การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6931
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/20
 
รหัสในเว็บไซต์ fa4459 รหัสสำเนา 19922
คำถามอย่างย่อ
เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
คำถาม
เพราะสาเหตุอันใดงานชุมนุมบางแห่งจึงได้วาดภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ?
คำตอบโดยสังเขป

มีคำกล่าวว่ามีความทุกข์และความเศร้าโศกอย่างหนัก ได้ถาถมเข้ามาก่อนที่ท่านอิมามจะถูกทำชะฮาดัต, และโศกนาฏกรรมที่ประดังเข้ามาหลังจากชะฮาดัต, โดยตัวของมันแล้วได้ก่อให้เกิดภาพการถูกกดขี่อย่างรุนแรงของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.)

ฉะนั้น เมื่อวิเคราะห์และนำคำว่ามัซลูมไปใช้กับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ก็จะได้รับบทสรุปว่า การถูกกดขี่ที่ได้ถูกวาดขึ้นสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) มิใช่เป็นการถูกกดขี่อันเกิดจากความอ่อนแอ หรือท่านอิมามเป็นผู้ยอมรับการกดขี่นั้น, ทว่าเป็นการกดขี่ที่เปี่ยมไปด้วยเกียรติยศ ซึ่งมิได้มีความขัดแย้งกับบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านแต่อย่างใด ตามความเป็นจริงแล้วสำหรับการเล่าเรื่องหรือสาธยายถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมาม (.) ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงการถูกกดขี่และความอธรรมต่างๆ ที่ศัตรูได้กระทำกับท่านอิมาม และลูกหลานของท่าน. เป็นที่ชัดเจนว่าถ้าหากการจินตนาภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามเพื่อบรรยายถึงการอธรรมของศัตรูที่ได้กดขี่ท่าน ถือว่าเป็นที่ยอมรับ  อัลลอฮฺ ทว่าสิ่งนี้เป็นความจำเป็นเสียด้วยซ้ำไปที่ต้องกระทำ แต่ถ้าจุดประสงค์ของการจินตนาภาพการถูกกดขี่ แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและการยอมรับการถูกกดขี่ของท่านอิมามแล้วละก็ ถือว่าการจินตนาภาพนั้นไม่ถูกต้องและเป็นฮะรอมแน่นอน

ด้วยเหตุนี้เอง, การได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) แสดงให้เห็นถึงการสาธยายภาพการกดขี่ต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม (.) ครอบครัว และสหายของท่านแล้ว ถือว่าสิ่งนี้ไม่มีความขัดแย้งกับเกียรติยศ และบุคลิกภาพอันยิ่งใหญ่ของท่านอิมามแต่อย่างใด, ทว่ายิ่งจะทำให้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของซัยยิดุชชุฮะดา และผู้ร่วมทางไปกับท่านนั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากจุดนี้เองเราจึงมีความเชื่อว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์สิ่งเหล่านี้ด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตามการจินตนาการภาพใบหน้าของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในฐานะมนุษย์ผู้ได้รับการกดขี่, ยังมีเหตุผลอื่นอีก, ซึ่งเป้าหมายก็เพื่อการฟื้นฟูและการตื่นตัวทางความคิดทั่วไปของประชาคมโลก และเป็นการเป่าประกาศความชั่วร้ายของศัตรู เพื่อให้สิ่งนี้เป็นประทีปชี้นำทางแก่เยาวชนรุ่นต่อไปในอนาคต

คำตอบเชิงรายละเอียด

ก่อนหน้าที่จะตอบคำถาม, จำเป็นต้องกล่าวเกริ่นก่อนว่า, หนึ่ง : มีรายงานจำนวนมากที่นำคำว่ามัซลูมไปใช้กับอิมามท่านอื่น, เช่น รายงานฮะดีซบทหนึ่งจากท่านศาสดา (ซ็อล ) กล่าวว่า: “... แน่นอน ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺว่าในเวลานั้น,ฉัน และอะลี, ฟาฏิมะฮฺ, ฮะซัน, ฮุซัยนฺ และบรรดาอิมามอีก 9 ท่านจากบุตรหลานของฮุซัยนฺ ซึ่งทั้งหมดคือ มัซลูม แห่งอะฮฺลุลบัยตฺของฉัน, และทั้งหมดจะได้รวมอยู่ในที่เดียวกัน[1]

สอง : ท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) ได้ใส่ใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยน (.) , กล่าวคือทั้งหมดจะกล่าวถึงการได้รับการกดถูกกดขี่ของท่านอิมาม ได้มีการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมนั้น จนกระทั่งว่าพี่ชายของท่านคือ ท่านอิมามฮะซัน (.) ได้กล่าวถึงความสัตย์จริงที่จะเกิดกับท่านอิมามฮุซัยนฺว่า :

«لا یوم کیومک یا ابا عبد اللّه».

ไม่มีวันใดจะเหมือนวันของเจ้าอีกแล้ว โอ้ อะบาอับดิลลาฮฺเอ๋ย[2]

พวกเขาได้เติมคำว่ามัซลูมต่อท้ายนามของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.)[3] ดังนั้น จำเป็นต้องรับรู้ว่ามีรายงานฮะดีซบทหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (.) อัลกุรอานโองการ 33 บทอัลอิสรออฺ, ได้กล่าวถึงการได้รับการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.)[4] สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่า การจินตนาภาพการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ย่อมเป็นที่ยอมรับของท่านศาสดา (ซ็อล ) และบรรดาอิมามทั้งหลาย

เมื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าคำว่ามัซลูมได้ถูกกล่าวโดยบรรดาอิมาม โดยใช้คำนี้กับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ซึ่งท่านเหล่านั้นประสงค์ให้ใบหน้าแห่งการถูกกดขี่ของท่านอิมาม (.) ถูกจินตนาการเป็นภาพจริงขึ้นมา, แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาตรงนี้ก็คือความหมายตามประสงค์ จากการถูกกดขี่ของท่านอมามฮุซัยนฺ (.) ในคำพูดของบรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นคืออะไร? จากจุดนี้เอง เราจึงขอกล่าวว่า การถูกมัซลูมนั้นมี 2 ลักษณะด้วยกัน กล่าวคือ :

1.การกดขี่ ที่เกิดกับท่านอิมามนั้น เราได้จินตนาให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือการยอมจำนนต่อการกดขี่ ซึ่งทำให้ท่านต้องถูกตัดขาดจากอำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระเจ้า

2. การกดขี่ ที่เกิดกับอิมามนั้น เรามิได้แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ, ทว่าเป็นการบรรยายถึงโศกนาฏกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม ซึ่งเป็นความจำเป็นที่เราต้องกล่าวถึงการอธรรมของศัตรูที่มีต่ออิมาม ครอบครัว และสหายของท่าน

ดังเช่นที่ท่านชะฮีดมุรตะฎอ มุเฎาะฮะรียฺ ได้กล่าวถึงความหมายของการได้รับการกดขี่ว่า, คำๆ นี้มี 2 ความหมายด้วยกันกล่าวคือ : หนึ่งอธรรมแล้วสังหาร, สอง : การได้รับความอธรรม, มีมนุษย์ตั้งมากมายซึ่งมีความอ่อนแอด้านจิตใจภายใน, พวกเขาได้ยอมรับการกดขี่และเป็นผู้โน้มน้าวการอธรรมมาสู่ตน และยังมีชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งชีวิตทรัพย์สินและสิทธิของเขาได้รับการกดขี่ข่มเหง, แต่มิได้เกิดจากความอ่อนแอภายใน, ทว่าเป็นเพราะพวกเขาได้รักษาสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าบุคลิกภาพและชีวิตของตน หรือสิทธิของพวกเขาได้รับการละเมิด,พวกเขามองเห็นความอธรรมที่เกิดขึ้น แต่อดทนอดกลั้น ดังเช่นที่อิมามอะลี (.) กล่าวว่า : ฉันจึงยอมอดทนทั้งที่ในดวงตาเต็มไปด้วยเศษขยะ และในลำคอมีกระดูกทิ่มติดอยู่[5] ซึ่งการถูกดขี่ของบรรดาอิมาม (.) นั้นอยู่ในประเภทที่สอง และโศกนาฏกรรมทั้งหลายที่ได้ประดังถาถมเข้ามานั้น ฉันได้อดทนอดกลั้น เนื่องจากเป็นเกียรติยศของมวลประชาชาติมุสลิม และศาสนาอิสลาม

บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ การได้รับการกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในความหมายที่ว่าเป็นการสาธยายถึงการกดขี่ต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านและเหล่าสหาย โดยท่านได้อดทนต่อสิ่งเหล่านั้น ดังนั้น ไม่ถือว่าการกระทำของท่านขัดแย้งกับศักดิ์ศรีและเกียรติยศอันสูงส่งของท่านแต่อย่างใด, ทว่ายิ่งเป็นการทำให้เกียรติยศและศักดิ์ศรีของซัยยิดุชชุฮะดาและเหล่าสหายของท่านปรากฏชัดเจนมากยิ่งขึ้น, เนื่องจากการสาธยายถึงการกดขี่ของศัตรู และการเผชิญหน้ากับศัตรูที่ท่านอิมามได้แสดงออก และการอธิบายถึงมุมมองของการกดขี่ที่ได้เกิดกับท่าน ยิ่งจะทำให้มองเห็นจิตวิญญาณอันแข็งแกร่งของเหล่าบรรดาลูกหลาน และเหล่าสหายของท่านอิมามว่าเป็นอย่างไร อยู่ในสภาพเฉกเช่นไร และพวกเขาได้ยืนหยัดต่อความอธรรมอย่างไร

อย่างไรก็ตามการจินตนาการภาพของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในฐานะของมนุษย์ผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหงนั้น ยังมีเหตุผลอื่นอีก ซึ่งสามารถกล่าวอธิบายได้ดังต่อไปนี้ :

1.โศกนาฏกรรมที่ได้เกิดก่อนชะฮาดัต[6] และโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลังชะฮาดัต[7]อันเป็นโศกนาฏกรรมที่รุนแรงอย่างยิ่ง อีกทั้งยังมีความโหดร้ายและหน้ากลัวอย่างยิ่ง และไม่เคยเกิดมาก่อนในสมัยญาฮีลลียะฮฺ (ยุคทมิฬโง่เขลา)[8] อีกด้านหนึ่งความโหดร้ายและความทารุณกรรมเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับท่านอิมาม ที่เพียบพร้อมไปด้วยเกียรติยศและความประเสริฐ ซึ่งทุกสิ่งได้เกิดขึ้นภายในวันเดียว ดังนั้น ความอธรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นยังมิเป็นพยานยืนยันอีกหรือ? และโดยตัวของมันแล้วมิได้แสดงให้เห็นถึงการได้รับการกดขี่ข่มเหงดอกหรือ?

2. เพื่อเป็นการปลุกความคิดของประชาคมโลกให้ตื่นขึ้นมา จำเป็นต้องกล่าวถึงความประเสริฐและสาธยายให้เห็นถึงการถูกกดขี่ และความอธรรมที่ศัตรูได้กระทำบนสิทธิของท่าน เพื่อว่าประชาชนจะได้มีปฏิกิริยาตอบโต้ เฉกเช่น การแสดงออกของมุคตาร ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องจินตนาการภาพการได้รับการกดขี่ข่มเหงของท่านอิมาม ให้ประจักษ์แก่สายตา

3. การร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (.) หรือการไว้อาลัยในช่วงการเป็นชะฮาดัตของท่าน สิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับการสนับสนุส่งเสริมจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย, มุฮัมมัด บิน มุสลิมกล่าวว่า : ท่านอิมามบากิร (.) กล่าวว่า : ท่านอิมาม อะลี บิน ฮุซัยนฺ (.) กล่าวว่า : มุอฺมินทุกคนที่ได้ร่ำไห้หลั่งน้ำตาให้แก่การถูกสังหารของฮุซัยนฺ (.) อัลลอฮฺ จะประทานที่พำนักแก่เขาในสรวงสวรรค์ และเขาจะได้พำนักอยู่ในนั้นอย่างยาวนาน[9] และเนื่องจากว่าเขาได้หลั่งน้ำตาเพื่อโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) จึงไม่มีหนทางอื่นใดอีก นอกจากการสาธยายถึงความประเสริฐและความอธรรมกดขี่ข่มเหงทั้งหลายที่ได้เกิดกับท่านอิมาม, ในกรณีนี้สิ่งจำเป็นก็คือ การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามเพื่อสาธยายถึงการได้รับการกดขี่ของท่าน, ขณะที่การกดขี่เหล่านี้มิได้บ่งบอกให้เห็นถึงความอ่อนแอหรือความไร้สามารถของท่านอิมามแต่อย่างใด ทว่าเป็นการบ่งชี้ให้เห็นถึงความกล้าหาญ และเกียรติยศของท่านอิมามเสียด้วยซ้ำ

4. การสาธยายถึงการได้รับการกดขี่ข่มเหงของบรรดาอะฮฺลุลบัยตฺ (.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ซึ่งการกล่าวถึงความชั่วร้ายของศัตรูของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) เท่ากับเป็นการจุดดวงประทีปแห่งทางนำไว้สำหรับเยาวชนรุ่นต่อไป, เพื่อว่าพวกเขาจะได้สามารถจำแนกแยกแยะได้ระหว่างผู้เป็นมิตรกับศัตรู, ด้วยเหตุนี้เอง การกล่าวรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) โดยเฉพาะของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) และการจินตนาภาพของการถูกกดขี่ข่มเหงของท่านจึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระทำ

จากเหตุผลที่กล่าวอ้างมานั้นเข้าใจได้ว่า เป็นการพิสูจน์ให้เห็นถึงประเด็นที่ว่า การสาธยายหรือการจินตนาการถึงภาพการได้รับการกดขี่ข่มเหงของอะฮฺลุลบัยตฺ (.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในความหมายที่สอง[10]จึงเป็นที่ยอมรับ  อัลลอฮฺ, ทว่าจำเป็นเสียด้วยซ้ำ, แต่การจินตนาการภาพของการถูกกดขี่ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (.) ในความหมายแรก[11] ซึ่งในบางที่ได้ตั้งใจกระทำ หรืออาจพลั้งเผลอกระทำสิ่งนี้ขึ้นมา, แน่นอน การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นบิดอะฮฺและฮะรอมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 



[1] มัจญฺลิซซียฺ, มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันวาร, เล่ม 25, หน้า 7, สถาบันอัลวะฟาอฺ, เบรูต, เลบานอน, 1404 .. ดะวอนียฺ,อะลี,มะฮฺดียฺ เมาอูด,ฉบับแปล, เล่ม 13, บิฮารุลอันวาร, หน้า 1237, พิมพ์ครั้งที่ 28, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮฺ, เตหะราน, ปี 1378.

[2] อัซซะดูก, อัลอะมาลียฺ, หน้า 115

[3] มีกล่าวไว้เป็นจำนวนมากใน หนังสือซิยาเราะฮฺ, ดุอาอฺและฮะดีซ ซึ่งได้ใช้คำนี้ต่อท้ายนามของท่านอิมาม

[4] "مَن قُتِل‌َ مَظْلُومًا فَقَدْ جَعَلْنَا لِوَلِیِّه‌ِ سُلْطاناً".และผู้ใดถูกฆ่าอย่างอยุติธรรม ดังนั้น เราได้ให้อำนาจแก่ผู้ปกครองของเขา (ดำเนินคดีและลงโทษ)

[5] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 3,มันชูรอต ดารุลฮิจญฺเราะฮฺ, กุม

[6] เช่น การเป็นชะฮีดของบรรดาบุตรหลาน, พี่น้อง, สหาย, และการทนต่อสภาพความหิวกระหายที่ได้เกิดกับท่าน เหล่าบรรดาเด็ก และสตรีทั้งหลาย

[7] เช่น การทำลายและการไม่ให้เกียรติต่อบรรดาลูกหลานที่อยู่ภายในค่ายที่พัก การไม่ให้เกียรติต่อศีรษะของท่านอิมาม ต่อครอบครัวของท่านทั้งในกูฟะฮฺ และชาม และ ...

[8] ท่านอิมามริฎอ (.) กล่าวถึง โศกนาฏกรรมดังกล่าวไว้ว่า : มุฮัรรอม คือ เดือนซึ่งบรรดาญาฮิลลียะฮฺถือว่าการทะเลาะวิวาท และการนองเลือดในเดือนนี้เป็นสิ่งต้องห้ามและฮะรอม แต่บรรดาศัตรูได้หลั่งเลือดลูกหลานนบีภายในเดือนนี้ ได้ทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของเรา ได้จับเหล่าสตรีและลูกหลานของเราร้อยโซ่ตรวนเป็นเชลย” (บิฮารุลอันวาร, เล่ม 44. หน้า 283, บาบ 34, ผลบุญแห่งการร้องไห้บนโศกนาฏกรรม ฮะดีซที่ 17.

[9] อันซอรียฺ มะฮัลลาตตียฺ, มุฮัมมัด ริฏอ, ษะวาบุลอะอฺมาล, ฉบับแปล, อันซอรียฺ, หน้า 163, พิมพ์ครั้งแรก, สำนักพิมพ์นะซีมเกาซัร, กุม ปี 1382.

[10] ความอธรรมกดขี่ที่ไม่ได้บ่งบอกให้เห็นถึงความอ่อนแอของท่านอิมาม, ทว่าเป็นการสาธยายถึงโศกนาฏกรรมต่างๆ ที่ได้เกิดกับท่านอิมาม ครอบครัว และเหล่าสหาย จึงจำเป็นต้องเอ่ยถึงการอธรรมของศัตรูที่มีต่ออิมามและครอบครัว

[11] การกดขี่ข่มเหงที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ และการยอมจำนนต่อการอธรรม อันเป็นสาเหตุทำให้ท่านถูกตัดขาดความสัมพันธ์ ที่มีต่ออำนาจอันไม่มีที่สิ้นสุดของพระผู้อภิบาล

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    17345 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • เพราะเหตุใดอัลกุรอานบางโองการ มีความหมายขัดแย้งกับความบริสุทธิ์ของศาสดา
    8565 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นสามารถกล่าวได้ว่า1) คำว่าอิซมัตเป็นสภาพหนึ่งทางจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่มีความบริสุทธิ์อันเป็นสาเหตุทำให้บุคคลนั้นหันหลังให้กับบาปกรรมพฤติกรรมชั่วร้ายและความผิดต่างๆโดยสิ้นเชิงอีกทั้งสภาพดังกล่าวยังปกป้องบุคคลนั้นให้รอดพ้นจากความผิดพลาดและการหลงลืมโดยปราศจากการปฏิเสธเจตนารมณ์เสรีหรือมีการบีบบังคับให้บุคคลนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์2. ...
  • สำนักคิดทั้งสี่ของอะฮฺลุซซุนะฮฺ เกิดขึ้นได้อย่างไร และการอิจญฺติฮาดของพวกเขาได้ถูกปิดได้อย่างไร?
    7964 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    วิชาการในอิสลามและฟิกฮฺอิสลามหลังจากเหตุการณ์ในยุคแรกของอิสลามปัญหาตัวแทนและเคาะลิฟะฮฺของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้วได้แบ่งออกเป็น
  • ผมได้หมั้นหมายกับคู่หมั้นมานานเกือบ 10 ปี แล้วเราสามารถอ่านอักด์ชัรอียฺก่อนแต่งงานตามกฎหมายได้หรือไม่?
    6580 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/07
    คำตอบจากบรรดามัรญิอฺตักลีดเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว ตามที่มีผู้ถามมา[1] ฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ .. : 1. ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ คอเมเนอี : ด้วยการใส่ใจและตรวจสอบเงื่อนไขทางชัรอียฺแล้ว, โดยตัวของมันไม่มีปัญหาแต่อย่างใด 2.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซิตตานียฺ : การอ่านอักด์นิกาห์กับหญิงสาวบริสุทธิ์ต้องขออนุญาตบิดาของเธอก่อน 3.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ ซอฟฟี ฆุลภัยฆอนียฺ : การแต่งงานของชายผู้ศรัทธากับหญิงผู้ศรัทธา มีเงื่อนไขหลักหลายประการ (เช่น การได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของฝ่ายหญิงเป็นต้น) โดยตัวของมันแล้วไม่มีปัญหา แต่ถ้มีปัญหาอื่นจงเขียนคำถามมาให้ชัดเจน เพื่อจะได้ตอบไปตามความเหมาะสม 4.ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ มะการิม ชีรอซียฺ : ตามตัวบทกฎหมายของรัฐอิสลาม, การแต่งงานลักษณะนี้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ...
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11518 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    7340 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58076 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • เพราะเหตุใดอัลลอฮฺ (ซบ.) จึงทรงสร้างชัยฏอน?
    10149 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/04/21
    ประการแรก: บทบาทของชัยฏอนในการทำให้มนุษย์หลงผิดและหลงทางออกไปนั้นอยู่ในขอบข่ายของการเชิญชวนประการที่สอง : ความสมบูรณ์นั้นจะอยู่ท่ามกลางการต่อต้านและสิ่งตรงกันข้ามด้วยเหตุผลนี้เองการสร้างสรรพสิ่งเช่นนี้ขึ้นมาในระบบที่ดีงามมิได้เป็นสิ่งไร้สาระและไร้ความหมายแต่อย่างใดทว่าถูกนับว่าเป็นรูปโฉมหนึ่งจากความเมตตาและความดีของพระเจ้า ...
  • กฎทางชัรอียฺ และผลสะท้อนของการสาปแช่ง และการปฏิเสธความจริงแก่คนอื่น เป็นอย่างไร?
    12205 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/20
    ตามหลักคำสอนของศาสนาของเรา นอกจากจะห้ามมิให้มีการสาปแช่ง หรือปฏิเสธอย่างไม่ถูกต้องต่อคนอื่นแล้ว ยังไม่อนุญาตให้กระทำเช่นนั้นอีกต่างหาก, มีรายงานจำนวนมากมายจากบรรดาอิมามผู้นำ กล่าวว่า, ถ้าหากใครก็ตาม, ได้สาปแช่งบุคคลหนึ่ง ทั้งที่บุคคลนั้นไม่สมควรได้รับการสาปแช่งแม้แต่นิดเดียว, การสาปแช่งนั้นจะย้อนกลับไปหาผู้สาปแช่ง ...
  • มีฮะดีษบทใดบ้างที่กล่าวถึงบุตรซินา?
    8662 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2555/01/19
    อิสลามถือว่าบุตรที่เกิดจากการผิดประเวณี (บุตรซินา) มีสถานะเฉพาะตัวซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้ตามแหล่งอ้างอิงดังต่อไปนี้1. มรดกของบุตรซินาวะซาอิลุชชีอะฮ์,เล่ม 26,หน้า 274, بَابُ أَنَّ وَلَدَ الزِّنَا لَا یَرِثُهُ الزَّانِی وَ لَا الزَّانِیَةُ وَ لَا مَنْ تَقَرَّبَ بِهِمَا وَ لَا یَرِثُهُمْ بَلْ مِیرَاثُهُ لِوُلْدِهِ أَوْ نَحْوِهِمْ وَ مَعَ عَدَمِهِمْ لِلْإِمَامِ وَ أَنَّ مَنِ ادَّعَى ابْنَ جَارِیَتِهِ وَ لَمْ یُعْلَمْ کَذِبُهُ قُبِلَ قَوْلُهُ وَ لَزِمَهُ

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60504 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    58076 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42607 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39966 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    39242 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34360 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28423 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28336 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    28264 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    26200 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...