การค้นหาขั้นสูง
ผู้เยี่ยมชม
6432
อัปเดตเกี่ยวกับ: 2554/11/09
 
รหัสในเว็บไซต์ fa1387 รหัสสำเนา 18281
คำถามอย่างย่อ
อะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องเชื่อเช่นไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
คำถาม
พี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์จะต้องปรับตัวและยอมรับความเชื่ออย่างไรจึงจะถือว่าเป็นชีอะฮ์แล้ว?
คำตอบโดยสังเขป
ชีอะฮ์และซุนหนี่มีความเชื่อและหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันมากมาย อาจมีบางประเด็นที่เห็นต่างกัน ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับซุนหนี่ก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(..) พี่น้องซุนหนี่จะรับสายธารชีอะฮ์ได้ก็ต่อเมื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสียก่อน ทั้งนี้ก็เนื่องจากชีอะฮ์เชื่อว่าหากไม่นับรวมสถานภาพการรับวะฮีย์แล้ว บรรดาอิมามมะอ์ศูมก็จะมีสถานะใกล้เคียงท่านนบี(..) ชีอะฮ์เชื่อว่าบุคคลเหล่านี้ได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์ และเป็นศูนย์กลางทางศาสนา(พิทักษ์และเผยแผ่ศาสนาและอรรถาธิบายอัลกุรอาน) อีกทั้งยังมีอำนาจต่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นนักปกครองและแกนกลางของสังคม มีความชอบธรรมในการพิพากษา และมีความรอบรู้เหนือผู้ใด ชีอะฮ์เชื่อว่าจะต้องปฏิบัติตามบุคคลเหล่านี้เท่านั้น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ามัซฮับอื่นๆกลับไม่ได้เชื่อเช่นนี้ เพียงแต่ยอมรับว่าจะต้องรักอิมามมะอ์ศูม และยกย่องในสถานะนักรายงานฮะดีษที่เชื่อถือได้เท่านั้น
แท้ที่จริงแล้ว ฮะดีษของซุนหนี่นอกจากจะพิสูจน์ได้ถึงความรักต่ออะฮ์ลุลบัยต์ ยังสามารถพิสูจน์ถึงความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามอะฮ์ลุลบัยต์(.)โดยดุษณี
ประเด็นหลักที่เป็นเส้นแบ่งระหว่างชีอะฮ์และซุนหนี่ก็คือประเด็นดังกล่าว และช่องว่างระหว่างชีอะฮ์และซุนหนี่ก็คือประเด็นอิมามัตนั่นเอง
คำตอบเชิงรายละเอียด

ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างชีอะฮ์กับมัซฮับอื่นๆก็คือประเด็นปัญหาเกี่ยวกับหลักอิมามัตและภาวะผู้นำของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ของนบี(..) ต่อไปนี้เป็นความเชื่อโดยสังเขปของชีอะฮ์เกี่ยวกับประเด็นอิมามัต
1. ชีอะฮ์เชื่อว่า อิมาม(.)สิบสองท่านที่ได้รับการระบุนามในฮะดีษนบี(..)[1] ปราศจากความผิดพลาด การหลงลืม ตลอดจนบาปกรรมทั้งมวล

2.  ชีอะฮ์เชื่อว่า อิมามมะอ์ศูม(.) หากไม่นับสถานะการรับวะฮีย์แล้ว  มีสถานะเทียบเคียงท่านนบี(..)

3. ชีอะฮ์เชื่อว่า อิมามมะอ์ศูม(.) มีอำนาจตักวีนี และมีอิทธิพลต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติ

4 . ชีอะฮ์เชื่อว่า อิมามมะอ์ศูม(.) เป็นนักปกครองทางการเมื่องและเป็นแกนกลางของสังคม

5. ชีอะฮ์เชื่อว่า อิมามมะอ์ศูม(.) มีความชอบธรรมในการพิพากษา และวาญิบจะต้องปฏิบัติตามบุคคลเหล่านี้

6. ชีอะฮ์เชื่อว่า อิมามมะอ์ศูม(.) มีความรู้มากที่สุด
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่ามัซฮับอื่นๆมิได้เชื่อเช่นนี้ เพียงแต่ยอมรับว่าจะต้องรักอิมามมะอ์ศูม และเชื่อถือเพียงในสถานะนักรายงานฮะดีษที่เชื่อถือได้เท่านั้น

คุณสมบัติสำคัญข้อหนึ่งของชีอะฮ์ก็คือ จะต้องเชื่อฟังท่านอิมามอลี(.)และอะฮ์ลุลบัยต์(.)โดยดุษณี หลักการนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่ง มีฮะดีษจากสายพี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มากมายระบุว่า อัลลอฮ์จะทรงยอมรับอะมั้ลอิบาดะฮ์ของมวลมนุษย์ต่อเมื่อพวกเขายอมรับภาวะผู้นำของท่านอิมามอลี(.)เท่านั้น[2]

8. ชีอะฮ์เชื่อว่าอิมามัตคือกิจของอัลลอฮ์ และบรรดาอิมามมะอ์ศูม(.)ทุกท่านล้วนได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮ์(ผ่านท่านนบี)ทั้งสิ้น
ท่านนบี(..) กล่าวว่า "การมองใบหน้าอลี(.) และการระลึกถึงอลี(.)ถือเป็นอิบาดะฮ์  อีหม่านของบุคคลจะไม่ได้รับการยอมรับเว้นแต่จะสานมิตรภาพกับเขาและหลีกห่างศัตรูของเขา"[3]

นอกจากนี้ อุละมาอ์ฝ่ายซุนหนี่ยังรายงานอีกว่า
"
ท่านนบี(..)กล่าวว่า โอ้ อลี หากผู้ใดบำเพ็ญอิบาดัตยาวนานเท่าอายุขัยของนบีนู้ฮ์ และบริจาคทองเท่าภูเขาอุฮุด และมีอายุยืนยาวกระทั่งเดินเท้าไปทำฮัจย์ถึงพันครั้ง และถูกสังหารระหว่างเขาศ่อฟาและมัรวะฮ์ แต่ทว่าไม่ยอมรับวิลายะฮ์ของเธอ โอ้ อลี เขาจะไม่ได้สูดแม้กลิ่นอายและไม่มีวันได้เชยชมสวรรค์เป็นอันขาด"[4] นัยยะของฮะดีษบทนี้ก็คือ การยอมรับวิลายะฮ์ของอิมามอลี และการหลีกห่างศัตรูของท่าน นั้น ถือเป็นเงื่อนไขของการยอมรับ"อีหม่าน" (ซึ่งย่อมมาก่อนอะมั้ลอิบาดะฮ์)

หากต้องการทราบว่าวิลายะฮ์หมายถึงอะไร จำเป็นต้องพิจารณาคำๆนี้ในสำนวนโองการกุรอานที่กล่าวถึงท่านอิมามอลี(.) กุรอานกล่าวว่า "ผู้ปกครองเหนือสูเจ้ามีเพียงอัลลอฮ์ และเราะซู้ลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธาที่ดำรงนมาซ และบริจาคทานขณะโค้งรุกูอ์"[5]
เป็นที่แน่ชัดว่าคำว่า "วะลีย์"ในโองการนี้มิได้แปลว่าเพื่อนหรือผู้ช่วยเหลือ ทั้งนี้ก็เพราะวิลายะฮ์ที่แปลว่ามิตรภาพและการช่วยเหลือนั้น หาได้จำกัดเฉพาะผู้ที่ดำรงนมาซโดยบริจาคทานขณะโค้งรุกูอ์ไม่ มิตรภาพระหว่างมุสลิมต้องมีอยู่ และมุสลิมทุกคน ไม่ว่าอยู่ในสถานะที่ต้องบริจาคทานหรือไม่ ก็ควรสานมิตรภาพซึ่งกันและกันอยู่แล้ว ไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องเฉพาะเจาะจงผู้ที่บริจาคทานขณะโค้งรุกูอ์แต่อย่างใด

เพราะฉะนั้น "วะลีย์"ในบริบทของโองการดังกล่าวจึงหมายถึงการปกครอง การถือครอง และภาวะผู้นำทั้งทางกายและจิตใจเท่านั้น สังเกตุได้จากการที่วิลายะฮ์ดังกล่าวเชื่อมต่อเข้ากับวิลายะฮ์ของท่านนบี(..)ตลอดจนวิลายะฮ์ของอัลลอฮ์อย่างต่อเนื่องในประโยคเดียวกัน

ตำรับตำราฝ่ายซุนหนี่หลายเล่มบันทึกฮะดีษที่ระบุชัดเจนว่า โองการดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับท่านอิมามอลี(.) โดยฮะดีษบางบทสาธยายถึงรายละเอียดที่ว่าท่านบริจาคแหวน แต่บางบทก็มิได้ให้รายละเอียดใดๆ แต่กล่าวเพียงว่าโองการนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับท่านอิมามอลี(.)[6]

หากผู้ใดมีทัศนคติต่อประเด็นอิมามัตเสมือนชีอะฮ์ แน่นอนว่าวิถีชีวิตของเขาจะพลิกผันไปจากเดิม เขาจะไม่สอบถามปัญหาศาสนาจากคนทั่วไป จะไม่ยอมอยู่ใต้อาณัติของตาสีตาสา แต่จะเชื่อฟังและภักดีต่ออิมามมะอ์ศูมีน(.)เท่านั้น

อย่างไรก็ดี แม้ผู้ดำเนินตามมัซฮับอื่นๆจะรักและให้เกียรติท่านอิมามอลี(.)และวงศ์วาน(อิมามมะอ์ศูม)เพียงใด แต่ทว่าวิลายะฮ์ตามความหมายที่สมบูรณ์อันตรงตามนัยยะของกุรอานและวจนะท่านนบี(..) มีการถือปฏิบัติในสายธารชีอะฮ์สิบสองอิมามเท่านั้น ทั้งนี้ มุสลิมทุกคนมีหน้าที่จะต้องเลือกเฟ้นแนวทางที่ใกล้เคียงวิถีของกุรอานและท่านนบี(..)มากที่สุด ฉะนั้น หากพี่น้องซุนหนี่เลื่อมใสในหลักการดังกล่าว ซึ่งก็คือการน้อมรับคำสอนของกุรอานและฮะดีษที่รณรงค์ให้ยอมรับวิลายะฮ์ทุกด้านของบรรดาอิมาม ไม่ว่าในแง่วิชาการก็ดี การเมืองก็ดี หรือทางศาสนาก็ตาม หากเป็นเช่นนี้ได้ ช่องว่างระหว่างอุมมัตอิสลามก็จะได้รับการเติมเต็ม

หากพิจารณาในหน้าประวัติศาสตร์จะพบว่ามุสลิมบางกลุ่มยึดแนว ก็อดรี บางกลุ่มยึดแนวตัฟวีฎี[7] การแบ่งก๊กแบ่งเหล่าเช่นนี้เกิดจากการหันห่างจากแนวทางของบรรดาอิมามทั้งสิ้น หาไม่แล้วความเชื่อผิดๆเหล่านี้ย่อมไม่เกิดขึ้นในหมู่มุสลิม อันจะส่งผลให้เกิดความเบี่ยงเบนเช่นนี้เป็นแน่

ฉะนั้น หากพี่น้องซุนหนี่เห็นพ้องกับความเชื่อของชีอะฮ์ในประเด็นอิมามัตและนำสู่ภาคปฏิบัติ ก็จะถือว่ารับสายธารชีอะฮ์แล้ว และแน่นอนว่าพวกเขาจะต้องเรียนรู้ว่าอะฮ์ลุลบัยต์(.)มีคำสอนสำหรับการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง และจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรในแง่ชะรีอัต.

หากต้องการศึกษาเพิ่มเติม กรุณาอ่านหนังสือ "ชีอะฮ์" (การเสวนาระหว่างศาสตราจารย์ อองรี กอร์บิง กับ อัลลามะฮ์ มุฮัมมัด ฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอี) และคำถามหมายเลข 1000



[1] บิฮารุลอันว้าร, เล่ม 36,หน้า 362

[2] มะนากิ๊บ คอรัซมี,หน้า 19, 252

[3] อ้างแล้ว, หน้า 19, 212 และ กิฟายะตุฏฏอลิบ, กันญี ชาฟิอี,หน้า 214, «... النظر الی وجه امیرالمؤمنین علی بن ابیطالب عبادة و ذکره عبادة ولایقبل الله ایمان عبد الا بولایته والبرائة من اعدائ

[4] " ثم لم یوالیک یا علی لم یشم رائحة الجنة ولم یدخلها"مناقب، خطیب خوارزمی ค่อฏี้บ คอรัซมี, มักตะลุ้ลฮุเซน(.), เล่ม 1, หน้า 37 

[5] ซูเราะฮ์มาอิดะฮ์, 55  انَّما وَلِیُّکُمُ اللَّهُ وَ رَسُولُهُ وَ الَّذِینَ آمَنُوا الَّذِینَ یُقِیمُونَ الصَّلاةَ وَ یُؤْتُونَ الزَّکاةَ وَ هُمْ راکِعُونَ

[6] ตัฟซี้ร เนมูเนะฮ์, เล่ม 4, หน้า 424,425

[7] ในยุคแรกเริ่มของอิสลาม อะฮ์ลิสซุนนะฮ์มีสองทัศนะหลักเกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์ กลุ่มหนึ่งเชื่อว่าในเมื่อการกระทำของมนุษย์ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของอัลลอฮ์เสมอ จึงถือว่าการกระทำของมนุษย์ถูกกำหนดไว้แล้ว การตัดสินใจของมนุษย์จึงไม่มีคุณค่าใดๆ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งถือว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเลือกกระทำ โดยไม่ติดพันอยู่กับพระประสงค์ของพระเจ้า จึงหลุดจากบ่วงก่อดัรของพระองค์
แต่ในคำสอนของอะฮ์ลุลบัยต์นบี(..)อันสอดคล้องกับตัวบทกุรอานนั้น มนุษย์มีเสรีภาพที่จะเลือกกระทำ ทว่าไม่มีอิสรภาพโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะอัลลอฮ์จุติการกระทำของมนุษย์ให้เกิดขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการเลือกกระทำ กล่าวคือ อัลลอฮ์ได้บันดาลการกระทำของมนุษย์ขึ้นมาโดยกำหนดให้มีองค์ประกอบหลายประการ ซึ่งเสรีภาพของมนุษย์ในการเลือกกระทำก็คือหนึ่งในองค์ประกอบดังกล่าว ทำให้การกระทำนั้นๆจุติขึ้นตามพระประสงค์ของพระองค์ ขณะเดียวกัน มนุษย์ก็มีเสรีภาพในการเลือกด้วย
สรุปคือ การกระทำที่เกิดขึ้น ถือว่าจะ"ต้อง"เกิดขึ้นเนื่องจากครบองค์ประกอบแล้ว แต่หากมองจากมุมของมนุษย์ผู้กระทำ(ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบ) ก็จะมองได้ว่าเป็นการกระทำตามใจปรารถนาของมนุษย์
มุฮัมมัด ฮุเซน เฏาะบาเฏาะบาอี, ชีอะฮ์ในอิสลาม, หน้า 79
หนังสือที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
. มนุษยศึกษา, มะฮ์มู้ด เราะญะบี, บทที่ 5,6, สถาบันศึกษาและวิจัย อิมามโคมัยนี (.)
. บทเรียนปรัชญา, .มิศบาฮ์ ยัซดี, เล่ม 2, บทเรียนที่ 69, องค์กรเผยแพร่อิสลาม
. ความเที่ยงธรรมของพระเจ้า, .ชะฮีด มุรตะฎอ มุเฏาะฮะรี, สำนักพิมพ์อิสลามี

แปลคำถามภาษาต่างๆ
ความเห็น
จำนวนความเห็น 0
กรุณาป้อนค่า
ตัวอย่าง : Yourname@YourDomane.ext
กรุณาป้อนค่า
<< ลากฉัน
กรุณากรอกจำนวนที่ถูกต้องของ รหัสรักษาความปลอดภัย

หมวดหมู่

คำถามสุ่ม

  • ตักวาหมายถึงอะไร?
    17841 จริยธรรมทฤษฎี 2555/01/23
    ตักว่าคือพลังหนึ่งที่หยุดยั้งจิตด้านในซึ่งการมีอยู่ของมนุษย์คือสาเหตุของการมีพลังนั้นและพลังดังกล่าวจะพิทักษ์ปกป้องมนุษย์ให้รอดพ้นจากการกระทำความผิดฝ่าฝืนต่างๆความสมบูรณ์ของตักวานอกจากจะช่วยทำให้มนุษย์ห่างไกลจากความผิดบาปและการก่ออาชญากรรมต่างๆ
  • กฎของการออกนอกศาสนาของบุคคลหนึ่ง, ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครองหรือไม่?
    5863 สิทธิและกฎหมาย 2555/05/17
    คำถามของท่าน สำนัก ฯพณฯ มัรญิอฺตักลีดได้ออกคำวินิจฉัยแล้ว คำตอบของท่านเหล่านั้น ดังนี้ ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมาคอเมเนอี (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน): การออกนอกศาสนา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการตัดสินของผู้ปกครอง ซึ่งถ้าหากบุคคลนั้นได้ปฏิเสธหนึ่งในบัญญัติที่สำคัญของศาสนา ปฏิเสธการเป็นนบี หรือมุสาต่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อล ฯ) หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือนำความบกพร่องต่างๆ มาสู่หลักการศาสนาโดยตั้งใจ อันเป็นสาเหตุนำไปสู่การปฏิเสธศรัทธา หรือออกนอกศาสนา หรือตั้งใจประกาศว่า ตนได้นับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว ทั้งหมดเหล่านี้ถือว่า เป็นมุรตัด หมายถึงออกนอกศาสนา หรือละทิ้งศาสนาแล้ว ฯพณฯ ท่านอายะตุลลอฮฺ อัลอุซมา มะการิม ชีรอซียฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน) : ถ้าหากบุคคลหนึ่งปฏิเสธหลักความเชื่อของศาสนา หรือปฏิเสธบทบัญญัติจำเป็นของศาสนาข้อใดข้อหนึ่ง และได้สารภาพสิ่งนั้นออกมาถือว่า เป็นมุรตัด ...
  • การทำความผิดซ้ำซาก เป็นให้ถูกลงโทษรุนแรงหรือ?
    11495 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    การทำความผิดซ้ำซากมีความหมาย 2 อย่าง กล่าวคือ 1-ทำความผิดซ้ำบ่อยครั้ง, 2- กระทำผิดโดยไม่ได้คิดลุแก่โทษ หรือไม่เคยกลับตัวกลับใจ การทำความผิดซ้ำซากนั้น จะมีผลติดตามมาซึ่งหนักหนาสาหัสมาก ทั้งโองการอัลกุรอานและรายงานฮะดีซ ได้กล่าวตำหนิไว้อย่างรุนแรง และยังได้กล่าวเตือนอีกว่าผลของการกระทำความผิดนั้น เช่น การเปลื่ยนจากความผิดเล็กเป็นความผิดใหญ่, การออกนอกวงจรของผู้มีความสำรวมตน, ความอับโชคเฮงซวยทั้งหลาย, อิบาดะฮฺไม่ถูกตอบรับ, ลากพามนุษย์ไปสู่เขตแดนของผู้ปฏิเสธศรัทธาและพระเจ้า และ ... หนึ่งในผลของการทำความผิดซ้ำซากคือ การได้รับโทษทัณฑ์อันรุนแรงทั้งโลกนี้และโลกหน้า เหมือนกับบุคคลที่ได้ทำบาปใหญ่ ถ้าเป็นครั้งที่สองเขาจะถูกลงโทษและถูกเฆี่ยนตี ถ้าเป็นครั้งที่สามประหารชีวิต ...
  • การกระทำใดบ้างที่ส่งผลให้คนเราแลดูสง่ามีราศี?
    6390 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/28
    ในมุมมองของอิสลามความสง่างามแบ่งได้เป็นสองประเภทอันได้แก่ความงดงามภายนอกและภายใน.ปัจจัยที่สร้างเสริมความสง่างามภายในตามที่ฮะดีษบ่งบอกไว้ก็คือความอดทนความสุขุมความยำเกรง...ฯลฯ
  • เราจะมั่นใจได้อย่างไร สำหรับผู้รู้ที่ตักเตือนแนะนำและกล่าวปราศรัย มีความเหมาะสมสำหรับภารกิจนั้น?
    7207 จริยธรรมปฏิบัติ 2555/08/22
    ตามคำสอนของอิสลามที่มีต่อสาธารณชนคือ จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับความเข้าในคำสอนศาสนา ตนต้องค้นคว้าและวิจัยด้วยตัวเองเกี่ยวกับบทบัญญัติของศาสนา หรือให้เชื่อฟังปฏิบัติตามอุละมาอฺ และเนื่องจากว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ทั้งหมด กล่าวตนเข้าศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของศาสนา ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาต้องเข้าหาอุละมาอฺในศาสนา อิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับการรู้จักผู้รู้ที่คู่ควรและเหมาะสมเอาไว้ว่า การได้ที่เราจะสามารถพบอุละมาอฺที่ดี บริสุทธิ์ และมีความเหมาะสมคู่ควร สำหรับชีอะฮฺแล้วง่ายนิดเดียว เช่น กล่าวว่า “ผู้ที่เป็นอุละมาอฺคือ ผู้ที่ปกป้องตัวเอง พิทักษ์ศาสนา เป็นปรปักษ์กับอำนาจฝ่ายต่ำของตน และเชื่อฟังปฏิบัติตามบัญชาของอัลลอฮฺ ฉะนั้น เป็นวาญิบสำหรับบุคคลทั่วไปที่จะต้องปฏิบัติตามเขา นอกจาคำกล่าวของอิมามผู้บริสุทธิ์ (อ.) แล้วยังมีวิทยปัญญาอันล้ำลึกของผู้ศรัทธา ไม่ว่าเขาจะอยู่ ณ ที่ใดก็ตามเขาจะใช้ประโยชน์จากมัน แม้ว่าจะอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ตาม ...
  • อยากทราบว่ามีหลักเกณฑ์ใดในการกำหนดวัยบาลิกของเด็กสาวและเด็กหนุ่ม?
    14676 สิทธิและกฎหมาย 2555/04/16
    อิสลามได้กำหนดอายุบาลิกไว้เมื่อถึงวัยของการบรรลุนิติภาวะ กล่าวคือเมื่อบุคคลมีคุณลักษณะของการบรรลุนิติภาวะปรากฏขึ้น (ขั้นต่ำของลักษณะเหล่านี้คือการหลั่งอสุจิสำหรับเด็กหนุ่ม และประจำเดือนสำหรับเด็กสาว) ดังนั้น ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้ถึงวัยแห่งบาลิกแล้ว แต่ทว่าในศาสนาอิสลาม นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้แล้ว ได้กำหนดบรรทัดฐานในด้านของอายุในการบาลิกให้กับเด็กหญิงและเด็กหนุ่มไว้ด้วย ดังนั้น หากเด็กหญิงหรือเด็กหนุ่มยังไม่มีลักษณะโดยธรรมชาติ แต่ถึงอายุที่ศาสนาได้กำหนดไว้สำหรับการบาลิกของเขาแล้ว เขาจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เฉกเช่นผู้บาลิกคนอื่น ๆ ดังนั้น ไม่ใช่ว่าชาวซุนนีจะถือว่าเด็กสาวถึงวัยบรรลุนิติภาวะตามหลักเกณฑ์ธรรมชาติ แต่ชีอะฮ์นับจาก 9 ปีแต่อย่างใด แต่ทว่าหากเด็กสาวมีรอบเดือนหรือตั้งครรภ์แล้ว ทุกมัซฮับถือว่าเธอบรรลุนิติภาวะแล้ว ถึงแม้ว่าเธอจะยังไม่ถึงวัยที่ฝ่ายอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้กำหนดไว้สำหรับการบรรลุนิติภาวะก็ตามa ...
  • อัลลอฮฺ ทรงพึงพอพระทัยผู้ใด? บุคคลใดที่พระองค์ทรงพึงพอพระทัย, ผู้นั้นจะได้เป็นเจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความโปรดปรานหรือ? ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว โองการที่ 28 บทอันบิยาอฺที่กล่าวว่า : และพวกเขาจะมิให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใด, นอกจากผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัย จะไม่ขัดแย้งกันดอกหรือ? อีกนัยหนึ่ง : เจ้าของสรวงสวรรค์แห่งความพึงพอพระทัย จะเข้ากันได้อย่างไรกับชะฟาอะฮฺ?
    9559 การตีความ (ตัฟซีร) 2554/10/22
    อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงพึงพอพระทัยบุคคลที่มีศรัทธาและพึงปฏิบัติคุณงามความดี, เพียงแต่ว่าความศรัทธาและคุณงามความดีนั้นมีทั้งเข้มแข็งมั่นคงและอ่อนแอ อีกทั้งมีระดับชั้นที่แตกต่างกันออกไป, ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺที่มีต่อพวกเขาจึงแตกต่างกันออกไปด้วยสรวงสวรรค์ ก็เช่นเดียวกันถูกแบ่งไปตามระดับชั้นของความศรัทธา คุณภาพ และปริมาณของคุณงามความดีที่ชาวสวรรค์ได้สั่งสม ซึ่งระดับชั้นของสวรรค์ก็มีความแตกต่างกันออกไป ส่วน “สวรรค์ชั้นริฎวาน” คือสวรรค์ชั้นสูงที่สุด เจ้าของสวรรค์ชั้นนี้ได้แก่ บรรดาศาสดาทั้งหลาย, บรรดาตัวแทนและบรรดาหมู่มิตรของอัลลอฮฺ (ซบ.), ตลอดจนบรรดาผู้ใกล้ชิดอัลลอฮฺ ชนกลุ่มนี้ไม่ต้องการชะฟาอะฮฺแต่อย่างใด เนื่องจากพวกเขาคือผู้ให้ชะฟาอะฮฺ และยังเป็นสักขีพยานในวันแห่งการฟื้นคืนชีพอีกต่างหาก. ด้วยเหตุนี้เอง วัตถุประสงค์ของประโยคที่ว่า “มะนิรตะฎอ” (ผู้ที่ได้รับความพึงพอพระทัยจากอัลลอฮฺ) ในโองการอัลกุรอานจึงไม่ใช่บุคคลที่เป็นเจ้าของสวรรค์ชั้นริฏวาน เพื่อว่าระหว่างตำแหน่งชั้นของพวกเขากับโองการจะได้ไม่ขัดแย้งกันอัลกุรอาน โองการดังกล่าวอยู่ในฐานะของการขจัดความสงสัยและความเข้าใจผิด ของบรรดาผู้ปฏิเสธที่วางอยู่บนความเข้าใจที่ว่า มลาอิกะฮฺจะให้ชะฟาอะฮฺแก่พวกเขา, เนื่องจากมลาอิกะฮฺคือเจ้าหน้าที่ของอัลลอฮฺ ซึ่งพวกเขาจะไม่ปฏิบัติสิ่งใดที่ขัดแย้งต่อบัญชาของพระองค์, พวกเขาจะให้ชะฟาอะฮฺแก่บุคคลผู้ซึ่ง ...
  • ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์ (ตะมีม) เป็นใครมาจากใหน?
    6315 تاريخ بزرگان 2555/03/08
    حصين بن نمير ซึ่งออกเสียงว่า “ฮุศ็อยน์ บิน นุมัยร์” ก็คือคนเดียวกันกับ “ฮุศ็อยน์ บิน ตะมีม” หนึ่งในแกนนำฝ่ายบนีอุมัยยะฮ์ที่มาจากเผ่า “กินดะฮ์” ซึ่งจงเกลียดจงชังลูกหลานของอิมามอลีอย่างยิ่ง และมีส่วนร่วมในการสังหารฮะบี้บ บิน มะซอฮิร หนึ่งในสาวกของอิมามฮุเซน บิน อลีในวันอาชูรอ ปีฮ.ศ. 61 โดยได้นำศีรษะของฮะบี้บผูกไว้ที่คอของม้าเพื่อนำไปยังราชวังของ “อิบนิ ซิยาด” ...
  • ความตายคืออะไร และเราสามารถยึดเวลาความตายออกไปได้ไหม ?
    10427 เทววิทยาดั้งเดิม 2553/12/22
    ความตายในทัศนะของนักปรัชญาอิสลามหมายถึงจิตวิญญาณได้หยุดการบริหารและแยกออกจากร่างกายแน่นอนทัศนะดังกล่าวนี้ได้สะท้อนมาจากอัลกุรอานและรายงานซึ่งตัวตนของความตายไม่ใช่การสูญสิ้นส่วนในหลักการของอิสลามมีการตีความเรื่องความตายแตกต่างกันออกไปซึ่งทั้งหมดมีจุดคล้ายเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งกล่าวคือความตายไม่ใช่ความสูญสิ้นหรือดับสูญแต่อย่างใดทว่าหมายถึงการเปลี่ยนหรือการโยกย้ายจากบ้านหลังหนึ่งไปยังบ้านอีกหลังหนึ่งเนื่องจากมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยร่างกายและจิตวิญญาณอีกอย่างหนึ่งความตายเท่ากับเป็นหยุดการทำงานของร่างกายภายนอกส่วนจิตวิญญาณได้โยกย้ายเปลี่ยนไปอยู่ยังปรโลกด้วยเหตุนี้ความตายจึงได้ถูกสัมพันธ์ไปยังมนุษย์
  • สร้อยนามหมายถึงอะไร? แล้ว “อบุลกอซิม”สร้อยนามของท่านนบีนั้นได้มาอย่างไร?
    11184 تاريخ بزرگان 2555/03/04
    ตามธรรมเนียมของชาวอรับแล้ว ชื่อที่มีคำว่า “อบู”(พ่อของ...) หรือ “อุมมุ”(แม่ของ...) นำหน้านั้น เรียกกันว่า “กุนียะฮ์” (สร้อยนาม) ในทัศนะของอรับเผ่าต่างๆนั้น ธรรมเนียมการตั้งสร้อยนามถือเป็นการยกย่องบุคคล ตัวอย่างสร้อยนาม อบุลกอซิม, อบุลฮะซัน, อุมมุสะละมะฮ์, อุมมุกุลษูม ฯลฯ[1] ศาสนาอิสลามก็ให้ความสำคัญแก่สร้อยนามเช่นกัน ฆ็อซซาลีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า “ท่านนบี(ซ.ล.)มักจะให้เกียรติเรียกเหล่าสหายด้วยสร้อยนามเพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรี ส่วนผู้ที่ไม่มีสร้อยนาม ท่านก็จะเลือกสร้อยนามให้เขา และจะเรียกสร้อยนามนั้น กระทั่งผู้คนก็เรียกตามท่าน แม้กระทั่งผู้ที่ไม่มีบุตรที่จะนำมาตั้งสร้อยนาม ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะตั้งให้เขา ยิ่งไปกว่านั้น ท่านยังตั้งสร้อยนามแก่เด็กๆด้วย อาทิเช่นเรียกว่าอบูนั้น อบูนี้ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์กับเด็กๆ”[2] รายงานจากอิมามริฎอ(อ.)ว่า إذا كان الرجل حاضرا فكنه و إن ...

เนื้อหาที่มีผู้อ่านมากที่สุด

  • อะไรคือหน้าที่ๆภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีบ้าง?
    60187 สิทธิและกฎหมาย 2554/07/07
    ความมั่นคงของชีวิตคู่ขึ้นอยู่กับความรักความผูกพัน ความเข้าใจ การให้เกียรติและเคารพสิทธิของกันและกัน และเพื่อที่สถาบันครอบครัวจะยังคงมั่นคงเป็นปึกแผ่น อิสลามจึงได้ระบุถึงสิทธิของทั้งภรรยาและสามี ขณะเดียวกันก็ได้กำหนดหน้าที่สำหรับทั้งสองฝ่ายไว้ด้วย เนื่องจากเมื่ออัลลอฮ์ประทานสิทธิ ก็มักจะกำหนดหน้าที่กำกับไว้ด้วยเสมอ ข้อเขียนนี้จะนำเสนอหน้าที่ทางศาสนาบางส่วนที่ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามีดังต่อไปนี้:1. ...
  • ดุอาใดบ้างที่ทำให้ได้รับพรเร็วที่สุด?
    57647 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/07/03
    มีดุอาที่รายงานจากอิมาม(อ.)หลายบทที่กล่าวขานกันว่าเห็นผลตอบรับอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาดุอาทั้งหมด ณ ที่นี้ได้ จึงขอกล่าวเพียงชื่อดุอาที่มีความสำคัญเป็นพิเศษดังต่อไปนี้1. ดุอาตะวัซซุ้ล2. ดุอาฟะร็อจ
  • กรุณานำเสนอบทดุอาเพื่อให้ได้พบคู่ครองที่เหมาะสมและเปี่ยมด้วยตักวา
    42264 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/06/12
    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีปัจจัยและเงื่อนไขจำเพาะตามที่พระเจ้าทรงกำหนดหากเราประสงค์สิ่งใดย่อมต้องเริ่มจากการตระเตรียมปัจจัยและเงื่อนไขเสียก่อนปัจจัยของการแต่งงานคือการเสาะหาและศึกษาอย่างละเอียดทว่าเพื่อความสัมฤทธิ์ผลในการดังกล่าวจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮ์เพื่อทรงชี้นำการตัดสินใจและความพยายามของเราให้บรรลุดังใจหมาย.การอ่านบทดุอาต่างๆที่รายงานจากบรรดาอิมาม(อ)ต้องควบคู่กับความพยายามศึกษาและเสาะหาคู่ครองอย่างถี่ถ้วน. หนึ่งในดุอาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะก็คือรายงานที่ตกทอดมาจากท่านอลี(อ)ดังต่อไปนี้: “ผู้ใดประสงค์จะมีคู่ครอง
  • ด้วยเหตุผลอันใดที่ต้องกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อน บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม?
    39471 วิทยาการกุรอาน 2555/08/22
    หนึ่งในมารยาทของการอ่านอัลกุรอาน ซึ่งมีกล่าวไว้ในอัลกุรอาน และรายงานฮะดีซคือ การกล่าว อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอน นิรเราะญีม ก่อนที่จะเริ่มอ่านอัลกุรอาน หรือแม้แต่ให้กล่าวก่อนที่จะกล่าว บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม เสียด้วยซ้ำไป ด้วยเหตุผลที่ว่า บิซมิลลาฮิรเราะฮฺมานนิรเราะฮีม นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรอาน อย่างไรก็ตามการขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ มิใช่แค่เป็นเพียงคำพูดเท่านั้น ทว่าสิ่งนี้จะต้องฝังลึกอยู่ภายในจิตวิญญาณของเรา ซึ่งต้องสำนึกสิ่งนี้อยู่เสมอตลอดการอ่านอัลกุรอาน ...
  • ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์(นักเรียนนักศึกษา)มีหน้าที่ต่อกันอย่างไร?
    38988 จริยธรรมปฏิบัติ 2554/11/14
    ผู้สอนและผู้เรียนมีหน้าที่ต่อกันหลายประการด้วยกันซึ่งสามารถจำแนกออกเป็นสองส่วนก. หน้าที่ที่ผู้สอนมีต่อผู้เรียนอันประกอบด้วยหน้าที่ทางจริยธรรมการอบรมและวิชาการ ข. หน้าที่ที่ผู้เรียนมีต่อผู้สอนอาทิเช่นการให้เกียรติครูบาอาจารย์ยกย่องวิทยฐานะของท่านนอบน้อมถ่อมตน ...ฯลฯ ...
  • ก่อนการสร้างนบีอาดัม(อ) เคยมีการแต่งตั้งญินให้เป็นศาสนทูตสำหรับฝ่ายญินหรือไม่?
    34047 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/06/12
    อัลกุรอานยืนยันการมีอยู่ของเหล่าญินรวมทั้งได้อธิบายคุณลักษณะบางประการไว้ถึงแม้ว่าข้อมูลของเราเกี่ยวกับโลกของญินจะค่อนข้างจำกัดแต่เราสามารถพิสูจน์ว่าเหล่าญินเคยมีศาสนทูตที่เป็นญินก่อนการสร้างนบีอาดัมโดยอาศัยเหตุผลต่อไปนี้:1. เหล่าญินล้วนมีหน้าที่ทางศาสนาเฉกเช่นมนุษย์เราแน่นอนว่าหน้าที่ทางศาสนาย่อมเป็นผลต่อเนื่องจากการสั่งสอนศาสนาด้วยเหตุนี้จึงมั่นใจได้ว่าอัลลอฮ์ทรงเคยแต่งตั้งศาสนทูตสำหรับกลุ่มชนญินเพื่อการนี้2. เหล่าญินล้วนต้องเข้าสู่กระบวนการพิพากษาในวันกิยามะฮ์เฉกเช่นมนุษย์เราซึ่งโดยทั่วไปแล้วก่อนกระบวนการพิพากษาทุกกรณีจะต้องมีการชี้แจงข้อกฏหมายจนหมดข้อสงสัยเสียก่อนและการชี้แจงให้หมดข้อสงสัยคือหน้าที่ของบรรดาศาสนทูตนั่นเอง
  • เนื่องจากอัลลอฮฺทรงรอบรู้เหนือโลกและจักรวาล ฉะนั้น วัตถุประสงค์การทดสอบของอัลลอฮฺคืออะไร?
    28056 เทววิทยาดั้งเดิม 2554/03/08
    ดังที่ปรากฏในคำถามว่าการทดสอบของอัลลอฮฺไม่ได้เพื่อการค้นหาสิ่งที่ยังไม่รู้เนื่องจากอัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงปรีชาญาณเหนือทุกสรรพสิ่งแต่อัลกุรอานหลายโองการและรายงานที่ตกมาถึงมือเรากล่าวว่าการทดสอบเป็นแบบฉบับหนึ่งและเป็นกฎเกณฑ์ของพระเจ้าที่วางอยู่บนแบบฉบับอื่นๆอันได้แก่การอบบรมสั่งสอนการชี้นำโดยรวมของพระเจ้าอัลลอฮฺ
  • ปีศาจ (ซาตาน) มาจากหมู่มะลาอิกะฮฺหรือญิน ?
    28041 การตีความ (ตัฟซีร) 2553/12/22
    เกี่ยวกับคำถามที่ว่าชัยฎอนเป็นมะลาอิกะฮฺหรือญินมีมุมมองและทัศนะแตกต่างกันแหล่งที่มาของความขัดแย้งนี้เกิดจากเรื่องราวการสร้างนบีอาดัม (อ.) เนื่องจากเป็นคำสั่งของพระเจ้ามวลมะลาอิกะฮ์ทั้งหลายจึงได้กราบสุญูดอาดัมแต่ซาตานไม่ได้ก้มกราบบางคนกล่าวว่าชัยฎอน (อิบลิส) เป็นมะลาอิกะฮฺ, โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากโองการอัลกุรอานกล่าวละเว้น, อิบลิสไว้ในหมู่ของมะลาอิกะฮฺ (มะลาอิกะฮ์ทั้งหมดลดลงกราบยกเว้นอิบลิส) ดังนั้นอิบลิส
  • อายะฮ์ إِذا مَا اتَّقَوْا وَ آمَنُوا وَ عَمِلُوا الصَّالِحاتِ ثُمَّ اتَّقَوْا وَ آمَنُوا ثُمَّ اتَّقَوْا وَ أَحْسَنُوا وَ اللَّهُ یُحِبُّ الْمُحْسِنین การกล่าวซ้ำดังกล่าวมีจุดประสงค์ใด?
    27879 การตีความ (ตัฟซีร) 2555/02/07
    ในแวดวงวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องการย้ำคำว่าตักวาในโองการข้างต้นบ้างเชื่อว่ามีจุดประสงค์เพื่อให้เล็งเห็นความสำคัญของประเด็นเกี่ยวกับตักวาอีหม่านและอะมั้ลที่ศอลิห์
  • เมื่ออัลลอฮฺ มิทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายจากสิ่งใดทั้งหมด, หมายความว่าอำนาจของพระองค์ได้ถ่ายโอนไปสู่วัตถุปัจจัยกระนั้นหรือ?
    25864 รหัสยทฤษฎี 2555/05/17
    ใช่แล้ว การสร้างจากสิ่งไม่มีตัวตนมีความหมายตามกล่าวมา, เนื่องจากคำว่า ไม่มีตัวตน คือไม่มีอยู่ก่อนจนกระทั่งอัลลอฮฺ ทรงสร้างสิ่งนั้นขึ้นมา รายงานฮะดีซก็กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้เช่นกันว่า อำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า มีความเป็นหนึ่งเดียวกันกับคุณลักษณะอื่นของพระองค์ ซึ่งเกินเลยอำนาจความรอบรู้ของมนุษย์ เนื่องจากสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลายได้ถูกสร้างขึ้นมา จากสิ่งไม่มี ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วสรรพสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย เปรียบเสมือนภาพที่ถ่ายโอนอำนาจสัมบูรณ์ของพระเจ้า เราเรียกนิยามนี้ว่า “การสะท้อนภาพ”[1]ซึ่งในรายงานฮะดีซได้ใช้คำว่า “การเกิดขึ้นของคุณลักษณะ” : อัลลอฮฺ (ซบ.) ทรงเป็นพระผู้อภิบาลของเราที่มีความเป็นนิรันดร์ ความรอบรู้คือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีความรอบรู้อันใด การได้ยินคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการได้ยินใดๆ การมองเห็นคือ อาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีการมองเห็นอันใด อำนาจคืออาตมันของพระองค์ ขณะที่ไม่มีอำนาจอันใด และเนื่องจากพระองค์คือ ผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย ทำให้สิ่งเหล่านั้นมีและเป็นไป ความรู้ของพระองค์ได้ปรากฏบนสิ่งถูกรู้จักทั้งหลาย การได้ยิน ได้ปรากฏบนสิ่งที่ได้ยินทั้งหลาย การมองเห็นได้ปรากฏบนสิ่งมองเห็น และอำนาจของพระองค์ ...