การค้นหาขั้นสูง

สำหรับการติดตามผลอย่างมีนัยของการให้ความสำคัญ และปรัชญาของการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จำเป็นต้องพิจารณาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ :

  1. การให้ความสนใจต่อคุณธรรมความประเสริฐและลักษณะอันสูงส่ง ของมนุษย์ผู้ชาญฉลาดมีความโดดเด่น ซึ่งได้รับการเลือกสรรแล้ว

หนึ่งในรูปแบบต่างๆ ที่ได้รับการเน้นย้ำไว้โดยอัลกุรอาน หลายโองการด้วยกันคือ การเก็บรักษาและการรำลึกถึงเรื่องราวของวีรบุรุษแห่งพระเจ้าให้มีชีวิตชีวาอยู่เสมอ บุคคลต่างๆ ที่มีความชาญฉลาดและโดดเด่นทางหน้าประวัติศาสตร์, ตลอดจนชะตาชีวิตของพวกเขา เก็นสิ่งเหล่านี้ไว้เป็นบทเรียนสำคัญสำหรับชีวิต

อัลกุรอานบทมัรยัม, อัลลอฮฺตรัสว่า : “และจงกล่าวถึงเรื่องของอิบรอฮีมที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริง เขาเป็นผู้ซื่อสัตย์”[1] หลังจากนั้นได้กล่าวถึงการต่อสู้เยี่ยงวีรบุรุษของท่านที่มีต่อบรรดาพวกเคารพรูปปั้นบูชา และเทวรูปเหล่านั้นอย่างองอาจ

อีกโองการหนึ่งกล่าวว่า : “และจงกล่าวถึงเรื่องของอิดรีสที่อยู่ในคัมภีร์ แท้จริงเขาเป็นผู้ซื่อสัตย์พูดจริง เป็นนบี (ผู้ยิ่งใหญ่) ท่านหนึ่ง และเราได้เทิดเกียรติเขาซึ่งตําแหน่งอันสูงส่ง”[2] และหลังจากนั้นได้กล่าวถึงบรรดาศาสดาทั้งหลายว่า ทั้งหมดต่างได้รับความโปรดปรานต่างๆ ของพระเจ้าโดยถ้วนหน้ากัน

อัลกุรอาน บทอื่นกล่าวว่า : “และจงรำลึกถึงบ่าวของเราอัยยูบ, เมื่อเขาวิงวอนขอต่อพระผู้อภิบาลของเขาว่า (โอ้ พระผู้อภิบาลของข้าฯ) "ชัยฏอนได้ทำให้ข้าฯได้รับความเหนื่อยยากและทุกข์ทรมาน" (ข้ากล่าวกับเขาว่า) จงกระทืบ (พื้นดิน) ด้วยเท้าของเจ้า, นี่คือตาน้ำเย็นสำหรับการอาบชำระล้าง และสำหรับดื่ม และเราได้ประทานครอบครัวของเขาคืนให้แก่เขา และเพิ่มจำนวนที่เท่ากับพวกเขาเพิ่มเข้ามากับพวกเขา เพื่อจะได้เป็นความเมตตาจากเราและเป็นข้อเตือนสติแด่ปวงผู้มีสติทั้งหลาย”[3]

เป็นที่ชัดเจนว่า โองการเหล่านี้และโองการอื่นที่คล้ายคลึงกันนั้น มิได้กล่าวถึงเนื่องส่วนตัว หรือครอบครัว หรือภารกิจธรรมดาทั่วไปในชีวิตของบรรดาอิมามเหล่านี้ ทว่าได้กล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษอื่น หรือความประเสริฐต่างๆ ด้านจริยธรรมและโปรแกรมต่างๆ ในเชิงการสร้างสรรค์ของพวกเขาเหล่านั้น, และแน่นอน สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าการรำลึกถึงบุคลิกภาพอันสูงส่งและวิเศษของบุคคล ที่ได้รับการเลือกสรรแล้วในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูให้มีชีวิตชีวาตลอดเวลา พร้อมทั้งคุณสมบัติอันสูงส่งอันเป็นที่ยอมรับของพวกเขาต้องได้รับความสนใจ ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นว่าบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) จะมีการฟื้นฟูและรำลึกถึงนามของบรรดาชะฮีดแห่งกัรบะลาอ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งซัยยิดชุฮะดา อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน

2.บรรดาอิมามผู้ยิ่งใหญ่ของชีอะฮฺ (อ.) ได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงดอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ด้วยวิธีการหลายหลาก อาทิเช่น

ก) จัดการชุมนุมรำลึกถึงโศกนาฏกรรม

นับว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบที่บรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) พยายามจะรักษาอุดมการณ์ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้ดำรงอยู่ตลอดไป คือ การจัดมัจญฺลิสเพื่อรำลึกถึงโศกนาฏกรรม การร้องไห้สำหรับความเศร้าและความทุกข์ยากต่างๆ ที่เกิดแก่แต่ละชีวิตในกัรบะลาอฺ การรำลึกถึงเหตุการณ์อันโหดร้ายในช่วงเวลาอันเหมาะสม

ท่านอิมามซัจญาด (อ.) ตลอดอายุขัยการดำรงแหน่งอิมามะฮฺ ท่านจะอยู่กับการแสดงความเสียใจ และรำลึกถึงโศกนาฎกรรมแห่งกัรบะลาอฺและอาชูรอตลอดเวลา และท่านได้ร้องไห้ให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหนักจนกระทั่งได้รับฉายานามว่า อิมาม แห่งการก้มกราบผู้ร่ำไห้[4]

มีรายงานว่าอิมามบากิร (อ.) ได้จัดพิธีกรรมรำลึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งอาชูรออฺ ให้แก่ปู่ของท่าน ณ ที่บ้านของท่าน และท่านได้ร้องไห้อย่างหนักโดยไม่มีการอำพรางตนแต่อย่างใด และบุคคลที่อยู่ในบ้านของท่านกล่าวว่า : ท่านอิมามได้ตกอยู่ในความเศร้าระทมทุกข์ตลอดเวลา และกล่าวแสดงความเสียใจต่อโศกนาฏกรรมของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ต่อบุคคลอื่น[5]

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวกับดาวูดว่า : ฉันไม่เคยดื่มน้ำเย็นอีกเลยเว้นเสียแต่ว่าได้รำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.)[6]

ท่านอิมามริฎอ  (อ.) กล่าวว่า : เมื่อเดือนมุฮัรรอมได้เวียนมาถึง, จะไม่มีผู้ใดเห็นบิดาของฉัน (อิมามมูซากาซิม) ยิ้มอีกเลย ทว่าความเศร้าและความเสียใจได้ครอบคลุมท่านจนหมดสิ้น จนกระทั่งถึงวันที่ 10, และเมื่อถึงวันอาชูรอแล้วในวันนั้น, จะเป็นวันแสดงความเสียใจและร่ำไห้สำหรับท่าน และท่านอิมามกล่าวว่า : วันนนี้,เป็นวันที่อิมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้รับชะฮีด[7]

บรรดาอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) มิใช่เฉพาะพวกท่านเท่านั้นที่จัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามซัยยิดชชุฮะดา และร้องไห้อย่างหนัก, ทว่าท่านยังสนับสนุนให้ประชาชนร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) รายงานกล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามร้องไห้เพื่ออิมามฮุซัยนฺ (อ.) หรือร้องไห้เพียงคนเดียว, รางวัลของเขาคือสรวงสวรรค์ และบุคคลใดแสดงความเศร้าและร่ำไห้ให้กับเหตุการณ์ดังกล่าว รางวัลของเขาก็คือสวรรค์เช่นกัน[8]

การสนับสนุนบรรดานักอ่านบทกวีและบทกลอนเกี่ยวกับเหตุการณ์กัรบะลา, หรือบรรดานักกวีที่ได้กล่ายขานถึงโศกนาฏกรรมออกมาเป็นบทกวี หรือบทกลอนและอ่านในงานชุมนุมเพื่อรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) พวกเขาจะได้รับความเมตตาพิเศษจากบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลลเฉกเช่น กัมมียัต อะซะดียฺ, หรือดุอ์บุล, เคาะซาอียฺ, ซัยยิดฮะมีรียฺ และคนอื่นๆ ...

ข) สนับสนุนส่งเสริมให้ไปซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) :

การไปเยี่ยมสถานฝังศพของบรรดาผู้ยิ่งใหญ่ หรือผู้อาวุโส หรือวีรบุรุษถือว่าเป็นประเพณีอันดีงาม ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาคมโลกและประชาชาติต่างๆ มาอย่างช้านานตราบจนถึงปัจจุบันนี้ และหนึ่งในหมู่วีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่เหล่านั้นได้แก่ท่านซัยยิดชุฮะดา ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ผู้นำแห่งอิสระชนทั้งหลาย, ท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือรุ่งอรุณอีกแสงหนึ่ง ท่านคือวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ท่านคือหัวหน้าของบรรดาชะฮีดทั้งหลาย, ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่นามของท่าน และการรำลึกถึงท่านต้องได้รับการรำลึกถึงเป็นอย่างดี, และต้องได้รับการให้เกียรติอย่างสูง, คำพูดของบรรดาอิมามมะอฺซูม (อ.) ผู้บริสุทธิ์เกี่ยวกับความประเสริฐของการซิยาเราะฮฺ กัรบะลาอฺฮุซัยนียฺ นั้นมีมากมาย ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า : บรรดาท่านผู้ได้รับการเลือกสรรแล้วจากพระเจ้าทุกครั้งและทุกโอกาสที่เหมาะสม ท่านจะสนับสนุนและเชิญชวนให้ประชาชน ไปเยี่ยมสถานฝังศพของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ซัยยิดชชุฮะดา, ประหนึ่งว่าหนึ่งในโปรแกรมสำคัญสำหรับท่านคือ การได้สัญญาไปเยี่ยมสถานฝังศพของท่านอิมาม และสนับสนุนประชาชนให้กระทำเช่นนั้น เพราะท่านทราบเป็นอย่างดีว่า นี่คือแนวทางการสร้างความสัมพันธ์อันดีงามทางด้านความคิด และจิตวิญญาณของชาวมุสลิมกับอิมาม เป็นการปลุกระดมจิตวิญญาณของพวกเขาให้ต่อสู้, ทว่านี่คือวิถีทางต่อสู้กับบรรดาผู้กดขี่ที่ดีที่สุด ดังที่ประวัติศาสตร์ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า นี่คือวิธีการต่อสู้ที่วิเศษและดีที่สุดสำหรับวันนี้, เกี่ยวกับการซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) มีรายงานจำนวนมากมายที่กล่าวถึง แต่จะขอกล่าวเพียงรายงานเดียว เช่น

ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : บุคคลใดก็ตามในวันกิยามะฮฺหากเขาต้องการเห็นประกายรัศมีทุกๆ ที่ ให้เขาซิยาเราะฮฺอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ให้บ่อยที่สุด[9]

  1. ความพิเศษของเดือนมุฮัรรอม, คือ เดือนแห่งชัยชนะของเลือดที่มีเหนือคมดาบ

เดือนมุฮัรรอมเสมือนเป็นหนังสือที่มีคุณค่ามากที่สุด,วันและคืนของเดือนนี้, ช่วงเวลาทุกนาทีและทุกโมงยาม, คือหนึ่งหน้ากระดาษสำคัญสำหรับการรู้จักอัลลอฮฺ ความเป็นมนุษย์ เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และความอิสระชน, นอกจากนั้นแล้วยังได้สอนวิธีการดำรงชีวิตแก่มนุษย์ว่า เขาควรจะมีชีวิตอยู่อย่างไร หรือสมควรจะตายอย่างไร, ท่านอมามฮุซัยนฺ (อ.) ได้บรรจงสร้างกรุสมบัติอันมีค่ายิ่งนี้แก่ประชาคมโลกด้วยคำกล่าวว่า “ฮัยฮาต มินนัซซิลลัต” ท่านได้ส่งสาส์นนี้แก่ชนทุกรุ่นและทุกยุคทุกสมัย แก่ทุกกาลเวลาและทุกพื้นดินว่า โอ้ บุตรหลานของอาดัมเอ๋ย โอ้ ผู้เรียกร้องสัจธรรม โอ้ ผู้เรียกร้องความยุติธรรมแห่งโลก จงยืนขึ้นเพื่อต่อสู้และต่อต้านกับรัฐบาลกดขี่ รัฐปกครองของชัยฏอนเถิด และจงอย่ายอมแพ้พวกเขาเป็นอันขาด

นอกจากนั้นในช่วงวินาสุดท้ายแห่งชีวิตอันจำเริญของท่าน ท่านอิมามได้แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้กับความอธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว ท่ามกลางเหล่าทหารหลายพันคน ท่านได้กัดฟันเพื่อกล่าวสาส์นแก่ทุกคนว่า “มีใครสักคนที่จะช่วยเหลือฉันบ้างไหม” ท่านอิมามได้ร้องขอความช่วยเหลือ ประหนึ่งว่าท่านได้ร้องขอกับมนุษย์ผู้เป็นอิสระชนทุกคน กับเยาวชนคนหนุ่มสาวทุกยุคสมัย และกับทุกกาลยุคสมัย ท่านอิมามผู้โดดเดี่ยวก่อนหน้านี้ไม่นาน ท่านต้องสูญเสียน้อง มิตรสหาย ลูกหลาน และคนรักไปคนแล้วคนเล่า ท่านเป็นผู้นำเรือนร่างบริสุทธิ์ของชายหนุ่มผู้สง่างาม อะลี อักบัร กลับมายังคัยมะฮฺ, ซึ่งก่อนหน้านั้นเพียงชั่วครู่เดียวท่านได้เห็นน้องชายสุดที่รัก ผู้ซื่อสัตย์ ผู้เสียสละ ผู้ถือธงขบวนต้องนอนแน่ดิ้นจมกองเลือดอย่างน่าเวทนา ท่านอิมามไม่มีใครอีกแล้ว ท่านไม่มีความหวังที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป ท่านทราบดีว่าในไม่ช้านี้ท่านจะได้พบกับตาของท่าน คือ ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ด้วยริมฝีปากที่เหือดแห้งและกระหาย แล้วท่านจะเรียกร้องขอความช่วยเหลือไปเพื่อการใด หรือร้องขอจากผู้ใดหรือ? ท่านมิต้องการส่งเสียงร้องเรียกผู้ช่วยเหลือ ให้ตัวเองให้รอดพ้นจากความตาย, ทว่าท่านอิมาม (อ.) ได้ร้องเรียกเยาวชนคนรุ่นต่อไปให้ช่วยเหลือ จงอย่าลืมต้นไม้แห่งเตาฮีดและการเคารพภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งกำลังจะแห้งเหี่ยวเฉาลงทุกวัน จงพิทักษ์รักษาเลือดของท่านและบรรดาชุฮะดาที่ได้ราดรินลดต้นไม้แห่งเตาฮีดเอาไว้ให้ดี เพื่อให้ขบวนการอาชูรอดำรงอยู่เป็นอมตะนิรันดร ให้มีการรำลึกถึงโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลาอฺเสมอ เพื่อให้เป็นหลักประกันต่อการดำรงอยู่ของอิสลาม

  1. โศกนาฏกรรมคือปัจจัยสำคัญของความสามัคคีและเป็นรหัสยะของความสำเร็จ

ทุกประชาชาติต้องอาศัยความสมานฉันท์ทางสังคม เพื่อการดำรงอยู่และเพื่อความสำเร็จ, ไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ ความสมานฉันท์ให้หมู่ชนผู้จงรักภักดีต่ออะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัจจัยที่มิต้องลงทุนหรือเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด แต่สามารถรวบรวมประชาชนให้เป็นปีกแผ่นบนแนวทางเดียวกันได้ นั่นคือการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และบรรดาชุฮะดาผู้เสียสละแห่งกัรบะลาอฺ ปัจจัยดังกล่าวนี้ยังสามารถปลดปล่อยประชาชาติให้รอดพ้นจากสงครามกับนักล่าอาณานิคม หรือบรรดาพวกเผด็จการทั้งหลาย, ตลอดหน้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการจัดพิธีกรรมรำลึกถึงท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) คือ ที่มาของการยืนหยัดต่อสู้และการปฏิวัติต่างๆ ทั้งเล็กและใหญ่ทั่วโลก เช่น การยืนหยัดต่อสู้ของบรรดาเตาวาบีน (ผู้กลับตัวกลับใจ) ที่มีต่อยะซีดและพรรคพวก, การยืนหยัดต่อสู้ของ “มุคตอร” ซึ่งเขาได้หลั่งเลือดส่วนใหญ่ของบรรดากองโจรแห่งกัรบะลาอฺ เพื่อตอบแทนความชั่วที่ได้ก่อขึ้น เขาได้หยัดเหยียดความปราชัยแก่กองทหารที่เข้มแข็งของราชวงศ์อุมัยยะฮฺ และ ....ซึ่งบรรดานักวิชาการบางท่านกล่าวว่า ส่วนใหญ่ของการปฏิวัติบนโลกนี้ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากการยืนหยัดของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) ทั้งสิ้นซึ่งหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างนั้นก็คือ การปลดปล่อยประเทศอินเดียให้ได้รับอิสรภาพจากนักล่าอาณานิคมแห่งอังกฤษ โดยน้ำมือของมหาคานธี ผู้นำขบวนการปลดปล่อยในครั้งนั้น เขากล่าวว่า : ฉันไม่ได้นำสิ่งแปลกใหม่อันใดมาสู่ประชาติอินเดียแม้แต่น้อย มันเป็นเพียงการบทสรุปจากการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การดำรงชีวิตของวีรบุรุษแห่งกัรบะลาอฺ, ถ้าหากเราต้องการช่วยเหลือประชาชาติอินเดียให้รอดพ้น วาญิบสำหรับเราที่ต้องทำตามแนวทางที่ฮุซัยนฺได้ทำเอาไว้[10]

อีกตัวอย่างหนึ่ง, อันถือได้ว่าเป็นบทบาทอันยิ่งใหญ่ของกัรบะลาอฺและอาชูรอ, คือการปฏิวัติอิสลามแห่งอิหร่านโดยการนำของท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ซึ่งท่านได้ทำให้โลกทั้งหลายต้องตะลึงงัน และตัวอย่างสุดท้ายอันเป็นผลกระทบของการยืนหยัดต่อสู้กับความอธรรมคือ การยืนหยัดต่อสู้ของขบวนการฮิซบุลลอฮฺ ทางตอนใต้ของประเทศเลบานอน ซึ่งพวกเขามีความผูกพันอยู่กับกัรบะลาอฺและอิมามฮุซัยนฺ (อ.) จึงทำให้พวกเขาสามารถยืนหยัดต่อสู้กับไซออนิสต์ได้อย่างกล้าหาญโดดเดี่ยว ในทางตรงกันข้ามฝ่ายไซออนิสต์ต้องพบกับความพ่ายแพ้อย่างยับเยิน เมื่อได้เผชิญหน้ากับความเสียสละและพลังอีมานของขบวนการฮิซบุลลอฮฺ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าพวกเราก็คงจะเป็นคนหนึ่งที่ได้เป็นผู้ช่วยเหลือที่แท้จริง ของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.) และความการุณย์ของท่านก็คงจะแผ่เมตตามาถึงเรา

 

 


[1] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 41.

[2] อัลกุรอาน บทมัรยัม, 56,57.

[3] อัลกุรอาน บทซ็อซดฺ, 41-43.

[4] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 2, หน้า 922.

[5] วะซาอิลุชชีอะฮฺ, เล่ม 10, หน้า 398.

[6] อะมาลี เชคซะดูก, หน้า 142

[7] มะฟาตีฮุลญินาน, เชคอับบาสกุมมี, ส่วนที่เกี่ยวข้องกับเดือนมุฮัรรอม

[8] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 24, หน้า 284.

[9] กามิลซิยาเราะฮฺ, หน้า 135. กล่าววว่า ..

«من سره ان یکون علی موائد النور یوم القیامة، فلیکن من زوار الحسین بن علی علیهما السلام»

[10] ศึกษาเพิ่มเติมได้จากหนังสือ อัตรชีวประวัติของท่านอิมามฮุซัยนฺ (อ.), มุฮัมมัด มุฮัดมะดี  อิชติฮาดียฺ, หน้า 109

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • จำเป็นหรือไม่ที่มิตรภาพระหว่างบุคคลขึ้นอยู่กับความคล้ายคลึงกันทางกายภาพ อย่างเช่น อายุและส่วนสูงที่เท่ากัน ฯลฯ?
    6794 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/06/23
    สิ่งที่อิสลามใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกคบค้าสมาคมอันดับแรกก็คือคุณลักษณะทางจิตใจ หาไช่รูปลักษณ์ภายนอกไม่ อย่างไรก็ดี คุณลักษณะภายนอกบางประการอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น การที่ไม่ควรคบหากับผู้ที่จะเป็นเหตุให้ถูกสังคมมองในทางที่ไม่ดี หลักเกณฑ์ของอิสลามคือ ควรต้องมีอีหม่าน, สามารถจุนเจือเพื่อนได้ทั้งทางโลกและทางธรรม, ช่วยตักเตือนในความผิดพลาด ฯลฯ ...
  • ความสัมพันธ์ระหว่างพระประสงค์ของพระเจ้ากับความต้องการของมนุษย์เป็นอย่างไร
    6713 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    มนุษย์คือการมีอยู่อยู่ประเภทที่เป็นไปได้หมายถึงแก่นแท้แห่งการมีอยู่ของมนุษย์นั้นมาจากพระเจ้าพระเจ้าทรงรังสรรค์มนุษย์ขึ้นมาด้วยเจตนารมณ์เสรีและพระประสงค์ของพระองค์และด้วยความพิเศษนี้เองพระองค์ได้ทำให้เขามีความสูงส่งกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆด้วยเหตุนี้มนุษย์คือสรรพสิ่งมีอยู่ที่ดีที่สุดพระองค์ทรงวางกฎหมายและมอบให้มนุษย์เป็นผู้ที่พระองค์กล่าวถึงอีกทั้งทรงอนุญาตให้มนุษย์สามารถตัดสินใจได้เองว่าจะเชื่อฟังปฏิบัติตามหรือจะปฏิเสธอนุญาตให้มนุษย์เลือกและจัดการกับชะตากรรมของพวกเขาเองและนี่คือมนุษย์เขาสามารถเลือกในสิ่งดีงาม
  • จุดประสงค์ของประโยคที่อัลกุรอาน กล่าว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงอะไร?
    10571 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/09/08
    ความหมายของประโยคดังกล่าวที่ว่า “สตรีคือไร่นาของบุรุษ” หมายถึงเป็นการอุปมาสตรีเมื่อสัมพันธ์ไปยังสังคมมนุษย์ ประหนึ่งไร่นาของสังคมมนุษย์นั่นเอง ดั่งประที่ประจักษ์ว่าถ้าหากสังคมปราศจากซึ่งไร่นาแล้วไซร้ พืชพันธ์ธัญญาหาร ต่างๆ ก็จะไม่มีและสูญเสียจนหมดสิ้น สังคมจะปราศจากซึ่งอาหาร สำหรับการดำรงชีพ เวลานั้นพงศ์พันธ์ของมนุษย์ก็จะไม่มีหลงเหลือสืบต่อไปอีกเช่นกัน ดังนั้น ถ้าหากโลกนี้ไม่มีสตรี เผ่าพันธุ์มนุษย์ก็ไม่อาจสืบสานสายตระกูลต่อไปอีกได้ เชื้อสายมนุษย์จะสิ้นสุดลงในที่สุด[1] ตามความเป็นจริงแล้ว อัลกุรอาน ต้องการที่จะแสดงให้สังคมได้เห็นว่า การมีอยู่ของสตรีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสังคม อย่าเข้าใจผิดว่าสตรีคือที่ระบายความใคร่ หรือกามรมย์ของบุรุษแต่เพียงอย่างเดียว ดังที่บางสังคมเข้าใจเช่นนั้น พวกเขาจึงใช้สตรีไปในวิถีทางที่ผิด ฉะนั้น อัลกุรอานต้องการแสดงให้เห็นว่า ความน่ารักของสตรีมิใช่ที่ระบายตัณหาราคะของผู้ชาย ทว่าพวกนางคือสื่อสำหรับปกป้องเผ่าพันธุ์มนุษย์ให้ดำรงสืบต่อไป[2] ดังนั้น โองการข้างต้นคือตัวอธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างบุรุษและสตรี ดั่งเช่นที่ไร่นาสาโทถ้าปราศจากเมล็ดพันธ์พืช จะไม่มีประโยชน์อันใดอีกต่อไป ในทำนองเดียวกันเมล็ดพันธ์ ถ้าปราศจากไร่นาก็ไม่มีประโยชน์เช่นกัน มีคำพูดกล่าวว่า จากโองการข้างต้นเข้าใจความหมายได้ว่า หน้าที่ของบุรุษคือ ต้องใส่ใจและดูแลภรรยาของตนอย่างดี เพื่อการได้รับประโยชน์ และขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่สังคม
  • จะเชิญชวนชาวคริสเตียนให้รู้จักอิสลามด้วยรหัสยนิยมอิสลาม(อิรฟาน)ได้อย่างไร?
    10600 รหัสยทฤษฎี 2554/08/14
    คุณสามารถกระทำได้โดยการแนะนำให้รู้จักคุณสมบัติเด่นของอิรฟาน(รหัสยนิยมอิสลาม) และเล่าชีวประวัติของบรรดาอาริฟที่มีชื่อเสียงของอิสลามและสำนักคิดอะฮ์ลุลบัยต์1). อิรฟานแบ่งออกเป็นสองประเภทด้วยกันอิรฟานเชิงทฤษฎีและอิรฟานภาคปฏิบัติเนื้อหาหลักของวิชาอิรฟานเชิงทฤษฎีก็คือก. แจกแจงเกี่ยวกับแก่นเนื้อหาของเตาฮี้ด(เอกานุภาพของอัลลอฮ์)ข. สาธยายคุณลักษณะของมุวะฮ์ฮิด(ผู้ยึดถือเตาฮี้ด)ที่แท้จริงเตาฮี้ดในแง่อิรฟานหมายถึงการเชื่อว่านอกเหนือจากพระองค์แล้วไม่มีสิ่งใดที่“มีอยู่”โดยตนเองทั้งหมดล้วนเป็นภาพลักษณ์ของอัลลอฮ์ในฐานะทรงเป็นสิ่งมีอยู่เพียงหนึ่งเดียวทั้งสิ้น
  • ในเมื่อไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ แล้วคำว่า لَّمَحْجُوبُونَ หมายถึงอะไร?
    7478 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/08
    คำว่า “ฮิญาบ” (สิ่งปิดกั้น) มิได้สื่อถึงความหมายเชิงรูปธรรมเพียงอย่างเดียวทั้งนี้ก็เพราะเหตุผลทางปัญญาและกุรอาน, ฮะดีษพิสูจน์แล้วว่าอัลลอฮ์มิไช่วัตถุธาตุ[1]ฉะนั้นฮิญาบในที่นี้จึงมีความหมายเชิงนามธรรมมิไช่ความหมายเชิงรูปธรรมดังที่ปรากฏในโองการต่างๆอาทิเช่นوَ إِذَا قَرَأْتَ الْقُرْءَانَ جَعَلْنَا بَیْنَکَ وَ بَینْ‏َ الَّذِینَ لَا یُؤْمِنُونَ بِالاَخِرَةِ حِجَابًا مَّسْتُورًا  (ยามที่เจ้าอัญเชิญกุรอานเราได้บันดาลให้มีปราการล่องหนกั้นกลางระหว่างเจ้ากับผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อปรโลก)
  • ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีฟัตวาไว้อย่างไรเกี่ยวกับการมองหญิงสาวที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?
    5881 สิทธิและกฎหมาย 2554/08/25
     ฟัตวาของท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีเกี่ยวกับการมองหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมเหมือนกับฟัตวาของอิมามโคมัยนีที่ได้เคยฟัตวาไว้ท่านอิมามโคมัยนีได้กล่าวเกี่ยวกับการมองมุสลิมะฮ์ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมว่า “การมองเรือนร่างของสุภาพสตรีที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมไม่ว่าจะมองด้วยความเสน่หาหรือไม่ก็ตามถือว่าเป็นฮะรอมส่วนการมองใบหน้าและมือทั้งสองของนางหากไม่ได้มองด้วยความเสน่หาถือว่าไม่เป็นไรและไม่เป็นที่อนุมัติให้สุภาพสตรีมองเรือนร่างของสุภาพบุรุษเช่นกันส่วนการมองใบหน้า, ร่างกายและเส้นผมของเด็กสาวที่ยังไม่บาลิฆหากไม่ได้มองเพื่อสนองกิเลสและหากไม่เกรงว่าการมองนั้นจะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่ฮะรอมแล้วถือว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใดแต่ตามหลักอิฮ์ติยาฎแล้วไม่ควรมองส่วนต่างๆของร่างกายที่คนทั่วไปมักจะปกปิดกันเช่นขาอ่อนและท้องฯลฯ [1]ท่านอายาตุลลอฮ์คอเมเนอีได้ตอบคำถามที่ว่า “การมองใบหน้าและที่มือของหญิงที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมมีกรณีใดบ้าง? จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องปกปิดเท้าทั้งสองจากสายตาของชายที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อม?” ท่านได้ตอบว่า “หากฝ่ายชายมองด้วยความเสน่หาหรือในกรณีที่หญิงคนนั้นแต่งหน้าหรือมีเครื่องประดับที่มือของเธอถือว่าไม่อนุญาตให้มองส่วนการปกปิดสองเท้าจากสายตาของผู้ที่ไม่ใช่มะฮ์ร็อมนั้นถือเป็นสิ่งที่จำเป็น” [2]และได้กล่าวเกี่ยวกับสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมว่า“หากมองใบหน้าและสองมือของสตรีที่เป็นชาวคัมภีร์เช่นชาวยิวหรือนะศอรอโดยปราศจากความเสน่หาหรือกรณีที่ไม่เกรงว่าการมองนี้จะโน้มนำสู่พฤติกรรมที่เป็นฮะรอมถือว่าอนุญาต[3]และได้ตอบคำถามที่ว่าในกรณีสตรีที่ไม่ใช่มุสลิมหากมองส่วนอื่นๆที่โดยทั่วไปมักจะเปิดเผยกันเช่นผมหูฯลฯเหล่านี้จะมีฮุกุมเช่นไร?” ท่านได้ตอบว่า “การมองโดยปราศจากความเสน่หาและไม่โน้มนำสู่ความเสื่อมเสียถือว่าไม่เป็นไร”[4]
  • สัมพันธภาพระหว่างศรัทธาและความสงบมั่นที่ปรากฏในกุรอานเกิดขึ้นได้อย่างไร?
    6983 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/03/07
    อีหม่านให้ความหมายว่าการให้การยอมรับ ซึ่งตรงข้ามกับการกล่าวหาว่าโกหก แต่ในสำนวนทั่วไป อีหม่านหมายถึงการยอมรับด้วยวาจา ตั้งเจตนาในใจ และปฏิบัติด้วยสรรพางค์กาย ส่วน “อิฏมินาน” หมายถึงความสงบภายหลังจากความกระวนกระวายใจ ความแตกต่างระหว่างอีหม่านและความสงบมั่นทางจิตใจก็คือ ในบางครั้งสติปัญญาของคนเราอาจจะยอมรับเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยกระบวนการพิสูจน์เชิงเหตุและผล ทว่ายังไม่บังเกิดความสงบมั่นใจจิตใจ แต่ถ้าลองได้มั่นใจในสิ่งใดแล้ว ความมั่นใจนี้จะนำมาซึ่งความสงบมั่นทางจิตใจในที่สุด มีผู้ถามอิมามริฎอ(อ.)ว่า ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.)มีความเคลือบแคลงสงสัยหรืออย่างไร? ท่านตอบว่า “หามิได้ ท่านมีความมั่นใจจริง แต่ทว่าท่านขอให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความมั่นใจแก่ตนเองอีก” ...
  • สาขามัซฮับที่สำคัญของชีอะฮ์มีจำนวนเท่าใด?
    10167 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/07/10
    คำว่า“ชีอะฮ์”โดยรากศัพท์แล้วหมายถึง“สหาย”หรือ“สาวก”และยังแปลได้ว่า“การมีแนวทางเดียวกัน” ส่วนในแวดวงมุสลิมหมายถึงผู้เจริญรอยตามท่านอิมามอลี(อ.) ซึ่งมีการนิยามความหมายของคำว่าผู้เจริญรอยตามว่า
  • เราสามารถพบอับดุลลอฮฺ 2 คน ซึ่งทั้งสองจะได้ปกครองประเทศอาหรับก่อนการปรากฏกายของท่านอิมามซะมาน ได้หรือไม่?
    6541 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/11/21
    หลังจากการศึกษาค้นคว้ารายงานดังกล่าวแล้วได้บทสรุปดังนี้:รายงานจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่าบุคคลใดก็ตามรับประกันการตายของอับดุลลอฮฺแก่ฉัน (
  • ตามทัศนะของท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา อะลี คอเมเนอี การปรากฏตัวของสตรีที่เสริมสวยแล้ว (ถอนคิว,เขียนตาและอื่นๆ) ต่อหน้าสาธารณชน ท่ามกลางนามะฮฺรัมทั้งหลาย ถือว่าอนุญาตหรือไม่? และถ้าเสริมสวยเพียงเล็กน้อย มีกฎเกณฑ์ว่าอย่างไรบ้าง?
    10689 หลักกฎหมาย 2556/01/24
    คำถามข้อ 1, และ 2. ถือว่าไม่อนุญาต ซึ่งกรณีนี้ไม่มีความแตกต่างกันในเรื่องอุปกรณ์ที่ใช้เสริมสวย คำถามข้อ 3. ถ้าหากสาธารณถือว่านั่นเป็นการเสริมสวย ถือว่าไม่อนุญาต[1] [1] อิสติฟตาอาต จากสำนักฯพณฯท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา คอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงปกป้อง) ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60173 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57630 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42249 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39453 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38979 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34037 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28046 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28032 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27866 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25854 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...