การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
15451
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2550/10/13
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1609 รหัสสำเนา 28161
คำถามอย่างย่อ
เพราะเหตุใดอัลกุรอานจึงเป็นโองการ โองการ? และซูเราะฮฺใดจากซูเราะฮฺต่างๆ ที่ได้ประทานแก่นะบี (ซ็อลฯ) ในครั้งเดียว?
คำถาม
สาเหตุที่อัลกุรอานแบ่งเป็นโองการ โองการคืออะไร? และมีกี่ซูเราะฮฺที่ได้ประทานแยกลงมาแก่นะบี (ซ็อลฯ)
คำตอบโดยสังเขป

อัลกุรอานถูกประทานลงมาในสองลักษณะกล่าวคือ ลงมาคราวเดียวกัน และทยอยลงมา (เป็นโองการ โองการ และเป็นซูเราะฮฺ ซูเราะฮฺ) ขณะเดียวกันได้มีเหตุผลกล่าวไว้ถึงการทยอยประทานลงมา เช่น :

1.เพื่อสร้างความมั่นคงแก่จิตใจของนะบี

2.เพื่อความต่อเนื่องของวะฮฺยู และการทยอยประทานลงมานั้นได้สร้างความอบอุ่นใจแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมทั้งหลาย

3.เพื่อจะได้ทิ้งช่วงในการอ่านแก่ประชาชน เป็นการง่ายดายต่อการจดจำของพวกเขา สามารถคิดใคร่ครวญได้อย่างรอบคอบ และจดจำได้สะดวกขึ้น นอกจากนั้นยังให้ความรู้และการปฏิบัติตามใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

และเนื่องจากว่ามีประเด็นเรื่องราวถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานมากมาย ด้วยเหตุนี้ จำเป็นต้องจัดแบ่งประเด็นเหล่านั้นให้เป็นหมวดหมู่ และหมวดหมู่เหล่านั้น ที่มีความเหมาะสมกันยังถูกจัดไว้ในหมวดเดียวกัน ซึ่งแยกไปจากหมวดอื่น ด้วยเหตุนี้เอง จึงเห็นว่าอัลกุรอานถูกจัดเป็นโองการๆ และเป็นบทแยกต่างหาก

สิ่งจำเป็นต้องกล่าวถึงขอบข่าย การเริ่มต้น และสิ้นสุดของทุกโองการ ได้ถูกกระทำขึ้นตามคำสั่งของท่านนะบี (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับสิ่งนั้นโดยปริยาย แน่นอน อัลกุรอานบางบทอาจมีขนาดเล็ก และถูกประทานลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดต่อไปในคำตอบโดยละเอียด

คำตอบเชิงรายละเอียด

มิต้องสงสัยเลยว่า อัลกุรอานได้ถูกทยอยประทานลงมาแก่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดระยะเวลาภายใน 23 ปี อีกด้านหนึ่งเรากล่าวว่า : “อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอนในคืนเดียว”[1] โองการอธิบายให้เห็นว่า อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในเดือนรอมฎอน ทำนองเดียวกันบางโองการกล่าวว่า "إِنَّا أَنْزَلْناهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ"[2] และโองการที่กล่าวว่า

 "إِنَّا أَنْزَلْناهُ فِي لَيْلَةٍ مُبارَكَةٍ"[3] แสดงให้เห็นว่าอัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาทั้งหมดภายในคืนเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเปรียเทียบกันทั้งสามโองการ ทำให้ประจักษ์ชัดว่า และคืนนั้น คือคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน

รายงานฮะดีซบางบทได้กล่าวเน้นย้ำถึงประเด็นนี้ว่า อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมาในสองลักษณะ กล่าวคือ :

ฮัฟซ์ บิน ฆิยาษ เล่าว่า เขาได้ถามท่านอิมามญะอฺฟัร อัซซอดิก (อ.) ว่า การที่อัลลอฮฺ (ซบ.) ตรัสไว้ในโองการหนึ่งว่า : شَهْرُ رَمَضانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งการประทานกุรอาน ขณะที่อัลกุรอาน ได้ถูกทยอยประทานลงมาตั้งแต่แรก จนจบภายในระยะเวลา 23 ปีนั้นหมายถึงอะไร? กล่าวว่า  : อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด ภายในเดือนรอมฎอน ณ บัยตุลมะอฺมูร หลังจากนั้นได้ทยอยประทานลงมาภายในระยะเวลา 23 ปี[4] ขณะที่รายงานจากฝ่ายอะฮฺลิซซุนนะฮฺ กล่าวถึง บัยตุลอิซซะฮฺ แทนคำว่าบัยตุลมะอฺมูร

ตัฟซีรซอฟียฺ บทนำที่เก้าอธิบายว่า บัยตุลมะอฺมูร หมายถึงหัวใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) : ประหนึ่งว่าวัตถุประสงค์คือ การประทานอัลกุรอานลงมาที่หัวใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสไว้อีกที่หนึ่งว่า "نَزَلَ بِهِ الرُّوحُ الْأَمِينُ عَلى‏ قَلْبِكَ" ได้ประทานรูฮุลอามีนลงมายังหัวใจของเขา โดยทยอยประทานออกจากหัวใจของเขา ไปสู่คำพูดภายในระยะเวลา 23 ปี เวลานั้น ญิบรออีลจะลงมาเพื่ออ่านวะฮฺยูเป็นคำแก่เขา

ส่วนสาเหตุของการทยอยประทานลงมา :

ในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือมุสลิมประสบกับชะตากรรมและปัญหา หรือในการติดต่อระหว่างกัน หรือเพื่อขจัดอุปสรรคปัญหา หรือเพื่อต้องการตอบข้อสงสัยและคำถามต่างๆ ที่ได้ถูกตั้งขึ้นในสมัยนั้น โองการกลุ่มหนึ่งหรืออัลกุรอานบางบทจึงได้ถูกประทานลงมา

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการประทานโองการลงมา โดยทั่วไปเรียกว่า สาเหตุแห่งการประทานลงมา ซึ่งการรู้จักถึงสาเหตุของการประทานลงมาก่อน จะช่วยสร้างความเข้าใจอันลึกซึ้งต่อโองการเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นตลอดระยะเวลา 23 ปี ทั้งก่อนและหลังการอพยพของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) อัลกุรอานจึงได้ถูกทยอยประทานลงมา ตามเหตุการณ์ และความเหมาะสม ซึ่งการประทานลงมาลักษณะนี้ บางครั้งก็เป็นโองการๆ และบางครั้งก็เป็นทั้งซูเราะฮฺ จนกระทั้งถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) หลังจากโองการต่างๆ ที่ถูกประทานลงมา ได้ถูกรวบรวมขึ้นเป็น อัลกุรอาน

การประทานลงมาในลักษณะนี้ ถือเป็นคุณลักษณะพิเศษประการหนึ่งของอัลกุรอาน ที่แตกต่างไปจากคัมภีร์แห่งฟากฟ้าฉบับอื่นๆ เนื่องจากคัมภีร์ ซุฮุฟ ของศาสดาอิบรอฮีม และอัลวาฮฺ ของมูซา (อ.) ได้ประทานลงมาในคราวเดียวกันทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เอง จึงกลายเป็นที่โจมตีของบรรดามุชริกีน อัลกุรอานกล่าวว่า : บรรดาผู้ปฏิเสธกล่าวว่า ทำไมอัลกุรอานจึงไม่ถูกประทานลงมาแก่เขาครั้งเดียวกันทั้งหมด? ได้มีคำตอบแก่พวกเขาว่า “เช่นนั้นแหละ เพื่อเราจะทำให้หัวใจของเจ้ามั่นคงหนักแน่น (ด้วยเหตุนี้) เราจึงได้ทยอยอ่านแก่เจ้า”[5] บางที่พระองค์ตรัสว่า “อัลกุรอาน (โองการ) นี้ เราได้แยกไว้อย่างชัดเจน เพื่อเจ้าจะได้อ่านแก่มนุษย์อย่างช้าๆ และเราได้ทยอยประทานลงมาเป็นขั้นตอน”[6] อัลลามะฮฺ เฏาะบาเฏาะบาอียฺ (รฮ.) อธิบายไว้ในตัฟซีร อัลมีซานถึงประเด็นที่มีค่าอย่างยิ่งว่า : โองการเหล่านี้ นอกจากบริบทแล้วยังได้ครอบคลุมความรู้ทั้งหมดของอัลกุรอาน ซึ่งความรู้เหล่านั้นอยู่ ณ อัลลอฮฺ ในรูปของคำและประโยค ซึ่งนอกจากการทยอยประทานลงมาแล้ว มนุษย์จะไม่เข้าใจความหมาย, ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงต้องทยอยประทานลงมา อันเป็นคุณลักษณะพิเศษอันเฉพาะสำหรับโลกนี้ เพื่อประชาชนจะได้สามารถทำความเข้าใจ และคบคิดสิ่งนั้น อีกทั้งยังสะดวกต่อการท่องจำ ฉะนั้นตามที่กล่าวมา โองการข้างต้นจึงให้ความหมายดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม

« إِنَّا جَعَلْناهُ قُرْآناً عَرَبِيًّا لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ وَ إِنَّهُ في‏ أُمِّ الْكِتابِ لَدَيْنا لَعَلِيٌّ حَكيم‏ »[7]

แท้จริง เราได้ประทานคัมภีร์เป็นกุรอานภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะได้ใช้สติปัญญา แท้จริงอัลกุรอาน อยู่ในแม่บทแห่งคัมภีร์ ณ ที่เรา คือสูงส่งพรั่งพร้อมด้วยวิทยา สิ่งที่กำลังกล่าวถึงคือ วิทยปัญญาของการทยอยประทานลงมาของอัลกุรอาน และความใกล้ชิดระหว่างวิทยปัญญาและการปฏิบัติตามอัลกุรอาน กับการได้รับศักยภาพทั้งหมด[8] ในความก้าวหน้าของประชาชาติ การประทานอัลกุรอาน โดยทยอยลงมาเป็นบทๆ หรือเป็นโองการ ก็เพื่อให้ประศักยภาพทั้งหมดของประชาชน เกิดความก้าวหน้า และพัฒนาด้านวิชาการอันเป็นหลักของความศรัทธา และบทบัญญัติซึ่งถือเป็นหลักในการปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นที่ความเหมาะสมและความพอดีสำหรับปวงมนุษย์ และสิ่งนี้ก็คือ ความใกล้ชิดกันระหว่างวิทยปัญญาของอัลกุรอาน กับการปฏิบัติ เพื่อให้มนุษย์ไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการศึกษาวิชาการ และบทบัญญัติ เขาจะได้รับวิชาการติดต่อกันอันต่ออัน เพื่อว่าจะได้ไม่ประสบปัญหาเฉกเช่นคัมภีร์เตารอต ที่ได้ประทานลงมาในคราวเดียวกัน อันเป็นสาเหตุทำให้ชาวยิวไม่มีการพัฒนาด้านวิชาการ จนกระทั่งว่าถ้าหากอัลลอฮฺ ไม่นำภูเขาชูขึ้นเหนือศีรษะพวกเขา พวกเขาก็ไม่พร้อมที่จะยอมรับความจริง”[9]

ในทำนองเดียวกันสามารถเข้าใจได้จากอัลกุรอาน ถึงวิทยปัญญาของการทยอยประทานอัลกุรอานลงมา เพื่อให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และบรรดามุสลิมมีความรู้สึกว่า ตนได้ร่วมอยู่ในความการุณย์ของพระผู้อภิบาลเสมอ และพวกเขามีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺอย่างแนบแน่น ดังนั้น การที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาอย่างต่อเนื่อง สร้างความอบอุ่นและความมั่นใจ ให้เกิดแก่จิตใจของพวกเขา[10]

ดังนั้น การประทานอัลกุรอานในช่วงเวลาต่างๆ และตามความเหมาะสม และรวมรวมขึ้นเป็นบทต่างๆ ในรูปแบบของคัมภีร์ ซึ่งเรียกว่า “กุรอาน” จำนวนโองการต่างๆ ในแต่ละบทนั้นถือว่าเป็นคำสั่งที่เป็นการกำหนดไว้แล้ว โดยเริ่มต้นจากบทที่เล็กที่สุด (บทเกาษัร ซึ่งมีอยู่ 3 โองการ) จนถึงบทที่ใหญ่ที่สุด (บทบะเกาะเราะฮฺมีทั้งสิ้น 286 โองการ) ซึ่งการรวบรวมโองการและบทนั้น ได้รับคำสั่งอันเฉพาะจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และดำรงอยู่จนถึงปัจจุบันโดยปราศจากการยุ่งเกี่ยว ซึ่งเป็นคำสั่งอันเร้นลับซ่อนอยู่ในนั้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับปาฏิหาริย์ของอัลกุรอาน และมีความเหมาะสมกับโองการเหล่านั้น[11]

ในทำนองเดียวกันเกี่ยวกับวิธีการจัดวางบท จากโองการต่างๆ จำเป็นต้องกล่าวว่า : การเรียบเรียง, ความเป็นระบบและจำนวนโองการในบทต่างๆ ได้ถูกรวบรวมขึ้นในสมัยของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยปฏิบัติไปตามคำสั่งของท่าน อันถือว่าเป็นการกำหนด ซึ่งจำเป็นต้องยอมรับและต้องอ่านไปตามนั้น ในแต่ละบทจะมีบิสมิลลาฮฺ ถูกประทานลงมาตอนต้นของทุกๆ บท และโองการต่างๆ ได้ถูกบันทึกเรียงไว้ตามวาระของการประทานลงมา จนกระทั่งบิสมิลลาฮฺ ถูกประทานลงมาเท่ากับบทใหม่ได้เริ่มต้นแล้ว และนี่เป็นระเบียบทางธรรมชาติของโองการ บางครั้งก็เกิดสิ่งที่ขัดกับธรรมชาติ โดยท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้รับการบ่งชี้จากญิบรออีล เพื่อว่าให้โองการนั้นขัดกับธรรมชาติของความเป็นระเบียบ ในบทอื่น เช่น โองการที่กล่าวว่า [12]« وَ اتَّقُوا يَوْماً تُرْجَعُونَ فيهِ إِلَى اللَّهِ ثُمَّ تُوَفَّى كُلُّ نَفْسٍ ما كَسَبَتْ وَ هُمْ لا يُظْلَمُونَ»  ซึ่งกล่าวว่าเป็นโองการสุดท้ายที่ถูกประทานลงมา แต่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้สั่งให้เอาโองการดังกล่าววางไว้ระหว่างโองการที่กล่าวถึง ดอกเบี้ย และโองการที่กล่าวถึง ดีน ในบทบะเกาะเราะฮฺ โองการที่ 281

ด้วยเหตุนี้ การบันทึกโองการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไปตามระเบียบของธรรมชาติ หรือเป็นไปตามกำหนดด้วยคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าในทุกๆ เมื่อจบเรื่องแล้ว จะเป็นการสิ้นสุดโองการ แล้วกี่มากน้อยแล้วที่เรื่องราวได้จบลงตอนตรงกลางของโองการ และไปต่อเรื่องในโองการอื่นหลังจากนั้น ดังนั้น ไม่ว่าโองการจะสั้นหรือยาวก็มิได้ขึ้นอยู่เรื่องราว สิ่งนี้เป็นคำสั่งที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งอดีตมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้เอง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงมีคำสั่งให้หยุด และไม่

ส่วนบทต่างๆ ที่ได้ถูกประทานลงมาแก่ท่านนะบี (ซ็อลฯ) ในคราวเดียวกัน ประกอบด้วยบท : อัฎฎุฮา, อัลฟาติฮะฮฺ, อิคลาซ, เกาษัร, ตับบัต, บัยยินะฮฺ, นัซรฺ, อันนาส, ฟะลัก, มุรซะลาต, มาอิดะฮฺ, อันอาม, เตาบะฮฺ, มุรสะลาต, ซ็อฟ, อาดียาต, กาฟิรูน,[13]

 


[1] บทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 185, "شَهْرُ رَمَضانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ ".

[2] บทก็อดร์ โองการ 1.

[3] บทอัดดุคอน 3

[4] อัลกาฟียฺ, คัดลอกมาจากตัฟซีรซอฟียฺ, บทนำที่ 9

[5] บทอัลฟุรกอน, 32, กล่าวว่า وَ قالَ الَّذينَ كَفَرُوا لَوْ لا نُزِّلَ عَلَيْهِ الْقُرْآنُ جُمْلَةً واحِدَةً كَذلِكَ لِنُثَبِّتَ بِهِ فُؤادَكَ وَ رَتَّلْناهُ تَرْتيلاً

[6] บทอัลอิสรอ, 106, กล่าวว่า وَ قُرْآناً فَرَقْناهُ لِتَقْرَأَهُ عَلَى النَّاسِ عَلى‏ مُكْثٍ وَ نَزَّلْناهُ تَنْزيلا

[7] บทซุครุฟ, 3, 4

[8] เพื่อความก้าวหน้า และการบรรลุถึงศักยภาพของประชาชน

[9] เฏาะบาเฏาะบาอีย, มุฮัมมัดฮุซัยนฺ, ตัฟซีรมีซานฉบับแปล, เล่ม 13, หน้า 305, 306.

[10] มะอฺริฟัต, มุฮัมมัดฮาดี, อุลูมกุรอาน, กุม, มุอัซเซะเซะ ฟังฮังกี ตัมฮีด, 1380, หน้า 60-61.

[11] อุลูมกุรอาน, เล่มก่อนหน้านี้, หน้า 111

[12] บะเกาะเราะฮฺ 281

[13] อัสรอร,มุซเฏาะฟา,ดอเนสตันนีฮอเยะกุรอาน, ฮะซันซอเดะฮฺ, ซอดิก, กิลีด กุรอาน, หน้า 134.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • การนำเอาเด็กเล็กไปร่วมงานอ่านฟาติฮะฮฺ ณ กุบูร เป็นมักรูฮฺหรือไม่?
    6458 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/17
    การนำเด็กๆ เข้าร่วมในมัจญฺลิซ งานประชุมศาสนา พิธีกรรมทางศาสนา, การนำเด็กๆ ไปมัสญิด, หรือพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในเดือนมุฮัรรอม หรืองานเทศกาลอื่นๆ ทางศาสนา, เช่น เข้าร่วมนมาซอีดฟิฏร์ อีดกุรบาน หรือพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนา เพื่อเป็นการกระตุ้นความรักผูกพันกับศาสนาของพวกเขา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่ง ส่วนการนำเด็กๆ ไปร่วมพิธีอ่านฟาติฮะฮฺ ณ สถานฝังศพ ซึ่งได้ค้นหารายงานจากตำราต่างๆ ด้านฟิกฮฺอิสลามแล้ว ไม่พบรายงานที่ระบุว่าการกระทำดังกล่าวเป็นมักรูฮฺ ถ้าหากมีรายงานหรือเหตุผลอันเฉพาะเจาะจงจากสามีหรือภรรยาของคุณ กรุณาชี้แจงรายละเอียดมากกว่านี้แก่เราเพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าต่อไป ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคำถามของคุณ สามารถกล่าวสรุปได้ดังนี้ : 1.รายงานที่กล่าวถึงผลบุญในการกล่าวแสดงความเสียใจกับเจ้าของงาน และการไปยังสถานฝังศพ เป็นรายงานทั่วไปกว้างๆ แน่นอนย่อมครอบคลุมถึงเด็กและเยาวชนด้วย 2.จากแนวทางการปฏิบัติของรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ...
  • เหตุใดบรรดาอิมาม(อ.)จึงไม่สามารถปกป้องฮะร็อมของตนเองให้พ้นจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้?
    5937 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/13
    นอกจากอัลลอฮ์จะทรงมอบอำนาจแห่งตัชรี้อ์(อำนาจบังคับใช้กฎชะรีอัต)แก่นบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)แล้วพระองค์ยังได้มอบอำนาจแห่งตั้กวีนีอีกด้วยเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้สามารถจะแสดงอิทธิฤทธิ์ต่อสรรพสิ่งในโลกได้อำนาจดังกล่าวยังมีอยู่แม้บุคคลเหล่านี้สิ้นลมไปแล้วทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวแม้อยู่ในอาลัมบัรซัค(มิติหลังมรณะ) อย่างไรก็ดีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้อำนาจดังกล่าวอย่างพร่ำเพรื่อแต่จะใช้อำนาจนี้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของศาสนาของอัลลอฮ์หรือกรณีที่จำเป็นต่อการนำทางมนุษย์เท่านั้นซึ่งต้องไม่ขัดต่อจารีตวิถี(ซุนนะฮ์)ของพระองค์ด้วยอีกด้านหนึ่งการให้เกียรติสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)นับเป็นหนทางที่เที่ยงตรงส่วนการประทุษร้ายต่อสถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นหนทางที่หลงผิดแน่นอนว่าจารีตวิถีหนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ในอันที่จะเลือกระหว่างหนทางที่เที่ยงตรงและหลงผิดด้วยเหตุนี้เองที่บรรดาอิมาม(อ.)ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจพิเศษโดยไม่คำนึงความเหมาะสมยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์เองซึ่งแม้จะทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งแต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจทุกกรณีเห็นได้จากการที่มีผู้สร้างความเสียหายแก่อาคารกะอ์บะฮ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์แต่พระองค์ทรงใช้พลังพิเศษกับกองทัพของอับเราะฮะฮ์เท่านั้นเนื่องจากเขายาตราทัพเพื่อหวังจะบดขยี้กะอ์บะฮ์โดยเฉพาะ ...
  • จะเชื่อว่าพระเจ้าเมตตาได้อย่างไร ในเมื่อโลกนี้มีทั้งสิ่งดีและสิ่งเลวร้าย ความน่ารังเกียจและความสวยงาม?
    8712 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    หากได้ทราบว่าพระองค์ทรงสร้างมนุษย์ให้มีคุณลักษณะที่ดีที่สุดอีกทั้งยังสนองความต้องการของเขาทั้งในโลกนี้และโลกหน้าตลอดจนได้สร้างสรรพสิ่งอื่นๆเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เมื่อนั้นเราจะรู้ว่าพระองค์ทรงมีเมตตาแก่เราเพียงใดส่วนความเมตตาของพระองค์ที่มีต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆก็เข้าใจได้จากการที่พระองค์ทรงประทานชีวิตประทานศักยภาพในการดำรงชีวิตและมอบความเจริญเติบโตให้ด้วยเมตตาอย่างไรก็ดีในส่วนของสิ่งเลวร้ายและอุปสรรคต่างๆนานาที่มีในโลกนั้น
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7545 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    8357 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • บทบาทของผู้เป็นสื่อในการสร้างความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺคืออะไร?
    7540 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    สื่อมีความหมายกว้างมากซึ่งครอบคลุมถึงทุกสิ่งหรือทุกภารกิจอันเป็นสาเหตุนำเราเข้าใกล้ชิดพระผู้อภิบาลได้ถือว่าเป็นสื่อขณะที่โลกนี้วางอยู่บนพื้นฐานของระบบเหตุและผล,สาเหตุและสิ่งเป็นสาเหตุ, ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการชี้นำมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์, ดังเช่นที่ความต้องการทางธรรมชาติของมนุษย์ทั้งหลายบรรลุและดำเนินไปโดยปัจจัยและสาเหตุทางวัตถุ, ความเมตตาอันล้นเหลือด้านศีลธรรมของพระเจ้า, เฉกเช่นการชี้นำทาง, การอภัยโทษ, การสอนสั่ง, ความใกล้ชิดและความสูงส่งของมนุษย์ก็เช่นเดียวกันวางอยู่บนพื้นฐานของระบบอันเฉพาะเจาะจงซึ่งได้ถูกกำหนดสำหรับมนุษย์แล้วโดยผ่านสาเหตุและปัจจัยต่างๆแน่นอนถ้าปราศจากปัจจัยสื่อและสาเหตุเหล่านี้ไม่อาจเป็นไปได้แน่นอนที่มนุษย์จะได้รับความเมตตาอันล้นเหลือจากพระเจ้าหรือเข้าใกล้ชิดกับพระองค์อัลกุรอานหลายโองการและรายงานจำนวนมากมายได้แนะนำปัจจัยและสาเหตุเหล่านั้นเอาไว้และยืนยันว่าถ้าปราศจากสื่อเหล่านั้นมนุษย์ไม่มีวันใกล้ชิดกับอัลลอฮฺได้อย่างแน่นอน ...
  • อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ท่านใดที่อ่านดุอาอฺฟะรัจญฺ?
    9049 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/05/20
    คำว่า “ฟะรัจญฺ” (อ่านโดยให้ฟาเป็นฟัตตะฮฺ) ตามรากศัพท์หมายถึง »การหลุดพ้นจากความทุกข์โศกและความหม่นหมอง«[1] ตำราฮะดีซจำนวนมากที่กล่าวถึงดุอาอฺ และการกระทำสำหรับการ ฟะรัจญฺ และการขยายภารกิจให้กว้างออกไป ตามความหมายในเชิงภาษาตามกล่าวมา ในที่นี้ จะขอกล่าวสักสามตัวอย่างจากดุอาอฺนามว่า ดุอาอฺฟะรัจญฺ หรือนมาซซึ่งมีนามว่า นมาซฟะรัจญฺ เพื่อเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้ : หนึ่ง. ดุอาอฺกล่าวโดย ท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ชื่อว่าดุอาอฺ ฟะรัจญฺ [2]«اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ يَا اللَّهُ ...
  • จะต้องชำระคุมุสกรณีของทุนทรัพย์ด้วยหรือไม่?
    5780 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    ทัศนะของบรรดามัรญะอ์เกี่ยวกับคุมุสของทุนทรัพย์มีดังนี้ ในกรณีที่บุคคลได้จัดหาทุนทรัพยจำนวนหนึ่ง แต่หากต้องชำระคุมุสจะไม่สามารถทำมาหากินด้วยทุนทรัพย์ที่คงเหลือได้ อยากทราบว่าเขาจะต้องชำระคุมุสหรือไม่? มัรญะอ์ทั้งหมด (ยกเว้นท่านอายะตุลลอฮ์วะฮีด และอายะตุลลอฮ์ศอฟี) ให้ทัศนะว่า หากการชำระคุมุสจำนวนดังกล่าวทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ (แม้จะชำระเป็นงวดก็ตาม) ถือว่าไม่จำเป็นต้องชำระคุมุสนั้น ๆ[1] อายะตุลลอฮ์ศอฟีย์และอายะตุลลอฮ์วะฮีดเชื่อว่าจะต้องชำระคุมุส แต่สามารถเจรจาผ่อนผันกับทางผู้นำทางศาสนา[2] ท่านอายะตุลลอฮ์นูรี, ตับรีซี, บะฮ์ญัตให้ทัศนะไว้ว่า ในส่วนของทุนทรัพย์ที่จำเป็นสำหรับการทำมาหากินนั้น ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุส แต่หากมากกว่านั้น ถือว่าจำเป็นที่จะต้องชำระ[3] แต่ทว่าหากซื้อที่ดินนี้ด้วยกับเงินที่ชำระคุมุสแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสได้ผ่านพ้นไปแล้ว หรือได้ซื้อหลังจากปีคุมุสและขายไปก่อนที่จะถึงปีคุมุสหน้า ก็ไม่จำเป็นจะต้องชำระคุมุสแต่อย่างใด ทว่าหากได้กำไรจากการซื้อขายที่ดินดังกล่าว หากหลงเหลือจนถึงปีคุมุสถัดไปจำเป็นที่จะต้องชำระคุมุสด้วย
  • เพราะเหตุใดชีอะฮฺจึงตั้งชื่อตนเองว่า อับดุลฮุซัยนฺ (บ่าวของฮุซัยนฺ) หรืออับดุลอะลี (บ่าวของอะลี) และอื่นๆ? ขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า : จงนมัสการและเป็นบ่าวเฉพาะข้าเท่านั้น
    7755 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/07/16
    1.คำว่า “อับดฺ” ในภาษาอาหรับมีหลายความหมายด้วยกัน : หนึ่ง หมายถึงบุคคลที่ให้การเคารพ นอบน้อม และเชื่อฟังปฏิบัติตาม, สอง บ่าวหรือคนรับใช้ หรือผู้ถูกเป็นเจ้าของ 2. สถานภาพอันสูงส่งของบรรดาอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์นั้นเองที่เป็นสาเหตุทำให้บรรดาผู้เจริญรอยตาม ต้องการเปิดเผยความรักและความผูกพันที่มีต่อบรรดาท่านเหล่านั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรหลานว่า “อับดุลฮุซัยนฺ หรืออับดุลอะลี” หรือเรียกตามภาษาฟาร์ซีย์ว่า ฆุล่ามฮุซัยนฺ ฆุล่ามอะลี และ ...อื่นๆ 3.คนรับใช้ นั้นแน่นอนว่ามิได้หมายถึงการช่วยเหลือทางโลก หรือเฉพาะการดำรงชีพในแต่ละวันเท่านั้น, ทว่าสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าและมีค่ามากไปกว่านั้นคือ การฟื้นฟูแนวทาง แบบอย่าง และการเชื่อฟังผู้เป็นนายั่นเอง, เนื่องจากแม้ร่างกายของเขาจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว, แต่จิตวิญญาณของเขายังมีชีวิตและมองดูการกระทำของเราอยู่เสมอ 4.วัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์คำว่า “อับดฺ” ในการตั้งชื่อตามกล่าวมา (เช่นอับดุลฮุซัยนฺ) เพียงแค่ความหมายว่าต้องการเผยให้เห็นถึงความรัก และการเตรียมพร้อมในการรับใช้เท่านั้น ถ้าเป็นเพียงเท่านี้ถือว่าเหมาะสมและอนุญาต, ...
  • เหตุใดจึงตั้งชื่อซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ด้วยนามนี้?
    7351 วิทยาการกุรอาน 2555/03/18
    ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ถูกตั้งชื่อด้วยนามนี้เนื่องจากในซูเราะฮ์นี้ได้มีการกล่าวถึงเรื่องราวของบะก็อร(วัว)ของบนีอิสรออีลระหว่างอายะฮ์ที่ 67-71 หลายต่อหลายครั้ง เช่น وَ إِذْ قالَ مُوسى‏ لِقَوْمِهِ إِنَّ اللَّهَ يَأْمُرُكُمْ أَنْ تَذْبَحُوا بَقَرَةً قالُوا أَ تَتَّخِذُنا هُزُواً قالَ أَعُوذُ بِاللَّهِ أَنْ أَكُونَ مِنَ الْجاهِلين‏"؛ (และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า แท้จริงอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงบัญชาแก่พวกท่านให้เชือดวัวตัวเมียตัวหนึ่ง (เพื่อนำชิ้นอวัยวะของวัวไปแตะศพที่ไม่สามารถระบุตัวผู้สังหารได้ เพื่อให้ศพฟื้นคืนชีพและชี้ตัวผู้ต้องสงสัย อันเป็นการยุติความขัดแย้งในสังคมยุคนั้น) พวกเขากล่าวว่า “ท่านจะถือเอาพวกเราเป็นที่ล้อเล่นกระนั้นหรือ?” มูซากล่าวว่า “ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ให้พ้นจากการที่ฉันจะเป็นพวกโง่เขล่าเบาปัญญา)[1] และเนื่องจากประเด็นดังกล่าวมีความสำคัญต่อการขัดเกลาของมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง จึงได้ตั้งชื่อด้วยนามนี้

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60122 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57558 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42211 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39359 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38942 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33998 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28013 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27959 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27790 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25791 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...