Please Wait
7175
ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา
นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม
เพื่อความชัดเจนในคำตอบจำเป็นต้องกล่าวอารัมภ์บทสักสองสามประการที่จำเป็น ดังนี้ :
1.คุณค่าความรู้ของอุละมาอฺ : อัลลอฮฺตรัสถึงคุณค่าความประเสริฐของความรู้ และสถานภาพของผู้รู้เอาไว้ในอัลกุรอานของพระองค์ว่า “จงกล่าวเถิด บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ[1] แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ”
อีกที่หนึ่งพระองค์ตรัสว่า “อัลลอฮฺ จะทรงยกย่องเทิดเกียรติบรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า บรรดาผู้ได้รับความรู้หลายชั้น อัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”[2]
รายงานฮะดีซเช่นกันได้กล่าวถึงคุณค่าความประเสริฐของความรู้ อุละมาอฺ และจำเป็นที่ประชาชนต้องเข้าหาผู้รู้ เช่น
ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามได้เรียนรู้วิชาการจากผู้รู้ และปฏิบัติตาม เขาจะได้รับความช่วยเหลือ”[3]
ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “การมองใบหน้าของอุละมาอฺคือ อิบาดะฮฺ”[4] อีกที่หนึ่งกล่าวถึงความจำเป็นในการเรียนรู้ว่า “การแสวงหาความรู้เป็นวาญิบสำหรับผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิง”[5]
2.จากอัลกุรอานและรายงานฮะดีซที่กล่าวมา เข้าใจได้ว่าศาสนาอิสลาม คือ ศาสนาอมตะนิรันดรและทันสมัย กฎเกณฑ์ต่างๆ ของศาสนาจำเป็นต้องปฏิบัติกับมวลมนุษย์ชาติ ตราบจนถึงวันแห่งการอวสาน ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ที่ว่า เขาจะต้องเรียนรู้กฎระเบียบทั้งหมดของอิสลาม เพื่อก้าวไปให้ถึงแหล่งแห่งความปลอดภัย ดังนั้น เขามีทางเลือกไม่เกิน 2 ทาง กล่าวคือตัวของเขาลงทุนลงแรงเรียนรู้และศึกษาวิชาการด้วยตนเอง ค้นคว้าจากตำรับตำราต่างๆ ทางฟิกฮฺ และดึงเอาบทบัญญัติที่ซ่อนอยู่ในนั้นออกมาให้ได้ แต่ในกรณีที่ตนไม่มีความสามารถ หรือมีศักยภาพไม่เพียงพอก็จงสอบถามจากผู้รู้เถิด[6]
3.ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการจำแนกผู้รู้ที่มีความเหมาะสม คู่ควรเอาไว้ ซึ่งจะขอกล่าวถึงสักสองสามประการดังนี้ :
ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) กล่าวถึงโองการนี้ وَيْلٌ لِلَّذِينَ يَكْتُبُونَ الْكِتابَ بِأَيْدِيهِمْ، ثُمَّ يَقُولُونَ هذا مِنْ عِنْدِ اللَّهِ"؛”วามวิบัติจงมีแด่ผู้ที่เขียนคัมภีร์ด้วยมือของพวกเขา แล้วกล่าวว่า สิ่งนี้มาจากอัลลอฮฺ” ท่านอิมามกล่าวว่า “โองการข้างต้นได้ประทานลงมาแก่หมู่ชนยะฮูดียฺ ชายคนหนึ่งได้กล่าวแก่ท่านอิมามซอดิก (อ.) ว่า : ถ้าหากพวกนั้นเป็นสามัญชนในหมู่พวกยะฮูดียฺ ซึ่งได้เรียนรู้คัมภีร์เตารอตจากผู้รู้ของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาได้ปฏิบัติตามและยอมรับผู้รู้ ที่ได้รับคำตำหนิประณามได้อย่างไร สามัญชนในหมู่ชาวยะฮูดียฺไม่เหมือนสามัญชนในหมู่พวกเราดอกหรือ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “สามัญชนในหมู่พวกเราและในหมู่พวกยะฮูดียฺ ด้านหนึ่งเท่าเทียมกัน และอีกด้านหนึ่งแตกต่างกัน ซึ่งด้านที่เหมือนกันคือ อัลลอฮฺทรงประณามสามัญชนในหมู่พวกเราผู้ซึ่งปฏิบัติตามเยี่ยงคนหูหนวกตาบอด ดั่งที่ บรรพชนของพวกเขาได้รับการประณามสาปแช่งมาแล้ว ส่วนในด้านที่แตกต่างกันคือ สามัญชนของพวกยะฮูดียฺ ทั้งๆ ที่รู้ว่าผู้รู้ของตนพูดโกหกอย่างเปิดเผย กินสิ่งฮะรอม และติดสินบน แต่ก็ยังเชื่อพวกเขาเรืองบทบัญญัติของพระเจ้า และมิหนำซ้ำพวกเขายังรู้อีกว่าผู้ใดกระทำเช่นนั้นคือ ผู้ฝ่าฝืน จึงไม่เหมาะสมแต่อย่างใดที่จะให้ผู้รู้ประเภทนี้ เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ หรือระว่างเราะซูลกับมนุษย์ แต่สามัญชนของยะฮูดียฺ ก็ยังอุตาส่าเชื่อฟังปฏิบัติตาม ผู้รู้ประเภทดังกล่าว,
สามัญชนในหมู่พวกเราก็เหมือนกัน เมื่อเห็นอุละมาอฺที่เผยให้เห็นความอยุติธรรม ความชั่ว ฝ่าฝืน อคติ มีความกระตือรือร้นในทางที่ผิด มีความโลภ และปฏิบัติกิจการที่ฮะรอมอย่างเปิดเผย แล้วยังเชื่อฟังปฏิบัติตามเขาอีก พวกเขาก็ไม่ต่างอะไรไปจากหมู่ชนยะฮูดียฺ ที่อัลลอฮฺ ทรงประณามและสาปแช่งพวกเขา เนื่องจากเชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺที่เป็นฟาซิก
แต่สำหรับอุละมาอฺที่เอาชนะตัวเอง ปกป้องศาสนาของตน เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺโดยเคร่งครัด เป็นวาญิบสำหรับสามัญชนที่ต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามเขา แน่นอนว่า คำพูดของท่านอิมาม (อ.) หมายถึง บรรดามัรญิอฺตักลีด หรือฟุเกาะฮาของชีอะฮฺบางคน มิใช่ทุกคนในหมู่พวกเขา ดังนั้น เมื่อเราเห็นผู้รู้กระทำความผิด หรือกระทำการที่น่ารังเกลียด ซึ่งมิได้อยู่ในเกียรติยศของอุละมาอฺอีกต่อไป หรือเลือกทางเดินที่โน้มนำไปสู่ฟะกีฮฺชั้นฟาซิก หรือชั้นเลว ดังนั้น จงอย่าเชื่อฟังเขาโดยเด็ดขา แม้ว่าเขาจะพูดคำพูดของเราก็ตาม และจงอย่าให้เกียรติหรือแสดงความเคารพเขาอีกต่อไป[7]
ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “จงอย่านั่งร่มวงกับอุละมาอฺทุกคน เว้นเสียแต่ว่าผู้รู้คนนั้นได้แนะนำเจ้าจากอันตรายห้าประการ ไปสู่สิ่งที่ให้คุณห้าประการได้แก่ :เปลี่ยนความสงสัยเป็นความเชื่อมั่น, ออกจากความเย่อหยิ่งจองหองไปสู่ความนอบน้อมถ่อมตน, ออกจากความโอ้อวดไปสู่ความจริงใจและบริสุทธิ์ใจ,ปลดความเป็นศัตรูและความอคติไปสู่ความหวังดี,ออกจากความลุ่มหลงและความโลภทางโลกไปสู่ผู้มีความสำรวมตนจากความชั่ว และไม่ลุ่มหลงโลก[8]
4.ตามคำสอนของอิสลาม, วิทยปัญญาที่ขาดหายไปของผู้ศรัทธา ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดอยู่กับใครก็ตามเขาได้ใช้ประโยชน์จากมัน[9] หมายถึง ผู้ศรัทธาคือผู้ที่แสวงหาความรู้ วิทยปัญญา และการปรับปรุงแก้ไขตนเอง ทุกคำพูดที่วางอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญาและวิชาการแล้ว เขาจะยอมรับมัน ดังคำสอนของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า “จงอย่ามองว่าใครเป็นผู้พูด แต่จงพิจารณาว่าเขาพูดอะไร”[10] แน่นอน วิธีการนี้จะอยู่ในบรรยากาศที่ท่านรู้และเข้าใจถึงบุคลิกภาพ และความประพฤติของผู้พูดเป็นอย่างดี เนื่องจากถ้าหากผู้พูดมีความประพฤติที่ขัดแย้งกับสิ่งที่พูด แม้ว่าคำพูดของเขาจะวางอยู่บนพื้นฐานของสติปัญญา และเป็นวิชาการก็ตาม มันจะหมดความน่าเชื่อถือและได้รับการตำหนิ แต่ในกรณีเดียวกันสามารถใช้ประโยชน์จากวิทยปัญญาและวิชาการนั้นได้ บนพื้นฐานคำสอนของศาสนา
จากสิ่งที่กล่าวมา เป็นที่ชัดเจนว่าใครคือผู้รู้และเป็นอุละมาอฺในสังคมอิสลาม มิใช่ว่าทุกคนที่ได้ศึกษาศาสนาแล้วจะเป็นอุละมาอฺเสมอไป คำพูดและความประพฤติเช่นใดที่เหมาะสมสำหรับการเป็นอุละมาอฺ
[1] บทอัซซุมัร, 9.
[2] บทมุญาดะละฮฺ, 11.
[3] อะวาลี อัลลิอาลี, เล่ม 4, หน้า 77, กาฟียฺ, เล่ม 1, หน้า 46
[4] บิฮารุลอันวาร,เล่ม 1, หน้า 195.
[5] ตันบีฮุลเคาะวาฏิร, เล่ม 2, หน้า 176.
[6] เราะเนมอ ฮะกีกี,อายะตุลลอฮฺ ญะอฺฟัร ซุบฮานี, หน้า 577.
[7] อัลฮะยาต, แปลโดยอะฮฺมัด ออรอม, เล่ม 2, หน้า 571.
[8] บิฮารุลอันวาร,เล่ม 1, หน้า 38.
[9] กาฟียฺ, เล่ม 8, หน้า 167
سَهْلُ بْنُ زِيَادٍ عَنْ بَكْرِ بْنِ صَالِحٍ عَنِ ابْنِ سِنَانٍ عَنْ عَمْرِو بْنِ شِمْرٍ عَنْ جَابِرٍ عَنْ أَبِي عَبْدِ اللَّهِ ع قَالَ الْحِكْمَةُ ضَالَّةُ الْمُؤْمِنِ فَحَيْثُمَا وَجَدَ أَحَدُكُمْ ضَالَّتَهُ فَلْيَأْخُذْهَا
[10] "خذ الحكمة ممن أتاك بها و انظر إلى ما قال و لا تنظر إلى من قال". ฆอรเราะรุลฮิกัม, หน้า 58.