การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6870
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/12/21
 
รหัสในเว็บไซต์ fa10135 รหัสสำเนา 20041
หมวดหมู่ تاريخ بزرگان
คำถามอย่างย่อ
ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่ ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ?
คำถาม
ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวชื่อรุก็อยยะฮ์หรือสะกีนะฮ์ไช่หรือไม่? ที่เสียชีวิตที่ดามัสกัสขณะอายุได้สามหรือสี่ขวบ
เท่าที่ดิฉันทราบมา เรื่องราวดังกล่าวมิได้มีการกล่าวถึงในแหล่งอ้างอิงที่เรารู้จัก (อย่างเช่นอัลอิรช้าด) ยิ่งไปกว่านั้น อิมาดุดดีน เฏาะบะรี ผู้ประพันธ์หนังสือ “กามิล บะฮาอี” ผู้รายงานเรื่องนี้เองก็รายงานอย่างกำกวมและมิได้ระบุชื่อของเด็กหญิงดังกล่าว (ในกรณีที่เราเชื่อถือนักรายงานคนนี้ /เนื่องจากไม่ทราบว่าสายรายงานน่าเชื่อถือหรือไม่)
อีกด้านหนึ่ง แหล่งอ้างอิงอย่าง เฏาะบะกอตุ้ลกุบรอ ... ฯลฯ ยืนยันว่าสะกีนะฮ์บุตรสาวของอิมามฮุเซน(อ.) รอดชีวิตกลับมาและได้แต่งงานมีบุตร เมื่อได้อ่านเช่นนี้ดิฉันจึงฉงนใจอย่างยิ่ง คุณคิดว่ามีหลักฐานที่หนักแน่นพอหรือไม่ที่จะพิสูจน์การมีอยู่ของเด็กหญิงคนดังกล่าวในเรื่องนี้?
คำตอบโดยสังเขป

แม้ว่านักประวัติศาสตร์จะมิได้กล่าวถึงบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(.) ที่มีนามว่า รุก็อยยะฮ์ หรือฟาฏิมะฮ์ศุฆรอ ฯลฯ แต่ตำราบางเล่มก็สาธยายเรื่องราวอันน่าเวทนาของเด็กหญิงคนนี้  ซากปรักหักพังในแคว้นชาม
เราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์บางเล่ม อาทิเช่น
. เมื่อท่านหญิงซัยนับ(.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(.) ผู้เป็นพี่ชาย นางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่าโอ้พี่จ๋า โปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิด เพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย
. เมื่อถึงวาระสุดท้ายของอิมามฮุเซน(.) ท่านกล่าวขณะที่ชิมร์ (ฆาตกร) อยู่เบื้องหน้าท่านว่าซัยนับของพี่ สะกีนะฮ์ของพ่อ โอ้บุตรหลานของฉัน ผู้ใดจะดูแลพวกเธอภายหลังจากฉันเล่า? รุก็อยยะฮ์ของพ่อ อุมมุกุลษูมของพี่ พวกเธอคืออะมานะฮ์ของพระองค์ เวลาแห่งสัญญาใกล้จะมาถึงแล้ว
เชคมุฟี้ดกล่าวว่า สะกีนะฮ์คือหนึ่งในบุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) มารดาของเธอชื่อรุบ้าบ
เชคเฏาะบัรซีเล่าวา สะกีนะฮ์บุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) มีอายุสิบปีในวันอาชูรอ
สรุปคือ มีตำรามากมายกล่าวถึงสะกีนะฮ์บุตรสาวของอิมามฮุเซน(.)

จึงทราบได้ว่าท่านอิมาม(.)มีบุตรสาวอีกคนที่ชื่อสะกีนะฮ์ ซึ่ง  เวลานั้น (ก่อนเหตุการณ์กัรบะลา) เจริญวัยและสามารถมีครอบครัวได้แล้ว
จากข้อมูลที่นำเสนอมาทำให้เข้าใจได้ว่า บุตรสาวคนหนึ่งของอิมามฮุเซน() (รุก็อยยะฮ์/ฟาฏิมะฮ์) เสียชีวิตเคียงข้างศีรษะของพ่อ  ซากปรักหักพังในเมืองชาม โดยเด็กหญิงคนนี้มิไช่สะกีนะฮ์ที่มีชีวิตอยู่หลังเหตุการณ์กัรบะลา

คำตอบเชิงรายละเอียด

นักประวัติศาสตร์และนักประพันธ์จดหมายเหตุอสัญกรรม(มักตัล) ระบุถึงบุตรสาวสองคนที่ชื่อ ฟาฏิมะฮ์ และสะกีนะฮ์ ในหมู่บุตรธิดาของท่านอิมามฮุเซน(.)[1] บางคนก็เพิ่มชื่อซัยนับเข้าไปด้วย[2] ส่วนบางคนก็เล่าถึงเรื่องราวอันน่าเวทนาของบุตรสาวตัวน้อยของอิมามฮุเซน(.)  ซากปรักหักพังในเมืองชาม[3] ซึ่งนักเขียนชุดหลังล้วนรายงานเรื่องราวดังกล่าวจากหนังสือ กามิล บะฮาอี (ประพันธ์ในศตวรรษ ..ที่เจ็ด) ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ดี เราพบว่ามีเบาะแสเกี่ยวกับเรื่องราวดังกล่าวปรากฏในตำราประวัติศาสตร์และตำราฮะดีษบางเล่ม อาทิเช่น
เมื่อท่านหญิงซัยนับ(.) ได้เห็นศีรษะของอิมามฮุเซน(.) ผู้เป็นพี่ชาย นางได้รำพึงรำพันบทกวีที่มีเนื้อหาว่าโอ้พี่จ๋า โปรดคุยกับฟาฏิมะฮ์น้อยสักนิดเถิด เพราะหัวใจนางกำลังจะสูญสลาย[4] แสดงถึงการมีอยู่จริงของเด็กหญิงที่อิดโรยเนื่องจากพรากจากพ่อ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ระเบียน รุก็อยยะฮ์ บุตรสาวของอิมามฮุเซน เลขที่ (เว็บไซต์- 7318)

เมื่อพิจารณาตำราประวัติศาสตร์และจดหมายเหตุอสัญกรรมอย่างละเอียดก็จะพบว่า นักประวัติศาสตร์ทั้งฝ่ายซุนหนี่และชีอะฮ์ต่างก็ระบุว่าอิมามฮุเซน(.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อสะกีนะฮ์
เชคมุฟี้ดกล่าวว่า สะกีนะฮ์คือหนึ่งในบุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) มารดาของเธอชื่อรุบ้าบ[5]
เชคเฏาะบัรซีกล่าวเสริมว่า อิมามฮุเซน(.)ได้ทำการสมรสเธอกับอับดุลลอฮ์ บิน ฮะซัน (ลูกพี่ลูกน้องของเธอเอง) โดยอับดุลลอฮ์ได้เป็นชะฮีดในวันอาชูรอ[6]
หนังสือ มักตะลุ้ลฮุเซนระบุว่า เธอสมรสกับลูกผู้พี่ (อับดุลลอฮ์ บิน ฮะซัน) แต่เขาเสียชีวิตในวันอาชูรอก่อนที่จะได้อยู่ด้วยกัน ทำให้ไม่มีบุตรธิดา[7]
นอกจากนี้ เชคเฏาะบัรซียังเล่าว่า สะกีนะฮ์ บินติ ฮุเซน(.) มีอายุสิบปีในวันอาชูรอ[8]
ซะฮะบีกล่าวไว้ในหนังสือ ตารีคุลอิสลามว่าสะกีนะฮ์เป็นบุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) จากนั้นก็ได้นำเสนอรายชื่อหนังสือราวยี่สิบเล่มที่กล่าวถึงเธอไว้[9] จึงทราบได้ว่ามีหนังสือมากมายที่กล่าวถึงสะกีนะฮ์ บุตรสาวของอิมามฮุเซน(.) โดยเราได้เพิ่มเติมแหล่งอ้างอิงไว้ในเชิงอรรถแล้ว[10]

เกี่ยวกับอายุของเธอนั้น นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกัน แต่จากการสังเคราะห์ทัศนะต่างๆจะได้ข้อสรุปว่าเธอถึงวัยที่สามารถสมรสได้ (หรืออาจจะสมรสแล้ว) ในวันอาชูรอ
จึงทราบได้ว่าท่านอิมาม(.)มีบุตรสาวอีกคนที่ชื่อสะกีนะฮ์ ซึ่ง  เวลานั้น (ก่อนเหตุการณ์กัรบะลา) เจริญวัยและสามารถมีครอบครัวได้แล้ว[11]
จากข้อมูลที่นำเสนอมาทำให้เข้าใจได้ว่า บุตรสาวคนหนึ่งของอิมามฮุเซน() (รุก็อยยะฮ์/ฟาฏิมะฮ์) เสียชีวิตเคียงข้างศีรษะของพ่อ  ซากปรักหักพังในเมืองชาม โดยเด็กหญิงคนนี้มิไช่สะกีนะฮ์ที่มีชีวิตอยู่หลังเหตุการณ์กัรบะลา



[1] มุฟี้ด, มุฮัมมัด บิน นุอ์มาน, อัลอิรช้าด, รวมผลงานของเชคมุฟี้ด,เล่ม 2,หน้า 135, ดารุลมุฟี้ด, เบรุต,..1414
อิบนุ ชะฮ์รอชู้บ,มะนากิบ อาลิ อบีฏอลิบ, เล่ม 4,หน้า 77, สำนักพิมพ์ อัลลามะฮ์,กุม
เฏาะบัรซี, อะอ์ลามุ้ลวะรอ, เล่ม 1,หน้า 478, สถาบันอาลุลบัยต์, พิมพ์ครั้งแรก,..1417
อัซซุบัยรี, มุศอับ, นะซับกุร็อยช์,หน้า 59,ดารุลมะอาริฟ,ไคโร,พิมพ์ครั้งที่สาม
บะลาซุรี, อันซาบุลอัชร้อฟ,เล่ม 3,หน้า 1288, ดารุลฟิกร์, เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,..1417
สิบฏ์ บิน เญาซี, ตัซกิเราะตุ้ลเคาะว้าศ, หน้า, 249, สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์,เบรุต,พิมพ์ครั้งแรก,..1401

[2] อัลอิรบิลี, กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์ ฟีมะอ์ริฟะติลอะอิมมะฮ์, เล่ม 2,หน้า 38,ค้นคว้าเพิ่มเติมโดยเราะซูลี,ตับรีซ,ตลาดมัสญิดญามิอ์

[3] กุมี, เชคอับบาส, นะฟะซุลมะฮ์มูม,หน้า 415,416, สำนักพิมพ์มักตะบะฮ์ฮัยดะรียะฮ์,พิมพ์ครั้งแรก,1379
อัลอีก้อด,ชาฮ์ ดับดุลอะซีมี,หน้า 179,สำนักพิมพ์ฟีรู้ซออบอดี,พิมพ์ครั้งแรก,..1411
ฮาอิรี, มะอาลิสซิบฏ็อยน์,เล่ม 2,หน้า 170,สำนักพิมพ์อันนุอ์มาน,เบรุต,..1412
กุมี,เชคอับบาส, มุนตะฮัลอาม้าล,เล่ม 1,หน้า 807,สำนักพิมพ์ฮิจรัต,พิมพ์ครั้งที่สี่,..1411
เฏาะบะรี,อิมาดุดดีน, กามิล บะฮาอี,เล่ม 2,หน้า 179,สำนักพิมพ์มุศเฏาะฟะวี

[4] มัจลิซี,มุฮัมมัดบากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 45,หน้า 115 …یا اخی فاطم الصغیرة کلمّا فقد کاد قلبها ان یذوبا
อัลกุนดูซี,ยะนาบีอุ้ลมะวัดดะฮ์,เล่ม 2,หน้า 421,สำนักพิมพ์ชะรีฟเราะฎี,พิมพ์ครั้งแรก,1371

[5] มุฟี้ด,มุฮัมมัด บิน นุอ์มาน, อัลอิรช้าด,เล่ม 2,หน้า 37, สำนักพิมพ์อิลมียะอ์อิสลามียะฮ์

[6] เฏาะบัรซี,อะอ์ลามุ้ลวะรอ,เล่ม 1,หน้า 418, สำนักพิมพ์อาลุลบัยต์ และ มุฟี้ด,มุฮัมมัด บิน นุอ์มาน, อัลอิรช้าด,หน้า 25 และ อัลอิรบิลี,กัชฟุ้ลฆุมมะฮ์,หน้า 157

[7] มูซะวี, อับดุรร็อซซ้าก, มักตะลุลฮุเซน(.), หน้า 397, สำนักพิมพ์บะศีเราะตี

[8] เพิ่งอ้าง

[9] ซะฮะบี, ตารีคุ้ลอิสลาม,เล่ม 7,หน้า 371, ดารุลกิตาบิลอะเราะบี,เบรุต,เลบานอน

[10] อบุลฟะร็อจ อิศฟะฮานี,มะกอติลุฏฏอลิบียีน, หน้า 94,119,133,167,   และ บะลาซุรี, อันซาบุลอัชร้อฟ,เล่ม 3,หน้า 362, และ อิบนิ ฮันนาน, อัษษิก้อต, เล่ม 4,หน้า 351, สำนักพิมพ์กุตุบุษษิกอฟะฮ์, และ อัลบุคอรี,ตารีคิสเศาะฆี้ร,เล่ม 1,หน้า 273, ดารุลมะอ์ริฟะฮ์,เลบานอน,เบรุต และ อัลอัศฟะรี,ตารีค เคาะลีฟะฮ์ บิน ค็อยยาฏ,หน้า 274, ดารุลฟิกร์,เบรุต และ มุฮัมมัด บิน สะอ์ด, เฏาะบะกอตุ้ลกุ้บรอ,เล่ม 8,หน้า 475,เบรุต และ อัลมัซนี,ตะฮ์ซีบุ้ลกะมาล,เล่ม 6,หน้า 397, สำนักพิมพ์ริซาละฮ์, และ อิบนิ อามิร,ตารีคุลมะดีนะฮ์,เล่ม 2,หน้า 52 และ เล่ม 29,หน้า 69, ดารุลฟิกร์, ดามัสกัส, และ อิบนิ มากูลา, อิกมาลุ้ลกะมาล,เล่ม 4,หน้า 316, และ เล่ม 7,หน้า 107,ดารุลกิตาบิลอิสลามี,ไคโร และ มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร, บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 45,หน้า 47และหน้า 169,เบรุต และ กุมี, เชคอับบาส, มุนตะฮัลอาม้าล,เล่ม 1,หน้า 547, สำนักพิมพ์ฮุซัยนี

[11] มุฟี้ด, มุฮัมมัด บินนุอ์มาน, อัลอิรช้าด,เล่ม 2,หน้า 22, แปลโดย เราะซูลี มะฮัลลอที,สำนักพิมพ์อิลมียะฮ์อิสลามียะฮ์, ดูระเบียน: บุตรธิดาของอิมามฮุเซน(.)

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

คำถามสุ่ม

  • สวรรค์นั้นมีประตูต่างๆ จำนวนมากมาย และประตูแต่ละที่มีชื่อกำกับเฉพาะด้วย
    17344 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    สวรรค์นั้นมีประตูต่างๆจำนวนมากมายซึ่งมีถึง 8 ประตูด้วยกัน, ส่วนนามชื่อเฉพาะของประตูเหล่านั้นหรือประตูบานนั้นจะกลุ่มชนใดได้ผ่านเข้าไปบ้างรายงานฮะดีซมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างและชื่อเฉพาะประตูมีรายงานที่กระจัดกระจายแจ้งเอาไว้
  • เกิดอะไรขึ้นกับม้าของอิมามฮุเซน (อ.) ที่กัรบะลา
    7779 تاريخ بزرگان 2554/11/29
    สายรายงานไม่ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของม้าของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่มีนามว่า "ซุลญะนาฮ" อย่างละเอียดนักแต่สายรายงานที่เชื่อถือได้ส่วนใหญ่ระบุว่าหลังจากที่อิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้วม้าตัวนี้ได้เกลือกกลั้วขนแผงคอกับเลือดอันบริสุทธิ์ของท่านแล้วมุ่งหน้าไปยังกระโจมและส่งเสียงร้องโหยหวนบรรดาผู้ที่อยู่ในกระโจมเมื่อได้ยินเสียงของซุลญะนาฮก็รีบวิ่งออกมาจากกระโจมจึงได้รับรู้ว่าอิมามฮุเซน (อ.) เป็นชะฮีดแล้ว[1]แต่ทว่าสายรายงานและหนังสือบางเล่มที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่เช่นหนังสือนาซิคุตตะวารีคได้กล่าวถึงเหตุการณ์อื่นๆนอกเหนือจากนี้เช่นกล่าวไว้ว่าม้าตัวนั้นได้โขกหัวกับพื้นบริเวณหน้ากระโจมจนตายหรือควบตะบึงไปยังแม่น้ำฟูรอตและกระโดดลงในแม่น้ำ[2][1]ซิยาเราะฮ์นาฮิยะฮ์
  • ถูกต้องไหม ขณะที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ถูกฟันศีรษะขณะนมาซซุบฮฺ,อิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ มิได้อยู่ด้วย?
    7700 تاريخ بزرگان 2554/12/20
    รายงานเกี่ยวกับการถูกฟันของท่านอิมามอะลี (อ.) ซึ่งขณะนั้นท่านอิมามฮะซันและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ร่วมอยู่ด้วยนั้นมีจำนวนมากด้วยเหตุนี้เองจึงมีความเป็นไปได้หลายกรณีเกี่ยวกับประเด็นที่กำลังวิภาษกันอยู่กล่าวคือ:1.
  • ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมกับจริยศาสตร์คืออะไร? สิ่งไหนครอบคลุมมากกว่ากัน? และการตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์กับจริยธรรมอันไหนครอบคลุมมากกว่า?
    20835 จริยธรรมทฤษฎี 2555/04/07
    คำว่า “อัคลาก” ในแง่ของภาษาเป็นพหูพจน์ของคำว่า “คุลก์” หมายถึง อารมณ์,ธรรมชาติ, อุปนิสัย, และความเคยชิน,ซึ่งครอบคลุมทั้งอุปนิสัยทั้งดีและไม่ดี นักวิชาการด้านจริยศาสตร์,และนักปรัชญาได้ตีความเกี่ยวกับจริยศาสตร์ไว้มากมาย. ซึ่งในหมู่การตีความทั้งหลายเหล่านั้นของนักวิชาการสามารถนำมารวมกัน และกล่าวสรุปได้ดังนี้ว่า “อัคลาก ก็คือคุณภาพทางจิตวิญญาณของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่มีความเหมาะสม หรือพฤติกรรมอันเหมาะสมของมนุษย์ที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันตน” สำหรับ ศาสตร์ด้านจริยธรรมนั้น มีการตีความไว้มากมายเช่นกัน ซึ่งในคำอธิบายเหล่านั้นเป็นคำพูดของท่าน มัรฮูม นะรอกียฺ กล่าวไว้ในหนังสือ ญามิอุลสะอาดะฮฺว่า : ความรู้ (อิลม์) แห่งจริยศาสตร์หมายถึง การรู้ถึงคุณลักษณะ (ความเคยชิน) ทักษะ พฤติกรรม และการถูกขยายความแห่งคุณลักษณะเหล่านั้น การปฏิบัติตามคุณลักษณะที่แตกต่างกันในการช่วยเหลือให้รอดพ้น หรือการการปล่อยวางคุณลักษณะที่นำไปสู่ความหายนะ” ส่วนการครอบคลุมระหว่างจริยธรรมกับศาสตร์แห่งจริยธรรมนั้น มีคำกล่าวว่า,ความแตกต่างระหว่างทั้งสองมีอยู่เฉพาะในทฤษฎีเท่านั้นเอง ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากจะกล่าวว่า สิ่งไหนมีความครอบคลุมมากกว่ากันจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด ...
  • การลงโทษความผิดบาปต่างๆ บางอย่าง จะมากกว่าการลงโทษบาปอื่น ๆ บางอย่างใช่หรือไม่?
    8396 จริยธรรมทฤษฎี 2555/08/22
    อัลกุรอานและรายงานฮะดีซจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เข้าใจได้ว่า ความผิดต่างๆ ถ้าพิจารณาในแง่ของการลงโทษในปรโลกและโลกนี้ จะพบว่ามีระดับขั้นที่แตกต่างกัน อัลกุรอานถือว่า ชิริก คือบาปใหญ่และเป็นการอธรรมที่เลวร้ายที่สุด ทำนองเดียวกัน การกระทำความผิดบางอย่างได้รับการสัญญาเอาไว้ว่า จะต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน นั่นบ่งบอกให้เห็นว่า มันเป็นความผิดใหญ่นั่นเอง ในแง่ของการลงโทษความผิดทางโลกนี้ สำหรับความผิดบางอย่างนั้นคือ การเฆี่ยนตีให้หลาบจำ ซึ่งได้ถูกกำหนดไว้ แต่การลงโทษความผิดบางอย่าง เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนา จะต้องถูกประหารชีวิตให้ตายตกไปตามกัน หรือบาปบางอย่างนอกจากต้องโทษแล้ว ยังต้องจ่ายสินไหมเป็นเงินตอบแทนด้วย ...
  • ถ้าหากเป็นการแต่งงานชั่วคราว (มุตอะฮฺ) และฝ่ายชายได้เป็นตัวแทนฝ่ายหญิง เพื่ออ่านอักด์ แต่มิได้บอกกำหนดเวลาและจำนวนมะฮฺรียะฮฺ ถือว่าอักด์ถูกต้องหรือไม่?
    9259 สิทธิและกฎหมาย 2555/01/23
    คำตอบจากมัรญิอฺตักลีดบางท่านกล่าวว่า ..สำนักฯพณฯท่านผู้นำอายะตุลลอฮฺอัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺ
  • อิสลามมีบทบัญญัติอย่างไรเกี่ยวกับการโคลนนิ่ง?
    8352 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/09
    การโคลนนิ่งโดยเฉพาะการโคลนนิ่งมนุษย์ถือเป็นประเด็นปัญหาใหม่จึงไม่อาจจะพบโองการกุรอานหรือฮะดีษที่ระบุเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรงอย่างไรก็ดีผู้รู้และนักวิชาการชีอะฮ์ได้ใช้กระบวนการวินิจฉัยหลักฐานจากกุรอานและฮะดีษทำให้สามารถแสดงทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ซึ่งแบ่งออกเป็นสามทัศนะด้วยกัน
  • ท่านอิมามฮุเซน(อ.)มีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อรุก็อยยะฮ์ไช่หรือไม่?
    7971 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/04
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • “ศอดุกอติฮินนะ” และ “อุญูริฮินนะ” ในกุรอานหมายถึงอะไร?
    7142 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/08
    คำว่า “ศอดุกอติฮินนะ”[1] มีการกล่าวถึงในประเด็นของการแต่งงานถาวร และได้กล่าวว่าสินสอดนั้นเป็น “ศิด้าก”[2] อายะฮ์ที่คำดังกล่าวปรากฏอยู่นั้น บ่งบอกถึงสิทธิที่สตรีจะต้องได้รับ และย้ำว่าสามีจะต้องจ่ายค่าสินสอดของภรรยาของตน[3] นอกจากว่าพวกนางจะยกสินสอดของนางให้กับเขา[4] นอกจากนี้คำนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความสัจจะและความจริงใจในการแต่งงานด้วยเช่นกัน[5] ส่วนคำว่า “อุญูริฮินนะ”[6] หมายถึงการแต่งงานชั่วคราวและที่เรียกกันว่า “มุตอะฮ์” นั้นเอง และกล่าวว่า “จะต้องจ่ายมะฮัรแก่สตรีที่ท่านได้แต่งงานชั่วคราวกับนางเนื่องจากสิ่งนี้เป็นวาญิบ”[7] คำถามนี้ไม่มีคำตอบเชิงรายละเอียด
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10232 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    59454 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    56912 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    41720 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    38473 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38460 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33494 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    27570 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27290 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27186 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25263 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...