การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
7910
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2555/05/16
คำถามอย่างย่อ
การลงโทษชาวบนีอิสรออีลข้อหาบูชาลูกวัวเป็นสิ่งที่เหมาะสมแก่ความผิดหรือไม่?
คำถาม
: โองการที่ 53 ซูเราะฮ์บะเกาะเราะฮ์ได้กล่าวไว้ว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน แท้จริงพวกท่านได้อยุติธรรมแก่ตัวของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านได้ยึดถึอลูกวัวตัวนั้น (เป็นที่เคารพสักการะ) ดังนั้นจงกลับสู่พระผู้บังเกิดของพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าพวกท่านกันเอง นั่นเป็นสิ่งดีแก่พวกท่าน ณ พระผู้บังเกิดของพวกท่าน ภายหลังพระองค์ก็ได้ทรงอภัยโทษแก่พวกท่าน แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” ควรคำนึงให้ดีว่าการเข่นฆ่ากันเองถือเป็นการชดเชยความเขลาที่โองการนี้ระบุว่าเป็นการชดเชยที่ดีที่สุดกระนั้นหรือ? ดังที่อัลลอฮ์ได้ขอให้บนีอิสรออีลได้กระทำเช่นนี้
คำตอบโดยสังเขป

นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ “1. สิ่งนี้เป็นบททดสอบ และเมื่อพวกเขาได้เตาบะฮ์และสำนึกผิดแล้ว สิ่งนี้ก็ได้ถูกยกเลิก 2. ความหมายของการฆ่าในที่นี้คือการตัดกิเลศและแรงยั่วยุของชัยตอน 3. ความหมายของการฆ่าในโองการนี้ คือการฆ่าจริง ๆ กล่าวคือจะต้องฆ่ากันเอง ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือทั้งหมดของประเด็นต่อไปนี้ก็เป็นได้: ก. ชำระจิตใจชาวบนีอิสรออีลให้ผ่องแผ้วจากการตั้งภาคี ข. ยับยั้งไม่ให้บาปใหญ่หลวงเช่นนี้อีก ค. ต้องการสื่อให้เห็นถึงปัญหาการหันเหจากหลักเตาฮีด และการหันไปสู่การกราบไหว้เจว็ด อย่างใดก็ตาม การรับการลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดก็ถือว่าคุ้มค่าหากแลกกับการหลุดพ้นจากไฟนรก

คำตอบเชิงรายละเอียด

อัลลอฮ์ได้กล่าวว่า “และจงรำลึกถึงขณะที่มูซาได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน แท้จริงพวกท่านได้อยุติธรรมแก่ตัวของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านได้ยึดถึอลูกวัวตัวนั้น (เป็นที่เคารพสักการะ) ดังนั้นจงกลับสู่พระผู้บังเกิดของพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าตัวของพวกของท่านเอง นั่นเป็นสิ่งดีแก่พวกท่าน ณ พระผู้บังเกิดของพวกท่าน ภายหลังพระองค์ก็ได้ทรงอภัยโทษแก่พวกท่าน แท้จริงพระองค์คือผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ” [1]

  1. นักอรรถาธิบายกุรอานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของอัลลอฮ์ในการบัญชาให้สังหารกันในโองการนี้ไว้ 3 ประการ ประกาศิตในโองการนี้ถือเป็นบททดสอบอย่างหนึ่ง เฉกเช่นพระบัญชาที่มีแก่นบีอิบรอฮีม (อ.) ที่ระบุให้เชือดพลีนบีอิสมาอีล (อ.) ซึ่งก่อนที่นบีอิสมาอีล (อ.) จะถูกฆ่าได้มีโองการประทานมาว่า “แน่นอน เจ้าได้ปฏิบัติถูกต้องตาม(ที่เห็นใน)ฝันแล้ว”[2] ในกรณีของนบีมูซา (อ.) อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ก็ได้กล่าวไว้ว่า “จงหวลคืนสู่พระผู้บังเกิดของพวกท่านเถิด แล้วจงฆ่าตัวของพวกท่านเอง นั่นเป็นสิ่งดีแก่พวกท่าน” แต่ก่อนที่พระบัญชาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) จะเป็นไปอย่างสมบูรณ์ พระองค์ได้ถือว่าการฆ่าบางส่วนถือเป็นการฆ่าทั้งหมดแล้ว และได้ตอบรับเตาบะฮ์ของพวกเขา[3]
  2. การฆ่าในโองการดังกล่าวหมายถึงการตัดกิเลศและการยั่วยุของชัยตอน โองการนี้ต้องการจะสื่อให้เห็นว่า จงตัดกิเลศของตนและยับยั้งการยั่วยุของชัยตอน และจงยอมรับความเป็นเอกะของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์[4]
  3. การฆ่าในโองการนี้หมายถึงการฆ่าในรูบแบบที่แท้จริง กล่าวคือจงปลิดชีพกันและกัน[5] เนื่องจากการถูกฆ่าในโลกนี้ดีกว่าสำหรับสูเจ้า

กลุ่มที่เชื่อว่าอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ต้องการสื่อถึงการฆ่าในรูปแบบที่แท้จริงนั้น ได้กล่าวถึงปราชญาของพระบัญชาดังกล่าวไว้บางประการซึ่งเราจะขอหยิบยกมา ณ ที่นี้บางประการ

  1. การฆ่านี้จะเป็นการชำระล้างบนีอิสรออีลจากการตั้งภาคีและชีริก และจะทำให้พวกเขาเข้าสู่ชีวิตที่นิรันดร์ และความผาสุกอย่างแท้จริง[6]
  2. การเข่นฆ่ามนุษย์ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำที่ผิดและเป็นฮะรอม แต่บางครั้งเมื่อคำนึงถึงความจำเป็น ถือเป็นการดีและจะกลายเป็นสิ่งที่เป็นวาญิบ ซึ่งความจำเป็นบางประการของสังคมและศาสนาสามารถเปลี่ยนกฏเกณฑ์ดังกล่าวได้ กรณีของบนีอิสรออีลก็เช่นกัน เนื่องจากการฆ่ากันเองในหมู่พวกเขาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้หลาบจำไม่กระทำบาปอันใหญ่หลวงนี้อีก จึงทำให้กลายเป็นสิ่งที่เหมาะควรแก่เหตุ[7]
  3. การสักการะบูชารูปปั้นลูกวัวของซามิรีไม่ใช่เรื่องที่ผ่อนปรนได้  เนื่องจากประชาชนกลุ่มนี้เห็นอภินิหารของอัลลอฮ์ที่สำแดงโดยศาสดามูซา(อ.)กับตาของตนเอง แต่กลับลืมเรื่องราวเหล่านี้ โดยเมื่อศาสนทูตของพวกเขาได้ปลีกตัวไปในระยะเวลาสั้น ๆ พวกเขาละทิ้งหลักการแห่งเตาฮีดและศาสนาของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) กลายเป็นผู้ที่บูชาเจว็ด  หากประเด็นนี้ไม่ถูกถอนรากถอนโคนจากความคิดของพวกเขาแล้ว ภัยอันตรายต่างๆก็จะบังเกิดขึ้น  บุคคลเหล่านี้จะฉวยโอกาสทำลายล้างศาสนาและคำภีร์ของท่านนบีมูซาโดยเฉพาะหลังจากที่ท่านเสียชีวิต ศาสนาของท่านจะตกอยู่ในอันตรายในไม่ช้า  ฉะนั้น ในที่นี้จึงต้องใช้ความรุนแรง โดยไม่ควรโอนอ่อนผ่อนตามคำขออภัยโทษเพียงลมปาก ด้วยเหตุนี้เองที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซบ.) ได้ทรงสั่งให้มีการลงโทษอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์ของเหล่าศาสนทูต คำบัญชาดังกล่าวก็คือการสั่งให้กลับตัวกลับใจสู่เตาฮีด พร้อมทั้งสั่งให้มีการประหารผู้กระทำผิดจำนวนมากด้วยวิธีเฉพาะ (สังหารกันเอง)

ความรุนแรงของการลงโทษดังกล่าวนี้สืบเนื่องจากการหันเหออกจากหลักความเชื่อของเตาฮีดแห่งพระองค์ และหันมาบูชาเจว็ด ซึ่งมิใช่เรื่องธรรมดาที่จะผ่อนปรนกันง่ายๆโดยเฉพาะหลังจากที่พวกเขาได้เห็นมุอฺญิซาตที่กระจ่างชัดและความโปรดปรานของอัลลอฮฺ (ซบ.)แล้ว  แท้ที่จริงหลักการทั้งหมดของทุกๆศาสนาแห่งฟากฟ้านั้นสามารถสรุปในหลักการของความเชื่อในเรื่องความเป็นเอกะของพระผู้เป็นเจ้า(เตาฮีด)ได้  หากหลักการแห่งเตาฮีดนี้สั่นคลอน ก็เท่ากับว่าหลักการอื่นๆของศาสนาจะพลอยเสียหายไปด้วยเช่นกัน  หากการบูชาลูกวัวถือเป็นเรื่องหลัก ประเด็นนี้อาจจะกลายเป็นจารีตประเพณีสำหรับคนรุ่นหลังก็ได้  โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นแล้วว่าประชาชาติอิสรออีลเป็นกลุ่มชนที่มีความดื้อรั้นเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นควรที่จะลงโทษด้วยบทลงโทษที่จะทำให้ตราตรึงในสำนึกของผู้คนทุกยุคสมัย เพื่อมิให้ผู้ใดริอ่านบูชาเจว็ด   โองการที่ว่า
  ذلِكُمْ خَيْرٌ لَكُمْ عِنْدَ بارِئِكُم (สิ่งนั้น – การฆาตกรรมกันเอง - เป็นสิ่งดีกว่า ณ พระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้า)  อาจบ่งชี้ถึงความหมายดังกล่าว[8]

สุดท้ายนี้ จำเป็นต้องชี้แจงว่า การลงโทษที่หนักหน่วงที่สุดในโลกดุนยา ไม่อาจจะเทียบได้กับการลงโทษสถานเบาที่สุดในโลกหน้า  ด้วยเหตุนี้ หากผู้ใดสามารถอดทนต่อบทลงโทษในโลกนี้เพื่อนำพาตนเองพ้นจากการลงโทษและความยากลำบากทั้งหลายในโลกนี้เพื่อแลกกับความทรมานและยากลำบากในโลกหน้าแล้ว ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง  และเราเชื่อว่าการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้าในโลกดุนยา ถือเป็นการชดใช้กรรมสำหรับความผิดบาปของบุคคลที่เตาบะฮฺด้วยจิตใจที่มั่นคง

กรุณาพิจารณาฮะดีษที่ว่า

“ มีการจับกุมขโมยกลุ่มหนึ่งและนำตัวมาพบกับท่านอิมามอาลี(อ.) ท่านสั่งให้ตัดมือขโมยเหล่านั้น และหลังจากนั้นพวกเขาก็ได้พาผู้ต้องหาไปยังสถานที่ที่เหมาะสมแห่งหนึ่ง ท่านสั่งให้มีการรักษาบาดแผลจากการถูกตัดมือ และหลังจากนั้นก็ได้เลี้ยงอาหารพวกเขาด้วยอาหารที่เอร็ดอร่อยอย่างเช่นเนื้อ และน้ำผึ้ง โดยได้กล่าวแก่พวกเขาว่า  โอ้บรรดาผู้กระทำผิดทั้งหลาย  ตอนนี้มือทั้งหลายของพวกท่านนั้นได้ล่วงหน้าเข้าไปในนรกแล้ว หากพวกท่านเตาบะฮฺ และพระองค์ก็ทรงรู้ว่าท่านนั้นมีความสัจจริงในการเตาบะฮฺนี้ มือของพวกท่านก็จะถูกนำกลับมาจากไฟนรกและจะเข้าสู่สรวงสวรรค์พร้อมกับพวกท่าน  หากไม่เป็นเช่นนั้น มือที่ถูกตัดเหล่านั้นจะดึงพวกท่านลงไปในขุมนรกพร้อมกับ[9]

เกี่ยวกับผู้ที่ถูกสังหารในหมู่ประชาชาติอิสรออีลนั้น มีความเป็นไปได้อยู่ 2 ประการด้วยกันดังนี้

1.พวกเขาได้สำนึกผิดและเตาบะฮ์ ในกรณีนี้พวกเขาจะได้เข้าสู่สวรรค์อย่างนิรันดร์ ซึ่งการที่เราได้อดทนจากความทุกข์ทรมารเพื่อที่จะไปถึงสิ่งๆนี้นั้น มันมีค่ายิ่งนัก

2.หรือไม่พวกเขาเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ในความเชื่อเดิมๆที่ผิดพลาด เมื่อพิจารณาถึงการที่พวกเขาเคยประจักษ์ถึงอภินิหารต่างๆ การลงโทษประหารชีวิตถือว่าน้อยนิด

 


[1] บะเกาะเราะฮ์, 54, :" وَ إِذْ قَالَ مُوسىَ‏ لِقَوْمِهِ يَاقَوْمِ إِنَّكُمْ ظَلَمْتُمْ أَنفُسَكُم بِاتخَِّاذِكُمُ الْعِجْلَ فَتُوبُواْ إِلىَ‏ بَارِئكُمْ فَاقْتُلُواْ أَنفُسَكُمْ ذَالِكُمْ خَيرٌْ لَّكُمْ عِندَ بَارِئكُمْ فَتَابَ عَلَيْكُمْ  إِنَّهُ هُوَ التَّوَّابُ الرَّحِيم‏"

[2] ศอฟฟาต, 105, " يا إِبْراهِيمُ قَدْ صَدَّقْتَ الرُّؤْيا"

[3] มูซาวี ฮะเมดอนี, ซัยยิดมูฮัมหมัดบากิร, แปลอัลมีซาน, เล่ม 1, หน้า 288, สำนักพิมพ์ อิสลามี ญามิอะฮ์ มุดัรริซีน เฮาซะฮ์ อิลมียะฮ์ กุม, 1374, พิมพ์ครั้งที่ 5

[4] คาชานี, มุลลาฟัตฮุลลอฮ์, ตัฟซีร มินฮาจุศศอดิกีน ฟี อิลซามุล มุคอลิฟีน, เล่ม 1, หน้า 192, สำนักพิมพ์ร้านหนังสือมุฮัมหมัดฮาซัน อะละมี, เตหะราน, ปีที่พิมพ์ 1336

[5] ตัฟซีร มินฮาจุศศอดิกีน ฟี อิลซามุล มุคอลิฟีน, เล่ม 1, หน้า 192

[6] ตัฟซีร มินฮาจุศศอดิกีน ฟี อิลซามุล มุคอลิฟีน, เล่ม 1, หน้า 192

[7] แปลมัจมะอุลบะยาน ฟีย์ตัฟซีริล กุรอาน, เล่ม 1, หน้า 179, วิจัยโดย ริฏอ เซทูเดฮ์, สำนักพิมพ์ ฟะรอฮอนีย์, เตหะราน, 1360, พิมพ์ครั้งที่

[8] มะการิม ชีรอซี, นาศิร, ตัฟซีรเนมูเนฮ์, เล่ม, หน้า256, สำนักพิมพ์ ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหะราน, 1374, พิมพ์ครั้งที่ 1

[9] คุลัยนี, มูฮัมหมัด บินยะอ์กูบ, กาฟี, เล่ม 7, หน้า 266, ฮะดีษที่ 31, สำนักพิมพ์ดารุลกุตุบ อัลอิสลามียะฮ์, เตหะราน, 1365 ส.ค.

 

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ทำไม อิบลิส (ซาตาน) จึงถูกสร้างขึ้นจากไฟ ?
    10683 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/10/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น โปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) ได้สมรสกับหญิงหลายคน และหย่าพวกนางหรือ?
    7455 ชีวประวัติมะอฺซูม (อ.) 2555/08/22
    หนึ่งในประเด็น อันเป็นความเสียหายใหญ่หลวง และน่าเสียใจว่าเป็นที่สนใจของแหล่งฮะดีซทั่วไปในอิสลาม, คือการอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซ โดยนำเอาฮะดีซเหล่านั้นมาปะปนรวมกับฮะดีซที่มีสายรายงานถูกต้อง โดยกลุ่มชนที่มีความลำเอียงและรับจ้าง ท่านอิมามฮะซัน มุจญฺตะบา (อ.) เป็นอิมามผู้บริสุทธิ์ท่านที่สอง, เป็นหนึ่งในบุคคลที่บรรดานักปลอมแปลงฮะดีซ ได้กุการมุสาพาดพิงไปถึงท่านอย่างหน้าอนาถใจที่สุด ในรูปแบบของรายงานฮะดีซ ซึ่งหนึ่งในการมุสาเหล่านั้นคือ การแต่งงานและการหย่าร้างจำนวนมากหลายครั้ง แต่หน้าเสียใจตรงที่ว่า รายงานเท็จเหล่านี้บันทึกอยู่ในแหล่งอ้างอิงฮะดีซและหนังสือประวัติศาสตร์ ทั้งซุนนียฺและชีอะฮฺ แต่ก็หน้ายินดีว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักความเชื่อที่ถูกต้องมีอยู่อยู่มือจำนวนไม่น้อยเช่นกัน ซึ่งทำให้การอุปโลกน์และปลอมแปลงฮะดีซของพวกเขาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ...
  • ในมุมมองของรายงาน,ควรจะประพฤติตนอย่างไรกับผู้มิใช่มุสลิม?
    7646 สิทธิและกฎหมาย 2555/08/22
    อิสลาม เป็นศาสนาที่วางอยู่บนธรรมชาติอันสะอาดยิ่งของมนุษย์ ศาสนาแห่งความเมตตา ได้ถูกประทานลงมาเพื่อชี้นำมนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของมนุษย์ชาติทั้งหมด อีกด้านหนึ่งการเลือกนับถือศาสนาเป็นความอิสระของมนุษย์ ดังนั้น ในสังคมอิสลามนั้นท่านจะพบว่ามีผู้มิใช่มุสลิมปะปนอยู่ไม่มากก็น้อย อิสลามมีคำสั่งให้รักษาสิทธิ ประพฤติดี และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสันติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่นับถือศาสนา ไม่ว่าพวกเขาจะใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอิสลาม ภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม หรือบุคคลที่อยู่ในสังคมอื่นที่มิใช่อิสลาม, ผู้ปฏิเสธศรัทธาที่ดำรงชีวิตอยู่ภายใต้รัฐอิสลาม จำเป็นรักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัยด้วย ถ้าหากไม่รักษาเงื่อนไขของผู้ร่วมอาศัย หรือทรยศหักหลังก็จำเป็นต้องถูกลงโทษตามกฎหมายอิสลาม ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ริวายะฮ์ที่กล่าวว่า “ในสมัยที่อิมามอลี (อ.) ปกครองอยู่ ท่านมักจะถือแซ่เดินไปตามถนนหนทางและท้องตลาดพร้อมจะลงโทษอาชญากรและผู้กระทำผิด” จริงหรือไม่?
    6412 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/18
    สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมา มะการิม ชีรอซี ริวายะฮ์ข้างต้นกล่าวถึงช่วงรุ่งอรุณขณะที่ท่านสำรวจท้องตลาดในเมืองกูฟะฮ์ และการที่ท่านมักจะพกแซ่ไปด้วยก็เนื่องจากต้องการให้ประชาชนสนใจและให้ความสำคัญกับกฏหมายนั่นเอง สำนักงานท่านอายะตุลลอฮ์อัลอุซมาศอฟีย์ กุลพัยกานี ริวายะฮ์ได้กล่าวไว้เช่นนั้นจริง และสิ่งที่อิมามอลี(อ.) ได้กระทำไปคือสิ่งที่จำเป็นต่อสถานการณ์ในยุคนั้น การห้ามปรามความชั่วย่อมมีหลายวิธีที่จะทำให้บังเกิดผล ดังนั้นจะต้องเลือกวิธีที่จะทำให้สังคมคล้อยตามความถูกต้อง คำตอบของท่านอายะตุลลอฮ์มะฮ์ดี ฮาดาวี เตหะรานี มีดังนี้ หากผู้ปกครองในอิสลามเห็นสมควรว่าจะต้องลงโทษผู้ต้องหาและผู้ร้ายในสถานที่เกิดเหตุ หลังจากที่พิสูจน์ความผิดด้วยวิธีที่ถูกต้อง และพิพากษาตามหลักศาสนาหรือข้อกำหนดที่ผู้ปกครองอิสลามได้กำหนดไว้ การลงทัณฑ์ในสถานที่เกิดเหตุถือว่าไม่ไช่เรื่องผิด และในการนี้ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงริวายะฮ์ดังกล่าวแต่อย่างใด แต่รายงานที่ถูกต้องที่ปรากฏในตำราฮะดีษอย่าง กุตุบอัรบาอะฮ์[1] ก็คือ ท่านอิมามอลี (อ.) พกแซ่เดินไปตามท้องตลาดและมักจะตักเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ โดยไม่มีตำราเล่มใดบันทึกว่าอิมามอลี (อ.) เคยลงโทษผู้ใดในตลาด
  • ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการีย์ (อ.) »อัลฮัมดุลลิลฮิร็อบบิลอาละมีน« หมายถึงอะไร?
    11262 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/05/17
    ตัฟซีรอิมามฮะซัน อัสการียฺ (อ.) เป็นหนึ่งในตัฟซีรที่กล่าวว่าเป็นของท่านอิมาม ซึ่งมีเหตุผลบางประการพาดพิงว่าตัฟซีรดังกล่าวเป็นของท่านอิมาม แต่เป็นเหตุผลที่เชื่อถือไม่ได้แน่นอน ตัฟซีรชุดนี้ได้มีการตีความอัลกุรอาน บทฟาติฮะฮฺ (ฮัม) และบทบะเกาะเราะฮฺ โองการ 282 โดยรายงานฮะดีซ ซึ่งในวิชาอุลูมกุรอานเรียกว่าตัฟซีร »มะอฺซูเราะฮฺ« อย่างไรก็ตาม, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้อธิบายถึงประโยคที่ว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ไว้ในหลายประเด็น, เนื่องจาการขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานต่างๆ อันไม่อาจคำนวณนับได้, การสนับสนุนสรรพสิ่งถูกสร้าง, ความประเสริฐ และความดีกว่าของชีอะฮฺ เนื่องจากการยอมรับวิลายะฮฺ และอิมามะฮฺของท่านอิมามอะลี (อ.) และกล่าวว่า เนื่องจากจำเป็นต้องขอบคุณอัลลอฮฺ เพราะความโปรดปรานของพระองค์ จึงได้กล่าวว่า «اَلْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعالَمِين» ...
  • โองการตัฏฮีร กล่าวอยู่ในอัลกุรอานบทใด?
    7548 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/06/30
    อัลกุรอาน โองการที่รู้จักกันเป็นอย่างดีหรือ โองการตัฏฮีร, โองการที่ 33 บทอัลอะฮฺซาบ.อัลกุรอาน โองการนี้อัลลอฮฺ ทรงอธิบายให้เห็นถึง พระประสงค์ที่เป็นตักวีนีของพระองค์ สำหรับการขจัดมลทินให้สะอาดบริสุทธิ์สมบูรณ์ แก่ชนกลุ่มหนึ่งนามว่า อะฮฺลุลบัยตฺ อัลกุรอาน โองการนี้นับว่าเป็นหนึ่งในโองการทรงเกียรติยศยิ่ง เนื่องจากมีรายงานจำนวนมากเกินกว่า 70 รายงาน ทั้งจากฝ่ายซุนนีและชีอะฮฺ กล่าวถึงสาเหตุแห่งการประทานลงมา จำนวนมากมายของรายงานเหล่านั้นอยู่ในขั้นที่ว่า ไม่มีความสงสัยอีกต่อไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของโองการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัตถุประสงค์ของโองการที่กล่าวเกี่ยวกับ อะฮฺลุลบัยตฺ ของท่านศาสดา (ซ็อล น) ซึ่งประกอบไปด้วย ท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ ท่านอะลี ท่านฮะซัน และท่านฮุซัยนฺ (อ.) แม้ว่าโองการข้างต้นจะถูกประทานลงมา ระหว่างโองการที่กล่าวถึงเหล่าภริยาของท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) ก็ตาม แต่ดังที่รายงานฮะดีซและเครื่องหมายอื่นๆ ที่บ่งบอกถึงประเด็นดังกล่าวนั้น สามารถเข้าใจได้ว่า โองการข้างต้นและบทบัญญัติของโองการ มิได้เกี่ยวข้องกับบรรดาภริยาของท่านศาสดาแต่อย่างใด และการกล่าวถึงโองการที่มิได้เกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียวกัน ...
  • ได้ยินว่าระหว่างสงครามอิรักกับอิหร่านนั้น ร่างของบางคนที่ได้ชะฮีดแล้ว, แต่ไม่เน่าเปื่อยสลาย, รายงานเหล่านี้เชื่อถือได้หรือยอมรับได้หรือไม่?
    8473 เทววิทยาดั้งเดิม 2555/05/17
    โดยปกติโครงสร้างของร่างกายมนุษย์, จะเป็นไปในลักษณะที่ว่า เมื่อจิตวิญญาณได้ถูกปลิดไปจากร่างกายแล้ว, ร่างกายของมนุษย์จะเผ่าเปื่อยและค่อยๆ สลายไป, ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ที่ร่างกายของบางคนหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนานหลายปี จะไม่เน่าเปื่อยผุสลายและอยู่ในสภาพปกติ. แต่อีกด้านหนึ่ง อัลลอฮฺ ทรงพลานุภาพเหนือทุกสิ่งทุกอย่างและทุกการงาน[1] ซึ่งอย่าเพิ่งคิดว่าสิ่งนี้จะไม่มีความเป็นไปได้ หรือห่างไกลจากภูมิปัญญาแต่อย่างใด. เพราะว่านี่คือกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งได้รับการละเว้นไว้ในบางกรณี, เช่น กรณีที่ร่างของผู้ตายอาจจะไม่เน่าเปื่อย โดยอนุญาตของอัลลอฮฺ ดังเช่น มามมีย์ เป็นต้น จะเห็นว่าร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อย ซึ่งเรื่องนี้ได้ผ่านพ้นไปนานหลายพันปีแล้ว และประสบการณ์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความจริงดังกล่าวแล้วด้วย ดังนั้น ถ้าหากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ ครอบคลุมเหนือประเด็นดังกล่าวนี้ ก็เป็นไปได้ที่ว่าบางคนอาจเสียชีวิตไปแล้วหลายร้อยปี แต่ร่างกายของเขาไม่เน่าเปื่อยผุสลาย ยังคงสมบูรณ์เหมือนเดิม แล้วพระองค์ทรงเป่าดวงวิญญาณให้เขาอีกครั้ง ซึ่งเขาผู้นั้นได้กลับมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง, อัลกุรอานบางโองการ ก็ได้เน้นย้ำถึงเรื่องราวของศาสดาบางท่านเอาไว้[2] เช่นนี้เองสิ่งที่กล่าวไว้ในรายงานว่า ถ้าหากบุคคลใดที่มีนิสัยชอบทำฆุซลฺ ญุมุอะฮฺ, ร่างกายของเขาในหลุมฝังศพจะไม่เน่นเปื่อย
  • ในทัศนะอิสลาม บาปของฆาตกรที่เข้ารับอิสลามจะได้รับการอภัยหรือไม่?
    8114 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/12
    อิสลามมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับผู้ที่เพิ่งเข้ารับอิสลามอาทิเช่นหากก่อนรับอิสลามเคยละเมิดสิทธิของอัลลอฮ์เช่นไม่ทำละหมาดหรือเคยทำบาปเป็นอาจินเขาจะได้รับอภัยโทษภายหลังเข้ารับอิสลามทว่าในส่วนของการล่วงละเมิดสิทธิเพื่อนมนุษย์เขาจะไม่ได้รับการอภัยใดๆเว้นแต่คู่กรณีจะยอมประนีประนอมและให้อภัยเท่านั้นฉะนั้นหากผู้ใดเคยล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่นเมื่อครั้งที่ยังมิได้รับอิสลามการเข้ารับอิสลามจะส่งผลให้เขาได้รับการอนุโลมโทษทัณฑ์จากอัลลอฮ์ก็จริงแต่ไม่ทำให้พ้นจากกระบวนการพิจารณาโทษในโลกนี้
  • การให้การเพื่อต้อนรับเดือนมุฮัรรอม ตามทัศนะของชีอะฮฺถือว่ามีความหมายหรือไม่?
    7480 สิทธิและกฎหมาย 2554/12/20
    การจัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ถือเป็นซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ซึ่งได้รับการสถาปนาและสนับสนุนโดยบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.)

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60132 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57573 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42220 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39370 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38950 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34004 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28021 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27966 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27804 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25802 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...