การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
10543
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/10/22
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1709 รหัสสำเนา 17847
คำถามอย่างย่อ
ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
คำถาม
ความแตกต่างระหว่างจิตฟุ้งซ่านกับชัยฎอนคืออะไร?
คำตอบโดยสังเขป

ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์ซึ่งได้ถูกตีความว่าเป็นตัวตนหรือจิต, มีหลายมิติด้วยกัน ซึ่งอัลกุรอานได้แบ่งไว้ 3 ระดับด้วยกัน (จิตอัมมาเราะฮฺ, เลาวามะฮฺ, และมุตมะอินนะฮฺ)

จิตที่เป็นอัมมาะเราะฮฺ หมายถึงความปรารถนาด้านความเป็นเดรัจฉาน, ซึ่งครอบคลุมมนุษย์อยู่ หรือสภาพหนึ่งของจิตใจที่โน้มนำมนุษย์ไปสู่การกระทำชั่ว อันเป็นความต้องการอันเป็นกิเลสและตัณหา

ส่วนคำว่า ชัยฏอน ตามรากศัพท์และนิยามที่ให้, หมายถึงทุกการมีอยู่ที่ละเมิดและดื้อรั้น ซึ่งเรียกว่าเป็นชัยฏอนทั้งหมด บางครั้งก็เป็นญินหรือมนุษย์หรืออาจเป็นเดรัจฉานก็ได้

จุดประสงค์ของอิบลิส, คือชัยฏอนเฉพาะที่มาจากหมู่ญิน แต่เนื่องจากได้อิบาดะฮฺอย่างมากมายจึงได้ถูกยกระดับชั้นไปรวมกับมลาอิกะฮฺ แต่หลังจากกาลเวลาได้ผ่านไประยะหนึ่ง ได้ถูกเนรเทศออกจากความเมตตาของอัลลอฮฺ สืบเนื่องมาจากการฝ่าฝืนคำบัญชาของพระองค์ ที่ทรงสั่งให้กราบอาดัม แต่ชัยฏอนปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตาม ซึ่งมารได้สาบานว่าจะหยุแหย่มนุษย์ทุกคนให้หลงทาง

ผลสรุป จิตที่เป็นอัมมาะเราะฮฺ, ตามความเป็นจริงแล้วก็คือ เครื่องมือชนิดหนึ่งของชัยฏอนมารร้าย ที่ใช้สร้างอิทธิเหนือมนุษย์และบุคคลนั้นก็ถูกนับว่าเป็นพลพรรคของชัยฏอนไปในที่สุด

ดังนั้น การหยุแหย่ของอิบลิสในฐานะที่เป็นชัยฏอนภายนอก, ส่วนการกระตุ้นของจิตที่เป็นอัมมาเราะฮฺและราคะคือมารภายใน, ที่โน้มนำมนุษย์ให้ตกไปสู่ความตกต่ำ.อีกนัยหนึ่งจิตที่เป็นอัมมาเราะฮฺถ้าพิจารณาในแง่ที่เป็นเดรัจฉานซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน ได้รับการหยุแหย่จากชัยฏอนมารร้าย ซึ่งชัยฏอนจะเข้ามาที่ละขั้น จนกระทั่งว่าในที่สุดแล้วบุคคลนั้นได้กลายเป็นพลพรรคของมารไปโดยปริยาย

คำตอบเชิงรายละเอียด

คำตอบสำหรับคำถามนี้ต้องอาศัยการทำความเข้าใจกับบทนำดังต่อไปนี้ :

บทนำที่ 1 : จิตและระดับชั้นของจิต

ตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์,มีมิติต่างๆ มากมายซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้ (สภาพความเป็นเดรัจฉาน,มนุษย์,และพระเจ้า) ซึ่งสามารถเข้าใจได้เป็นอย่างดีจากโองการอัลกุรอานที่กล่าวว่า จิตวิญญาณและจิตของมนุษย์นั้นเป็น 3 ระดับด้วยกัน กล่าวคือ[1]

1-จิตอัมมาเราะฮฺและราคะของความเป็นเดรัจฉาน.

ราคะความเป็นเดรัจฉานของมนุษย์อยู่ในกิเลส, ความปรารถนา, ความโกรธและความต้องการทางจิตนั่นเอง[2] ราคะของจิตปรารถนาและสภาพของจิตใจเช่นนี้ อัลกุรอานเรียกว่า นัฟอัมมาเราะฮฺ , และได้เน้นย้ำว่าแท้จริง จิตใจกระตุ้นข้างการชั่ว และการกระทำไม่ดีอันนำไปสู่การฝ่าฝืน[3]

ด้วยเหตุผลนี้เองจึงเรียกจิตนั้นว่า อัมมาะเราะฮฺ (ผู้ออกคำสั่งให้กระทำชั่ว) ในระดับนี้จะเห็นว่าเขายังไม่ได้พบสติปัญญาและความศรัทธาแม้แต่น้อยนิด เนื่องจากจิตได้ควบคลุมเขาเอาไว้ และทำให้เขาอ่อนนุ่มไปตามคำสั่ง ทว่ามีประเด็นมากมายที่ได้ยอมจำนนต่อจิต และจิตอัมมาเราะฮฺได้เป็นผู้ทำลายเขาจนหมดสิ้น

จากคำพูดของภรรยา อะซีซ ผู้ปกครองอียิปต์[4] ได้ชี้ให้เห็นถึงจิตระดับที่กำลังกล่าวถึง ซึ่งกล่าวว่า

و ما أبرئ نَفْسِی إِنَّ النَّفْسَ لَأَمَّارَةٌ بِالسُّوءِ"

แท้จริง จิตใจกระตุ้นข้างการชั่ว และการกระทำไม่ดีอันนำไปสู่การฝ่าฝืน[5]

2- จิตที่เป็นเลาวามะฮฺ :

จิตที่เป็นเลาวามะฮฺ หมายถึงระดับหนึ่งของจิต,เนื่องจากได้ต่อสู้และผ่านการอบรมสั่งสอนแล้ว, ในชั้นนี้จะยกระดับมนุษย์ให้สูงขึ้นไปในระดับหนึ่ง.ในระดับนี้เป็นไปได้ที่ว่าบางครั้งผลของการละเมิด หรือราคะได้หยุแหย่มนุษย์ให้เผอเรอกระทำความผิด หรือฝ่าฝืนคำสั่งได้ แต่หลังจากนั้นเขาจะสำนึกผิดโดยเร็วมีการประณามและตำหนิตัวเอง พร้อมกับตัดสินใจว่าจะทดแทนความผิดที่ตนได้กระทำลงไป นอกจากนั้นยังได้ชำระล้างจิตใจของตนด้วยน้ำของการลุแก่โทษ (เตาบะฮฺ)

อัลกุรอาน เรียกจิตระดับนี้ว่านัฟเลาวามะฮฺกล่าวว่าข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง (ว่าวันฟื้นคืนชีพนั้นสัจจริง)”[6]

3- นัฟซ์ มุตมะอินนะฮฺ เป็นอีกระดับหนึ่งของจิตภายหลังจากขัดเกลาจิตใจและให้การอบรมโดยสมบูรณ์แล้ว, มนุษย์จะก้าวไปถึงอีกระดับหนึ่ง ซึ่งในระดับนี้จะเห็นว่าไม่มีราคะ ความดื้อรั้น หรือความต้องการใดขึ้นมาเคียงคู่กับความศรัทธา เนื่องจากสติปัญญาและความศรัทธามีความเข้มแข็ง ทำให้สัญชาตญาณและอำนาจชัยฏอนไร้ความสามารถลงทันที เมื่อเผชิญหน้ากับจิตประเภทนี้

และนี่คือตำแหน่งของบรรดาศาสดาทั้งหลาย หมู่มิตรของพระองค์ และผู้เชื่อฟังปฏิบัติตามพวกเขาโดยสัจจริง. พวกเขาได้ศึกษาพลังศรัทธาและความสำรวมตนจากสำนักคิดของอัลลอฮฺ และนับเป็นเวลานานหลายปีที่พวกเขาได้ขัดเกลาและจาริกจิตของตนเอง จนกระทั่งว่าพวกเขาได้รับชัยชนะก้าวไปสู่ระดับสุดท้ายของการทำสงครามใหญ่ (ญิฮาดนัฟซ์)

อัลกุรอาน ได้เรียกจิตระดับนี้ว่า มุฏมะอินนะฮฺ ดังที่กล่าวว่า :

یَا أَیَّتُهَا النَّفْسُ الْمُطْمَئِنَّةُ ارْجِعِی إِلَى رَبِّکِ رَاضِیَةً مَّرْضِیَّةً

 โอ้ ดวงชีวิตที่สงบมั่นเอ๋ย จงกลับมายังพระผู้อภิบาลของเจ้า ขณะที่เจ้ามีความยินดี (ในพระองค์) และเป็นที่ปิติ (ของพระองค์)”[7]

บทนำที่ 2 : อิบลิสและชัยฏอน

1- อิบลิส :

จุดประสงค์ของอิบลิส,คือชัยฏอนเฉพาะเจาะจงที่มาจากหมู่ญินทั้งหลาย, แต่เนื่องจากได้ประกอบอิบาดะฮฺจำนวนมากมาย, จึงได้ถูกยกระดับให้ไปอยู่ในชั้นของมลาอิกะฮฺ แต่หลังจากกาลเวลาได้ผ่านไประยะหนึ่ง,อิบลิสก็ได้ถูกแยกตัวออกจากหมู่มวลมลาอิกะฮฺทั้งหลาย และถูกลดตำแหน่งจากความสูงส่งไปสู่ความต่ำทรามทันที, เนื่องจากอิบลิสได้ฝ่าฝืนคำบัญชาของพระเจ้า มารไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์อีกต่อไป[8]

2-ชัยฏอน :

ชัยฏอนมาจากรากศัพท์คำว่าชะเฏาะนะหมายถึงการขัดขืน การไม่เห็นด้วย และความห่างไกล ด้วยเหตุนี้เอง ทุกสิ่งที่ดื้อรั้นอวดดี หรือละเมิดจึงถูกเรียกว่าเป็นชัยฏอน,ซึ่งบางครั้งอาจเป็นมนุษย์ หรือญิน หรือเดรัจฉานก็ได้[9]

ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่าและในทำนองนั้นแหละเราได้ให้นบีทุกคนมีศัตรู คือบรรดาชัยฏอนแห่งมนุษย์และแห่งญินโดยที่พวกเขาต่างก็จะกระซิบกระซาบคําพูด ที่เสริมแต่ง เพื่อหลอกลวงให้แก่กันและกัน[10]

ด้วยเหตุที่อิบลิสได้ดื้อรั้น ฝ่าฝืนปฏิเสธไม่ปฏิบัติตาม และได้ละเมิดคำสั่ง อีกทั้งเป็นผู้ก่อการเสียหายจึงถูกเรียกว่าเป็น ชัยฏอน

บทนำที่ 3 : ความสัมพันธ์ระหว่างจิตอัมมาเราะฮฺกับชัยฏอน

จิตอัมมาเราะฮฺ ตามความเป็นจริงแล้วเป็นหนึ่งในเครื่องมือทันสมัยของมารร้ายชัยฏอน เป็นหนทางสร้างอิทธิพลของมารเพื่อควบคลุมมนุษย์ และถูกนับว่าเป็นพลพรรคที่แท้จริงของมาร

ดังนั้น การหยุแหย่ของอิบลิสชัยฏอนในฐานะที่เป็น มารภายนอก, ส่วนการกระตุ้นของจิตที่เป็นอัมมาเราะฮฺและราคะคือมารภายใน, ที่โน้มนำมนุษย์ให้ตกไปสู่ความตกต่ำ.

ความพยายามทั้งหมดของชัยฏอนก็คือ การทำให้มนุษย์หลงทางและไปไม่ถึงแก่นของความจริง ในประเด็นนี้ชัยฏอนได้สามบานต่ออำนาจความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺว่า จะทำให้มนุษย์ทุกคนหลงทาง อัลกุรอานกล่าวว่า :มารกล่าวว่า "ดังนั้น (ขอสาบาน) ด้วยพระอํานาจของพระองค์ แน่นอนข้าฯจะทำให้พวกเขาทั้งหมดหลงผิด เว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขาที่มีใจบริสุทธิ์เท่านั้น"[11]

คำว่าอัฆวามาจากรากศัพท์คำว่า เฆาะนา หมายถึงการต่อต้านความเจริญ, ส่วนความเจริญหมายถึงการไปถึงยังความจริง[12] 

ชัยฏอนได้สาบานต่อพลานุภาพความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺว่า จะลวงล่อให้มนุษย์ทั้งหมดหลงทาง[13] ซึ่งชัยฏอนจะหลอกลวงมนุษย์ไปที่ละขั้น และจะทำให้มนุษย์อยู่ภายใต้อำนาจของตน จนกระทั่งว่ามนุษย์ได้กลายเป็นชัยฏอน และจากเขาได้ทำให้มนุษย์คนอื่นๆ ระหกระเหินหลงทางตามไป

มนุษย์หลังจากได้รับการหยุแหย่จากชัยฏอนมารร้ายแล้ว, เขาได้ยอมจำนนต่อราคะและความปรารถนาแห่งเดรัจฉาน,ตกเป็นทาสของจิตอัมมาเราะฮฺ

ท่านอิมามอะลี (.) กล่าวว่า : “จิตอัมมาเราะฮฺก็เหมือนกับมุนาฟิกีน,จะครอบคลุมมนุษย์โดยกล่าวกับเขาในกรอบของมิตร, จนในที่สุดเขาสามารถควบคลุมมนุษย์ได้ หลังจากนั้นจะโน้นนำเขาไปสู่ขั้นต่อไป[14]

ชัยฏอนจะหยุ่แหย่บุคคลที่มีความศรัทธาอ่อนแอ และด้วยการช่วยเหลือของราคะ และความปรารถนาแห่งจิตอัมมาเราะฮฺของตนเอง, ทำให้จิตของเขากลายเป็นสถานพำนักสำหรับชัยฏอน และในที่สุดแล้วมารได้สัมผัสทั้งมือและร่างกายของเขา และตนได้ปาวนาตนเองเป็นมิตรผู้ช่วยเหลือมารในที่สุด, เนื่องจากบุคคลที่หัวใจของเขาเป็นสถานพำนักสำหรับชัยฏอน, ดังนั้นเขาไม่เพียงแต่เป็นเจ้าภาพต้อนรับชัยฏอนเท่านั้น ทว่าในความเป็นจริงเขาได้กลายแป็นผู้ช่วยเหลือที่ดีของชัยฏอน[15]

เกี่ยวกับชนกลุ่มดังกล่าวนี้ ท่านอิมามอะลี (,) กล่าวว่า :มันได้มองเห็นโดยอาศัยตาของพวกเขา และมันพูดโดยอาศัยลิ้นของพวกเขา[16]

สรุป : ชัยฏอนและจิตอัมมาเราะฮฺทั้งสองคือศัตรูของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เอง อัลกุรอานจึงได้กล่าวถึงชัยฏอนในฐานะที่เป็นศัตรูเปิดเผยของมนุษย์ และได้แนะนำมนุษย์ว่า จงถือว่าชัยฏอนเป็นศัตรูของพวกเจ้า[17]

รายงานจากบรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (.) กล่าวว่า จิตอัมมาเราะฮฺ (อำนาจฝ่ายต่ำ) คือศัตรูตัวฉกาจของมนุษย์, ท่านศาสดา (ซ็อล ) ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ว่าศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดสำหรับเจ้าคืออำนาจฝ่ายต่ำของเจ้า[18] ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงระดับของจิตฝ่ายต่ำ

ปรัชญาของการให้นิยามว่าศัตรูที่ร้ายกาจของเจ้าคือจิตฝ่ายต่ำจัดว่าเป็นศัตรูภายในของมนุษย์, ศัตรูภายนอกหรือขโมยข้างนอก, ถ้าหากไม่ร่วมมือกับศัตรูหรือขโมยภายในแล้ว, จะไม่สามารถสร้างอันตรายอันใดแก่เราได้อย่างแน่นอน. ศัตรูภายในนั่นเองที่รู้จักและมีข้อมูลทุกอย่าง ซึงมันได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้น นำเอาความต้องการของมนุษย์ไปเสนอและรายงานให้ชัยฏอนได้รับรู้

ทางตรงกันข้ามคำสั่งของอิบลิสที่เป็น คำสั่งให้ก่อการเสียหายภายนอก,ได้ตกมาถึงเขาและเขาได้ปฏิบัติตาม ด้วยเหตุนี้เอง จิตอัมมาเราะฮฺจึงถือว่าเป็นพลพรรคของชัยฏอน. ซึ่งคุณลักษณะจำนวนมากมายที่มาจากเขา ได้ถูกนับว่าเป็นพลพรรคของชัยฏอนไปโดยปริยาย[19] ฉะนั้น จิตอัมมาะเราะฮฺซึ่งถือว่าเป็นจิตแห่งเดรัจฉานที่มีอยู่ในมนุษย์,เกิดจากการหยุแหย่และกระซิบกระซาบของชัยฎอน และชัยฏอนจะค่อยๆ ลวงล่อเขาไปที่ละขั้น, จนกระทั่งว่าบุคคลนั้นได้กลายเป็นพลพรรคของชัยฏอนไปโดยปริยาย[20]



[1] ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เลาม 25, หน้า 281

[2] ฮักวะตักลีฟ ดัร อิสลาม, อับดุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี, หน้า 89.

[3] อัลกุรอาน บทยูซุฟ, 53.

[4] นักตัฟซีรบางกลุ่มเชื่อว่า จุดประสงค์จากประโยคดังกล่าวคือศาสดายูซุฟ แต่ทว่าทัศนะนี้ไม่เป็นที่ยอมรับของนักตัฟซีรส่วนใหญ่, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 9, หน้า 433, 434

[5] อัลกุรอาน บทยูซุฟ, 53.

[6] อัลกุรอาน บทกิยามะฮฺ, 2 กล่าวว่า : "وَ لا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ"

[7] อัลกุรอาน บทอัลฟัจญฺ, 27 – 28.

[8] ตัฟซีรมีซาน ฉบับแปลภาษาฟาร์ซี, เล่ม 8, หน้า 26,

[9] อัลมุนญิด ฟิลโลเฆาะฮฺ, ตัฟซีรเนะมูเนะฮฺ, เล่ม 1, หน้า 192.

[10] อัลกุรอาน บทอันอาม, 112 กล่าวว่า : وَ کَذلِکَ جَعَلْنا لِکُلِّ نَبِیٍّ عَدُوًّا شَیاطینَ الْإِنْسِ وَ الْجِنِّ ...

[11] อัลกุรอาน บทซ็อด, 82 - 83 กล่าวว่า : "قالَ فَبِعِزَّتِکَ لَأُغْوِیَنَّهُمْ أَجْمَعینَ

[12] ตัฟซีรมีซานฉบับแปล, เล่ม 1, หน้า 631.

[13] อัลกุรอาน บทซ็อด, 82 - 83 กล่าวว่า : "قالَ فَبِعِزَّتِکَ لَأُغْوِیَنَّهُمْ أَجْمَعینَ

[14] ฆอรรอรุลฮิกัม

[15] มะบาดี อัคลาก ดัรกุรอาน, ญะวาดียฺ ออมูลี, หน้า 115.

[16] นะฮฺญุลบะลาเฆาะฮฺ, คำเทศนาที่ 7, กล่าวว่า : فنظر بأعینهم ونطق بالسنتهم؛

[17] อัลกุรอาน บทบะเกาะเราะฮฺ, 168กล่าวว่า : انه لکم عدو مبین؛ แท้จริงมารคือศัตรูที่เปิดเผยของสูเจ้า

[18] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 67, หน้า 64, : قال النبی (ص): «اعدی عدوک نفسک التی بین جنبیک»

[19] ตัฟซีรตัสนีม,อับดุลลอฮฺ ญะวาดี ออมูลี, เล่ม 8, หน้า 516

[20] อัลกุรอาน บทมุญาดะละฮฺ, 19 กล่าวว่า : «استحوذ علیهم الشیطان فانساهم ذکرالله، اولئک حزب الشیطان؛ชัยฏอนได้เข้าไปครอบงําพวกเขาเสียแล้ว มันจึงทำให้พวกเขาลืมการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ชนเหล่านั้นคือบรรดาพรรคพวกของชัยฏอน

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...