การค้นหาขั้นสูง

สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ :

1. การให้ความสนใจต่อคุณธรรมความประเสริฐและลักษณะอันสูงส่ง ของมนุษย์ผู้ชาญฉลาดมีความโดดเด่น ซึ่งได้รับการเลือกสรรแล้ว

หนึ่งในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการเน้นย้ำไว้โดยอัลกุรอาน หลายโองการด้วยกันคือ การเก็บรักษาและการรำลึกถึงเรื่องราวของวีรบุรุษแห่งพระเจ้าให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ บุคคลต่างๆ ที่มีความชาญฉลาดและโดดเด่นทางหน้าประวัติศาสตร์, ตลอดจนชะตาชีวิตของพวกเขา เก็นสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับชีวิต

อัลกุรอานบทมัรยัม, อัลลอฮฺตรัสว่า : “และจงกล่าวถึงเรื่องของอิบรอฮีมที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริง เขาเป็นผู้ซื่อสัตย์”[1] หลังจากนั้นได้กล่าวถึงการต่อสู้เยี่ยงวีรบุรุษของท่านที่มีต่อบรรดาพวกเคารพรูปปั้นบูชา และเทวรูปเหล่านั้นอย่างองอาจ

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า : “และจงกล่าวถึงเรื่องของอิดรีสที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริงเขาเป็นผู้ซื่อสัตย์พูดจริง เป็นนบี (ผู้ยิ่งใหญ่) ท่านหนึ่ง และเราได้เทิดเกียรติเขาซึ่งตําแหน่งอันสูงส่ง”[2] และหลังจากนั้นได้กล่าวถึงบรรดาศาสดาทั้งหลายว่า ทั้งหมดต่างได้รับความโปรดปรานต่างๆ ของพระเจ้าโดยถ้วนหน้ากัน

อัลกุรอาน บทอื่นกล่าวว่า : “และจงรำลึกถึงบ่าวของเราอัยยูบ, เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระผู้อภิบาลของเขาว่า (โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ) "ชัยฏอนได้ทำให้ข้าฯได้รับความเหนื่อยยากและทุกข์ทรมาน" (ข้ากล่าวกับเขาว่า) จงกระทืบ (พื้นดิน) ด้วยเท้าของเจ้า, นี่คือตาน้ำเย็นสำหรับการอาบชำระล้าง และสำหรับดื่ม และเราได้ประทานครอบครัวของเขาคืนให้แก่เขา และเพิ่มจำนวนที่เท่ากับพวกเขาเพิ่มเข้ามากับพวกเขา เพื่อจะได้เป็นความเมตตาจากเราและเป็นข้อเตือนสติแด่ปวงผู้มีสติทั้งหลาย”[3]

เป็นที่ชัดเจนว่า โองการเหล่านี้และโองการอื่นที่คล้ายคลึงกันนั้น มิได้กล่าวถึงเนื่องส่วนตัว หรือครอบครัว หรือภารกิจธรรมดาทั่วไปในชีวิตของบรรดาอิมามเหล่านี้ ทว่าได้กล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษอื่น หรือความประเสริฐต่างๆ ด้านจริยธรรมและโปรแกรมต่างๆ ในเชิงการสร้างสรรค์ของพวกเขาเหล่านั้น, และแน่นอน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการรำลึกถึงบุคลิกภาพอันสูงส่งและวิเศษของบุคคล ที่ได้รับการเลือกสรรแล้วในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาตลอดเวลา พร้อมทั้งคุณสมบัติอันสูงส่งอันเป็นที่ยอมรับของพวกเขาต้องได้รับความสนใจ ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) จะมีการฟื้นฟูและรำลึกถึงนามของบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลาอ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งซัยยิดชุฮะดา อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

2.บรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺ (อ.) ได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงดอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยวิธีการหลายหลาก อาทิเช่น

ก) จัดการชุมนุมรำลึกถึงโศกนาฏกรรม

นับว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบที่บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) พยายามจะรักษาอุดมการณ์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้ดำรงอยู่ตลอดไป คือ การจัดมัจญฺลิสเพื่อรำลึกถึงโศกนาฏกรรม การร้องไห้สำหรับความเศร้าและความทุกข์ยากต่างๆ ที่เกิดแก่แต่ละชีวิตในกัรบะลาอฺ การรำลึกถึงเหตุการณ์อันโหดร้ายในช่วงเวลาอันเหมาะสม

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) ตลอดอายุขัยการดำรงแหน่งอิมามะฮฺ ท่านจะอยู่กับการแสดงความเสียใจ และรำลึกถึงโศกนาฎกรรมแห่งกัรบะลาอฺและอาชูรอตลอดเวลา และท่านได้ร้องไห้ให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหนักจนกระทั่งได้รับฉายานามว่า อิมาม แห่งการก้มกราบผู้ร่ำไห้[4]

มีรายงานว่าอิมามบากิร (อ.) ได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งอาชูรออฺ ให้แก่ปู่ของท่าน ณ ที่บ้านของท่าน และท่านได้ร้องไห้อย่างหนักโดยไม่มีการอำพรางตนแต่อย่างใด และบุคคลที่อยู่ในบ้านของท่านกล่าวว่า : ท่านอิมามได้ตกอยู่ในความเศร้าระทมทุกข์ตลอดเวลา และกล่าวแสดงความเสียใจต่อโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต่อบุคคลอื่น[5]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวกับดาวูดว่า : ฉันไม่เคยดื่มน้ำเย็นอีกเลยเว้นเสียแต่ว่าได้รำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)[6]

ท่านอิมามริฎอ  (อ.) กล่าวว่า : เมื่อเดือนมุฮัรรอมได้เวียนมาถึง, จะไม่มีผู้ใดเห็นบิดาของฉัน (อิมามมูซากาซิม) ยิ้มอีกเลย ทว่าความเศร้าและความเสียใจได้ครอบคลุมท่านจนหมดสิ้น จนกระทั่งถึงวันที่ 10, และเมื่อถึงวันอาชูรอแล้วในวันนั้น, จะเป็นวันแสดงความเสียใจและร่ำไห้สำหรับท่าน และท่านอิมามกล่าวว่า : วันนนี้,เป็นวันที่อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้รับชะฮีด[7]

บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) มิใช่เฉพาะพวกท่านเท่านั้นที่จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามซัยยิดชชุฮะดา และร้องไห้อย่างหนัก, ทว่าท่านยังสนับสนุนให้ประชาชนร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) รายงานกล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือร้องไห้เพียงคนเดียว, รางวัลของเขาคือสรวงสวรรค์ และบุคคลใดแสดงความเศร้าและร่ำไห้ให้กับเหตุการณ์ดังกล่าว รางวัลของเขาก็คือสวรรค์เช่นกัน[8]

การสนับสนุนบรรดานักอ่านบทกวีและบทกลอนเกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบะลา, หรือบรรดานักกวีที่ได้กล่ายขานถึงโศกนาฏกรรมออกมาเป็นบทกวี หรือบทกลอนและอ่านในงานชุมนุมเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พวกเขาจะได้รับความเมตตาพิเศษจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลลเฉกเช่น กัมมียัต อะซะดียฺ, หรือดุอ์บุล, เคาะซาอียฺ, ซัยยิดฮะมีรียฺ และคนอื่นๆ ...

ข) สนับสนุนส่งเสริมให้ไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) :

การไปเยี่ยมสถานฝังศพของบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ หรือผู้อาวุโส หรือวีรบุรุษถือว่าเป็นประเพณีอันดีงาม ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาคมโลกและประชาชาติต่างๆ มาอย่างช้านานตราบจนถึงปัจจุบันนี้ และหนึ่งในหมู่วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นได้แก่ท่านซัยยิดชุฮะดา ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ผู้นำแห่งอิสระชนทั้งหลาย, ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือรุ่งอรุณอีกแสงหนึ่ง ท่านคือวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ท่านคือหัวหน้าของบรรดาชะฮีดทั้งหลาย, ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นามของท่าน และการรำลึกถึงท่านต้องได้รับการรำลึกถึงเป็นอย่างดี, และต้องได้รับการให้เกียรติอย่างสูง, คำพูดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ผู้บริสุทธิ์เกี่ยวกับความประเสริฐของการซิยาเราะฮฺ กัรบะลาอฺฮุซัยนียฺ นั้นมีมากมาย ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า : บรรดาท่านผู้ได้รับการเลือกสรรแล้วจากพระเจ้าทุกครั้งและทุกโอกาสที่เหมาะสม ท่านจะสนับสนุนและเชิญชวนให้ประชาชน ไปเยี่ยมสถานฝังศพของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดชชุฮะดา, ประหนึ่งว่าหนึ่งในโปรแกรมสำคัญสำหรับท่านคือ การได้สัญญาไปเยี่ยมสถานฝังศพของท่านอิมาม และสนับสนุนประชาชนให้กระทำเช่นนั้น เพราะท่านทราบเป็นอย่างดีว่า นี่คือแนวทางการสร้างความสัมพันธ์อันดีงามทางด้านความคิด และจิตวิญญาณของชาวมุสลิมกับอิมาม เป็นการปลุกระดมจิตวิญญาณของพวกเขาให้ต่อสู้, ทว่านี่คือวิถีทางต่อสู้กับบรรดาผู้กดขี่ที่ดีที่สุด ดังที่ประวัติศาสตร์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า นี่คือวิธีการต่อสู้ที่วิเศษและดีที่สุดสำหรับวันนี้, เกี่ยวกับการซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีรายงานจำนวนมากมายที่กล่าวถึง แต่จะขอกล่าวเพียงรายงานเดียว เช่น

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามในวันกิยามะฮฺหากเขาต้องการเห็นประกายรัศมีทุกๆ ที่ ให้เขาซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้บ่อยที่สุด[9]

3. ความพิเศษของเดือนมุฮัรรอม, คือ เดือนแห่งชัยชนะของเลือดที่มีเหนือคมดาบ

เดือนมุฮัรรอมเสมือนเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามากที่สุด,วันและคืนของเดือนนี้, ช่วงเวลาทุกนาทีและทุกโมงยาม, คือหนึ่งหน้ากระดาษสำคัญสำหรับการรู้จักอัลลอฮฺ ความเป็นมนุษย์ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความอิสระชน, นอกจากนั้นแล้วยังได้สอนวิธีการดำรงชีวิตแก่มนุษย์ว่า เขาควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร หรือสมควรจะตายอย่างไร, ท่านอมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้บรรจงสร้างกรุสมบัติอันมีค่ายิ่งนี้แก่ประชาคมโลกด้วยคำกล่าวว่า “ฮัยฮาต มินนัซซิลลัต” ท่านได้ส่งสาส์นนี้แก่ชนทุกรุ่นและทุกยุคทุกสมัย แก่ทุกกาลเวลาและทุกพื้นดินว่า โอ้ บุตรหลานของอาดัมเอ๋ย โอ้ ผู้เรียกร้องสัจธรรม โอ้ ผู้เรียกร้องความยุติธรรมแห่งโลก จงยืนขึ้นเพื่อต่อสู้และต่อต้านกับรัฐบาลกดขี่ รัฐปกครองของชัยฏอนเถิด และจงอย่ายอมแพ้พวกเขาเป็นอันขาด

นอกจากนั้นในช่วงวินาสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่าน ท่านอิมามได้แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้กับความอธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว ท่ามกลางเหล่าทหารหลายพันคน ท่านได้กัดฟันเพื่อกล่าวสาส์นแก่ทุกคนว่า “มีใครสักคนที่จะช่วยเหลือฉันบ้างไหม” ท่านอิมามได้ร้องขอความช่วยเหลือ ประหนึ่งว่าท่านได้ร้องขอกับมนุษย์ผู้เป็นอิสระชนทุกคน กับเยาวชนคนหนุ่มสาวทุกยุคสมัย และกับทุกกาลยุคสมัย ท่านอิมามผู้โดดเดี่ยวก่อนหน้านี้ไม่นาน ท่านต้องสูญเสียน้อง มิตรสหาย ลูกหลาน และคนรักไปคนแล้วคนเล่า ท่านเป็นผู้นำเรือนร่างบริสุทธิ์ของชายหนุ่มผู้สง่างาม อะลี อักบัร กลับมายังคัยมะฮฺ, ซึ่งก่อนหน้านั้นเพียงชั่วครู่เดียวท่านได้เห็นน้องชายสุดที่รัก ผู้ซื่อสัตย์ ผู้เสียสละ ผู้ถือธงขบวนต้องนอนแน่ดิ้นจมกองเลือดอย่างน่าเวทนา ท่านอิมามไม่มีใครอีกแล้ว ท่านไม่มีความหวังที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ท่านทราบดีว่าในไม่ช้านี้ท่านจะได้พบกับตาของท่าน คือ ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ด้วยริมฝีปากที่เหือดแห้งและกระหาย แล้วท่านจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือไปเพื่อการใด หรือร้องขอจากผู้ใดหรือ? ท่านมิต้องการส่งเสียงร้องเรียกผู้ช่วยเหลือ ให้ตัวเองให้รอดพ้นจากความตาย, ทว่าท่านอิมาม (อ.) ได้ร้องเรียกเยาวชนคนรุ่นต่อไปให้ช่วยเหลือ จงอย่าลืมต้นไม้แห่งเตาฮีดและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งกำลังจะแห้งเหี่ยวเฉาลงทุกวัน จงพิทักษ์รักษาเลือดของท่านและบรรดาชุฮะดาที่ได้ราดรินลดต้นไม้แห่งเตาฮีดเอาไว้ให้ดี เพื่อให้ขบวนการอาชูรอดำรงอยู่เป็นอมตะนิรันดร ให้มีการรำลึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลาอฺเสมอ เพื่อให้เป็นหลักประกันต่อการดำรงอยู่ของอิสลาม

4. โศกนาฏกรรมคือปัจจัยสำคัญของความสามัคคีและเป็นรหัสยะของความสำเร็จ

ทุกประชาชาติต้องอาศัยความสมานฉันท์ทางสังคม เพื่อการดำรงอยู่และเพื่อความสำเร็จ, ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ความสมานฉันท์ให้หมู่ชนผู้จงรักภักดีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัจจัยที่มิต้องลงทุนหรือเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่สามารถรวบรวมประชาชนให้เป็นปีกแผ่นบนแนวทางเดียวกันได้ นั่นคือการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และบรรดาชุฮะดาผู้เสียสละแห่งกัรบะลาอฺ ปัจจัยดังกล่าวนี้ยังสามารถปลดปล่อยประชาชาติให้รอดพ้นจากสงครามกับนักล่าอาณานิคม หรือบรรดาพวกเผด็จการทั้งหลาย, ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือ ที่มาของการยืนหยัดต่อสู้และการปฏิวัติต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ทั่วโลก เช่น การยืนหยัดต่อสู้ของบรรดาเตาวาบีน (ผู้กลับตัวกลับใจ) ที่มีต่อยะซีดและพรรคพวก, การยืนหยัดต่อสู้ของ “มุคตอร” ซึ่งเขาได้หลั่งเลือดส่วนใหญ่ของบรรดากองโจรแห่งกัรบะลาอฺ เพื่อตอบแทนความชั่วที่ได้ก่อขึ้น เขาได้หยัดเหยียดความปราชัยแก่กองทหารที่เข้มแข็งของราชวงศ์อุมัยยะฮฺ และ ....ซึ่งบรรดานักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ส่วนใหญ่ของการปฏิวัติบนโลกนี้ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ทั้งสิ้นซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างนั้นก็คือ การปลดปล่อยประเทศอินเดียให้ได้รับอิสรภาพจากนักล่าอาณานิคมแห่งอังกฤษ โดยน้ำมือของมหาคานธี ผู้นำขบวนการปลดปล่อยในครั้งนั้น เขากล่าวว่า : ฉันไม่ได้นำสิ่งแปลกใหม่อันใดมาสู่ประชาติอินเดียแม้แต่น้อย มันเป็นเพียงการบทสรุปจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การดำรงชีวิตของวีรบุรุษแห่งกัรบะลาอฺ, ถ้าหากเราต้องการช่วยเหลือประชาชาติอินเดียให้รอดพ้น วาญิบสำหรับเราที่ต้องทำตามแนวทางที่ฮุซัยนฺได้ทำเอาไว้[10]

อีกตัวอย่างหนึ่ง, อันถือได้ว่าเป็นบทบาทอันยิ่งใหญ่ของกัรบะลาอฺและอาชูรอ, คือการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านโดยการนำของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ซึ่งท่านได้ทำให้โลกทั้งหลายต้องตะลึงงัน และตัวอย่างสุดท้ายอันเป็นผลกระทบของการยืนหยัดต่อสู้กับความอธรรมคือ การยืนหยัดต่อสู้ของขบวนการฮิซบุลลอฮฺ ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน ซึ่งพวกเขามีความผูกพันอยู่กับกัรบะลาอฺและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงทำให้พวกเขาสามารถยืนหยัดต่อสู้กับไซออนิสต์ได้อย่างกล้าหาญโดดเดี่ยว ในทางตรงกันข้ามฝ่ายไซออนิสต์ต้องพบกับความพ่ายแพ้อย่างยับเยิน เมื่อได้เผชิญหน้ากับความเสียสละและพลังอีมานของขบวนการฮิซบุลลอฮฺ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราก็คงจะเป็นคนหนึ่งที่ได้เป็นผู้ช่วยเหลือที่แท้จริง ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และความการุณย์ของท่านก็คงจะแผ่เมตตามาถึงเรา

 

 


[1] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 41.

[2] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 56,57.

[3] อัลกุรอาน บทซ็อซดฺ, 41-43.

[4] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 922.

[5] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 10, หน้า 398.

[6] อะมาลี เชคซะดูก, หน้า 142

[7] มะฟาตีฮุลญินาน, เชคอับบาสกุมมี, ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเดือนมุฮัรรอม

[8] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 24, หน้า 284.

[9] กามิลซิยาเราะฮฺ, หน้า 135. กล่าววว่า ..

«من سره ان یکون علی موائد النور یوم القیامة، فلیکن من زوار الحسین بن علی علیهما السلام»

[10] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อัตรชีวประวัติของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), มุฮัมมัด มุฮัดมะดี  อิชติฮาดียฺ, หน้า 109

 

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • กะฟาะเราะฮฺเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามพันธสัญญาหมายถึงอะไร?
    6872 สิทธิและกฎหมาย 2554/06/21
    ถ้าหากบุคคลหนึ่ง (ด้วยเงื่อนไขสำหรับการทพำพันธสัญญาซึ่งมีกล่าวไว้ในริซาละฮฺต่างๆของเตาฎีฮุลมะซาอิลของมะรอญิอฺตักลีดกล่าวไว้[1]) เขาได้สัญญาต่ออัลลอฮฺ (ซบ.) แต่ไม่ได้ทำตามข้อสัญญานั้น (ซึ่งไม่แตกต่างกันว่าเขาได้สัญญาว่าจะกระทำหรือจะละเว้นสิ่งนั้น) ต้องจ่ายกะฟาะเราะฮฺหมายถึงเลื้องอาหารคนจนให้อิ่ม 60 คนหรือถือศีลอดติดต่อกัน 60 วัน[2]
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25791 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...
  • การมองอย่างไรจึงจะถือว่าฮะรอมและเป็นบาป?
    8873 สิทธิและกฎหมาย 2554/11/21
    คำถามนี้ไม่มีคำตอบแบบสั้น ปรดเลือกปุ่มคำตอบที่สมบูรณ์ ...
  • อิสลามมิได้ห้ามรับประทานเนื้อดอกหรือ?
    8931 สิทธิและกฎหมาย 2555/03/14
    พืชผักผลไม้และเนื้อสัตว์ถือเป็นอาหารของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีมนุษย์บางกลุ่มที่มีรสนิยมสองขั้วที่ต่างกัน บางกลุ่มไม่แตะต้องเนื้อสัตว์เลย ส่วนบางกลุ่มในแอฟริกา ตะวันออกไกลและยุโรปบางประเทศกินเนื้อสัตว์แทบทุกประเภทแม้กระทั่งเนื้อมนุษย์ในบางกรณี การเปรียบเทียบระหว่างมนุษย์กับสัตว์เดรัจฉานถือว่าไม่ถูกต้องนัก การจะใช้เหตุผลที่ว่าเนื่องจากสัตว์เดรัจฉานกินเนื้อ ฉะนั้นมนุษย์จึงไม่ควรจะทานเนื้อ คงต้องถามกลับว่า สัตว์ป่าอย่างเช่น กวาง ยีราฟ ฯลฯ กินเนื้อเป็นอาหารหรือไม่? สัตว์ที่มีนิสัยดุร้ายอย่างหมีไม่ได้กินน้ำผึ้งและผักผลไม้ดอกหรือ? สิ่งนี้จะถือเป็นเหตุผลที่มนุษย์ไม่ควรทานน้ำผึ้งและพืชผักได้หรือไม่? ...
  • เหตุใดบรรดาอิมาม(อ.)จึงไม่สามารถปกป้องฮะร็อมของตนเองให้พ้นจากการโจมตีของผู้ก่อการร้ายได้?
    5937 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/10/13
    นอกจากอัลลอฮ์จะทรงมอบอำนาจแห่งตัชรี้อ์(อำนาจบังคับใช้กฎชะรีอัต)แก่นบี(ซ.ล.)และบรรดาอิมาม(อ.)แล้วพระองค์ยังได้มอบอำนาจแห่งตั้กวีนีอีกด้วยเป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้สามารถจะแสดงอิทธิฤทธิ์ต่อสรรพสิ่งในโลกได้อำนาจดังกล่าวยังมีอยู่แม้บุคคลเหล่านี้สิ้นลมไปแล้วทั้งนี้ก็เพราะพวกเขาถือเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ที่ยังคงไว้ซึ่งอำนาจดังกล่าวแม้อยู่ในอาลัมบัรซัค(มิติหลังมรณะ) อย่างไรก็ดีบุคคลเหล่านี้ไม่เคยใช้อำนาจดังกล่าวอย่างพร่ำเพรื่อแต่จะใช้อำนาจนี้ในสถานการณ์ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของศาสนาของอัลลอฮ์หรือกรณีที่จำเป็นต่อการนำทางมนุษย์เท่านั้นซึ่งต้องไม่ขัดต่อจารีตวิถี(ซุนนะฮ์)ของพระองค์ด้วยอีกด้านหนึ่งการให้เกียรติสุสานของบรรดาอิมาม(อ.)นับเป็นหนทางที่เที่ยงตรงส่วนการประทุษร้ายต่อสถานที่ดังกล่าวก็นับเป็นหนทางที่หลงผิดแน่นอนว่าจารีตวิถีหนึ่งของพระองค์ก็คือการที่ทรงประทานเสรีภาพแก่มนุษย์ในอันที่จะเลือกระหว่างหนทางที่เที่ยงตรงและหลงผิดด้วยเหตุนี้เองที่บรรดาอิมาม(อ.)ไม่ประสงค์จะใช้อำนาจพิเศษโดยไม่คำนึงความเหมาะสมยิ่งไปกว่านั้นพระองค์อัลลอฮ์เองซึ่งแม้จะทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่งแต่ก็มิได้ทรงใช้อำนาจทุกกรณีเห็นได้จากการที่มีผู้สร้างความเสียหายแก่อาคารกะอ์บะฮ์หลายครั้งในหน้าประวัติศาสตร์แต่พระองค์ทรงใช้พลังพิเศษกับกองทัพของอับเราะฮะฮ์เท่านั้นเนื่องจากเขายาตราทัพเพื่อหวังจะบดขยี้กะอ์บะฮ์โดยเฉพาะ ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9492 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • จำเป็นต้องสวมแหวนทางมือขวาด้วยหรือ ?
    14045 สิทธิและกฎหมาย 2554/09/25
    หนึ่งในแบบฉบับของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอิมามผู้บริสุทธิ์คือการสวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาซึ่งมีรายงานกล่าวไว้ถึงประเภทของแหวนรูปทรงและแบบ. นอกจากคำอธิบายดังกล่าวที่ว่าดีกว่าให้สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวาแล้วบทบัญญัติทั้งหมดที่กล่าวเกี่ยวกับแหวนก็จะเน้นเรื่องการเป็นมุสตะฮับและเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ห้ามสวมแหวนทอง (และเครื่องประดับทุกชนิดที่ทำจากทองคำ) ซึ่งได้ห้ามในลักษณะที่เป็นความจำเป็นด้วยเหตุนี้
  • เป็นไปได้ไหมที่จะอธิบาย อัรบะอีน, อิมามฮุซัยนฺ ให้ชัดเจน?
    8688 تاريخ بزرگان 2555/05/20
    เกี่ยวกับพิธีกรรมอัรบะอีน, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรฒศาสนาของเรา, คือการรำลึกถึงช่วง 40 วัน แห่งการเป็นชะฮาดัตของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดุชชุฮะดา ซึ่งตรงกับวันที่ 20 เดือนเซาะฟัร, ท่านอิมามฮะซันอัสการียฺ (อ.) ได้กล่าวถึงสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา »มุอฺมิน« ไว้ 5 ประการด้วยกัน กล่าวคือ : การดำรงนมาซวันละ 51 เราะกะอัต, ซิยารัตอัรบะอีน, สวมแหวนทางนิ้วมือข้างขวา, เอาหน้าซัจญฺดะฮฺแนบกับพื้น และอ่านบิสมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม ในนมาซด้วยเสียงดัง[1] ทำนองเดียวกันนักประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า ท่านญาบิร บิน อับดุลลอฮฺ อันซอรียฺ,พร้อมกับอุฏ็อยยะฮฺ เอาฟีย์ ประสบความสำเร็จต่อการเดินทางไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) หลังจากถูกทำชะฮาดัตในช่วง 40 วันแรก
  • สามารถนมาซเต็มในนครกัรบะลาเหมือนกับการนมาซที่นครมักกะฮ์หรือไม่?
    6265 สิทธิและกฎหมาย 2555/06/23
    เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าจะต้องนมาซเต็มหรือนมาซย่อในฮะรอมท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น จะต้องกล่าวว่า ผู้เดินทางสามารถที่จะนมาซเต็มในมัสยิดุลฮะรอม มัสยิดุนนบี และมัสยิดกูฟะฮ์ แต่ถ้าหากต้องการนมาซในสถานที่ที่ตอนแรกไม่ได้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิด แต่ภายหลังได้เติมให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของมัสยิดนั้น เป็นอิฮ์ติญาฏมุสตะฮับให้นมาซย่อ ถึงแม้ว่า... และผู้เดินทางก็สามารถที่จะนมาซเต็มในฮะรอม และในส่วนต่าง ๆ ของฮะรอมท่านซัยยิดุชชุฮาดาอ์ รวมไปถึงมัสยิดที่เชื่อมต่อกับตัวฮะรอมอีกด้วย[1] แต่ทว่าจะต้องกล่าวเพิ่มเติมใน 2 ประเด็น คือ สามารถเลือกได้ระหว่างการนมาซเต็มหรือนมาซย่อใน 4 สถานที่เหล่านี้ และผู้เดินทางสามารถเลือกระหว่างสองสิ่งนี้ได้ ฮุกุมนี้มีไว้สำหรับเฉพาะฮะรอมอิมามฮุเซน (อ.) ไม่ใช่สำหรับทั้งเมืองกัรบะลา[2]
  • คำพูดทั้งหมดของพระศาสดา (ซ็อล ฯ) ถือว่าเป็นวะฮฺยูหรือไม่?
    7606 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/21
    มุมมองของผู้เชี่ยวชาญ,ในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงแตกต่างกันบางคนได้พิจารณาการตีความของโองการที่ 3,4 ของอัลกุรอานบทนัจมฺ[i]ซึ่งเชื่อว่าคำพูดทั้งหมดของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ตลอดจนการกระทำต่างๆของท่านมาจากวะฮฺยูทั้งสิ้นบางคนเชื่อว่าโองการที่ 4 ของบทอันนัจมฺนั้นกล่าวถึงอัลกุรอานกะรีมและบรรดาโองการต่างๆที่ประทานให้แก่ท่านศาสดา,แม้ว่าซุนนะฮฺ (แบบฉบับ) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะเป็นข้อพิสูจน์และเป็นเหตุผลก็ตามซึ่งคำพูดการกระทำและการนิ่งเฉยของท่านมิได้เกิดจากอารมณ์อย่างแน่นอนสิ่งที่เข้าใจได้จากสิ่งที่กล่าวถึงในตรงนี้คือสามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าทั้งความประพฤติและแบบอย่างของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มิได้กระทำลงไปโดยปราศจากวะฮียฺอย่างแน่นอนดังเช่นคำพูดของท่านก็เป็นเช่นนี้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคำพูดประจำวันคำพูดสามัญทั่วไปตลอดการดำรงชีวิตของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ก็ตามสิ่งนั้นก็จะไม่เกิดจากอารมณ์อย่างเด็ดขาดซึ่งตามความเป็นจริงแล้วเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้แน่นอนว่าท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จะล่วงละเมิดกระทำความผิด[i]

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60124 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57563 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42214 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39362 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38945 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34002 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28016 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    27962 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27793 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25791 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...