Please Wait
5715
บุคคลใดหลังจากรับประทานอาหารแล้ว, เพิ่งจะรู้ว่านั่นเป็นอาหารฮะรอม, ถ้าหากไม่คิดว่าสิ่งนั้นจะฮะรอมประกอบกับมีสัญลักษณ์ของฮะลาลด้วย เช่น มาจากร้านของมุสลิม, มิได้กระทำบาปอันใด, แต่เป็นอาหารที่ต้องสงสัยอยู่ก่อนแล้ว, เช่น มิได้มาจาน้ำมือของมุสลิม, ตรงนี้หน้าที่ของเขาคือการสืบค้นและตรวจสอบเสียก่อน การรับประทานอาหารที่ไม่มีการตรวจสอบ ถือว่าไม่อนุญาต, แต่ถ้าไม่มีสัญลักษณ์อันใดเลยที่บ่งว่าอาหารนั้นฮะลาย กรณีนี้ถ้าอาหารนั้นเป็นเนื้อ ซึ่งตามหลักการแล้วสัตว์ต้องเชือดถูกต้อง แต่ถ้าสงสัยว่าเชือดหรือไม่ หรือสงสัยในความสะอาดตามชัรอียฺ จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่รับประทาน ส่วนอาหารประเภทอื่นแม้ว่าจะไม่เข้มงวดเหมือนกับเนื้อ, แต่ถ้าบุคคลนั้นไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎเกณฑ์ เช่น ไม่รู้ว่า ไม่อนุญาตให้รับประทานอาหารที่เปื้อนเลือด แต่สามารถตรวจสอบหรือศึกษาข้อมูลได้ เพียงแต่ไม่สนใจดังนั้นถ้ารับประทานอาหารนั้นไป ถือว่ากระทำความผิด แต่ถ้าเป็นผู้ไม่รู้ประเภทที่ว่าไม่สามารถศึกษาข้อมูลได้ หรือเป็นไปไม่ได้ที่จะตรวนสอบ ถ้ารับประทานอาหารนั้น ถือว่าไม่ได้กระทำความผิดแต่อย่างใด ประเด็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่างๆ นั้น ถ้าเขาไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร หรือมีเงื่อนไขอย่างไร , หรือแม้แต่ถ้าเขาคนไม่รู้ที่สามารถตรวจสอบได้ ก็ไม่ถือว่าได้กระทำความผิดแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม บนพื้นฐานของรายงานต่างๆ จากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) กล่าวว่า การกระทำอย่างนี้แม้ว่าเกิดจากความผิดพลาดก็ตาม แต่ร่องรอยและผลกระทบของสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลในทางลบกับชีวิตมนุษย์ และเท่ากับเป็นการขจัดเตาฟีกไปจากตัวเราเอง ดังนั้น มนุษย์ต้องพิจารณาและพิถีพิถันเป็นพิเศษว่า อาหารของเขาต้องฮะลาล เพื่อขับเคลื่อนชีวิตไปบนวิถีทางอันเป็นความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ (ซบ.)
ถ้าหากบุคคลทราบว่า อาหาร หรือเนื้อนั้นฮะรอม, หมายถึงรู้จักทั้งอาหาร (ประเด็น) และกฎเกณฑ์ที่ว่าฮะรอมหรือฮะลาล, แต่กระนั้นเขายังรับประทานอาหารนั้นไป, เท่ากับได้กระทำความผิดและการกระทำนั้นถือเป็นการฝ่าฝืน ไม่เชื่อฟังปฏิบัติตามพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซบ.) ต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างแน่นอน, แน่นอน เป็นธรรมดาที่ว่าความผิดบาปเหล่านี้จะส่งกระทบในทางไม่ดีกับวิถีชีวิตของมนุษย์.
ท่านอิมามญะอฺฟัร อัซซอดิก (อ.) ได้กล่าวถึงผลกระทบไม่ดีที่เกิดจากอาหารไม่ฮะลาลว่า : “ผลกระทบไม่ดีที่เกิดจากอาหารไม่ฮะลาลนั้นจะกีดกันมนุษย์ออกจากการอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ. บางครั้งก็จะส่งผลให้มนุษย์กระทำความผิดในตอนกลางวัน และในตอนกลางคืนมันจะกีดกันเขาให้ออกห่างจากการตื่นยามกลางคืน เพื่ออิบาดะฮฺ หรือนมาซชับ”[1] เว้นเสียแต่ว่าเขาจะเตาบะฮฺ (ลุแก่โทษกลับตัวกลับใจ) และปรับปรุงแก้ไขตัวเองใหม่[2]
แต่ในกรณีที่ไม่รู้ว่าอาหารฮะรอม และได้รับประทานอาหารนั้นไปแล้ว แบ่งออกเป็น 2 กรณีด้งนี้
1.เขาไม่รู้จักประเด็น, แต่รู้กฎเกณฑ์ดีว่าเป็นอย่างไร, กล่าวคือเขารู้ดีว่าการกินอาหารนั้นไม่ถูกต้อง เช่น การกินเนื้อสุกรเป็นฮะรอม, แต่ไม่รู้ว่าอาหารนั้นได้ทำจากเนื้อสุกร ซึ่งหลังจากรับประทานแล้วเพิ่งจะรู้ว่าเป็นเนื้อสุกร กรณีแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ
ก) ไม่ได้คิดถึงเรื่องฮะรอมตั้งแต่แรก และไม่ได้สงสัยด้วย, ทว่ามีเครื่องหมายของฮะลาลปรากฎให้เห็นด้วย เช่น ซื้อมาจากมุสลิม กรณีนี้ถ้าทราบภายหลังว่าเป็นฮะรอม ไม่ถือว่าเขาได้กระทำความผิด
ข) เป็นอาหารที่สงสัยอยู่แล้ว และมีเครื่องหมายของฮะรอมด้วย, เช่น ซื้อมาจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม, กรณีนี้หน้าที่ของเขาคือการตรวจสอบให้มั่นใจเสียก่อน, ดังนั้น ถ้าปราศจากการตรวจสอบ และได้รับประทานอาหารดังกล่าวไป หลังจากนั้นได้รู้ ถือว่าฮะรอม, และได้กระทำความผิด.
ค) ไม่มีสัญลักษณ์ใดๆ ที่บ่งบอกว่าฮะลาลหรือฮะรอม, ในกรณีนี้เนื่องจากว่าการตรวจสอบประเด็นไม่วาญิบ, ซึ่งหลังจากรับประทานแล้วรู้ว่า, อาหารนั้นจัดอยู่ในประเภทฮะรอม ไม่ถือว่าเขากระทำสิ่งฮะรอมแต่อย่างใด ทว่าเกี่ยวกับเนื้อสัตว์ เนื่องจากรากเหง้าของปัญหาคือ การเชือดและความสะอาด, ดังนั้น ถ้าปราศจากการตรวจสอบแล้วได้รับประทานเข้าไป หลังจากนั้นรู้ว่า เป็นเนื้อฮะรอม, ถือว่าได้กระทำความผิด
2.ไม่รู้เรื่องกฎเกณฑ์, แต่รู้จักประเด็นเรื่องเป็นอย่างดี, กล่าวคือไม่ทราบการรับประทานเนื้อสุกร ฮะรอม, แต่รู้ว่าอาหารนั้นทำจากเนื้อสุกร, ในกรณีที่เขาสามารถตรวนสอบและค้นคว้าได้ และสามารถรับรู้ความจริงได้ด้วย, แต่มิได้กระทำการดังกล่าว, ถือว่าเขาได้กระทำความผิดและการกระทำนั้นฮะรอม, แต่ถ้าไม่สามารถตรวจสอบหรือค้นหาความจริงเกี่ยวกับอาหารดังกล่าวได้ หรือไม่มีความสามารถในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์, กรณีนี้ถือว่าไม่มีความผิด และการกระทำของเขาก็ไม่ถูกลงโทษแต่อย่างใด, เนื่องจากบนพื้นฐานของฮะดีซ รัฟอ์ จากท่านศาสดา (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “หน้าที่และการลงโทษได้ถูกถอดถอนออกไปจากเขาแล้ว”[3] ซึ่งหน้าที่ของเขาไม่มีสิ่งใดนอกจากการทำความสะอาดปาก มือ และภาชนะอาหารเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม อาหารที่ฮะรอม โดยธรรมชาติแล้วย่อมมีผลกระทบต่อร่างกาย และจิตวิญญาณมนุษย์
นักปราชญ์ด้านจริยธรรมได้กล่าวถึงอาหารประเภทนี้มีผลกระทบต่อจิตวิญญาณอย่างแน่นอน และเชื่อว่าแม้ว่าจะไม่มีการลงโทษอันใดสำหรับบุคคลที่ได้กระทำผิดทำนองนี้ก็ตาม ทว่า “เตาฟีก” ได้ถูกปฏิเสธไปจากบุคคลนั้นเสียแล้ว และยังมีผลลบกับจิตวิญญาณอีกมากมาย ซึ่งไม่สามารถอะลุ่มอล่วยให้แก่ร่างกายได้อย่างแน่นอน ด้วยเหตุผลนี้เอง รายงานจำนวนมากมายเน้นย้ำว่า มนุษย์มีหน้าที่พึงระวังรักษาอาหารของตนให้ดี
ในสมัยของท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) ได้มีบุคคลหนึ่งนำน้ำนมมาให้ท่านศาสดา, ทว่าตราบที่ท่านยังไม่อาจตรวจสอบได้ว่าน้ำนมนั้นฮะลาล ท่านไม่ได้ดื่มนมนั้นเลย ท่านเราะซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า : “บรรดาศาสดาก่อนหน้าฉัน, ต่างมีคำสั่งว่าจงอย่ารับประทานอาหารและเครื่องดื่มใดๆ ยกสิ่งที่ฮะลาลและดีเท่านั้น[4]
รายงานจากอะฮฺลุลบัยตฺ (อ.) ที่กล่าวถึงคุณลักษณะอันเป็นผลที่เกิดจากอาหารฮะรอม แม้แต่ในเด็กเล็กท่านก็ได้กำชับเตือนเอาไว้”[5]
ด้วยเหตุนี้ จำเป็นอย่างยิ่งและถือเป็นหน้าที่ของเราที่ว่าต้องใส่ใจเป็นพิเศษต่ออาหารที่ฮะลาล และฮะรอม. เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีผลกระทบต่อร่างกายและจิตวิญญาณ และชะตากรรมด้านศีลธรรมของเรา อีกทั้งมีผลต่อเส้นทางไปสู่ความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ, ดังเช่นที่ความประพฤติของคนเราทั้งด้านสังคมและส่วนตัว ต่างมีผลกระบทต่อสังคมโลกทั้งสิ้น เช่นเดียวกันเหตุการณ์โลกก็มีผลกระทบต่อจริยธรรม ความประพฤติ และการกระทำของมนุษย์[6]
[1] ญะวาดดีย ออมูลียฺ, อับดุลลอฮฺ, มะรอฮิลอักลาค ดัรกุรอาน, หน้า 153.
[2] อัลกุรอาน บทมาอิดะฮฺ, 39.
[3] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 5, เราซูล (ซ็อล ฯ) กล่าวว่า “ได้ถูกถอดถอนออกไปจากประชาชาติของฉันแล้ว ความผิดพลาด ความหลงลืม และการบังคับ”
[4] อัดดุรุ มันซูร, เล่ม 6, หน้า 102, มีซานุลฮิกมะฮฺ, เล่ม 3, หน้า 128, มุฮัมมะดี เรย์ ชะฮฺรียฺ, มุฮัมมัด
[5] บิฮารุลอันวาร, เล่ม 100, หน้า 323, หน้า 96, อิมามอะลี (อ.) : จงนำทารกของท่านออกห่างจากการดื่มน้ำนมจากหญิงเลว และสติฟั่นเฟือน, เนื่องจากน้ำนมจะส่งผลกระทบต่อทารก
[6] ญะวาดียฺ ออมูลียฺ, อับดุลลอฮฺ, มะบาดียฺ อัคลากดัรกุรอาน, หน้า 108