรกะบีร อิมามรอซีย์ เล่ม 5 หน้า 85, อัลมะนากิบ เล่ม 1 หน้า 150 เชคมุฟีด ชัรฮฺอะกออิด ซะดูก หน้า 58, ซัยยิดมุรตะฎอ ฟี ญะวาบิลมะซาอิล อัฏรอบิซิยาติล อัซซาละซะฮฺ หน้า 403 - 405

[13]  อุซูลกาฟีย์ เล่ม 2 หน้า 628 ฮะดีซที่ 6 ตัฟซีรอะยาชีย์ เล่ม 1 หน้า 80 ฮะดีซที่ 184, ซะดูก อัลอิอ์ติกอดาต หน้า 101, บิฮารุลอันวาร เล่ม 18 หน้า 250, ฮะดีซที่ 3 และหน้า 253, อัลอิตติกอน เล่ม 1 หน้า 40,45 ตัฟซีรชุบัร หน้า 350, มุสตัดร็อกอัลฮากิม เล่ม 2 หน้า 610, อัสบาบุลนุซูล หน้า 3 อัลบิดายะฮฺ วันนิฮายะฮฺ เล่ม 3 หน้า 4 ตารีคยะอฺกูบีย์ เล่ม 2 หน้า 18

 

[14]  สำหรับการศึกษาเพิ่มเติม โปรดศึกษาได้จากหนังสือ อัตตัมฮีด ฟี อุลูมิลกุรอาน หน้า 100 - 129

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การยกภูเขาฏู้รขึ้นเหนือศีรษะบนีอิสรออีลหมายความว่าอย่างไร?
    7524 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/04/02
    ในหลายโองการมีสำนวน وَ رَفَعْنا فَوْقَكُمُ الطُّور ปรากฏอยู่ ซึ่งล้วนเกี่ยวกับบนีอิสรออีลทั้งสิ้น ตำราอรรถาธิบายกุรอานอธิบายว่าโองการเหล่านี้กล่าวถึงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดื้อรั้นของบนีอิสรออีลในยุคของท่านนบีมูซา(อ.) อัลลอฮ์ย่อมมีพลานุภาพที่จะยกภูเขาฏู้รบางส่วนให้ลอยขึ้นเหนือศีรษะของบนีอิสรออีล ดังที่ทรงเคยสร้างดวงดาวนับล้านๆดวง สร้างจักรภพและจักรวาลให้เคลื่อนที่ในอวกาศโดยมีระยะห่างที่เหมาะสม การที่จะเกิดเหตุการณ์ดังที่กุรอานเล่าไว้จึงไม่ไช่เรื่องเหลือเชื่อในแง่วิทยาศาสตร์และสติปัญญา ...
  • มีวิธีใดที่จะตักเตือนสามีเกี่ยวกับพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ได้บ้าง?
    6388 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/01
    สิ่งหนึ่งที่สังเกตุเห็นได้ชัดเจนในคำถามก็คือ คุณสองคนยังรักกันตามปกติ อีกทั้งคุณต้องการจะทำหน้าที่ภรรยาอย่างสุดความสามารถ สมควรอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงสองจุดเด่นนี้ให้มากเพื่อจะช่วยผ่อนหนักเป็นเบาในเรื่องอื่นๆ บรรยากาศในครอบครัวควรอบอวลไปด้วยความรักความเข้าใจ มิไช่การยกตนข่มท่าน ด้วยเหตุนี้เอง บางปัญหาที่ว่าหนักเกินแบกรับ ก็สามารถแก้ไขได้อย่างไม่ยากเย็น บางเรื่องที่เรามองว่าเป็นจุดบกพร่องอาจจะมิไช่จุดบกพร่องเสมอไป ฉะนั้นจึงต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าพฤติกรรมใดคือจุดบกพร่อง แล้วจึงคิดที่จะเยียวยารักษา เชื่อว่าหลักการง่ายๆเพื่อตักเตือนสามีก็คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ลองคิดว่าถ้าหากมีใครสักคนต้องการจะตักเตือนเรา เราอยากได้ยินคำตักเตือนลักษณะใด ให้ถือว่านั่นคือสิ่งที่ควรถือปฏิบัติ เมื่อคำนึงถึงการที่คุณสองคนเพิ่งจะแต่งงานกันได้ไม่นาน ย่อมจะยังไม่เข้าใจอุปนิสัยของคู่รักอย่างละเอียดละออนัก จึงไม่ควรจะด่วนสรุปจนกว่าจะเข้าใจกันและกันอย่างละเอียด หากทำได้ดังนี้ก็สามารถจะบรรลุเป้าหมายได้โดยต้องไม่สร้างแรงกดดันแก่คู่ครองของคุณ ...
  • อัลกุรอานและรายงานกล่าวถึงหรือนำเสนอเรื่องราวของเคฎ (อ.) ไว้บ้างหรือเปล่า?
    9788 تاريخ بزرگان 2555/09/29
    อัลกุรอาน มิได้กล่าวถึงนามของ ท่านเคฎ ไว้อย่างตรงไปตรงมา แต่กล่าวในฐานะของ "عَبْداً مِنْ عِبادِنا آتَيْناهُ رَحْمَةً مِنْ عِنْدِنا وَ عَلَّمْناهُ مِنْ لَدُنَّا عِلْماً" “แล้วทั้งสองได้พบบ่าวคนหนึ่งจากปวงบ่าวของเรา ที่เราได้ประทานความเมตตาจากเราให้แก่เขา และเราได้สอนความรู้จากเราให้แก่เขา”[i] โองการสาธยายถึงฐานะภาพความเป็นบ่าว และความรู้อันเฉพาะของเขา,และอยู่ในฐานะของครูของมูซา บิน อิมรอน ซึ่งรายงานจำนวนมากมายกล่าวแนะนำถึงชายผู้มีความรู้นี้คือ เคฎ นั่นเอง เขาเป็นหนึ่งในผู้มีความรู้ และได้รับความโปรดโปรานอันเฉพาะจากพระผู้อภิบาล นอกจากนั้นท่านยังล่วงรู้ในระบบกฎเกณฑ์การสร้างสรรค์โลก ความเร้นลับบางประการ และในด้านหนึ่งเป็นครูของศาสดามูซา บิน อิมรอน แม้ว่ามูซาจะมีความรู้เหนือพวกเขาอยู่หลายด้านก็ตาม บางส่วนของรายงาน และคำอรรถาธิบายโองการอัลกุรอาน เข้าใจได้ว่าเขามีฐานะเป็นนะบี และเป็นหนึ่งในศาสดาที่ถูกส่งมา ซึ่งอัลลอฮฺ ทรงแต่งตั้งเขาขึ้นเพื่อประชาชาติของเขา เพื่อเชิญชวนพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว การเป็นศาสดา ...
  • การใช้ชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ เป็นชีวิตอย่างไร? มีความขัดแย้งกับชีวิตการเป็นอยู่ทั่วไปทางโลกหรือไม่?
    9865 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/01/23
    ถ้าหากพิจารณาอัลกุรอานแล้วได้ถามอัลกุรอานว่าเราได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร? คำตอบของอัลกุรอานคือเรามิได้สร้างมนุษย์และญินขึ้นมาเพื่อการใดเว้นเสียแต่เพื่อการอิบาดะฮฺ"وَ ما خَلَقْتُ الْجِنَّ وَ الْإِنْسَ إِلَّا لِیَعْبُدُونِ" อิบาดะฮฺ
  • วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً (อัลมุซซัมมิล: 5) หมายถึงอะไร?
    9122 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/18
    วจนะอันหนักอึ้งในโองการ إِنَّا سَنُلْقِی عَلَیْکَ قَوْلاً ثَقِیلاً หมายถึงกุรอาน แม้ว่านักอรรถาธิบายจะตีความคำว่าวจนะอันหนักอึ้งแตกต่างกันไปตามแต่ละแง่มุมของโองการ แต่สันนิษฐานว่าความเป็นวจนะอันหนักอึ้ง (อันหมายถึงกุรอานอย่างมิต้องสงสัย)  เกิดจากแง่มุมต่างๆอันได้แก่ ความหนักอึ้งในแง่เนื้อหาโองการ ในแง่การแบกรับด้วยหัวใจ ในแง่การเผยแพร่คำสอน ในแง่การวางแผนและปฏิบัติ ฯลฯ ...
  • อิบนิอะเราะบีมีทัศนะเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไรบ้าง?
    7162 تاريخ بزرگان 2554/07/16
     หากได้ศึกษาผลงานของอิบนิอะเราะบีก็จะทราบว่าเขามีความคิดเห็นเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดี(อ.)อย่างไร อิบนิอะเราะบีกล่าวไว้ในหนังสือ“ฟุตูฮาตอัลมักกียะฮ์”บทที่ 366 (เกี่ยวกับกัลญาณมิตรและมุขมนตรีของอิมามมะฮ์ดีในยุคสุดท้าย)ว่า“อัลลอฮ์ทรงกำหนดไว้ซึ่งตัวแทนซึ่งยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเผยกายในยุคสมัยที่โลกนี้คราคร่ำไปด้วยการกดขี่และอบายมุขท่านจะเติมเต็มความยุติธรรมแก่โลกทั้งผองและแม้ว่าโลกนี้จะเหลืออายุขัยเพียงวันเดียวอัลลอฮ์ก็จะขยายวันนั้นให้ยาวนานจนกว่าท่านจะขึ้นปกครองท่านสืบเชื้อสายจากท่านรอซู้ล(ซ.ล.) และฮุเซนบินอลี(อ.)คือปู่ทวดของท่าน”อิบนิอะเราะบีมีตำราเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “อัลวิอาอุ้ลมัคตูมอะลัซซิรริลมักตูม”ซึ่งเนื้อหาในนั้นล้วนเกี่ยวกับอิมามมะฮ์ดีในฐานะผู้ปกครองเหนือเงื่อนไขใดๆท่านสุดท้ายและยังกล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงการเผยกายของท่านอีกด้วยทัศนะของอิบนิอะเราะบีมีส่วนคล้ายคลึงชีอะฮ์เป็นอย่างยิ่งดังที่เขายืนยันว่า“ท่านมะฮ์ดี(อ.)คือบุตรของท่านฮะซันอัลอัสกะรี(อ.) ถือกำเนิดกลางเดือนชะอ์บานในปี255ฮ.ศ. และท่านจะยังมีชีวิตอยู่ตราบจนท่านนบีอีซาเข้าร่วมสมทบกับท่าน”นอกจากนี้อิบนิอะเราะบียังเชื่อว่าอิมามมะฮ์ดีอยู่ในสถานะผู้ปราศจากบาปกรรมและเชื่อว่าความรู้ของอิมามมะฮ์ดี(อ.)ได้รับมาจากการดลใจของพระองค์. ...
  • อลี บิน ฮุเซน ในประโยค“اَلسَّلامُ عَلَى الْحُسَیْنِ وَ عَلى عَلِىِّ بْنِ الْحُسَیْنِ و” หมายถึงใคร?
    7716 تاريخ بزرگان 2554/07/16
    หากพิจารณาจากดุอาตะวัซซุ้ล บทศอละวาตแด่อิมาม บทซิยารัต กลอนปลุกใจ และฮะดีษต่างๆที่กล่าวถึงอิมามซัยนุลอาบิดีนและท่านอลีอักบัรจะพบว่า ชื่อ“อลี บิน ฮุเซน”เป็นชื่อที่ใช้กับทั้งสองท่าน แต่หากพิจารณาถึงบริบทกาลเวลาและสถานที่ที่ระบุในซิยารัตอาชูรอ อันกล่าวถึงวันอาชูรอ กัรบะลา และบรรดาชะฮีดในวันนั้น กอปรกับการที่มีสมญานาม“ชะฮีด”ต่อท้ายคำว่าอลี บิน ฮุเซนในซิยารัตวาริษ ซิยารัตอาชูรอฉบับที่ไม่แพร่หลาย และซิยารัตมุฏละเกาะฮ์ ทำให้พอจะอนุมานได้ว่า อลี บิน ฮุเซนในที่นี้หมายถึงท่านอลีอักบัรที่เป็นชะฮีดที่กัรบะลาในวันอาชูรอ ...
  • วะฮฺยูคืออะไร ประทานลงมาแก่ศาสดาอย่างไร
    21726 อัล-กุรอาน 2553/10/21
    วะฮฺยู (วิวรณ์) "ในเชิงภาษาความถึง การบ่ชี้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่เป็นชนิดหนึ่งของคำ หรือเป็นรหัสหรืออาจเป็นเสียงอย่างเดียวปราศจากการผสม หรืออาจเป็นการบ่งชี้และสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันของคำนี้ในพระคัมภีร์กุรอาน ทำให้เราได้พบหลายประเด็นที่สำคัญ : อันดับแรก วะฮฺยูไม่ได้เฉพาะพิเศษสำหรับมนุษย์เท่านั้น ทว่าหมายรวมถึงพืช สัตว์ และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นด้วย .... (วะฮฺยู เมื่อสัมพันธ์ไปยังสิ่งมีชีวิตก็คือ การชี้นำอาตมันและสัญชาติญาณ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการชี้นำในเชิงตักวีนีของพระเจ้า เพื่อชี้นำพวกเขาไปยังเป้าหมายของพวกเขา) แต่ระดับชั้นที่สูงที่สุดของวะฮฺยู เฉพาะเจาะจงสำหรับบรรดาศาสดา และหมู่มวลมิตรของพระองค์เท่านั้น ซึ่งจุดประสงค์ในที่นี้หมายถึง การดลความหมายนบหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) หรือการสนทนาของพระเจ้ากับท่านเหล่านั้น บทสรุปก็คือโดยหลักการแล้วการดลอื่นๆ ...
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    7288 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7732 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60530 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58115 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42651 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    40018 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39267 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34389 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28452 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28376 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28296 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26233 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...