การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
17334
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2553/10/11
 
รหัสในเว็บไซต์ fa310 รหัสสำเนา 10182
คำถามอย่างย่อ
อัล-กุรอาน, คือปาฏิหาริย์สุดท้ายที่พระเจ้าทรงประทานมา และความมหัศจรรย์ของ อัลกุรอานคืออะไร ?
คำถาม
อัล-กุรอาน, คือปาฏิหาริย์สุดท้ายที่พระเจ้าทรงประทานมา และความมหัศจรรย์ของ อัลกุรอานคืออะไร ?
คำตอบโดยสังเขป

สำหรับความมหัศจรรย์ของกุรอาน ถูกอธิบายไว้ 3 ลักษณะ : มหัศจรรย์ด้านวาจา, มหัศจรรย์ในแง่ของเนื้อหา และมหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา

1) มหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอานถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน

. มหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ :

วิธีการสาธยายของอัลกุรอาน เป็นไปในลักษณะที่ไม่มีมนุษย์คนใด แม้แต่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) ก็ไม่อาจเทียบเท่าได้ ด้วยเหตุนี้บรรดานักวิชาการจึงกล่าวว่า จากการแสดงความเป็นห่วงเป็นใย ของบางคนที่ห้ามไม่ให้มีการบันทึกฮะดีซของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) เนื่องจากเกรงว่าจะสับสนกับอัลกุรอานนั้น เป็นเหตุผลที่ไม่อาจยอมรับได้

. มหัศจรรย์ด้านตัวเลข :

ทุกวันนี้, เนื่องจากความก้าวหน้าทางวิชาการ และการพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับสูง ได้พยายามแสดงความสัมพันธ์กัน ระหว่างาเลขหลักพิเศษกับคำและตัวอักษรของอัลกุรอาน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ในความสัมพันธ์ดังกล่าว ที่จะเกิดขึ้นในคำพูดของมนุษย์

2) มหัศจรรย์ในแง่ของเนื้อหาสามารถอธิบายได้หลายลักษณะกล่าวคือ :

. ไม่มีความขัดแย้งกันในอัลกุรอาน

. ข่าวลึกลับที่เกี่ยวข้องกับบางคน หรือบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค. วิทยาการและความรู้ของอัล-กุรอาน ซึ่งอัลกุรอานโอบอุ้มเอาความรู้และวิชาการศาสตร์ต่างๆ เอาไว้ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดผู้คนในสมัยนั้นก็ไร้ความสามารถในการกระทำดังกล่าว ศาสตร์เหล่านั้นครอบคลุมประเด็นที่ลุ่มลึกด้านเอรฟาน ปรัชญา วิทยปัญญา เหตุผลนิยม และอื่นๆ ...

จ. ความไร้สามารถในการสร้างความเสียหายวิชาการในอัลกุรอาน จริงอยู่แม้ว่าวิชาการของอัลกุรอาน จะผ่านมาหลายศตวรรษแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงยืนหยัดอยู่ในที่ของตนอย่างมั่นคง

3) มหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่เป็น ดังนั้น ท่านจะสามารถนำเอาอัลกุรอาน มาสอนคนบนคราบสมุทรอาหรับ ซึ่งไร้วัฒนธรรมและการศึกษาด้วยตัวของท่านเองได้อย่างไร

คำตอบเชิงรายละเอียด

ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอาน ด้านต่างๆ ได้ถูกอธิบายไว้แล้ว[1] ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้ดังนี้

1) มหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอาน

2) ความมหัศจรรย์ด้านเนื้อหาของอัลกุรอาน

3) ความมหัศจรรย์ของกุรอาน ด้านผู้นำมาเผยแผ่

1-1 ความมหัศจรรย์ด้านวาจาของอาน :

ความมหัศจรรย์ด้านวาจาของกุรอาน สามารนำเสนอได้ 2 วิธี กล่าวคือ: ความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ และความมหัศจรรย์ด้านตัวเลข

การวิพากษ์เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ของอัลกุรอาน เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่อาหรับนับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ซึ่งได้รับความสนใจและความเห็นพร้องต้องกัน เกือบจะทุกนิกายในอิสลาม แน่นอน บางคนนั้น ถือว่าความมหัศจรรย์ของ อัลกุรอานอยู่ในภารกิจ เช่น ; ความเป็นระเบียบ รูปแบบ และวิธีการสาธยายของอัลกุรอาน พวกเขากล่าวว่า หนึ่งในสาเหตุสำคัญของความมหัศจรรย์คือ ความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ ส่วนอีกด้านหนึ่งคือ ความเป็นระเบียบและรูปแบบในการสาธยายของอัลกุรอาน บางคนกล่าวว่า ความมหัศจรรย์ของกุรอานครอบคลุมทั้งด้านวาทศาสตร์ ความเป็นระเบียบ และรูปแบบของกุรอาน[2] อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าตัวอย่างเหล่านี้ เป็นเพียงการขยายตัวอย่างให้มากขึ้น และทุกกรณีล้วนเกี่ยวข้องและย้อนกลับไปหา วิธีการสาธยายของอัลกุรอานในความมหัศจรรย์ ด้านวาทศาสตร์ทั้งสิ้น

รูปแบบและวิธีสาธยายของอัลกุรอาน, เป็นวิธีการที่ไม่มีมนุษย์ใด แม้แต่บุรุษผู้สูงส่งเฉกเช่นท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ไม่สามารถพูดได้ในเช่นนี้

คำอธิบายว่า : เกี่ยวกับประวัติฮะดีซ อะฮฺลิซซุนนะฮฺมักกล่าวอ้างว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ห้ามการเขียนฮะดีซ และคำกล่าวเหล่านั้น ดังนั้น เกี่ยวกับประเด็นนี้จะขอหยิบยกรายงานฮะดีซจากพวกเขา[3]  เวลานั้นเราจะประสบกับคำถามหนึ่งว่า ทำไมท่านนบีจึงได้ห้ามการบันทึกฮะดีซ ?

หนึ่งในคำตอบที่ได้ตอบเอาไว้ในหมู่ซุนนี ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีกล่าวคือ สาเหตุที่ต้องห้ามไว้ก็คือ เพื่อมิให้อัลกุรอานถูกผสมปนเปกับสิ่งที่ไม่ใช่อัลกุรอาน; หนึ่งในนักวิชาการฝ่ายซุนนีได้หักล้างเหตุผลที่มีชื่อเสียงดังกล่าว โดยกล่าวว่า ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานด้านวาทศาสตร์ คือ ปัจจัยสำคัญที่กีดขวางไม่ให้อัลกุรอานผสมผสานกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อัลกุรอาน[4] แล้วเกี่ยวกับปัญหาที่กล่าวว่า บางที่ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) อาจมีวาทศาสตร์สูงส่ง พอที่จะกล่าวคำพูดเทียบเคียงอัล-กุรอานได้ เขาตอบว่า : สิ่งสำคัญยิ่งสำหรับคำพูดนี้คือ ต้องปฏิเสธความมหัศจรรย์ด้านวาทศาสตร์ของอัลกุรอาน[5]

แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรืองการห้ามของของนบี (ซ็อล ฯ) ที่มิให้มีการจดบันทึกฮะดีซ – ทั้งที่ฮะดีซของศาสดามิใช่คำพูดธรรมดาทั่วไปเป็นคำพูดที่เป็นนูร (รัศมี) ทว่าเป็นรัศมีและได้รับการชี้นำจากพระเจ้าจากโลกที่เร้นลับ และยังสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประชาชาติอิสลามได้อีกต่างหาก –ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นปัญหาพื้นฐานสำคัญของฝ่ายซุนนี ด้วยเหตุนี้เอง นักวิชาการฝ่ายชีอะฮฺ นับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ถือวาข้อกล่าวอ้างที่ว่าท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ห้ามไม่ให้มีการเขียนหรือจดบันทึกฮะดีซนั้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นความจริง

อีกมุมมองหนึ่งปาฏิหาริย์ด้านวาจาของอัลกุรอานและตัวเลข ซึ่งมุมมองดังกล่าวเพิ่งจะได้รับการอธิบายเมื่อเร็ว ๆ นี้ ประกอบกับมีการใช้คอมพิวเตอร์ เกี่ยวกับประเด็นนี้จึงได้รับความสนใจมาก และการพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ในระดับสูง ได้พยายามแสดงความสัมพันธ์กัน ระหว่างาเลขหลักพิเศษกับคำและตัวอักษรของอัลกุรอาน ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ในความสัมพันธ์ดังกล่าว ที่จะเกิดขึ้นในคำพูดของมนุษย์[6]

1-2 ความมหัศจรรย์ด้านเนื้อหาของอัลกุรอาน :

มีการอธิบายในทิศทางที่แตกต่างกัน เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ด้านเนื้อหาของอัลกุรอาน ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังต่อไปนี :

. ไม่มีความขัดแย้งกันในอัลกุรอาน :

โองการอัลกุรอาน กล่าวว่า

أ فلا یتدبرون القرآن و لو کان من عند غیر الله لوجدوا فیه اختلافاً کثیرا[7]

ซึ่งวัตถุประสงค์ของโองการคือประเด็นของความมหัศจรรย์

. ข่าวลึกลับ :

ในอัลกุรอาน มีการกล่าวถึงบางคนหรือบางเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กล่าวคือ ช่วงเวลาหลังจากที่โองการได้ถูกประทานลงมาแล้ว ประหนึ่งว่าเป็นการพยากรณ์เอาไว้ แล้วเหตุการณ์นั้นก็ได้เกิดขึ้นจริง เช่น โองการที่กล่าวว่า

"ا لم* غلبت الروم فى أدنى الارض و هم من بعد غلبهم سیغلبون[8]

ค.ความรู้และวิทยาการของอัลกุรอาน

เนื้อหาสาระของอัลกุรอาน อย่างน้อยที่สุดในเวลานั้นไม่มีมนุษย์คนใดไม่สามารถกระทำได้ แน่นอน แม้แต่ในตอนนี้ยังมีวิชาการและความรู้อันสูส่งที่บรรจุอยู่ในอัลกุรอานแต่มนุษย์ยังไม่รู้จัก และเป็นที่ชัดเจนว่าสิ่งที่มนุษย์ค้นพบนั้นได้ผ่านกระบวนการของท่านนนี (ซ็อล ฯ) และบรรดาอิมาม (อ.) และการชี้นำอย่างต่อเนื่องของพวกเขา ในลักษณะที่ว่าวันนี้บางส่วนที่น่าทึ่งใจจากรายงานฮะดีซคือ รายงานเกี่ยวกับความเชื่อ การวิพากษ์ทางปัญญา เคล็ดลับด้านปรัชญาและเทววิทยา ตลอดจนประเด็นเกี่ยวกับเอรฟาน (การเดินจิตด้านใน) อย่างไรก็ตามสมมุติว่าวันนี้อาจมีผู้รู้จักความรู้และวิชาการทั้งหมดของอัลกุรอานแล้ว และพร้อมอยู่ในมือของมนุษย์ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาไม่สามารถเข้าใจความรู้เหล่านี้ได้ กระนั้นสิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานลดน้อยอะไรลงไปแม้แต่น้อย สำคัญที่สุดคือ การพิสูจน์ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานก็ไม่ได้ใช้วิธีของผู้นำมา ทว่าสามารถกล่าวได้ว่าวิชาการและความรู้อันสูงส่งและลุ่มลึกของอัลกุรอาน มีความยิ่งใหญ่เหนือความคิดของมนุษย์และนักปราชญ์ทุกคนในสมัยนั้น จึงสามารถกล่าวสรุปได้ว่า อัลกุรอาน ไม่ได้มาจากความคิดของมนุษย์อย่างแน่นอน สิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่า อัลกุรอาน เป็นวะฮฺยูที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า

จ. ความไร้สามารถในการสร้างความเสียหายด้านวิชาการในกุรอาน :

หลังจากเวลาได้ผ่านไปแล้วหลายศตวรรษ และหลังจากความก้าวหน้าทางวิชาการของมนุษย์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมของมนุษย์ ก็ยังไม่มีวิชาการและเรื่องราวอันใดในอัลกุรอาน ถูกยกเลิกหรือถูกทำให้เสียหายแต่อย่างใด แน่นอนว่าสิ่งนี้คือบทพิสูจน์ความจริงที่ว่าอัลกุรอานคือ คัมภีร์แห่งฟากฟ้าไม่ได้มาจากมนุษย์

ประเด็นสำคัญ อันเป็นประโยชน์ที่ควรทราบ บางทีอาจจะเป็นไปได้ที่ความรู้บางอย่างของมนุษย์ – เช่น ตรรกะและคณิตศาสตร์ – ซึ่งได้รับการเก็บรวบรวมเอาไว้ และมีเก็บรวบรวมมาตั้งแต่สมัยอดีตจนกระทั่งเป็นมรดกตกทอดมาถึงเรา ก็ยังไม่ได้รับการยกเลิกหรือถูกทำให้เสียหายแต่อย่างใด แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ ประการแรก : ความรู้นี้อยู่ในกรอบของความรู้แรก หรือเป็นธรรมชาติที่แฝงอยู่ในภูมิปัญญาของผู้มีความอัจฉริยะอยู่แล้ว และมีผู้เก็บรวบรวมสิ่งเหล่านี้เข้าด้วยกัน ซึ่งในความเป็นจริงเขาไม่ได้เป็นผู้นำมา ประการที่สอง : หนังสือต่างๆ ที่มนุษย์ได้เขียนขึ้นมาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับความรู้อันเฉพาะเจาะจงเพียงด้านเดียว หรือประเด็นพิเศษอันเฉพาะเท่านั้น ขณะที่คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญที่สุดในความบรรเจิดแห่งวิชาการและความรู้ของอัลกุรอานคือ ความกว้างไกลและความหลากหลายของประประเด็นต่างๆ บางครั้งคำพูดเดียวแต่แฝงไว้ด้วยเรื่องราวหลายสิบเรื่องด้วยกัน[9]

โดยทั่วไปแล้วสิ่งนี้เป็นอีกหนึ่งในความมหัศจรรย์ ซึ่งความรู้ต่างๆ เหล่านั้นอยู่ในสถานภาพของตน มนุษย์คนใดหรือที่นอกจากจะมีความรู้ในศาสตร์ต่างสาขาที่มีความต่างกันโดยสมบูรณ์ ประกอบกับมีความละเอียดอ่อน และมีการพิจารณาพิเศษด้วยความแม่นยำในการสาธยาย และความหลากหลายของประเด็น –และยังสามารถผสมผสานประเด็นเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี และยังได้รับผลที่แตกต่างกันจากความรู้อันหลากหลายนั้น ในลักษณะที่ว่าทั้งเป้าหมายก็ไม่เสียหาย ความต่อเนื่องก็ไม่ได้สูญเสียไป และที่สำคัญไม่มีผิดพลาดซึ่งได้ดำเนินผ่านมาหลายศตวรรษ นอกจากนั้นยังบริสุทธิ์จากการถูกทำลายอีกต่างหาก สิ่งนี้ไม่ได้ยืนยันถึงความมหัศจรรย์ดอกหรือ

3 ความมหัศจรรย์ในทัศนะของผู้นำอัลกุรอานมา :

ประเด็นนี้ได้รับการวิพากษ์มาตั้งแต่ในอดีตที่ว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) เป็นผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออกและเขียนไม่เป็น ดังนั้น ท่านจะสามารถนำเอาอัลกุรอาน มาสอนคนบนคราบสมุทรอาหรับ ซึ่งไร้วัฒนธรรมและการศึกษาด้วยตัวของท่านเองได้อย่างไร[10]

สิ่งจำเป็นต้องทราบคือ บทวิพากษ์เกี่ยวกับความหัศจรรย์ของอัลกุรอาน แม้ว่าจะเป็นบทวิพากษ์ในวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอัลกุรอานก็ตาม ซึ่งในความเป็นจริงเป็นบทหนึ่งในวิชาเทววิทยาด้วย ด้วยเหตุนี้จะเห็นว่าประเด็นนี้มีวิพากษ์อยู่ในวิชา เทววิทยาด้วย[11]

แหล่ง ศึกษาเพิ่มเติม :

Hadavi เตหะราน Mehdi  มะบานีกะลามีอิจญฺติฮาด, มุอัซซะซะฮฺฟังฮังกี คอเนะฮฺ เครัด กุม พิมพ์ครั้งแรก 1377



[1] ศีกษาเพิ่มเติมได้จาก ซามินี ซัยยิดมุซเฏาะฟา วุญูฮ์ อิฮฺญาซกุรอาน (รวมบทความงามสัมมนาครั้งที่ 2 วิจัยความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับอัล-กุรอาน, ดารุลกุรอาน กุม หน้า 138-178

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม

[3] มะฮฺมูด อบูร็อยยะฮฺ, อัฎวาอ์ อะลัซซุนนะฮฺ อัลมุฮัมมะดียะฮฺ หน้า 42

[4] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 46

[5] อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 47

[6] ,เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ ซีดี ในหัวข้อ “ก็อดร์” ได้ถูกจัดทำขึ้นแล้วโดย ซัยยิดอะลี กอเดรี

[7] “พวกเขาไม่พิจารณาดูอัล-กุรอานบ้างหรือว่า หากอัล-กุรอานมาจากผู้ที่ไม่ใช่อัลลอฮฺแล้ว แน่นอน พวกเขาก็จะพบว่าในนั้นมีความ ขัดแย้งกันมากมาย” (อัลกุรอานบทนิซาอ์ 82)

[8] อะลิฟ ลาม มีม พวกโรมันถูกพิชิตแล้ว ในดินแดนอันใกล้นี้ แต่หลังจากการปราชัยของพวกเขาแล้วพวกเขาจะได้รับชัยชนะ

[9] อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอี กล่าวว่า วิชาการของอัลกุรอานนั้น สามารถนำออกมาได้จากทุกบทของกุรอาน ถ้าเป็นเช่นนั้น นั่นก็หมายความว่าทุกกลุ่มที่อยู่ภายในหนึ่งบท ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของอัลกุรอาน หมายถึงวิชาการทั้งหมดเหล่านั้นได้ถูกอธิบายถึง 114 ครั้งในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน และนี่เป็นความมหัศจรรย์อีกประการหนึ่งของอัลกุรอาน

[10] นักบูรพาคดีบางคนเกี่ยวกับประเด็นนี้กล่าวว่า ท่านศาสดามีความรู้ ท่านไปมาหาสู่ระหว่างนักปราชญ์แห่งศาสนาในอดีต และท่านได้ศึกษากับบุคคลเหล่านั้น ซึ่งเขาได้เขียนอัลกุรอานขึ้นมาบนพื้นฐานของศักยภาพและภูมิปัญญาดังกล่าว แม้ว่าในอัลกุราอนจะกล่าวเรียกเขาว่า อุมมี หมายถึงอ่านไม่ออกเขียนไม่เป็น เนื่องจากเขาไม่มีความคุ้นเคยกับวิชาการของพระเจ้า ไม่ได้หมายความว่าท่านไร้การศึกษา บนคราบสมุทรอาหรับในสมัยนั้นมีบุคคลที่มีความรู้ และข้อมูลต่างๆอยู่มากมายหลายคน ดังนั้น ถ้าเรียกศาสดาว่า อุมมี จึงไม่ได้หมายความว่าท่านไร้การศึกษา หรือไม่มีความรู้ในวิชาการของพระเจ้า และไม่เคยศึกษากับผู้ใดมาก่อน ทว่าจุดประสงค์คือ ท่านเป็นศาสดาของประชาชาติที่อ่านไม่ออกเขียนไม่เป็นต่างหาก หมายถึงไม่มีความรู้ในวิชาการของพระเจ้า อย่างไรก็ตามนักวิชาการทั้งหลายต่างกล่าวว่า นี้เป็นความรู้ที่ไม่มีรากที่มาแต่อย่างใด ทั้งที่กล่าวมา เพื่อต้องการปฏิเสธความมหัศจรรย์ของอัลกุรอานเท่านั้นเอง (ดร. ซุบฮิซอลิฮฺ, อุลูมฮะดีซ วะมุซฏะละฮะฮฺ หน้า 2-3)

[11] ฮาดะวี เตหรานี มะฮฺดี, มะบานีกะลามี อิจญ์ติฮาด หน้า 47-51

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
    7183 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(อ.) ที่มีนามว่ารุก็อยยะฮ์หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอฯลฯแต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้ณซากปรักหักพังในแคว้นชามเราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่มอาทิเช่นก. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(ส.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(อ.) ผู้เป็นพี่ชายนางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่า “โอ้พี่จ๋าโปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิดเพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย”
  • เหตุใดซิยารัตอาชูรอจึงมีการประณามบนีอุมัยยะฮ์แบบเหมารวม “لَعَنَ اللَّهُ بَنى اُمَیَّةقاطِبَةً” คนดีๆในหมู่บนีอุมัยยะฮ์ผิดอะไรหรือจึงต้องถูกประณามไปด้วย?
    6916 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/06/28
    อิสลามสอนว่าไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้าอัลลอฮ์ไม่มีทางลงโทษบุคคลใดหรือกลุ่มใดเนื่องจากบาปที่ผู้อื่นก่อนอกเสียจากว่าเขาจะมีส่วนร่วมหรือพึงพอใจหรือไม่ห้ามปราม กุรอานและฮะดีษสอนว่าสิ่งที่จะเชื่อมโยงบุคคลให้สังกัดในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งคือความคล้ายคลึงกันในแง่ของแนวคิดและวิธีปฏิบัติดังที่กุรอานไม่ถือว่าบุตรชายผู้ดื้อรั้นของนบีนู้ฮ์เป็นสมาชิกครอบครัวท่านทั้งนี้ก็เนื่องจากมีแนวคิดและวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงฉะนั้นบนีอุมัยยะฮ์ที่ถูกประณามในที่นี้หมายถึงผู้ที่มีแนวคิดและวิธีปฏิบัติสอดคล้องกับบรรพบุรุษที่เคยมีบทบาทในการสังหารโหดท่านอิมามฮุเซน(อ.) หรือเคยยุยงต่อต้านสัจธรรมแห่งอิมามัตรวมถึงผู้ที่ละเว้นการตักเตือนเท่านั้นทว่าเชื้อสายบนีอุมัยยะฮ์ที่ไม่มีประวัติด่างพร้อยใดๆย่อมไม่ถูกประณาม ...
  • สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด เป็นจำนวนเท่าไหร่? ทุกวันนี้ค่าเงินดีนารและดิรฮัม, เทียบเท่ากี่ดอลลาร์?
    7819 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/20
    ค่าเงินดิรฮัมและดีนาร เป็นค่าเงินสมัยท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) และอิมามมะอฺซูม (อ.) ซึ่งปัจจุบันภารกิจด้านชัรอียฺและกฎหมายก็ยังใช้อยู่ และปัจจุบันบางภารกิจยังใช้ค่าเงินนั้นอยู่ ดีนาร, คือเหรียญซึ่งทำจากทองคำ ส่วนดิรฮัมทำด้วยเงิน, ดังนั้น ถ้ารู้น้ำหนักทองหรือเงินที่ใช้ทำเหรียญ ดินาร และดิรฮัม ก็จะทำให้เราเข้าใจถึงราคาปัจจุบันของเหรียญทั้งสองทันที, ปกติดินารชัรอียฺ ประมาณ 4/42 กรัม แต่ทัศนะของบางคนกล่าวว่า 4/46 กรัม[1] ดังนั้น ถ้าคิดเทียบอัตราค่าทองและเงินในปัจจุบัน ก็สามารถกำหนดราคาทองคำและเงิน โดยคำนวณเป็นเงินดอลลาร์ได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับภารกิจบางอย่าง ซึ่งอยู่ในฐานะของ สินไหมชดเชยการฆ่าผิดพลาด จำเป็นต้องจ่ายออกไปเป็นดิรฮัมและดินาร ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายกรณีดังนี้ : 1.ถ้าหากผู้ตายเป็นชาย เป็นมุสลิม ...
  • เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
    6064 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/17
    ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลาพวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้นและจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่านและเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเองอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่งเนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(
  • กรุณาแจกแจงความสำคัญของฮะดีษกิซาอ์
    8745 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    ฮะดีษกิซาอ์ที่ปรากฏในตำราฮะดีษและหนังสือมะฟาตีฮุลญินานของเชคอับบาสกุมีมีความสำคัญเป็นพิเศษในแง่อิมามัตและอิศมัต(ภาวะไร้บาป)ตำแหน่งอิมามและวิลายะฮ์ของอะฮ์ลุลบัยต์ได้รับการพิสูจน์จากเบาะแสในฮะดีษบทนี้เนื่องจากกริยาและวาจาของท่านนบี(ซ.
  • บรรดาเชลยแห่งกัรบะลาอฺมุฮัรรอม ได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺไปยังเมืองชามวันอะไร?
    6709 تاريخ کلام 2554/06/22
    ตามรายงานที่ปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และมะกอติล, กองคาราวานเชลยแห่งกัรบะลาอฺได้เคลื่อนออกจากกัรบะลาอฺในวันที่ 11 เดือนมุฮัรรอมและวันที่ 12 เดือนมุฮัรรอมได้มาถึงเมืองกูฟะฮฺและเคลื่อนออกจากเมืองกูฟะฮฺไปยังเมืองชามในวันที่ 19 เดือนมุฮัรรอมและถึงเมืองชามในวันที่ 1 เดือนเซาะฟัร[1]
  • แต่ละเมืองสามารถมีนมาซวันศุกร์ได้เพียงแห่งเดียวไช่หรือไม่?
    6009 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/11
    ต่อข้อคำถามดังกล่าวบทบัญญัติศาสนาให้ถือระยะห่างระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งเป็นเกณฑ์.บรรดามัรญะอ์ระดับสูงระบุว่า: ระยะห่างหนึ่งฟัรสัค(6กม.) ถือเป็นระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนมาซวันศุกร์สองแห่งหากมีการนมาซวันศุกร์สักแห่งแล้วไม่ควรมีนมาซวันศุกร์แห่งอื่นภายในรัศมีหนึ่งฟัรสัคอีกฉะนั้น การนมาซวันศุกร์สองแห่งที่เว้นระยะห่างหนึ่งฟัรสัคแล้วถือว่าถูกต้องทั้งสองแห่ง. อนึ่ง พิกัดที่ใช้วัดระยะห่างในที่นี้คือสถานที่จัดนมาซวันศุกร์มิได้วัดจากเขตเมือง เมืองใหญ่ที่มีรัศมีหลายฟัรสัคจึงสามารถจัดนมาซวันศุกร์ได้หลายแห่ง.[1]แต่หากเมืองใดมีการนมาซวันศุกร์สองแห่งโดยเว้นระยะห่างไม่ถึงหนึ่งฟัรสัค, ที่ใดที่เริ่มช้ากว่าให้ถือว่าเป็นโมฆะ แต่หากทั้งสองแห่งกล่าวตักบีเราะตุลเอียะฮ์รอมพร้อมกันให้ถือว่าทั้งสองเป็นโมฆะ.
  • ระหว่างการกระทำกับผลบุญที่พระองค์จะทรงตอบแทนนั้น มีความสอดคล้องกันหรือไม่?
    7192 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/18
    การสัญญาว่าจะมอบผลบุญให้อย่างที่กล่าวมามิได้ขัดต่อความยุติธรรมหรือหลักดุลยภาพระหว่างการกระทำกับผลบุญแต่อย่างใดเพราะหากจะนิยามความยุติธรรมว่าคือ"การวางทุกสิ่งในสถานะอันเหมาะสม"ซึ่งในที่นี้ก็คือการวางผลบุญบนการกระทำที่เหมาะสมก็ต้องเรียนว่ามีความเหมาะสมเป็นอย่างดีเนื่องจาก ก. จุดประสงค์ของฮะดีษที่อธิบายผลบุญเหล่านี้คือการเน้นย้ำถึงความสำคัญของอิบาดะฮ์ที่กล่าวถึงมิได้ต้องการจะดึงฮัจย์หรือญิฮาดลงต่ำแต่อย่างใดซ้ำยังถือว่าฮะดีษประเภทนี้กำลังยกย่องการทำฮัจย์หรือญิฮาดทางอ้อมได้อีกด้วยเนื่องจากยกให้เป็นมาตรวัดอิบาดะฮ์ประเภทอื่นๆ
  • มีวิธีใดบ้างในการชำระบาป
    10269 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    วิธีแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮ์มีหลายวิธีด้วยกันอาทิเช่น1.เตาบะฮ์หรือการกลับตนเป็นคนดี (ตามเงื่อนไขที่กำหนด)2. ประกอบกุศลกรรมที่ยิ่งใหญ่อันจะสามารถลบล้างความผิดบาปได้3. สงวนใจไม่ทำบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับการผ่อนปรนบาปเล็ก4. อดทนต่ออุปสรรคยากเข็ญในโลกนี้รวมทั้งการชำระโทษในโลกแห่งบัรซัคและทนทรมานในการลงทัณฑ์ด่านแรกๆของปรโลก
  • ต้องอ่านดุอาเป็นภาษาอรับจึงจะเห็นผลใช่หรือไม่?
    6738 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ไม่จำเป็นจะต้องอ่านดุอาตามบทภาษาอรับเพราะแม้ดุอากุนูตในนมาซก็อนุญาตให้กล่าวด้วยภาษาอื่นได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านและพยายามครุ่นคิดในบทดุอาภาษาอรับที่บรรดาอิมามได้สอนไว้ทั้งนี้ก็เนื่องจากเหตุผลที่ว่า:ดังที่กุรอานคือพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ใช้สนทนากับมนุษย์ดุอาที่บรรดาอิมาม(อ.)สอนเราไว้ก็คือบทเอื้อนเอ่ยที่มนุษย์วอนขอต่ออัลลอฮ์ดังที่ดุอาได้รับการเปรียบว่าเป็น“กุรอานที่เหิรขึ้นเบื้องบน” นั่นหมายความว่าดุอาเหล่านี้มีเนื้อหาลึกซึ้งแฝงเร้นอยู่ดังเช่นกุรอานและเนื้อหาเหล่านี้จะได้รับการตีแผ่อย่างสมบูรณ์ด้วยภาษาอรับเท่านั้นด้วยเหตุผลดังกล่าวมุสลิมจึงควรเรียนรู้ความหมายของนมาซและดุอาต่างๆเพื่อให้รู้ว่ากำลังเอ่ยขอสิ่งใดจากพระผู้เป็นเจ้าหากทำได้ดังนี้ก็จะส่งผลให้ศาสนกิจของตนอุดมไปด้วยสำนึกทางจิตวิญญาณและจะทำให้สามารถโบยบินสู่ความผาสุกอันนิรันดร์ได้.นอกเหนือปัจจัยดังกล่าวแล้วควรให้ความสำคัญกับปัจจัยอื่นๆด้วยอาทิเช่นเนื้อหาดุอาไม่ควรขัดต่อจารีตที่พระองค์วางไว้ควรศอละวาตแด่นบีและวงศ์วานเสมอผู้ดุอาจะต้องหวังพึ่งพระองค์เท่านั้นมิไช่ผู้อื่นให้บริสุทธิใจและคำนึงถึงความยากไร้ของตนปากกับใจต้องตรงกันยามดุอาเคร่งครัดในข้อบังคับและข้อห้ามทางศาสนากล่าวขอลุแก่โทษต่อพระองค์พยายามย้ำขอดุอามั่นใจและไม่สิ้นหวังในพระองค์.[1][1]มุฮัมมัดตะกีฟัลสะฟี,อธิบายดุอามะการิมุ้ลอัคล้าก,เล่ม1,หน้า ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60109 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57524 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42185 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39331 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38930 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33987 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27939 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27771 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25772 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...