Please Wait
7162
ในทัศนะอิสลามบนพื้นฐานคำสอนของแนวทางอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ถือว่า การซัจญฺดะฮฺคือ รูปแบบของการอิบาดะฮฺที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด สำหรับพระผู้อภิบาลเท่านั้น และไม่อนุญาตกระทำกับบุคคลอื่น
ส่วนการซัจญฺดะฮฺที่มีต่อศาสดายูซุฟ (อ.), มิได้ถือว่าเป็นการซัจญฺดะฮฺอิบาดี, ทว่าในความเป็นจริงก็คือว่าเป็นการอิบาดะฮฺต่อพระเจ้าด้วยเช่นกัน ดังที่เราได้หันหน้าไปทางกะอฺบะฮฺเพื่อนมาซและได้ซัจญฺดะฮฺ, ทั้งที่การนมาซและการซัจญฺดะฮฺของเรามิได้กระทำเพื่อวิหารกะอฺบะฮฺแต่อย่างใด ทว่าวิหารกะอฺบะฮฺคือสิ่งเดียวอันถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการรำลึกถึงอัลลอฮฺ เราจึงอิบาดะฮฺ
ในทัศนะอิสลามและคำสอนตามแนวทางของอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) เตาฮีดคือสิ่งค่ามีสูงสุดอันเป็นหลัก และเป็นเขตแดนกั้นระหว่างการปฏิเสธและอีมาน. จุดที่ตรงกันข้ามกับเตาฮีดคือการตั้งภาคีเทียบเคียงพระเจ้า (ชิริก) ซึ่งอัลกุรอานได้เรียกสิ่งนั้นว่า “การกดขี่อันยิ่งใหญ่”[1] เป็นบาปความผิดที่ไม่ได้รับการอภัย[2]
เตาฮีดมีรายละเอียดสำคัญ 4 ประการหลักดังนี้ :
1.เตาฮีดซาตียฺ
2.เตาฮีดซิฟัตตียฺ
3.เตาฮีดอัฟอาลียฺ
4.เตาฮีดอิบาดียฺ
เตาฮีดอิบาดียฺ หมายถึงเฉพาะพระองค์อัลลอฮฺ เท่านั้นที่เราเคารพภักดี ไม่มีสิ่งใดคู่ควรแก่การเคารพภักดีเหมือนพระองค์؛ เนื่องจากการอิบาดะฮฺต้องแสดงต่อบุคคลที่มีความสมบูรณ์จริง หรือต่อบุคคลที่ไม่มีความต้องการยังสิ่งอื่นใดทั้งสิ้น เป็นผู้ประทานความโปรดปรานแก่ทุกสรรพสิ่ง เป็นพระผู้ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย แน่นอน คุณลักษณะเช่นนี้จะไม่พบในบุคคลอื่นนอกจากอัลลอฮฺ (ซบ.)
วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการอิบาดะฮฺคือ, การสรรหาวิถีทางที่เข้าใกล้ชิดพระผู้ทรงเป็นองค์สัมบูรณ์ยิ่ง ประกอบกับการประยุกต์เอาคุณลักษณะและคุณสมบัติแห่งความดีงาม และการปราศจากการพึ่งพิงไปยังสิ่งอื่นของพระองค์ เอาใส่ไว้ในตัวเอง เพื่อพัฒนาจิตใจตนให้ออกห่างจากอำนาจฝ่ายต่ำ และมุ่งมั่นอยู่กับการขัดเกลาจิตวิญญาณ แน่นอน วัตถุประสงค์นี้จะไม่อาจเกิดขึ้นได้นอกจากการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ[3]
คำว่า อิบาดะฮฺ มีความหมายกว้าง, ซึ่งคำว่าอับดฺ ตามหลักภาษาจะใช้เรียกบุคคลที่ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เขาได้มอบตัวเองแด่เมาลาผู้เป็นเจ้าของ, ความต้องการของเขาเป็นไปตามความต้องการของพระเจ้า. ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์กรรมสิทธิ์ไม่มีความหมายอันใดทั้งสิ้น อีกทั้งจะไม่แสดงความอ่อนแอในการเชื่อฟังปฏิบัติตามพระองค์อย่างเด็ดขาด
อีกนัยหนึ่งคำว่า “อุบูดียะฮฺ” คือขั้นสุดท้ายของการเปิดเผยความนอบน้อมถ่อมตน, ด้วยเหตุนี้เอง บุคคลที่ที่สามารถเป็นที่เคารพภักดี ได้แก่บุคคลที่เป็นที่สุดของความโปรดปรานและและเป็นที่สุดของการแสดงความเคารพภักดี <