การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
13494
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/04/09
คำถามอย่างย่อ
การถูกสาปเป็นลิงคือโทษของผู้ที่จับปลาในวันเสาร์เพราะมีความจำเป็นหรืออย่างไร?
คำถาม
โองการที่ 65 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์กล่าวว่า “แน่แท้สูเจ้าทราบดีว่ากลุ่มหนึ่งจากสูเจ้ามิได้เกรงข้อบังคับเกี่ยวกับวันเสาร์ เราจึงได้สาปโดยตรัสว่าจงเป็นลิงเถิด” ถามว่าเหมาะสมแล้วหรือที่ผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการจับปลาในวันเสาร์ควรจะถูกสาปเป็นลิง ถามว่าอัลลอฮ์ทรงให้ความสำคัญแก่การหิวโหยและเกียจคร้านในวันหยุดมากกว่าการทำมาหากินกระนั้นหรือ? ทั้งที่ในยุคนั้นเองก็ไม่มีสิ่งบันเทิงใจเสมือนยุคปัจจุบัน
คำตอบโดยสังเขป

ในเบื้องแรกควรทราบว่าการหาปลาประทังชีวิตมิไช่เหตุที่ทำให้บนีอิสรออีลส่วนหนึ่งถูกสาป เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ท่านอิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ทำงานหาเลี้ยงครอบครัวเสมือนนักต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์” ฉะนั้น เหตุที่ทำให้พวกเขาถูกสาปจึงไม่ไช่แค่การจับปลา และนั่นก็คือสิ่งที่อัลลอฮ์กล่าวไว้ว่า “และเช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาฝ่าฝืน”
สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا และ یعدون (ละเมิด) ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้  อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
การพักงานในวันเสาร์ถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านเสมอไป

คำตอบเชิงรายละเอียด

เพื่อให้เกิดความกระจ่างในประเด็นนี้ ไคร่ขอเกริ่นนำว่า
หนึ่ง. นอกจากโองการที่ถามมาเกี่ยวกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวันเสาร์แล้ว อัลลอฮ์ยังทรงกล่าวไว้ในโองการที่ ซูเราะฮ์อะอ์ร้อฟว่า “และจงสอบถามพวกเขาเกี่ยวกับ (ความเป็นมา) ของเมืองชายทะเลแห่งหนึ่ง (และจงรำลึก)เมื่อครั้งที่พวกเขาได้กระทำการละเมิด(บทบัญญัติของพระองค์)ในวันเสาร์ โดยในครานั้นฝูงปลาได้ปรากฏในวันเสาร์ (อันเป็นวันหยุดพักผ่อนของพวกเขา) แต่ไม่ปรากฏในวันอื่นๆ เช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาด้วยสิ่งที่พวกเขามักจะละเมิดเสมอมา”

สอง. เกี่ยวกับกรณีที่ว่าพวกเขาละเมิดอย่างไรนั้น มีสองทัศนะด้วยกัน
ก. เนื่องจากฝูงปลาชุกชุมในวันเสาร์เหตุเพราะไม่อนุญาตให้จับ ทำให้มีคนฉลาดแกมโกงขุดบ่อดักปลาในวันเสาร์และลงไปจับในวันอาทิตย์
ข. พวกเขาละเมิดกฏด้วยการจับปลาด้วยวิธีปกติในวันเสาร์[1]

สาม. ด้วยเหตุที่ชนเผ่ายิวละเมิดคำบัญชาของอัลลอฮ์และศาสนทูตด้วยการสร้างความเสื่อมเสียในศาสนา ทำให้ต้องประสบกับละอ์นัตของพระองค์ ส่งผลให้คนส่วนใหญ่สูญเสียแรงศรัทธาทีละน้อย อัลลอฮ์ได้ทรงเตือนว่าถ้าหากยังดื้อดึงและฝ่าฝืนเช่นนี้ต่อไป จะประสบกับพลังกริ้วของพระองค์อย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการสาปแช่งหรือ “ฎ็อมส์” อันหมายถึงการลงโทษที่ไม่เหลือร่องรอยใดๆ พระองค์จะจัดการกับพวกเขาด้วยสองสิ่งดังกล่าวโดยไม่ละเว้นโทษอย่างแน่นอน[2]

หลังจากทราบประเด็นข้างต้นแล้ว เราจะเริ่มพิจารณาคำถามที่ได้ถามมา และเนื่องจากสำนวนคำถามตั้งอยู่บนสมมุติฐานอันคลาดเคลื่อน เราจึงขอตอบคำถามด้วยการนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้องดังต่อไปนี้

การจับปลาหาเลี้ยงชีพเป็นเหตุให้พวกเขาถูกสาปเป็นลิงกระนั้นหรือ?

รายงานของฝ่ายมุสลิมระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นกับชาวบนีอิสรออีลกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ริมทะเลแห่งหนึ่ง (คาดว่าจะเป็นแถบชายฝั่งทะเลแดง) ณ เมืองท่าที่ชื่อ “อีละฮ์” (ปัจจุบันเรียกว่าท่าอีลาต) โดยอัลลอฮ์ได้ทดสอบพวกเขาด้วยการห้ามไม่ให้จับปลาในวันเสาร์ ทว่าคนกลุ่มนี้ฝ่าฝืนคำสั่ง ทำให้ต้องประสบกับชะตากรรมอันเจ็บปวด[3] ด้วยเหตุนี้การที่พวกเขาถูกสาปมิได้เกิดจากการออกหาปลาเพื่อประทังชีวิตโดยปกติ เพราะการหาเลี้ยงชีพนอกจากจะไม่เป็นที่ต้องห้ามแล้ว ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ์ในทัศนะอิสลามอีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วย่อมไม่ทำให้ถูกสาปอย่างแน่นอน มีฮะดีษที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้สองบทด้วยกัน

หนึ่ง. ท่านอิมามอลี(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่ซื้อเนื้อเลี้ยงครอบครัวแม้เพียงดิรฮัมเดียว ประหนึ่งได้ปล่อยทาสจากวงศ์วานนบีอิสมาอีลให้เป็นไท”[4]
สอง. อิมามศอดิก(อ.)กล่าวว่า “ผู้ที่มีวิริยะอุตสาหะหาเลี้ยงครอบครัวของตน เสมือนดั่งนักต่อสู้ในหนทางของพระองค์ที่ฟาดฟันอยู่กลางสนามรบ”[5]

เหล่านี้ทำให้ทราบว่าการจับปลาโดยสุจริตมิไช่เหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้พวกเขาถูกสาป แต่เกิดขึ้นเพราะเหตุผลที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า “เช่นนี้แหล่ะที่เราได้ทดสอบพวกเขาในสิ่งที่พวกเขาเคยฝ่าฝืนมาโดยตลอด”[6] เมื่อพิจารณาโองการนี้ประกอบกับฮะดีษต่างๆที่คล้ายคลึงกันทำให้ทราบว่า บททดสอบดังกล่าวคล้ายกับเหตุการณ์ที่นบีอิบรอฮีมรับบัญชาให้เชือดพลีนบีอิสมาอีล[7] หรือการระงับมิให้กองทัพของฏอลู้ตดื่มน้ำ[8] ซึ่งล้วนเป็นการทดสอบชนชาติบนีอิสรออีลบางกลุ่มทั้งสิ้น แต่เนื่องจากคนกลุ่มนี้ดื้อแพ่งละเมิดบทบัญญัติ ทำให้ต้องประสบกับความกริ้วของพระองค์โดยการถูกสาปเป็นลิง

สิ่งที่ช่วยยืนยันเหตุผลดังกล่าวก็คือ มีสำนวน اعتدوا [9]และ یعدون (ละเมิด)[10] ปรากฏในโองการที่เกี่ยวกับเรื่องนี้  อันแสดงว่าพวกเขาถูกลงโทษเนื่องจากทำบาปและฝ่าฝืนพระบัญชาของพระองค์ ทำให้ไม่ผ่านบททดสอบเกี่ยวกับเรื่องนี้

การงดกระทำการใดๆในวันเสาร์เป็นการส่งเสริมให้เกียจคร้านหรือไม่?
การหยุดงานในวันเสาร์ถือเป็นประกาศิตจากคัมภีร์เตาร้อต(โตร่าห์) อีกทั้งยังเป็นขนบจำเพาะสำหรับชนชาวยิว ซึ่งถือเป็นข้อบังคับสำคัญระดับต้นๆ โดยพวกเขาเชื่อว่าพระเจ้าทรงบันดาลโครงสร้างของโลกเสร็จสิ้นและพักผ่อนในวันเสาร์ และเชื่อว่าชนชาติยิวลี้ภัยจากอิยิปต์สำเร็จในวันนี้ ชาวยิวจึงต้องละเว้นทุกกิจกรรมและทำบุญกุศลในวันเสาร์[11] ด้วยเหตุนี้เอง การหยุดงานในวันนี้จึงถือเป็นหลักปฏิบัติถาวรของชนชาติยิวจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็มิได้เป็นการชี้โพรงให้นอนเอกเขนกด้วยความเกียจคร้านแต่อย่างใด แต่เนื่องจากโดยปกติแล้ว คนเราจะทำงานอย่างเต็มที่ตลอดสัปดาห์โดยไม่ไคร่จะสนใจอิบาดะฮ์ ความสะอาด ครอบครัว ฯลฯ เท่าที่ควร จึงสมควรจะสะสางหน้าที่เหล่านี้ในวันหยุดสักหนึ่งวันต่อสัปดาห์ การได้อยู่กับครอบครัวก็มีส่วนทำให้เกิดพลังงานด้านบวกที่จะกระตุ้นให้เริ่มงานในวันแรกของสัปดาห์อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้น การไม่ทำงาน (ที่เป็นทางการ) ในวันหยุด มิได้แสดงถึงความเกียจคร้านแต่อย่างใด

แน่นอนว่าศาสนามิได้ปิดกั้นกิจกรรมสันทนาการ เพราะมีบางกรณีที่ศาสนาส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้ อย่างไรก็ดี มิไช่ว่าวันหยุดจะเป็นวันแห่งกิจกรรมสันทนาการเพียงอย่างเดียว เพราะชาวบนีอิสรออีลเองก็มีหน้าที่จะต้องหยุดหาปลาและหยุดงานเพื่อประกอบกิจทางศาสนา ทว่าพวกเขาละเมิดบทบัญญัติดังกล่าว[12]

อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่า ในเมื่อพวกเขามิได้ยกอวนในวันเสาร์ ก็แสดงว่ามิได้ฝ่าฝืนคำสั่งห้ามจับปลาในวันเสาร์ แล้วเหตุใดจึงถูกสาปในที่สุด?
ตอบได้ว่า เนื่องจากคนเหล่านี้ละเมิดบทบัญญัติของอัลลอฮ์ด้วยการขังปลาในวันเสาร์แล้วจับปลาในวันอาทิตย์ (อันถือเป็นการเลี่ยงบาลี) พฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการละเมิดบทบัญญัติ เหตุเพราะการกักบริเวณปลาที่ชุกชุมในวันเสาร์ก็มิได้แตกต่างอะไรกับการจับปลา เปรียบเสมือนการจับปลาแม่น้ำมาใส่ในบ่อที่เตรียมไว้เพื่อจับในภายหลัง

ข้อสังเกตุ.
น่าฉงนใจที่คัมภีร์โตร่าห์อันอุดมไปด้วยการยกยอปอปั้นชนชาติบนีอิสรออีลนั้น มิได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวเสมือนอีกหลายเหตุการณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์กุรอาน และเหตุการณ์ต่างๆที่ปรากฏในสองคัมภีร์นี้ก็มีสำนวนที่แตกต่างกันเป็นอย่างยิ่ง[13]

 


[1] เฏาะบัรซี, ฟัฎล์ บิน ฮะซัน, มัจมะอุ้ลบะยาน ฟีตัฟซีริลกุรอาน, คณะผู้แปล,เล่ม 1,หน้า 204-205, สำนักพิมพ์นาศิรโคสโร,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สาม,ปี 1372

[2] เฏาะบาเฏาะบาอี,ซัยยิดมุฮัมมัดฮุเซน,อัลมีซาน,มูซะวี ฮะมะดอนี และซัยยิดมุฮัมมัด บากิร,เล่ม 4,หน้า 584,สำนักพิมพ์อิสลามี ญามิอะฮ์มุดัรริซีน สถาบันศึกษาศาสนาแห่งเมืองกุม,กุม,พิมพ์ครั้งที่ห้า,ปี1374

[3] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์,เล่ม 6,หน้า 418,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งแรก,ปี1374

[4] มัจลิซี,มุฮัมมัด บากิร,บิฮารุลอันว้าร,เล่ม 75,หน้า 32,สถาบันอัลวะฟา,เบรุต,เลบานอน,ฮ.ศ.1404

[5] กุลัยนี,อัลกาฟี,เล่ม 5,หน้า 88,ดารุลกุตุบิลอิสลามียะฮ์,เตหราน,ปี1365

[6] อัลอะอ์ร้อฟ,163

[7] “เมื่อเขา(อิสมาอีล)ถึงวัยอันควร (อิบรอฮีม)ได้กล่าวแก่เขา(อิสมาอีล)ว่า โอ้ลูกรัก พ่อฝันว่าพ่อกำลังเชือดลูก ลูกมีความเห็นเช่นไร? เขากล่าวว่า โอ้พ่อจ๋า ทำในสิ่งที่ได้รับบัญชาเถิด ในไม่ช้าพ่อจะได้เห็นว่าผมเป็นผู้อดทน” อัศศ้อฟฟ้าต,103

[8] “เมื่อครั้งที่ฏอลู้ตกรีฑาทัพพร้อมกับเหล่าทหาร เขาได้กล่าวว่าพระองค์ทรงทดสอบพวกท่านด้วยธารน้ำ ผู้ใดที่ดื่มน้ำในลำธารนี้ไม่ไช่พวกฉัน ผู้ที่ไม่ดื่มคือพรรคพวกของฉัน เว้นแต่จะจิบเพียงฝ่ามือ หลังจากนั้นปรากฏว่าส่วนน้อยเท่านั้นที่งดดื่มน้ำ และเมื่อฏอลู้ตและเหล่าผู้ศรัทธาได้ข้ามลำธารดังกล่าวแล้ว เหล่าผู้คัดค้านพากันกล่าวว่า เราไม่มีเรี่ยวแรงจะต่อสู้กับญาลู้ตและกองทัพได้อีกต่อไป” อัลบะเกาะเราะฮ์,249

[9] อัลบะเกาะเราะฮ์,65

[10] อัลอะอ์ร้อฟ,163

[11] ทอเลกอนี,ซัยยิดมะห์มู้ด,วงรัศมีจากกุรอาน,เล่ม1,หน้า186, ห้างหุ้นส่วนการพิมพ์,เตหราน,พิมพ์ครั้งที่สี่,ปี1362

[12] มะการิม ชีรอซี,นาศิร,ตัฟซี้รเนมูเนะฮ์(ปรับเนื้อหาเล็กน้อย),เล่ม6,หน้า419

[13] ทอเลกอนี,ซัยยิดมะห์มู้ด,วงรัศมีจากกุรอาน,เล่ม1,หน้า186

 

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • เพราะสาเหตุใดที่ ปรัชญาอันเป็นแบบฉบับของอิสลาม ไม่สามารถยกสถานภาพของตนให้กับ ปรัชญาใหม่แห่งตะวันตกได้ พร้อมกันนั้นปรัชญาอิสลาม ยังคงดำเนินต่อไปตามแบบอย่างของตน?
    8780 آراء شناسی 2557/05/20
    การยอมรับทุกทฤษฎีความรู้นั้นสิ่งจำเป็นคือ ต้องมีพื้นฐานของเหตุผลเป็นหลัก ดังนั้น บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ ถ้าหากว่าสมมติฐานต่างๆ ในอดีตบางอย่าง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ถูกต้องหรือเป็นโมฆะนั่นก็มิได้หมายความว่า ทฤษฎีความรู้ทั้งหมดเหล่านั้น จะโมฆะไปด้วย แต่ปรัชญาอิสลามนั้นแตกต่างไปจากทฤษฎีความรู้ดังกล่าวมา ตรงที่ว่าปรัชญาอิสลามมีความเชื่อ ที่วางอยู่บนเหตุผลในเชิงตรรกะ และสติปัญญา ดังนั้น เมื่อถูกปรัชญาตะวันตกเข้าโจมตี นอกจากจะไม่ยอมสิโรราบแล้ว ยังสามารถใช้เหตุผลโต้ตอบปรัชญาตะวันตกได้อย่างองอาจ นักปรัชญาอิสลามส่วนใหญ่มีการศึกษาปรัชญาตะวันตก และนักปรัชญาตะวันตก พร้อมกับมีการหักล้างอย่างจริงจัง ...
  • อยากทราบว่าปัจจุบันมีการเปรียบเทียบทองหนึ่งโนโค้ดอย่างไร เท่ากับทองกี่กรัม?
    6285 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/04
    เมื่อแบ่งระยะรอบเดือนของภรรยาออกเป็นสามช่วงเท่าๆกัน หากสามีร่วมประเวณีทางช่องทางปกติในช่วงเวลาที่หนึ่ง โดยหลักอิห์ติยาฏแล้ว ต้องจ่ายสินไหมเป็นทองสิบแปดโนโค้ดแก่ผู้ยากไร้ ในกรณีร่วมประเวณีในช่วงเวลาที่สอง ต้องจ่ายทองเก้าโนโค้ด และหากเป็นช่วงเวลาที่สามต้องจ่ายทองสี่โนโค้ดครึ่ง[1] สิบแปดโนโค้ดเท่ากับหนึ่งมิษก้อลตามหลักศาสนา เทียบเท่าน้ำหนักสี่กรัมครึ่ง[2] อย่างไรก็ดี มีทัศนะแตกต่างกันเล็กน้อยในหมู่นักวิชาการศาสนาเกี่ยวกับเรื่องสินไหมดังกล่าว ซึ่งสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากตำราที่อ้างอิงในเชิงอรรถ คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์ มะฮ์ดี ฮาดะวี เตหรานีมีดังต่อไปนี้: การร่วมหลับนอนในช่วงมีประจำเดือนถือเป็นเรื่องต้องห้าม แต่ไม่จำเป็นต้องจ่ายสินไหมใดๆนอกจากการขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ อย่างไรก็ดี เพื่อความรอบคอบจึงควรจ่ายสินไหมหนึ่งดีน้ารแก่ผู้ยากไร้หากร่วมหลับนอนในช่วงแรกของรอบเดือน ครึ่งดีน้ารในกรณีร่วมหลับนอนช่วงกลางรอบเดือน และเศษหนึ่งส่วนสี่ของดีน้ารสำหรับผู้ที่กระทำช่วงท้ายรอบเดือน หนึ่งดีน้ารในที่นี้เทียบเท่าทองสี่กรัมครึ่ง [1] ประมวลปัญหาศาสนาของอิมามโคมัยนี(พร้อมภาคผนวก), เล่ม 1,หน้า 261,ปัญหาที่ ...
  • ถ้าบุคคลหนึ่งใช้ความรุนแรง เพื่อกระทำผิดประเวณี จะมีบทลงโทษอย่างไร?
    7282 ฮุดู้ด,กิศ้อศ,ดิยะฮ์ 2557/05/22
    บุคคลที่ใช้ความรุนแรงในการข่มขืนกระทำชำเรา หรือบีบบังคับหญิงให้กระทำผิดประเวณี- ซินา –กับตน เขาจะถูกตัดสินลงโทษด้วยการ ประหารชีวิต[1] และถ้าหากหญิงต้องการหนึ่ เพื่อให้รอดพ้นจากน้ำมือของคนชั่วที่จะกระทำซินา โดยที่นางต้องต่อสู้กับเขา ซึ่งนางไม่มีทางเลือกอื่นใดอีก นอกจากต้องสังหารเขา ผู้ที่จะกระทำการข่มขืนกระทำชำเรา ดังนั้น การฆ่าเขา ถือว่าอนุญาต เลือดของเขาถือว่าไร้ค่า และนางไม่ต้องเสียค่าปรับ หรือค่าสินไหมชดเชยอันใดทั้งสิ้น[2] คำตอบของฯพณฯอายะตุลลอฮฺ ฮาดะวี เตหะรานนี สำหรับคำถามในท่อนแรก มีดังนี้ ถ้าวัตถุประสงค์ของ ซินา มิได้หมายถึงการทำชู้ (บุคคลที่ไม่มีภรรยาตามชัรอีย์ หรือมีแต่ไม่อาจมีเพศสัมพันธ์ด้วยได้) ให้ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี 100 ครั้ง แต่ถ้าเป็นการทำชู้ ให้ลงโทษด้วยการขว้างด้วยก้อนหิน แต่ถ้าจุดประสงค์หมายถึง การลิวาฏ (ร่วมเพศทางทวารหนัก) ต้องถูกตัดสินประหารชีวิต แน่นอนว่า ถ้าเขาได้ซินากับหญิง โดยการบีบบังคับ ขืนใจ ...
  • เราจะทราบได้อย่างไรว่าอิมามมะฮ์ดีพอใจในตัวพวกเรา
    6063 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/17
    ผู้ศรัทธาและชีอะฮ์ของอิมามมะฮ์ดีทราบดีว่าการกระทำของตนเป็นที่ประจักษ์สำหรับอิมามตลอดเวลาพวกเขาพยายามใกล้ชิดกับอัลลอฮ์และขัดเกลาจิตวิญญาณของตนให้มากขึ้นและจะพยายามระมัดระวังไม่ทำในสิ่งที่อาจจะทำให้ท่านไม่พอใจทั้งนี้ก็เนื่องจากกลัวว่าท่านจะหม่นหมองใจหรือกลัวที่จะถูกละเว้นจากความโปรดปรานของท่านและเพื่อที่จะดึงดูดความสนใจของท่านมายังตนเองอิมามมะฮ์ดี(อ.)เป็นอิมามที่เปี่ยมด้วยเมตตาและมีความเอื้ออาทรมนุษย์ทุกคนและทุกสรรพสิ่งเนื่องจากเป้าหมายและภารกิจของบรรดาอิมามคล้ายคลึงกับเป้าหมายและภารกิจของท่านนบี(
  • จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามได้อย่างไรในสภาพสังคมบริโภคนิยม มีความแตกแยก และโกหกหลอกลวงกันอย่างแพร่หลาย?
    7639 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/05/31
    บทบัญญัติอิสลามสามารถนำมาใช้ได้สองมิติด้วยกัน บางประการเกี่ยวข้องกับปัจเจกบุคคล และบางประการเกี่ยวข้องกับสังคม ส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัจเจกนั้น สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาพสังคม กล่าวคือ หากมุสลิมประสงค์จะปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามเชิงปัจเจก อาทิเช่น นมาซ ถือศีลอด ฯลฯ แม้สังคมนั้นๆจะเสื่อมทราม แต่ก็ไม่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อกิจวัตรส่วนตัวมากนัก แต่บทบัญญัติบางข้อเกี่ยวข้องกับกิจกรรมในสังคมที่สามารถประยุกต์ใช้ในสังคมได้ และเนื่องจากมนุษย์ไฝ่ที่จะอยู่ในสังคม จึงจำเป็นจะต้องอาศัยอยู่และสนองความต้องการของตนภายในสังคม ในมุมมองนี้บุคคลควรปกป้องคุณธรรมศาสนาเท่าที่จะมีความสามารถ และมีหน้าที่จะต้องกำชับกันในความดีและห้ามปรามความชั่วตามสำนึกที่มีต่อสังคม ซึ่งแม้ไม่สัมฤทธิ์ผลก็ถือว่าได้ทำตามหน้าที่แล้ว อนึ่ง ในกรณีที่ต้องใช้ชีวิตในสภาพสังคมเช่นนี้ ควรพึ่งพาตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับตัวอ่อนมนุษย์เป็นไปในรูปแบบใด ทารกเจริญเติบโตก่อนวิญญาณจะสถิตได้อย่างไร?
    8747 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/03/11
    วิญญาณเป็นสิ่งที่พ้นญาณวิสัย ซึ่งจะสถิตหรือจุติในทารกที่อยู่ในครรภ์ และจะเจริญงอกงามทีละระดับ วิญญาณก็เป็นสิ่งถูกสร้างของพระองค์เฉกเช่นร่างกาย ส่วนการที่พระองค์ทรงตรัสว่า “เราได้เป่าวิญญาณของเราเข้าไปในเขา”นั้น เป็นการสื่อถึงความยิ่งใหญ่และความสูงส่งของวิญญาณมนุษย์ด้วยการเชื่อมคำว่าวิญญาณเข้ากับพระองค์เอง กรณีเช่นนี้ในทางภาษาอรับเรียกกันว่าการเชื่อมแบบ “ลามี” อันสื่อถึงการยกย่องให้เกียรติ ดังกรณีของการเชื่อมโยงวิหารกะอ์บะฮ์เข้ากับพระองค์เองด้วยสำนวนที่ว่า “บัยตี” หรือ บ้านของฉัน การที่ทารกระยะตัวอ่อนยังไม่มีวิญญาณนั้น มิได้ขัดต่อการมีสัญญาณชีวิตก่อนที่วิญญาณจะสถิตแต่อย่างใด เนื่องจากมนุษย์มีปราณสามระยะด้วยกัน ได้แก่ ปราณวิสัยพืช, ปราณวิสัยสัตว์, ปราณวิสัยมนุษย์ ปราณวิสัยพืชถือเป็นปราณระดับล่างสุดของมนุษย์ ซึ่งมีการบริโภคและสามารถเจริญเติบโตได้ แต่ไม่มีความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ เสมือนพืชที่เจริญงอกงามทว่าไร้ความรู้สึก ประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหวตามต้องการ และเนื่องจากทารกระยะแรกมีปราณประเภทนี้ก่อนวิญญาณจะสถิต จึงทำให้มีชีวิตและเจริญเติบโตได้ ...
  • บาปใหญ่จะได้รับการอภัยหรือไม่?
    17063 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/21
    บาปใหญ่คือบาปประเภทที่กุรอานหรือบทฮะดีษแจ้งว่าจะต้องถูกสำเร็จโทษ(แต่ก็ยังมีสิ่งชี้วัดอื่นๆที่บ่งบอกถึงบาปใหญ่) ทั้งนี้การฝืนกระทำบาปเล็กซ้ำหลายครั้งก็ทำให้บาปเล็กกลายเป็นบาปใหญ่ได้เช่นกันอย่างไรก็ดีอัลลอฮ์ได้ทรงให้สัญญาในกุรอานว่าจะทรงอภัยโทษบาปทุกประเภทโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเตาบะฮ์อย่างถูกต้องเสียก่อนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของอัลลอฮ์หมายถึงการชดเชยอะมั้ลอิบาดะฮ์ที่เคยงดเว้นประกอบกับการกล่าวอิสติฆฟารอย่างบริสุทธิใจส่วนเตาบะฮ์ในกรณีสิทธิของมนุษย์หมายถึงการกล่าวอิสติฆฟารคืนสิทธิแก่ผู้เสียหายและขอให้คู่กรณียกโทษให้ ...
  • ความเชื่อคืออะไร
    17534 เทววิทยาใหม่ 2554/04/21
    ความเชื่อคือความผูกพันขั้นสูงสุดของมนุษย์เกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณซึ่งถือว่าเป็นมงคลแก่ผู้คนและพร้อมที่จะแสดงความรักและความกล้าหาญของตนออกมาเพื่อสิ่งนั้นความเชื่อในกุรอานมี 2 ปีก : ศาสตร์และการปฏิบัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวสามารถรวมเข้าด้วยกันกับการปฏิเสธศรัทธาได้ขณะเดียวกันการปฏิบัติเพียงอย่างเดียวสามารถเชื่อมโยงกับการกลับกลอกได้ในหมู่บรรดานักศาสนศาสตร์อิสลามได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับความเชื่อไว้ ...
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7161 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • ฮะดีษนี้เศาะฮี้ห์หรือไม่: การภักดีต่ออลี(อ.)คือสัมมาคารวะที่แท้จริง และการไม่ภักดีต่อท่าน คือการปฏิเสธพระเจ้า
    7085 ดิรอยะตุลฮะดีซ 2554/11/09
    ฮะดีษนี้มีเนื้อหาที่ถูกต้องเนื่องจากมีรายงานอย่างเป็นเอกฉันท์กล่าวคือมีฮะดีษมากมายที่ถ่ายทอดถึงเนื้อหาดังกล่าวอย่างไรก็ดีการปฏิเสธในที่นี้ไม่ไช่การปฏิเสธอิสลามแต่เป็นการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงแน่นอนว่าการปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงย่อมมิได้ทำให้บุคคลผู้นั้นอยู่ในฮุก่มของกาเฟรทั่วไปในแง่ความเป็นนะญิส ...ฯลฯต้องเข้าใจว่าที่เชื่อว่าการไม่จงรักภักดีต่อท่านอิมามอลี(อ.)เท่ากับปฏิเสธอีหม่านที่แท้จริงนั้นเป็นเพราะการจงรักภักดีต่อท่านคือแนวทางสัจธรรมที่พระองค์ทรงกำหนดฉะนั้นผู้ที่ฝ่าฝืนคำสั่งของท่านก็เท่ากับฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60103 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57517 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42183 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39324 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38928 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    33982 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28000 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27933 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27769 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25766 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...