การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7077
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/08/03
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1123 รหัสสำเนา 15611
คำถามอย่างย่อ
เรื่องอุปโลกน์“เฆาะรอนี้ก”มีที่มาที่ไปอย่างไร?
คำถาม
กรุณาชี้แจงเกี่ยวกับโองการเฆาะรอนี้ก ที่กล่าวกันว่านบี(ซ.ล.)เสียรู้ชัยฏอนโดยการชมเชยรูปเจว็ด หากไม่มีหลักฐานอ้างอิง แล้วเรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร?
คำตอบโดยสังเขป

เรื่องเล่าเฆาะรอนี้กอุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี ซึ่งหวังจะลดทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและท่านนบี(..)ลง เรื่องมีอยู่ว่าวันหนึ่ง ท่านนบีกำลังอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์อยู่ เมื่ออ่านถึงโองการที่กล่าวถึงชื่อรูปเจว็ดที่ว่า
أَ فَرَءَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى‏ وَ مَنَوةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرَى (นะอูซุบิลลาฮ์) ชัยฏอนได้กระซิบกระซาบให้ท่านนบี(..)กล่าวต่อไปว่า
تلک الغرانیق العلى، و ان شفاعتهن لترتجى ซึ่งแปลว่ารูปเจว็ดเหล่านี้เปรียบประดุจวิหคงามสูงส่ง ซึ่งการช่วยเหลือของรูปเคารพเหล่านี้เป็นที่ปรารถนาเมื่อจบประโยคนี้ ท่านนบี(..)ได้ก้มลงสุญูด และเหล่ามุชริกีนก็สุญูดตาม กระทั่งญิบรออีลได้แจ้งว่าสองประโยคข้างต้นมิไช่กุรอาน แต่เป็นการกระซิบกระซาบของชัยฏอน
เบาะแสต่างๆพิสูจน์แล้วว่าฮะดีษที่เล่าเหตุการณ์นี้เป็นฮะดีษที่อุปโลกน์ขึ้น เป็นเหตุให้นักวิชาการมุสลิมไม่ว่าสายชีอะฮ์หรือซุนหนี่ปฏิเสธฮะดีษบทนี้ โดยถือว่าเป็นผลงานอุปโลกน์ของเหล่านักกุฮะดีษ

คำตอบเชิงรายละเอียด

เกี่ยวกับนิยายปรัมปราเฆาะรอนี้กนั้น มีฮะดีษพิศดารบทหนึ่งในตำราของพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ โดยรายงานจากอิบนิอับบาสว่าขณะที่ท่านนบี(..)กำลังอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์จนกระทั่งถึงโองการที่มีชื่อของเจว็ดที่ว่า أَ فَرَءَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى‏ وَ مَنَوةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرَى (สูเจ้าแลเห็นรูปเจว็ดล้าตและอุซซาและมะน้าต(เป็นธิดาของพระเจ้า)หรืออย่างไร?)[1] เมื่อถึงวรรคนี้ ชัยฏอนได้สะกดให้ท่านนบีเปล่งประโยคอีกสองประโยค นั่นคือ تلک الغرانیق العلى، و ان شفاعتهن لترتجى (รูปเจว็ดเหล่านี้คือเหล่าวิหคงามที่สูงส่ง และการช่วยเหลือของรูปเคารพเหล่านี้ล้วนเป็นที่ปรารถนา)[2] เมื่อได้ยินเช่นนี้ เหล่ากาเฟรมุชริกีนพากันดีใจโดยกล่าวว่าก่อนหน้านี้มุฮัมมัดไม่เคยพูดถึงเทพเจ้าของเราในแง่ดีเลยทันใดนั้น ท่านนบีได้ก้มลงสุญูด และเหล่ามุชริกีนก็สุญูดตามท่าน แต่ญิบรออีลได้รุดมาแจ้งแก่ท่านนบีว่าสองโอการสุดท้ายนั้น ฉันมิได้นำมา ทว่าเป็นการสะกดของชัยฏอน ในขณะนี้เอง โองการ
وَ ما أَرْسَلْنا مِنْ قَبْلِکَ مِنْ رَسُولٍ وَ لا نَبِیٍّ ... ก็ได้ประทานลงมาเพื่อปรามาสท่านนบีและผู้ศรัทธา[3]

แม้ศัตรูอิสลามจะถือโอกาสโหมกระแสเกี่ยวกับฮะดีษนี้เพื่อหวังสกัดกั้นการเติบโตของอิสลาม แต่หากพิจารณาไห้ดีจะพบเบาะแสที่ชี้ชัดว่าฮะดีษนี้ถูกอุปโลกน์ขึ้นโดยผู้ไม่หวังดี เพื่อจะบั่นทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและวจนะของท่านนบี(..) เนื่องจากเหตุผลต่อไปนี้:
1. 
นักวิชาการลงความเห็นว่าฮะดีษนี้มีสายรายงานอ่อนและไม่น่าเชื่อถือ และพิสูจน์ไม่ได้ว่ารายงานโดยอิบนิอับบาส ผู้เชี่ยวชาญฮะดีษอย่างมุฮัมมัด บิน อิสฮ้ากได้เขียนตำราเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ และถือว่าฮะดีษดังกล่าวอุปโลกน์ขึ้นโดยพวกไม่เชื่อในพระเจ้า[4]

2. ฮะดีษมากมายกล่าวถึงเหตุของการประทานซูเราะฮ์นี้ ตลอดจนเหตุการณ์สุญูดของท่านนบี(..)และเศาะฮาบะฮ์ แต่ไม่มีรายงานใดกล่าวถึงเรื่องเท็จเฆาะรอนี้กเลย แสดงว่าข้อครหานี้ถูกเพิ่มเติมในภายหลัง[5]

3. โองการแรกๆของซูเราะฮ์นี้ปฏิเสธนิยายปรัมปรานี้โดยสิ้นเชิง ดังที่กล่าวว่าเขา(ท่านนบี(..))ไม่พูดโดยอารมณ์ (คำพูดของท่าน)มิไช่สิ่งใดเว้นแต่เป็นวิวรณ์[6] โองการนี้จะสอดคล้องกับนิยายเฆาะรอนี้กได้อย่างไร?

4. โองการต่อจากชื่อรูปเจว็ดล้วนประณามการนับถือเจว็ดเหล่านี้ โดยถือว่าเจว็ดเหล่านี้เป็นเพียงจินตนาการอันไร้สาระของมนุษย์ ซึ่งไม่สามารถให้ประโยชน์ใดๆได้เลย กุรอานกล่าวว่านามเหล่านี้ สูเจ้าและบรรพบุรุษเป็นผู้ตั้งให้รูปเจว็ดเหล่านี้เอง ทั้งที่อัลลอฮ์มิได้กล่าวถึงชื่อ(รูปเจว็ด)เหล่านี้แต่อย่างใด พวกเขาคล้อยตามอารมณ์ไฝ่ต่ำและจินตนาการอันไร้สาระ ทั้งที่อัลลอฮ์ประทานทางนำแก่พวกเขาแล้ว![7]
เป็นไปได้อย่างไรที่จะมีโองการที่ชมเชยรูปเจว็ดก่อนหน้าโองการที่ตำหนิพฤติกรรมนี้อย่างแข็งกร้าว  ยิ่งไปกว่านั้น อัลลอฮ์ทรงรับประกันว่าจะพิทักษ์กุรอานจากการบิดเบือน ความเฉไฉ และการสูญสลาย ดังที่มีโองการกล่าวว่าแท้จริงเราคือผู้ประทานกุรอาน และแน่แท้ เราคือผู้พิทักษ์กุรอานอย่างไม่ต้องสงสัย[8]

5. ท่านนบีต่อสู้กับปรากฏการณ์บูชารูปเจว็ดอย่างต่อเนื่องและไม่ย่อท้อ นับตั้งแต่แรกเริ่มจวบจนลมหายใจสุดท้าย ในทางปฏิบัติแล้ว ท่านไม่เคยแสดงท่าทีอ่อนข้อต่อการเคารพรูปเจว็ดแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ฉะนั้น จะเป็นไปได้อย่างไรที่ท่านจะพูดประโยคที่ไร้สาระเหล่านี้

6. แม้ต่างศาสนิกจะไม่ยอมรับว่าท่านนบี (..) คือศาสดา แต่อย่างน้อยก็ยอมรับว่าท่านในฐานะปราชญ์ผู้ทรงปัญญา ที่สามารถเอาชนะอุปสรรคนานัปการด้วยปัญญาอันเลอเลิศ คนที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ กอปรกับการที่มีคำขวัญว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮ์ และมุ่งมั่นคัดค้านการบูชารูปเจว็ดทุกประเภท เป็นไปได้อย่างไรที่จะผละจากอุดมการณ์หลักของตน และยกย่องเทิดทูนรูปเจว็ดเยี่ยงนี้

จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่าฮะดีษนี้ถูกอุปโลกน์โดยศัตรูผู้เบาปัญญา ที่หาโอกาสบั่นทอนความน่าเชื่อถือของกุรอานและวจนะท่านนบี(..)  แต่นักวิชาการมุสลิมทั่วไปไม่ว่าจะฝ่ายชีอะฮ์หรือซุนหนี่ล้วนปฏิเสธนิยายเรื่องนี้ และถือว่าเป็นนิยายที่นักกุฮะดีษอุปโลกน์ขึ้น[9]
อย่างไรก็ดี มีนักอรรถธิบายบางท่าน ได้ชี้แจงเกี่ยวกับฮะดีษดังกล่าว(ในกรณีสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของรายงานบทนี้ได้)ว่า โดยทั่วไปแล้ว ท่านนบีจะอัญเชิญกุรอานอย่างช้าๆพร้อมกับไคร่ครวญ บางครั้งท่านก็จะเว้นวรรคชั่วครู่ระหว่างโองการ ครั้งหนึ่งเมื่อท่านอ่านซูเราะฮ์อันนัจม์จนถึงโองการ أَ فَرَأَیْتُمُ اللَّاتَ وَ الْعُزَّى وَ مَناةَ الثَّالِثَةَ الْأُخْرى‏ พลันเหล่ามุชริกีนมักกะฮ์ผู้มีนิสัยดุจซาตานได้กล่าวแทรกขึ้นมาว่า
تلک الغرانیق العلى و ان شفاعتهن لترتجى เพื่อขัดจังหวะท่านนบี และยังหวังจะทำให้ผู้ฟังสับสน อย่างไรก็ดี โองการต่อมาได้ประณามการบูชารูปเจว็ดอย่างเผ็ดร้อน[10]

เมื่อสามารถปฏิเสธหรือชี้แจงนิยายดังกล่าวได้ การที่บางคนพยายามอธิบายว่า ท่านนบีต้องการอะลุ่มอล่วยแก่กาฟิรมุชริกีนมักกะฮ์เพื่อที่จะดึงดูดและเผยแผ่สัจธรรมนั้น ถือเป็นทัศนะที่ผิดมหันต์ อันแสดงว่าคนเหล่านี้ไม่เคยรู้จักท่าทีของท่านนบีที่มีต่อการเคารพบูชารูปเจว็ด หรือไม่เคยได้ยินเรื่องราวที่กาฟิรมุชริกีนพร้อมจะปรนเปรอความร่ำรวยแก่ท่านนบี แต่ท่านก็ไม่แยแสและยังยืนยันจะต่อสู้ต่อไป หรืออาจทราบดีแต่แสร้งเป็นไม่รู้[11]



[1] อันนัจม์, 19,20.

[2] เฆาะรอนี้ก เป็นพหูพจน์ของ ฆุรนู้ก หมายถึงนกน้ำชนิดหนึ่งที่มีทั้งประเภทสีขาวหรือดำ แต่ก็ยังมีความหมายอื่นๆเช่นกัน

[3] ตัฟซีรอัลมีซานอธิบายถึงอายะฮ์ดังกล่าว โดยระบุว่าฮะดีษนี้บันทึกโดยเหล่าฮาฟิซฮะดีษชาวซุนหนี่ อาทิเช่น อิบนิ ฮะญัร

[4] ตัฟซี้ร กะบี้ร,ฟัครุร รอซี,เล่ม 23,หน้า 50.

[5] อ้างแล้ว

[6] อันนัจม์, 3,4, وَ ما یَنْطِقُ عَنِ الْهَوى‏ إِنْ هُوَ إِلَّا وَحْیٌ یُوحى

[7] อันนัจม์, 23, إِنْ هِیَ إِلَّا أَسْماءٌ سَمَّیْتُمُوها أَنْتُمْ وَ آباؤُکُمْ ما أَنْزَلَ اللَّهُ بِها مِنْ سُلْطانٍ إِنْ یَتَّبِعُونَ إِلَّا الظَّنَّ وَ ما تَهْوَى الْأَنْفُسُ وَ لَقَدْ جاءَهُمْ مِنْ رَبِّهِمُ الْهُدى‏

[8] อัลฮิจร์, 9, إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّکْرَ وَ إِنَّا لَهُ لَحافِظُونَ

[9] มัจมะอุ้ลบะยาน,ตัฟซีรกะบี้ร,ตัฟซีรฟีซิลาลของกุรฏุบี,ตัฟซีรอัศศอฟี,รูฮุ้ลมะอานี,อัลมีซาน และตัฟซีรอื่นๆที่อรรถาธิบายโองการดังกล่าว

[10] ตัฟซี้รกุรฏุบี,เล่ม 7,หน้า 4474. และตัฟซี้รมัจมะอุ้ลบะยานได้ถือเป็นข้อสันนิษฐานหนึ่ง

[11] อ้างถึงใน.ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 14,หน้า142-145.

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6794 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6713 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10571 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10600 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    7478 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5881 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10167 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    6541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10689 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60173 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57630 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42249 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39453 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38979 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34037 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28046 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28032 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27866 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25854 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...