Please Wait
7075
การขัดขวางหรือห้ามมิให้นำปากกาและกระดาษมาให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) (เพื่อที่จะเขียนพินัยกรรมบางอย่างก่อนที่ท่านจะจากไป) เป็นเหตุการณ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รับรู้กันทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, การนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว มิได้เป็นเหตุผลที่มายืนยันหรือปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้น ทว่าสิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ท่านอิมามมีเหตุผลอะไรถึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านอิมามขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่?
เมื่อศึกษาเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติศาสตร์และหนังสืออื่นๆ ทำให้ได้บทสรุปว่า
1.ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถูกกล่าวร้ายว่า เป็นคนพูดจาเพ้อเจ้อ ศาสดาผู้ซึ่งอัลกุรอานได้ประทานลงมาเกี่ยวกับท่านว่า: »ท่านจะไม่พูดจากด้วยอารมณ์ ทว่าจะพูดเฉพาะสิ่งที่เป็นวะฮฺยูที่ได้ประทานลงมายังท่านเท่านั้น« ขณะที่เรื่องพินัยกรรม ก็นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง กับการประกาศสาส์นของท่าน
2.การเริ่มต้นความขัดแย้งและทะเลาะวิวาทกัน ต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ประกอบกับท่านป่วยอยู่ด้วยในขณะนั้น แน่นอนว่าการกระทำดังกล่าวไม่ถูกต้อง และไม่ใช่เรื่องดีแต่อย่างใด ซึ่งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ว่าบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ จะมีความคิดเห็นขัดแย้งกันมากเท่าใด การวิวาทของพวกเขาก็ยิ่งทำให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทุกข์ยิ่งขึ้นเท่านั้น
3.มีบุคคลหลายคนในที่ประชุมนั้น พยายามขัดขวางมิให้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เขียนพินัยกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การโต้เถียงกันขยายวงกว้างออกไป เขาและพรรคพวกของเขาต่างไม่ยอมรับการเขียนพินัยกรรมในเวลานั้น จนกระทั่งท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทนไม่ได้จึงไล่ทุกคนออกไปให้พ้นหน้าท่าน ซึ่งบางรายงานตามบันทึกของซุนนียฺกล่าวว่า บุคคลที่เป็นตัวตั้งตัวตีในเรื่องนี้คือ ท่านอุมัรบินเคาะฏ็อบ[i]
4.วิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และสิทธิอันชอบธรรมของท่าน เป็นที่ชัดเจน ซึ่งไม่มีบุคคลใดสงสัยในการเป็นตัวแทนของท่านแต่อย่างใด ซึ่งแน่นอนว่าการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็เพื่อรักษากาลเทศะบางอย่าง อย่างไรก็ตามหลังจากเหตุการณ์สะกีฟะฮฺแล้ว ท่านอิมาม (อ.) ได้ทักท้วงเรื่องการปฏิเสธสิทธิของท่าน แต่เพื่อรักษาความสงบสันติแก่อิสลาม และมุสลิมท่านจึงนิ่งเงียบอยู่หลายปี นอกจากนั้นท่านยังให้คำปรึกษากับผู้ปกครองอิสลามในสมัยนั้น ก็เพื่อการปกปักรักษาอิสลามให้ดำเนินต่อไป
การห้ามและขัดขวางมิให้เจตนารมณ์ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สมจริง บนคำสั่งที่ให้นำเอาปากกาและกระดาษมาให้ท่าน เพื่อจะบันทึกบางอย่างในฐานะพินัยกรรมก่อนที่ท่านจะจากไป เป็นเหตุการณ์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทางหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งมีชื่อกล่าวเรียกกันไปต่างๆ นานา เช่น วันพฤหัสทมิฬ, หรือ วันแห่งกระดาษและปากกา, ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่ว่าเป็นมุตะวาติร ดังปรากฏอยู่ในตำราฮะดีซของฝ่ายซุนนียฺมากมาย และการนิ่งเงียบของท่านอิมามอะลี (อ.) เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มิได้เป็นเหตุผลที่บ่งบอกถึงการปฏิเสธความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทว่าประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ ท่านมีเหตุผลอะไรจึงทำเช่นนั้น และการนิ่งเงียบของท่านขัดแย้งกับความกล้าหาญของท่านหรือไม่ หรือสิ่งที่ท่านกระทำลงไปนั้นเป็นการรักษาความสงบในสังคมอิสลาม ความสงบสันติซึ่งมีความสำคัญต่อสังคมอิสลามอย่างยิ่งในตอนนั้น เป็นสาเหตุทำให้ท่านต้องเปลี่ยนใจไม่ทำตามความต้องการของตน แน่นอน สิ่งนี้มิได้ขัดแย้งกับความกล้าหาญชาญชัยของท่านแต่อย่างใด
ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในประเด็นนี้อันดับแรกจะกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญ ซึ่งรู้จักกันดีในนามของเหตุการณ์ »ปากกาและกระดาษ« หรือ »วันพฤหัสทมิฬ« หรือ »วันพฤหัสอัปยศ« :
อิมามบุคอรียฺ เป็นหนึ่งนักรายงานฮะดีซผู้อาวุโสของฝ่ายซุนนียฺ และเป็นเจ้าของหนังสือเซาะฮียฺบุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซว่า : ใกล้เวลาที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะอำลาจากโลกไป มีสหายกลุ่มหนึ่ง เช่น อุมัร บิน เคาะฎ็อบได้รวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ), ท่านได้สั่งพวกเขาว่า : จงนำเอาปากกาและกระดาษมาให้ฉัน เพื่อฉันจะได้บันทึกบางสิ่งแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านจะไม่หลงทางตลอดไป, อุมัร บิน เคาะฏ็อบกล่าวว่า : อาป่วยได้ครอบงำท่านศาสดาเสียแล้ว, พวกเรามีอัลกุรอานคัมภีร์แห่งพระเจ้าเล่มเดียวก็เพียงพอแล้ว สำหรับพวกเรา คำพูดของเขาทำให้อะฮฺลุลบัยตฺและผู้ที่อยู่ในบ้านของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ขัดแย้งกัน,มีบางกลุ่มที่ยอมรับทัศนะของอุมัร และอีกบางกลุ่มไม่เห็นด้วยและแสดงความเห็นขัดแย้งออกมา เมื่อความขัดแย้งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า : จงออกไปให้พ้นหน้าฉันทั้งหมด ไม่สมควรอย่างยิ่งที่พวกท่านจะมาถกเถียงและวิวาทกันต่อหน้าฉัน[1]
บุคอรียฺ ได้รายงานจากอิบนุอับบาซ ในอีกรายงานหนึ่งว่า อิบนุอับบาซกล่าวว่า : ปัญหาและความเลวร้ายต่างๆ ได้เริ่มต้นตั้งแต่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา จนกระทั่งท่านไม่ได้เขียนพินัยกรรมฉบับสุดท้าย[2]
เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตรงกับวันพฤหัสบดี กล่าวคือ 4 วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) สิ่งที่สมควรพิจารณาตรงนี้คือ ท่านศาสดาต้องการป้องกันมิให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้น กับวิลายะฮฺของท่านอิมามอะลี ท่านจึงมีคำสั่งให้สหายกลุ่มหนึ่ง เช่น ท่านอบูบักรฺ,อุมัร, อุสมาน, อบูอุบัยดะฮฺ ญัรรอฮฺ, ฏ็อลฮะฮฺ, ซุบัยรฺ, อับดุรเราะฮฺมาน บิน เอาฟฺ และสะอฺดฺ บิน วะกอซ[3] ร่วมออกศึกไปยังจุดที่ห่างไกลที่สุดของชายแดน ติดกับโรม ภายใต้การนำทัพของอุษามะฮฺ ทั้งที่การปล่อยให้เมืองหลวงว่างเปล่าจากทหาร ในช่วงของการกำลังจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถือว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะอาจเป็นไปได้ที่ผู้เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่, เพื่อนบ้านซึ่งเป็นชนต่างเผ่าพันธุ์ที่อยู่รายล้อมรอบมะดีนะฮฺ อาจจะลุกฮือและก่อกบฏได้ แต่คำสั่งดังกล่าวเป็นการตัดสินใจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เพียงคนเดียว เพื่อต้องการให้ผู้ที่จะคิดต่อต้านวิลายะฮฺของท่านอะลี (อ.) ออกไปจากมะดีนะฮฺ, การจัดทัพดังกล่าวได้เกิดขั้นเพียงไม่กี่วันก่อนการจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และเป็นคำสั่งของท่าน ซึ่งท่านกล่าวว่า : ขออัลลอฮฺ ทรงสาปแช่งบุคคลที่ทรยศขัดขืนการนำทัพของอุษามะฮฺ และไม่ร่วมทัพไปพร้อมกับเขา[4] ในทางตรงกันข้ามเหล่าสหาย และผู้เห็นด้วยกับการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) เช่น ท่านอัมมาร มิกดาร และซัลมาล ได้รับการยกเว้นไม่ต้องร่วมทัพไปกับอุษามะฮฺ ขณะเดียวกันก็ไม่มีชื่อของท่านอิมามอะลี (อ.) อยู่ในกองทัพด้วย[5]
จากบทนำที่กล่าวมาพร้อมกับข่าวลือว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เสียชีวิตแล้ว ทำให้คนกลุ่มหนึ่งแยกตัวออกจากกองทัพอุษามะฮฺ แล้วรีบกลับมะดีนะฮฺทันที มารวมตัวกันอยู่ที่บ้านของท่านศาสดา จึงทำให้เกิดวันพฤหัสวิปโยคขึ้นมา
ประวัติศาสตร์บันทึกว่าบุคคลหนึ่งที่ทักท้วงคำพูดของอุมัร บินเคาะฏ็อบคือ ญาบิร บินอับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ[6]
เมื่อศึกษาฮะดีซจากท่านอิบนุอับบาซ ที่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์วันนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การโต้เถียงและทะเลาะวิวาทกันในวันนั้น สร้างความรันทดและไม่เข้ากันกับสภาพของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในตอนนั้น และถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง รายงานยังกล่าวต่อไปอีกว่า สาเหตุที่พินัยกรรมมิได้ถูกบันทึกก็มาจากการทะเลาะวิวาทกันในวันนั้นนั่นเอง
ฉะนั้น ถ้าหากอุมัร บินเคาะฏ็อบ ไม่ขัดขวางเจตนารมณ์ของท่านศาสดา และไม่มีการทะเลาะวิวาทกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) วันนั้นท่านต้องเขียนพินัยกรรมแน่นอน
และตอนนี้ประจักษ์แล้วว่า เพราะอะไรท่านอิมามอะลี (อ.) จึงไม่เข้าไปยุ่งในการทะเลาะวิวาท, ขณะที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นผู้จิตใจมุ่งหวังแต่สร้างความสมานฉันท์ และการประสานใจให้เป็นหนึ่งเดียว[7] ไม่เป็นการเหมาะสมแต่อย่างใดที่จะเพิ่มพูนการวิวาทให้มากยิ่งกว่าเดิม นอกจากนั้นแล้วบุคคลที่ไม่ยอมรับคำพูดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) โดยกล่าวหาว่าท่านเป็นคนพูดเพ้อเจ้อ เนื่องจากอาการไข้ได้กำเริบ แล้วเขาจะมาฟังคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) กระนั้นหรือ นอกจากนี้แล้วยังมีสหายผู้อาวุโสหลายท่าน เช่น ท่านญาบิร อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ เป็นผู้หนึ่งที่คัดค้านคำพูดของอุมัร บิน เคาะฎ็อบ แต่ทันทีที่ท่านท้วงติงก็ได้รับการคัดค้าน และแรงบีบกดดันจากกลุ่มที่เห็นพ้องกับคำพูดของอุมัรทันที ดังนั้น ในบรรยากาศเช่นนั้นไม่ว่าจะมีใครแสดงทัศนะออกมาทั้งในแง่ลบ หรือแง่ดีก็จะมีการโต้เถียงและทะเลาะกันต่อหน้าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นความผิดพลาดทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามการเป็นตัวแทนของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็มิใช่สิ่งที่ถูกปิดบังหรือซ่อนเร้นแต่อย่างใด เนื่องจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้เน้นย้ำปัญหาดังกล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง ในลักษณะที่ว่าทุกคนต่างรับรู้ ข้อพิสูจน์และชัรอียฺสมบูรณ์แล้วสำหรับพวกเขา. ท่านซุยูฏียฺได้รวบรวมฮะดีซเหล่านี้ไว้นหน้งสือ ตารีคคุละฟาอฺ ซึ่งในฮะดีซเหล่านั้นคือบทที่กล่าวว่า « مَنْ كُنْتُ مَوْلَاهُ فَعَلِيٌّ مَوْلَاهُ »ซึ่งติรมีซียฺ ได้รายงานจากอบี ซะรีฮะฮฺ หรือจากซัยดฺ บินอัรกอม ซึ่งประโยคนี้ « اللَّهُمَّ وَالِ مَنْ وَالَاهُ وَ عَادِ مَنْ عَادَاه» ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ ได้รายงานมาจาก อิบนุอุมัน, มาลิก บิน อัลเฮารีส, ญะรีร, สะอฺด์ บิน อบีวะกอฟ, อะบี สะอีด คุดรียฺ, อะนัส, อิบนุอับบาซ อีกทีหนึ่ง
ทำนองเดียวกันประโยคที่กล่าวว่า « أَنْتَ مِنِّي بِمَنْزِلَةِ هَارُونَ مِنْ مُوسَى إِلَّا أَنَّهُ لَا نَبِيَّ بَعْدِي »ได้รายงานมาจาก อะฮฺมัด บิน ฮันบัล และฏ็อบรอนียฺ โดยรายงานมาจากสายรายงานที่ต่างกัน[8]
ใช่ เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่แห่งเคาะดีรถคุม ยังไม่ทันเจือจาง และเป็นไปไม่ได้ที่บางคนจะลืมเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่จนหมดสิ้น ฉะนั้น ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่ต้องเข้าไปยุ่งกับการโต้เถียง หรือทะเลาะวิวาทกันในบ้านท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และต่อหน้าท่าน เพราะการให้เกียรติท่านศาสดามีความสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด การนิ่งเงียบเท่ากับเป็นการไม่ดูถูกตำแหน่งของท่าน แต่หลังจากนั้นท่านอิมาม (อ.) ไม่เคยปฏิเสธที่กล่าวถึงความจริงนั้น ทั้งที่อะฮฺมัด ได้บันทึกไว้ในมุสนัด (1/155) หรือฏ็อบรียฺ ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของท่าน (2/466) และบุคคลอื่น เช่น อิบนุกะษีร อิบนุฮิชาม ซึ่งได้กล่าวถึงเหตุการณ์นั้นว่า ตอนแรกพวกเขาแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการตัดสินใจเรื่องเคาะลิฟะฮฺ ทำให้บางกลุ่มได้ไปรวมตัวกันประท้วงที่บ้านท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ (อ.) และบางกลุ่มก็ไปมัสญิด บังคับให้ประชาชนสาบานว่า ไม่เคยเห็นเหตุการณ์เฆาะดีรคุม และบางกลุ่มจำนวน 30 คนได้ยืนยันถึงเหตุการณ์ดังกล่าว[9] แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพของสังคม และความสามัคคีของมุสลิม อีกทั้งป้องกันมิให้เกิดความแตกแยกมากไปกว่านั้น ท่านได้ยุติความพยายามในการเรียกร้องสิทธิของท่าน เพราะแน่นอน การทักท้วงของท่านอิมามย่อมนำมาซึ่งความแตกแยกภายในสังคม อิสลามซึ่งเหมือนกับวัยหนุ่มที่เพิ่งเจริญเติบโต ประกอบกับสังคมพึ่งจะสูญเสียผู้นำคือ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ไปหมาดๆ อีกด้านหนึ่งศัตรูต่างเฝ้าคอยโอกาสที่จะโจมตีอิสลามให้พังพินาศ ดั่งที่ประวัติศาสตร์กล่าวว่า การจากไปของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทำให้ชนเผ่าอาหรับจำนวนมากไม่ยอมจ่ายซะกาต และบางเผ่าชนก็ออกนอกศาสนาไป[10]
แน่นอน สิ่งที่ท่านอิมามอะลี (อ.) เป็นห่วงมากที่สุดคือ การสูญเปล่าในการงานของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านและครอบครัวต่างเสียสละทั้งชีวิตและทรัพย์สินเพื่อปกป้องรักษาอิสลาม ให้ธำรงอยู่ต่อไปแด่อนุชนรุ่นหลัง, ด้วยเหตุนี้เอง ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงได้เลือกการนิ่งเงียบ และให้คำปรึกษาผู้นำการปกครองภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และให้ความร่วมมือเท่าที่จำเป็น
[1] บุคอรียฺ, กิตาบอิลมฺ, บาบกิตาบุลอิลมฺ, 1/22-23,มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140.
[2] เซาะฮียฺบุคอรียฺ, กิตาบอัลอิอฺติซอม บิลกิตาบวะซุนนะฮฺ, บาบกะรอฮียะฮฺ อัลคิลาฟวะบาบเกาลฺ มะรีฎ}มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 140. قوموا عنی از کتاب مرضی؛
[3]เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.
[4] มิลัลวะนิฮัล, ชะฮฺริซตานี, เล่ม 1, หน้า 14, เล่ามาจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) กลุ่มนักเขียน, หน้า 132.
[5] เฏาะบะกอต อัลกุบรอ, เล่ม 2, หน้า 189, ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และประวัติศาสตร์, นักเขียนกลุ่มหนึ่ง, หน้า 131.
[6] ฮัยซัมมีย์,มัจญฺมะอุลซะวาอิด, เล่ม 4, หน้า 390, เล่ม 8, หน้า 609, ศาสดาผู้ยิ่งใหญ่และประวัติศาสตร์, หน้า 134.
[7] อัลกุรอานหลายโองการได้เชิญชวนมุสลิมไปสู่เอกภาพ และหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท เช่น โองการที่ 46 บทอันฟาล กล่าวว่า : พวกเจ้าจงอย่าวิวาท เพราะจะทำให้บังเกิดความพ่ายแพ้ และสูญเสียอำนาจ
[8] ตารีคคุละฟาอฺ, ซุยูฏียฺ, หน้า 157.
[9] มะอาลิม อัลมัดเราะซะตัยนฺ, อัลลามะฮฺ อัสการียฺ, เล่ม 1, หน้า 489.
[10] อ้างแล้ว, เล่ม 1, หน้า 165.