การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7643
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/01/23
 
รหัสในเว็บไซต์ fa12049 รหัสสำเนา 21059
คำถามอย่างย่อ
สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
คำถาม
สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร? และใครคือผู้เปิดประตูการอิจญฺติฮาดในซุนนียฺ อีกครั้งหนึ่ง?
คำตอบโดยสังเขป

วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลาม หลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลาม ปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) แล้ว ได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้ว,กล่าวคือ วิชาฟิกฮฺที่เกิดหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ) ซึ่งได้นำมาจากอะฮฺลุลบัยตฺของท่าน และอีกฝ่ายหนึ่งได้นำมาจากบรรดาเซาะฮาบะฮฺ (สหาย) และตาบิอีนของท่านศาสดา

ประกอบกับความก้าวหน้าด้านฟิกฮฺได้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และปัญหาด้านฟิกฮฺก็มีมากขึ้น ซึ่งหลังจากอิสลามได้เปิดประตูแล้ว ก็ได้เริ่มเข้าสู่ปัญหาใหม่ๆ มีการค้นคว้าละเอียดมากยิ่งขึ้น และวิชาการด้านฟิกฮฺ, กล่าวคือนับจากเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนถึงช่วงต้นๆ ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรษที่ 4 วิชาการฟิกฮฺฝ่ายอะฮฺลุซซุนนะฮฺ ได้เจริญไปถึงขึ้นสูงสุด และได้มีกาจัดตั้งสำนักคิดที่ 4 ฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ. การอฮิจญฺติฮาดมุฏลัก (หมายถึงการอิจญฺติฮาดในปัญหาฟิกฮฺทั้งหมด โดยมิได้คำนึงถึงสำนักคิดใดเป็นการเฉพาะ) จนกระทั่งปี 665 ในหมู่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺได้เจริญถึงขีดสุด, แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการวิชาการฟิกฮฺฝ่ายซุนนียฺ ได้ปิดประตูลงซึ่งนอกเหนือจากสำนักคิดทั้งสี่แล้ว สำนักคิดอื่นๆ ได้ปิดตัวลงโดยสิ้นเชิงหรือมิได้ถูกรู้จักอย่างเป็นทางการอีกต่อไป และการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้พิพากษา อิมามญุมุอะฮฺ และผู้ออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) ได้ปฏิบัติตามและตกอยู่ในการควบคุมดูแลจากหนึ่งในสำนักคิดทั้งสี่ที่มีชื่อเสียง ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ได้มีเสียงมาจากฝ่ายอะฮฺลิซุนนะฮฺ ซึ่งมีใจความคร่าวว่าจะมีการนำเอาหลักอิจญฺติฮาดกลับคืนสู่ การอิจญติฮาดมุฏลักอีกครั้งหนึ่ง, พวกเขาเคยทำการอิจญฺติฮาดในสำนักคิดหนึ่ง ขณะนี้จะมีการอิจญฺติฮาดในระหว่างสำนักคิดทั้งสี่ ประกอบกับปัจจุบันนี้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในชีวิตมนุษย์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการขอให้มีการอิจญฺติฮาดมุฏลักเกิดขึ้นมาใหม่

คำตอบเชิงรายละเอียด

การจัดตั้งบทบัญญัติได้เริ่มต้นในยุคสมัยของท่านศาสดา (ซ็อล ) และได้ดำเนินต่อมาจนสิ้นอายุขัยของท่าน. ในมุมมองของชีอะฮฺ, นั้นยอมรับว่าหลังจากท่านศาสดา (ซ็อล ) การอธิบายหรือการตีความต่างๆ เกี่ยวกับแบบฉบับ (ซุนนะฮฺ) ของท่านศาสดา การอธิบายความบทบัญญัติและปัญหาด้านฟิกฮฺ และปัญหาอื่นที่นอกเหนือจากฟิกฮฺ, เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) บุตรหลานสนิทของท่านศาสดา แต่ในมุมมองของฝ่ายซุนนะฮฺ, เซาะฮาบะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อล ) ต่างหากที่มีหน้าที่รับผิดชอบการชี้นำศาสนาและประชาชน

การอธิบายความบทบัญญัติและหลักอุซูลฟิกฮฺ ที่นำมาจากซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อล ) จนถึงประมาณ 40 ปีเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของบรรดาเซาะฮาบะฮฺ, และหลังจากปีนั้นไปแล้วยังมีเซาะฮาบะฮฺบางท่านยังมีชีวิตอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้วบรรดาฟุกาฮา (นักปราชญ์) เป็นผู้อื่นมิใช่เซาะฮาบะฮฺ. หลังจากนั้นหน้าที่ความรับผิดชอบตกเป็นของบรรดาตาบิอีน จนกระทั่งสิ้นฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 1 และได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่งเริ่มต้นฮิจญฺเราะฮฺ ศตวรรษที่ 2

ช่วงปรากฏสำนักคิดด้านฟิกฮฺของซุนนะฮฺ

ฟิกฮฺของฝ่ายซุนนะฮฺ หลังจากไม่ยอมรับสภาวะการเป็นผู้นำและอิมามะฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) แล้ว พวกเขาก็ได้เลือกแนวทางที่มิใช่แนวทางของลูกหลานของท่านเราะซูล (ซ็อล ) ในปัญหาด้านฟิกฮฺนั้น พวกเขาได้สอบถามและปฏิบัติตามเหล่าบรรดาเซาะฮาบะฮฺและตาบิอีน.

เนื่องจากการใช้ประโยชน์สูงสุดด้านนิติ (ฟิกฮฺ) สืบเนื่องจากปัญหามีมากยิ่งขึ้น, และหลังจากอิสลามได้เปิดตัวแล้วก็ได้เข้าไปสู่ปัญหาใหม่ๆ และมีการค้นคว้าที่ละเอียดยิ่งขึ้น วิชาการด้านฟิกฮฺได้ขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว กล่าวคือเริ่มต้นจากฮิจญฺเราะฮฺศตวรรษที่ 2 จนกระทั่งช่วงเริ่มต้น ฮิจญฺเราะฮฺศตรวรรที่ 4 ฟิกฮฺของซุนนะฮฺ ได้เติบโตจนถึงจุดอิ่มตัว และได้มีการจัดตั้งสำนักคิดทั้งสี่ขึ้นมาในช่วงนี้เอง

การก่อตัวของสำนักคิดต่างๆ ด้านนิติในหมู่ของซุนนะฮฺ, เป็นเสมือนปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่ว่าปัญหาด้านนิติมีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความต้องการของสังคมอิสลาม และมุสิลมใหม่ที่มีต่อปัญหาบทบัญญัติก็มีมากยิ่งขึ้น แน่นอนในการขยายตัวของสำนักคิดเหล่านี้ บางสำนักคิดก็มาจากอุบายทางการเมือง โดยมีเจตนาที่จะขจัดหรือขับไล่ฟิกฮฺของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) ออกไป ซึ่งเราไม่สามารถมองข้ามปัญหาเหล่านี้ได้ เนื่องจากการที่รัฐบาลของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) มิได้ปกครองอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้เกิดความว่างเปล่าด้านฟิกฮฺเกิดขึ้น แม้ว่าจะมีบรรดาฟุกาฮาเข้ามาเติมเต็มช่องว่างนั้นก็ตาม

สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ในตอนแรกสำนักคิดด้านนิติ (ฟิกฮฺ) มิได้จำกัดอยู่เฉพาะสี่สำนักคิดเท่านั้น, ทว่ามีกลุ่มนักปราชญ์ฝ่ายซุนนียฺอีกจำนวนมากได้จัดตั้งสำนักคิดของตนขึ้นมา, และแต่ละสำนักคิดเหล่านั้นก็ได้รับการสนับสนุน และมีผู้ปฏิบัติตามไปตามสถานภาพของเขตภูมิศาสตร์ ซึ่งจำนวนสำนักคิดเหล่านั้นทีสามารถยกตัวอย่างได้ เช่น สำนักคิดของ ฮะซัน บัศรียฺ (..ที่ 21-110), สำนักคิด เอาซาอียฺ (.. 88-157), สำนักดาวูด บิน อะลี เอซฟาฮานียฺ (202-270) ซึ่งมีชื่อเสียงไปตามเปลือกนอก และสำนักคิดมุฮัมมัด บิน ญะรีร ฏ็อบรียฺ (224-310)[1]

แต่เมื่อพิจารณาบางปัญหาแล้ว, สำนักคิดเหล่านี้ก็ย้อนกลับไปสู่สำนักคิดทั้งสี่นั่นเอง

สาเหตุการผูกขาดด้านนิติศาสตร์ของซุนนะฮฺไว้ในสี่สำนักคิด

เนื่องด้วยความขัดแย้งด้านนิติศาสตร์อย่างมากมาย ระหว่างสำนักคิดต่างๆ ฝ่ายซุนนะฮฺ, จึงได้เกิดการยอมรับโดยทั่วไปเพื่อจำกัดสำนักคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน แต่ตรงนี้เช่นกันต้องไม่ลืมว่า ฝ่ายปกครองเองก็มีบทบาทไม่น้อยต่อการกำหนดรายละเอียดของสำนักคิดทั้งสี่ แน่นอน ประชาชนนั้นไม่มีอำนาจพอที่จะกำหนด หรือจำกัดจำนวนที่แน่นอนให้แก่สำนักคิดต่างๆ ได้, ทว่ารัฐบาลต่างหากที่กำหนดรายละเอียดและตัวอย่างต่างๆ อันเฉพาะเหล่านั้น และบางครั้งก็ยกย่องให้บางสำนักคิดดีกว่าอีกสำนักคิดหนึ่ง และบางครั้งถ้าหากบุคคลที่ปฏิบัติตามสำนักคิดหนึ่ง ได้ก้าวไปถึงยังตำแหน่งของการออกคำวินิจฉัย (ฟัตวา) หรือการพิพากษา รัฐก็จะถือว่าสำนักคิดนั้นเป็นสำนักคิดโปรดสำหรับเขา ซึ่งจะสนับสนุนและขยายสำนักคิดให้กว้างขวางออกไป พร้อมกับสนับสนุนให้เป็นสำนักคิดสาธารณ ตัวอย่างเช่น สำนักคิดฮะนะฟี เนื่องจากอำนาจ สิ่งอำนวยประโยชน์ และมีผู้ปฏิบัติตามมาก จึงได้ขยายสำนักคิดออกไปอย่างกว้างขวางในหมู่ซุนนะฮฺด้วยกันเอง, อบูยูซุฟ, ผู้พิพากษาในสมัยปกครองของอับบาซซี ซึ่งได้รับเกียรติอย่างมากจากฝ่ายปกครอง สำนักคิดนี้จึงได้รับการยกย่องและถือเป็นสำนักคิดที่ดีกว่าสำนักคิดอื่น และโดยปกติแล้วบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ สำนักคิดฮะนะฟียฺ เขาก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษาโดยปริยาย

บรรดาอิมามสำนักคิดซุนนะฮฺ ประกอบด้วย

1.อบูฮะนีฟะฮฺ,นุอฺมาน บิน ษาบิต (เสียชีวิต .. 150)

2. มาลิก บิน อะนัส (เสียชีวิต .. 179)

3. ชาฟิอียฺ, มุฮัมมัด บิน อิดรีส (เสียชีวิต .. 204)

4. อะฮฺมัด บนิ ฮันบัล (เสียชีวิต .. 240)

สาเหตุของการปิดประตูการอิจญฺติฮาดในหมู่ซุนนะฮฺคืออะไร และปิดอย่างไร

โดยทั่วไปแล้ว การอิจญฺติฮาด, ถือว่าเป็นหัวเชื้อแห่งชีวิตของอิสลาม และเป็นพลศาสตร์แห่งบทบัญญัติ, เกี่ยวกับการอิจญฺติฮาดนั้นจะเห็นว่าบรรดามุสลิมได้ทำให้กฎหมายอิสลาม ปราศจากการพิงพึ่งไปยังกฎหมายอื่นที่มิใช่อิสลาม มานานถึง 14 ศตวรรษด้วยกัน, การอิจญฺติฮาดมุฏลัก, จนกระทั่งปี 665 ในหมู่นักปราชญ์ฝ่ายซุนนะฮฺได้เจริญถึงขีดสุด, แต่เนื่องจากสาเหตุบางประการ สำนักคิดต่างๆ ที่นอกเหนือจาก 4 สำนักคิดต่างได้รับการละเลย และไม่ได้รับการยกย่องอย่างเป็นทางการอีกต่อไป ซึ่งทุกตำแหน่งแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เช่น ผู้พิพากษา, อิมามญุมุอะฮฺ, ผู้ออกฟัตวา ทั้งหมดได้ตกอยู่ในมือของนักปราชญ์จากหนึ่งในสี่สำนักคิดที่มีชื่อเสียง

แต่สาเหตุของการยุติการอิจญฺติฮาดมุฏลักในฝ่ายซุนนะฮฺ สามารถกล่าวได้ว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ความอคติที่มีต่อสำนักคิด

เนื่องจากลูกศิษย์และผู้ปฏิบัติตามของแต่ละสำนักคิด พวกเขามีความอคติอย่างมาก กับหัวหน้าสำนักคิดของพวกเขา ซึ่งจะไม่อนุญาตให้มีทัศนะขัดแย้งกับหัวหน้าสำนักคิดเด็ดขาด หนึ่งในนักปราชญ์ฝ่ายชีอะฮฺ กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า : หนึ่งในปัจจัยสำคัญอันเป็นสาเหตุของการนำไปสู่การปิดประตูการอิจญฺติฮาดของฝ่ายซุนนะฮฺซึ่งสาเหตุเหล่านี้เองที่เกือบจะเป็นสาเหตุทำให้พวกเขามาศึกษาด้านนิติของฝ่ายชีอะฮฺ- ซึ่งเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นบุคคลที่มีความรู้, และตัวการนี้เองหลังจากบรรดาผู้นำสำนักคิดทั้งสี่ อะฮฺมัด ฮันบัล, มุฮัมมัด บิน อิดรีส,ชาฟิอียฺ อบูฮะนีฟะฮฺ. และมาลิกบินอะนัส ได้วางรากฐานผลงานของตนอย่างเป็นรูปร่างไว้ในสังคมของซุนนะฮฺ แต่เนื่องจากความแปลกประหลาดที่มีมากเกินขนาด เป็นปรากฏการณ์ที่ได้เกิดขึ้นกับนักปราชญ์ของพวกเขา จึงได้มีการยึดอำนาจในการ อิจญฺติฮาด ไปจากพวกเขา

2.สร้างปัญหาในการพิพากษา :

บางครั้งกฎหมายต่างๆ ที่ผู้พิพากษาแต่ละบัลลังก์ได้พิจารณาออกมา, มีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรง,ในลักษณะที่ว่าถ้าหากผู้พิพากษาศาลหนึ่งเป็นมุจญฺตะฮิด, เขาได้ฟัตวาออกมาตามการอิจญฺติฮาดของตน, ซึ่งการกระทำเช่นนั้นเองได้รับการคัดค้านต่างๆ เป็นจำนวนมากจากประชาชน, เนื่องจากจะเห็นว่าศาลแต่ละบัลลังก์จะออกคำพิพากษา หรือบทบัญญัติสำหรับหัวข้อหนึ่งอันเฉพาะที่มีความแตกต่างกัน, ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงได้เขามามีบทบาทรับผิดชอบและเสนอทิศทางของบทบัญญัติ ให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน และเพื่อป้องกันการวิวาทกัน ด้วยเหตุนี้เอง จึงได้นำเสนอแนวคิดของสำนักคิดใดสำนักคิดหนึ่งจากสี่สำนักคิด

3.ปัจจัยด้านการเมือง :

เกี่ยวกับประเด็นนี้ได้มีคำกล่าวว่า : โดยทั่วไปแล้วองค์กรภาคการเมืองในสมัยนั้น ต่างมีความหวาดกลัวต่อแนวคิดของนักปราชญ์ทางศาสนา และสถาบันทางวิชาการ, เนื่องจากบรรดานักปราชญ์หรือมุจญฺตะฮิดนั่นเองได้ใช้ความอิสระทางความคิด และพละศาสตร์ด้านการอิจญฺติฮาดของตนปกป้องอิสลามเอาไว้ อีกทั้งป้องกันการอุปโลกน์ต่างๆ หรือการเบี่ยงเบนของบรรดานักปกครองที่อธรรม ซึ่งนักปราชญ์นั่นเองที่ได้เชิดชูอิสลามให้สูงส่ง และฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ พร้อมกับได้แนะนำและนำเอาอิสลามมาปฏิบัติใช้ในสังคม และสิ่งนี้ก็คือความขัดแย้งอันเป็นปรปักษ์อย่างสุดโต่ง กับผู้ปกครองที่อธรรมฉ้อฉล ซึ่งไม่มีวันเข้ากันได้อย่างแน่นอน[2]

แน่นอน การอิจญฺติฮาดแบบมีเงื่อนไข ในหมู่ซุนนะฮฺก็พอมีอยู่บ้างในระดับหนึ่ง ซึ่งการอิจญฺติฮาดลักษณะนี้จะอนุญาตให้มุจญฺตะฮิดบางท่านได้อิจญฺติฮาด เพื่อจะได้มีขอบเขตจำกัดและอยู่ในขอบข่ายของสำนักคิดอันเฉพาะ ดังนั้น ถ้าพิจารณาหลักอุซูลและพื้นฐานของสำนักคิดนั้นแล้ว จะมีการอิจญฺติฮาดบทบัญญัติและตีความออกมา, แต่การอิจญฺติฮาดสมบูรณ์ได้ถูกปิดไปจากสำนักคิดทั้งสี่นานแล้ว

การนำเอาหลักอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้งในซุนนะฮฺ

ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้มีการเอ่ยถึงหลักการอิจญฺติฮาดมุฏลักอีกครั้งหนึ่ง ในหมู่ซุนนะฮฺ[3] โดยอ้างว่าจำเป็นต้องนำเอาหลักการอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้ง.พวกเขาหลังจากได้อิจญฺติฮาดในสำนักคิดหนึ่งแล้ว (กล่าวคือบรรดาฟะกีฮฺมีสิทธิ์อิจญฺติฮาด ซึ่งต้องวางอยู่บททฤษฎีทางความเชื่อเรื่องฟิกฮฺของสำนักคิดเดียวเท่านั้น เช่น ฮะนะฟี) อนุญาตให้อิจญฺติฮาดระหว่างสำนักคิดทั้งสี่ได้ (หมายถึงขอบข่ายของการอิจญฺติฮาดของฟะกีฮฺที่มีต่อสำนักคิดหนึ่ง ได้ขยายตัวไปสู่ทั้งสี่สำนักคิดได้ และฟะกีฮฺ สามารถอิจญฺติฮาดไปตามความเชื่อของสำนักคิดทั้งสี่ได้) ซึ่งทุกวันนี้บทบัญญัติใหม่ในชีวิตประจำวัน และทุกสิ่งได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการนำเสนอเรื่อง การอิจญฺติฮาดมุฏลักกลับมาอีกครั้ง

ทุกวันนี้ บรรดานักคิดฝ่ายซุนนีย์ได้ถามตัวเองว่า  : ทำไมประชาชนต้องปฏิบัติตาม (ตักลีด) บุคคลหนึ่งที่ได้ใช้ชีวิตอยู่เมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ซึ่งเขาไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาใหม่ๆ ของทุกวันนี้?

ทำนองเดียวกัน พวกเขาถามว่า : ถ้าหากการตักลีดวาญิบและจำเป็นแล้วละก็, อิมามของสำนักคิดทั้งสี่ของซุนนะฮฺ ก็เป็นผู้ปฏิบัติตามเช่นเดียวกัน? แล้วพวกเขาตักลีดตามใครหรือ?

แนวคิดนี้ปัจจุบันในหมู่ผู้มีวิสัยทัศน์สมัยใหม่ได้รับการสนับสนุน และมีผู้ปฏิบัติตาม โดยีเจตนารมณ์ที่จะเปิดประตูแห่งการอิจญฺติฮาดที่ได้ถูกปิดมานานขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

หัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง :

คำถามที่ 796 (ไซต์ : 855) การอิจญฺติฮาดในหมู่ชีอะฮฺ

คำถามที่ 795 (ไซต์ : 854) การอิจญฺติฮาดในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซ

คำถามที่ 4932 (ไซต์ : 5182 ) แนวคิดในการขยายสำนักคิด



[1] ซุบฮานียฺ, ญะอฺฟัร, ตารีคฟิกฮฺ อัลอิสลามี วะอัดวาริฮี, หน้า 14, มุอัซซะซะฮฺ อิมามซอดิก (.), กุม, 1427

[2] อ้างแล้วเล่มเดิม

[3] นักวิชาการฝ่ายซุนนียฺบางคน เช่น มุฮัมมัดอะลี ซิยาซียฺ อะลี มันซูร มิซรียฺ ได้เขียนบทความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวจำนวนหลายตอนด้วยกัน (ตารีค อัลฟิกฮุล อิสลามี วะอัดวาเราะฮู, หน้า 100.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • หนทางหลุดพ้นจากความลุ่มหลงโลกคืออะไร?
    8840 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/21
    โลกที่มนุษย์อยู่อาศัยนี้มาจากคำว่า«ادنی» มาจากคำว่า«دنیء» และคำว่า«دنائت»
  • ในเมื่อนบีมูซาสังหารชายกิบฏี แล้วจะเชื่อว่าท่านไร้บาปได้อย่างไร?
    9468 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/08/17
    นบีทุกท่านล้วนเป็นผู้ปราศจากบาปและมีสถานะอันสูงส่งณอัลลอฮ์ (ตามระดับขั้นของแต่ละท่าน) และมีภาระหน้าที่ๆหนักกว่าคนทั่วไปโดยมาตรฐานของบรรดานบีแล้วการให้ความสำคัญต่อสิ่งอื่นนอกเหนืออัลลอฮ์ถือเป็นบาปอันใหญ่หลวงอย่างไรก็ดีนักวิชาการมีคำอธิบายเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารชายชาวกิบฏีหลายทัศนะคำอธิบายที่น่าสนใจที่สุดคือท่านมิได้ทำบาปใดๆเนื่องจากการสังหารชาวกิบฏีในครั้งนั้นไม่เป็นฮะรอมเพราะควรแก่เหตุเพียงแต่ท่านไม่ควรรีบลงมือเช่นนั้นสำนวนในโองการกุรอานก็มิได้ระบุว่าเหตุดังกล่าวคือบาปของท่านดังที่มะอ์มูนถามอิมามริฎอ(อ.)เกี่ยวกับคำพูดของนบีมูซาที่ว่า “นี่คือการกระทำของชัยฏอนมันคือศัตรูผู้ล่อลวงอย่างชัดแจ้ง” หรือที่กล่าวว่า “
  • ทำไมจึงให้สร้อยนามมะอ์ศูมะฮ์แก่ท่านหญิงฟาติมะฮ์ มะอ์ศูมะฮ์ ท่านดำรงสถานะมะอ์ศูมด้วยหรืออย่างไร?
    7317 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/06/23
    ชื่อของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ คือ“ฟาติมะฮ์” ตำราประวัติศาสตร์ก็ได้เอ่ยถึงท่านโดยใช้นามว่า ฟาติมะฮ์ บินติ มูซา บินญะอ์ฟัร (อ.) ท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์ไม่ได้เป็นมะอ์ศูมในความหมายทางหลักของศาสตร์แห่งเทววิทยาอิสลามอย่างที่ใช้กับบรรดาศาสดาและบรรดาอะอิมมะฮ์ แต่ทว่าเธอมีความบริสุทธิ์ทางจิตใจและความเพียบพร้อมทางด้านจิตใจที่สูงส่ง อนึ่ง ประเด็นของอิศมะฮ์และความบริสุทธิ์ถือเป็นประเด็นที่ต้องอาศัยการเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น เมื่อคำนึงถึงฮะดีษหลายบทที่ได้กล่าวถึงฐานันดรและความสูงส่งของท่านหญิงมะอ์ศูมะฮ์แล้ว สามารถกล่าวได้ว่าท่านนั้นมีความสูงส่งในด้านของอิศมะฮ์ ในระดับสูง – แม้ไม่ถึงขั้นของอะอิมมะฮ์ ...
  • เงินฝากบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย จำเป็นต้องจ่ายคุมซ์หรือไม่?
    6044 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/22
    ท่านผู้นำสูงสุดตอบคำถามที่ถามว่าบุคคลที่ไม่มีที่อยู่อาศัยได้เก็บสะสมเงินฝากเพื่อเตรียมไว้ซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยเงินฝากต้องจ่ายคุมซ์ด้วยหรือไม่? ตอบว่า: การสะสมทรัพย์ถือเป็นรายได้ประเภทหนึ่งถ้าเตรียมไว้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตเมื่อครบรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ด้วยเว้นเสียแต่ว่าได้สะสมเงินไว้เพื่อจัดซื้อของใช้ที่จำเป็นในชีวิตหรือเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายจำเป็นในกรณีนี้ถ้าหากเลยรอบปีต้องจ่ายคุมซ์ไปแล้ว (เช่นสองสามเดือนหลังรอบปีคุมซ์) เขาได้ใช้ไปในเรื่องดังกล่าวนั้นไม่ต้องจ่ายคุมซ์
  • มีฮะดีษอยู่บทหนึ่งระบุว่าอัลลอฮ์ทรงยกย่องความบริสุทธิ์ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ด้วยการไม่ปล่อยให้ลูกหลานของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ตกนรก
    6665 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ฮะดีษนี้ปรากฏอยู่ในตำราฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์โดยมีความน่าเชื่อถือสูงเนื่องจากมีหลากสายรายงานแต่คำถามที่มีมาตั้งแต่อดีตก็คือความหมายของลูกหลานในฮะดีษนี้ครอบคลุมเพียงใด? เมื่อพิจารณาเทียบกับฮะดีษอื่นๆก็จะเข้าใจได้ว่าฮะดีษนี้เจาะจงเฉพาะบุตรชั้นแรกของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์(อ.)เท่านั้นที่ได้รับความเมตตาให้มีภาวะปลอดบาปอันเป็นการสมนาคุณแด่การสงวนตนของท่านหญิงทว่าลูกหลานชั้นต่อๆไปแม้จะได้รับสิทธิบางอย่างแต่จะไม่ได้รับความปลอดภัยจากการลงทัณฑ์อย่างสมบูรณ์ ...
  • มีฮะดีษระบุว่า การปัสสาวะอย่างไม่ระวังจะทำให้ถูกบีบอัดในมิติแห่งบัรซัค กรุณาอธิบายให้กระจ่างด้วยค่ะ
    6840 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/15
    ในตำราฮะดีษมีบางรายงานระบุว่าท่านนบีเคยกล่าวไว้ว่า “จงระมัดระวังในการชำระปัสสาวะเถิดเพราะการลงโทษส่วนใหญ่ในสุสานเกิดจากการปัสสาวะ”[1] ท่านอิมามศอดิกก็เคยกล่าวว่า “การลงทัณฑ์ในสุสานส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องมาจากปัสสาวะ”[2]อย่างไรก็ดีต้องชี้แจงเกี่ยวกับปรัชญาของอะห์กามว่าถึงแม้ฮุกุ่มทุกประเภทจะอิงคุณและโทษในฐานะที่เป็นเหตุผลก็ตามแต่เป็นเรื่องยากที่จะสามารถแจกแจงเหตุและผลของฮุก่มแต่ละข้ออย่างละเอียดละออได้ที่สุดแล้วก็ทำได้เพียงแจกแจ้งทีละข้อซึ่งหลักเกณฑ์ที่ว่าสามารถครอบคลุมส่วนใหญ่เท่านั้นมิไช่ทั้งหมดจึงทำให้อาจจะมีข้อยกเว้นบางกรณี[3]ประเด็นการไม่ระมัดระวังนะญิสของปัสสาวะนั้นสติปัญญาของคนเราเข้าใจได้เพียงระดับที่ว่าพฤติกรรมดังกล่าวจะทำลายน้ำนมาซอันเป็นเงื่อนไขของอิบาดะฮ์อย่างเช่นการนมาซ แต่ไม่อาจจะเข้าถึงสัมพันธภาพเชิงเหตุและผลระหว่างการปัสสาวะอย่างไม่ระวังกับการถูกลงโทษในสุสานได้อย่างไรก็ตามสติปัญญายอมรับในภาพรวมว่าการกระทำของมนุษย์จะส่งผลถึงโลกนี้และโลกหน้า[1]บิฮารุลอันว้าร,เล่ม
  • มุคตารคือ ษะกะฟีย์ ซึ่งในหัวใจมีความรักให้ท่านอบูบักร์และอุมมัรเท่านั้น? แล้วทำไมเขาจึงไม่ปกป้องท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ในกัรบะลาอฺ?
    8650 تاريخ بزرگان 2554/12/21
    รายงานเกี่ยวกับมุคตารที่ปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซนั้นแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มกล่าวคือรายงานบางกลุ่มกล่าวสรรเสริญเขา
  • การปฏิเสธฮะดีษโดยยึดถือเพียงกุรอานจะทำให้เกิดเอกภาพในหมู่มุสลิมจริงหรือ?
    7809 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    ความเชื่อในการยึดถือเพียงกุรอานและปฏิเสธฮะดีษมีมาตั้งแต่ยุคแรกของอิสลามแหล่งอ้างอิงทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างบันทึกตรงกันว่าช่วงบั้นปลายชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) เมื่อท่านสั่งให้นำปากกาและหมึกมาบันทึกคำสั่งเสียของท่านเพื่อประชาชาติอิสลามจะไม่หลงทางภายหลังจากท่านนั้นเคาะลีฟะฮ์ที่สองอุมัรบินค็อฏฏ้อบกลับคัดค้านคำสั่งดังกล่าวพร้อมกับกล่าวว่า “คัมภีร์ของอัลลอฮ์(กุรอาน)เพียงพอแล้วสำหรับเรา (ไม่จำเป็นต้องใช้ซุนนะฮ์นบี)ไม่มีใครสามารถจะอ้างได้ว่าไม่จำเป็นต้องมีฮะดีษถามว่ารายละเอียดหน้าที่ทางศาสนามีอยู่ในกุรอานอย่างครบถ้วนหรือไม่? ข้อปลีกย่อยของฟัรฎูต่างๆอาทิเช่นนมาซ, ศีลอด, ซะกาต, ฮัจย์ฯลฯมีในกุรอานกระนั้นหรือ?กุรอานกล่าวว่า “สิ่งที่ศาสนทูตนำมาก็จบรับไว้(ปฏิบัติตาม) และสิ่งที่เขาระงับก็จงหลีกเลี่ยงจงยำเกรงต่อพระองค์เพราะพระองค์ทรงมีบทลงโทษอันรุนแรง”[i]แน่นอนว่าคำสั่งและข้อห้ามปรามของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือซุนนะฮ์ของท่านนั่นเองซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาให้เราปฏิบัติตามอะห์มัดบินฮัมบัลหนึ่งในอิมามทั้งสี่ของพี่น้องซุนหนี่กล่าวไว้ในหนังสือมุสนัดว่าท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า “ฉันได้ฝากฝังสองสิ่งเลอค่าซึ่งมีคุณค่าต่างกันไว้ในหมู่พวกท่านนั่นคือคัมภีร์ของอัลลอฮ์อันเปรียบดั่งสายเชือกที่เชื่อมโยงระหว่างฟากฟ้าและปฐพีและวงศ์วานอะฮ์ลุลบัยต์ของฉันสองสิ่งนี้จะไม่พรากจากกันกระทั่งบรรจบกับฉันณบ่อน้ำเกาษัร”จะเห็นได้ว่าในฮะดีษนี้ท่านนบี(ซ.ล.)และอะฮ์ลุลบัยต์(อ.)ได้รับการจัดให้เคียงคู่กุรอานอันหมายความว่าดังที่มุสลิมทุกคนมีหน้าที่ต้องยึดถือกุรอานฉันใดพวกเขาก็จะต้องยึดถืออะฮ์ลุลบัยต์ในภาวะจำเป็นฉันนั้นสองสิ่งนี้จะสมบูรณ์เมื่อเคียงคู่กันการเลือกยึดถืออย่างใดอย่างหนึ่งจะทำให้สิ่งนั้นบกพร่อง[i]อัลฮัชร์,
  • ความสำคัญและความพิเศษ และคำวิจารณ์หนังสือบิฮารุลอันวาร?
    7334 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/12/21
    กลุ่มฮะดีซจากหนังสือบิฮารุลอันวาร,ถือได้ว่าเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของอัลลามะฮฺมัจญิลิซซียฺ, หรืออาจกล่าวได้ว่าหนังสือเล่มนี้เป็นดาอิเราะตุลมะอาริฟฉบับใหญ่ของชีอะฮฺซึ่งได้รวบรวมเอาปัญหาศาสนาเกือบทั้งหมด,เช่นตัฟซีรกุรอาน, ประวัติศาสตร์, ฟิกฮฺ, เทววิทยา, และปัญหาอื่นๆอีกบางส่วนที่สำคัญที่สุดและเป็นความพิเศษของหนังสือบิฮารุลอันวารคือ:เริ่มต้นบทใหม่ทุกบทจะกล่าวถึงโองการอัลกุรอาน
  • ท่านอิมามอลี(อ.)อธิบายถึงการก้าวสู่ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์บทใด?
    6474 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/28
    ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวถึงการก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ของเคาะลีฟะฮ์สามคนแรกไว้ในคุฏบะฮ์ที่สามซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในนาม “คุฏบะฮ์ชิกชิกียะฮ์” จากคำที่ท่านกล่าวตอนท้ายคุฏบะฮ์คุฏบะฮ์นี้มีเนื้อหาครอบคลุมคำตัดพ้อของท่านอิมามอลี(อ.)เกี่ยวกับประเด็นคิลาฟะฮ์และเล่าถึงความอดทนต่อการสูญเสียตำแหน่งดังกล่าวอีกทั้งเหตุการณ์ที่ประชาชนให้สัตยาบันต่อท่านซึ่งจะนำเสนอรายละเอียดในคำตอบแบบสมบูรณ์ ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60047 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57420 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42134 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39207 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38874 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33941 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27957 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27874 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27687 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25708 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...